วิธีการปฎิบัติเกี่ยวกับการซื้อขายตั๋วเงิน

ข่าวกฏหมายและประกาศ Wednesday September 25, 1996 17:39 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                                                        ธนาคารแห่งประเทศไทย
25 กันยายน 2539
เรียน ผู้จัดการ
บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ทุกบริษัท
ที่ธปท.งพ.(ว) 2526/2539 เรื่อง วิธีปฎิบัติเกี่ยวกับการซื้อขายตั๋วเงิน
เนื่องด้วยปัจจุบันบริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ได้ซื้อตั๋วเงินจากบุคคลอื่น รวมทั้ง
จากบริษัทในเครือ แล้วจำหน่ายต่อให้แก่ประชาชนเป็นจำนวนมากขึ้นซึ่งอาจทำให้ประชาชนผู้ซื้อบางราย
เข้าใจว่าตั๋วเงินนั้นเป็นตั๋วเงินที่บริษัทผู้ขายรับผิดชอบ จึงไม่ตระหนักถึงความเสี่ยงที่แท้จริง ดังนั้น เพื่อ
คุ้มครองประโยชน์ของประชาชนผู้ซื้อตั๋วเงิน ธนาคารจึงออกข้อกำหนดให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุน
หลักทรัพย์ถือปฎิบัติในการซื้อขายตั๋วเงิน ดังต่อไปนี้
1. ในหนังสือเวียนนี้
"บริษัท" หมายความว่า บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ตามกฎหมายว่าด้วย
การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
"ตั๋วเงิน" หมายถึง ตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้เงิน แต่ไม่รวมถึงตั๋วเงินค่าสินค้านำเข้า
หรือส่งออก
2.ในกรณีที่บริษัทเป็นผู้ซื้อ หรือเป็นตัวกลางในการจัดการออกตั๋วเงิน (arranger) ควร
แนะนำให้ผู้ออกตั๋วเงินปฎิบัติตามมาตรฐานตั๋วเงิน ดังต่อไปนี้
(1) ใช้กระดาษสำหรับพิมพ์สิ่งพิมพ์มีค่า (Security Paper) และควรมีขนาดความ
กว้าง 14.8 เซนติเมตร และความยาว 21.0 เซนติเมตร
(2) มีรายการตามที่กำหนดในมาตรา 909 หรือมาตรา 983 แห่งประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ นอกจากนั้น ด้านหลังของตั๋วเงินควรจัดพิมพ์เป็นช่อง หรือตารางสำหรับลงนามสลักหลัง
ในลักษณะเช่นเดียวกับใบหุ้นสามัญ เพื่อประโยชน์ในการไล่เบี้ยกับผู้สลักหลัง ทั้งนี้ ผู้สลักหลังไม่จำเป็น
ต้องรับผิดชอบตามลำดับ
(3)มีข้อกำหนดในตั๋วแลกเงินว่า"ไม่จำต้องมีคำคัดค้าน" หรือมีสำนวนอื่นในทำนอง
เดียวกัน
3.ในกรณีที่บริษัทซื้อขายตั๋วเงิน หรือเป็นตัวกลางในการจัดการออกตั๋วเงิน (arranger)
บริษัทจะต้องจัดให้ผู้ซื้อขาย เปิดเผยชื่อจริงและที่อยู่จริงที่ชัดเจนทุกกรณี
4.ในการขายตั๋วเงิน ให้ผู้ซื้อต้องชำระราคาเป็นเช็คขีดคร่อมเข้าบัญชีบริษัทผู้ขาย
(Account Payee Only) หรือขีดคร่อม "& Co" และขีดฆ่าคำว่า "ผู้ถือ" ออก หรือโอนเงินเข้าบัญชี
บริษัทผู้ขายโดยผ่านบริการบาทเนตของธนาคารแห่งประเทศไทย
5. กรณีที่บริษัทเป็นตัวกลางในการจัดการออกตั๋วเงิน ก็ต้องให้ผู้ซื้อสั่งจ่ายเป็นเช็คขีดคร่อม
หรือโอนเงินเข้าบัญชีของผู้ออกตั๋วในลักษณะเดียวกัน
6. ในการขายตั๋วเงิน บริษัทต้องจัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่สามารถสอบยันได้ว่าบริษัท
ได้รับชำระเงินในวันที่ขาย ขายลด หรือขายช่วงลดตั๋วเงินนั้นเงิน
7. ในการขายตั๋วเงินหรือการจัดให้มีการออกตั๋วเงินที่ไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ หาก
เป็นการให้แก่ผู้ซื้อที่มิใช่สถาบันการเงิน ตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม ของสถาบันการเงินแบบ
ผู้ซื้อไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บริษัทผู้ขาย (without recourse) บริษัทต้องทำหนังสือระบุให้ชัดเจนว่า
ผู้ซื้อตั๋วเงินต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงของการลงทุนในตั๋วเงินนั้นเอง โดยบริษัทผู้ขายหรือจัดการออกจะ
ไม่รับผิดชอบในความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น แล้วให้ผู้ซื้อลงลายมือชื่อรับรองความเข้าใจ ข้อปฎิบัติที่กล่าว
มีไว้สำหรับบุคคลที่ซื้อขายตั๋วเงินกับบริษัทนั้นเป็นครั้งแรก ส่วนในการซื้อขายหรือจัดการออกตั๋วเงินครั้ง
ต่อ ๆ ไปกับผู้ซื้อรายเดิม บริษัทเพียง แต่จัดทำข้อความเป็นลายลักษณ์อักษรประกอบตั๋วเงินทุกฉบับให้ผู้ซื้อ
รับทราบ
8.ให้บริษัทที่ทำหน้าที่เป็นผู้รับฝากตั๋วเงิน แยกหน่วยงานที่ดูแล และเก็บรักษาตราสาร
ดังกล่าว ออกจากหน่วยงานที่ทำการซื้อขายโดยเด็ดขาด
9. เพื่อป้องกันความเสียหายอันเนื่องมาจากการทุจริตหรือปลอมแปลงเอกสาร บริษัทควร
จัดให้ตั๋วเงินที่ซื้อขาย มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้มากที่สุด และบริษัทควรเป็นผู้ยืนยันความถูกต้อง
และแท้จริงของตั๋วเงินที่จำหน่ายทุกฉบับ โดยกำหนดผู้มีอำนาจที่จะลงลายมือชื่อรับรองไว้ให้ชัดเจน
รวมทั้งมีตัวอย่างลายมือชื่อของผู้มีอำนาจแสดงให้ผู้ซื้อตั๋วดูด้วย
อนึ่งในการซื้อขายตั๋วเงินธนาคารขอกำชับให้บริษัทถือปฎิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศ
ไทย เรื่อง การปฎิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงิน การตรวจสอบและควบคุมภายในของบริษัทเงินทุนและ
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ลงวันที่ 14 กันยายน 2537 และ เรื่อง ระบบการควบคุมภายในเกี่ยวกับตั๋วเงิน
และบัตรเงินฝากของบริษัทเงินทุน ลงวันที่ 19 เมษายน 2538 โดยเคร่งครัดด้วย และธนาคารขอ
เรียนว่า บริษัทจะทำธุรกิจเป็นตัวกลางในตลาดรอง เพื่อให้ผู้ซื้อและผู้ขายทำการซื้อขายกัน โดยตรงนั้น
ไม่ได้ กรณีเช่นนี้ บริษัทจะต้องเป็นผู้ซื้อตั๋วเงินนั้นไว้เองก่อนแล้วค่อยขายออกไปภายหลัง
จึงเรียนมาเพื่อทราบและให้ถือปฎิบัติภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ในหนังสือฉบับนี้ ทั้งนี้เฉพาะ
หลักเกณฑ์ตามข้อ 2 (1) ให้มีผลภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ในหนังสือฉบับนี้ พร้อมนี้ให้บริษัทจัดทำราย
งานตามแบบที่แนบซึ่งได้แก่(1) รายงานยอดคงค้างตั๋วเงินที่ขายและจัดการออก (2) รายงาน
ยอดคงค้างการออกตั๋วแลกเงินของบริษัทเงินทุน และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์โดยเริ่มตั้งแต่รายงาน ณ
งวดสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2539 เป็นต้นไป
ขอแสดงความนับถือ
เริงชัย มะระกานนท์
ผู้ว่าการ
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. แบบรายงานยอดคงค้างตั๋วเงินที่ขายและจัดการออก
2. แบบรายงานยอดคงค้างการออกตั๋วแลกเงินของบริษัทเงินทุน และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
ส่วนพัฒนาธุรกิจสถาบันการเงิน
ฝ่ายกำกับและพัฒนาสถาบันการเงิน
โทร.2835837, 2835868
บริษัท ....................
รายงานยอดคงค้างตั๋วเงินที่ขายและจัดการออก
ณ สิ้นเดือน ....................
หน่วย : ล้านบาท
———————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————
ผู้ซื้อ รวม
———————————————————————————————————————————————————————
ประเภทตั๋วเงิน สถาบันการเงิน บุคคลอื่น บุคคล
ในประเทศ ในประเทศ ต่างประเทศ
———————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————
1. ยอดคงค้างตั๋วเงินที่ขาย
1.1 สลักหลังแบบมีภาระผูกพัน
1.2 สลักหลังแบบไม่มีภาระผูกพัน
1.2.1 มี ธ.พ./ บง.อื่นรับรอง/รับอาวัล
และสลักหลังแบบมีภาระผูกพัน
1.2.2 ไม่มี ธ.พ./บง.อื่นรับรอง/รับอาวับ
———————————————————————————————————————————————————————
รวม ข้อ 1.1 + 1.2
———————————————————————————————————————————————————————
2. ยอดคงค้างตั๋วเงินที่จัดการออก
2.1 มี ธ.พ./บง.อื่นรับรอง/รับอาวัล
2.2 ไม่มี ธ.พ./ อื่นรับรอง/รับอาวัล
———————————————————————————————————————————————————————
รวม ข้อ 2.1 + 2.2
———————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————
รวม ข้อ 1. + ข้อ 2.
———————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————
ขอรับรองว่ารายงานนี้ถูกต้องครบถ้วนตรงต่อความเป็นจริง
.................... เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจลงนาม
หมายเหตุ ให้รายงานยอดรวมตั๋วเงินที่ขายไปและตั๋วเงินที่จัดการออกในเดือนที่รายงาน ซึ่งครบกำหนด
ก่อนวันรายงานแบบท้ายรายงานนี้
คำอธิบายประกอบการจัดทำรายงานยอดคงค้างตั๋วเงินที่ขายและจัดการออก
ให้บริษัทเงินทุน และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ จัดทำรายงานปริมาณยอดคงค้างของตั๋วแลกเงิน
และตั๋วสัญญาใช้เงินที่ขายและจัดการออก (arrange) ซึ่งยังไม่ครบกำหนดชำระ ณ วันสิ้นเดือนของ
ทุกเดือนตามแบบที่กำหนด และยื่นรายงานดังกล่าว ต่อฝ่ายกำกับ และพัฒนาสถาบันการเงิน ธนาคาร
แห่งประเทศไทยภายใน30 วัน หลังจากเดือนที่รายงาน โดยให้รายงานมูลค่าตั๋วเงินที่ขายและจัดการ
ออกแยกตามประเภทผู้ซื้อ ดังนี้
1. สถาบันการเงินในประเทศ หมายถึง สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยให้กู้ยืม
ของสถาบันการเงินที่มีสัญชาติไทย อันได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย กองทุน เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนา
ระบบสถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์ธนาคารออมสินธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน บริษัท
หลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทประกันชีวิต บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บรรษัท
เงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม สหกรณ์ออมทรัพย์ ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นต้น โดยให้รวมถึงสาขา
ธนาคารต่างประเทศ ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยด้วย
2.บุคคลอื่นในประเทศ หมายถึง บุคคลธรรมดา บริษัท ห้างร้าน ที่มีสัญชาติไทย ที่มิใช่
สถาบัน การเงิน ซึ่งแสดงไว้ในรายการ ข้อ 1 แล้ว
3. บุคคลต่างประเทศ หมายถึง บุคคลธรรมดา บริษัท ห้างร้าน สถาบันการเงิน ที่ไม่ได้มี
สัญชาติไทย แต่ไม่รวมสาขาธนาคารต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทั้งนี้ให้จัดทำและยื่นรายงานตั้งแต่รายงานประจำเดือนพฤศจิกายน 2539 เป็นต้นไปนอกจาก
นี้ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จัดทำรายงานประจำเดือนสำหรับการรับซื้อตั๋วแลกเงิน และ
ตั๋วสัญญาใช้เงินด้วย โดยจะต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อผู้ออกตั๋ว ชื่อผู้ขายตั๋ว วันที่ รับซื้อ วันที่ตั๋วครบ
กำหนด และมูลค่าตั๋วที่รับซื้อ แต่รายงานดังกล่าวไม่ต้องจัดส่งไปที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
บริษัท ....................
รายงานยอดคงค้างการออกตั๋วแลกเงินของบริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
ณ สิ้นเดือน ...................
หน่วย : ล้านบาท
———————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————
ผู้ประมูล
——————————————————————————————————————
ลำดับ วันที่ วันที่ครบ สกลุเงิน มูลค่า มูลค่า สถาบันการเงิน บุคคลอื่น บุคคล
ที่ ออก กำหนด ที่ออก ที่ขายได้ ในประเทศ ในประเทศ ต่างประเทศ
———————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————
———————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————————
รวม
————————————————————————————————————————————————————————————
ขอรับรองว่ารายงานนี้ถูกต้องครบถ้วนตรงต่อความเป็นจริง
................... (เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจลงนาม)
คำอธิบายประกอบการจัดทำรายงานยอดคงค้างการออกตั๋วแลกเงิน
ของบริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
ให้บริษัทเงินทุน และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ จัดทำรายงานปริมาณยอดคงค้างของตั๋วแลกเงิน
ที่บริษัทออกเพื่อจัดหาเงินทุนจากประชาชน และยังไม่ครบกำหนดชำระ ณ วันสิ้นเดือนของทุกเดือน ตาม
แบบที่กำหนด และยื่นรายงานดังกล่าว ต่อฝ่ายกำกับและพัฒนาสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
ภายใน 30 วัน หลังจากเดือนที่รายงาน โดยรายงานดังนี้
1. ลำดับที่ หมายถึง ลำดับที่ของการออกตั๋วแลกเงินเรียงตามวันที่ออก
2. วันที่ออก หมายถึง วัน เดือน ปี ที่ออกตั๋วแลกเงิน ซึ่งระบุไว้บนตั๋วแลกเงิน
3. วันที่ครบกำหนด หมายถึง วัน เดือน ปี ที่ครบกำหนดใช้เงิน ซึ่งระบุไว้บนตั๋วแลกเงิน
4. สกุลเงิน หมายถึง สกุลเงินของเงินที่จ่ายให้ผู้รับเงิน เมื่อตั๋วแลกเงินครบกำหนดใช้เงิน
5. มูลค่าที่ออก หมายถึง มูลค่าตั๋วแลกเงินที่ออก โดยระบุจำนวนเงินเป็นสกุลบาทในกรณี
ออกเป็นเงินตราต่างประเทศให้เทียบเป็นเงินบาท โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ออก
6. มูลค่าที่ขายได้ หมายถึง จำนวนเงินที่บริษัทได้รับจาการขาย โดยระบุจำนวนเงินเป็น
สกุลบาทในกรณี ที่ออกเป็นเงินตราต่างประเทศให้เทียบเป็นเงินบาท โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ออก
7. ผู้ประมูล หมายถึง ผู้ที่ประมูลซื้อตั๋วแลกเงินจากบริษัท โดยรายงานมูลค่าที่ขายได้ของตั๋ว
แลกเงิน แยกตามประเภทผู้ประมูล ดังนี้
7.1 สถาบันการเงินในประเทศ หมายถึง สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ย
เงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน ที่มีสัญชาติไทย อันได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย กองทุน เพื่อการฟื้นฟู
และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์
การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย บริษัทเงิน
ทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทประกันชีวิต บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศ
ไทย บรรษัทเงินทุน อุตสาหกรรมขนาดย่อม สหกรณ์ออมทรัพย์ ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นต้น โดยให้
รวมถึงสาขาธนาคารต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยด้วย
7.2 บุคคลอื่นในประเทศ หมายถึง บุคคลธรรมดา บริษัท ห้างร้าน ที่มีสัญชาติไทย ที่
มิใช่สถาบันการเงิน ซึ่งแสดงไว้ในรายการ ข้อ 7.1 แล้ว
7.3 บุคคลต่างประเทศ หมายถึง บุคคลธรรมดา บริษัท ห้างร้าน สถาบันการเงินที่
ไม่ได้มีสัญชาติไทย แต่ไม่รวม สาขาธนาคารต่างประเทศไทย
ทั้งนี้ ให้จัดทำและยื่นรายงานตั้งแต่รายงานประจำเดือนพฤศจิกายน 2539 เป็นต้นไป

แท็ก ธปท.  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ