รายงานภาวะและแนวโน้มสินเชื่อของสถาบันการเงินในไตรมาสที่ 2/2553 และแนวโน้มในไตรมาสที่ 3/2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 10, 2010 14:43 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

สรุปภาพรวม*

ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 ความต้องการสินเชื่อภาคธุรกิจ ทั้งธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากไตรมาสก่อนน้อยกว่า ที่คาดการณ์ไว้จากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่ส่งผลให้ธุรกิจมีวันทำการน้อยกว่าปกติ โดยความต้องการสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นกระจุกตัวอยู่ใน ภาคตัวกลางทางการเงิน ภาคการผลิตและภาคการค้าส่งและปลีก สะท้อนสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้นของอุปสงค์ในประเทศทั้งการบริโภคภาคเอกชนและความเชื่อมั่นของ ผู้บริโภค ความต้องการสินเชื่อภาคครัวเรือนประเภทสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อ ภาคครัวเรือนอื่นๆ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน โดยความต้องการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นจากภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยรวมที่ฟื้นตัวต่อเนื่องตามภาวะเศรษฐกิจ และการเร่งโอนกรรมสิทธิ์ของผู้บริโภคจากมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐที่สิ้นสุดลงในเดือนมิถุนายน ความต้องการสินเชื่อบัตรเครดิต ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า จากสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมือง โดยลดลง ทั้งการบริโภคสินค้าคงทนและการจับจ่ายใช้สอยสินค้าจำเป็นทั่วไป

มาตรฐานการให้สินเชื่อแก่ภาคธุรกิจโดยรวมของสถาบันการเงินในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 ทรงตัวต่อเนื่องจากไตรมาส ก่อน ต่างจากที่คาดการณ์ไว้ว่าจะผ่อนคลายเล็กน้อย โดยสถาบันการเงินมี ความกังวลในด้านมุมมองความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น จากสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมือง โดยเฉพาะธุรกิจ โรงแรมและภัตตาคาร วัสดุก่อสร้าง และสิ่งทอ แต่การแข่งขันจากสถาบันการเงินอื่นและการออกตราสารหนี้ของ ธุรกิจ เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้มาตรฐานการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินผ่อนคลายลง มาตรฐานการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยผ่อนคลายต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ขณะที่มาตรฐานการให้สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อครัวเรือนอื่นๆ ทรงตัวจากไตรมาสก่อน แตกต่างจากที่คาดว่าจะผ่อนคลาย

สำหรับแนวโน้มภาวะสินเชื่อในไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 สถาบันการเงินคาดว่าความต้องการสินเชื่อภาคธุรกิจ ทุกประเภท จะยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามความชัดเจนของการฟื้นตัว ทางเศรษฐกิจ หลังจากสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองคลี่คลาย ส่วนความต้องการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจะลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า หลังจากการเร่งโอน กรรมสิทธิ์ของผู้บริโภค ไปแล้ว ในครึ่งปีแรก รวมทั้ง ปัจจัยทางฤดูกาล ที่มีการชะลอตัวของอุปสงค์ ในช่วงไตรมาสที่ 3 ความต้องการ สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อครัวเรือนอื่นๆ คาดว่าจะขยายตัวเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนตามความเชื่อมั่น ของผู้บริโภค ที่ปรับตัวดีขึ้น มาตรฐานการให้สินเชื่อ ภาคธุรกิจ ของสถาบันการเงินคาดว่าจะทรงตัว มาตรฐานการให้สินเชื่อ เพื่อที่อยู่อาศัย ผ่อนคลายเล็กน้อย ขณะที่มาตรฐานการให้สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อครัวเรือนอื่นๆ จะเข้มงวดเล็กน้อย

  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เริ่มจัดทำแบบสำรวจภาวะและแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อรายไตรมาส (BOT’s Survey on Credit Conditions) ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2550 ซึ่งเป็นการสำรวจความคิดเห็น ของผู้บริหารระดับสูงของ สถาบันการเงิน ต่างๆ ที่ดูแลงานด้านสินเชื่อ สำหรับรอบการสำรวจเดือนเมษายน 2553 ได้รับความร่วมมือในการตอบกลับแบบสอบถามจาก สถาบันการเงิน รวมทั้งสิ้นจำนวน 25 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์ไทย 14 แห่ง สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ 5 แห่ง และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Specialized Financial Institutions: SFIs) 6 แห่ง ครอบคลุมสินเชื่อมากกว่าร้อยละ 95 ของสินเชื่อทั้งระบบ

การคำนวนค่า Diffusion Index (DI) จัดทำโดยการถ่วงน้ำหนักคาตอบ 5 ระดับตามสัดส่วนสินเชื่อในแต่ละประเภทของสถาบันการเงินและหาผลรวมสุทธิของสัดส่วนที่ได้ถ่วงน้า หนักแล้ว โดยถ้าค่า DI = -100 หมายถึงลดลงมากหรือเข้มงวดมาก , DI = 0 หมายถึงไม่เปลี่ยนแปลง และ DI = 100 หมายถึงเพิ่มขึ้นมากหรือผ่อนคลายมากรายงานผลการสารวจภาวะการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินในไตรมาสที่ 2 ปี 2553 และแนวโน้มในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2553*

1. สินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจ (Loans or Credit Lines to Enterprises)

ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 ความต้องการสินเชื่อภาคธุรกิจ ทุกประเภทเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากไตรมาสก่อนน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ จากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองที่ส่งผลให้ธุรกิจมีวันทำการน้อยกว่าปกติ ความต้องการสินเชื่อของธุรกิจขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนใหญ่เป็นการขอสินเชื่อเพื่อการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (Fixed investment) และเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน (Working capital) ตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กมีความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและเพื่อการ Refinance โดยความต้องการสินเชื่อของภาคธุรกิจ ที่เพิ่มขึ้นกระจุกตัว ในภาคตัวกลางทางการเงิน ภาคการ ผลิตโดย เฉพาะ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยางและผลิตภัณฑ์พลาสติกและโลหะขั้นพื้นฐาน และภาคการค้าส่งและปลีก เช่นเดียวกับในไตรมาสก่อน สะท้อนสัญญาณการฟื้นตัว ที่ชัดเจนขึ้น ของอุปสงค์ในประเทศทั้ง การบริโภคภาคเอกชนและ ความเชื่อมั่น ของผู้บริโภค รวมถึงอุปสงค์ในต่างประเทศที่ขยายตัวต่อเนื่อง นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ย ที่อยู่ในระดับต่ำยังคง เป็นปัจจัยที่เอื้อต่อความต้องการลงทุนของภาคธุรกิจ ทั้งธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในระยะต่อไป ร้อยละ 66.7 ของสถาบันการเงินคาดว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

ปัจจัยด้านการแข่งขันของเงินทุนจากแหล่งอื่นๆ ในไตรมาสนี้ ที่สาคัญคือ ธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความสามารถในการระดมทุนจากตลาดทุน ทั้งการออกตราสารหนี้และตราสารทุน เนื่องจาก นักลงทุนสนใจที่จะลงทุนในตลาดทุนเนื่องจากได้ผลตอบแทนสูงกว่าการฝากเงิน ซึ่งกระจุกตัวอยู่ในธุรกิจตัวกลางทางการเงินและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รองลงมาคือการแข่งขันจากสถาบันการเงินอื่นและการใช้เงินทุนภายใน ตามลาดับ

มาตรฐานการให้สินเชื่อแก่ภาคธุรกิจโดยรวมของสถาบันการเงินในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 ทรงตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน ต่างจากที่คาดการณ์ไว้ว่าจะผ่อนคลายเล็กน้อย โดยสถาบันการเงินมีความกังวลในด้านมุมมองความเสี่ยง (Risk perception) ที่เพิ่มขึ้น ทั้งจากสภาพอุตสาหกรรมและธุรกิจและภาวะเศรษฐกิจทั่วไปจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง โดยเฉพาะภาคโรงแรมและภัตตาคาร วัสดุก่อสร้าง และสิ่งทอ2 นอกจากนี้ ปัจจัยด้านสภาพคล่องมีสัญญาณตึงตัวบ้างต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนจากการขยายตัวของสินเชื่อส่งผลให้สถาบันการเงินมีความระมัดระวังในการให้สินเชื่อมากขึ้น ขณะที่การแข่งขันจากสถาบันการเงินอื่นและการออกตราสารหนี้ของบริษัทเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้มาตรฐานการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินผ่อนคลายลง

ในส่วนของเงื่อนไขการให้สินเชื่อ สถาบันการเงิน เพิ่มความเข้มงวด โดยปรับ margin สาหรับลูกค้าที่มีความเสี่ยงทั้งธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้กว้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ เพิ่มอัตราค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย (Non-interest charges) สาหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ขณะเดียวกันสถาบันการเงิน ผ่อนคลายเงื่อนไขการให้สินเชื่อสาหรับลูกค้า จัดชั้นปกติทั้งธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในไตรมาสนี้ อัตราการอนุมัติสินเชื่อสาหรับ ธุรกิจขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าขณะที่อัตราการอนุมัติสินเชื่อสาหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทรงตัว

ทั้งนี้ ในไตรมาสนี้ร้อยละ 83.3 ของสถาบันการเงินรายงาน ว่าธุรกิจ ได้รับสินเชื่อเพียงพอต่อความต้องการ ขณะที่ร้อยละ 16.7 ของสถาบันการเงินรายงานว่า ธุรกิจ ได้รับสินเชื่อไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยต้องการความช่วยเหลือ จากภาครัฐ 3 อันดับแรก ได้แก่ การจัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่าการให้ค้าประกันสินเชื่อและการให้สิทธิพิเศษทางภาษี

แนวโน้มภาวะสินเชื่อภาคธุรกิจในไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 สถาบันการเงินคาดว่าความต้องการสินเชื่อภาคธุรกิจทุกประเภทจะยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตาม ความชัดเจนของการฟื้นตัวหลังจากสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองคลี่คลาย ส่วนมาตรฐานการให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน คาดว่าจะทรงตัวสาหรับทั้งธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แต่สถาบันการเงินยังคงระมัดระวังในการให้สินเชื่อแก่ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง

2. สินเชื่อที่ให้แก่ภาคครัวเรือน (Loans to households)

ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 ความต้องการสินเชื่อภาคครัวเรือนประเภทสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อภาคครัวเรือนอื่นๆ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน โดยความต้องการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นจากภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยรวมที่ ฟื้นตัวต่อเนื่องตามภาวะเศรษฐกิจ แม้จะได้รับผลกระทบระยะสั้นจากปัญหาทางการเมือง การเร่งโอนกรรมสิทธิ์ของผู้บริโภคจากมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐที่สิ้นสุดลงในเดือนมิถุนายน ส่วนความต้องการสินเชื่อภาคครัวเรือนอื่นๆ เพิ่มขึ้นจากการ จับจ่ายใช้สอยสินค้าจาเป็นทั่วไป ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น และเงื่อนไขการกู้ยืมที่จูงใจและผ่อนคลายมากขึ้นในไตรมาสนี้ ความต้องการสินเชื่อบัตรเครดิต 4 ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า ต่ากว่าที่คาดการณ์ไว้จากสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ทั้งจากการบริโภคสินค้าคงทนและการจับจ่ายใช้สอยสินค้าจาเป็นทั่วไป

มาตรฐานการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 ผ่อนคลายต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน จากการแข่งขันที่สูงขึ้นทั้งจากสถาบันการเงินอื่น Non-banks และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ สถาบันการเงินผ่อนคลาย เงื่อนไขการกู้ยืม โดยเพิ่มวงเงินกู้ต่อมูลค่าหลักประกัน (Loan-to-value ratio: LTV) ขณะที่สถาบันการเงินกลับมาเข้มงวดเงื่อนไขการลดค่าธรรมเนียมอื่นๆ ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยขึ้นเล็กน้อย ส่วนมาตรฐานการให้สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อครัวเรือนอื่นๆ ทรงตัวจากไตรมาสก่อน แตกต่างจากที่คาดว่าจะผ่อนคลาย จากการเพิ่มขึ้นของมุมมองความเสี่ยงด้าน ภาวะเศรษฐกิจทั่วไปจากปัญหา ความไม่แน่นอนทางการเมืองและความกังวลด้าน ความน่าเชื่อถือด้านเครดิตของผู้กู้ ขณะที่การแข่งขันจากสถาบันการเงินอื่นๆ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจส่งผลให้มาตรฐานการให้สินเชื่อครัวเรือนอื่นๆ ผ่อนคลายลง ส่วนเงื่อนไข การกู้ยืม Loan to Income ratio (LTI) สาหรับสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อครัวเรือนอื่นๆ ทรงตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน

แนวโน้มภาวะสินเชื่อภาคครัวเรือนในไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 สถาบันการเงิน คาดว่าความต้องการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจะลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า จากการเร่งโอน กรรมสิทธิ์ของผู้บริโภค ในไตรมาสที่ 1 และ 2 รวมทั้งอุปสงค์ในตลาดจะชะลอตัวในไตรมาสที่ 3 จากปัจจัยทางฤดูกาล ขณะที่ความต้องการสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อครัวเรือนอื่นๆ จะขยายตัวเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นที่ปรับดีขึ้นของผู้บริโภค สาหรับมาตรฐานการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยคาดว่าจะผ่อนคลายเล็กน้อย ในขณะที่สถาบันการเงินมาตรฐานการให้สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อครัวเรือนอื่นๆ จะเข้มงวดเล็กน้อย

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้จัดทำแบบสำรวจภาวะและแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อ (Senior Loan Officer Survey) ซึ่งเป็นการสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินที่ดูแลงานด้านสินเชื่อ โดยสารวจเป็นประจาทุกไตรมาส เพื่อใช้ทำความเข้าใจและวิเคราะห์สินเชื่อที่ครบถ้วนและลึกมากยิ่งขึ้น ในฐานะที่สถาบันการเงินเป็นกลไกสำคัญในการส่งผ่านของนโยบายการเงินและเสถียรภาพเศรษฐกิจ ซึ่งธนาคารกลางในหลายประเทศได้ทำการสำรวจดังกล่าวมาระยะเวลาหนึ่งแล้วคำถามในแบบสารวจแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ

1) อุปทานของสินเชื่อ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเข้มงวดของมาตรฐานในการปล่อยสินเชื่อ ปัจจัยที่มีผลกระทบ รวมทั้ง เงื่อนไขการให้สินเชื่อ

2) อุปสงค์ของสินเชื่อ ซึ่งสอบถามถึงภาวะและปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการสินเชื่อ และ

3) แนวโน้มการปล่อยสินเชื่อในไตรมาสข้างหน้าว่าจะมีทิศทางเข้มงวดมากน้อยเพียงใด ความต้องการสินเชื่อเป็นอย่างไรรวมทั้งความกังวลต่อคุณภาพสินเชื่อเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ นอกจากนั้น จะมีการสอบถามประเด็นพิเศษเพิ่มเติมในบางโอกาสการสารวจนี้ เริ่มสำรวจครั้งแรกในเดือนมกราคม 2551 ธปท.ได้ขอความร่วมมือจากธนาคารพาณิชย์ไทย สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ จำนวน 25 แห่ง ซึ่งครอบคลุมสินเชื่อมากกว่าร้อยละ 90 ของสินเชื่อทั้งระบบรายงานฉบับนี้สามารถดูได้จากhttp://www.bot.or.th/Thai/EconomicConditions/Thai/BLP/Pages/index.aspx

Disclaimer: รายงานฉบับนี้ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย และไม่ได้สะท้อนความเห็นของสถาบันการเงิน ใดสถาบันหนึ่ง คณะกรรมการนโยบายการเงินใช้ข้อมูลนี้เพื่อประกอบกับข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ ในการวิเคราะห์และประเมินภาวะเศรษฐกิจ

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ: ดร.เสาวณี จันทะพงษ์ ผู้บริหารทีม ทีมวิเคราะห์สนเทศธุรกิจ โทร. 0-2283-6131

นางสาวธัญลักษณ์ วิบูลย์ศรีสัจจะ เศรษฐกร ทีมวิเคราะห์สนเทศธุรกิจ โทร. 0-2283-5646

นางสาวปารีณา พ่วงศิริ เศรษฐกร ทีมวิเคราะห์สนเทศธุรกิจ โทร. 02-283-5646

ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน

ที่อยู่ 273 ถนนสามเสน เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 เบอร์แฟกซ์ 0-2282-5082 เวบไซต์ธนาคาร www.bot.or.th

ทีมวิเคราะห์สนเทศธุรกิจ (Economic Intelligence Team)

ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน

กรกฎาคม 2553

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ