สรุปภาวะเศรษฐกิจสาคัญในภาคใต้เดือนสิงหาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday September 30, 2010 14:11 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้เดือน สิงหาคม ปี 2553 ขยายตัว โดยรายได้ของเกษตรกร แม้ว่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เนื่องจากปริมาณผลผลิตลดลง แต่ยังอยู่ในระดับสูง เนื่องจากราคายางและปาล์มน้ามัน อยู่ในเกณฑ์ดี ขณะเดียวกัน การผลิตอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว และการค้าต่างประเทศขยายตัว เป็นผลให้การอุปโภคบริโภคของภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวปริมาณ เงินฝากและสินเชื่อของธนาคา รพาณิชย์ รวมทั้งการจัดเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้นจากปีก่อนอย่างไรก็ตามการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการลดลง ส่วนอัตราเงินเฟ้อชะลอลง

1. ภาคเกษตร ดัชนีรายได้ของเกษตรกร ในภาคใต้ ขยายตัวร้อยละ 47.4 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเมื่อ เทียบกับเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 79.1 โดยดัชนีผลผลิต เกษตรลดลงร้อยละ 3.7 จากเดือนเดียวกันปีก่อน เนื่องจากผลผลิตส้าคัญทั้งยางพาราและปาล์มน้ามันลดลง ขณะเดียวกันดัชนีราคาพืชผลเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.0 ชะลอลงจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.8 ตามราคายางที่มีแนวโน้มชะลอลง โดยราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ที่ตลาดกลางยางพาราหาดใหญ่เฉลี่ยกิโลกรัมละ 99.07 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 56.2 อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลงต่อเนื่องร้อยละ 1.0 ขณะที่ราคาปาล์มน้ามันกิโลกรัมละ 5.01 บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.7 จากเดือนเดียวกันปีก่อน

ผลผลิตสัตว์น้าจากการท้าประมงทะเล หดตัว หลังจากที่เพิ่มขึ้นติดต่อกันมา 5 เดือน โดยปริมาณสัตว์น้าน้าขึ้นท่าเทียบเรือประมงขององค์การสะพานปลา ลดลงร้อยละ 9.8 และมูลค่าลดลงร้อยละ 9.4 ตามการลดลงของปริมาณสัตว์น้า ของท่าเทียบเรือสงขลาและปัตตานี เป็นส้าคัญทางด้านผลผลิตกุ้งจากการเพาะเลี้ยง ออกสู่ตลาดลดลงร้อยละ 23.0 เนื่องจากการเกิดโรคระบาดในหลายพื้นที่ ประกอบกับปริมาณผลผลิตกุ้งของโลกและในประเทศน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ เป็นผลให้ราคากุ้งปรับเพิ่มขึ้นทุกขนาด โดยกุ้งขนาด 50 ตัวต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7

2. ภาคอุตสาหกรรม การผลิตปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย โดยดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อนที่หดตัว ร้อยละ 0.2 ตามการผลิตอาหารทะเลแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป ซึ่งเพิ่มขึ้นทั้ง กุ้ง ปลาแปรรูป และถุงมือยาง ส่วนการผลิตยางแปรรูป น้ามันปาล์มดิบ อาหารทะเลบรรจุกระป๋อง และไม้ยางพาราลดลง โดยการส่งออกยางแปรรูปลดลงตามการส่งออกน้ายางข้นและยางคอมพาวนด์ไปยังประเทศหลักได้แก่ จีนและ มาเลเซีย ได้ลดลง ขณะที่การส่งออกยางแท่งและยางแผ่นรมควันขยายตัวตามการส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น

3. การท่องเที่ยว ขยายตัว ทั้งในภาคใต้ฝั่งตะวันตก ภาคใต้ตอนล่างและภาคใต้ฝั่งตะวันออก จ้านวนนักท่องเที่ยวผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.3 โดยนักท่องเที่ยวมีความเชื่อมั่นในความปลอดภัย การท้าตลาดระยะใกล้ การส่งเสริมการขาย และการมีเที่ยวบินตรงเข้ามาเพิ่มขึ้น ท้าให้มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยร้อยละ 54.1

4. การจ้างงาน ต้าแหน่งงานว่างที่ผู้ประกอบการแจ้งผ่านจัดหางานจังหวัด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.7 อย่างไรก็ตามผู้มา สมัครงานและ ได้บรรจุงาน ลดลง ร้อยละ 25.4 และ 4.8 ตามล้าดับ

อย่างไรก็ตาม จ้านวนแรงงานที่เข้าโครงการประกันสังคมตามมาตรา 33 มีแนวโน้มชะลองต่อเนื่อง โดยมีจ้านวนผู้ประกันตนเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.0 จากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.2

5. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัว โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนของภาคใต้ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 4.4 ทั้งนี้ เครื่องชี้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ส่วนใหญ่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคา ปี 2543 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 9.5 เช่นเดียวกับ หมวดยานยนต์เพิ่ม ขึ้นร้อยละ 78.2 ตามการเพิ่มขึ้นของการจดทะเบียนรถใหม่ทุกประเภท และปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องร้อยละ 9.8 อย่างไรก็ตาม การใช้เชื้อเพลิงชะลอลงจากเดือนก่อน

6. การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัว ตามการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ กอปรกับอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อที่ยังอยู่ในระดับต่ำ และความเชื่อมั่นของนักลงทุนปรับตัวดีขึ้น โดยดัชนีการลงทุนภาคก่อสร้างภาคใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 อย่างไรก็ตามการส่งเสริมการลงทุนของ BOI ปรับลดลงทั้งจ้านวนรายและจ้านวนเงินลงทุนรวม โดยมีจ้านวน 10 โครงการ เงินลงทุนรวม 441.9 ล้านบาทลดลงร้อยละ 28.6 และร้อยละ 58.6

7. ภาคการคลัง การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ ในภาคใต้ ลดลงจาก เดือนเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 16.1 จากการลดลงของทั้งรายจ่ายลงทุนและรายจ่ายประจ้าโดยเฉพาะในหมวด หมวดรายจ่ายเงินอุดหนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และรายจ่ายที่ดินสิ่งก่อสร้าง

การจัดเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.1 ตามการจัดเก็บภาษีสรรพากรได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.5 เนื่องจากจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.3 เป็นการเพิ่มขึ้นในจังหวัดสงขลาและนครศรีธรรมราชเป็นส้าคัญ ขณะที่การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตและภาษีศุลกากรลดลงร้อยละ 1.0 และ 45.9 ตามล้าดับ

8. การค้าต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยมูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลล่าร์สรอ .เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 47.4 ตามการขยายตัวของ การส่งออกยางแปรรูป โดยเฉพาะยางแท่ง และน้ายางข้น ไม้ยางพาราแปรรูป และสัตว์น้าแช่แข็ง ขณะที่การส่งออกถุงมือยางและอาหารกระป๋องชะลอลงด้านการน้าเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 48.9 เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 โดยสินค้า เครื่องจักรและอุปกรณ์มีการน้าเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9

9. ภาคการเงิน เงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้ขยายตัว จากเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.7 ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 9.0 ส่วนเงินให้สินเชื่อขยายตัวร้อยละ 8.6 เร่ง ตัวเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 7.6 ผลจากการเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งการส่งออก และการลงทุนของภาคเอกชน เป็นปัจจัยส้าคัญที่สนับสนุนให้เงินฝากและความต้องการสินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น

10. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภค ทั่วไปของภาคใต้ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.2 ชะลอลง จากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ตามราคาสินค้าทั้งหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และหมวดที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่ชะลอตัวลง ร้อยละ 7.2 และ 0.6 ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 1.2

ธนาคารแห่งประเทศไทย ส้านักงานภาคใต้

ข้อมูลเพิ่มเติม : นาฏน้อย แก้วมีจีน

โทร.0-7423-6200 ต่อ 4329

e-mail : nartnoik@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ