8 กันยายน 2540
เรียน ผู้จัดการ
ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร
สำนักงานวิเทศธนกิจทุกธนาคาร
ที่ ธปท.งพ. (ว) 2840/2540 เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
ธนาคารขอส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง ลงวันที่ 8 กันยายน 2540 ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 114 ตอนพิเศษ 78 ง ลงวันที่ 8 กันยายน 2540 มาพร้อมนี้
สาระสำคัญของประกาศฉบับนี้คือ ปรับลดอัตราส่วนการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 6 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2540 เป็นต้นไป
จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติ
ขอแสดงความนับถือ
(นายศิริ การเจิรญดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการแทน
ผู้ว่าการ
ส่วนพัฒนาธุรกิจสถาบันการเงิน
ฝ่ายกำกับและพัฒนาสถาบันการเงิน
โทร. 2835938-9
---------------------------------------------------------------------------
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
____________________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 ตรี มาตรา 11 จัตวา และมาตรา 11 เบญจแห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2540
ข้อ 2. ธนาคารพาณิชย์นอกจากกิจการวิเทศธนกิจและกิจการวิเทศธนกิจสาขาต่างจังหวัดต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเป็นอัตราส่วนกับยอดเงินฝาก และยอดเงินกู้ยืมตามหลักเณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) ดำรงสินทรัพยสภาพคล่องเป็นเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเฉลี่ยแล้วไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของ
(1.1) ยอดรวมเงินฝากในบัญชีผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ ยกเว้นเงินฝากที่มีข้อตกลงหรือเงื่อนไขห้ามถอนเงินคืนก่อนครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันฝาก
(1.2) ยอดรวมเงินกู้ยืมจากต่างประเทศซึ่งอาจชำระคืนหรืออาจถูกเรียกคืนได้ก่อนครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันกู้ เว้นแต่เป็นเงินกู้ยืมตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
ทั้งนี้ ยอดรวมเงินฝากและยอดรวมเงินกู้ยืมข้างต้นให้นับรวมยอดเงินซึ่งโอนเข้ามาในประเทศไทยจากสาขาหรือสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศที่แสดงอยู่ในบัญชีระหว่างกันด้วย
(2) ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเฉลี่ยแล้วไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของยอดรวมทั้งสิ้นของเงินฝากทุกประเภทนอกจากยอดรวมเงินฝากในบัญชีผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศตามที่กล่าวใน (1.1) แห่งข้อนี้ โดยสินทรัพย์สภาพคล่องดังกล่าวต้องประกอบด้วย
(2.1) เงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเฉลี่ยแล้วไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2 ของยอดรวมทั้งสิ้นของเงินฝากตาม (2) นี้
(2.2) เงินสดที่ธนาคารพาณิชย์ แต่ให้ถือเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องได้ ไม่เกินร้อยละ 2.5 ของยอดรวมทั้งสิ้นของเงินฝากตาม (2) นี้
(2.3) หลักทรัพย์ซึ่งปราศจากภาระผูกพัน ดังต่อไปนี้
ก. หลักทรัพย์รัฐบาลไทย
ข. พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ค. หุ้นกู้ พันธบัตรหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย
ง. พันธบัตรหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
จ. หุ้นกู้ พันธบัตรหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย
ฉ. หุ้นกู้ หรือพันธบัตร ที่ออกโดยองค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบหรือที่ออกโดยบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ข้อ 3. ในกรณีของกิจการวิเทศธนกิจ และกิจการวิเทศธนกิจสาขาต่างจังหวัดธนาคารพาณิชย์ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง ดังนี้
(1) ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเป็นเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเฉลี่ยแล้วไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของ
(1.1) ยอดรวมเงินฝากในบัญชีผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ ยกเว้นเงินฝากที่มีข้อตกลงหรือเงื่อนไขห้ามถอนเงินคืนก่อนครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันฝาก
(1.2) ยอดรวมเงินกู้ยืมจากต่างประเทศซึ่งอาจชำระคืนหรืออาจถูกเรียกคืนได้ก่อนครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันกู้ เว้นแต่เป็นเงินกู้ยืมตามหลักเกณฑ์มีเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
ทั้งนี้ ยอดรวมเงินฝากและยอดรวมเงินกู้ยืมข้างต้นให้นับเฉพาะยอดรวมเงินฝากหรือยอดรวมเงินกู้ยืมของกิจการวิเทศธนกิจเพื่อการให้กู้ยืมในประเทศและกิจการวิเทศธนกิจ เพื่อการให้กู้ยืมเป็นเงินบาทในต่างจังหวัดเท่านั้น และให้นับรวมยอดเงินซึ่งโอนเข้ามาในประเทศไทยจากสาขาหรือสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศที่แสดงอยู่ในบัญชีระหว่างกันด้วย
(2) ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของยอดรวมทั้งสิ้นของเงินฝากทุกประเภท ยกเว้นยอดรวมเงินฝากของกิจการเพื่อการให้กู้ยืมในต่างประเทศ และยอดรวมเงินฝากในบัญชีผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศตามที่กล่าวใน (1.1) แห่งข้อนี้โดยกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและกิจการวิเทศธนกิจสาขาต่างจังหวัดจะถือเอาสินทรัพย์ใด เป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงก็ได้ ส่วนกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ไทยให้ถือปฏิบัติตามข้อ 2(2)
ข้อ 4. สินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามประกาศนี้ให้คิดจากสินทรัพย์สภาพคล่องที่ดำรงแต่ละวันเฉลี่ยเป็นรายปักษ์ โดยคำนวณเทียบกับส่วนที่เฉลี่ยรายปักษ์ของยอดรวมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมของธนาคารพาณิชย์แล้วแต่กรณีแต่ละวันในปักษ์ก่อน ทั้งนี้ ให้ถือเอาวันที่ 8 ถึงวันที่ 22 ของเดือนเป็นปักษ์หนึ่ง และวันที่ 23 ถึงวันที่ 7 ของเดือนถัดไปเป็นอีกปักษ์หนึ่งและให้นับวันหยุดทำการรวมคำนวณเข้าด้วย
ข้อ 5. ประกาศนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่ววันที่ 8 กันยายน 2540 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2540
(นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
เรียน ผู้จัดการ
ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร
สำนักงานวิเทศธนกิจทุกธนาคาร
ที่ ธปท.งพ. (ว) 2840/2540 เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
ธนาคารขอส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง ลงวันที่ 8 กันยายน 2540 ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 114 ตอนพิเศษ 78 ง ลงวันที่ 8 กันยายน 2540 มาพร้อมนี้
สาระสำคัญของประกาศฉบับนี้คือ ปรับลดอัตราส่วนการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 6 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2540 เป็นต้นไป
จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติ
ขอแสดงความนับถือ
(นายศิริ การเจิรญดี)
ผู้ช่วยผู้ว่าการแทน
ผู้ว่าการ
ส่วนพัฒนาธุรกิจสถาบันการเงิน
ฝ่ายกำกับและพัฒนาสถาบันการเงิน
โทร. 2835938-9
---------------------------------------------------------------------------
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง
____________________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 ตรี มาตรา 11 จัตวา และมาตรา 11 เบญจแห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2540
ข้อ 2. ธนาคารพาณิชย์นอกจากกิจการวิเทศธนกิจและกิจการวิเทศธนกิจสาขาต่างจังหวัดต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเป็นอัตราส่วนกับยอดเงินฝาก และยอดเงินกู้ยืมตามหลักเณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1) ดำรงสินทรัพยสภาพคล่องเป็นเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเฉลี่ยแล้วไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของ
(1.1) ยอดรวมเงินฝากในบัญชีผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ ยกเว้นเงินฝากที่มีข้อตกลงหรือเงื่อนไขห้ามถอนเงินคืนก่อนครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันฝาก
(1.2) ยอดรวมเงินกู้ยืมจากต่างประเทศซึ่งอาจชำระคืนหรืออาจถูกเรียกคืนได้ก่อนครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันกู้ เว้นแต่เป็นเงินกู้ยืมตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
ทั้งนี้ ยอดรวมเงินฝากและยอดรวมเงินกู้ยืมข้างต้นให้นับรวมยอดเงินซึ่งโอนเข้ามาในประเทศไทยจากสาขาหรือสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศที่แสดงอยู่ในบัญชีระหว่างกันด้วย
(2) ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเฉลี่ยแล้วไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของยอดรวมทั้งสิ้นของเงินฝากทุกประเภทนอกจากยอดรวมเงินฝากในบัญชีผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศตามที่กล่าวใน (1.1) แห่งข้อนี้ โดยสินทรัพย์สภาพคล่องดังกล่าวต้องประกอบด้วย
(2.1) เงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเฉลี่ยแล้วไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2 ของยอดรวมทั้งสิ้นของเงินฝากตาม (2) นี้
(2.2) เงินสดที่ธนาคารพาณิชย์ แต่ให้ถือเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องได้ ไม่เกินร้อยละ 2.5 ของยอดรวมทั้งสิ้นของเงินฝากตาม (2) นี้
(2.3) หลักทรัพย์ซึ่งปราศจากภาระผูกพัน ดังต่อไปนี้
ก. หลักทรัพย์รัฐบาลไทย
ข. พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
ค. หุ้นกู้ พันธบัตรหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย
ง. พันธบัตรหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
จ. หุ้นกู้ พันธบัตรหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย
ฉ. หุ้นกู้ หรือพันธบัตร ที่ออกโดยองค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบหรือที่ออกโดยบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ข้อ 3. ในกรณีของกิจการวิเทศธนกิจ และกิจการวิเทศธนกิจสาขาต่างจังหวัดธนาคารพาณิชย์ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง ดังนี้
(1) ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเป็นเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเฉลี่ยแล้วไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของ
(1.1) ยอดรวมเงินฝากในบัญชีผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ ยกเว้นเงินฝากที่มีข้อตกลงหรือเงื่อนไขห้ามถอนเงินคืนก่อนครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันฝาก
(1.2) ยอดรวมเงินกู้ยืมจากต่างประเทศซึ่งอาจชำระคืนหรืออาจถูกเรียกคืนได้ก่อนครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันกู้ เว้นแต่เป็นเงินกู้ยืมตามหลักเกณฑ์มีเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
ทั้งนี้ ยอดรวมเงินฝากและยอดรวมเงินกู้ยืมข้างต้นให้นับเฉพาะยอดรวมเงินฝากหรือยอดรวมเงินกู้ยืมของกิจการวิเทศธนกิจเพื่อการให้กู้ยืมในประเทศและกิจการวิเทศธนกิจ เพื่อการให้กู้ยืมเป็นเงินบาทในต่างจังหวัดเท่านั้น และให้นับรวมยอดเงินซึ่งโอนเข้ามาในประเทศไทยจากสาขาหรือสำนักงานใหญ่ในต่างประเทศที่แสดงอยู่ในบัญชีระหว่างกันด้วย
(2) ดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ของยอดรวมทั้งสิ้นของเงินฝากทุกประเภท ยกเว้นยอดรวมเงินฝากของกิจการเพื่อการให้กู้ยืมในต่างประเทศ และยอดรวมเงินฝากในบัญชีผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศตามที่กล่าวใน (1.1) แห่งข้อนี้โดยกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารต่างประเทศและกิจการวิเทศธนกิจสาขาต่างจังหวัดจะถือเอาสินทรัพย์ใด เป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงก็ได้ ส่วนกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ไทยให้ถือปฏิบัติตามข้อ 2(2)
ข้อ 4. สินทรัพย์สภาพคล่องที่ต้องดำรงตามประกาศนี้ให้คิดจากสินทรัพย์สภาพคล่องที่ดำรงแต่ละวันเฉลี่ยเป็นรายปักษ์ โดยคำนวณเทียบกับส่วนที่เฉลี่ยรายปักษ์ของยอดรวมเงินฝากหรือเงินกู้ยืมของธนาคารพาณิชย์แล้วแต่กรณีแต่ละวันในปักษ์ก่อน ทั้งนี้ ให้ถือเอาวันที่ 8 ถึงวันที่ 22 ของเดือนเป็นปักษ์หนึ่ง และวันที่ 23 ถึงวันที่ 7 ของเดือนถัดไปเป็นอีกปักษ์หนึ่งและให้นับวันหยุดทำการรวมคำนวณเข้าด้วย
ข้อ 5. ประกาศนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่ววันที่ 8 กันยายน 2540 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2540
(นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย