(ต่อ2) ขอบเขตการประกอบธุรกิจและขอบเขตการทำธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย

ข่าวกฏหมายและประกาศ Tuesday November 22, 2005 10:42 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

          4.1 คำจำกัดความของ"ธุรกรรมเพื่อบริหารสินทรัพย์/หนี้สินของ ธย." และ การ
จำกัดคู่สัญญา
ตอบ "ธุรกรรมเพื่อการบริหารสินทรัพย์/หนี้สินของ ธย."หมายถึงธุรกรรมที่
กระทำโดยมีวัตถุประสงค์หลักไม่ใช่เพื่อให้บริการแก่ลูกค้า แต่เพื่อบริหารสินทรัพย์/หนี้สินของ ธย.
เอง เช่น การบริหารสภาพคล่องส่วนขาด/ส่วนเกิน หรือเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ด้านการหา
รายได้
ประกาศขอบเขตฯจำกัดคู่สัญญาในการทำธุรกรรมเพื่อบริหารสินทรัพย์และหนี้สินของ
ธย.เฉพาะกรณีที่เป็นธุรกรรมด้านสินทรัพย์ของ ธย. เท่านั้น อย่างไรก็ดี การจำกัดคู่สัญญาดังกล่าว
จะยังเปิดโอกาสให้ ธย. สามารถทำธุรกรรมด้านการลงทุนกับประชาชนรายย่อยและวิสาหกิจขนาด
กลางและขนาดย่อยซึ่งเป็นคู่สัญญาที่ได้รับอนุญาตสำหรับการประกอบธุรกิจเพื่อให้บริการแก่ลูกค้าโดย
คู่สัญญาที่อนุญาตเพิ่มขึ้นคือ สถาบันการเงิน บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์(ประเทศไทย) จำกัด
องค์การของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และรัฐบาล เพื่อให้บริหารสภาพคล่องส่วนเกินของ ธย. มีความยืด
หยุ่นเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ธย. สามารถเลือกถือตราสารหนี้/ทุนที่ออกโดยบริษัทขนาดใหญ่ ในกรณีที่
มีจุดประสงค์เพื่อค้าหรือจุดประสงค์เผื่อขายที่ถือครองไม่เกิน 1 ปี
ทั้งนี้ ประกาศขอบเขตฯไม่ได้กำหนดให้ ธย. ต้องรยงานสินทรัพย์และหนี้สินแยกเป็น
ส่วนที่มีจุดประสงค์เพื่อบริการลูกค้า และส่วนที่มีจุดประสงค์เพื่อบริหารสินทรัพย์และหนี้สินของ ธย.
เอง
4.2 การทำธุรกรรมในสกุลเงินบาท/เงินตราต่างประเทศเพื่อป้องกันความเสี่ยง
ของตนเอง
4.2.1 ธย. ทำธุรกรรมในสกุลเงินบาท/เงินตราต่างประเทศเพื่อป้องกันความ
เสี่ยงของตนเองได้หรือไม่
ตอบ ธย. สามารถทำธุรกรรมเพื่อป้องกันความเสี่ยงของ ธย. เองในสกุล
เงินบาทและสกุลเงินต่างประเทศได้
ทั้งนี้การป้องกันความเสี่ยง หมายถึง การทำธุรกรรมที่มี Risk Profile ในทางตรง
กันข้ามกับฐานะที่มีอยู่ก่อน หรือเป็นธุรกรรมมที่สามารถลดหรือจำกัดความเสี่ยงอย่างมีนัยในผลขาด
ทุนที่มีอยู่ก่อนในกรณีที่อัตราอ้างอิงเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่มีผลในทางลบกับฐานะที่มีรอยู่นั้น ธย.
ควรมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าการทำธุรกรรมดังกล่าวเป็นการทำเพื่อป้องกันความเสี่ยงของ ธย.
เอง เพื่อให้ ธปท. สามารถตรวจสอบได้
อนึ่ง การทำธุรกรรมในสกุลเงินตราต่างประเทศนั้น ธย. จะสามารถทำได้เช่นเดียว
กับบุคคลทั่วไป ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน และมาตร
การป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทของ ธปท.ด้วย เช่น การทำธุรกรรมเพื่อป้องกันความเสี่ยง
ของ ธย.เอง ในสกุลเงินตราต่างประเทศนั้น ธย.ได้รับอนุญาตเป็นการทั่วไปสำหรับการทำธุรกรรม
กับคู่สัญญาที่เป็น ธพ. จดทะเบียนในประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงิน
ต่างประเทศ (FX License) ที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย แต่ในการโอนเงินกรณีการทำ
สัญญาคุ้มครองความเสี่ยงกับ สง. ในต่างแระเทศ ต้องให้นิติบุคคลรับอนุญาตส่งเรื่องให้เจ้าพนัก
งานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินอนุญาตก่อน โดยเป็นไปตามประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลก
เปลี่ยนเงิน เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน ลงวันที่
31 มี.ค.2547
4.2.2 ในหัวข้อที่4.2.2(1)ก.2 การทำธุรกรรมในสกุลเงินตราต่างประเทศ
เพื่อการบริหารสินทรัพย์/หนี้สินและเพื่อป้องกันความเสี่ยงของ ธย.เอง (หน้า 5 ของประกาศ
ขอบเขตฯ) กล่าวว่า "ธย. สามารถทำธุรกรรมในสกุลเงินตราต่างประเทศเพื่อการบริหาร
สินทรัพย์/หนี้สินของ ธย. เองได้เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป"ธย. จะสามารถทำธุรกรรมการซื้อ
ขายเงินตราต่างประเทศทันทีและล่วงหน้าด้วยได้หรือไม่
ตอบ ในการทำธุรกรรมในสกุลเงินตราต่างประเทศเพื่อการบริหารสินทรัพย์/
หนี้สินของ ธย.นั้น ธย.ทำได้เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดย
กฎหมายว่าด้วยควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เช่น การซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน หรือโอนเงินตราต่าง
ประเทศทันที และการกู้ยืมเงินเป็นเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งธุรกรรมดังกล่าวจะต้องทำกับ
ตัวแทนรับอนุญาตรายอื่น ที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
สำหรับธุรกรรมอื่นที่ ธย.ทำเพื่อป้องกันความเสี่ยงของตนเอง เช่น การซื้อขายเงิน
ตราล่วงหน้านั้น ธย.ได้รับอนุญาต ธย.ได้รับอนุญาตตามประกาศขอบเขตฯข้อ 4.2.2(2)ธุรกรรม
เพื่อการป้องกันความเสี่ยงของ ธย.
4.2.3 ในการบริหารสินทรัพย์/หนี้สินของ ธย.หาก ธย.มีการกู้ยืมเงินเป็นเงิน
ตราต่างประเทศจะสามารถนำเงินตราต่างประเทศนั้นไปพักในบัญชีเงินฝากสกุลเงินตราต่าง
ประเทศก่อนได้หรือไม่
ตอบ สามารถทำได้เฉพาะกรณีที่ ธย.มีภาระผูกพันกับเงินตราต่างประเทศ
ที่ฝากนั้น โดยดูรายละเอียดได้ใน http:www.bot.or.th/BOTHomepage/General/Laws
Notif Forms/ExchangeControl/main Exchange%20control sub7.htm
นอกจากนี้ ธย.สามารถซื้อ ขาย แลก เปลี่ยน หรือโอนเงินตราต่างประเทศล่วง
หน้าได้เฉพาะกรณีที่มีจุดประสงค์เพื่อบริหารความเสี่ยงของ ธย.เองตามกรอบที่กำหนดโดยกฎหมาย
ว่าด้วยการคุ้มครองการแลกเปลี่ยนเงิน
4.3 ธย.สามารถรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงินจากใครได้บ้าง และต้อง
เป็นตั๋วเงินที่ออกจากใคร
ตอบ เพื่อให้ธย.มีความยืดหยุ่นในการบริหารสินทรัพย์และหนี้สินของ ธย.เอง
ธย.สามารถรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน กับคู่สัญญาอื่นเพิ่มเติมจากการที่สามารถทำได้
กับคู่สัญญาที่เป็นปราชนรายย่อยและวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อมแล้ว ธย.ยังสามารถทำธุรกรรมกับ
สถาบันการเงิน บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์(ประเทศไทย)จำกัด องค์การของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
หรือรัฐบาลได้ โดยผู้ที่ออกตั๋วเงินอาจจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ก็ได้
4.4 ธย.บริหารสินทรัพย์และหนี้สินของตนเองโดยประกอบธุรกรรมการลงทุนในตรา
สารหนี้/ตราสารทุนได้หรือไม่ มีข้อจำกัดอย่างไร
ตอบ ในการบริหารสินทรัพย์และหนี้สินของตนเอง ธย.สามารถลงทถนในตรา
สารหนี้/ตราสารที่ออกทุนโดยประชาชน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สถาบันการเงิน
บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์(ประเทศไทย)จำกัด องค์การของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือรัฐบาลได้
โดยไม่มีข้อจำกัดด้านระยะเวลาการถือครอง อย่างไรก็ดี เพื่อมิให้เป็นการจำกัดขอบเขตการบริหาร
สินทรัพย์และหนี้สินของ ธย.เองเกินไป จึงอนุญาตให้ ธย.สามารถซื้อขายตราสารหนี้/ตราสารทุนที่
ออกโดยบริษัทขนาดใหญ่ได้เฉพาะที่มีวัตถุประสงค์เพื่อค้าหรือมีวัตถุประสงค์เผื่อขายโดยมีกำหนดระยะ
เวลาการถือครองไม่เกินกว่า 1 ปีเท่านั้น
5.ข้อผ่อนผันในทางการดำเนินงานสำหรับ ธย.
5.1 ในช่วงการเปลี่ยนสถานะจาก บง./บค.ไปเป็นธย.มีผลให้สินทรัพย์และหนี้สินของ
ธย.ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ไม่สอดคล้องกับประกาศขอบเขตฯฉบับนี้แล้ว ธย.ที่จัดตั้งขึ้นใหม่จะได้รับการผ่อนผัน
เรื่องดังกล่าวหรือไม่ และมีรายละเอียดอย่างไร
ตอบ การผ่นผันสำหรับสินทรัพย์/หนี้สินของธย.ที่ไม่สอดคล้องกับประกาศขอบเขตฯ
ซึ่งอาจเกิดขึ้นในช่วง Transition จาก บง./บค.เป็น ธย.ประกอบด้วยสินเชื่อที่บง./บค.ให้สิน
เชื่อแก่บริษัทขนาดใหญ่ หรือสินเชื่อแก่บริษัทขนาดใหญ่ หรือสินเชื่อที่ให้แก่ประชาชนรายย่อยหรือ
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในลักษณะที่เกินวงเงินสินเชื่อต่อรายที่กำหนดไว้ในประกาศขอบเขตฯ
มีเกณฑ์การผ่อนผัน ดังนี้
(1) กรณีสัญญามีกำหนดอายุ (Term loan):ผ่อนผันจนหมดอายุสัญญา
(2) กรณีสัญญาที่ไม่มีกำหนดอายุ(Call loan):ผ่อนผันไม่เกิน 1 ปี นับจากวันเปิด
ดำเนินการ
ทั้งนี้ จะผ่อนผันเฉพาะกรณีสัญญาที่ทำไว้ก่อนวันที่รัฐมนตรีว่ากระระทรวงการคลังให้
ความเห็นชอบแผนการขอจัดตั้ง ธย.เท่านั้น
อย่างไรก็ดี ในกรณีที่มีความจำเป็น เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ของสินเชื่อใหม่ที่เกิด
ขึ้นภายหลัง ธย.เปิดดำเนินการ หรือของสินเชื่อเดิมที่ได้รับการผ่อนผันข้างต้น ธปท.จะพิจารณาผ่อน
ผันเฉพาะราย
สำหรับการปล่อยลูกหนี้เช่าซื้อหรือเช่าแบบลิสซิ่งในลักษณะ Fleet กับบริษัทตัวกลางที่
เป็นบริษัทขนาดใหญ่ เพื่อส่งผ่านสินเชื่อให้กับลูกหนี้ที่เป็นประชาชนรายย่อยหรือรัฐวิสาหกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อมนั้น หากบริษัทดังกล่าวมีคุณสมบัติไม่เข้าข่าย SMEs การให้สินเชื่อดังกล่าวนับเป็นการ
ให้สินเชื่อแก่บริษัทขนาดใหญ่ซึ่งอยู่นอกเหนือขอบเขตการประกอบธุรกิจของ ธย.ตามที่กำหนดใน
ประกาศขอบเขตฯ
5.2 หากลูกค้าของ ธย.เป็น SMEs ตามคำนิยามที่ ธปท.กำหนด ต่อมาภายหลังมี
ความสามารถขยายกิจการจนมีขนาดใหญ่เกินกว่านิยามของ SMEs ที่กำหนด ธย.ต้องดำเนินการ
อย่างไร
ตอบ ตามหนังสือเวียนที่ ธปท.สนส.(12)ว.817/2547 เรื่อง ชี้แจงราย
ละเอียดเกี่ยวกับแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ลงวันที่ 26 เม.ย.2547 ชี้แจงว่าในกรณีที่ ธย.
ให้สินเชื่อแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แต่ต่อมาลูกค้ารายนั้นขยายกิจการจนมีขนาดใหญ่
เกินกว่านิยามของรัฐวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมนั้น ไม่ถือว่า ธย.ดำเนินการในลักษณะที่
ขัดต่อประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตจัดตั้ง
ธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากในวันอนุมัติสินเชื่อลูกค้ายังเป็นรัฐวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ซึ่งโดยปกติแล้ว ธย.จะต้องมีการประเมินหรือสอบทานลูกหนี้ตามรอบระยะเวลาที่กำหนด และ
หากพบว่าลูกค้าที่เป็นรัฐวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมขยายกิจการจนเป็นขนาดใหญ่แล้ว ธย.
อาจให้สินเชื่อเพิ่มอีกได้เฉพาะการเบิกเงินตามวงเงินเดิมที่ได้อนุมัติสินเชื่อไว้แล้วขณะเป็นวิสาหกิจ
ขนาดกลางและขนาดย่อมและมีข้อผูกพันตามสัญญาที่จะต้องให้เพิ่ม
ตารางประเภทธุรกิจตาม ม.9 ทวิ ที่อนุญาตให้ ธย.ทำ
ที่ ธุรกิจตาม ม.9 ทวิ ที่อนุญาติ หนังสือเวียน/ประกาศที่เกี่ยวข้อง การอนุญาต ธย.
ให้ ธพ.ทำ คู่สัญญาของ ธย.
หนังสือเวียน วันที่ประกาศ /อนุญาต
ลงวันที่ [วันที่นำส่ง
] Xไม่อนุญาต
1. ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย 31/1/2545 20/12/2544
1.1 การเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย [4/1/2545
] / ไม่จำกัด
และประกันชีวิต[ต้องได้รับอนุญาต
จาก นายทะเบียน&ปฏิบัติตาม
เกณฑ์พรบ.ประกันภัย
] จำกัด
1.2 การเผยแพร่แผ่นพับโฆษณาของ 22/1/2545
บริษัทประกันภัย
1.3 การให้บริการที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 1/3/2536
กับการประกันภัยแก่ลูกค้าสินเชื่อ
เพื่อที่อยู่อาศัย
2.ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์
2.1 การเป็นนายหน้าตัวแทน 3/11/2526,
จำหน่ายหลักทรัพย์รัฐบาล
และรัฐวิสาหกิจเฉพาะ
ตราสารแห่งหนี้ 18/3/2535
2.2 การเป็นตัวแทนจำหน่ายหุ้น 27/9/2543
2.3 การจัดการออกตราสารหนี้ 11/9/2545
2.4 การเป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์ 11/9/2545
2.5 การดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์ 3/11/2530,
บัตรเงินฝาก ตราสารแห่งหนี้ 31/5/2538,
เอกสาร แสดงสิทธิในทรัพย์สิน
และเอกสารอื่นๆ 8/9/2543
(Custodian Service)
2.6 การเป็นผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ 11/9/2545
2.7 การติดต่อหรือแนะนำบริการ 22/11/2545 / ไม่จำกัด
บริษัทหลักทรัพย์ให้แก่ลูกค้า [9/12/2545
]
2.8 การเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วย 19/9/2548
ลงทุน [5/10/2548
]
2.9 การจัพจำหน่ายหน่วยลงทุน 19/9/2548
(ธย.ทำได้เฉพาะ Best [5/10/2548
]
Effort ไม่ให้ทำแบบ
Firm Underwrite)
2.10 การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน 27/8/2545
[9/9/2545
]
2.11 การเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์
ของกองทุนรวม 11/9/2545
2.12 การจัดการกองทุนส่วนบุคคล 16/10/2538
2.13 การจัดการกองทุนสำรอง 27/8/2539
เลี้ยงชีพ
2.14 การขายทรัพย์สินของธนาคาร 30/6/2536
พาณิชย์ในลักษณะที่ก่อให้เกิด
เกิดการตราสารเพื่อนำไปขาย
ต่อ (Securitization) / พิจารณารายกรณี
2.15 การจัดการแปลงสินทรัพย์เป็น
หลักทรัพย์เพื่อเสนอต่อ สำนักงาน
ก.ล.ต. 2/7/2541
2.16 การจัดจำหน่ายตราสารแห่งหนี้ 11/9/2545 / จำกัดผู้ออกตราสาร
แห่งหนี้ เฉพาะ SMEs
2.17 การให้สาขาในต่างประเทศของ13/10/2538
ธพ.ไทยเป้นผู้จัดการกองทุนเพื่อ
การลงทุน หรือการพัฒนาระหว่าง
ประเทศหรือรับบริหารสินทรัพย์ให้
แก่บุคคลในต่างประเทศ
2.18 การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ 19/8/2546 X
ประเภทกิจการการยืมและ
ให้ยืมหลักทรัพย์ และการ
ขายชอร์ต(SBL-Securities
Borrowing and Lending,
Short Sales)
2.19 การค้าตราสารแห่งหนี้ 11/9/2545
2.20 การค้าหน่วยลงทุน 19/9/2548
[5/10/2548
]
3. PRIVATE REPO
การประกอบธุรกิจซื้อคืนภาค 2/3/2544 9/9/2547
เอกชน(Private Repo) [29/9/2547
]
- ด้านให้กู้ยืมเงิน / จำกัดคู่สัญญาเฉพาะ
ประชาชนรายย่อย
SMEs สง.
ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์
องค์การของรัฐ
รัฐวิสาหกิจ รัฐบาล
- ด้านกู้ยืมเงิน ไม่จำกัดคู่สัญญา
4.เช่าชื้อ/ลีสซิ่ง/การให้เช่า
4.1 การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ 3/1/2546
ที่มีไว้เพื่อใช้ในการดำเนิน [31/1/2546
] / ไม่จำกัด
ธุรกกิจหรือที่ได้รับจากการ
ชำระหนี้หรือสาขาที่ปิด
4.2 การให้บุคคลภายนอกใช้บริการ
ศูนย์ฝึกอบรม
4.3 การให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบ 4/5/2548
ลิสซิ่งอันเนื่องมาจากการปรับปรุ [27/5/2548
] / จำกัดเฉพาะ
โครงสร้างหนี้ประชาชนรายย่อย
4.4 การอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ 7/4/2548
และ SMEs ให้เช่าซื้อให้
เช่าแบบลิสซิ่ง [11/5/2548
]
4.5 การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ 30/9/2547
ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริง [6/10/2547
] / จำกัดลูกค้าเฉพาะ
ธย.ทำ ได้เฉพาะ ประชาชนรายย่อย
Domestic Factoring) และ SMEs
5. ตราสารอนุพันธ์
5.1 ธุรกรรม Credit
Linked Notes/ 21/10/2546
Credit Linked
Deposit [24/10/2546
]
5.2 ธุรกรรม Credit
Default Swap 21/10/2546
[24/10/2546
]
5.3 ธุรกรรมที่ใช้เป็น
เครื่องมือในการ
บริหารความเสี่ยง 6/9/2548 21/10/2546
หลักทรัพย์ประเภท
ตราสารหนี้ [24/10/2546
]
5.4 ธุรกรรมเงินฝาก
หรือเงินกู้ยืมที่มี 7/7/2548 4/8/2547
5.5 ธุรกรรมอนุพันธ์ด้าน
Commodity 1/4/2547 X
[12/4/2547
]
5.6 ธุรกรรม Credit
Derivativesที่ 12/4/2547
อ้างอิงกลุ่มของ
สินทรัพย์ [26/4/2547
]
5.7 การลงทุนในตราสาร
Collateralized 25/8/2547
Debt Obligation
(CDO) [31/8/2547
] X
5.8 Plain Vanilla
Derivatives 20/7/2548
6 E-banking
6.1 การใช้บริการเครือ
ข่ายอินเตอร์เน็ต 9/11/2543
ในการประกอบธุรกิจ [15/11/2543
]
6.2 การให้บริการเงิน
อินเล็กทรอนิกส์ 10/2/2547 / ไม่จำกัด
(Eleetronic Money)
6.3 การให้บริษัทประกันภัย
เปิดบริการผ่าน 6/9/2532
เครื่องอิเล็กทรอนิกส์
ที่ใช้ ในการฝาก
และถอนเงินและ
เครื่องอิเล็กทรอนิกส์อื่น
7 ธุรกิจการให้คำแนะ
นำและบริการทาง
การเงินอื่น
7.1 การให้บริการจัด
ทำหรือวิเคราะห์
โครงการ 3/11/2530
เพื่อการลงทุน
(Feasibility
Studies)
7.2 การจัดหาเงินกู้จาก
แหล่งต่างๆ ให้แก่ผู้ 3/11/2530
ต้องการกู้เงิน
(Loan Syndication)
ในกรณีที่ ธย.ร่วม
ให้สินเชื่อ ธย.จะถูก
จำกัดตามขอบเขต
ของการให้สินเชื่อ)
7.3 การเป็นที่ปรึกษาใน
การซื้อกิจการ รวม 3/11/2530
กิจการหรือควบกิจการ
(Acquisition,Merger
or Consolidation)
7.4 การเป็นที่ปรึกษาทาง
การเงิน 18/3/2535 / ไม่จำกัด
(Financiial advisor)
7.5 การให้บริการข่าว
สารข้อมูล 18/3/2535
7.6 การเป็นตัวแทน
เรียกเก็บหนี้โดยมีค่า 2/7/2541,
ค่าตอบแทน 5/6/2543
7.7 การประกอบธุรกิจ
Escrow Account 8/3/2544
7.8 การเป็นตัวแทนหรือ
รับจ้างบริหารสินทรัพย์ 29/8/2544
ด้อยคุณภาพให้บรรษัท
บริหารสินทรัพย์ไทย
(TAMC)
7.9 การประกอบธุรกิจ
ให้บริการด้านงาน 20/1/2547
สนับสนุนแก่บุคคลอื่น [30/1/2547
]
7.10 การให้บริการทาง
การเงินตามหลัก 10/11/2546 จำกัดเฉพาะ
ชาริอะฮ์ [1/12/2546
] ประชาชนรายย่อย
และ SMEsในกรณี
/ ธุรกิจเป็นสินเชื่อ
หรือมีลักษณะคล้าย
สินเชื่อ
7.11 การรับซื้อหรือรับ 4/3/2548 / จำกัดลูกค้า
โอนลูกหนี้เงินให้ [17/3/2548
] ลูกค้าเฉพาะ
กู้ยืม SMEs
หมายเหตุ
1 ข้อมูล ณ วันที่ 7 ตุลาคม 2548 โดยหนังสือเวียนและประกาศที่เกี่ยวข้องอาจมีการเพิ่มเติมแก้ไขหรือยกเลิกได้
2 อนุญาตให้ ธย.ประกอบธุรกิจได้เป็นการทั่วไป หรือ อนุญาตตามเงื่อนไขที่กำหนด แล้วแต่กรณีโปรดดูรายละเอียดในหนังสือเวียน /ประกาศแต่ละฉบับ
3 หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจบางประเภทมีการจำกัดคู่สัญญา เช่น ธย.รับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงินให้กู้ยืมได้จาก SMEs ที่เป็นนิติบุคคลเท่านั้น
โปรดดูดรายละเอียดในหนังสือเวียน/ประกาศแต่ละฉบับ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ