การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง

ข่าวกฏหมายและประกาศ Monday November 29, 2004 11:41 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                                              29 พฤศจิกายน 2547 
เรียน ผู้จัดการ
ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร
ที่ ธปท. สนส. (21) ว.2004/2547 เรื่อง นำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
เพื่อให้กิจการวิเทศธนกิจเพื่อการให้กู้ยืมในต่างประเทศดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
สำหรับยอดรวมเงินฝากและเงินกู้ยืมจากต่างประเทศบางประเภทที่กำหนดในแนวทางเดียวกันกับ
ธนาคารพาณิชย์และกิจการวิเทศธนกิจเพื่อการให้กู้ยืมในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ขอนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์
สภาพคล่อง ลงวันที่ 22 ตุลาคม 2547 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 ตรี มาตรา 11
จัตวา และมาตรา 11 เบญจ แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
และได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ 121 ตอนพิเศษ 122 ง ลงวันที่
29 ตุลาคม 2547 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2547 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
ธปท. จึงได้รวบรวมแนวทางปฏิบัติที่ใช้ประกอบหลักเกณฑ์ที่กล่าวมารวมไว้ด้วยกันตามเอกสารแนบ
พร้อมนี้ ให้ยกเลิกหนังสือ ธปท. จำนวน 5 ฉบับ ดังนี้
1. หนังสือที่ ธปท.งพ.(ว) 128/2537 เรื่อง หลักทรัพย์ที่ธนาคารพาณิชย์ใช้ดำรงเป็น
สินทรัพย์สภาพคล่อง ลงวันที่ 24 มกราคม 2537
2. หนังสือที่ ธปท.งพ.(ว) 43/2539 เรื่อง การคัดเลือกผู้ดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์
(Custodian) สำหรับหลักทรัพย์ที่ใช้ดำรงเป็นสินทรัพย์สภาพคล่อง ลงวันที่ 8 มกราคม 2539
3. หนังสือที่ ธปท.งพ.(ว) 1628/2540 เรื่อง แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดำรงสินทรัพย์
สภาพคล่อง ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2540
4. หนังสือที่ ธปท.สนส.(21)ว. 911/2546 เรื่อง รายชื่อองค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ
ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบให้นับหุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ เป็นสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ได้ ลงวันที่ 8 เมษายน 2546
5. หนังสือที่ ธปท.สนส.(21)ว. 1553/2546 เรื่อง การนับมูลค่าหลักทรัพย์ที่ใช้ในการ
ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2546
อนึ่ง เนื่องจากมีการเปลี่ยนสถานะของรัฐวิสาหกิจ และองค์กรอื่นๆ ที่ ธปท. ได้เคย ให้ความเห็นชอบให้นับหุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของหน่วยงานเหล่านั้นเป็น สินทรัพย์สภาพคล่อง ธปท. ขอเรียนวิธีปฏิบัติดังนี้
1. บริษัทบางจากปิโตรเลียมจำกัด (มหาชน) ในปัจจุบันไม่มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ แล้ว ธปท. จึงขอยกเลิกการให้ความเห็นชอบให้นับหุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ ของบริษัทบางจากปิโตรเลียมจำกัด (มหาชน) เป็นสินทรัพย์สภาพคล่อง
2. หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยซึ่งปัจจุบันได้ควบรวมกับธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) แล้วผู้ถือตราสารดังกล่าวยังสามารถใช้เป็นสินทรัพย์สภาพคล่องได้จนกว่าตราสารต่างๆ จะครบกำหนดอายุตามสัญญา
จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติ
ขอแสดงความนับถือ
(นายเกริก วณิกกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน
ผู้ว่าการแทน
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์ สภาพคล่อง ลงวันที่ 22 ตุลาคม 2547
2. แนวทางปฏิบัติ เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
ฝ่ายนโยบายความเสี่ยงและวิเคราะห์
โทร. 0-2283-5843 0-2283-5307
หมายเหตุ [
] มีการจัดประชุมชี้แจงในวันที่........ณ.........................
[X
] ไม่มีการจัดประชุมชี้แจง
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
____________________
1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อให้กิจการวิเทศธนกิจเพื่อการให้กู้ยืมในต่างประเทศดำรงสินทรัพย์ สภาพคล่องสำหรับยอดรวมเงินฝากและเงินกู้ยืมจากต่างประเทศบางประเภทที่กำหนดในแนวทาง เดียวกันกับธนาคารพาณิชย์และกิจการวิเทศธนกิจเพื่อการให้กู้ยืมในประเทศ
2. อำนาจตามกฎหมาย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 ตรี มาตรา 11 จัตวา และมาตรา 11 เบญจแห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตามที่กำหนดในประกาศนี้
3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฏหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร
4. เนื้อหา
ข้อ 1. ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง ลงวันที่ 16 กันยายน 2547
ข้อ 2. ธนาคารพาณิชย์นอกจากกิจการวิเทศธนกิจและกิจการวิเทศธนกิจสาขาต่างจังหวัดต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเฉลี่ยแล้วไม่ต่ำกว่าร้อยละ6 ของยอดเงินฝากและยอดเงินกู้ยืมดังต่อไปนี้
(1) ยอดรวมเงินฝากทุกประเภท
(2) ยอดรวมเงินกู้ยืมจากต่างประเทศที่ครบกำหนดใน 1 ปีนับแต่วันกู้และยอด
รวมเงินกู้ยืมจากต่างประเทศซึ่งอาจชำระคืนหรืออาจถูกเรียกคืนได้ใน 1 ปีนับแต่วันกู้ เว้นแต่เป็นเงิน
กู้ยืมตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(3) ยอดรวมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์ทางการเงินแฝง
ทั้งนี้ ยอดรวมเงินฝากและยอดรวมเงินกู้ยืมข้างต้นให้นับรวมยอดเงินซึ่งโอน เข้ามาในประเทศไทยจากสาขาหรือสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศที่แสดงอยู่ในบัญชีระหว่างกันด้วย
ข้อ 3. สินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามข้อ 2 ดังกล่าว ได้แก่
(1) เงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเฉลี่ยแล้วไม่ต่ำกว่าร้อยละ 0.8
(2) เงินสดที่ศูนย์เงินสดกลางธนาคารพาณิชย์เฉลี่ยแล้วไม่ต่ำกว่าร้อยละ 0.2 เว้นแต่ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ได้ดำรงเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยตาม (1) ไว้เกินกว่าร้อยละ 0.8 เป็นจำนวนใด ธนาคารพาณิชย์สามารถดำรงเงินสดที่ศูนย์เงินสดกลางธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวได้ ต่ำกว่าร้อยละ 0.2 เป็นจำนวนนั้น ทั้งนี้ เมื่อนับรวมกับ (1) แล้วจะต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 1
(3) เงินสดที่ธนาคารพาณิชย์แต่เมื่อรวมกับเงินสดที่ศูนย์เงินสดกลางธนาคารพาณิชย์ส่วนที่เกินกว่าจำนวนที่ต้องดำรงตาม (2) แล้ว ให้ถือเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องได้ไม่เกินร้อยละ 2.5
(4) หลักทรัพย์ซึ่งปราศจากภาระผูกพันดังต่อไปนี้
ก. หลักทรัพย์รัฐบาลไทย
ข. พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ค. หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย
ง. พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
จ. หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย
ฉ. หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยองค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบ หรือที่ออกโดยบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ช. หลักทรัพย์ที่บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยออกสืบเนื่องจากโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ตามพระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540
ข้อ 4. ในกรณีของกิจการวิเทศธนกิจ และกิจการวิเทศธนกิจสาขาต่างจังหวัดต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเฉลี่ยแล้วไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของยอดเงินฝากและยอดเงินกู้ยืมดังต่อไปนี้
(1) ยอดรวมเงินฝากในบัญชีผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศซึ่งอาจถอนได้ใน 1 ปี
นับแต่วันฝาก เว้นแต่เป็นเงินฝากในบัญชีผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ธนาคาร
แห่งประเทศไทยกำหนด
(2) ยอดรวมเงินกู้ยืมจากต่างประเทศที่ครบกำหนดใน 1 ปีนับแต่วันกู้และยอดรวมเงินกู้ยืมจากต่างประเทศซึ่งอาจชำระคืนหรืออาจถูกเรียกคืนได้ภายใน 1 ปีนับแต่วันกู้ เว้นแต่เป็นเงินกู้ยืมตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
ทั้งนี้ ยอดรวมเงินฝากและยอดรวมเงินกู้ยืมข้างต้นให้นับรวมยอดเงินซึ่ง
โอนเข้ามาในประเทศไทยจากสาขาหรือสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศที่แสดงอยู่ในบัญชีระหว่างกันด้วย
สินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตาม (1) และ (2) ให้ถือปฏิบัติตามข้อ 3
(3) ยอดรวมทั้งสิ้นของเงินฝากทุกประเภท ยกเว้นยอดรวมเงินฝากที่กล่าวใน (1) แห่งข้อนี้ โดยกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและกิจการวิเทศธนกิจสาขาต่างจังหวัดจะถือเอาสินทรัพย์ใด ๆ เป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงก็ได้ ส่วนกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ไทยให้ถือปฏิบัติตามข้อ 3
ข้อ 5. สินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามประกาศนี้ให้คิดจากส่วนเฉลี่ยรายปักษ์ของทุกสิ้นวัน และส่วนเฉลี่ยรายปักษ์ของยอดรวมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมของธนาคารพาณิชย์แล้วแต่กรณี ทุกสิ้นวันในปักษ์ก่อน ทั้งนี้ ให้ถือเอาวันที่ 8 ถึงวันที่ 22 ของเดือนเป็นปักษ์หนึ่ง และวันที่ 23 ถึงวันที่ 7 ของเดือนถัดไปเป็นอีกปักษ์หนึ่ง และให้นับวันหยุดทำการรวมคำนวณเข้าด้วย
ในกรณีที่ในปักษ์ใดปักษ์หนึ่ง ธนาคารพาณิชย์ กิจการวิเทศธนกิจ และกิจการวิเทศธนกิจสาขาต่างจังหวัดดำรงเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเฉลี่ยไว้น้อยกว่าร้อยละ 0.8 หรือดำรงเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยและเงินสดที่ศูนย์เงินสดกลางธนาคารพาณิชย์เฉลี่ยไว้น้อยกว่าร้อยละ 1 ให้สามารถโอนเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยใน 1 ปักษ์ก่อนหน้า หรือเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยใน 1 ปักษ์ถัดไปที่ได้ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องถูกต้องตามประกาศฉบับนี้ และมีการดำรงเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไว้เกินเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในข้อ 3(1 ) เข้ามารวมในการคำนวณเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยในปักษ์ที่ขาดได้ ภายใต้ข้อกำหนดดังนี้
(1) การโอนเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยส่วนที่ดำรงไว้เกินในปักษ์ก่อนหน้าเพื่อนำไปใช้สำหรับปักษ์ที่ขาด สามารถทำได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของ ก. หรือ ข. แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่าดังนี้
ก. จำนวนเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยที่ธนาคารพาณิชย์ได้ดำรงไว้จริง
ในข้อ 3(1) ของปักษ์ที่โอน หรือ
ข. จำนวนที่คำนวณจากร้อยละ 1 ของยอดรวมเงินฝากและเงินกู้ยืมตามข้อ 2 ของปักษ์ที่โอนการโอนเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยในปักษ์ถัดไป เพื่อนำไปใช้ สำหรับปักษ์ที่ขาด สามารถทำได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของจำนวนเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งต้องดำรงตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในข้อ 3(1) ของปักษ์ที่ขาด
(3) เงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยส่วนที่โอนไปใช้ในปักษ์ที่ขาดจะต้องถูกหักออกจากจำนวนเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสำหรับการคำนวณสินทรัพย์สภาพคล่องในปักษ์ที่โอนนั้น และการโอนดังกล่าวต้องไม่ทำให้ปักษ์ที่โอนดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องต่ำกว่าอัตราที่ประกาศฉบับนี้กำหนด
5. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2547 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 22 ตุลาคม 2547
(ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
สนสป10-คส32002-25471026 ด
แนวทางปฏิบัติ เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
1. รายชื่อองค์การของรัฐ และรัฐวิสาหกิจที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบ (ตามนัยข้อ 3(4)ฉ ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยข้างต้น)
ให้ธนาคารพาณิชย์สามารถนำหุ้นกู้ พันธบัตร และตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดย
สถาบันดังต่อไปนี้เป็นสินทรัพย์สภาพคล่องได้
1.1 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
1.2 การไฟฟ้านครหลวง
1.3 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
1.4 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
1.5 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
1.6 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
1.7 บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
1.8 บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
1.9 การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
1.10 การเคหะแห่งชาติ
1.11 การประปานครหลวง
1.12 การประปาส่วนภูมิภาค
1.13 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
1.14 ธนาคารอาคารสงเคราะห์
1.15 การท่าเรือแห่งประเทศไทย
1.16 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
1.17 บริษัท ปตท. สผ. จำกัด (มหาชน)
1.18 โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง
1.19 ธนาคารออมสิน
1.20 บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
1.21 ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
1.22 บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
1.23 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
2. การนับมูลค่าหลักทรัพย์ที่ใช้ในการดำรง สินทรัพย์สภาพคล่องให้ธนาคารพาณิชย์นับมูลค่าหลักทรัพย์เข้าเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องโดยใช้ราคาตามบัญชีตามวิธีการที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี เรื่อง การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ดังนี้
2.1 กรณีหลักทรัพย์ไม่มีการซื้อหรือขายระหว่างเดือน : ให้ใช้ราคาตามบัญชี ณ วัน สิ้นเดือนก่อนเป็นมูลค่าของหลักทรัพย์สภาพคล่องที่จะใช้ดำรงในเดือนถัดไป (โดยให้เริ่มใช้ราคาตามบัญชีใหม่ในวันทำการแรกของเดือนถัดไป)
2.2 กรณีหลักทรัพย์มีการซื้อหรือขายระหว่างเดือน
2.2.1 กรณีการซื้อเพิ่มเข้ามาระหว่างเดือน : ให้ใช้ราคาซื้อในการนับหลักทรัพย์
ดังกล่าวเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องในเดือนนั้น และให้เปลี่ยนไปใช้ราคาตามบัญชี (ราคา Mark-to-market ณ วันสิ้นเดือน ) ในวันทำการแรกของเดือนถัดไป
2.2.2 กรณีขายหลักทรัพย์ออกไประหว่างเดือน: ให้หักหลักทรัพย์ที่ขายออกไปด้วยมูลค่าซึ่งคำนวณด้วยวิธีการที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี
2.2.3 กรณีทำธุรกรรม Repo กับธนาคารแห่งประเทศไทย : ให้นับมูลค่าหลักทรัพย์ ที่ถือเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องด้วยวิธีการดังนี้
ผู้กู้ ผู้ให้กู้
ณ วันทำสัญญา หักหลักทรัพย์ดังกล่าวออกด้วย -ในการนับสินทรัพย์ที่ได้จากการทำธุรกรรม Repo
Repo มูลค่าซึ่งคำนวณด้วยวิธีการที่ เป็นสินทรัพย์สภาพคล่อง ให้ใช้ราคาที่ต่ำกว่า
Settlement date) กำหนดในมาตรฐานการบัญชี ระหว่าง (1) หรือ (2) ซึ่งคือ
เสมือนเป็นการจำหน่าย (1) ราคาตลาดของหลักทรัพย์ที่ได้รับมาปรับด้วย
หลักทรัพย์ อัตราส่วนลด (Hair cut) ตามระเบียบธนาคาร
แห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรโดยมี
สัญญาว่าจะซื้อคืนหรือขายคืนที่สายตลาดการเงิน
กำหนด (ซึ่งก็คือ จำนวนเงินที่ให้กู้ยืม)
(2) ราคาตามบัญชี(ราคา mark to market ณ
วันสิ้นเดือน (โดยถือเสมือนหนึ่งว่าหลักทรัพย์ดังกล่าว
รวมอยู่ในบัญชีเงินลงทุนของสถาบันการเงิน)
ทั้งนี้ หากสัญญา Repo สิ้นสุดก่อนถึงวัน
สิ้นเดือน ก็ให้ใช้ราคาตาม (1) ในการนับสินทรัพย์
สภาพคล่องตลอดไป
ผู้กู้ ผู้ให้กู้
ณ วันครบกำหนด รับคืนด้วยราคาที่ใช้ในการนับ ตัดหลักทรัพย์ดังกล่าวออกด้วยราคาที่ใช้นับมูลค่า
สัญญา Repo มูลค่า ณ วันทำธุรกรรม Repo เป็นสินทรัพย์สภาพคล่องในวันก่อนหน้า
เว้นแต่สัญญา Repo สิ้นสุดใน
เดือนถัดไป ให้ใช้ราคา Mark-to-
Market ของหลักทรัพย์นั้นในวัน
สิ้นเดือนก่อนสัญญาRepo สิ้นสุด
2.2.4 กรณีทำธุรกรรม Private Repo (ซึ่งรวมถึงธุรกรรม Bilateral Repo) : ให้นับ
มูลค่าหลักทรัพย์ที่ถือเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องด้วยวิธีการดังนี้
ผู้กู้ ผู้ให้กู้
ณ วันทำสัญญา หักหลักทรัพย์ดังกล่าวออกด้วย - ในการนับหลักทรัพย์ที่ได้จากการทำธุรกรรม
Private Repo มูลค่าซึ่งคำนวณด้วยวิธีการที่ Private Repo เป็นสินทรัพย์สภาพคล่องให้ใช้ราคา
(Settlement Date) กำหนดในมาตรฐานการบัญชี ที่ต่ำกว่าระหว่าง(1)หรือ(2)ซึ่งคือ(1)ราคา
เสมือนเป็นการจำหน่ายหลักทรัพย์ ของตลาดหลักทรัพย์ที่ได้รับมาปรับด้วย
อัตราส่วนลด (Hair cut) ณ วันทำสัญญา
(ซึ่งก็คือจำนวนเงินที่ให้กู้ยืมไป)
(2) ราคาตลาดทุกสิ้นวัน
ณ วันครบกำหนด รับคืนด้วยราคาที่ใช้ในการนับมูลค่า ตัดหลักทรัพย์ดังกล่าวออกด้วยราคาที่ใช้นับมูลค่า
สัญญา Private ณ วันทำธุรกรรมPrivate Repo เป็นสินทรัพย์สภาพคล่องในวันก่อนหน้า
Repo เว้นแต่สัญญา Private Repo
เดือนถัดไป ให้ใช้ราคา Mark-to-
สิ้นสุดใน Market ของหลักทรัพย์นั้นใน
วันสิ้นเดือนก่อนสัญญา Private
Repo สิ้นสุด
3. เงินกู้ยืมตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด (ตามนัยข้อ 2(2) ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยข้างต้น)
เงินกู้ยืมในกรณีดังต่อไปนี้ถือเป็นเงินกู้ยืมตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่ง
ประเทศไทยกำหนด ซึ่งต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องในแต่ละกรณี ดังนี้
3.1 เงินกู้ยืมของธนาคารพาณิชย์และกิจการวิเทศธนกิจที่กู้ยืมจากต่างประเทศตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยมีเงื่อนไขตั้งแต่วันกู้ยืมว่าจะมีการผ่อนชำระคืนเงินกู้ยืมบางส่วนคืนต่างประเทศเป็นงวด ๆ(Installment) ในช่วง 1 ปีนับแต่วันกู้ยืมนั้น ให้ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเฉพาะเงินกู้ยืมส่วนที่มีระยะเวลาชำระคืนก่อนครบ 1 ปีตั้งแต่วันกู้ยืมเท่านั้น
อนึ่ง สำหรับเงินกู้ยืมจากต่างประเทศตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปที่มีการให้กู้ต่อแก่ลูกค้าเป็นระยะเวลา 2 ปีขึ้นไปเช่นกัน โดยมีข้อตกลงว่าลูกค้าจะชำระคืนเงินกู้ยืมเป็นงวด ๆ ละเท่าๆ กัน และต้องเป็นงวดละ 3 เดือนขึ้นไป จะสามารถนำเงินที่ได้รับจากลูกหนี้จ่ายคืนเงินกู้ยืมจากต่างประเทศได้ โดยไม่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนผันให้สำหรับเงินกู้ยืมที่ได้กระทำก่อนวันที่ 23 ธันวาคม 2547 เท่านั้น
3.2 เงินกู้ยืมจากต่างประเทศระยะเวลาตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปที่มีเงื่อนไขให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกชำระคืนก่อนครบกำหนดได้ หากเป็นเงื่อนไขเรียกชำระคืนกรณีที่เกิดการผิดนัด (Event of Default) ซึ่งได้นิยามอย่างชัดเจนว่าเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้กู้เองไม่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง ส่วนเงื่อนไขเรียกชำระคืนในกรณีที่เกิดจากความไม่มั่นใจในเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศหรือเงื่อนไขในทำนองเดียวกันซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผันผวนทางการเมือง (Country Risk หรือ Sovereign risk) ของประเทศไทย ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้
3.2.1 เงื่อนไขเรียกชำระคืนได้เมื่อมีการยึดสินทรัพย์ หรือรายได้บางส่วนหรือ ทั้งหมดของผู้กู้มาเป็นของรัฐ (Nationalisation)
3.2.2 การประกาศห้ามหรือระงับชำระหนี้โดยรัฐบาล ซึ่งจะทำให้รัฐบาลไทยหรือ
ผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ (Moratorium)
3.2.3 การที่ประเทศไทยยกเลิกการเป็นสมาชิกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
3.2.4 สำหรับกรณีเงื่อนไขของสถานการณ์ที่ไม่ชัดเจนตามดุลพินิจของผู้ให้กู้ เช่นเงื่อนไขเรียกชำระคืนได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในประเทศในทางเศรษฐกิจ การเงิน หรือการเมือง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือออกข้อบังคับระเบียบหรือกฎเกณฑ์ใด ๆ ของทางการที่อาจส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพของสัญญากู้ยืมหรือมีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้เป็นต้นนั้นจะต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องดังนี้
3.2.4.1 กรณีมีเงื่อนไขที่ผู้ให้กู้สามารถเรียกให้ชำระคืนในช่วง 1 ปีนับแต่วันกู้นั้น จะต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องสำหรับเงินกู้ยืมนั้นในช่วง 1 ปีแรก หลังจากนั้นแล้วไม่ต้องดำรง
3.2.4.2 กรณีมีเงื่อนไขที่ผู้ให้กู้สามารถเรียกให้ชำระคืนต่อเมื่อพ้นช่วง 1 ปี นับแต่วันกู้ยืมแล้ว สถาบันการเงินผู้กู้ไม่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องสำหรับเงินกู้ยืมดังกล่าว
4. หลักเกณฑ์เกี่ยวกับหลักทรัพย์ซึ่งปราศจากภาระผูกพัน(ตามนัยข้อ 3(4) ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยข้างต้น)
4.1 หลักทรัพย์ที่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ใช้ดำรงเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องได้ตามนัยข้อ 3 (4) ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่กล่าว หมายรวมถึง หลักทรัพย์ที่เป็นสกุลเงินบาท และสกุลเงินตราต่างประเทศ ทั้งที่ออกจำหน่ายในประเทศและต่างประเทศ
4.2 อัตราแลกเปลี่ยนที่จะใช้ในการแปลงค่าหลักทรัพย์ที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศให้ธนาคารพาณิชย์ใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่รายงานเช่นเดียวกับการแปลงค่าเงินสดในมือที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
4.3 ตั๋วสัญญาใช้เงินของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยสามารถเริ่มนับเป็นสินทรัพย์ สภาพคล่องได้ตั้งแต่วันที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน ธนาคารพาณิชย์จะต้องปรับมูลค่าที่นำมาใช้ดำรงเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องให้สอดคล้องกันด้วย
4.4 การคัดเลือกผู้ดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์ (Custodian) สำหรับหลักทรัพย์ที่ใช้
ดำรงเป็นสินทรัพย์สภาพคล่อง ให้ถือปฏิบัติดังนี้
4.4.1 ธนาคารพาณิชย์ที่เก็บรักษาหลักทรัพย์ไว้กับ Custodian ในต่างประเทศจะต้องเลือกใช้ Custodian ที่เป็นสถาบันที่มีฐานะมั่นคง และมีเครือข่ายการให้บริการในศูนย์กลางการเงินที่สำคัญ ซึ่งได้รับ Credit Rating จาก Moody's ไม่ต่ำกว่า Aa3 หรือ Standard & Poors ไม่ต่ำกว่า AA- ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องกำหนดให้ Custodian จัดส่งใบยืนยันยอดหลักทรัพย์ หรือStatement of transactions ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
4.4.2 ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์จะเลือกใช้ Custodian ที่มีคุณสมบัติไม่เข้าเกณฑ์ในข้อ 4.4.1 ธนาคารพาณิชย์จะต้องแจ้งรายชื่อของ Custodian ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบก่อน
5. ข้อกำหนดอื่นๆ
5.1 เงินสดที่ศูนย์เงินสดกลางธนาคารพาณิชย์ซึ่งจะนำมาคำนวณเป็นส่วนหนึ่ง ของสินทรัพย์สภาพคล่องตามนัยข้อ 3(2) ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยข้างต้น จะเริ่มนับเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องได้ต่อเมื่อมีการแจ้งรายชื่อศูนย์เงินสดกลางธนาคารพาณิชย์กับฝ่ายจัดการธนบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยแล้วเท่านั้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ