หนังสือชี้ชวน พันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งในปีงบประมาณ พ.ศ.2553 ครั้งที่ 1

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 7, 2010 16:10 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

คุ้มค่า ปลอดภัย มั่นใจ พันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งในปีงบประมาณ พ.ศ.2553 ครั้งที่ 1

สรุปข้อมูลสำคัญ พันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 1

สรุปข้อมูลสำคัญ

พันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง ในปีงบประมาณ พ.ศ.2553 ครั้งที่ 1

1. กระทรวงการคลังจะออกพันธบัตรออมทรัพย์ (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "พันธบัตร")

โดยมีเงื่อนไขสำคัญ ดังนี้

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
          อายุ                            6 ปี
อัตราดอกเบี้ย (คูปอง)      ปีที่  1 - 2   อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.0

ปีที่ 3 - 4 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.0

ปีที่ 5 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.0

ปีที่ 6 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.0 +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

หมายเหตุ : กระทรวงการคลังจะประกาศอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรในวันที่ 6 พฤษภาคม 2553 ผ่าน Website

ของกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย รวมทั้ง Website ของธนาคารพาณิชย์ตัวแทนจำหน่าย

2. กระทรวงการคลังจะจัดจำหน่ายพันธบัตร อายุ 6 ปี จำนวน 1 รุ่น วงเงินรวม 100,000 ล้านบาท

โดยจะเริ่มเปิดให้ซื้อในวันที่ 17 - 21 พฤษภาคม 2553

โดยพันธบัตรรุ่นนี้มีกำหนดการจำหน่าย ดังนี้

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
        ช่วง     จำนวนวัน        วันที่                ผู้มีสิทธิซื้อ              วงเงินซื้อต่อราย
       จำหน่ายที่  ที่จำหน่าย                                               ขั้นต่ำ          ขั้นสูง
          1      2 วัน    17 - 18 พ.ค. 53    อายุ 60 ปีขึ้นไป *1/     10,000 บาท     1,000,000 บาท

ผู้มีสิทธิซื้อทั่วไปรวมทั้งผู้มี

          2      3 วัน    19 - 21 พ.ค. 53    อายุ 60 ปีขึ้นไป         10,000 บาท     1,000,000 บาท
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

** จำกัดการซื้อ 1 คำเสนอขอซื้อ ต่อ 1 ช่วงจำหน่าย  ต่อ 1 ธนาคาร

หมายเหตุ : *1/ อายุ 60 ปีขึ้นไป หมายถึง ผู้ที่เกิดก่อนหรือภายในปี พ.ศ.2493

3. ผู้ออกพันธบัตร กระทรวงการคลัง (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "กค.")

4. นายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "ธปท.")

5. ผู้จัดจำหน่าย - ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารออมสิน
  • ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารซิตี้แบงก์ เอ็น.เอ. สาขากรุงเทพฯ

6. ราคาจำหน่าย

ราคาหน่วยละ 10,000 บาท

วงเงินซื้อขั้นต่ำ 10,000 บาท

และซื้อเพิ่มเป็นจำนวนเท่าของ 10,000 บาท

วงเงินซื้อขั้นสูงไม่เกิน 1,000,000 บาท

7. การจ่ายดอกเบี้ย

  • ปีละ 2 งวด คือในวันที่ 19 พฤศจิกายน และ 19 พฤษภาคม ของทุกปี โดยจ่ายดอกเบี้ยเป็นเงิน งวดละเท่าๆ กัน จนกว่าพันธบัตรจะครบกำหนด ยกเว้นงวดแรกและงวดที่ 2 จะคำนวณดอกเบี้ย จากจำนวนวันที่เกิดขึ้นจริง
  • การนับเวลาเพื่อคำนวณดอกเบี้ยให้ถือว่า หนึ่งปีมี 365 วัน เศษของ 1 สตางค์ให้ปัดทิ้ง
  • กค. โดย ธปท. จะโอนดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากประจำ) ของผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรที่ฝากไว้ที่ธนาคารใดก็ได้ ตามที่แจ้งไว้ในใบคำเสนอขอซื้อพันธบัตร ซึ่งการโอนดอกเบี้ยเข้าบัญชีจะมีการคิดค่าธรรมเนียมตามระเบียบของแต่ละธนาคาร
  • กค. โดย ธปท. จะจ่ายดอกเบี้ยของพันธบัตรในแต่ละงวด ให้แก่ผู้มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรในทะเบียน ณ เวลาที่เริ่มต้นทำการงานในวันแรกแห่งระยะเวลา 30 วัน ก่อนถึงกำหนดชำระดอกเบี้ย
  • หากวันจ่ายดอกเบี้ยตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดทำการธนาคาร จะชำระดอกเบี้ย ในวันทำการถัดไปแทน
  • สำหรับดอกเบี้ยงวดสุดท้ายจะชำระพร้อมต้นเงินในวันที่ครบกำหนดไถ่ถอน หากวันที่ ครบกำหนดไถ่ถอนตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดทำการธนาคาร จะชำระในวันทำการถัดไปแทน

8. การหักภาษี ณ ที่จ่าย

ธปท. จะหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ตามอัตราที่ประกาศในประมวลรัษฎากร ทุกครั้งที่มีการจ่ายดอกเบี้ย และ สำหรับบุคคลธรรมดาสามารถเลือกได้ว่าจะนำไปรวมคำนวณภาษี ณ สิ้นปีหรือไม่

9. การขายก่อนวันครบกำหนด

  • ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรสามารถขายพันธบัตรก่อนวันครบกำหนดได้ ตั้งแต่วันที่ 19 พฤจิกายน 2553 เป็นต้นไป ให้กับสถาบันการเงินหรือบุคคลอื่นตามราคาที่จะตกลงกัน

10. การไถ่ถอนเงินต้นเมื่อครบกำหนด

  • วันที่ 19 พฤษภาคม 2559
  • ธปท. จะปิดพักทะเบียนไถ่ถอน 30 วัน ก่อนวันที่ครบกำหนดชำระคืนเงินต้น หรือ ตามระเบียบ และวิธีการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
  • ธปท. จะส่งใบคำขอรับคืนเงินต้น ให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตร ก่อนวันที่ครบกำหนดชำระคืน ต้นเงิน เพื่อให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรแจ้งหมายเลขบัญชีเงินฝากธนาคารที่ต้องการให้นำต้นเงินเข้าบัญชีและดำเนินการอื่น ๆ ตามรายละเอียดที่กำหนด
  • กค. โดย ธปท. จะโอนต้นเงินเข้าบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากประจำ) ของผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรที่ฝากไว้ที่ธนาคารใดก็ได้ (ธนาคารในประเทศไทยเท่านั้น) ตามที่แจ้งไว้ในใบคำขอรับคืนเงินต้น หากวันที่ครบกำหนดชำระคืนเงินต้นตรงกับวันหยุดราชการหรือวันหยุดทำการธนาคาร กค. โดย ธปท. จะชำระคืนเงินต้นในวันเปิดทำการถัดไป (ไม่มีการคำนวณดอกเบี้ยชดเชยให้) ซึ่งการโอนเงินเข้าบัญชีจะมีการคิดค่าธรรมเนียมตามระเบียบของแต่ละธนาคาร
  • การชำระต้นเงินกู้ตามพันธบัตรนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อ ธปท. ได้รับคืนพันธบัตรในกรณีที่มีการ ออกใบตราสาร หรือได้รับแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับคืนต้นเงินกู้จากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ในกรณีที่ไร้ใบตราสาร

11. ผู้มีสิทธิซื้อ

บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทยหรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย สภากาชาดไทย มูลนิธิ สมาคม วัด สถานศึกษาของรัฐ โรงพยาบาลของรัฐ สหกรณ์ และนิติบุคคลอื่นใดที่ไม่มีวัตถุประสงค์ในการ แสวงหากำไร

(ผู้ไม่มีสิทธิซื้อ ประกอบด้วย ธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บริษัทประกัน กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนส่วนบุคคลที่บริหารโดยสถาบันการเงิน กองทุนรวม คณะบุคคล บรรษัท สำนักงานประกันสังคม รัฐวิสาหกิจ บริษัท ห้างร้าน นิติบุคคลที่แสวงหากำไร นิติบุคคลอาคารชุด นิติบุคลหมู่บ้านจัดสรร โรงพยาบาลเอกชน และสถานศึกษาเอกชน)

12. สถานที่แจ้งความประสงค์ขอซื้อพันธบัตร

สำนักงานใหญ่ และสาขาทั่วประเทศ ของธนาคารพาณิชย์ตัวแทนจำหน่าย ประกอบด้วย

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารออมสิน ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)

ธนาคาร นครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)

            ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)        ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)

ธนาคารซิตี้แบงก์ เอ็น.เอ. สาขากรุงเทพฯ

13.วิธีการซื้อพันธบัตร

แจ้งความประสงค์ขอซื้อพันธบัตร พร้อมชำระเงินได้ที่ธนาคารพาณิชย์ตัวแทนจำหน่าย โดยกรอกรายละเอียดใน "คำเสนอขอซื้อพันธบัตร" พร้อมให้ตัวอย่างลายชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในพันธบัตร ในแบบฟอร์ม A4 (บุคคลธรรมดา) หรือ ตัวอย่างลายมือชื่อผู้มีอำนาจจัดการตราสารหนี้ (นิติบุคคล) โดยผู้ยื่นคำเสนอขอซื้อพันธบัตรก่อนมีสิทธิ์ได้รับการจัดสรรก่อน

14. เอกสารประกอบการซื้อพันธบัตร

(ให้ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องเอกสารทุกฉบับ พร้อมประทับตรา (ถ้ามี))

  • กรณีบุคคลธรรมดา

(1) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้าน

(2) สำเนาหน้าแรกของสมุดคู่ฝากบัญชี (ยกเว้นบัญชีเงินฝากประจำ)

  • กรณีบุคคลธรรมดาที่เป็นชาวต่างชาติ

(1) สำเนาใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย หรือสำเนาบัตรประจำตัวคนต่างด้าว

(2) สำเนาหน้าแรกของสมุดคู่ฝากบัญชี (ยกเว้นบัญชีเงินฝากประจำ)

  • กรณีสภากาชาดไทย มูลนิธิ หรือนิติบุคคลอื่นฯ

(1) สำเนาหนังสือจดทะเบียนจัดตั้ง

(2) ตัวอย่างลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมสำเนาบัตรประชาชน

(3) หนังสือมอบอำนาจจากผู้มีอำนาจขององค์กรให้มาดำเนินการซื้อพันธบัตร พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

(4) สำเนาหน้าแรกของสมุดคู่ฝากบัญชี (ยกเว้นบัญชีเงินฝากประจำ)

(5) สำเนาหนังสือหรือประกาศของกรมสรรพากรว่าเป็นนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้น

ไม่ต้องเสียภาษี หากไม่ได้แนบมา กค. โดย ธปท. จำเป็นต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้

  • กรณีสหกรณ์

(1) สำเนาใบสำคัญรับจดทะเบียนสหกรณ์

(2) ตัวอย่างลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมสำเนาบัตรประชาชน

(3) หนังสือมอบอำนาจจากผู้มีอำนาจขององค์กรให้มาดำเนินการซื้อพันธบัตร พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

(4) สำเนาหน้าแรกของสมุดคู่ฝากบัญชี (ยกเว้นบัญชีเงินฝากประจำ)

  • กรณีวัด

(1) สำเนาใบประกาศจัดตั้งวัดออกโดยกรมศาสนา หรือ หนังสือรับรองสภาพวัด หรือ ประกาศการะทรวงศึกษาธิการ

เรื่อง ตั้งวัดในพระพุทธศาสนา

(2) สำเนาใบตราตั้งเจ้าอาวาส

(3) ตัวอย่างลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมสำเนาบัตรประชาชน

(4) หนังสือมอบอำนาจจากผู้มีอำนาจขององค์กรให้มาดำเนินการซื้อพันธบัตร พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ

(5) สำเนาหน้าแรกของสมุดคู่ฝากบัญชี (ยกเว้นบัญชีเงินฝากประจำ)

15. การชำระเงิน

ผู้ซื้อพันธบัตร โปรดศึกษาและทำความเข้าใจวันที่ซื้อวันชำระเงิน วันจดทะเบียน จากตาราง การชำระเงินค่าพันธบัตรำ ให้เข้าใจก่อนตัดสินใจซื้อ

ชำระเงินค่าพันธบัตรได้ที่ธนาคารพาณิชย์ตัวแทนจำหน่าย โดยวิธีการ

(1) ชำระด้วยเงินสด

(2) ชำระด้วยเช็ค โดยขีดคร่อม และสั่งจ่ายบัญชี "บัญชีจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง" โดยเช็คลงวันที่เดียวกับ

วันเสนอขอซื้อพันธบัตร

(3) มอบอำนาจให้ธนาคารพาณิชย์ตัวแทนจำหน่าย หักเงินจากบัญชีเงินฝากของท่าน

โปรดศึกษาและทำความเข้าใจวันที่ซื้อ, วันชำระเงิน, วันจดทะเบียน จากตาราง

"การชำระเงินค่าพันธบัตร" ให้เข้าใจก่อนตัดสินใจซื้อ

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
          ชำระด้วย         วันจดทะเบียน    ชำระด้วยแคชเชียร์เช็ค/เช็คส่วนตัว (เขต         วันจดทะเบียน
        เงินสด / หักบัญชี         และวันที่     Clearing เดียวกัน) ภายในเวลาปิดรับเช็ค        และวันที่
      ภายในเวลา 15.00 น.   เริ่มคิดดอกเบี้ย       ของแต่ละ ธนาคารตัวแทนจำหน่าย          เริ่มคิดดอกเบี้ย
       วันที่ 17 พ.ค. 53     วันที่ 19 พ.ค. 53         วันที่ 17 พ.ค. 53                วันที่ 20 พ.ค. 53
       วันที่ 18 พ.ค. 53     วันที่ 20 พ.ค. 53         วันที่ 18 พ.ค. 53                วันที่ 21 พ.ค. 53
       วันที่ 19 พ.ค. 53     วันที่ 21 พ.ค. 53         วันที่ 19 พ.ค. 53                วันที่ 24 พ.ค. 53
       วันที่ 20 พ.ค. 53     วันที่ 24 พ.ค. 53         ไม่รับเช็ค                       -
       วันที่ 21 พ.ค. 53     วันที่ 25 พ.ค. 53         ไม่รับเช็ค                       -
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

16. วันที่ได้รับพันธบัตร

  • ธปท. จะระบุวันที่จดทะเบียนในพันธบัตรเป็นวันเดียวกันกับวันที่กระทรวงการคลังได้รับเงินจากธนาคารตัวแทนจำหน่าย
  • ธปท. จะให้ธนาคารพาณิชย์ตัวแทนจำหน่ายมารับมอบพันธบัตรเพื่อแจกจ่ายต่อให้แก่ผู้ซื้อ โดยเร็ว แต่ไม่เกิน 30 วันทำการ นับจากวันที่ กค. โดย ธปท. ได้รับเงินค่าพันธบัตร และข้อมูลถูกต้องสมบูรณ์แล้ว จากธนาคารตัวแทนจำหน่าย
  • ผู้ซื้อพันธบัตรสามารถรับพันธบัตรได้โดย

(1) รับที่ธนาคารพาณิชย์ตัวแทนจำหน่าย สำนักงานใหญ่ หรือสาขาที่ท่านได้ชำระเงินไว้

(2) ขอให้ธนาคารพาณิชย์ตัวแทนจำหน่าย จัดส่งให้ท่านทางไปรษณีย์ลงทะเบียน

17. การระบุชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในพันธบัตร

ในการซื้อพันธบัตร ผู้ซื้อระบุชื่อได้เพียงหนึ่งชื่อ ถ้าเจ้าของกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรยังไม่บรรลุ นิติภาวะต้องระบุชื่อผู้ปกครองหรือผู้จัดการเป็นผู้ลงนามซื้อแทน (ผู้ปกครองหรือผู้จัดการให้ระบุชื่อ ได้เพียง 1 คน)

18. การใช้พันธบัตรเป็นหลักประกัน

ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรสามารถใช้พันธบัตรเป็นหลักประกันให้กับหน่วยงานราชการและองค์กร ของรัฐ เช่น การประกันทางศาล หรือการประกันไฟฟ้า และสามารถใช้พันธบัตรเป็นหลักประกันกับ สถาบันการเงิน หรือบุคคลอื่นได้

19. การให้บริการแก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตร

  • การขอแยกหน่วยพันธบัตรเป็นใบพันธบัตรหลายฉบับ (การขอแตกพันธบัตร)

ในการจำหน่ายพันธบัตรครั้งนี้ กค. จะออกพันธบัตรให้ผู้ซื้อเพียง 1 ฉบับ และในกรณีที่จำเป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรสามารถขอแตกพันธบัตรเป็นฉบับย่อยๆ ได้ แต่ราคาพันธบัตรที่แตกเป็นฉบับย่อยๆ แล้วจะต้องเป็นจำนวนเต็มหมื่น เช่น แตกพันธบัตรราคา 50,000 บาท เป็นพันธบัตรฉบับย่อยๆ 2 ฉบับ จำนวนฉบับละ 20,000 บาท และ 30,000 บาท ในการแตกพันธบัตร ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรต้องเสียค่าธรรมเนียมฉบับละ 20 บาท สำหรับบุคคลธรรมดา และ 100 บาท สำหรับผู้ถือกรรมสิทธิ์ประเภทอื่น หรือตามที่ ธปท. จะกำหนดภายหลัง (นับตามจำนวนฉบับของพันธบัตรใหม่ภายหลังการแตก)

ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรสามารถแจ้งความจำนงขอแตกพันธบัตรได้โดยตรงที่ ธปท.สำนักงานใหญ่ สำนักงานภาค หรือธนาคารพาณิชย์ตัวแทนจำหน่าย หากติดต่อโดยตรงที่ ธปท. สำนักงานใหญ่ สำนักงานภาค ธปท. จะดำเนินการแตกพันธบัตรให้ท่านทันที แต่หากติดต่อผ่านธนาคารพาณิชย์ตัวแทนจำหน่าย ธปท. จะดำเนินการให้ทันทีเมื่อได้รับเรื่องจากธนาคารพาณิชย์ตัวแทนจำหน่าย โดยท่านจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มฉบับละ 10 บาท (นับตามจำนวนฉบับของพันธบัตรเดิมที่นำไปแตก) สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายของธนาคารพาณิชย์ตัวแทนจำหน่าย

  • การโอนกรรมสิทธิ์
  • กระทำได้ตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2553 เป็นต้นไป
  • การโอนกรรมสิทธิ์เพื่อเป็นหลักประกัน หรือ โอนทางมรดก หรือ การแบ่งทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการหย่า หรือ ล้มละลาย หรือการชำระบัญชี ให้กระทำได้หลังจากได้รับใบพันธบัตรแล้ว
  • การโอนกรรมสิทธิ์จะกระทำในระหว่างระยะเวลา 30 วัน ก่อนวันครบกำหนดชำระคืนต้นเงิน มิได้ หรือเป็นไปตามระเบียบและวิธีการที่ ธปท. ประกาศกำหนด
  • การจำนำและการถอนจำนำ
  • ขอแก้ไขชื่อจดทะเบียนเจ้าของกรรมสิทธิ์ในพันธบัตร
  • การขอออกพันธบัตรใหม่กรณีสูญหาย
  • การยื่นไถ่ถอนต้นเงินพันธบัตรเมื่อครบกำหนด

ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรสามารถแจ้งความจำนงทำธุรกรรมต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นได้โดยตรงที่ ธปท. สำนักงานใหญ่ สำนักงานภาค หรือผ่านธนาคารพาณิชย์ตัวแทนจำหน่าย หากท่านติดต่อโดยตรงที่ ธปท. สำนักงานใหญ่ สำนักงานภาค ตามที่ท่านขอจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ไว้ ธปท. จะดำเนินการให้ท่านทันที แต่หากท่านติดต่อผ่านธนาคารพาณิชย์ตัวแทนจำหน่าย กค. โดย ธปท. ก็จะดำเนินการให้ทันทีที่ได้รับเรื่องจากธนาคารพาณิชย์ตัวแทนจำหน่าย

ทั้งนี้ ผู้ถือกรรมสิทธิ์จะต้องชำระค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมดังกล่าว ในอัตราสำหรับบุคคลธรรมดา ฉบับละ 20 บาท และสำหรับสำหรับผู้ถือสิทธิ์ประเภทอื่น ๆ ฉบับละ100 บาท หรือตามที่ ธปท. จะกำหนดภายหลัง และต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกฉบับละ 10 บาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายของธนาคาร ในกรณีดำเนินการผ่านธนาคารพาณิชย์ตัวแทนจำหน่าย

20. กระทรวงการคลังขอสงวนสิทธิ์ที่จะปรับเปลี่ยนรุ่น วงเงิน และกำหนดการจำหน่ายพันธบัตร ออมทรัพย์รวมทั้งเงื่อนไขและรายละเอียดอื่นๆ ได้ตามที่เห็นสมควร

21. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

1. ธนาคารพาณิชย์ตัวแทนจำหน่าย ทั้ง 12 แห่ง ดังนี้

  • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โทร. 1333 Website: www.bangkokbank.com
  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 1551 Website: www.ktb.co.th
  • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 0-2888-8888 Website: www.kasikornbank.com
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) โทร. 0-2777-7777 Website: www.scb.co.th
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) โทร. 1572 Website: www.krungsri.com
  • ธนาคารออมสิน โทร. 0 2299 8000 ต่อ 020212 - 15 , 020267 - 69 Website: www.gsb.or.th
  • ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 1558 Website: www.tmbbank.com
  • ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 0 2828 8000 Website: www..scib.co.th
  • ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) โทร. 1770 Website: www.thanachart.co.th
  • ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) โทร. 0 285 1555 Website: www.uob.co.th
  • ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 0 2 626 7777 Website: www.cimbthai.co.th
  • ธนาคารซิตี้แบงก์ เอ็น เอ สาขากรุงเทพฯ โทร. 0 2232 3335 Website: www.citi.com

2. สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง โทร 0-2265-8050 ต่อ 5301, 5303, 5306, 5308 Website: www.pdmo.mof.go.th

3. ธนาคารแห่งประเทศไทย

  • สำนักงานใหญ่ ฝ่ายเงินฝากและตราสารหนี้ โทร. 0-2356-7899
  • สำนักงานภาคใต้ โทร. 0-7423-6200 ต่อ 4363-4365
  • สำนักงานภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ โทร. 0-5393-1073-5
  • สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โทร. 0-4333-3000 ต่อ 3216-3217 Website: www.bot.or.th

ถาม-ตอบ พันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 1

ถาม-ตอบ

พันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 1

1. ทำไมการลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์จึงน่าสนใจ หากเทียบกับการฝากเงินแบบประจำ

กระทรวงการคลังเป็นผู้ออกพันธบัตรออมทรัพย์ โดยมอบหมายให้ ธปท. เป็นนายทะเบียน การลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ จึงเป็นการลงทุนที่มั่นคง ไม่มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับต้นเงินคืน ได้รับดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทนในอัตราแบบขั้นบันได และตามระยะเวลากำหนดที่แน่นอน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรในขณะที่ออกจำหน่ายโดยส่วนใหญ่จะกำหนดให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในขณะนั้น

2. ความเสี่ยงของการถือพันธบัตรออมทรัพย์มีอะไรบ้าง

มีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ อาจเสียโอกาสที่จะลงทุนในทางเลือกอื่น ๆ ที่มีผลตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับจากพันธบัตรออมทรัพย์ เช่น อัตราดอกเบี้ยเงินฝากในอนาคตสูงขึ้นมากกว่าอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผู้ถือพันธบัตรออมทรัพย์จะได้รับดอกเบี้ยคงที่ตามอัตราที่กำหนดไว้บนหน้าพันธบัตรออมทรัพย์ ตลอดอายุพันธบัตรออมทรัพย์

ในกรณีที่นำพันธบัตรออมทรัพย์ไปขายให้กับสถาบันการเงินหรือบุคคลอื่น ก่อนวันครบกำหนด ไถ่ถอน มีความเป็นไปได้ที่จะได้รับต้นเงินคืนไม่เท่ากับ 10,000 บาทต่อหน่วยตามที่ตราไว้ โดยราคาที่ได้ อาจมากกว่าหรือน้อยกว่าก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด ณ ขณะนั้นๆ อย่างไรก็ดี หากผู้ลงทุน ถือพันธบัตรออมทรัพย์จนถึงวันครบกำหนดแล้ว จะได้รับคืนต้นเงินเต็มจำนวนเสมอ

ท่านสามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้ที่ website ต่างๆ ดังนี้ http://www.bot.or.th/Thai/FinancialMarkets/Pages/index.aspx http://www.thaibma.or.th (Bond Tutorial / Investor Guide) http://www.thaibond.com

3. คณะบุคคลหรือกองทุนส่วนบุคคลสามารถซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ได้หรือไม่

คณะบุคคลไม่สามารถซื้อได้ เนื่องจากไม่มีสถานภาพเป็นบุคคล (บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะซื้อได้

กองทุนส่วนบุคคลที่บริหารโดยสถาบันการเงินไม่สามารถซื้อได้

4. การขอคืนภาษีดอกเบี้ยพันธบัตรออมทรัพย์ทำอย่างไร

เมื่อ ธปท. จ่ายดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝากของท่าน ธปท. จะออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานขอคืนภาษีประจำปีได้ ในกรณีที่ฐานเงินได้ของท่านเสียภาษีในอัตรา ที่ต่ำกว่าร้อยละ 15

5. ซื้อแล้วได้หลักฐานอะไรกลับไป

ผู้สนใจรับแบบพิมพ์คำเสนอขอซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ได้จากสำนักงานใหญ่และสาขาของธนาคาร พาณิชย์ตัวแทนจำหน่าย จากนั้นกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วน นำไปยื่นให้เจ้าหน้าที่ธนาคารพาณิชย์ ตัวแทนจำหน่ายที่ท่านติดต่อ ภายในวันที่กำหนด แล้วรับหลักฐานการรับคำเสนอขอซื้อพันธบัตร ออมทรัพย์จากเจ้าหน้าที่ธนาคารพาณิชย์ตัวแทนจำหน่าย

6. เขียนหนังสือไม่เป็นซื้อได้หรือไม่

ได้ โดยเจ้าหน้าที่ธนาคารพาณิชย์ตัวแทนจำหน่ายจะช่วยเขียนให้ ถ้าลงลายมือชื่อไม่เป็น จะให้พิมพ์ ลายนิ้วมือต่อหน้าเจ้าหน้าที่ธนาคารพาณิชย์ตัวแทนจำหน่าย และมีพยานรับรอง 2 คน

7. คู่สมรสจะต้องให้ความยินยอมหากอีกฝ่ายต้องการซื้อพันธบัตรออมทรัพย์หรือไม่

ไม่ต้องให้ความยินยอม

8. การโอนดอกเบี้ยพันธบัตรเข้าบัญชีเงินฝากของท่านที่ธนาคารพาณิชย์ ต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือไม่

ธนาคารพาณิชย์จะหักค่าธรรมเนียมออกไปจากยอดดอกเบี้ยที่ท่านจะได้รับ ในอัตราตามระเบียบ ของแต่ละธนาคาร

9. หากเคยซื้อพันธบัตรและได้ทำบัตรตัวอย่างลายมือชื่อแล้ว จำเป็นต้องทำบัตรตัวอย่างลายมือชื่อใหม่หรือไม่

การจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ครั้งนี้ ให้ผู้ซื้อพันธบัตร ทำตัวอย่างลายมือชื่อใหม่ทุกราย

10. การคำนวณดอกเบี้ยจะคำนวณจากแต่ละหน่วย (10,000 บาท) หรือจากราคาตรารวมต่อใบ (เช่น 100,000 บาท)

จะคำนวณจากราคาตรารวมของแต่ละใบ

11. หากต้องการรับดอกเบี้ยเป็นเงินสดและเช็คจะทำได้หรือไม่

ไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจาก ธปท. จะโอนดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝาก (ยกเว้นบัญชีเงินฝากประจำ) ของผู้ถือกรรมสิทธิ์พันธบัตรออมทรัพย์ ที่ได้แจ้งในใบคำเสนอขอซื้อพันธบัตรเท่านั้น ซึ่งหากเปลี่ยนแปลงบัญชีเงินฝากที่จะใช้รับดอกเบี้ย ให้แจ้งโดยตรงที่ ธปท. สำนักงานใหญ่ สำนักงานภาค หรือธนาคารตัวแทนจำหน่าย สำนักงานใหญ่ และสาขาทั่วประเทศ เพื่อส่งต่อให้ ธปท. ดำเนินการต่อไป

12. การไถ่ถอนคืนต้นเงินพันธบัตรเมื่อครบกำหนดต้องดำเนินการอย่างไร

เมื่อพันธบัตรใกล้ครบกำหนดอายุ ธปท. จะส่งแบบคำขอรับคืนต้นเงินให้แก่ผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อแจ้งหมายเลขบัญชีเงินฝากธนาคารที่ต้องการให้นำต้นเงินเข้าบัญชี และดำเนินการอื่นๆ ตามรายละเอียด ที่กำหนด พร้อมทั้งให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์ส่งคืนพันธบัตรไปที่ ธปท. ด้วย การชำระต้นเงินกู้ตามพันธบัตรนี้ จะกระทำได้ต่อเมื่อ ธปท. ได้รับคืนพันธบัตรในกรณีที่มีการออกใบตราสารหรือได้รับแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับคืนต้นเงินกู้จากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ในกรณีที่ไร้ใบตราสาร

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ