การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของบง.

ข่าวกฏหมายและประกาศ Friday March 15, 1996 17:18 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                         ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
เรื่อง การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของบริษัทเงินทุน
________________________________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจ
หลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกำหนดด้วยความเห็น
ชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ให้ยกเลิก
(1) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของบริษัท
เงินทุน ลงวันที่ 3 กันยายน 2533
(2) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของบริษัท
เงินทุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2535
ข้อ 2. ให้บริษัทเงินทุนดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง เป็นอัตราส่วนกับยอดรวมเงินที่ได้จากการ
กู้ยืม หรือได้รับจากประชาชน อันบริษัทเงินทุน มีหน้าที่จะต้องชำระคืน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ
เงื่อนไขดังนี้
*(1) ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเป็นเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ต่ำกว่าร้อยละ
เจ็ดของยอดเงิน ที่ได้จากการกู้ยืมหรือได้รับจากต่างประเทศเฉพาะที่มีกำหนดชำระคืนเมื่อทวงถาม หรือ
เมื่อสิ้นระยะเวลาที่อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกคืนได้ก่อนครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่กู้ยืมหรือได้รับเงิน ทั้งนี้
ยอดเงินข้างต้นไม่รวมถึงเงินกู้ยืม หรือที่ได้รับจากต่างประเทศในสกุลเงินตราต่างประเทศ ที่เกิดขึ้นก่อน
วันที่ 28 มิถุนายน 2539 และเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน หรือนิติบุคคลในต่างประเทศ เพื่อการ
ดำเนินงานตามปกติ (Commercial Borrowing) ในสกุลเงินบาทที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 28 มิถุนายน 2539
และยังไม่ถึงกำหนดชำระคืน
(2) ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละเจ็ดของยอดรวมเงินที่ได้จากการกู้ยืมหรือ
ได้รับจากประชาชนทุกประเภท นอกจากที่กล่าวใน (1) โดยสินทรัพย์สภาพคล่อง ดังกล่าว ต้องประกอบ
ด้วย
(2.1) เงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ต่ำกว่าร้อยละศูนย์จุดห้า ของยอดรวมเงิน
ที่ได้จากการกู้ยืม หรือได้รับจากประชาชน ดังกล่าว
(2.2) หลักทรัพย์ ซึ่งปราศจากภาระผูกพันดังต่อไปนี้ รวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละห้าจุดห้า
ของยอดรวมเงินที่ได้จากการกู้ยืม หรือได้รับจากประชาชน ดังกล่าว
ก. หลักทรัพย์รัฐบาลไทย
ข. หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิ ในหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงิน
และดอกเบี้ย
ค. หุ้นกู้ หรือพันธบัตรที่ออก โดยบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ
พันธบัตรองค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(2.3) เงินฝากที่ธนาคารที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งปราศจากภาระผูกพัน
(2.4) เงินให้กู้ยืม เผื่อเรียกแก่ธนาคาร ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งปราศจาก
ภาระผูกพัน
(2.5) บัตรเงินฝากที่ออก โดยธนาคารพาณิชย์ ซึ่งปราศจากภาระผูกพัน
ข้อ 3. อัตราส่วนที่ต้องดำรงตามข้อ 2 (1) หรือ (2) ข้างต้น ให้ถือเอาส่วนเฉลี่ยราย
สัปดาห์ของสินทรัพย์สภาพคล่องทุกสิ้นวัน และส่วนเฉลี่ยรายสัปดาห์ของยอดรวมเงินที่ได้จากการกู้ยืมหรือ
ได้รับจากประชาชนทุกสิ้นวัน โดยให้ถือเอาวันศุกร์ เป็นวันเริ่มต้นของสัปดาห์ และวันพฤหัสบดี เป็น
วันสุดท้ายของสัปดาห์
ข้อ 4. ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นสิบห้าวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 มีนาคม 2539
วิจิตร สุพินิจ
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 113 ตอนที่ 23 ลงวันที่ 19 มีนาคม 2539)
* แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของบริษัท
เงินทุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2539 ลงวันที่ 25 เมษายน 2539 (ราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศทั่วไป
เล่ม 113 ตอนที่ 35 ง วันที่ 30 เมษายน 2539)
ลับ แบบ บ.ง.2
บริษัท ............. จำกัด สำหรับเจ้าหน้าที่
รายงานแสดงการดำรงฐานะสภาพคล่อง ธนาคารแห่งประเทศไทย
ประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ .............
หน่วย:บาท
_______________________________________________________________________________________________________________________________________________
วัน/วันที่ ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี รวม เฉลี่ย หมายเหตุ
รายการ
(7 วัน) (7 วัน)
_______________________________________________________________________________________________________________________________________________
1) สินทรัพย์สภาพคล่อง
1.1 เงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ________
1.1.1 จำนวนเงินที่ดำรงเป็นพิเศษ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ________
1.1.2 จำนวนเงินที่ดำรงเป็นปกติ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ________
1.2 เงินฝากธนาคารที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งปราศจากภาระผูกพัน ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ________
1.2.1 ธนาคารพาณิชย์ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ________
1.2.2 ธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ________
1.3 เงินให้กู้ยืมเผื่อเรียกแก่ธนาคารที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งปราศจากภาระผูกพัน ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ________
1.3.1 ธนาคารพาณิชย์ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ________
1.3.2 ธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ________
รวมเงินฝากธนาคารและเงินให้กู้ยืมเผื่อเรียก (ข้อ 1.2+1.3) ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ________
1.4 หลักทรัพย์รัฐบาลไทย ซึ่งปราศจากภาระผูกพัน ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ________
1.5 หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงิน ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ________
และดอกเบี้ย ซึ่งปราศจากภาระผูกพัน ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ________
1.6 หุ้นกู้หรือพันธบัตรที่ออกโดยบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมฯ หรือพันธบัตรองค์การ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ________
ของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ซึ่งปราศจากภาระผูกพัน ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ________
รวมหลักทรัพย์และตราสารแสดงสิทธิในหนี้ (ข้อ 1.4+1.5+1.6) ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ________
รวมสินทรัพย์สภาพคล่องทั้งสิ้น (ข้อ 1.1+1.2+1.3+1.4+1.5+1.6) ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ________
_______________________________________________________________________________________________________________________________________________
2) เงินกู้ยืมหรือได้รับจากประชาชน ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ________
2.1 สถาบันการเงินในประเทศ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ________
2.2 บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลอื่น ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ________
2.3 ต่างประเทศ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ________
2.3.1 เงินกู้ยืมหรือได้รับจากประชาชนที่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเป็นพิเศษ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ________
2.3.1.1 สถาบันการเงิน ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ________
2.3.1.2 อื่น ๆ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ________
2.3.2 เงินกู้ยืมหรือได้รับจากประชาชนที่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามปกติ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ________
2.3.2.1 สถาบันการเงิน ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ________
2.3.2.2 อื่น ๆ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ________
เงินกู้ยืมหรือได้รับจากประชาชนไม่รวมผู้มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ (ข้อ 2 หัก ข้อ 2.3.1)____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ________
รวมเงินกู้ยืมหรือได้รับจากประชาชน (ข้อ 2.1+2.2+2.3) ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ____ ________
_______________________________________________________________________________________________________________________________________________
3) สภาพคล่องอื่น ณ วันพฤหัสบดีที่ ........... บาท
3.1 วงเงินเบิกเกินบัญชีจากธนาคารซึ่งยังไม่ได้ใช้ _________
3.2 วงเงินกู้ยืมจากธนาคารในลักษณะอื่นซึ่งยังไม่ได้ใช้ _________
3.3 วงเงินกู้ยืมจากบริษัทเงินทุนซึ่งยังไม่ได้ใช้ _________
3.4 เงินให้กู้ยืมแก่สถาบันการเงินประเภทชำระคืนเมื่อทวงถาม _________
3.5 เงินลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนซึ่งปราศจากภาระผูกพันในราคาตลาด _________
3.6 เงินสด บัตรเงินฝาก และตั๋วแลกเงิน _________
รวมทั้งสิ้น _________
ขอรับรองว่ารายงานนี้ถูกต้องครบถ้วนตรงต่อความเป็นจริง
...................... (เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจลงนาม)
( )
ตำแหน่ง ..................
วันที่ ...................
คำอธิบายประกอบการจัดทำ
รายงานการดำรงฐานะสภาพคล่อง (แบบ บ.ง.2)
ข้อความทั่วไป
1. การจัดทำรายงาน ให้บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ จัดทำรายงานการดำรงฐานะ
สภาพคล่อง (แบบ บ.ง.2) ของสำนักงานใหญ่รวมกับสาขา (ถ้ามี) เป็นประจำทุกสัปดาห์ ตามแบบที่
กำหนด โดยให้ถือวันศุกร์เป็นวันเริ่มต้น และวันพฤหัสบดี เป็นวันสุดท้ายของสัปดาห์ แสดงรายละเอียด
การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง และเงินกู้ยืม หรือได้รับจากประชาชน พร้อมกับแสดงรายการสภาพคล่อง
อื่น ซึ่งบริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ พึงเตรียมไว้ เพื่อให้เพียงพอกับหนี้สินที่อาจถูกเรียกร้องกลับ
คืนได้ ทันที ทั้งนี้ ให้แสดงจำนวนเงินเป็นหน่วยบาท และใส่เครื่องหมายจุลภาค "," หลังหลักพัน และ
หลักล้าน
2. การยื่นแบบรายงาน ให้ยื่นรายงานดังกล่าวข้างต้นตามข้อ 1 ในรูปแบบรายงานเอกสาร
(Hard Copy) จำนวน 2 ชุด พร้อมกับรายงานในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้ (Computer
Readable Form หรือ CRF) ในแผ่น Diskette ตามแบบ (Format) และคำอธิบายที่กำหนดใน
"รายละเอียดการส่งรายงาน บ.ง.2 ของบริษัทเงินทุน และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ในรูป CRF" ต่อ
ฝ่ายกำกับ และพัฒนาสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใน 7 วัน นับแต่วันถัดจาก
วันสิ้นสัปดาห์ที่ต้องรายงาน
3. การแปลงค่าเงินตราต่างประเทศ กรณีเงินกู้ยืมหรือได้รับจากประชาชนเป็นเงินตราต่าง
ประเทศ ให้รายงานโดยแปลงค่าเป็นเงินบาทใหม่ทุกครั้ง เมื่อถึงวันสิ้นเดือนของทุกเดือนที่รายงาน โดย
ใช้อัตราตามประกาศของทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา กรณี ที่ไม่มีประกาศอัตราแลกเปลี่ยนใน
วัน ดังกล่าว ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ประกาศไว้ครั้งสุดท้าย ก่อนวันสิ้นเดือนที่รายงาน ทั้งนี้ ให้ถือตาม
หลักเกณฑ์ที่อธิบายไว้ในรายงานฐานะการเงิน (แบบรายงาน บ.ง.3)
อนึ่ง กรณีบันทึกเงินกู้ยืมด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward
rate) หรือ เงินกู้ยืมนั้น มีข้อตกลงที่จะชำระคืนต้นเงินเป็นเงินตราต่างประเทศ โดยเทียบเท่าเงินบาท
ในจำนวนแน่นอนที่ได้ตกลงกันไว้ ไม่ต้องแปลงค่าใหม่ทุกเดือนโดยใช้อัตราในข้อ 3 วรรคแรกอีก
ความหมายของรายการ
1. สินทรัพย์สภาพคล่อง
1.1 เงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หมายถึง เงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหลัง
ปรับด้วยยอดเช็คคืน ให้แยกรายงานเป็น 2 จำนวน คือจำนวนเงินที่ดำรงเป็นพิเศษ (ข้อ 1.1.1)
หมายถึง จำนวนเงินที่ดำรงไว้ตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งจะกำหนดให้ทราบเป็นกรณี
และจำนวนเงินที่ดำรงเป็นปกติ (ข้อ 1.1.2)
1.2 เงินฝากธนาคารที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งปราศจากภาระผูกพัน หมายถึง เงิน
ฝากธนาคารที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย (รวมเงินตามบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์) เฉพาะจำนวน
ซึ่งปราศจากภาระผูกพัน อันบริษัทสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยไม่มีข้อจำกัดใด ๆ แยกแสดงเป็น
เงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ (รายการ 1.2.1) และธนาคารอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น (รายการ
1.2.2) ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคาร
สงเคราะห์ และธนาคารเพื่อการส่งออก และนำเข้าแห่งประเทศไทย
1.3 เงินให้กู้ยืมเผื่อเรียกแก่ธนาคารที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งปราศจากภาระผูกพัน
หมายถึงเงินให้กู้ยืมเผื่อเรียกแก่ธนาคารที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งบริษัทสามารถเรียกคืนได้ทันทีหรือเมื่อ
ทวงถาม โดยไม่มีข้อจำกัดใด ๆ
1.4 หลักทรัพย์รัฐบาลไทย ซึ่งปราศจากภาระผูกพัน หมายถึง ตั๋วเงินคลังและพันธบัตร
รัฐบาลไทย เฉพาะที่เป็นกรรมสิทธิ์ ของบริษัท และปราศจากภาระผูกพัน เช่น ไม่ได้นำไป จำนำ
ค้ำประกันเงินกู้ยืม หรือค้ำประกัน เพื่อประโยชน์อื่นใด หรือขายโดยมีเงื่อนไขในการรับซื้อคืน หรือมี
เงื่อนไขอื่นใดที่จะทำให้ไม่สามารถนำไปดำรงเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องได้ เป็นต้น
1.5 หุ้นกู้พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงิน และ
ดอกเบี้ย ซึ่งปราศจากภาระผูกพัน หมายถึง หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิ ในหนี้ที่กระทรวง
การคลังค้ำ ประกันต้นเงิน และดอกเบี้ยเฉพาะที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท และปราศจากภาระผูกพันตาม
นัยเดียวกันกับที่อธิบายในข้อ 1.4
1.6 หุ้นกู้หรือพันธบัตรที่ออกโดยบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือพันธบัตรองค์
การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ซึ่งปราศจากภาระผูกพัน หมายถึง หุ้นกู้ หรือ
พันธบัตรที่ออก โดยบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรองค์การของรัฐ หรือ
รัฐวิสาหกิจ ที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ซึ่งกระทรวงการคลังไม่ได้ค้ำประกันต้นเงิน และดอกเบี้ยเฉพาะ
ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท และปราศจากภาระผูกพันตามนัยเดียวกันกับที่อธิบายไว้ในข้อ 1.4
ทั้งนี้ ให้แสดงจำนวนเงินของหลักทรัพย์รัฐบาลไทย หุ้นกู้และพันธบัตรตามราคาที่ตราไว้
ส่วนตราสารแสดงสิทธิในหนี้ ให้แสดงจำนวนเงินตามต้นเงินที่ระบุไว้ในตราสารนั้น กรณีที่จำนวนเงินที่
ระบุไว้ในตราสารเป็นต้นเงินรวมดอกเบี้ย ให้แสดงจำนวนเงินตามที่ผู้ซื้อตราสารคนแรกจ่ายให้แก่ผู้ออก
ตราสาร หากไม่ทราบและไม่สามารถจัดหาเอกสารที่แสดงจำนวนเงินที่ผู้ซื้อตราสารคนแรกจ่ายให้แก่ผู้
ออกตราสาร ให้แสดงจำนวนเงินเป็นมูลค่าปัจจุบัน ณ วันออกตราสาร โดยให้คำนวณมูลค่าปัจจุบันจาก
จำนวนเงินที่ระบุไว้ในตราสาร ตามระยะเวลาตั้งแต่วันที่ออกตราสารจนถึงวันที่ครบกำหนด ด้วยอัตรา
ดอกเบี้ยที่ผู้ออกตราสารตกลงจะจ่ายให้แก่ผู้ซื้อตราสารนั้น
สำหรับหุ้นกู้ (รวมตราสาร Asian Currency Note หรือ ACN) หรือพันธบัตรที่ออก
จำหน่ายในต่างประเทศ ให้รายงานเฉพาะที่ออกเป็นสกุลเงินบาท เท่านั้น และหากเก็บรักษาไว้ใน
ต่างประเทศ จะต้องเก็บรักษาในนามของบริษัทโดย Custodian Bank ที่ธนาคารให้ความเห็นชอบ
และมีหลักฐานแสดงว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทเงินทุนนั้นด้วย
กรณี พันธบัตรที่บริษัทฝากไว้ กับธนาคารแห่งประเทศไทย ตามระเบียบว่าด้วยการซื้อขาย
พันธบัตรกับบริษัทเงินทุน และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ.2537 ถือว่า
บริษัทยังมีกรรมสิทธิ์ในพันธบัตร ดังกล่าว ไปจนกว่าบริษัทจะนำไปขายไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทย
และจะมีภาระผูกพันเท่ากับจำนวนที่นำไปขาย
2. เงินกู้ยืม หรือได้รับจากประชาชน หมายถึง เงินกู้ยืมหรือได้รับจากประชาชนทุกประเภท ทั้งภายใน
ประเทศและต่างประเทศ โดยวิธีออกเอกสารการกู้ยืมเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน บัตรเงินฝาก
หุ้นกู้ และตราสารหนี้อื่น ๆ ยกเว้นเงินกู้ยืมจากธนาคารแห่งประเทศไทย และเงินช่วยเหลือ (Soft
Loan) จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ไม่ต้องนำมารวมในการรายงาน โดย
ให้แยกแสดงเป็นการกู้ยืมจากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้
2.1 สถาบันการเงินในประเทศ หมายถึง สถาบันการเงินในประเทศตามที่กำหนด โดย
กฎหมายว่าด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน อันได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย กองทุน
เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตร
และสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทประกันชีวิต บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม
แห่งประเทศไทย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม สหกรณ์ออมทรัพย์ ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ (ทั้งนี้
ให้รวมถึง สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ และ/หรือสาขาสถาบันการเงินต่างประเทศ ที่ตั้งอยู่ใน
ประเทศไทย และกิจการวิเทศธนกิจ)
2.2 บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลอื่น หมายถึง บุคคลธรรมดา ธุรกิจเอกชนที่มิได้ดำเนินการใน
รูปนิติบุคคล และนิติบุคคลอื่นในประเทศที่มิใช่สถาบันการเงิน (ซึ่งแสดงไว้ในรายการ 2.1 แล้ว) ทั้งนี้
ให้รวมถึงกองทุนรวม ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และนิติบุคคลที่เป็นสาขาบริษัทต่างประเทศ ที่ตั้งอยู่ใน
ประเทศไทยด้วย
2.3 *ต่างประเทศ หมายถึง เงินกู้ยืมหรือได้รับจากประชาชนที่มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ อัน
ได้แก่บุคคลต่างชาติ ผู้เดินทางหรือผู้ไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ บริษัท ห้างร้าน ธนาคารและสถาบันการเงิน
อื่น รัฐบาล องค์การระหว่างประเทศ สาขาของบริษัทไทยและสาขาของธนาคารพาณิชย์ไทย ซึ่งตั้งอยู่ใน
ต่างประเทศ ยกเว้น สถานทูตต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย และ
บุคคลต่างชาติ ซึ่งมีใบอนุญาตให้ทำงาน (work permit) รวมคู่สมรส นักเรียนต่างชาติ และคนไทยที่
อยู่ในต่างประเทศชั่วคราว ซึ่งสามารถแสดงหลักฐาน เช่นบัตรประชาชนที่ยังไม่หมดอายุได้
ทั้งนี้ ให้รายงานโดยจำแนกเป็น
2.3.1 *เงินกู้ยืมหรือได้รับจากประชาชนที่ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเป็นพิเศษ หมายถึง
เงินกู้ยืม หรือได้รับจากประชาชนในต่างประเทศตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดอันได้แก่
เงินกู้ยืมหรือได้รับจากประชาชนในต่างประเทศทุกประเภทและทุกสกุลเงิน (รวมสกุลเงินบาท ที่มีลักษณะ
คล้ายกับการรับฝากจากประชาชนทั่วไป ของธนาคารพาณิชย์ไทย) ที่มีกำหนดชำระคืนเมื่อทวงถาม หรือ
เมื่อสิ้นระยะเวลาที่อีกฝ่ายหนึ่ง มีสิทธิเรียกคืนได้ก่อนครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่กู้ยืมหรือได้รับเงิน ซึ่ง
อยู่ในรูปของเงินกู้ยืม การออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงินหรือบัตรเงินฝาก โดยให้รายงานแยกตาม
หัวข้อที่กำหนด คือ "สถาบันการเงิน" และ "อื่น ๆ" โดยมีความหมายตามที่อธิบายไว้ในข้อ 2.3.2
(ก) (ข)
2.3.2 * เงินกู้ยืมที่ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องตามปกติ หมายถึง เงินกู้ยืม หรือได้รับจาก
ประชาชนในต่างประเทศ ทุกประเภทจากบุคคลต่าง ๆ ที่มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ นอกเหนือที่กล่าวใน
ข้อ 2.3.1 และให้รายงานแยกตามหัวข้อ ดังนี้
(ก) สถาบันการเงิน หมายถึง ธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินอื่ นที่ตั้งอยู่ใน
ต่างประเทศ และให้รวมถึงสำนักงานหรือสาขาของธนาคารพาณิชย์ไทย สถาบันการเงินไทยที่ตั้งอยู่ใน
ต่างประเทศด้วย แต่ไม่รวมถึงสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ และ/หรือสาขาของสถาบันการเงิน
ต่างประทศ ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ซึ่งให้รายงานรวมไว้ในรายการ 2.1 แล้ว
(ข) อื่น ๆ หมายถึง บุคคลธรรมดา ธุรกิจของเอกชนที่มิใช่สถาบันการเงิน รัฐบาลองค์การ
ระหว่าง สาขาของบริษัทไทย ซึ่งตั้งอยู่ในต่างประเทศ
อนึ่ง ยอดเงินกู้ยืมหรือได้รับจากประชาชน ณ วันสิ้นเดือนที่รายงานในรายงานนี้จะต้องเท่า
กับยอดรวมของเงินกู้ยืมและเงินรับฝาก (ข้อ 12.1, 12.2, 12.3) และยอดหุ้นกู้หรือตราสารหนี้ด้อย
สิทธิ (ข้อ 18) ในแบบรายงาน บ.ง.3 หลังจากหักด้วยเงินกู้ยืมจากธนาคารแห่งประเทศไทย และเงิน
ช่วยเหลือจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (ถ้ามี)
3. สภาพคล่องอื่น หมายถึง สินทรัพย์สภาพคล่องอื่นนอกเหนือจากที่รายงานไว้ในข้อ 1 ที่บริษัทคาดว่าจะ
เรียกใช้ได้และมีอยู่ ณ วันสุดท้ายของสัปดาห์ที่รายงาน ทั้งนี้ วงเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินตามรายการ
3.1-3.3 ให้ใช้เฉพาะวงเงินที่มีข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว
- คำว่า "ธนาคาร" หมายถึง ธนาคารทุกประเภทรวมกิจการวิเทศธนกิจ ยกเว้นธนาคาร
แห่งประเทศไทย
- คำว่า "สถาบันการเงิน" หมายถึง สถาบันการเงินตามคำอธิบายในรายการ 2.1
- สำหรับ รายการ 3.5 เงินลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ
ไทย ซึ่งปราศจากภาระผูกพัน ให้รายงานในราคาตลาด ณ วันสุดท้ายของสัปดาห์ที่รายงาน (วันพฤหัสบดี)
กรณีที่หลักทรัพย์ใดไม่มีการซื้อขายในวันดังกล่าวให้ใช้ราคาปิดครั้งสุดท้ายที่มีการซื้อขาย ซึ่งต้องไม่นานเกิน
กว่า 1 เดือน หากหลักทรัพย์ใดไม่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มานานกว่า 1 เดือน
แล้ว ไม่ต้องนำหลักทรัพย์นั้นมารายงาน
- สำหรับ รายการ 3.6 บัตรเงินฝาก หมายถึง บัตรเงินฝากที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท
และออกโดยสถาบันการเงินอื่น ที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์และไม่ใช่ของบริษัทเงินทุนนั้น
ตั๋วแลกเงิน หมายถึง ตั๋วแลกเงินที่บริษัทเงินทุนอื่นออกเพื่อระดมทุนจากประชาชน ซึ่ง
บริษัทถือไว้
ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบัตรเงินฝากและตั๋วแลกเงิน ซึ่งลูกค้านำมาวางเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงิน
ช่อง "รวม" เป็นผลรวมของจำนวนเงินตามรายการในแต่ละวัน ตั้งแต่วันเริ่มต้นของสัปดาห์ (วันศุกร์)
ถึงวันสุดท้ายของสัปดาห์ (วันพฤหัสบดี)
ช่อง "เฉลี่ย" เป็นการคำนวณหาส่วนเฉลี่ยรายสัปดาห์ของแต่ละรายการ โดยให้นำจำนวนวันในหนึ่งสัป
ดาห์ ซึ่งเท่ากับ 7 วัน หารจำนวนเงินในช่อง "รวม" ของแต่ละรายการ
ส่วนประมวลผลและวิเคราะห์
ฝ่ายกำกับและพัฒนาสถาบันการเงิน
มีนาคม 2539
* แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของบริษัท
เงินทุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2539 ลงวันที่ 25 เมษายน 2539 (ราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป
เล่ม 113 ตอนที่ 35 ง วันที่ 30 เมษายน 2539)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ