การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์

ข่าวกฏหมายและประกาศ Sunday December 12, 2004 13:43 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                                     13 ธันวาคม 2547 
เรียน ผู้จัดการ
บริษัทที่ประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์
ที่ ธปท.สนส.(11)ว. 2074/2547 เรื่อง นำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์
1. เหตุผลในการออกหนังสือเวียน
เพื่อนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และ
เงื่อนไขในการประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2547 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจ
ตามความในข้อ 5 และข้อ 9 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่ง
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (การประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์) ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2547
ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 121 ตอนพิเศษ 114 ง เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม
2547
2. ฉบับประกาศที่ลงในราชกิจจานุเบกษา
ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 121 ตอนพิเศษ 136 ง ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2547
3. ขอบเขตการบังคับใช้
ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินตามนิยาม
ที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะ
ปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (การประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์) ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2547 หรือไม่ใช่ผู้ออก
บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้บริโภคเพื่อชำระสินค้า ค่าบริการ หรือค่าอื่นใดอันเป็นธุรกิจของตนเอง
4. สาระสำคัญของประกาศ
เพื่อเป็นการสนับสนุนให้มีการพัฒนาการให้บริการทางการเงิน และส่งเสริมให้การ
ให้บริการบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์มีความปลอดภัย ถูกต้อง และเชื่อถือได้ รวมทั้งเพื่อเป็นการพิทักษ์
รักษาประโยชน์ของประชาชน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
ในการประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีสาระสำคัญได้แก่
1. การบริหารเงินที่ได้รับล่วงหน้าจากผู้บริโภค
2. การกำหนดค่าธรรมเนียม
3. การตรวจสอบและการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการใช้บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์
4. การแลกเปลี่ยนมูลค่าบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์คืนเป็นเงินสด
5. การปฏิบัติและจัดการเกี่ยวกับข้อมูลผู้บริโภค
6. การปฏิบัติเมื่อมีข้อร้องเรียน
7. การจัดทำบัญชีและการรายงาน
พร้อมนี้ได้นำส่งแบบยื่นขอรับอนุญาตประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ แบบ
แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับค่าบริการ ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการใช้บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์
และแบบการรายงานข้อมูลการใช้บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ประจำเดือนมาเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
5. วันเริ่มต้นการบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ขอแสดงความนับถือ
(นายเกริก วณิกกุล)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน
ผู้ว่าการแทน
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (การประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์) ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2547
2. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2547
3. แบบยื่นขอรับอนุญาตประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์
4. แบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับค่าบริการ ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการใช้บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์
5. แบบการรายงานข้อมูลการใช้บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ประจำเดือน
ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน
โทร. 0-2283-6938-9
หมายเหตุ [
] ธนาคารแห่งประเทศไทยจะจัดให้มีการประชุมชี้แจงในวันที่ ....... ณ.........
[X
] ไม่มีการจัดประชุมชี้แจง
สนสว91-กส35001-25471214ด
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจ
บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์
1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อสนับสนุนให้มีการพัฒนาการให้บริการทางการเงิน และส่งเสริมให้การให้บริการบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์มีความปลอดภัย ถูกต้อง และเชื่อถือได้ เพื่อเป็นการพิทักษ์รักษาประโยชน์ของประชาชน
2. อำนาจตามกฎหมาย
ธนาคารแห่งประเทศไทยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 5 และข้อ 9 แห่งประกาศ กระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (การประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์) ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2547 ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ปฏิบัติตามที่กำหนดในประกาศฉบับนี้
3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับผู้ประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินตามนิยามที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 (การประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์) ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2547 หรือไม่ใช่ผู้ออกบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้บริโภคเพื่อชำระสินค้า ค่าบริการ หรือค่าอื่นใดอันเป็นธุรกิจของตนเอง
4. เนื้อหา
4.1 ในการประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็ก-
ทรอนิกส์จะต้องออกบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์เป็นสกุลเงินบาทเพื่อใช้ในประเทศไทยเท่านั้น และไม่
สามารถออกเป็นสกุลเงินบาทในต่างประเทศ
4.2 การประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์มีลักษณะสำคัญ คือ ลูกค้าหรือผู้
บริโภคชำระเงินล่วงหน้าไว้ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจ
บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์จึงไม่สามารถออกบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะที่เป็นการให้สินเชื่อได้
4.3 ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์จะต้องประกอบธุรกิจเฉพาะธุรกิจบัตร
เงินอิเล็กทรอนิกส์หรือธุรกิจที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการให้บริการบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น เช่น
การเป็นตัวกลางในการชำระเงิน การให้บริการเครือข่ายในการชำระเงิน เป็นต้น และห้ามประกอบ
ธุรกิจอื่น ซึ่งรวมถึงธุรกิจการให้สินเชื่อด้วย
4.4 ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์จะต้องจัดทำบัญชีโดยแยกเงินที่ได้รับ
ล่วงหน้าจากผู้บริโภคออกจากเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทอย่างชัดเจน
4.5 ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์จะต้องฝากเงินที่ได้รับล่วงหน้าจาก
ผู้บริโภคไว้เป็นเงินสดที่ธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งไม่ต่ำกว่า
มูลค่ายอดคงค้างของเงินที่ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ได้รับล่วงหน้าจากผู้บริโภค โดย
เปิดเป็นบัญชีแยกต่างหากจากบัญชีเงินฝากอื่น ๆ ของบริษัท ปราศจากภาระผูกพัน และใช้เฉพาะ
สำหรับการชำระบัญชีอันเนื่องมาจากการให้บริการบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น
4.6 ในการประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องจัดให้มี
ระบบงานที่สามารถตรวจสอบรายการย้อนหลังได้ และสามารถป้องกันมิให้ผู้ใช้บริการโอนเงิน
ระหว่างกันโดยไม่ผ่านระบบของผู้ให้บริการ
4.7 กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ใช้บริการด้านงานเทคโนโลยี
สารสนเทศ หรืองานสนับสนุนใด ๆ จากธุรกิจหรือผู้ให้บริการรายอื่น ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็ก-
ทรอนิกส์จะต้องยังคงมีความรับผิดชอบต่อลูกค้าในการให้บริการที่ต่อเนื่อง ปลอดภัย และน่าเชื่อถือ
เสมือนกับการให้บริการโดยผู้ประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์เอง
ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องจัดให้มีการบริหารความเสี่ยง การคัดเลือกผู้ให้บริการ การติดตาม ประเมินผล และตรวจสอบการให้บริการอย่างเหมาะสมรวมทั้งจัดให้มีการทำสัญญาการให้บริการซึ่งระบุสิทธิของผู้ตรวจสอบภายใน ผู้ตรวจสอบภายนอกและธนาคารแห่งประเทศไทยในการเข้าตรวจสอบการดำเนินงานและการควบคุมภายในของผู้ให้บริการ
4.8 ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์จะต้องจัดให้มีนโยบายการรักษาความปลอดภัยในการประกอบธุรกิจ โดยครอบคลุมถึงการเข้าถึงระบบให้บริการและข้อมูล การตรวจสอบตัวตนลูกค้าและการป้องกันการปฏิเสธความรับผิด การรักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ของระบบให้บริการและข้อมูล การรักษาความลับของข้อมูล การรักษาความพร้อมใช้ของระบบให้บริการ การติดตามตรวจสอบความผิดปกติของระบบให้บริการ และการแก้ไขปัญหาและการรายงานในกรณีระบบให้บริการได้รับความเสียหาย หรือการให้บริการหยุดชะงักเกินกว่า 24 ชั่วโมง
4.9 ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์จะต้องจัดให้มีการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และจัดส่งสำเนาผลการตรวจสอบมายังธนาคารแห่งประเทศไทยภายใน 30 วันนับแต่วันที่ทำการตรวจสอบแล้วเสร็จ
4.10 ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์จะต้องประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับค่าบริการ ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการใช้บริการบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีผลบังคับใช้ในขณะนั้น ตามแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราดังกล่าวหรือเงื่อนไขใด ๆ ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์จะต้องประกาศให้ผู้บริโภคทราบ ณ สถานที่ทำการทุกแห่ง รวมทั้งจุดรับบริการต่าง ๆ ล่วงหน้าก่อนวันที่จะเริ่มเปลี่ยนแปลงไม่น้อยกว่า 14 วัน
ทั้งนี้ ในการกำหนดค่าบริการ ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ต้องจัดให้เป็นไปตามกลไกตลาดเพื่อให้เกิดการแข่งขันและต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมต่อผู้บริโภคด้วย
4.11 ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์จะต้องประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไข และค่าธรรมเนียมการแลกเปลี่ยนมูลค่าบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์คืนเป็นเงินสดให้ผู้บริโภคทราบ ณ สถานที่ทำการทุกแห่ง รวมทั้งจุดรับบริการต่าง ๆ ล่วงหน้าก่อนวันที่จะเริ่มเปลี่ยนแปลงไม่น้อยกว่า 14 วัน
4.12 ในกรณีที่ผู้บริโภคมีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการใช้บริการบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์จะต้องดำเนินการตรวจสอบและแจ้งความคืบหน้า รวมทั้งชี้แจงขั้นตอนต่อไปให้ผู้บริโภคทราบภายใน 7 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งการร้องเรียน รวมทั้งให้ดำเนินการแก้ไขข้อร้องเรียนนั้นให้แล้วเสร็จและแจ้งให้ผู้บริโภคทราบโดยเร็ว
4.13 ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์จะต้องจัดทำงบการเงินทุก 6 เดือนและจัดส่งมายังธนาคารแห่งประเทศไทยภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นงวด รวมทั้งจัดส่งงบการเงินประจำปีที่ผ่านการรับรองของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแล้วภายใน 30 วันนับแต่วันสิ้นงวด โดยเริ่มตั้งแต่งวดแรกที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์เป็นต้นไป
4.14 ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์จะต้องจัดทำรายงานตามแบบที่ธนาคาร
แห่งประเทศไทยกำหนดทุกเดือน และส่งมายังธนาคารแห่งประเทศไทยภายใน 30 วันนับจากวันสิ้นเดือน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนแรกที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์เป็นต้นไป
5. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2547
(ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
แบบยื่นขอรับอนุญาตประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์
วันที่...เดือน.........พ.ศ..........
เรียน ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้าพเจ้า.............................. โดยสะกดเป็นภาษาอังกฤษว่า (ชื่อบริษัทภาษาไทย)....................... ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ที่อยู่.........................(ชื่อบริษัทภาษาอังกฤษ ถ้ามี) ..................................................................
โทรศัพท์...........................................โทรสาร.....................และมีสาขาจำนวน............แห่ง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. สาขา ............... ตั้งอยู่ที่ ................................
2. สาขา ............... ตั้งอยู่ที่ ................................
3. สาขา ............... ตั้งอยู่ที่.................................
4. สาขา ............... ตั้งอยู่ที่ ................................
5. สาขา ............... ตั้งอยู่ที่ ................................
(หากมีสาขามากกว่า 5 แห่ง ให้แนบรายชื่อและสถานที่ตั้งเพิ่มเติมมาด้วย ทั้งนี้ สาขาหมายถึง สำนักงานใดๆ ซึ่งแยกออกจากสำนักงานใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ไปประกอบการอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่รวมถึงจุด บริการขายบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือจุดรับชำระเงินค่าสินค้าและบริการผ่านบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์)
มีความประสงค์ที่จะขอรับอนุญาตประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ตามที่กำหนด
ไว้ในประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กิจการที่ต้องขออนุญาตตามข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ
ฉบับที่ 58 (การประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์) ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2547
บัดนี้ ข้าพเจ้าได้แนบเอกสารและรายละเอียดที่ได้มีการรับรองสำเนาถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท มาพร้อมแบบยื่นขอรับอนุญาตประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์นี้ด้วยแล้ว ดังนี้
ก. รายละเอียด หลักฐาน และข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท ได้แก่
1) สำเนาใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัท
2) สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัท
3) สำเนาข้อบังคับของบริษัท
4) สำเนาทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท
5) ชื่อ ประวัติการทำงาน และคุณวุฒิของกรรมการ
6) ชื่อ ประวัติการทำงาน และคุณวุฒิของผู้สอบบัญชี
ข. รายละเอียดเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์
1) รายละเอียดเกี่ยวกับการให้บริการ
1.1 ชื่อและประเภทการให้บริการ
1.2 สาระสำคัญ เงื่อนไข และรูปแบบการให้บริการ
1.3 ขอบเขตการให้บริการ
1.4 ผู้ที่เกี่ยวข้องในการให้บริการ โดยระบุถึงหน้าที่ ความรับผิดชอบ
และความสัมพันธ์ระหว่างกัน
1.5 แผนธุรกิจในส่วนของการให้บริการบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ในระยะ
3 ปี (โดยรวมถึงเงินลงทุน รายได้ ค่าใช้จ่าย ปริมาณธุรกรรม และ
บริการที่จะให้เพิ่มเติม เป็นต้น)
2) รายละเอียดและวิธีการบริหารเงินที่ได้รับล่วงหน้าจากผู้บริโภค ซึ่งอย่างน้อย
ประกอบด้วย
2.1 ช่องทางในการแลกเปลี่ยนเงินสดเป็นเงินอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภค
2.2 วิธีการบันทึกบัญชี
2.3 วิธีการบริหารเงินที่ยังไม่มีการเรียกเก็บ การบริหารสภาพคล่อง และ
นโยบายการลงทุน
2.4 ขั้นตอนและวิธีการชำระเงินระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง
3) แนวทางการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการใช้บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดย
รวมถึงการแสดงรายละเอียดในเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้
3.1 แผนภาพของระบบงาน
3.2 รายละเอียดเทคโนโลยีที่ใช้ในการให้บริการ
3.3 แนวทางการเชื่อมโยงกับระบบงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.4 เทคโนโลยีที่ใช้เพื่อการรักษาความปลอดภัยของระบบ
3.5 นโยบายการรักษาความปลอดภัย
3.6 การจัดทำแผนฉุกเฉินและระบบสำรอง
4) รายละเอียดการควบคุมภายใน โดยรวมถึง
4.1 การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4.2 วิธีการ และการควบคุมการดำเนินการสร้างหรือเปลี่ยนแปลงมูลค่า
บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิธีการบันทึกมูลค่าบนบัตรเงิน
อิเล็กทรอนิกส์ หรือการเติมบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
4.3 วิธีการเก็บรักษาและจำหน่ายบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์
4.4 แนวทางการใช้บริการจากผู้ให้บริการรายอื่น (Outsourcing) และ
รายละเอียดของผู้ให้บริการ (เช่น ผู้ถือหุ้น ฐานะทางการเงิน ความ
รับผิดชอบต่อการให้บริการ เป็นต้น)
4.5 การกำหนดวงเงินบนบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์
4.6 การกำหนดอายุบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์
5) แนวทางการบริหารความเสี่ยง ซึ่งรวมถึงระบบการบริหารและจัดการความ
เสี่ยงประเภทต่างๆ ที่สามารถบ่งชี้และสามารถวัด ควบคุม ติดตามระดับ
ความเสี่ยงโดยรวมขององค์กรได้ ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงด้านกลยุทธ์
(Strategic Risk) ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง (Liquidity Risk) ความเสี่ยง
ด้านปฏิบัติการ (Operational Risk) ความเสี่ยงด้านกฎหมาย (Legal Risk)
และความเสี่ยงด้านชื่อเสียง (Reputational Risk)
6) แนวทางการคุ้มครองผู้บริโภค
6.1 ข้อตกลง หรือสัญญาระบุวิธีการ สิทธิ ความรับผิดชอบ และเงื่อนไข
ของการใช้บริการ
6.2 การปฏิบัติและจัดการเกี่ยวกับข้อมูลผู้บริโภค
6.3 แนวทางและวิธีการเปิดเผยข้อมูลให้แก่ผู้ใช้บริการในเรื่องต่าง ๆ เช่น
- เงื่อนไขในการใช้บริการ เช่น สถานที่ใช้บริการ วงเงิน อายุของ
บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ การคืนเงิน ค่าธรรมเนียม เป็นต้น
- ช่องทางการแจ้งปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหา
- วิธีการ สิทธิ ความรับผิดชอบ และเงื่อนไข ในกรณีปัญหาต่างๆ เช่น
บัตรถูกขโมยหรือสูญหาย ความผิดพลาดของมูลค่าเงินที่บันทึกไว้
บัตรชำรุด บัตรปลอม การใช้บัตรโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นต้น
- วิธีการตรวจสอบรายการการใช้บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้
บริการ
- วิธีการแจ้งข้อมูลหรือเงื่อนไขของการให้บริการที่เปลี่ยนแปลงแก่
ผู้ใช้บริการ
6.4 นโยบายในการแลกเปลี่ยนมูลค่าบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์คืนเป็นเงินสด
6.5 ค่าธรรมเนียมใดๆ เกี่ยวกับการใช้บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์
6.6 แนวทางการปฏิบัติเมื่อมีข้อร้องเรียน หรือข้อโต้แย้งเกี่ยวกับมูลค่าบัตร
เงินอิเล็กทรอนิกส์
ค) ตารางแนบประกอบการขออนุญาตประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์
ข้าพเจ้าขอรับรองว่า หากธนาคารแห่งประเทศไทยขอเอกสารหรือข้อมูลใดๆ เพิ่มเติม
เพื่อประกอบการพิจารณา ข้าพเจ้าจะไปชี้แจงและ/หรือจัดส่งหลักฐานรายละเอียดเพิ่มเติมภายในเวลา
ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด และเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ข้าพเจ้าตกลงจะปฏิบัติตามเงื่อนไขใดๆ
ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดขึ้น หรือจะกำหนดในภาย
หน้าทุกประการ
ขอรับรองว่ารายละเอียดข้างต้นนี้ถูกต้อง ครบถ้วน และตรงต่อความเป็นจริง
ลงนาม............................
( )
กรรมการผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท
(ประทับตราถ้ามี)
สนสว91-กส35001-25471214ด

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ