การกำหนดให้ผู้สอบบัญชีจัดทำรายงานให้ธนาคารเป็นกรณีพิเศษ

ข่าวกฏหมายและประกาศ Friday March 29, 1996 17:35 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                                             ธนาคารแห่งประเทศไทย
29 มีนาคม 2539
เรียน ผู้จัดการ
บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ทุกบริษัท
ที่ ธปท.งฟ. (ว) 849/2539 เรื่อง การกำหนดให้ผู้สอบบัญชีจัดทำรายงานให้ธนาคารเป็นกรณีพิเศษ
ตามที่ธนาคารได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การปฎิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงิน การตรวจสอบและควบคุมภายในของบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ลงวันที่ 14 กันยายน 2537 กำหนดให้บริษัทต้องจัดให้มีระเบียบพิธีปฎิบัติเกี่ยวกับการรับเงินและการจ่ายเงิน การให้กู้ยืมเงิ น การรับซื้อ ซื้อลด รับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน การก่อภาวะผูกพัน การลงทุนในหลักทรัพย์และการขายทรัพย์สินเป็นลายลักษณ์อักษรไปแล้ว นั้น
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ธนาคารจึงกำหนดให้บริษัทดำเนินการให้ผู้สอบบัญชีของบริษัทปฎิบัติงานเพิ่มเติม โดยให้ตรวจสอบและจัดทำรายงานในประเด็นต่อไปนี้
1) ระบบการควบคุมภายในตามระเบียนพิธีปฎิบัติ ดังกล่าว แต่ละเรื่องมีความเหมาะสมหรือไม่ควรมีการแก้ไขปรับปรุงอย่างไร
2)บริษัทมีการดำเนินการตามระเบียบพิธีปฎิบัติดังกล่าวทุกเรื่องหรือไม่มีการละเว้นอย่างไร
ทั้งนี้ให้บริษัทจัดให้ผู้สอบบัญชีดำเนินการและจัดทำรายงานดังกล่าว และจัดส่งไปยังธนาคารพร้อมกับงบการเงินทุกงวดครึ่งปีและงวดประจำปีบัญชีโดยเริ่มตั้งแต่งวดประจำปีบัญชี 2539 เป็นต้นไป
ขอแสดงความนับถือ
จรุง หนูขวัญ
แทน
ผู้ว่าการ
สิ่งที่ส่งมาด้วย แนวการตรวจสอบและการจัดทำรายงาน
ส่วนกำกับบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
ฝ่ายกำกับและพัฒนาสถาบันการเงิน
โทร.2826650
แนวการตรวจสอบและการจัดทำรายงาน
1. การประเมินประสิทธิภาพของระบบการตรวจสอบภายใน
- ให้พิจารณา และรายงานเกี่ยวกับความเหมาะสมขององค์กรตรวจสอบกิจการในทั้งในด้านจำนวนบุคลากร พื้นฐานการศึกษาและความสามารถของผู้ตรวจสอบภายใน
-ให้พิจารณาและประเมินผลทางเทคนิคและขอบเขตของการตรวจสอบ อาทิ วิธีการสุ่มตัวอย่าง วิธีการตรวจสอบลูกหนี้ การตรวจสอบสำนักงานสาขา หรือสำนักงานอำนวยสินเชื่อ (ถ้ามี) วิธีการคัดเลือกสำนักงานสาขา หรือสำนักงานอำนวยสินเชื่อที่จะตรวจสอบ และการสอบทานความถูกต้องน่าเชื่อถือของระบบข้อมูล ที่ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ รวมทั้งระบบความปลอดภัยของการเข้าถึงข้อมูลเป็นต้น
- ให้พิจารณาและรายงานนถึงความมีสาระสำคัญ ความถี่ ความครบถ้วนและความเป็นอิสระในการเสนอรายงานตรวจสอบของผู้ตรวจสอบภายใน รวมทั้งการนำเสนอรายงานตรวจสอบต่อผู้บริหารในระดับใด
-ให้พิจารณาและรายงานความร่วมมือ และประสานงานระหว่างผู้ตรวจสอบภายในกับผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในการปฎิบัติงานตรวจสอบมีมากน้อยเพียงใด
- ให้ประเมินและรายงานความเพียงพอเหมาะของระบบการควบคุมภายในและการถือปฎิบัติตามระเบียบพิธีปฎิบัติที่กำหนดไว้ในด้านการรับเงินและการจ่ายเงิน การให้กู้ยืมเงิน การรับซื้อซื้อลด การรับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน การก่อภาระผูกพัน การลงทุนในหลักทรัพย์ และการขายทรัพย์สิน
2. การประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัท
- ให้ประเมินและรายงานถึงประสิทธิภาพของการระดมทุน ประสิทธิภาพของการกระจายสินเชื่อประสิทธิภาพในการควบคุมค่าใช้จ่ายการบริหารประสิทธิภาพในการบริหารเงินลงทุนในหลักทรัพย์ และการประเมินความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย โดยวิเคราะห์ในลักษณะเป็นเชิงแนวโน้มและเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่บริษัทกำหนดไว้ รวมทั้งเปรียบเทียบกับอัตราถั่วเฉลี่ยนของกลุ่มอื่นที่มีขนาดสินทรัพย์ใกล้เคียงกัน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ