ขวัญเรือน เลิศสลัก
ผกามาศ สูงลอย
อรณิชา ตัตตะวะศาสตร์
วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมาทำให้ประเทศต่างๆ ตระหนักถึงปัญหาความไม่พอเพียงของข้อมูล (Data gap) และความจำเป็นที่จะต้องจัดทำข้อมูลเครื่องชี้เตือนภัยเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถกำหนดนโยบายที่เหมาะสมและทันท่วงทีเพื่อรับมือกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปได้ ข้อมูลหนึ่งที่มีการกล่าวถึงคือ การจัดทำบัญชีฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ (International Investment Position: IIP) ในความถี่ที่สูงขึ้นและรวดเร็วขึ้น เนื่องจาก IIP เป็นข้อมูลที่แสดงถึงฐานะสุทธิทั้งด้านสินทรัพย์และหนี้สินระหว่างประเทศที่ครอบคลุมธุรกรรมทางการเงินทุกประเภทของทุกภาคเศรษฐกิจที่ครบถ้วนสมบูรณ์สอดคล้องกับธุรกรรมในบัญชีดุลการชำระเงินของประเทศ ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้จัดทำข้อมูล IIP รายปีและเผยแพร่โดยมีความล่าช้า 3 ไตรมาส ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์การเผยแพร่ข้อมูลเศรษฐกิจและการเงินตามมาตรฐานระดับสูง (Special Data Dissemination Standard : SDDS) ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ ประเทศไทยเป็นสมาชิก อย่างไรก็ตาม ด้วยเห็นถึงความสำคัญของข้อมูล IIP ดังกล่าวที่ต่างจากข้อมูลด้านเศรษฐกิจต่างประเทศรายไตรมาสอื่นที่มีอยู่เดิมที่แสดงหนี้สินหรือสินทรัพย์เพียงด้านเดียว อาทิ ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศและฐานะทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ เป็นต้น ธปท. จึงมีเป้าหมายเพิ่มความถี่ในการจัดทำบัญชีฐานะการลงทุนระหว่างประเทศจากรายปีเป็นรายไตรมาส
ปัจจุบัน ธปท. สามารถจัดเก็บข้อมูลฐานะสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินของภาคเศรษฐกิจต่างๆ ได้แก่ ภาคธนาคาร รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และ ธปท. จากแบบรายงานเป็นรายไตรมาสได้อยู่แล้ว ยกเว้นภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคาร ซึ่งในการจัดทำข้อมูลการลงทุนระหว่างประเทศรายปีของภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคารนี้ ธปท. ใช้ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ที่กำหนดให้ผู้ประกอบการรายงานฐานะการเงินรายปีตามแบบรายงานส.บช.3/1 จึงไม่ต้องทำการสำรวจเอง เพียงแต่ขอให้เพิ่มการรายงานข้อมูลเพื่อให้ครอบคลุมข้อมูลที่ ธปท.ต้องใช้ส่วนในการจัดทำข้อมูลนี้เป็นรายไตรมาส ธปท. จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากธุรกิจเอกชนเป็นอย่างมากในการรายงานฐานะการลงทุนระหว่างประเทศจากเดิมที่เคยทำเพียงปีละครั้ง
บทความนี้นอกจากศึกษาและวิเคราะห์ผลการสำรวจข้อมูล IIP ของภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคารรายไตรมาสแล้วที่สำคัญได้มุ่งเน้นหาข้อสรุปแนวทางการจัดทำข้อมูล IIP ของภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคารเป็นรายไตรมาสด้วย โดยมี แนวทางให้พิจารณา 2 วิธี คือ (1) วิธีการสำรวจรายไตรมาส โดยใช้ผลการสำรวจ ณ สิ้นงวดไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี 2552 เป็นกรณีศึกษา และ (2) วิธีการคำนวณยอดคงค้างจากยอดธุรกรรมสะสมระหว่างงวด ซึ่งเป็นวิธีประมาณการข้อมูลรายไตรมาส จากการนำข้อมูลยอดคงค้างรายปีล่าสุด (ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2551) ตามแบบรายงาน ส.บช.3/1 ปรับด้วยการเปลี่ยนแปลงธุรกรรมสุทธิของการนำเข้าและส่งออกเงินตราระหว่างประเทศเพื่อทำธุรกรรมทางการเงินที่สถาบันการเงินรายงานผ่านระบบบริหารข้อมูล (Data Management System : DMS) ในช่วงไตรมาสที่ 1 และ 2 ทั้งนี้ การศึกษาพบว่า วิธีการสำรวจสะท้อนผลกระทบของปัจจัยต่างๆ อาทิ ราคาตลาดของสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินและกำไรที่นำกลับมาลงทุนที่มีต่อฐานะการลงทุนระหว่างประเทศได้ดีกว่า เพราะสามารถเห็นการปรับเปลี่ยนระหว่างงวดที่สอดคล้องกับปัญหาเศรษฐกิจถดถอยที่เกิดขึ้นทั่วโลก เนื่องจากผู้ประกอบการเป็นผู้ให้ข้อมูลโดยตรง ขณะที่วิธีการคำนวณยอดคงค้างจากยอดธุรกรรมสะสมระหว่างงวด ไม่สามารถเก็บข้อมูลในส่วนนี้ได้ เพราะไม่ปรากฏในรายงานการนำเข้าและส่งออกเงินตราระหว่างประเทศ
อย่างไรก็ดี คุณภาพของข้อมูลจากการสำรวจขึ้นกับการให้ความร่วมมือของผู้ประกอบการในการตอบแบบสอบถามเป็นสำคัญ ที่ผ่านมาแม้ว่าอัตราการตอบกลับค่อนข้างสูงประมาณร้อยละ 65-80 ของแบบที่จัดส่ง แต่เนื่องจากผู้ที่ไม่ตอบแบบสอบถามเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ ทำให้การประมาณการข้อมูล IIP จากตัวอย่างที่สำรวจครอบคลุมเพียงประมาณร้อยละ 50 ของข้อมูลประชากร และทำให้ข้อมูลประชากรที่ประมาณการขึ้นมีความคลาดเคลื่อนค่อนข้างสูง ผลการสำรวจนี้ทำให้ ธปท.ต้องติดตามและประเมินข้อมูลที่จัดทำขึ้นต่อไป โดยจะดำเนินการสำรวจรายไตรมาสต่อไปอีก 2-3 ปี และประเมินผลเทียบกับวิธีการคำนวณยอดคงค้างจากยอดธุรกรรมสะสมระหว่างงวด ที่มีการหาวิธีประมาณการราคาสินทรัพย์และกำไรส่งกลับด้วย เมื่อได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนและผ่านการยอมรับทางสถิติแล้ว จึงจะเผยแพร่เป็นทางการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยฝ่ายบริหารข้อมูล ได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลฐานะสินทรัพย์(Assets) และหนี้สินต่างประเทศ (Liabilities) ของภาคเอกชนไทยที่มิใช่ธนาคารที่มีสิทธิเรียกร้องและ/หรือมีภาระผูกพันทางการเงินกับผู้มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศเป็นรายปี ตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา พร้อมทั้งจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลฐานะสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินของภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ที่เหลือ ได้แก่ ภาคธนาคาร รัฐบาล รัฐวิสาหกิจและ ธปท. จากแบบรายงานหรือข้อมูลที่เผยแพร่อยู่แล้ว เพื่อนำข้อมูลของทุกภาคเศรษฐกิจมาจัดทำสถิติบัญชีฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ (International Investment Position: IIP) ของประเทศไทยที่มีกับต่างประเทศโดยย้อนตัวเลขไปได้ถึงปี 2543 ถัดจากที่ได้เริ่มจัดทำข้อมูลยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศ (External debt) ในปี 2540 ทำให้ปัจจุบัน ธปท. สามารถติดตามทั้งยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศรายไตรมาส และฐานะสุทธิด้านสินทรัพย์หนี้สินระหว่างประเทศเป็นรายปีได้สมบูรณ์ ข้อมูล IIP นี้เผยแพร่แก่สาธารณชนเป็นรายปีผ่านทาง web site ของธปท. โดยมีความล่าช้า 3 ไตรมาส ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์การเผยแพร่ข้อมูลเศรษฐกิจและการเงินตามมาตรฐานระดับสูง (Special Data Dissemination Standard : SDDS) ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ประเทศไทยเป็นสมาชิก การได้รับข้อมูลจากทุกภาคเศรษฐกิจมาใช้จัดทำบัญชี IIP นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ทางการในการใช้ข้อมูลเพื่อติดตาม วิเคราะห์ และกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศ
ภาวะเศรษฐกิจและการเงินของโลกที่มีความผันผวนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยที่ใช้นโยบายเศรษฐกิจแบบเปิด ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ข้อมูลเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวและประเมินภาพเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิดมากขึ้น IIP เป็นเครื่องชี้ฐานะการเงินระหว่างประเทศที่สำคัญเพิ่มเติมจากข้อมูลด้านเศรษฐกิจต่างประเทศที่จัดทำเป็นรายไตรมาสอยู่แล้ว เช่น ข้อมูลยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศที่แสดงเฉพาะด้านหนี้สินที่อยู่ในรูปการกู้ยืมเงินกับต่างประเทศเพียงด้านเดียว และฐานะทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ (International reserve) ที่เป็นข้อมูลการถือครองสินทรัพย์เงินตราระหว่างประเทศของทางการ ที่แสดงถึงสภาพคล่องทางการเงินระหว่างประเทศที่รองรับการชำระค่าสินค้า บริการ และชำระภาระผูกพันทางการเงินของประเทศ ดังนั้น ข้อมูล IIP จะทำให้ประเทศทราบถึงฐานะสุทธิทางการเงินระหว่างประเทศ ที่แสดงสิทธิเรียกร้อง ทั้งทางด้านสินทรัพย์และหนี้สินของธุรกรรมทางการเงินทุกประเภทของทุกภาคเศรษฐกิจ ที่ครบถ้วนสมบูรณ์สอดคล้องกับธุรกรรมในบัญชีดุลการชำระเงินของประเทศ ธปท. จึงมีเป้าหมายเพิ่มความถี่ของการจัดทำข้อมูล IIP จากรายปีเป็นรายไตรมาส (*1) เพื่อให้ได้ข้อมูลฐานะสินทรัพย์และหนี้สินที่สะท้อนภาวะเศรษฐกิจในระยะเวลาที่เร็วขึ้น
ปัจจุบัน ธปท. สามารถจัดเก็บข้อมูลฐานะสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินของภาคเศรษฐกิจต่างๆ ได้แก่ ภาคธนาคาร รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และ ธปท. จากแบบรายงานเป็นรายไตรมาสได้อยู่แล้ว ยกเว้นภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคาร ในการจัดทำข้อมูล IIP รายปีของภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคารนั้น ในช่วงเริ่มต้นข้อมูลที่ใช้ได้จากการสำรวจ (Survey) โดยให้ธุรกิจเอกชนที่ทำธุรกรรมทางการเงินกับต่างประเทศตอบแบบสอบถาม เพื่อนำมาประมวลข้อมูลรวมกับข้อมูลที่ได้จากภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ต่อมาในปี 2549 ธปท.ได้เปลี่ยนแหล่งข้อมูลไปใช้ข้อมูลที่ได้จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ที่กำหนดให้ผู้ประกอบการรายงานฐานะการเงินรายปีตามแบบรายงาน (Administrative report) ส.บช.3/1 โดย ธปท.ได้ประสานงานไปยังกระทรวงพาณิชย์ ขอให้เพิ่มการรายงานข้อมูลเพื่อให้ครอบคลุมข้อมูลที่ ธปท.ต้องใช้ในการจัดทำ IIP ด้วย ซึ่งทำให้สามารถครอบคลุมธุรกิจเอกชนมากที่สุดโดยไม่ต้องทำการสำรวจ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแบบรายงานดังกล่าวเป็นข้อมูลรายปีและในปัจจุบันกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ยังไม่มีข้อกำหนดให้ธุรกิจเอกชนต้องรายงานฐานะการเงินเป็นรายไตรมาส (ยกเว้นธุรกิจที่เป็นบริษัทมหาชนซึ่งจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) การที่ ธปท.จะเพิ่มความถี่ในการจัดเก็บข้อมูล IIP ของภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคารเป็นรายไตรมาส จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมืออย่างมากจากธุรกิจเอกชนในการให้ข้อมูล จากเดิมที่ต้องรายงานฐานะการเงินเพียงปีละครั้งเท่านั้น ซึ่ง ธปท.ตระหนักดีถึงภาระที่เพิ่มขึ้นนี้ของผู้ให้ข้อมูล อย่างไรก็ดี จากที่ได้ดำเนินการสำรวจข้อมูล ณ สิ้น 2 ไตรมาสแรกของปี 2552 พบว่าผู้ประกอบการเริ่มมีความเข้าใจและให้ความร่วมมือค่อนข้างดีในการจัดส่งข้อมูลแก่ ธปท.
บทความนี้จัดทำขึ้น เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ผลที่ได้จากการสำรวจข้อมูลฐานะการลงทุนระหว่างประเทศของภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคาร ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี 2552 ซึ่งถือเป็นกรณีศึกษาเพื่อประเมินประโยชน์จากการทำสำรวจที่มีความถี่สูงขึ้น ความเป็นไปได้และแนวทางการปรับปรุงคุณภาพข้อมูลหากจะใช้เป็นหลักปฏิบัติต่อไป การนำเสนอในลำดับถัดไปประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่ (1) กรอบของการสำรวจ ซึ่งจะอธิบายขอบเขต ประชากรหรือคุ้มรวม การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบสำรวจที่ใช้ และระยะเวลาดำเนินการ (2) ผลการสำรวจ วิธีประมาณการข้อมูลประชากร และการเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากการสำรวจกับข้อมูลที่จัดทำโดยวิธีการคำนวณยอดคงค้างจากยอดธุรกรรมสะสมระหว่างงวด (3) การทดสอบคุณภาพของข้อมูลโดยวิธีการทางสถิติรวมทั้งปัญหาและอุปสรรคที่พบในการสำรวจ และ (4) สรุปผลที่ได้จากกรณีศึกษาในครั้งนี้พร้อมทั้งแนวทางในการจัดทำข้อมูลในระยะต่อไป
ประชากรของข้อมูลฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ (หรือ IIP) จะครอบคลุมถึงกิจการที่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งงบการเงินที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนระหว่างประเทศ (แบบ ส.บช.3/1) รายปี ตามประกาศของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2549 ดังต่อไปนี้
(1) บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละหนึ่งของมูลค่าหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง
(2) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรที่มีผู้ร่วมลงทุนเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ
(3) นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
(4) ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรที่มีการลงทุนในกิจการที่ต่างประเทศ ซึ่งได้แก่ การจัดตั้งกิจการสำนักงานสาขา หรือตัวแทนในต่างประเทศ หรือการเข้าร่วมลงทุนกับบุคคลหรือนิติบุคคลในต่างประเทศ โดยมีสัดส่วนการลงทุนหรือการถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละหนึ่งของทุนทั้งหมดของกิจการหรือของมูลค่าหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงแล้วแต่กรณี
ตามฐานข้อมูลประชากรงวดสิ้นปี 2549 ประชากรตามขอบเขตข้อมูลข้างต้น มีทั้งหมด 15,369 บริษัท จำแนกเป็นด้านต่างชาติลงทุนโดยตรงในไทย (FDI) 14,115 บริษัท ไทยลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (TDI) 1,013 บริษัท และที่เป็นทั้ง FDI และ TDI 241 บริษัท
การสำรวจข้อมูลฐานะการลงทุนระหว่างประเทศรายไตรมาสของภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคาร แบ่งการสำรวจเป็น 2 ประเภทคือ ต่างชาติลงทุนโดยตรงในไทย (FDI) และไทยลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (TDI) โดยเน้นเฉพาะข้อมูลทุนเรือนหุ้นและกำไรสะสม ส่วนข้อมูลอื่นๆ ที่ต้องนำมารวมให้ครบเป็นบัญชี IIP ได้แก่ เงินกู้ยืมโดยตรง เงินลงทุนในหลักทรัพย์ และเงินลงทุนอื่นๆ (ได้แก่ เงินกู้ สินเชื่อการค้า เงินสดและเงินฝาก และอื่นๆ) นั้น ธปท. ได้ข้อมูลเหล่านี้จากแบบรายงาน และการสำรวจหนี้ต่างประเทศและ/หรือให้กู้ยืมแก่ต่างประเทศ
ในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้สำรวจ จะคำนึงถึงภาระของผู้ให้ข้อมูล ผู้จัดเก็บข้อมูล และการเป็นตัวแทนประชากรที่ดีโดยอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้เป็นหลัก และเนื่องจากเป็นการสำรวจข้อมูลเชิงปริมาณ การคัดเลือกตัวอย่างจึงใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) ซึ่งใช้มูลค่าเงินลงทุนของกิจการ FDI และ TDI เป็นเกณฑ์คัดเลือก โดยเรียงลำดับตามขนาดเงินลงทุน แล้วกำหนดความครอบคลุมของ FDI ที่ร้อยละ 80 และ TDI ร้อยละ 85 ของมูลค่าเงินลงทุนแต่ละประเภท ทั้งนี้ การใช้เกณฑ์ที่ต่างกันเนื่องจากบริษัทรายใหญ่ของ TDI มีการกระจุกตัวมากกว่าของ FDI จึงจำเป็นต้องกำหนดความครอบคลุมในสัดส่วนที่สูงกว่า
(1) การคำนวณยอดคงค้างคาดการณ์ (expected outstanding หรือ stock) ของมูลค่าเงินลงทุนรายบริษัท โดยในด้าน FDI ใช้มูลค่าเงินลงทุนจากต่างประเทศในไทย และด้าน TDI ใช้มูลค่าเงินลงทุนของไทยในต่างประเทศโดยใช้ฐานข้อมูล ณ สิ้นปี 2550 เป็นตัวตั้ง ปรับด้วยข้อมูลธุรกรรมการนำเข้าและส่งออกของเงินลงทุน (inflow และ outflow) แต่ละบริษัท ที่รายงานผ่านธนาคารพาณิชย์ ของปี 2551 (หากบริษัทใดไม่มียอดเงินลงทุน ณ สิ้นปี 2550 จะใช้มูลค่าเงินลงทุนสุทธิ (net flow) ของปี 2551 เป็น expected stock) โดยแสดงเป็นสมการที่ใช้ในการคำนวณ ดังนี้
Expected Stock = Stock +/- (Inflow - Outflow)
t t-1 t t
(2) นำค่า expected stock ที่คำนวณได้มาเรียงลำดับจากมากไปน้อยตามมูลค่าเงินลงทุนแต่ละประเภท
(3) หายอดสะสม (accumulated) ของ expected stock เพื่อคำนวณความครอบคลุมของข้อมูลแต่ละประเภท โดย FDI และ TDI กำหนดไว้ที่ร้อยละ 80 และ 85 ของมูลค่าเงินลงทุน ตามลำดับ
(4) เมื่อได้ coverage ตามสัดส่วนที่กำหนดแล้วจึงทำการ cut-off เพื่อกำหนดจำนวนตัวอย่างของมูลค่าเงินลงทุนแต่ละประเภท ทั้งนี้ worksheet การคัดเลือกตัวอย่างของข้อมูล FDI
จากวิธีการคัดเลือกตัวอย่างดังกล่าวข้างต้น จำนวนกลุ่มตัวอย่างของเงินลงทุนแต่ละประเภทในแต่ละไตรมาส สามารถสรุปได้ดังนี้
ตารางที่ 1 : จำนวนกลุ่มตัวอย่าง
ภาคธุรกิจเอกชนที่มิใช่ธนาคาร สัดส่วนความครอบคลุมของข้อมูล (%) มูลค่าขั้นต่ำ(ล้านบาท) จำนวน(ราย) ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ข้อมูล FDI 80 80 850 880 505 556 ข้อมูล TDI 85 85 885 990 103 108 รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 540*1 595*2
*1 ประกอบด้วย FDI 437 ราย TDI 35 ราย และมีทั้ง FDI และ TDI 68 ราย
*2 FDI 487 ราย TDI 39 ราย และมีทั้ง FDI และ TDI 69 ราย
ที่มา : ทีมฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ ฝ่ายบริหารข้อมูล ธปท.
จากตารางที่ 1 การกำหนดความครอบคลุมของ TDI สูงกว่า FDI เพื่อเพิ่มจำนวนตัวอย่างของ TDI ให้มากขึ้น ทำให้ช่วยลดปัญหาการกระจุกตัวของบริษัทรายใหญ่ที่ลงทุนในต่างประเทศเพียงไม่กี่รายของ TDI ได้ ส่วนมูลค่าเงินทุนขั้นต่ำของเงินทุนแต่ละประเภทในแต่ละไตรมาสไม่เท่ากัน เนื่องจากในแต่ละไตรมาสคัดเลือก
กลุ่มตัวอย่างจากฐานข้อมูลในช่วงเวลาที่ต่างกัน โดยการสำรวจข้อมูล ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ใช้ข้อมูล expected stock ของสิ้นปี 2550 (ดังแผนภาพที่ 1) เพราะในช่วงที่เริ่มสำรวจนั้น การประมวลผลฐานข้อมูลประชากรปี 2551 ยังไม่แล้วเสร็จ ส่วนการสำรวจข้อมูล ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ใช้ข้อมูลประชากรปี 2551 ซึ่งประมวลผลเสร็จแล้วเป็นฐานในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง
ในการสอบถามข้อมูลรายไตรมาส ธปท. ยังคงใช้แบบนำส่งงบการเงินที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนระหว่างประเทศ (แบบ ส.บช.3/1) เช่นเดียวกับการรายงานข้อมูล IIP รายปี(*2) ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกในการให้ข้อมูล เนื่องจากผู้ให้ข้อมูลคุ้นเคย และ ธปท. มีระบบงานสำรวจข้อมูลรองรับการประมวลผลอยู่แล้ว โดยแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 5 หัวข้อหลัก คือ (1) ข้อมูลทั่วไป (2) ข้อมูลจำนวนหุ้นของกิจการและการถือครองหุ้น (3) ข้อมูลทางการเงินของกิจการ ได้แก่ กำไร(ขาดทุน)สะสม ส่วนของผู้ถือหุ้นหรือส่วนของสำนักงานใหญ่ กำไร(ขาดทุน)สุทธิ กำไร(ขาดทุน)ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามปกติ และเงินปันผลหรือกำไรส่งกลับ (4) ข้อมูลการลงทุนในต่างประเทศ และ (5) ข้อมูลเพิ่มเติม (ถ้ามีให้ทำเครื่องหมายหน้าตัวเลือก) ได้แก่ การกู้ยืมและ/หรือการให้กู้ยืมในต่างประเทศ การลดทุน การเพิ่มทุน เป็นต้น
ในการสำรวจข้อมูล IIP รายไตรมาสจากธุรกิจเอกชนที่มิใช่ธนาคาร ธปท. ใช้วิธีการขอความอนุเคราะห์ข้อมูลจากผู้ประกอบการที่อยู่ในกลุ่มตัวอย่าง โดยไม่มีประกาศจากทางการเฉกเช่นการให้รายงานข้อมูล IIP รายปีเริ่มด้วยการจัดส่งจดหมายนำของ ธปท. และแนบแบบสอบถามส่งไปยังกรรมการผู้จัดการบริษัท พร้อมกับแจ้งกำหนดเวลาตอบกลับข้อมูล ทั้งนี้ การสำรวจข้อมูล IIP รายไตรมาสมีกำหนดแล้วเสร็จภายใน 4 เดือน นับตั้งแต่วันสิ้นงวดในแต่ละไตรมาส
อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ ยังมีปัจจัยบางประการที่เป็นสาเหตุสำคัญ ทำให้ไม่สามารถจัดทำข้อมูลภายในระยะเวลาที่กำหนด เช่น การสำรวจข้อมูล ณ สิ้นไตรมาสที่ 1/2552 ใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 6 เดือนเนื่องจากเป็นช่วงเวลาคาบเกี่ยวกับการจัดทำข้อมูลรายปีงวดสิ้นปี 2551 ที่ต้องให้ความสำคัญกับข้อมูลรายปีก่อนเพราะแจ้งกำหนดการเผยแพร่ข้อมูลแก่สาธารณชนไว้แล้ว ทำให้ต้องยืดระยะเวลาในการจัดทำข้อมูลไตรมาสที่ 1 ออกไป ส่วนการสำรวจข้อมูล ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 เริ่มจัดทำข้อมูลเมื่อภาระงานการจัดทำข้อมูลรายปีเสร็จสิ้น และสามารถจัดทำข้อมูลได้ตรงตามแผนงานที่กำหนดไว้ ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินการดังนี้ (แผนภาพที่ 2)
งวดข้อมูลไตรมาสที่ 1 ปี 2552 : สำรวจและประมวลผลในช่วงเวลาระหว่าง เมษายน ถึง กันยายน 2552
งวดข้อมูลไตรมาสที่ 2 ปี 2552 : สำรวจและประมวลผลในช่วงเวลาระหว่าง กรกฎาคม ถึง ตุลาคม 2552
ในการสำรวจข้อมูล ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี 2552 นั้น ธปท. ส่งหนังสือนำและส่งแบบสำรวจทาง e-mail เป็นหลัก เพื่อขอความอนุเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลรายใหญ่ที่คัดเลือกไว้จำนวนทั้งสิ้น 540 บริษัท และ 595 บริษัท ตามลำดับ ปรากฏว่า อัตราการตอบกลับก่อนการ cut-off ข้อมูลไปประมวลผลอยู่ที่ประมาณร้อยละ 79 และ 66 ของจำนวนตัวอย่างที่ส่งไปในแต่ละไตรมาสตามลำดับ อัตราการตอบกลับค่อนข้างสูงส่วนใหญ่เป็นผลจากผู้ประกอบการตระหนักถึงความจำเป็นของทางการที่ต้องมีข้อมูลใช้ในการดำเนินนโยบายผู้จัดเก็บข้อมูลได้ติดตาม ชี้แจง ตอบข้อสงสัยแก่ผู้ให้ข้อมูลทุกราย และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันมาโดยต่อเนื่อง ทำให้ ธปท. ได้รับความร่วมมือค่อนข้างดี ส่วนการสำรวจข้อมูล ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 มีอัตราการตอบกลับลดลง เป็นผลมาจากช่วงระยะเวลาการติดตามแบบสำรวจสั้นกว่าการสำรวจข้อมูล ณ สิ้นไตรมาสแรก และหลายบริษัทเปลี่ยนใจไม่ขอตอบข้อมูลเป็นรายไตรมาส (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 : อัตราการตอบกลับ
จำนวนตัวอย่าง(ราย) การตอบกลับ จำนวน (ราย) สัดส่วน (%) ไตรมาสที่ 1/52 540 428 79.3 ไตรมาสที่ 2/52 595 392 65.9
ที่มา : ทีมฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ ฝ่ายบริหารข้อมูล ธปท.
เมื่อนำมูลค่าเงินลงทุนแต่ละประเภทที่ได้จากการสำรวจไปเทียบกับ expected stock พบว่า มูลค่าเงินลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) และมูลค่าเงินลงทุนไทยในต่างประเทศ (TDI) มี coverage เฉลี่ยต่อไตรมาสอยู่เพียงประมาณร้อยละ 50 และ 60 ตามลำดับ (ตารางที่ 3) ต่ำกว่าเกณฑ์ที่เป็นตัวแทนประชากรซึ่งยอมรับได้ ด้วยเหตุนี้ จึงต้องทำการประมาณการข้อมูลในส่วนที่ไม่ได้ตอบกลับ (รายใหญ่) และส่วนที่ไม่ได้สำรวจ (รายย่อย) เพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 50 และร้อยละ 40 ของมูลค่าเงินลงทุนแต่ละประเภทตามลำดับ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประชากร
ตารางที่ 3 : อัตราการตอบกลับคิดตามจำนวนราย และมูลค่าเงินลงทุนแต่ละประเภท
อัตราการตอบกลับ (%) คิดตาม ภาคธุรกิจเอกชนที่มิใช่ธนาคาร จำนวนราย *1 มูลค่าเงินลงทุน *2 ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ข้อมูล FDI 77.0 65.3 55.2 46.5 ข้อมูล TDI 63.1 59.3 64.3 58.6
*1 รายที่ตอบกลับ/จำนวนกลุ่มตัวอย่างแต่ละประเภท
*2 ของรายที่ตอบกลับ/มูลค่าประชากรแต่ละประเภท
ที่มา : ทีมฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ ฝ่ายบริหารข้อมูล ธปท.
ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจได้นำมาประมวลผลตามขั้นตอนทางสถิติ และข้อมูล IIP ที่ได้จะผ่านการตรวจสอบและจัดเก็บในรูปสมการกระทบยอด (reconciliation format) เช่นเดียวกับข้อมูลรายปี นั่นคือ
t t-1
ในระหว่างไตรมาส t (ธุรกรรม ราคา อัตราแลกเปลี่ยน และอื่นๆ)
(1) เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ : ทุนเรือนหุ้นและกำไรสะสม (FDI : Equity capital and reinvested earnings) โดยลักษณะข้อมูลเป็นมูลค่ายอดคงค้าง (stock)
(2) กำไรส่วนที่ต่างชาตินำกลับมาลงทุน (Reinvested earnings : R.E.) โดยลักษณะข้อมูลเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นระหว่างงวด (flow)
(3) เงินลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ : ทุนเรือนหุ้นและกำไรสะสม (TDI : Equity capital and reinvested earnings) โดยลักษณะข้อมูลเป็น stock
(4) กำไรส่วนที่นักลงทุนไทยนำไปลงทุนต่อในต่างประเทศ (Reinvested earnings : R.E.) : โดยลักษณะข้อมูลเป็น flow
ทั้งนี้ ข้อมูล stock ของ FDI และ TDI ใช้สำหรับการจัดทำบัญชี IIP ส่วนข้อมูล flow ของ R.E. ใช้สำหรับการจัดทำบัญชีดุลการชำระเงิน (*3)
ในการคำนวณประชากรข้อมูลหลักทั้ง 4 นั้น ต้องมีข้อมูลครบ 3 ส่วน ได้แก่ (1) ส่วนที่สำรวจและได้ข้อมูลตอบกลับ (2) ส่วนที่สำรวจแต่ไม่ได้ข้อมูลตอบกลับ และ (3) ส่วนที่ไม่ได้สำรวจ (รายย่อย) ดังนั้น เพื่อให้ได้ข้อมูลประชากรจะประมาณการข้อมูลในส่วนที่ (2) และ (3) โดยอิงกับโครงสร้างของข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ ดังนี้
(1) เงินลงทุนโดยตรง (ทั้งจาก/ในต่างประเทศ) ข้อมูล stock สิ้นงวดไตรมาส 1 ส่วนที่ (2) และ (3) ประมาณการโดยใช้อัตราการเปลี่ยนแปลง (growth rate) ของข้อมูล stock ที่ได้จากการสำรวจ คูณ stock เงินลงทุนงวดสิ้นปี 2551 ส่วนรายการเปลี่ยนแปลงระหว่างงวด (การทำธุรกรรม ราคา อัตราแลกเปลี่ยน และอื่นๆ) ประมาณการตามสัดส่วน (proportional method) ของแต่ละปัจจัยที่ได้จากการสำรวจ สำหรับการทำธุรกรรมอาศัยข้อมูลจากรายงานการนำเข้าและส่งออกของเงินลงทุนโดยตรงในแต่ละไตรมาสประกอบด้วย และขจัดปัญหาการนับซ้ำของข้อมูล การประมาณการข้อมูลไตรมาสที่ 2 ดำเนินการในทำนองเดียวกัน
(2) ข้อมูลกำไรที่นำกลับมาลงทุน (ทั้งส่วนของต่างชาติ/คนไทย) ข้อมูล flow ของ R.E.(*4) คิดมาจากกำไร สุทธิหักด้วยเงินปันผลหรือกำไรส่งกลับ ตามสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ลงทุนโดยตรง (ถือหุ้นสามัญหรือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไป) ประมาณโดยใช้ % ROE (Return on equity) ที่คำนวณจากข้อมูลที่สำรวจได้ดังสูตร
% ROE = R.E./ ((stock เงินลงทุน + stock เงินลงทุน ) / 2) x 100 สำรวจ,t สำรวจ, t สำรวจ, t-1 สำรวจ, t
แล้วนำ % ROE ไปประมาณ R.E. จาก stock เงินลงทุนที่ประมาณได้ในข้อ (1) ข้างต้น จะได้ข้อมูล R.E. ของส่วนที่สำรวจแต่ไม่ได้ข้อมูลและส่วนที่ไม่ได้สำรวจ (รายย่อย) ดังสูตร
R.E. = % ROE X ((stock เงินลงทุน + stock เงินลงทุน ) / 2) ประมาณการ,t สำรวจ, t ประมาณการ, t-1 ประมาณการ, t
100 ข้อมูลประชากรที่ได้ ดังแสดงในตารางที่ 4 มีประเด็นสำคัญ ดังนี้ (1) ด้าน FDI ทั้ง stock ของเงินลงทุน และ flow ของ R.E. มีสัดส่วนของข้อมูลสำรวจต่อส่วนที่ประมาณการเฉลี่ยประมาณ 50 : 50 ขณะที่ TDI มีสัดส่วน 60 : 40 ส่วนที่ประมาณการมีสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง ย่อมมีผลต่อ ความเชื่อมั่นของข้อมูลประชากรที่ได้ ซึ่งเป็นประเด็นที่พึงระวัง จึงได้มีการทดสอบคุณภาพของข้อมูลตามรายละเอียดในหัวข้อที่ 4. (2) เมื่อนำข้อมูลประชากร ณ สิ้นไตรมาสที่ 1/2552 เทียบกับสิ้นปี 2551 ทั้ง stock ของ FDI และ TDI ในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. ค่อนข้างทรงตัว ในขณะที่สิ้นไตรมาสที่ 2/2552 เทียบกับสิ้นไตรมาสที่ 1/2552 FDI เพิ่มขึ้นมาก ที่สำคัญเป็นผลจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยค่าเงินบาทแข็งขึ้นร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.และราคาตลาดเพิ่มขึ้น (ตารางที่ 5) ส่วน TDI เพิ่มขึ้นจากผลของอัตราแลกเปลี่ยนและการทำธุรกรรม (3) ข้อมูล R.E. ส่วนที่ต่างชาตินำกลับมาลงทุนในไตรมาสที่ 2/2552 มีมูลค่าลดลงจนเป็นลบ จากการประกาศจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นหรือกำไรส่งกลับให้แก่บริษัทแม่ในจำนวนที่สูงกว่ากำไรสุทธิที่กิจการทำได้ ในช่วงไตรมาสที่ 2/2552 โดยใช้กำไรที่สะสมไว้ในช่วงก่อนหน้า ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลการโอนผลประโยชน์จากการถือหุ้นไปต่างประเทศในตารางบัญชีดุลการชำระเงินพบว่า ส่วนใหญ่กระจุกตัวในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 (*5) ตารางที่ 4 : ผลการสำรวจและการประมาณการ หน่วย : ล้านดอลลาร์ สรอ. Stock : Equity Capital and R.E. Flow : Reinvested Earnings ภาคธุรกิจเอกชนที่มิใช่ธนาคาร ณ สิ้นงวด (R.E.) ปี 2551 ไตรมาส 1/52 ไตรมาส 2/52 ไตรมาส 1/52 ไตรมาส 2/52 เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ข้อมูลสำรวจ 62,125 38,852 34,636 267 -444 ข้อมูลประชากร (สำรวจ + ประมาณการ) 75,250 75,486 79,957 464 -1,062 สัดส่วนของข้อมูลที่สำรวจได้ (%) 82.6 51.5 43.3 57.5 41.8 เงินลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (TDI) ข้อมูลสำรวจ 8,714 5,682 5,559 74 62 ข้อมูลประชากร (สำรวจ + ประมาณการ) 9,147 8,830 9,487 112 101 สัดส่วนของข้อมูลที่สำรวจได้ (%) 95.3 64.3 58.6 66.1 61.4
ที่มา : ทีมฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ ฝ่ายบริหารข้อมูล ธปท.
ก่อนการสำรวจข้อมูล IIP รายไตรมาส ธปท. ได้จัดทำบัญชี IIP เพื่อใช้เป็นการภายในสำหรับติดตามภาวะเศรษฐกิจรายไตรมาส โดยข้อมูล IIP ของภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคารในส่วนของเงินลงทุนโดยตรงและกำไรสะสมจัดทำจากวิธีคร่าวๆ เรียกว่า วิธีคำนวณยอดคงค้างจากยอดธุรกรรมสะสมระหว่างงวด ซึ่งคล้ายกับวิธี expected stock ในหัวข้อ 2.3 โดยรวมข้อมูลกำไรที่นำกลับมาลงทุนของปีก่อนเฉลี่ยต่อไตรมาสด้วย และรับรู้ผลของอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อตีค่าบาทเป็นดอลลาร์ สรอ. แต่ไม่รวมการเปลี่ยนแปลงราคาตลาดระหว่างงวด (ให้เท่ากับศูนย์) ขณะที่ข้อมูลวิธีสำรวจรายไตรมาส+ประมาณการ ได้ข้อมูลครบตามสมการ reconciliation format ทั้งนี้ข้อมูลทั้ง 2 วิธี แสดงรายละเอียดดังตารางที่ 5
ตารางที่ 5 : ตัวอย่างข้อมูล FDI วิธีสำรวจและประมาณการเทียบกับวิธีคำนวณยอดคงค้างจากยอดธุรกรรมสะสมระหว่างงวด
หน่วย : ล้านดอลลาร์ สรอ.
มูลค่าตลาด การเปลี่ยนแปลงระหว่างงวด มูลค่าตลาด ภาคธุรกิจเอกชนที่มิใช่ธนาคาร ณ สิ้นไตรมาส 1 ธุรกรรมสุทธิ ราคา อัตรา อื่นๆ ณ สิ้นไตรมาส 2 (รวม R.E.) แลกเปลี่ยน วิธีสำรวจ + ประมาณการ Equity capital and reinvested earnings 75,486 -531 1,652 3,355 -5 79,957 วิธีคำนวณยอดคงค้างจากยอดธุรกรรมสะสมระหว่างงวด Equity capital and reinvested earnings 75,545 1,484 0 3,362 0 80,391
ที่มา : ทีมฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ ฝ่ายบริหารข้อมูล ธปท.
ด้วยวิธีการที่ต่างกัน ทำให้ผลที่ได้มีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะ FDI ผลต่างที่เกิดขึ้นมีนัยสำคัญมาก โดยเฉพาะกำไรที่นำกลับมาลงทุน และหากทำการเปรียบเทียบมูลค่าตลาดหรือยอดคงค้าง ณ สิ้นงวดที่ไม่รวม R.E. พบว่า มูลค่าตลาดของ FDI ณ สิ้นงวดด้วยวิธีสำรวจและประมาณการ สูงกว่าวิธีคำนวณยอดคงค้างจากยอดธุรกรรมสะสมระหว่างงวด โดยเฉพาะ ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ที่สูงถึง 1,627 ล้านดอลลาร์ สรอ. (ตารางที่ 6) ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่าผลต่างนี้มีมูลค่าใกล้เคียงกับการเปลี่ยนแปลงด้านราคาตลาดที่เกิดขึ้นจากราคาหลักทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้น (ตารางที่ 5) สะท้อนประโยชน์ที่ได้จากการสำรวจในความถี่ที่สูงขึ้น ทำให้เห็นผลกระทบจากการประเมินค่าสินทรัพย์และหนี้สินได้ดีขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเกิดความผันผวนจากปัจจัยภายนอก (external vulnerabilities) ที่ส่งผลต่อราคาและการเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์และหนี้สิน
ตารางที่ 6 : สรุปผลวิธีสำรวจและประมาณการกับวิธีคำนวณยอดคงค้างจากยอดธุรกรรมสะสมระหว่างงวด
หน่วย : ล้านดอลลาร์ สรอ.
มูลค่าตลาด ณ สิ้นงวด กำไรที่นำกลับมา มูลค่าตลาด ณ สิ้นงวด ภาคธุรกิจเอกชนที่มิใช่ธนาคาร (รวม R.E.) ลงทุน (R.E.) (ไม่รวม R.E.) ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) วิธีสำรวจ + ประมาณการ 75,486 79,957 464 -1,062 75,022 81,019 วิธีคำนวณยอดคงค้างจาก 75,545 80,391 999 999 74,546 79,392 ยอดธุรกรรมสะสมระหว่างงวด* ผลต่าง -59 -434 -535 -2,061 476 1,627 เงินลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (TDI) วิธีสำรวจ + ประมาณการ 8,830 9,487 112 101 8,718 9,386 วิธีคำนวณยอดคงค้างจาก 8,802 9,409 88 88 8,714 9,321 ยอดธุรกรรมสะสมระหว่างงวด* ผลต่าง 28 78 24 13 4 65
* ข้อมูลกำไรที่นำกลับมาลงทุน (R.E.) สำหรับวิธีคำนวณยอดคงค้างจากยอดธุรกรรมสะสมระหว่างงวดจะใช้ R.E. ของปี 2551 เฉลี่ยเป็นรายไตรมาส
ที่มา : ทีมฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ ฝ่ายบริหารข้อมูล ธปท.
หากนำผลที่ได้จาก 2 วิธีดังกล่าวข้างต้น ไปจัดทำบัญชี IIP รวมของทุกภาคเศรษฐกิจ ดังตารางที่ 7 เพื่อ เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อมูลกำไรที่นำกลับมาลงทุนสุทธิ (Net R.E.) ที่เกิดจาก R.E. ด้านสินทรัพย์หักด้วย R.E. ด้านหนี้สิน และฐานะการลงทุนระหว่างประเทศสุทธิ (Net IIP) ที่เกิดจากสินทรัพย์รวมหักด้วยหนี้สินรวมของทั้ง 2 วิธี พบว่าข้อมูล Net R.E. ในไตรมาสที่ 2 มีความแตกต่างกันถึง 2,074 ล้านดอลลาร์ สรอ. แต่หากเปรียบเทียบ Net IIP กลับไม่แตกต่างกันมากนัก ทั้งนี้เนื่องจากผลของการเปลี่ยนแปลงด้านราคาของข้อมูล FDI ที่เป็นบวก สามารถหักกลบได้ใกล้เคียงกับ R.E. ที่เป็นลบในไตรมาสที่ 2 ของปี จากผลกระทบของปัจจัยทั้งสองนี้สะท้อนให้เห็นว่า ภายใต้สภาวะที่เศรษฐกิจมีความผันผวน จะส่งผลต่อราคาตลาดและกำไรที่นำกลับมาลงทุนซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากการสำรวจเพียงแหล่งเดียวและความแตกต่างของข้อมูล 2 วิธีจะพบได้เมื่อทำการสำรวจข้อมูล IIP ของธุรกิจเอกชนที่มิใช่ธนาคารซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญภาคหนึ่งเท่านั้น
ตารางที่ 7 : การเปรียบเทียบข้อมูล IIP ระหว่างวิธีสำรวจและประมาณการกับวิธีคำนวณยอดคงค้างจากยอดธุรกรรมสะสมระหว่างงวด
หน่วย : ล้านดอลลาร์ สรอ.
Stock : Net IIP Flow : Net R.E. (Assets — Liabilities) (Assets — Liabilities) ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 All Sector วิธีสำรวจ + ประมาณการ -4,167 -12,220 -412 1,299 วิธีคำนวณยอดคงค้างจาก -4,253 -12,732 -970 -775 ยอดธุรกรรมสะสมระหว่างงวด ผลต่าง 86 512 558 2,074 เฉพาะ Non bank วิธีสำรวจ + ประมาณการ -104,946 -109,475 -353 1,163 วิธีคำนวณยอดคงค้างจาก -105,032 -109,987 -911 -911 ยอดธุรกรรมสะสมระหว่างงวด ผลต่าง 86 512 558 2,074
ที่มา : ทีมฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ ฝ่ายบริหารข้อมูล ธปท.
ผลการสำรวจ IIP ของไทย ณ สิ้นไตรมาสแรกปี 2552 แสดงการขาดดุลที่ต่ำมากเป็นประวัติการณ์เพียง 4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นการขาดดุลต่อเนื่องหลังจากที่เผยแพร่อย่างเป็นทางการผ่าน web site เมื่อสิ้นเดือนกันยายน 2552 โดย ณ สิ้นปี 2551 ฐานะการลงทุนสุทธิของไทยมียอดขาดดุล 13.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากการขาดดุล 56.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นปี 2550 และค่าเฉลี่ยในอดีต (2543-2550) ขาดดุล 55.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ เป็นผลจากเงินสำรองระหว่างประเทศของไทยที่เพิ่มขึ้น และการผ่อนคลายมาตรการเงินทุนเคลื่อนย้ายที่ทำให้คนไทยนำเงินไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศและในหลักทรัพย์ต่างประเทศมากขึ้น มีผลให้สินทรัพย์ทางการเงินของไทยปรับเพิ่มขึ้นมาก ในขณะที่วิกฤติการณ์การเงินในปี 2550 กลับทำให้หนี้สินของไทยลดลงจากการที่นักลงทุนต่างชาติถอนการลงทุนในหลักทรัพย์ไทยเพื่อนำเงินกลับไปเสริมสภาพคล่อง รวมถึงการลดลงของราคาหุ้นที่นักลงทุนต่างชาติถือครองตามการปรับลดของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย
อย่างไรก็ตาม ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 ฐานะการลงทุนระหว่างประเทศของไทยขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็น 12 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากหนี้สินต่างประเทศเพิ่มขึ้นสูงกว่าสินทรัพย์ต่างประเทศ รายการที่เพิ่มขึ้นมาก คือ เงินลงทุนจากต่างประเทศในตราสารทุน เนื่องจากนักลงทุนเห็นโอกาสที่น่าเสี่ยงลงทุน (Risk appetite) ในตลาดทุนของไทยและภูมิภาค เป็นปัจจัยทำให้นักลงทุนต่างชาติกลับมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย และดัชนีราคาหลักทรัพย์ของไทยเพิ่มขึ้นจากสิ้นไตรมาสแรกถึงร้อยละ 40
เนื่องจากสัดส่วนของส่วนที่ต้องประมาณการต่อส่วนที่ได้จากการสำรวจค่อนข้างสูงคือประมาณครึ่งต่อครึ่ง(ดังกล่าวในข้อ 3.2) ทำให้มีความจำเป็นต้องพิจารณาคุณภาพของข้อมูลสำรวจ FDI, TDI และ R.E.ที่ตอบกลับมาว่า เป็นกลุ่มตัวอย่างที่จะสามารถเป็นตัวแทนที่ดีสำหรับข้อมูลในภาพรวมได้หรือไม่ เพื่อตอบคำถามนี้จึงใช้วิธีการทดสอบคุณภาพข้อมูลโดยการหาค่าความคลาดเคลื่อนที่คาด (expected error) และนำค่าที่ได้ไปทดสอบนัยสำคัญทางสถิติ
การคำนวณค่าความคลาดเคลื่อนที่คาดทำได้โดยการนำ %coverage ของ FDI และ TDI ที่ได้ในไตรมาสที่ 1 และ 2 มาทดสอบกับฐานข้อมูลประชากรรายปี ณ สิ้นปี 2550 และ 2551 ตามลำดับ (ภายใต้สมมติฐานที่ว่าข้อมูลที่ได้จากการสำรวจรายปีเป็นประชากร หรือมี %coverage เท่ากับ 100 โดยไม่รวมส่วนที่ประมาณการให้ครบ) ทั้งนี้ ต้องมีการสุ่มตัวอย่างจากฐานข้อมูลรายปีให้ได้ %coverage ตามที่ตอบกลับมา เพื่อนำตัวอย่างที่ได้มาหาความคลาดเคลื่อนที่คาด และทำการสุ่มตัวอย่างหลายๆ ครั้ง ให้ได้กลุ่มตัวอย่าง (expected error sample) ในจำนวนที่มากพอที่จะทำให้ข้อมูลมีการแจกแจงแบบปกติ(*6) เพื่อใช้ในการทดสอบนัยสำคัญทางสถิติด้วยค่าสถิติทดสอบมาตรฐาน (*7) (รายละเอียดของวิธีการสุ่มเลือกตัวอย่างแสดงไว้ในภาคผนวก I)
ความคลาดเคลื่อนที่คาดในกรณีศึกษานี้ หมายถึงความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการประมาณการ (estimation error) ซึ่งมีสูตรในการคำนวณดังนี้
---------------------------------------------
ข้อมูลประชากรจริง
เมื่อได้กลุ่มตัวอย่างของความคลาดเคลื่อนที่คาด และผ่านการทดสอบการแจกแจงแบบปกติ (รายละเอียดในภาคผนวก II) ได้นำตัวอย่างดังกล่าวมาคำนวณหาค่าทางสถิติ ได้แก่ ค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย ( X e ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SDe) และค่าสถิติทดสอบมาตรฐาน (Z) ซึ่งใช้ทดสอบนัยสำคัญของความคลาดเคลื่อนที่คาดโดยมีสมมติฐานหลัก คือ ค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยเท่ากับศูนย์ (H0 : X e = 0 ) และมีผลลัพธ์ที่เป็นตัวเลขทางสถิติแสดงในตารางที่ 8-9
ตารางที่ 8 : ผลการทดสอบคุณภาพข้อมูลเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI)
% Coverage 55 % (ไตรมาส 1) 47 % (ไตรมาส 2) ประเภทข้อมูลที่ประมาณ S tock R.E. Stock R.E. ค่าเฉลี่ย expected error (mean %) 3.8 22.9 4.4 26.9 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD %) 2.2 15.7 2.5 14.7 จำนวนตัวอย่าง 20 20 20 20 ค่าสถิติ Z 7.6* 6.5* 7.9* 8.2*
* ค่าสถิติ Z ที่แสดงว่าค่าความคลาดเคลื่อนที่ได้มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ซึ่งมีค่าวิกฤติ Z0.025 = ?1.96
ที่มา : ทีมฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ ฝ่ายบริหารข้อมูล ธปท.
ตารางที่ 9 : ผลการทดสอบคุณภาพข้อมูลเงินลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (TDI)
% Coverage 64 % (ไตรมาส 1) 59 % (ไตรมาส 2) ประเภทข้อมูลที่ประมาณ Stock R.E. Stock R.E. ค่าเฉลี่ย expected error (mean %) 4.1 41.0 1.6 65.8 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD %) 3.2 24.2 1.3 23.2 จำนวนตัวอย่าง 20 20 20 20 ค่าสถิติ Z 5.8* 7.6* 5.9* 12.7*
* ค่าสถิติ Z ที่แสดงว่าค่าความคลาดเคลื่อนที่ได้มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ซึ่งมีค่าวิกฤติ Z0.025 = ?1.96
ที่มา : ทีมฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ ฝ่ายบริหารข้อมูล ธปท.
การทดสอบคุณภาพข้อมูลประชากรที่ประมาณได้ ตาม % coverage ของแต่ละไตรมาสกับฐานข้อมูลประชากรจริงปี 2550 และ 2551 โดยใช้ Z test ทดสอบกับค่าความคลาดเคลื่อนที่คาด สรุปผลได้ ดังนี้
(1) ตามผลการทดสอบในตารางที่ 8 และ 9 จะเห็นได้ว่า ค่าความคลาดเคลื่อนที่คาดของข้อมูลประชากรการลงทุนทุกประเภทที่ประมาณได้ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (ค่าสถิติ Z ทุกตัวมีค่ามากกว่าค่าวิกฤต) ซึ่งหมายความว่า ในการสุ่มตัวอย่างข้อมูลเพื่อนำมาประมาณประชากร 100 ครั้ง การที่จะสรุปว่าค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยมีค่าเท่ากับศูนย์ มีโอกาสผิดพลาดเกินกว่า 5 ครั้ง หรือสรุปได้ว่าค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยนั้นไม่เท่ากับศูนย์ ทำให้ต้องปฏิเสธสมมติฐานหลักในการทดสอบ (วิธีการทดสอบสมมติฐานแสดงไว้ที่ภาคผนวก III)
(2) เมื่อเปรียบเทียบการประมาณข้อมูล Stock และ R.E. แล้ว พบว่าทั้งด้าน FDI และ TDI การประมาณ ข้อมูล Stock มีค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยที่ต่ำกว่าการประมาณข้อมูล R.E. ค่อนข้างมาก โดยการสำรวจข้อมูล ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 และ 2 ข้อมูล stock ของ FDI มีค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.8 และ 4.4 ส่วน TDI อยู่ที่ร้อยละ 4.1 และ 1.6 ตามลำดับ ดังนั้น ข้อมูล stock ประชากรที่ประมาณได้ เทียบกับข้อมูลประชากรจริงจะไม่แตกต่างกันนัก แม้ค่าความคลาดเคลื่อนที่คาดจะมีนัยสำคัญทางสถิติก็ตาม ส่วนข้อมูล R.E. ทั้ง FDI และ TDI มีค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยที่สูงมาก โดยเฉพาะด้าน TDI ซึ่งมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 2 ไตรมาสสูงถึงกว่าร้อยละ 50 ทั้งยังมีการกระจายตัวของข้อมูลค่อนข้างสูงอีกด้วย จึงทำให้มีการศึกษาแนวทางในการประมาณ R.E. วิธีใหม่ โดยใช้ข้อมูล TDI เป็นกรณีศึกษาและนำมาทดสอบทางสถิติ เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบกับวิธีการประมาณที่ใช้ในปัจจุบันและจะนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดทำ R.E. ต่อไป (รายละเอียดแสดงไว้ในภาคผนวก IV)
การทดสอบคุณภาพข้อมูลข้างต้น เป็นเพียงการประมาณค่าความคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้นจากการ ประมาณมูลค่าการลงทุนด้วยความครอบคลุมที่ได้จากการสำรวจข้อมูล ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 และ 2 ปี 2552 เทียบกับฐานข้อมูลการสำรวจรายปี 2550 และ 2551 เท่านั้น ส่วนที่จะสรุปว่าการประมวลผลและประมาณการข้อมูล IIPรายไตรมาสของภาคเอกชนที่มิใช่ธนาคารที่จัดทำอยู่นี้จะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด จำเป็นต้องมีการติดตามผลการสำรวจรายไตรมาสต่อไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อให้มีข้อมูลที่เพียงพอที่จะนำไปเปรียบเทียบกับการจัดทำข้อมูลรายปี (ซึ่งจะมีความครอบคลุมที่สูงกว่า) แล้วนำมาทดสอบความคลาดเคลื่อน รวมถึงศึกษาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพของข้อมูลต่อไป
จากผลการทดสอบข้างต้น ได้นำกลุ่มตัวอย่างของ FDI ที่ไม่ตอบกลับในการสำรวจข้อมูล ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 จำนวน 203 บริษัทไปเทียบกับฐานข้อมูลสำรวจปี 2551 ซึ่งมีข้อสมมติให้เป็นข้อมูลประชากรดังกล่าวในข้อ 4.1 เพื่อต้องการแสดงให้เห็นว่า สัดส่วน stock FDI และ flow R.E. ของบริษัทที่ไม่ตอบกลับต่อประชากรของแต่ละประเภทธุรกิจมีมากน้อยเพียงใด ซึ่งได้สรุปและนำมาแสดงผลเฉพาะ 6 ประเภทธุรกิจที่สำคัญ ตามตารางที่ 10 ดังนี้
ตารางที่ 10 : ข้อมูล FDI ของ 6 ประเภทธุรกิจที่ไม่ตอบกลับในไตรมาสที่ 2 ปี 2552 ตามมูลค่าในปีประชากร 2551
ปี 2551 ประเภทธุรกิจ มูลค่า (ล้านดอลลาร์ สรอ.) สัดส่วน * (%) Stock FDI Flow R.E. Stock FDI Flow R.E. เครื่องใช้ไฟฟ้า 3,799 1,034 32.4 94.4 อุปกรณ์ขนส่ง 2,456 306 26.1 32.0 สถาบันการเงิน 2,083 181 51.5 80.0 น้ำมันและแก๊สธรรมชาติ 2,013 34 74.8 -39.6 อาหารและเครื่องดื่ม 1,013 91 52.3 66.0 รถยนต์ 851 48 51.0 41.0 รวม (6 ธุรกิจ) 12,215 1,694 38.8 69.2
* นำรายชื่อบริษัทที่ไม่ตอบกลับในไตรมาสที่ 2/52 ไปหามูลค่าตามฐานประชากรปี 2551/มูลค่าของเงินลงทุนแต่ละประเภทธุรกิจ
ที่มา : ทีมฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ ฝ่ายบริหารข้อมูล ธปท.
ตามตารางที่ 10 จะเห็นได้ว่ามูลค่ารวม R.E. ของบริษัทที่ไม่ตอบกลับของ 6 ประเภทธุรกิจที่สำคัญ ข้อมูลจะหายไปถึงร้อยละ 69.2 ของมูลค่า R.E. รวมของ 6 ธุรกิจในปี 2551 นับว่าเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง จึงเป็นสาเหตุสำ คัญที่ทำ ให้ค่าความคลาดเคลื่อนที่คาดมีค่าสูงอย่างมีนัยสำ คัญตามผลการทดสอบข้างต้นในขณะเดียวกัน stock FDI ที่ไม่ตอบกลับก็มีค่าสูงด้วย แม้ว่าสัดส่วนจะต่ำกว่า R.E. ประมาณครึ่งหนึ่งก็ตามข้อมูลที่ประมาณการได้จึงมีค่าความคลาดเคลื่อนที่มีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน
ทั้งนี้ จากการสำรวจข้อมูล IIP ณ สิ้นไตรมาส 1 และ 2 ปี 2552 เหตุผลที่รวบรวมได้จากรายที่ไม่ตอบกลับจำนวน 198 บริษัท สรุปได้ดังนี้ (ตารางที่ 11)
ตารางที่ 11 : การไม่ตอบกลับของผู้ให้ข้อมูล
ลำดับ เหตุผล จำนวน สัดส่วน (ราย) (ร้อยละ) 1 ผู้ให้ข้อมูลไม่สามารถจัดทำข้อมูลให้ภายในระยะเวลาที่กำหนดได้ 86 43 2 ข้อมูลงบการเงินเป็นตัวเลขประมาณการ และไม่ผ่าน 46 23 การตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต 3 ไม่มีบุคลากร และเวลาสำหรับจัดทำข้อมูล 28 14 4 ไม่มีการจัดทำงบการเงินรายไตรมาส 25 13 5 ไม่มีประกาศเป็นกฎหมายให้จัดส่งแบบฯ เป็นรายไตรมาส 13 7 รวม 198 100
ที่มา : ทีมฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ ฝ่ายบริหารข้อมูล ธปท.
การศึกษานี้ให้ผลชัดเจนว่าข้อมูลฐานะการลงทุนระหว่างประเทศของภาคธุรกิจเอกชนที่มิใช่ธนาคาร จากวิธีการสำรวจรายไตรมาส โดยใช้แบบส.บช.3/1 เช่นเดียวกับการรายงานรายปี มีการประเมินราคาตลาดของสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินของผู้ประกอบการและข้อมูลกำไรที่นำกลับมาลงทุน ทำให้สะท้อนฐานะทางการเงินที่แท้จริงได้มากกว่าแหล่งข้อมูลที่ได้จากวิธีการคำนวณยอดคงค้างจากยอดธุรกรรมสะสมระหว่างงวดของยอดสุทธิการชำระเงินเพื่อการทำธุรกรรมที่ยังขาดการประเมินราคา อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้ข้อมูลจากการสำรวจ จะต้องคำนึงถึงผลการทดสอบคุณภาพความเชื่อมั่นในเชิงสถิติของการสำรวจที่จะมากน้อยขึ้นอยู่กับความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามจากธุรกิจเอกชนเป็นสำคัญ
การสำรวจข้อมูลฐานะการลงทุนระหว่างประเทศรายไตรมาสของธุรกิจเอกชนที่มิใช่ธนาคาร ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 และ 2 ปี 2552 ธุรกิจเอกชนให้ความร่วมมือตอบกลับแบบสำรวจประมาณร้อยละ 65-80 ของจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ส่งไปทั้งหมด หลังจากนำข้อมูลมาประมาณการเป็นข้อมูลประชากรแล้ว ปรากฏว่าตัวอย่างที่สำรวจ ครอบคลุมเพียงประมาณร้อยละ 50 ของมูลค่าประชากร ทำให้ข้อมูลประชากรที่ประมาณขึ้นมีความคลาดเคลื่อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม การทดสอบในกรณีศึกษานี้อยู่บนพื้นฐานของโครงสร้างข้อมูลประชากรในปี 2550 และ 2551 ซึ่งในปี 2552 อาจเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น ข้อมูลประชากรรายไตรมาส ข้างต้นที่ประมาณขึ้น จะใกล้เคียงกับข้อมูลจริงมากน้อยเพียงใด ต้องรอเปรียบเทียบกับข้อมูล IIP งวดรายปี 2552ซึ่งกำหนดประมวลผลแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2553
การจัดทำข้อมูล IIP เป็นรายไตรมาสเป็นภาระค่อนข้างสูงไม่เฉพาะกับผู้จัดทำข้อมูลแต่รวมถึงผู้ให้ข้อมูลด้วย ข้อมูล IIP สำหรับประเทศที่มีระบบการเงินเล็กและไม่มีหนี้สินมากอาจมีความสำคัญค่อนข้างน้อย ดังนั้นภายใต้โครงการ SDDS ปัจจุบัน จึงเป็นเพียงการกระตุ้นแต่ยังไม่บังคับให้ประเทศสมาชิกทุกประเทศจัดทำข้อมูลIIP รายไตรมาสด้วยความล่าช้าในการเผยแพร่ 1 ไตรมาส อย่างไรก็ตาม การที่ประเทศไทยเป็นระบบเศรษฐกิจเปิด มีการพึ่งพิงทั้งเงินทุนและเทคโนโลยีในการผลิตจากต่างชาติ จึงเป็นประเทศที่มีหนี้สินระหว่างประเทศค่อนข้างสูง โดย ณ สิ้นปี 2551 ร้อยละ 50 ของหนี้สินรวมของไทยอยู่ในรูปเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและเงินกู้ของภาคธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร อีกทั้งในปัจจุบันสินทรัพย์ทางการเงินของไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเงินสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นมากโดยอยู่ที่ 142 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ประกอบกับการผ่อนคลายมาตรการเงินทุนเคลื่อนย้ายเป็นลำดับที่ผ่านมาทำให้สินทรัพย์ของไทยเพิ่มขึ้น จากการที่คนไทยนำเงินไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศและในหลักทรัพย์ต่างชาติ ดังนั้น ความผันผวนจากภายนอกย่อมส่งผลต่อราคาและการเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์และหนี้สิน การมีข้อมูลในความถี่ที่สูงขึ้นจะทำให้เข้าใจผลกระทบจากการประเมินค่าสินทรัพย์และหนี้สินได้ดีขึ้น
การสำรวจข้อมูลฐานะการลงทุนระหว่างประเทศของธุรกิจเอกชนที่มิใช่ธนาคารรายไตรมาสที่ดำเนินมานี้ถือว่าเป็นกรณีศึกษาที่ทำให้ ธปท. ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคของผู้ให้ข้อมูล แล้วนำมาประมวลหาข้อสรุปและวางแนวทางการสำรวจข้อมูลในระยะต่อไป ทั้งนี้ ในเบื้องต้น ธปท.จะสำรวจข้อมูล IIP เป็นรายไตรมาสทุกไตรมาสและจะสำรวจรายไตรมาสต่อเนื่องไปอีก 2-3 ปี เพื่อป้องกันความสับสนแก่ธุรกิจเอกชนผู้ให้ข้อมูล และให้ได้ข้อมูลอนุกรมที่มากเพียงพอต่อการนำไปพิจารณาแนวโน้ม ทิศทางการลงทุนและทดสอบความเชื่อมั่นทางสถิติ ด้วยแนวทางการสำรวจข้างต้นและวิธีการประมาณข้อมูลที่นำมาใช้ น่าจะทำให้การจัดทำบัญชีฐานะการลงทุนระหว่างประเทศรายไตรมาสของไทยได้ข้อมูลที่ครอบคลุม มีความน่าเชื่อถือ และสามารถเผยแพร่แก่สาธารณชนได้ในอนาคตอันใกล้
อนึ่ง การเผยแพร่ข้อมูล IIP ด้วยความล่าช้า 1 ไตรมาสนั้น กระบวนการสำรวจธุรกิจเอกชนรายไตรมาสที่ผ่านมายังไม่สามารถประมวลผลและเผยแพร่ได้ทันตามเงื่อนไขดังกล่าว ขณะที่การประมาณการ IIP ของภาคธุรกิจเอกชนที่มิใช่ธนาคารด้วยวิธีการคำนวณยอดคงค้างจากยอดธุรกรรมสะสมระหว่างงวด สามารถบรรลุเงื่อนไขนี้ได้ แต่จำเป็นต้องหาวิธีประเมินราคาตลาดและกำไรที่นำกลับมาลงทุนระหว่างงวดเพิ่มเติมเพื่อกำจัดจุดอ่อนของวิธีการนี้ ทั้งนี้ ประเทศสมาชิก IMF ที่เข้าร่วมโครงการ SDDS ทั้งหมด 67 ประเทศ ที่เผยแพร่ข้อมูล IIP เป็นรายไตรมาสด้วยความล่าช้า 1 ไตรมาส ณ สิ้นปี 2552 มีทั้งหมด 37 ประเทศ (ร้อยละ 55)
การคัดเลือกตัวอย่างในการทดสอบ ได้จัดทำขึ้นบนบรรทัดฐานที่ใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงโดยแสดงภาพประกอบคำอธิบายเกี่ยวกับวิธีการสุ่มตัวอย่างได้ตามแผนภาพที่ (i) และมีขั้นตอนการจัดทำดังนี้
(1) นำข้อมูลสำรวจรายปี (ในแผนภาพใช้ข้อมูลปี 2550) มาเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยตามมูลค่าเงินลงทุน ณ ต้นงวดi (OpeningY2007) ตามแต่ละประเภทการลงทุน ซึ่งในตัวอย่างเป็นข้อมูล FDI
(2) เลือกคุ้มรวม (coverage) ของมูลค่า FDI ณ ต้นงวด (OpeningY2007) ที่ร้อยละ 80
(3) เมื่อได้รายชื่อผู้ประกอบการตั้งต้นแล้ว นำมูลค่า ณ สิ้นงวดของแต่ละรายการมาเทียบเป็นสัดส่วนต่อมูลค่าเงินลงทุนรวม ณ สิ้นงวด (% to Total)
(4) ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่จะนำมาประมาณค่าความคลาดเคลื่อนต่อไป โดยสุ่มรายชื่อผู้ประกอบการจากกลุ่มที่ได้คัดเลือกมาดังกล่าวตามสัดส่วนมูลค่าการลงทุนของรายการนั้นต่อมูลค่าการลงทุนรวม (สุ่มตาม Column % to Total) ให้ได้มูลค่ารวมครอบคลุมมูลค่า FDI ณ สิ้นงวด ที่ร้อยละ 55 (ให้ % to Total รวมกันเป็น 55%) และทำเช่นเดียวกันนี้กับการทดสอบค่าความคลาดเคลื่อนสำหรับ FDI ไตรมาสที่ 2 และ TDI ของทั้ง 2 ไตรมาส โดยใช้ %coverage ของข้อมูลดังกล่าวแทนค่าในการสุ่มตัวอย่างจาก % to total
การพิจารณาการแจกแจงของข้อมูลตัวอย่างในกรณีการศึกษานี้ ใช้ค่าคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error) ประกอบกับมาตรวัดค่าการแจกแจงของข้อมูล ทั้งค่าความเบ้ (Skewness) และความโด่ง (Kurtosis) ในการทดสอบ โดยใช้ค่าคลาดเคลื่อนมาตรฐานของมาตรวัดทั้งสองในการสร้างช่วงความเชื่อมั่นซึ่งค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของความเบ้และความโด่งจะขึ้นอยู่กับจำนวนข้อมูล (n) ถ้าข้อมูลมีการแจกแจงปกติแล้ว ค่าคลาดเคลื่อนของความเบ้และความโด่งสามารถคำนวณได้จากสูตรดังต่อไปนี้
ช่วงความเชื่อมั่น 95% ของ skewness คือ
Skewness +- 1.96 +- (SE Skew)
ช่วงความเชื่อมั่น 95% ของ kurtosis คือ
Kurtosis +- 1.96 +- (SE Kurt)
ทั้งนี้ หากช่วงความเชื่อมั่น 95% ของค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานทั้ง 2 ข้างต้น ครอบคลุมค่าศูนย์แปลว่ากลุ่มตัวอย่างมีการแจกแจงปกติที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และแสดงว่าข้อมูลชุดนี้มีความสมมาตร(ตามหลักสถิติ หมายถึง การแจกแจงมีความเบ้อย่างไม่มีนัยสำคัญ) และมีความโด่งแบบปกติ (ตามหลักสถิติ หมายถึง การแจกแจงมีความโด่งต่ำกว่า/สูงกว่าปกติอย่างไม่มีนัยสำคัญ) ดังนั้น เราสามารถกล่าวได้ว่าข้อมูลชุดนี้มีการแจกแจงแบบปกติ (normal distribution) ด้วยระดับความเชื่อมั่น 95%
มาตรวัดการแจกแจงและช่วงความเชื่อมั่นที่คำนวณได้จากกลุ่มตัวอย่าง มีผลลัพธ์ทางสถิติตามตารางที่ (i) และตารางที่ (ii) ดังต่อไปนี้
ตารางที่ ( i ) : ผลการสร้างช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 ของมาตรวัดการแจกแจงของค่าความคลาดเคลื่อนของ FDI
%Coverage 55% 47% ประเภทของข้อมูล Stock R.E. Stock R.E. S.E. Kurt 0.992 0.992 0.992 0.992 S.E. Skew 0.512 0.512 0.512 0.512 Kurtosis -0.480 -0.136 -0.710 -0.806 ขอบบน 0.524 0.867 0.293 0.198 ขอบล่าง -1.483 -1.140 -1.714 -1.810 Skewness 0.677 0.818 -0.140 -0.274 ขอบบน 2.623 2.763 1.805 1.671 ขอบล่าง -1.268 -1.127 -2.085 -2.219
ที่มา : ทีมฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ ฝ่ายบริหารข้อมูล ธปท.
ตารางที่ ( ii ) : ผลการสร้างช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 ของมาตรวัดการแจกแจงของค่าความคลาดเคลื่อนของ TDI
%Coverage 64% 59% ประเภทของข้อมูล Stock R.E. Stock R.E. S.E. Kurt 0.992 0.992 0.992 0.992 S.E. Skew 0.512 0.512 0.512 0.512 Kurtosis -0.714 -0.515 -0.307 -0.508 ขอบบน 0.289 0.489 0.697 0.495 ขอบล่าง -1.718 -1.518 -1.311 -1.512 Skewness 0.999 0.182 0.697 0.784 ขอบบน 2.944 2.127 2.642 2.729 ขอบล่าง -0.946 -1.763 -1.248 -1.161
ที่มา : ทีมฐานะการลงทุนระหว่างประเทศ ฝ่ายบริหารข้อมูล ธปท.
จากตารางที่ (i) และ (ii) พบว่าช่วงความเชื่อมั่น 95% ของ Skewness และ Kurtosis ของทุกประเภทการลงทุน อยู่ในช่วงที่ครอบคลุมค่าศูนย์ ดังนั้น จึงสามารถสรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างค่าความคลาดเคลื่อนของการลงทุนทุกประเภทมีการแจกแจงแบบปกติ ด้วยความเชื่อมั่น 95%
ในการทดสอบนัยสำคัญทางสถิติด้วยค่าสถิติทดสอบ Z (Z-test) ซึ่งมีสมมติฐานหลักที่กำหนดไว้ว่า ค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยมีค่าเท่ากับศูนย์ (H0 : = 0 e X ) ทำได้โดยการเปรียบเทียบค่าสถิติ Z ที่คำนวณได้จากกลุ่มตัวอย่าง กับค่าสถิติทดสอบ Z ที่เปิดได้จากตาราง หรือค่าวิกฤต ในระดับความเชื่อมั่นที่กำหนด*ii ซึ่งโดยปกติจะกำหนดไว้ที่ร้อยละ 95 หรือร้อยละ 99 เพื่อความน่าเชื่อถือของข้อมูล
สำหรับในกรณีศึกษานี้ ได้กำหนดระดับความเชื่อมั่นไว้ที่ร้อยละ 95 ซึ่งมีค่าวิกฤตเท่ากับ +-1.96 ค่าสถิติ Z ใดๆที่อยู่นอกขอบเขตความเชื่อมั่นดังกล่าว หรือตกอยู่ในพื้นที่การปฏิเสธ (rejectionregion) ตามพื้นที่แรเงาสีแดงในแผนภาพที่ (iii) แสดงว่าค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง นั้น แตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ต้องปฏิเสธสมมติฐานหลักที่ตั้งไว้ กล่าวคือ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ในการสุ่มตัวอย่างเพื่อนำมาประมาณประชากร 100 ครั้ง การที่จะสรุปว่าค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยมีค่าเท่ากับศูนย์ มีโอกาสผิดพลาดเกินกว่า 5 ครั้ง และสามารถสรุปได้ว่า ค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่ทดสอบมีนัยสำคัญทางสถิติ ii
*ii ระดับความเชื่อมั่นคือ ค่าความน่าจะเป็น (probability) หรือโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ใดๆตามสมมติฐานที่กำหนด หรือโอกาสที่ค่าประมาณแบบช่วงจะมีความถูกต้องมากน้อยเพียงใด ซึ่งนักสถิติจะเป็นผู้กำหนด โดยทั่วไปมักกำหนดไว้ที่ระดับ 95% หรือ 99%
สืบเนื่องจากผลการทดสอบทางสถิติที่พบว่าการประมาณการ R.E. ทั้งด้าน FDI และ TDI ให้ค่าความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยที่สูงมาก โดยเฉพาะด้าน TDI ทำให้มีการพิจารณาวิธีการประมาณ R.E. วิธีใหม่ขึ้น โดยใช้ข้อมูล TDI เป็นกรณีศึกษา ด้วยเห็นว่าลักษณะของข้อมูล TDI มีความกระจุกตัวมากกว่า FDI และมูลค่าเงินลงทุนรวมของ R.E. มีผู้ประกอบการรายใหญ่เพียงไม่กี่รายที่เป็นผู้ลงทุนหลัก ดังนั้น จึงสันนิษฐานว่า ตัวอย่างที่คัดเลือกมาสำรวจรายไตรมาสอาจไม่สามารถเป็นตัวแทนที่ดีนักสำหรับภาพรวมของการลงทุน
เมื่อพิจารณาการกระจายตัวของรายการ R.E. จากกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มมา ทำให้พบว่ามีข้อมูลบางรายการที่มีค่าหลุดออกจากการกระจายตัวของกลุ่มตัวอย่างโดยรวม ซึ่งอาจมีส่วนทำให้การประมาณการมูลค่า R.E. ผิดเพี้ยนไปจากที่ควรจะเป็น จึงได้นำเอาหลักการควบคุมคุณภาพข้อมูล (Quality Control) มาใช้ในการดักจับรายการข้อมูลที่ผิดปกติมาก โดยใช้หลักการของ 3SD*iii กล่าวคือ มูลค่า R.E. รายการใดๆก็ตามที่อยู่นอกขอบเขตของช่วง +-3 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวอย่าง ให้ถือว่ารายการนั้นเป็นค่าผิดปกติ (Outlier) ซึ่งลักษณะการกระจายตัวของ Outlier แสดงไว้ในแผนภาพที่ (iv)
จากลักษณะของข้อมูลดังกล่าว ทำให้มีแนวทางในการประมาณ R.E. แบบใหม่ โดยพิจารณาตัดค่าผิดปกติ (Outlier) ออกจากกลุ่มตัวอย่างก่อนที่จะนำข้อมูลส่วนที่เหลือไปคำนวณหา ROE เพื่อใช้ในการประมาณค่า R.E. ตามสัดส่วนของรายการ R.E. ที่เป็นบวกและลบแยกกัน
*iii การตรวจสอบค่าผิดปกติ (Outlier) ในกรณีที่ข้อมูลที่ศึกษามีการแจกแจงแบบปกติ ค่ามาตรฐาน (Z) จะมีค่าไม่เกิน l3l (absolute 3) ถ้าหากข้อมูลมีคะแนนมาตรฐานเกินกว่านี้แสดงว่าเป็นค่าผิดปกติ เนื่องจากในการประมาณค่าการแจกแจงโค้งปกติ จะมีข้อมูลประมาณ 99% ที่ตกอยู่ใน 3 ช่วงของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ของค่าเฉลี่ย (mean) ดังนั้นคะแนนมาตรฐาน Z มากกว่า 3 จึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก
ทั้งนี้แม้ว่าค่าผิดปกติ (Outlier) จะถูกคัดออกจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประมาณการมูลค่า R.E. ส่วนที่เหลือ แต่มูลค่า R.E. ของ Outlier จะยังคงถูกรวมเข้าไปในการคิดมูลค่ารวมของ R.E. ทั้งหมด ด้วยสมมติฐานที่เชื่อว่า Outlier เป็นข้อมูลที่มีความแตกต่างจากกลุ่ม มีเอกลักษณ์ในตัวเอง จึงไม่สามารถเป็นตัวแทนที่ดีของภาพรวมการลงทุนได้ แต่มิได้หมายความว่ารายการ R.E. ที่เป็น Outlier นี้เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นมูลค่า R.E. รวมที่ได้จะประกอบไปด้วย มูลค่า R.E. ที่ได้จากการสำรวจทั้งหมด (รวม Outlier) และ มูลค่า R.E. ที่ได้จากการประมาณการซึ่งการประมาณ R.E. โดยวิธีดังกล่าว
(*1) จากการรวบรวมข้อมูลของ IMF พบว่า ปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูล IIP 118 ประเทศ จำแนกเป็นเผยแพร่รายปี 72 ประเทศ (ร้อยละ 61) รายครึ่งปี 2 ประเทศ (ร้อยละ 2) และรายไตรมาส 44 ประเทศ (ร้อยละ 37) และหากพิจารณาเฉพาะประเทศที่เป็นสมาชิกโครงการ SDDS ที่มีทั้งหมด 67 ประเทศ พบว่า ณ สิ้นปี 2552 มี 37 ประเทศ (ร้อยละ 55) ที่เผยแพร่ข้อมูล IIP เป็นรายไตรมาสด้วยความล่าช้า 1 ไตรมาส ขณะที่ 7 ประเทศเผยแพร่รายไตรมาสด้วยความล่าช้ามากกว่า 1 ไตรมาส มี 2 ประเทศเผยแพร่รายครึ่งปีด้วยความล่าช้าครึ่งปี และ 12 ประเทศเผยแพร่เป็นรายปีด้วยความล่าช้า 6 เดือน ที่เหลืออยู่ตามเกณฑ์ SDDS ที่เผยแพร่รายปีด้วยความล่าช้า 3 ไตรมาส
(*2) ดูแบบสอบถามได้ที่ http://www.bot.or.th/Thai/DataManagementSystem/Survey/survey_form/survey%20form/แบบสบช3_1_TH_Yearly.doc
(*3) ดูรายละเอียดที่ http://www.bot.or.th/Thai/PressAndSpeeches/Press/News2549/n4549t.pdf
(*4) ดูวิธีการจัดทำข้อมูลกำไรที่นำกลับมาลงทุนที่ http://www.bot.or.th/Thai/PressAndSpeeches/Press/News2549/n4549t_annex.pdf
(*5) ดูรายละเอียดที่ http://www2.bot.or.th/statistics/Download/EC_XT_012_TH_ALL.XLS รายการที่ 40 เมื่อสุ่มตัวอย่างหลายๆ ครั้งจะได้กลุ่มตัวอย่างของความคลาดเคลื่อนที่คาด เพื่อนำไปทดสอบนัยสำคัญทางสถิติในลำดับต่อไป
(*6) การแจกแจงแบบปกติ (normal distribution) เป็นการแจกแจงตัวแปรสุ่มชนิดต่อเนื่อง แสดงด้วยเส้นโค้งความน่าจะเป็นที่มีพื้นที่ใต้เส้นโค้งทั้งหมด เป็น 1 ลักษณะของเส้นโค้งปกติเป็นรูประฆังคว่ำ มีจุดศูนย์กลางที่ค่าเฉลี่ยของประชากรและสมมาตรรอบค่าเฉลี่ย ซึ่งทำให้ ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน และ ฐานนิยม อยู่ที่จุดเดียวกัน
(*7) สถิติทดสอบมาตรฐาน Z สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานจะพิจารณาที่ลักษณะการแจกแจงของข้อมูล ขนาด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูล ซึ่งในกรณีนี้ข้อมูลมีการแจกแจงแบบปกติ และไม่ทราบค่าความแปรปรวนของประชากร
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย