การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดำรงเงินกองทุน

ข่าวกฏหมายและประกาศ Tuesday August 3, 2004 10:12 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                                           3  สิงหาคม    2547 
เรียน ผู้จัดการ
ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศทุกธนาคาร
ที่ ธปท.สนส.(31)ว.1339/2547 เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดำรงเงินกองทุน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขอนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดำรงเงินกองทุน ซึ่งได้ลงประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 121 ตอนพิเศษ 86 ง ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2547 และมีผล บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2547 เป็นต้นไป
สาระสำคัญของประกาศฉบับดังกล่าว มีดังนี้
1. ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่ จดทะเบียนในประเทศดำรงเงินกองทุน ลงวันที่ 25 เมษายน 2546
2. เพิ่มเติมน้ำหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์เสี่ยงประเภทเงินลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนวายุภักษ์ หนึ่ง และหน่วยลงทุนอื่นที่มีลักษณะเดียวกันให้เท่ากับ 0.2
จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติ
ขอแสดงความนับถือ
(นายเกริก วณิกกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน
ผู้ว่าการแทน
สิ่งที่ส่งมาด้วย ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดำรงเงินกองทุน
ฝ่ายนโยบายเงินกองทุน
โทร. 0-2283-5874, 0-2283-5877
หมายเหตุ ธนาคารจะจัดให้มีการประชุมชี้แจงในวันที่............ณ..................
ไม่มีการจัดประชุมชี้แจง
สนสว11-งท30001-25470804ด
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ
ดำรงเงินกองทุน
_____________________________________
1. เหตุผลในการออกประกาศ
เงินกองทุนย่อมแสดงถึงความสามารถของสถาบันการเงินในการรองรับหรือชดเชยผลขาดทุนที่ไม่คาดไว้ล่วงหน้า (unexpected losses) สถาบันการเงินที่ดำรงเงินกองทุนในอัตราส่วนที่สูงเพียงพอต่อความเสี่ยงของแต่ละสถาบันการเงินจะสร้างความมั่นใจแก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ว่าสถาบันการเงินมีความสามารถที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำไว้ได้ และส่งผลให้เกิดความมั่นคงและเสถียรภาพแก่ระบบสถาบันการเงิน ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกำหนดให้สถาบันการเงินดำรงอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกพัน
การปรับปรุงประกาศว่าด้วยการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดำรงเงินกองทุน เพื่อกำหนดน้ำหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์เสี่ยงประเภทเงินลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนวายุภักษ์ หนึ่ง และหน่วยลงทุนอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
2. อำนาจตามกฎหมาย
ธนาคารแห่งประเทศไทยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 10 แห่ง พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 ออกข้อกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดำรงเงินกองทุนตามที่กำหนดในประกาศนี้
3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร
4. หลักเกณฑ์การดำรงเงินกองทุน
4.1 ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคาร พาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดำรงเงินกองทุน ลงวันที่ 25 เมษายน 2546
4.2 เงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ ได้แก่
(1) ทุนชำระแล้ว ซึ่งรวมทั้งส่วนล้ำมูลค่าหุ้นที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับ เงินที่ ธนาคารพาณิชย์ได้รับจากการออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของธนาคารพาณิชย์นั้น
(2) ทุนสำรองตามกฎหมาย
(3) เงินสำรองที่ได้จัดสรรจากกำไรสุทธิเมื่อสิ้นงวดการบัญชีตามมติที่ประชุม ใหญ่ผู้ถือหุ้น หรือตามข้อบังคับของธนาคารพาณิชย์ แต่ไม่รวมเงินสำรองสำหรับการลดค่าของ สินทรัพย์ และเงินสำรองเพื่อการชำระหนี้
(4) กำไรสุทธิคงเหลือหลังจากการจัดสรร
(5) เงินสำรองจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาที่ดินและอาคาร ตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(6) เงินสำรองสำหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติ ซึ่งได้กันไว้ตามนัยประกาศธนาคาร แห่งประเทศไทย ว่าด้วยสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคา หรือเรียกคืนไม่ได้ ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์จะนับเงินสำรองสำหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติเข้าเป็น เงินกองทุนได้ไม่เกินร้อยละ 1.25 ของยอดสินทรัพย์เสี่ยง
(7) เงินสำรองจากการตีราคาตราสารทุนประเภทเผื่อขายตามมาตรฐานการ บัญชีเรื่อง การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนและที่จะได้แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ ให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติดังนี้
(ก) ในกรณีที่มูลค่าสุทธิจากการตีราคาเป็นส่วนเกินทุน ให้ธนาคารพาณิชย์ นับส่วนเกินทุนดังกล่าวเป็นเงินกองทุนของงวดการบัญชีรอบระยะเวลาหกเดือนของธนาคารพาณิชย์ นั้นได้ไม่เกินร้อยละ 45 ของยอดมูลค่าสุทธิส่วนเกินทุนดังกล่าว
(ข) ในกรณีที่มูลค่าสุทธิจากการตีราคาเป็นส่วนขาดทุน ให้ธนาคารพาณิชย์หักส่วนที่ขาดทุนดังกล่าวออกจากเงินกองทุนทั้งสิ้นของงวดการบัญชีรอบระยะเวลาหกเดือนของธนาคารพาณิชย์นั้น
(8) เงินที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับจากการออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้ระยะยาว เกินห้าปีที่มีสิทธิด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญตามประเภท จำนวนเงิน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
เงินกองทุนส่วนที่ระบุใน (1) (2) (3) และ(4) ให้หักผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในทุกงวด การบัญชีออกก่อน และให้หักค่าแห่งกู๊ดวิลล์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่ง ประเทศไทยกำหนด และให้หักมูลค่าของหุ้นที่ธนาคารพาณิชย์ได้ซื้อคืนตามกฎหมายว่าด้วยบริษัท มหาชนจำกัด ออกจากเงินกองทุนใน (1) และ (4) ด้วยวิธีราคาตามมูลค่าตามแนวปฏิบัติทางการบัญชี เกี่ยวกับหุ้นซื้อคืนของกิจการและที่จะแก้ไขเพิ่มเติม หรือตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ธนาคาร แห่งประเทศไทยกำหนด
เงินกองทุนที่ระบุใน (1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) และ (8) ให้หักเงินตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(ก) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ใดถือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ระยะยาวเกินห้าปี ที่มีสิทธิด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญตาม (8) ของบริษัทเงินทุนหรือธนาคารพาณิชย์อื่น ให้ธนาคารพาณิชย์ นั้นหักเงินตามตราสารดังกล่าวตามมูลค่าที่บริษัทเงินทุนหรือธนาคารพาณิชย์ผู้ออกตราสารนั้นได้รับ อนุญาตให้นับเป็นเงินกองทุนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยตราสารที่ให้นับเข้าเป็น เงินกองทุนสำหรับบริษัทเงินทุน หรือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยตราสารที่ให้นับเข้าเป็น เงินกองทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์แล้วแต่กรณี
(ข) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ใดเป็นผู้ลงทุนในตราสารประเภท Credit Linked Notes ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นตราสารแสดงสิทธิในหนี้ระยะยาวเกินห้าปีที่มีสิทธิด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญ ตาม (8) ของบริษัทเงินทุนและธนาคารพาณิชย์อื่น ให้ธนาคารพาณิชย์นั้นหักเงินตามตราสารที่เป็น สินทรัพย์อ้างอิงดังกล่าวตามมูลค่าที่บริษัทเงินทุนหรือธนาคารพาณิชย์ผู้ออกตราสารนั้นได้รับอนุญาต ให้นับเป็นเงินกองทุนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยตราสารที่ให้นับเข้าเป็นเงินกองทุน สำหรับบริษัทเงินทุน หรือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยตราสารที่ให้นับเข้าเป็นเงินกองทุน สำหรับธนาคารพาณิชย์แล้วแต่กรณี
(ค) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ใดถือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ระยะยาวเกินห้าปี ที่สิทธิด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญตาม (8) ของบริษัทเงินทุนหรือธนาคารพาณิชย์อื่น และธนาคารพาณิชย์ นั้นได้ออกและขายตราสารประเภท Credit Linked Notes ให้กับบริษัทเงินทุนและธนาคารพาณิชย์อื่น โดยมีตราสารดังกล่าวเป็นสินทรัพย์อ้างอิง ธนาคารพาณิชย์นั้นไม่ต้องหักเงินตามตราสารที่เป็น สินทรัพย์อ้างอิงดังกล่าวตราบเท่าอายุของตราสารประเภท Credit Linked Notes นั้น
เงินกองทุนที่ระบุใน (1) ถึง (4) ยกเว้นเงินที่ได้รับจากการออกหุ้นบุริมสิทธิชนิด สะสมเงินปันผล ให้รวมเรียกว่า เงินกองทุนชั้นที่ 1 ส่วนเงินกองทุนที่ระบุใน (5) ถึง (8) และเงินที่ได้รับ จากการออกหุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสมเงินปันผล ให้รวมเรียกว่า เงินกองทุนชั้นที่ 2 ทั้งนี้ เงินกองทุน ชั้นที่ 2 ต้องมีจำนวนสูงสุดไม่เกินเงินกองทุนชั้นที่ 1 และการออกหุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสมเงินปันผล จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
4.3 ให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดำรงเงินกองทุนเมื่อสิ้นวันหนึ่งๆ เป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกพันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8.5 โดยมีเงื่อนไขว่าเงินกองทุนชั้นที่ 1 ต้องเป็นอัตราส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.25 ของสินทรัพย์และภาระผูกพันดังกล่าว
ทั้งนี้ การดำรงเงินกองทุนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กำหนดไว้ในข้อ 4.4 ถึง 4.6
4.4 ในการดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกพันตาม 4.3 ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
(1) นำรายการในงบการเงินทางด้านสินทรัพย์ทุกรายการ และภาระผูกพัน ทุกรายการ ทั้งนี้ ให้รวมทุกสำนักงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยใช้มูลค่าตามบัญชี ณ วันที่ รายงานมาคำนวณกับน้ำหนักความเสี่ยง ส่วนสินทรัพย์และภาระผูกพันที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้ แปลงค่าเป็นเงินบาทก่อน โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิง ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะประกาศทุกเช้าวันทำการถัดไปของวันจัดทำ รายงาน ทั้งนี้ให้ใช้อัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อถัวเฉลี่ยขั้นต่ำสุดและอัตราขายถัวเฉลี่ย สำหรับสกุลเงิน ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยมิได้ประกาศอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงไว้ ให้ใช้วิธีคำนวณจากอัตราไขว้ (Cross Rate)
(2) คูณสินทรัพย์แต่ละรายการด้วยน้ำหนักความเสี่ยงตามที่กำหนดไว้ใน 4.5
(3) คูณภาระผูกพันแต่ละรายการด้วยค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) ตามที่กำหนดไว้ใน 4.6 แล้วนำค่าที่ได้คูณกับน้ำหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์แต่ละประเภทตามที่ กำหนดไว้ใน 4.5 อีกครั้งหนึ่ง
(4) รวมผลคูณของสินทรัพย์ตาม (2) และภาระผูกพันตาม (3) ทุกรายการและนำ เงินกองทุนมาคำนวณอัตราส่วนกับผลลัพธ์ที่ได้ โดยเงินกองทุนต้องเป็นอัตราส่วนกับผลลัพธ์ดังกล่าว ไม่ต่ำกว่าที่กำหนดใน 4.3
(5) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อ หรือลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ โดยมีสัญญารับความเสี่ยงกำหนดให้การชำระหนี้คืนดังกล่าวอิงกับเหตุการณ์ที่กำหนดขึ้นเกี่ยวกับ ความสามารถในการชำระหนี้ (credit event) ของสินทรัพย์อ้างอิง (reference asset) และธนาคารพาณิชย์ตกลงรับความเสี่ยงด้านเครดิต (credit risk) ของสินทรัพย์อ้างอิงนั้น ให้ธนาคารพาณิชย์นำผลคูณ น้ำหนักความเสี่ยงของเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในตราสารดังกล่าวเปรียบเทียบผลคูณน้ำหนักความเสี่ยงของสัญญารับความเสี่ยง และใช้เฉพาะผลคูณที่สูงกว่าในการคำนวณผลลัพธ์ตาม (4)
4.5 น้ำหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์แต่ละประเภท
ก. น้ำหนักความเสี่ยง 0
(1) เงินสดที่เป็นเงินบาทและเงินตราต่างประเทศ
(2) เงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
(3) เงินลงทุนในตลาดซื้อขายพันธบัตร โดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืน หรือขายคืน ซึ่งดำเนินการโดยธนาคารแห่งประเทศไทย รวมดอกเบี้ยค้างรับ
(4) เงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาลไทย หรือหลักทรัพย์ ที่กระทรวงการคลัง
ค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย หรือหลักทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือเงินให้สินเชื่อที่มี หลักทรัพย์ข้างต้นเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(5) เงินให้สินเชื่อที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย หรือ เงินให้สินเชื่อใด ที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดสรรเงินงบประมาณเพื่อชำระหนี้ให้
(6) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาลหรือธนาคารกลางของ ประเทศในกลุ่มประเทศ OECD1 หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่รัฐบาลหรือธนาคารกลางดังกล่าวค้ำประกัน โดยปราศจากเงื่อนไข หรือที่มีหลักทรัพย์รัฐบาลหรือธนาคารกลางดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(7) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาลหรือธนาคารกลางของ ประเทศนอกกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่รัฐบาลหรือธนาคารกลางดังกล่าวค้ำประกันโดยปราศจากเงื่อนไข รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้ ต้องเป็นสกุลเงินของประเทศนั้น และไม่เกินกว่าหนี้สินที่ธนาคารพาณิชย์มีอยู่ในเงินสกุลนั้น
(8) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์กองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือนิติบุคคลที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ถือหุ้นเต็มจำนวน รวมถึงเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งนิติบุคคลดังกล่าว รับรอง รับอาวัล หรือค้ำประกัน หรือเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารที่ออกโดยนิติบุคคลดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้ง ดอกเบี้ยค้างรับ
(9) เงินให้สินเชื่อที่มีสิทธิ ซึ่งมีตราสารการฝากเงินซึ่งออกโดยธนาคาร พาณิชย์นั้น หรือมีเงินสดที่ธนาคารพาณิชย์นั้นยึดถือไว้ เป็นประกัน ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินมูลค่าตาม ตราสาร หรือจำนวนเงินตามเงินสด นั้น
(10) ยอดเหลื่อมบัญชีระหว่างสำนักงานของธนาคารพาณิชย์นั้น
(11) ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี
(12) เงินให้สินเชื่อเฉพาะส่วนซึ่งเท่ากับจำนวนที่ได้กันไว้เผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
(13) ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า
(14) เงินสดระหว่างเรียกเก็บเพื่อประโยชน์ของลูกค้า
(15) ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จำกัด
1 กลุ่มประเทศ OECD ในประกาศฉบับนี้ หมายถึง ประเทศสมาชิกของ Organization for Economic Co-operation and Development และประเทศที่มีฐานะการเงินเทียบเท่า ได้แก่ ออสเตรเลีย ออสเตรีย เบลเยียม แคนาดา สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ลักเซมเบิร์ก เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ โปแลนด์ โปรตุเกส สาธารณรัฐสโลวัก สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ซาอุดีอาระเบีย (มหาชน) และบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตามโครงการรับแลกเปลี่ยนตั๋ว 56 บริษัทเงินทุนที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ ในส่วนที่เป็นต้นเงินตามหน้าตั๋วและดอกเบี้ยค้างรับ
(16) เงินให้สินเชื่อในส่วนที่มีตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุน หลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จำกัด (มหาชน) หรือบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตามโครงการรับแลกเปลี่ยนตั๋ว 56 บริษัทเงินทุนที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ จำนำเป็นประกัน รวมทั้ง ดอกเบี้ยค้างรับ
(17) เงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ โดยมีบุคคลอื่น ทำสัญญากับธนาคารพาณิชย์นั้นตกลงว่า บุคคลอื่นจะรับความเสี่ยงด้านเครดิต (credit risk) ในเงินให้ สินเชื่อหรือตราสารดังกล่าว ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าจำนวนเงินที่ผู้รับความเสี่ยงวางไว้เป็น ประกัน หรือจำนวนเงินที่ธนาคารพาณิชย์นั้นมีสิทธิหักกลบลบหนี้กับผู้รับความเสี่ยง
ข. น้ำหนักความเสี่ยง 0.2
(1) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยธนาคาร พาณิชย์ หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีธนาคารพาณิชย์รับรอง รับอาวัล ค้ำประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคาร พาณิชย์เป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(2) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือธนาคาร เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีธนาคาร ดังกล่าวรับรอง รับอาวัล ค้ำประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่ มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(3) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดย บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสถาบันดังกล่าวรับรอง รับอาวัล ค้ำประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อซึ่งมีตราสารที่ออกโดย สถาบันดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(4) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยองค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสถาบันดังกล่าวรับรอง รับอาวัล ค้ำประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อ ที่มีตราสารซึ่งออกโดย สถาบันที่กล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(5) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยธนาคาร พาณิชย์ที่จดทะเบียนในกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ ที่มีธนาคารพาณิชย์ดังกล่าว รับรอง รับอาวัล ค้ำประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้ สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ดังกล่าว เป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(6) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยองค์การของรัฐ ในกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสถาบันดังกล่าวรับรอง
รับอาวัล หรือค้ำประกัน รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสาร ซึ่งออกโดยสถาบันดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(7) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยองค์การระหว่าง ประเทศ2 หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีองค์การดังกล่าวรับรอง รับอาวัล หรือ ค้ำประกัน รวมทั้งเงินให้สินเชื่อ ที่มีตราสารซึ่งออกโดยองค์การดังกล่าว เป็นประกัน รวมทั้ง ดอกเบี้ยค้างรับ
(8) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยธนาคาร พาณิชย์ที่จดทะเบียนนอกกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวรับรอง รับอาวัล ค้ำประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต
รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ย ค้างรับ ทั้งนี้ ต้องมีระยะเวลาคงเหลือไม่เกิน 1 ปี
(9) เงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิต หรือเงินให้สินเชื่อ เพื่อการส่งออกตามเอกสารประเภทอื่น ที่ธนาคารพาณิชย์ในต่างประเทศรับผิดชอบในการชำระ ค่าสินค้าแทนผู้ซื้อ แต่ในกรณีผู้ออกเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือธนาคารพาณิชย์ที่รับผิดชอบในการชำระ ค่าสินค้าเป็นธนาคารจดทะเบียนนอกกลุ่มประเทศ OECD จะต้องมีระยะเวลาคงเหลือของเล็ตเตอร์ออฟเครดิต หรือระยะเวลาที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องชำระค่าสินค้าไม่เกิน 1 ปี
(10) เงินให้สินเชื่อใดที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดสรรเงินงบประมาณเพื่อชำระ หนี้แต่สำนักงบประมาณมิได้จัดสรรเงินชำระหนี้ให้จนล่วงพ้นระยะเวลาที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 2 ปี ขึ้นไป
(11) เงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกที่มีธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า แห่งประเทศไทยรับประกัน ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่ได้มีการโอนสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ให้ธนาคาร พาณิชย์แล้ว
องค์การระหว่างประเทศ หมายถึง European Investment Bank (EIB) European Bank for Reconstruction and Development (EBRD) International Bank for Reconstruction and Development (IBRD) including International Finance Corporation (IFC) Inter-American Development Bank (IADB) African Development Bank (AfDB) Asian Development Bank (AsDB) Caribbean Development Bank (CDB) และ Nordic Investment Bank (NIB)
(12) เงินลงทุนในหลักทรัพย์ หรือหน่วยลงทุน รวมทั้งผลตอบแทนค้างรับ ทั้งนี้ เฉพาะจำนวนเงินที่กระทรวงการคลังทำสัญญาให้ความคุ้มครองหรือตกลงเป็นผู้รับความเสี่ยง
ค. น้ำหนักความเสี่ยง 0.5
(1) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยเทศบาล หรือ เงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีเทศบาลรับรอง รับอาวัล หรือค้ำประกัน รวมทั้ง เงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยเทศบาลเป็นประกัน
(2) เงินให้สินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่บุคคลธรรมดา โดยธนาคารพาณิชย์รับจำนองที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นลำดับหนึ่งเป็นประกัน ทั้งนี้ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ดังกล่าวต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่ายอดเงินให้สินเชื่อคงค้าง รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(3) ภาระผูกพันที่เป็นสัญญาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน หรืออัตราดอกเบี้ยซึ่ง ได้คูณด้วยค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) ตามที่กำหนดไว้ใน 4.6 แล้ว เว้นแต่คู่สัญญาจะ ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่มีน้ำหนักความเสี่ยงต่ำกว่า 0.5
ง. น้ำหนักความเสี่ยง 1.0
(1) เงินให้สินเชื่อแก่ภาคเอกชนและดอกเบี้ยค้างรับ
(2) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยธนาคาร พาณิชย์ที่จดทะเบียนนอกกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวรับรอง รับอาวัล หรือค้ำประกัน รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้ ต้องมีระยะเวลาคงเหลือเกิน 1 ปี
(3) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาล หรือธนาคารกลาง นอกกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่รัฐบาล หรือธนาคารกลางดังกล่าวค้ำประกันโดยปราศจากเงื่อนไข รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับซึ่งมิใช่เงินสกุลของประเทศนั้น หรือมีจำนวนเกินกว่าหนี้สินที่ธนาคารพาณิชย์มีอยู่ในเงินสกุลนั้น
(4) ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ สินทรัพย์ประจำอื่น ๆ และทรัพย์สินรอการขาย
(5) สินทรัพย์อื่น ๆ ที่มิได้ระบุน้ำหนักความเสี่ยงไว้ใน 4.5 นี้
ทั้งนี้ เงินฝาก หรือเงินให้สินเชื่อ ในแต่ละรายการข้างต้น ให้หมายความรวมถึง ลูกหนี้อื่น ๆ (สิทธิเรียกร้องในทางกฎหมาย) ที่เกิดจากธุรกรรมการซื้อหรือขายตราสารโดยมีสัญญาว่า จะขายหรือจะซื้อคืน (Repo) และธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (Securities Borrowing and Lending) เช่น ลูกหนี้ตามสัญญาซื้อคืน ลูกหนี้ตามสัญญาให้ยืมหลักทรัพย์ ลูกหนี้มาร์จิ้นที่โอน และ ลูกหนี้วางเงินสดเป็นประกัน เป็นต้น
4.6 ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) ของภาระผูกพันแต่ละประเภท
ก. ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) 1.0
(1) การรับอาวัลตั๋วเงิน รับรองตั๋วเงิน ค้ำประกันการกู้ยืมเงิน และค้ำประกัน การขาย ขายลด หรือขายช่วงลดตั๋วเงิน
(2) การสลักหลังตั๋วเงินแบบผู้รับสลักหลังมีสิทธิไล่เบี้ย (With Recourse)
(3) สัญญาการซื้อสินทรัพย์ ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามโดยปราศจาก เงื่อนไข
(4) การค้ำประกัน การรับประกัน หรือการก่อภาระผูกพันในรูปแบบใด ๆ ของธนาคารพาณิชย์ อันเนื่องมาจากการขายสินทรัพย์
(5) ภาระผูกพันตามสัญญาขายตราสารโดยมีเงื่อนไขจะซื้อคืนตามวิธีการ คำนวณที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(6) ภาระผูกพันตามสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (Securities Borrowing and Lending) ตามวิธีการคำนวณที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(7) ภาระผูกพันตามสัญญาหรือข้อตกลงการรับประกันความเสี่ยง ซึ่งได้แก่ สัญญาที่ธนาคารพาณิชย์รับโอนความเสี่ยงด้านเครดิตหรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตจาก คู่สัญญา โดยตกลงจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่ง หรือรับความเสียหายเนื่องจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้รับ คืนเงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ หรือมีเหตุการณ์เป็นไปตามเงื่อนไขของ สัญญา (credit event) เกิดขึ้น
ข. ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) 0.5
(1) ภาระผูกพันซึ่งขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของลูกค้า เช่น ค้ำประกัน การรับเหมาก่อสร้าง ค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา เป็นต้น
(2) การประกันการจำหน่ายตราสารหรือหลักทรัพย์
ค. ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) 0.2
ภาระผูกพันเพื่อการนำสินค้าเข้าตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตทั้งที่มีเอกสาร ประกอบแล้ว และยังไม่มีเอกสารประกอบ
ง. ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) 0
(1) ตั๋วเงินเพื่อเรียกเก็บ
(2) วงเงินที่ลูกค้ายังมิได้ใช้
(3) ค้ำประกันการออกของ (Shipping Guarantee)
(4) ภาระผูกพันที่ธนาคารพาณิชย์สามารถบอกยกเลิกเมื่อใดก็ได้
5) ภาระผูกพันอื่น ๆ ที่มิได้ระบุค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) ไว้ ใน 4.6 นี้
จ. ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) สำหรับสัญญาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย
อายุสัญญาที่เหลือ สัญญาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน สัญญาเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย
ไม่เกิน 14 วัน 0 0
ไม่เกิน 1 ปี 0.02 0.005
ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป 0.05 0.01
สัญญาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนได้แก่สัญญาดังต่อไปนี้
Cross currency interest rate swaps
Forward foreign exchange contracts
Currency futures
Currency option purchase
สัญญาอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน
สัญญาเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยได้แก่
Single currency interest rate swaps
Basis swaps
Forward rate agreements
Interest rate futures
Interest rate option purchase
สัญญาอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน
ในกรณีที่ลูกค้ารายเดียวกันทำสัญญาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนหรือสัญญาเกี่ยวกับ อัตราดอกเบี้ย ทั้งทางด้านซื้อและด้านขาย ให้คูณจำนวนเงินด้านซื้อและด้านขายด้วยค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) ก่อน และนำค่าที่ได้มาหักกลบกัน แล้วจึงนำจำนวนสุทธิไปคูณกับน้ำหนัก ความเสี่ยงของสินทรัพย์แต่ละประเภทตามที่กำหนดใน 4.5
5. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2547
(ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
-ยก-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ