ซักซ้อมความเข้าใจเรื่องการเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงินและคำอธิบายความหมายของรายการในงบดุล

ข่าวกฏหมายและประกาศ Friday February 23, 2007 14:48 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                                                              23 กุมภาพันธ์ 2550
เรียน ผู้จัดการ
บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ทุกบริษัท
ที่ ฝนส.(21)ว.84/2550 เรื่อง ซักซ้อมความเข้าใจเรื่องการเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงินและคำอธิบายความหมายของรายการในงบดุล
1.เหตุผลในการออกหนังสือเวียน
เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การกันเงินสำรองเพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (IAS) ฉบับที่ 39 เรื่อง การรับและการวัดมูลค่าตราสารทางการเงิน ตามนัยหนังสือเวียนที่ ธปท.ฝนส.(21)ว.1975/2549 เรื่อง นำส่งประกาศ ธปท. เรื่องสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2549 และ ธปท.ได้ยกเลิกข้อความของคำอธิบายรายการแนบท้ายบลดุลที่เกี่ยวกับเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมสุทธิ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีที่ออกโดยสภาวิชาชีพบัญชีซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการบันทึกรายการเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมในงบการเงินเฉพาะกิจการจากวิธีส่วนได้เสียมาเป็นวิธีราคาทุน ตามนัยหนังสือเวียนที่ ธปท.ฝนส.(21)ว.2087/2549 เรื่องการบันทึกรายการเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม และการคำนวณเงินกองทุน ลงวันที่ 29 ธันวาคมา 2549 ซึ่งข้อกำหนดดังกล่าวมีผลกระทบต่อการรายงานและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามรูปแบบที่ ธปท.กำหนด ตามนัย หนังสือเวียนที่ สนส.(02)ว.36/2544 เรื่องประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องแบบงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนของสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2544 จึงเห็นควรซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมและคำอธิบายความหมายของรายการในงบดุลที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกันและสอดคล้องกับมาตรฐานบัญชี
2. ขอบเขตการบังคับใช้
หนังสือเวียนฉบับนี้ใช้บังคับกับบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอรืตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ทุกบริษัท
3. เนื้อหา
ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับิงินให้กู้ยืมลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับ รวมทั้งถือปฎิบัติตามคำอธิบายความหมายของรายการเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมสุทธิในงบดุลที่กำหนดขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของสภาวิชาชีพบัญชี ดังนี้
3.1. ให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเงินให้กู้ยืม ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 2.5 เงินให้กู้ยืม ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับ (5) จำแนกตามประเภทการจัดชั้น เพิ่มเติมจากที่เคยกำหนดไว้ในหนังสือเวียนที่ สนส.(02)ว.36/2544 เรื่อง ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง แบบงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนของสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2544
"2.5เงินให้กู้ยืม ลูกหนี้ และดอกเบี้ยค้างรับ
(5)จำแนกตามประเภทการจัดชั้
เงินให้กู้ยืม มูลหนี้ อัตรา สำรองขั้นต่ำ
ลูกหนี้และ หลังหัก ที่ใช้ใน ที่พึงกัน
ดอกเบี้ยค้างรับ หลักประกัน 1/ การตั้ง ตามเกณฑื ธปทธ.
(บาท) (บาท) ค่าเผื่อ (บาท)
จัดชั้นปกติ xxx xxx xxx xxx
จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ xxx xxx xxx xxx
จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน
- ส่วนที่ยังไม่ได้ใช้เกณฑ์ IAS39 xxx xxx xxx xxx
- ส่วนที่ใช้เกณฑ์ IAS39 xxx xxx xxx xxx
จัดชั้นสงสัย
- ส่วนที่ยังไม่ได้ใช้เกณฑ์ IAS39 xxx xxx xxx xxx
- ส่วนที่ใช้เกณฑ์ IAS39 xxx xxx xxx xxx
จัดชั้นสงสัยจะสูญ
- ส่วนที่ยังไม่ได้ใช้เกณฑ์ IAS39 xxx xxx xxx xxx
- ส่วนที่ใช้เกณฑ์ IAS39 xxx xxx xxx xxx
รวม xxx xxx xxx xxx
1/ในกรณีที่กันสำรองเพื่อรองรับการปฎิบัติตาม IAS39 มูลหนี้หลังหักหลักประกัน หมายถึง มูลหนี้หลังหักมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากลูกหนี้ หรือมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่คาดว่าจะได้รับจากการจัดจำหน่ายหลักประกัน หรือมูลหนี้ที่จะกันสำรองเป็นกลุ่มลูกหนี้ (Collective Approach) แล้วแต่กรณี
นอกจากนี้ให้เปิดเผย
(1)จำนวนรายได้รอการตัดบัญชีในแต่ละปี
(2)จำนวนเงินให้กู้ยืมและจำนวนเงินของลูกหนี้ที่บริษัทระงับการรับรู้รายได้ตามเกณฑ์ที่บริษัทถือปฎิบัติ
(3)จ้อมูลสำหรับเงินให้กู้ยืม ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับส่วนที่กันสำรองเป็นกลุ่มลูกหนี้ (Collective Approach) (ถ้ามี) โดยแสดงข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนเงินให้กู้ยืม ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับ อัตราที่ใช้ในการตั้งค่าเผื่อ (โดยอาจเปิดเผยเป็นช่วงของอัตราที่ใช้ทั้งหมด) และสำรองพึงกันซึ่งประมาณตามเกณฑ์ ธปท. ทั้งนี้ให้แสดงข้อมูลแยกตามประเภทการจัดชั้น"
3.2. กำหนดคำอธิบายความหมายของรายการในงบดุล ข้อ 4.3 เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมสุทธิใหม่ จากเดิมที่กำหนดไว้ในหนังสือเวียนที่ สนส. (02)ว.36/2544 เรื่อง ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง แบบงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนของสถาบันการเงิน ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2544ให้ เป็นดังนี้
"เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมสุทธิ (Investment in subsidiaries and associates companies,net) หมายถึง เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมตามที่มาตรฐานการบัญชีกำหนดซึ่งบริษัทถือไว้
ทั้งนี้ เงินลงทุนดังกล่าวให้บันทึกบัญชีตามวิธีที่มาตรฐานการบัญชีกำหนด และให้แสดงเป็นมูลค่าสุทธิหลังหักค่าเผื่อการด้อยค่าแล้ว"
4. วันเริ่มต้นการบังคับใช้
ข้อกำหนดตามหนังสือเวีนยนฉบับนี้ ให้มีผลใช้บังคับสำหรับงวดการบัญชีแรกของปี 2550 เป็นต้นไป แต่หากบริษัทใดต้องการนำไปปฎิบัติก่อนวันเริ่มต้นการบังคับใช้ก็สามารถกระทำได้
จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฎิบัติ
ขอแสดงความนับถือ
(นางทองอุไร ลิ้มปิติ)
ผู้ว่าการแทน
ฝ่ายนโยบายความเสี่ยง
โทรศัพท์ 0-2283-5806 และ 0-2283-6829
หมายเหตุ [
] ธนาคารจะจัดให้มีประชุมชี้แจงในวันที่....ณ..........
[/
] ไม่มีการจัดประชุมชี้แจง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ