เกณฑ์การประเมินคุณสมบัติผู้มีสิทธิยื่นคำขอจัดตั้งสาขาของธนาคารต่างประเทศและธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ

ข่าวกฏหมายและประกาศ Monday May 31, 2004 10:02 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                                  31  พฤษภาคม  2547 
เรียน ผู้จัดการ
สาขาธนาคารต่างประเทศทุกธนาคาร
สำนักงานวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศทุกธนาคาร
ที่ ธปท.สนส.(11)ว. 1039 /2547 เรื่อง เกณฑ์การประเมินคุณสมบัติผู้มีสิทธิยื่นคำขอจัดตั้งสาขาของธนาคารต่างประเทศและธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ
1. เหตุผลในการออกหนังสือเวียน
เพื่อกำหนดเกณฑ์การประเมินคุณสมบัติผู้มีสิทธิยื่นคำขอจัดตั้งสาขาของธนาคารต่างประเทศ และธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ ตามที่กำหนดในข้อ 3 ของหมวด 2 ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการอนุญาตจัดตั้งสาขาของธนาคารต่างประเทศ ลงวันที่ 23 มกราคม 2547 และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการอนุญาต จัดตั้งธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ ลงวันที่ 23 มกราคม 2547
2. อำนาจตามกฎหมาย
ธนาคารแห่งประเทศไทยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 3 ของหมวด 2 ของประกาศกระทรวง การคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการอนุญาตจัดตั้งสาขาของธนาคารต่างประเทศ ลงวันที่ 23 มกราคม 2547 กำหนดเกณฑ์การประเมินคุณสมบัติผู้มีสิทธิยื่นคำขอจัดตั้งสาขาของธนาคารต่างประเทศ และอาศัยอำนาจตามความในข้อ 3 ของหมวด 2 ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการอนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ ลงวันที่ 23 มกราคม 2547กำหนดเกณฑ์การประเมินคุณสมบัติผู้มีสิทธิยื่นคำขอจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคาร ต่างประเทศ
3. ขอบเขตการบังคับใช้
หนังสือเวียนฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารต่างประเทศที่มีสาขาในประเทศไทยที่มีความ ประสงค์จะขอจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ หรือธนาคารต่างประเทศที่มี สำนักงานวิเทศธนกิจในประเทศไทยที่ประสงค์จะขอจัดตั้งสาขาของธนาคารต่างประเทศหรือธนาคารพาณิชย์ ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ
4. เกณฑ์การประเมินคุณสมบัติผู้มีสิทธิยื่นคำขอจัดตั้งสาขาของธนาคารต่างประเทศและธนาคารพาณิชย์ ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ
เกณฑ์การประเมินคุณสมบัติผู้มีสิทธิยื่นคำขอจัดตั้งสาขาของธนาคารต่างประเทศ หรือ ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3 หมวด 2 ของประกาศ ทั้ง 2 ฉบับข้างต้น มีดังนี้
1. ผู้มีสิทธิยื่นคำขอจัดตั้งสาขาของธนาคารต่างประเทศและธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูก ของธนาคารต่างประเทศ
1.1 ผู้มีสิทธิยื่นคำขอจัดตั้งสาขาของธนาคารต่างประเทศต้องเป็นธนาคารต่างประเทศที่มี สำนักงานวิเทศธนกิจ เปิดดำเนินการในประเทศไทย
1.2 ผู้มีสิทธิยื่นคำขอจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศต้อง เป็นธนาคารต่างประเทศที่มีสาขาเปิดดำเนินการในประเทศไทย หรือเป็นธนาคารต่างประเทศที่มีสำนักงาน วิเทศธนกิจเปิดดำเนินการในประเทศไทยและมีแผนจะควบรวมกับสถาบันการเงินอย่างน้อย 1 แห่ง
2. การให้ความร่วมมือกับทางการและบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจและพัฒนาความรู้ใน ระบบการเงินของไทย
2.1 การให้ความร่วมมือกับทางการและบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจ
* มีการลงทุน / ให้สินเชื่อ / ให้การสนับสนุน
* มีการให้สินเชื่อแก่ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ
* มีการชักนำธุรกิจเข้ามาในประเทศไทย
2.2 บทบาทในการพัฒนาความรู้ในระบบการเงินของไทย
* มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ
* มีการจัดฝึกอบรม / หรือเป็นวิทยากร
* มีการจัดให้พนักงานได้รับการอบรม
3. ขนาด ชื่อเสียง ฐานะ และผลการดำเนินงาน
3.1 มีขนาดใหญ่ โดยพิจารณาจากขนาดของสินทรัพย์และเงินกองทุน
3.2 มีชื่อเสียง โดยพิจารณาจากได้รับการจัดอันดับโดยสถาบันการจัดอันดับตั้งแต่ระดับ Investment Grade ขึ้นไป
3.3 มีฐานะมั่นคงและผลการดำเนินงานดี โดยพิจารณาจากอัตราส่วนเงินกองทุนต่อ สินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) แบบเฉพาะรายสถาบันการเงิน (Solo Basis) และแบบรวมกลุ่ม (Consolidated Basis)
4. ประสบการณ์และความชำนาญในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ และบทบาทใน ศูนย์กลางทางการเงินของโลก รวมทั้งมีบทบาทในการพัฒนาธุรกิจการเงินระหว่างประเทศมีเครือข่ายในต่างประเทศ และมีสำนักงานใหญ่ หรือสาขาตั้งอยู่ในศูนย์กลางทางการเงิน
5. ความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับประเทศไทย
เป็นธนาคารต่างประเทศที่จดทะเบียนในประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับประเทศไทย และมีปริมาณการค้าและการลงทุนที่มีนัยสำคัญกับประเทศไทยหรือเป็นประเทศในกลุ่ม OECD
6. มาตรฐานการกำกับควบคุมสถาบันการเงินที่ดีน่าเชื่อถือ
เป็นธนาคารต่างประเทศที่จดทะเบียนในประเทศที่มีมาตรฐานการกำกับควบคุมสถาบัน การเงินที่ดีน่าเชื่อถือ โดยหน่วยงานกำกับดูแลใช้เกณฑ์การกำกับดูแลตามแนวทาง BIS
7. ธนาคารกลางหรือหน่วยงานการกำกับดูแลมีความสัมพันธ์อันดีกับธนาคารแห่งประเทศไทย
เป็นธนาคารต่างประเทศที่จดทะเบียนในประเทศที่ธนาคารกลางหรือหน่วยงานการกำกับดูแลสถาบันการเงินของประเทศนั้นมีความสัมพันธ์อันดีกับธนาคารแห่งประเทศไทย โดยธนาคารแห่ง ประเทศไทยสามารถขอข้อมูลการกำกับและตรวจสอบจากผู้กำกับดูแล (Home Regulator) ได้
8. การเปิดโอกาสให้ธนาคารพาณิชย์ไทยเข้าไปดำเนินธุรกิจ
เป็นธนาคารต่างประเทศที่จดทะเบียนในประเทศที่เปิดโอกาสให้ธนาคารพาณิชย์ไทย เข้าไปเปิดดำเนินการในประเทศที่ธนาคารต่างประเทศนั้นจัดตั้งอยู่ ในระดับที่ใกล้เคียงกับประเทศนั้นได้รับ จากประเทศไทย
5. ติดต่อสอบถาม
ในกรณีที่ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่สัมพันธ์สถาบันการเงิน (Centre Point of Contact : CPC) ตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ปรากฏในเว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย (www.bot.or.th) หรือฝ่ายกำกับสถาบันการเงินและตรวจสอบสถาบันเฉพาะกิจ สายกำกับสถาบันการเงิน ตามหมายเลขโทรศัพท์ 0-2283-5952
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ขอแสดงความนับถือ
(นายเกริก วณิกกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ
สายนโยบายสถาบันการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน
โทร. 0-2283-6875-6
หมายเหตุ [
] ธนาคารแห่งประเทศไทยจะจัดให้มีการประชุมชี้แจงในวันที่.....ณ.........
[X
] ไม่มีการประชุมชี้แจง
สนสว90-อญ00010-25470601ด
-ยก-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ