แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง

ข่าวกฏหมายและประกาศ Thursday July 31, 1997 12:00 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                                                      ธนาคารแห่งประเทศไทย
12 มิถุนายน 2540
เรียน ผู้จัดการ
บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ทุกบริษัท
ที่ ธปท.งพ.(ว) 1627/2540 เรื่อง แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
ตามที่ธนาคารได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดให้บริษัทเงินทุนและบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเป็นสัดส่วนกับยอดเงินกู้ยืมหรือเงินที่ได้รับระยะสั้นจากต่าง ประเทศ ความละเอียดแจ้งแล้ว นั้น
เพื่อให้หลักเกณฑ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องมีความชัดเจนและคล่องตัวยิ่งขึ้น ธนาคาร จึงออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับใหม่ เรื่อง การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของเงินบริษัท เงินทุน ลงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งจะได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศ ทั่วไป เล่ม 114 ตอนที่ 50 ง ลงวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2540 และจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป โดยเป็นการแก้ไขและเพิ่มเติมข้อความตามประกาศฉบับเดิม ในประเด็นดังต่อไปนี้
1. เพิ่มเติมให้สามารถนับตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบ สถาบันการเงินเป็นผู้ออกเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องได้
2. เพิ่มเติมข้อความในส่วนที่เกี่ยวกับการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง เป็นสัดส่วนกับยอด เงินกู้ยืมหรือเงินที่ได้รับระยะสั้นจากต่างประเทศเพื่อให้ธนาคารมีความคล่องตัวมากขึ้นในการกำหนด หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่เกี่ยวกับลักษณะของเงินกู้ยืม ซึ่งมีความหลากหลายในทางปฏิบัติ
พร้อมนี้ ธนาคารขอซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเป็นสัดส่วน กับยอดเงินกู้ยืมหรือเงินที่ได้รับจากต่างประเทศ ให้ชัดเจนขึ้น ดังนี้
1. เงินกู้ยืมหรือเงินที่ได้รับจากต่างประเทศระยะเวลาตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ที่มีข้อตกลงกับ เจ้าหนี้ว่าจะมีการชำระคืนเงินกู้ยืมบางส่วนคืนต่างประเทศในช่วง 1 ปี นับแต่วันกู้ยืม ต้องดำรง สินทรัพย์สภาพคล่อง ดังนี้
(ก) กรณีบริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กู้ยืมจากต่างประเทศตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป แล้วให้กู้ต่อแก่ลูกค้าเป็นระยะ 2 ปี ขึ้นไปเช่นกัน โดยมีข้อตกลงว่าลูกค้าจะชำระคืนเงินกู้ยืม เป็นงวด ๆ ละเท่า ๆ กัน และต้องเป็นงวดละ 3 เดือนขึ้นไป จะสามารถนำเงินที่ได้รับจากลูกหนี้ จ่ายคืนเงินกู้ยืมจากต่างประเทศได้ โดยไม่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องสำหรับเงินกู้ยืมดังกล่าว ตามอัตราพิเศษคือ เป็นเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 7 แต่ให้ดำรง สินทรัพย์สภาพคล่องในอัตราปกติคือ เป็นเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เงินฝากธนาคารพาณิชย์ และหลักทรัพย์อื่น ๆ รวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 7
(ข) กรณีบริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กู้ยืมจากต่างประเทศตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป โดยมีเงื่อนไขตั้งแต่วันกู้ยืมว่าจะมีการผ่อนชำระคืนเงินกู้ยืมบางส่วนคืนต่างประเทศเป็นงวด ๆ (Installment) ในช่วง 1 ปีนับแต่วันกู้ยืมนั้น ให้ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามอัตราพิเศษเฉพาะ เงินกู้ยืมส่วนที่มีระยะเวลาชำระคืนก่อนครบ 1 ปีตั้งแต่วันกู้เท่านั้น ส่วนเงินกู้ยืมส่วนที่มีระยะเวลา ชำระคืนตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปนับแต่วันกู้ ให้ดำรงตามอัตราปกติตั้งแต่วันกู้ยืมหรือได้รับเงินนั้น
2. กรณีเงินกู้ยืมระยะยาวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ที่มีเงื่อนไขให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกชำระคืน ก่อนครบกำหนดได้ หากเป็นเงื่อนไขเรียกชำระคืนกรณีที่เกิดการผิดนัด (event of default) ซึ่ง ได้นิยามอย่างชัดเจนว่าเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้กู้เอง ไม่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามอัตรา พิเศษ ส่วนเงื่อนไขเรียกชำระคืนในกรณีที่เกิดความไม่มั่นใจในเศรษฐกิจ โดยรวมของประเทศ หรือ เงื่อนไขในทำนองเดียวกันซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผันผวนทางการเมือง (country risk หรือ sovereign risk) ของประเทศไทย ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามอัตราพิเศษเว้นแต่ในกรณี ดังต่อไปนี้
(1) เงื่อนไขเรียกชำระคืนได้เมื่อมีการยึดสินทรัพย์หรือรายได้บางส่วน หรือทั้งหมด ของผู้กู้มาเป็นของรัฐ (Nationalisation)
(2) การประกาศห้ามหรือระงับชำระหนี้โดยรัฐบาล ซึ่งจะทำให้รัฐบาลไทยหรือผู้กู้ ไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ (Moratorium)
(3) การที่ประเทศไทยยกเลิกการเป็นสมาชิกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
สำหรับกรณีเงื่อนไขของสถานการณ์ที่ไม่ชัดเจนตามดุลพินิจของผู้ให้กู้ เช่น เงื่อนไขเรียก ชำระคืนได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในประเทศในทางเศรษฐกิจ การเงินหรือการเมือง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไขหรือออกข้อบังคับ ระเบียบหรือกฎเกณฑ์ใด ๆ ของทางการที่อาจจะ ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพของสัญญากู้ยืม หรือมีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ เป็นต้น นั้น จะต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามอัตราพิเศษ ดังนี้
(ก) กรณีมีเงื่อนไขที่ผู้ให้กู้สามารถเรียกให้ชำระคืนในช่วง 1 ปี นับแต่วันกู้ยืม จะต้อง ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามอัตราพิเศษสำหรับเงินกู้ยืมนั้นในช่วงปีแรก หลังจากนั้นแล้วให้ดำรงใน อัตราปกติ
(ข) กรณีมีเงื่อนไขที่ผู้ให้กู้สามารถเรียกให้ชำระคืนต่อเมื่อพ้นช่วง 1 ปีนับแต่วันกู้ยืมแล้ว สถาบันการเงินผู้กู้ไม่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามอัตราพิเศษ สำหรับเงินกู้ยืมดังกล่าวแต่ต้อง ดำรงในอัตราปกติตั้งแต่วันกู้ยืมหรือได้รับเงิน
จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติ
ขอแสดงความนับถือ
(นายจรุง หนูขวัญ)
รองผู้ว่าการ
ส่วนพัฒนาธุรกิจสถาบันการเงิน
ฝ่ายกำกับและพัฒนาสถาบันการเงิน
โทร. 283-5302, 283-5868, 283-5837

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ