นำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการดำรงเงินกองทุน

ข่าวกฏหมายและประกาศ Wednesday November 20, 1996 19:32 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                                                      ธนาคารแห่งประเทศไทย
27 พฤศจิกายน 2539
เรียน ผู้จัดการ
สาขาของธนาคารต่างประเทศทุกธนาคาร
ที่ ธปท.งพ. (ว) 2964/2539 เรื่อง นำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
เกี่ยวกับการดำรงเงินกองทุน
ธนาคารขอนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้สาขาของธนาคารต่างประเทศดำรงเงินกองทุน ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 113 ตอนที่ 95 ง ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2539 มาพร้อมนี้ โดยประกาศฯ ฉบับนี้ เป็นการรวบรวมประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ การดำรงเงินกองทุน ของสาขา ธนาคารต่างประเทศ ตั้งแต่ฉบับที่ 1 ถึงฉบับที่ 7 ไว้เป็นฉบับเดียวกัน พร้อมทั้งกำหนดน้ำหนักความเสี่ยงของเงินให้สินเชื่อและเงินลงทุนในกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินให้เป็นร้อยละ 0 เพื่อให้เกิดความชัดเจนและสะดวกในการปฎิบัติ
จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฎิบัติ
ขอแสดงความนับถือ
(นายศิริ การเจริญดี)
แทน
ผู้ว่าการ
สิ่งที่ส่งมาด้วย ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้สาขาของธนาคารต่างประเทศ
ดำรงเงินกองทุน ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2539
ส่วนพัฒนาธุรกิจสถาบันการเงิน
ฝ่ายกำกับและพัฒนาสถาบันการเงิน
โทร. 2835938-9
____________________________________________________________________________
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
เรื่อง การกำหนดให้สาขาของธนาคารต่างประเทศดำรงเงินกองทุน
________________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 ธนาคารแห่งประเทศไทย ออกข้อกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก
(1) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้สาขาของธนาคาร
ต่างประเทศดำรงเงินกองทุน ลงวันที่ 5 มิถุนายน 2535
(2) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้สาขาของธนาคาร
ต่างประเทศดำรงเงินกองทุน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 5 มีนาคม 2536
(3) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้สาขาของธนาคาร
ต่างประเทศดำรงเงินกองทุน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2536
(4) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้สาขาของธนาคาร
ต่างประเทศดำรงเงินกองทุน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2536
(5) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้สาขาของธนาคาร
ต่างประเทศดำรงเงินกองทุน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2537
(6) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้สาขาของธนาคาร
ต่างประเทศดำรงเงินกองทุน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 19 กันยายน 2537
(7) ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้สาขาของธนาคาร
ต่างประเทศดำรงเงินกองทุน (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 25 เมษายน 2539
ข้อ 2 เงินกองทุนของสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ หมายความถึงสินทรัพย์ที่ต้องดำรงตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522
ข้อ 3 ให้สาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ ดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์ และภาระผูกพันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 7.5
ทั้งนี้ การดำรงเงินกองทุนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ใน ข้อ 4 ถึงข้อ 6
สินทรัพย์และภาระผูกพันตามวรรคหนึ่งมิให้รวมถึงสินทรัพย์และภาระผูกพันของกิจการ วิเทศธนกิจตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การะประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ลง วันที่ 10 กันยายน 2535 หรือที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป และสินทรัพย์และภาระผูกพันของกิจการ วิเทศธนกิจสาขาต่างจังหวัดตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประกอบกิจการวิเทศธนกิจสาขา ต่างจังหวัดของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2537 หรือที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป
ข้อ 4 ในการดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกพันตามข้อ 3 ให้สาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ และวิธีการ ดังต่อไปนี้
(1) นำรายการในงบการเงินทางด้านสินทรัพย์ทุกรายการ และภาระผูกพันทุกรายการโดยใช้มูลค่าตามบัญชี ณ วันที่รายงานมาคำนวณกับน้ำหนักความเสี่ยง ส่วนสินทรัพย์และภาระผูกพันที่ เป็นเงินตราต่างประเทศให้แปลงค่าเป็นเงินบาทก่อน โดยใช้อัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อขั้นต่ำกับอัตราขายขั้นสูงตามประกาศของทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ณ วันที่รายงาน สำหรับสกุลเงิน ซึ่งทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรามิได้ประกาศอัตราซื้อขั้นต่ำ และอัตราขายขั้นสูง ให้ใช้วิธีคำนวณจากอัตราไขว้ (Cross Rate)
(2) คูณสินทรัพย์แต่ละรายการด้วยน้ำหนักความเสี่ยงตามที่กำหนดในข้อ 5
(3) คูณภาระผูกพันแต่ละรายการด้วยค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) ตามที่กำหนดในข้อ 6 แล้วนำค่าที่ได้คูณกับน้ำหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์แต่ละประเภทตามที่ กำหนดในข้อ 5 อีกครั้งหนึ่ง
(4) รวมผลคูณของสินทรัพย์ตาม (2) และภาระผูกพันตาม (3) ทุกรายการและนำ เงินกองทุนมาคำนวณอัตราส่วนกับผลลัพธ์ที่ได้ โดยเงินกองทุนต้องเป็นอัตราส่วนกับผลลัพธ์ดังกล่าวไม่ต่ำ กว่าที่กำหนดในข้อ 3
ข้อ 5 น้ำหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์แต่ละประเภท
น้ำหนักความเสี่ยง 0
(1) เงินสดที่เป็นเงินบาทและเงินตราต่างประเทศ
(2) เงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
(3) เงินลงทุนในตลาดซื้อขายพันธบัตร โดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืน หรือขายคืนซึ่งดำเนิน การโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
(4)เงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาลไทย หรือหลักทรัพย์ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน ต้นเงินและดอกเบี้ย หรือหลักทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือเงินให้สินเชื่อที่มีหลักทรัพย์ข้างต้นเป็น ประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(5) เงินให้สินเชื่อที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ยหรือเงินให้สินเชื่อใดที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดสรรเงินงบประมาณเพื่อชำระหนี้ให้
(6) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาลหรือธนาคารกลางที่กำหนดไว้ ในภาคผนวก 1 หรือเงินให้สินเชื่อในส่วนที่รัฐบาลหรือธนาคารกลางดังกล่าวค้ำประกัน โดยปราศจาก เงื่อนไขหรือในส่วนที่มีหลักทรัพย์รัฐบาล หรือธนาคารกลางดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(7) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาลหรือธนาคารกลางนอกจากที่ กำหนดไว้ในภาคผนวก 1 หรือเงินให้สินเชื่อที่รัฐบาลหรือธนาคารกลางดังกล่าวค้ำประกันโดยปราศจาก เงื่อนไข รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้ ต้องเป็นสกุลเงินของประเทศนั้น และไม่เกินกว่าหนี้สินที่ธนาคาร พาณิชย์มีอยู่ในเงินสกุลนั้น
(8) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนา ระบบสถาบันการเงิน หรือเงินให้สินเชื่อนิติบุคคลดังกล่าว รับรอง รับอาวัล หรือค้ำประกัน หรือเงิน ให้สินเชื่อที่มีตราสารที่ออกโดยนิติบุคคลดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(9) เงินให้สินเชื่อที่มีสิทธิ ซึ่งมีตราสารการฝากเงินซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์นั้น เป็นประกัน ทั้งนี้เฉพาะส่วนที่ไม่เกินมูลค่าตามตราสารนั้น
(10) ยอดเหลื่อมบัญชีระหว่างสำนักงานของธนาคารพาณิชย์นั้น
(11) ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี
(12) เงินให้สินเชื่อเฉพาะส่วนซึ่งเท่ากับจำนวนที่ได้กันไว้เผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
(13) ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า
(14) เงินสดระหว่างเรียกเก็บเพื่อประโยชน์ของลูกค้า
น้ำหนักความเสี่ยง 0.2
(1) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ หรือเงินให้สินเชื่อที่มีธนาคารพาณิชย์รับรอง รับอาวัล หรือค้ำประกัน รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสาร ซึ่ง ออกโดยธนาคารพาณิชย์เป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(2) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยธนาคาร อาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือธนาคาร เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยหรือเงินให้สินเชื่อที่มีธนาคารดังกล่าวรับรอง รับอาวัล หรือ ค้ำประกัน รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารดังกล่าวเป็นประกันรวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(3) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยบริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือเงิน ให้สินเชื่อที่มีสถาบันดังกล่าวรับรอง รับอาวัล หรือค้ำประกัน รวมทั้งเงินให้สินเชื่อซึ่งมีตราสารที่ออก โดยสถาบันดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(4) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยองค์กรของรัฐ หรือรัฐ วิสาหกิจ หรือเงินให้สินเชื่อที่มีสถาบันดังกล่าวรับรอง รับอาวัล หรือค้ำประกัน รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มี ตราสารซึ่งออกโดยสถาบันที่กล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(5) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ ที่จดทะเบียนในประเทศที่กำหนดไว้ในภาคผนวก 1 หรือเงินให้สินเชื่อที่มีธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวรับรอง รับอาวัล หรือค้ำประกัน รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในกลุ่ม ประเทศตามที่กำหนดไว้ในภาคผนวก 1 เป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(6) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยองค์การของรัฐใน ประเทศที่กำหนดไว้ในภาคผนวก 1 หรือเงินให้สินเชื่อที่มีสถาบันดังกล่าวรับรอง รับอาวัล หรือค้ำประกัน รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสาร ซึ่งออกโดยสถาบันดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(7) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยองค์การระหว่าง ประเทศที่กำหนดไว้ในภาคผนวก 2 หรือเงินให้สินเชื่อที่มีองค์การดังกล่าวรับรอง รับอาวัล หรือค้ำประกัน รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยองค์การดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(8) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ที่ จดทะเบียนนอกกลุ่มประเทศที่กำหนดไว้ในภาคผนวก 1 หรือเงินสินเชื่อที่มีธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวรับรอง รับอาวัล หรือค้ำประกัน รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้ ต้องมีระยะเวลาคงเหลือไม่เกิน 1 ปี
(9) เงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิต ซึ่งได้ส่งสินค้าตามเงื่อน ไขแล้ว แต่ในกรณีผู้ออกเล็ตเตอร์ออฟเครดิตเป็นธนาคารจดทะเบียนนอกกลุ่มประเทศที่กำนหดไว้ในภาค ผนวก 1 จะต้องมีระยะเวลาคงเหลือของเล็ตเตอร์ออฟเครดิตนั้นไม่เกิน 1 ปี
(10) เงินให้สินเชื่อใดที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดสรรเงินงบประมาณเพื่อชำระหนี้แต่สำ นักงบประมาณมิได้จัดสรรเงินชำระหนี้ให้จนล่วงพ้นระยะเวลาที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 2 ปีขึ้นไป
น้ำหนักความเสี่ยง 0.5
(1) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยเทศบาล หรือเงินให้สิน เชื่อที่มีเทศบาลรับรอง รับอาวัล หรือค้ำประกัน รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยเทศบาลเป็น ประกัน
(2) เงินให้สินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่บุคคลธรรมดา โดยธนาคารพาณิชย์รับ จำนองที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นลำดับหนึ่งเป็นประกัน ทั้งนี้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวต้องมีมูลค่า ไม่ต่ำกว่ายอดเงินให้สินเชื่อยอดคงค้าง รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(3) ภาระผูกพันที่เป็นสัญญาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน หรืออัตราดอกเบี้ยซึ่งได้คูณด้วย ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 6 แล้ว เว้นแต่คู่สัญญาจะ ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่มีน้ำหนักความเสี่ยงต่ำกว่า 0.5
น้ำหนักความเสี่ยง 1.0
(1) เงินให้สินเชื่อแก่ภาคเอกชนและดอกเบี้ยค้างรับ
(2) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ ที่จดทะเบียนนอกกลุ่มประเทศที่กำหนดไว้ในภาคผนวก 1 หรือเงินให้สินเชื่อที่มีธนาคารพาณิชย์ดังกล่าว รับรอง รับอาวัล หรือค้ำประกัน รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวเป็น ประกัน ซึ่งมีระยะเวลาคงเหลือเกิน 1 ปี
(3) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาล หรือธนาคารกลางนอกกลุ่ม ประเทศที่กำหนดไว้ในภาคผนวก 1 หรือเงินให้สินเชื่อที่รัฐบาลหรือธนาคารกลางดังกล่าวค้ำประกัน โดย ปราศจากเงื่อนไข รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับซึ่งมิใช่เงินสกุลของประเทศนั้น หรือมีจำนวนเกินกว่าหนี้สินที่ ธนาคารพาณิชย์มีอยู่ในสกุลนั้น
(4) ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ สินทรัพย์ประจำอื่น ๆ และทรัพย์สินรอการขาย
(5) สินทรัพย์อื่น ๆ ที่มิได้ระบุน้ำหนักความเสี่ยงไว้ข้อ 5 นี้
ข้อ 6 ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) ของภาระผูกพันแต่ละประเภท
Credit Conversion Factor 1.0
(1) การรับอาวัลตั๋วเงิน รับรองตั๋วเงิน ค้ำประกันการกู้ยืมเงิน และค้ำประกัน การขายขายลด หรือขายช่วงลดตั๋วเงิน
(2) การสลักหลังตั๋วเงินแบบผู้รับสลักหลังมีสิทธิไล่เบี้ย (With Recourse)
(3) สัญญาการซื้อสินทรัพย์ ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต้องปฎิบัติตามโดยปราศจากเงื่อนไข
(4)การค้ำประกัน การรับประกัน หรือการก่อภาระผูกพันในรูปแบบใด ๆ ของธนา คารพาณิชย์ อันเนื่องมาจากการขายสินทรัพย์
Credit Conversion Factor 0.5
(1) ภาระผูกพันซึ่งขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของลูกค้า เช่น ค้ำประกันการรับ เหมาก่อสร้าง ค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา เป็นต้น
(2) ค้ำประกันการจำหน่ายตราสารหรือหลักทรัพย์
Credit Conversion Factor 0.2
ภาระผูกพันเพื่อการนำสินค้าเข้าตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตทั้งที่มีเอกสารประกอบแล้ว และยังไม่มีเอกสารประกอบ
Credit Conversion Factor 0
(1) ตั๋วเงินเพื่อเรียกเก็บ
(2) วงเงินที่ลูกค้ายังมิได้ใช้
(3) ค้ำประกันการออกของ (Shipping Guarantee)
(4) ภาระผูกพันที่ธนาคารพาณิชย์สามารถบอกยกเลิกเมื่อใดก็ได้
(5) ภาระผูกพันอื่นๆ ที่มิได้ระบุค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) ไว้ในข้อ 6 นี้
Credit Conversion Factor สำหรับสัญญาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนและ อัตราดอกเบี้ย
อายุสัญญาที่เหลือ สัญญาอัตราแลกเปลี่ยน สัญญาอัตราดอกเบี้ย
ไม่เกิน 14 วัน 0 0
ไม่เกิน 1 ปี 0.02 0.005
ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป 0.05 0.01
สัญญาอัตราแลกเปลี่ยนได้แก่สัญญาดังต่อไปนี้
Cross currency interest rate swaps
Forward foreign exchange contracts
Currency futures
Currency option purchase
สัญญาอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน
สัญญาอัตราดอกเบี้ยได้แก่
Single currency interest rate swaps
Basis swaps
Forward rate agreements
Interest rate Futures
Interest rate option purchase
สัญญาอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน
ในกรณีที่ลูกค้ารายเดียวกันทำสัญญาอัตราแลกเปลี่ยนหรือสัญญาอัตราดอกเบี้ย ทั้งทางด้านซื้อ และด้านขาย ให้คูณจำนวนเงินด้านซื้อและด้านขายด้วย Credit Conversion Factor ก่อน และนำ ค่าที่ได้มาหักกลบกัน แล้วจึงนำจำนวนสุทธิไปคูณกับน้ำหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์แต่ละประเภทตามที่กำ หนดในข้อ 5
ข้อ 7 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2539
(นายเริงชัย มะระกานนท์)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ภาคผนวก 1
กลุ่มประเทศ Organization for Economic Co-operation and Development
(OECD) และประเทศที่มีฐานะการเงินเทียบเท่า
ออสเตรเลีย ลักแซมเบิร์ก
ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์
เบลเยี่ยม นิวซีแลนด์
แคนาดา นอร์เวย์
เดนมาร์ก โปรตุเกส
เยอรมันนี ซาอุดีอาระเบีย
ฟินแลนด์ สเปน
ฝรั่งเศส สวีเดน
กรีซ สวิตเซอร์แลนด์
ไอซ์แลนด์ ตุรกี
ไอร์แลนด์ อังกฤษ
อิตาลี สหรัฐอเมริกา
ญี่ปุ่น
ภาคผนวก 2
องค์การระหว่างประเทศ
European Investment Bank (EIB)
European Bank for Reconstruction and Development (EBRD)
International Bank for Reconstruction and Development (IBRD)
including International Finance Corporation (IFC)
Inter-American Development Bank (IADB)
African Development Bank (AfDB)
Asian Development Bank (AsDB)
Caribbean Development Bank (CDB)
Nordic Investment Bank (NIB)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ