ธนาคารแห่งประเทศไทย
6 มีนาคม 2541
เรียน ผู้จัดการ
สาขาของธนาคารต่างประเทศทุกธนาคาร
ที่ ธปท.ง.(ว) 616/2541 เรื่อง การปรับน้ำหนักความเสี่ยงของสินเชื่อเพื่อการส่งออก
ธนาคารขอส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 มีนาคม 2541 เรื่อง การกำหนดให้สาขาของธนาคารต่างประเทศดำรงเงินกองทุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 115 ตอนพิเศษ 19ง ลงวันที่ 6 มีนาคม 2541 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม 2541 มาพร้อมนี้
สาระสำคัญของประกาศฯ ฉบับที่กล่าวคือ การปรับลดน้ำหนักความเสี่ยงของสินเชื่อเพื่อการส่งออก โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. เงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตที่ยังมิได้มีการส่งสินค้าออก (Pre shipment) ปรับน้ำหนักความเสี่ยงลงจากเดิมร้อยละ 100 เป็นร้อยละ 20 สำหรับสินเชื่อเพื่อการส่งออกตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตที่ได้มีการส่งสินค้าออกไปแล้ว (Post shipment) นั้น ให้คิดน้ำหนักความเสี่ยงร้อยละ 20 ตามเดิม
2. เงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกตามเอกสารประเภทอื่น รวมทั้ง Document against Payment (D/P) และ Document against Acceptance (D/A) ที่มีธนาคารพาณิชย์ในต่างประเทศรับประกันในการจ่ายเงิน ไม่ว่าสินค้านั้นจะได้ส่งออกหรือยังมิได้ส่งออก ให้มีน้ำหนักความเสี่ยงเท่ากับร้อยละ 20
ธนาคารขอเรียนว่า น้ำหนักความเสี่ยงของเงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกที่กำหนดข้างต้นนี้ เป็นไปตามข้อเสนอแนะของ Bank for International Settlements (BIS) และเป็นมาตรฐานที่ถือปฏิบัติกันทั่วไปในประเทศต่าง ๆ
อนึ่ง ธนาคารขอซักซ้อมเพื่อความเข้าใจว่า เงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกทุกประเภทที่มีธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยรับประกัน มีน้ำหนักความเสี่ยงร้อยละ 20
จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติ
ขอแสดงความนับถือ
(นายจรุง หนูขวัญ)
รองผู้ว่าการ
ฝ่ายกำกับสถาบันการเงิน
โทร. 2835939
------------------------------------------------------------------------
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
เรื่อง การกำหนดให้สาขาของธนาคารต่างประเทศดำรงเงินกองทุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541
------------------------------------------------------------------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (9) ของน้ำหนักความเสี่ยง 0.2 ของข้อ 5 แห่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้สาขาของธนาคารต่างประเทศดำรงเงินกองทุน ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(9) เงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิต หรือเงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออก ตามเอกสารประเภทอื่น ที่ธนาคารพาณิชย์ในต่างประเทศรับผิดชอบในการชำระค่าสินค้าแทนผู้ซื้อ แต่ในกรณีผู้ออกเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือธนาคารพาณิชย์ที่รับผิดชอบในการชำระค่าสินค้า เป็นธนาคารจดทะเบียนนอกกลุ่มประเทศที่กำหนดไว้ในภาคผนวก 1 จะต้องมีระยะเวลาคงเหลือของเล็ตเตอร์ออฟเครดิต หรือระยะเวลาที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องชำระค่าสินค้าไม่เกิน 1 ปี”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 6 มีนาคม 2541
(นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
6 มีนาคม 2541
เรียน ผู้จัดการ
สาขาของธนาคารต่างประเทศทุกธนาคาร
ที่ ธปท.ง.(ว) 616/2541 เรื่อง การปรับน้ำหนักความเสี่ยงของสินเชื่อเพื่อการส่งออก
ธนาคารขอส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 6 มีนาคม 2541 เรื่อง การกำหนดให้สาขาของธนาคารต่างประเทศดำรงเงินกองทุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 115 ตอนพิเศษ 19ง ลงวันที่ 6 มีนาคม 2541 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม 2541 มาพร้อมนี้
สาระสำคัญของประกาศฯ ฉบับที่กล่าวคือ การปรับลดน้ำหนักความเสี่ยงของสินเชื่อเพื่อการส่งออก โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. เงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตที่ยังมิได้มีการส่งสินค้าออก (Pre shipment) ปรับน้ำหนักความเสี่ยงลงจากเดิมร้อยละ 100 เป็นร้อยละ 20 สำหรับสินเชื่อเพื่อการส่งออกตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตที่ได้มีการส่งสินค้าออกไปแล้ว (Post shipment) นั้น ให้คิดน้ำหนักความเสี่ยงร้อยละ 20 ตามเดิม
2. เงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกตามเอกสารประเภทอื่น รวมทั้ง Document against Payment (D/P) และ Document against Acceptance (D/A) ที่มีธนาคารพาณิชย์ในต่างประเทศรับประกันในการจ่ายเงิน ไม่ว่าสินค้านั้นจะได้ส่งออกหรือยังมิได้ส่งออก ให้มีน้ำหนักความเสี่ยงเท่ากับร้อยละ 20
ธนาคารขอเรียนว่า น้ำหนักความเสี่ยงของเงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกที่กำหนดข้างต้นนี้ เป็นไปตามข้อเสนอแนะของ Bank for International Settlements (BIS) และเป็นมาตรฐานที่ถือปฏิบัติกันทั่วไปในประเทศต่าง ๆ
อนึ่ง ธนาคารขอซักซ้อมเพื่อความเข้าใจว่า เงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกทุกประเภทที่มีธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยรับประกัน มีน้ำหนักความเสี่ยงร้อยละ 20
จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติ
ขอแสดงความนับถือ
(นายจรุง หนูขวัญ)
รองผู้ว่าการ
ฝ่ายกำกับสถาบันการเงิน
โทร. 2835939
------------------------------------------------------------------------
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
เรื่อง การกำหนดให้สาขาของธนาคารต่างประเทศดำรงเงินกองทุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541
------------------------------------------------------------------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (9) ของน้ำหนักความเสี่ยง 0.2 ของข้อ 5 แห่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้สาขาของธนาคารต่างประเทศดำรงเงินกองทุน ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(9) เงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิต หรือเงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออก ตามเอกสารประเภทอื่น ที่ธนาคารพาณิชย์ในต่างประเทศรับผิดชอบในการชำระค่าสินค้าแทนผู้ซื้อ แต่ในกรณีผู้ออกเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือธนาคารพาณิชย์ที่รับผิดชอบในการชำระค่าสินค้า เป็นธนาคารจดทะเบียนนอกกลุ่มประเทศที่กำหนดไว้ในภาคผนวก 1 จะต้องมีระยะเวลาคงเหลือของเล็ตเตอร์ออฟเครดิต หรือระยะเวลาที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องชำระค่าสินค้าไม่เกิน 1 ปี”
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 6 มีนาคม 2541
(นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย