ธนาคารแห่งประเทศไทย
18 กรกฎาคม 2537
เรียน ผู้จัดการ
บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ทุกบริษัท
ที่ ธปท.งว. (ว) 1316/2537 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมความหมายในคำอธิบายประกอบการจัดทำรายงานยื่นต่อธนาคารแห่งประเทศไทย
ตามที่ธนาคารได้กำหนดให้บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ยื่นรายงานลับต่อธนาคารตามนัยแห่งหนังสือที่ ธปท.งว.(ว) 608/2537 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2537 นั้น
เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ งพ.(ว) 1854/2537 เรื่องการดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์ และภาระผูกพันของบริษัทเงินทุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2537 ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2537 ธนาคารขอปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมความหมายของรายการที่กำหนดไว้ตามเอกสารแนบ 1 พร้อมนี้ธนาคารขอส่งรายชื่อองค์การของรัฐและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งอยู่ในข่ายที่มีน้ำหนักความเสี่ยงร้อยละ 20 มาเพื่อประโยชน์ในการจัดทำรายงาน แสดงการดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์ และภาระผูกพัน (แบบ บ.ง.3.1) ตามเอกสารแนบ 2
จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฎิบัติต่อไป
ขอแสดงความนับถือ
จรุง หนูขวัญ
แทน
ผู้ว่าการ
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. การปรับปรุงแก้ไขความหมายของรายการ
2. รายชื่อองค์การของรัฐและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งอยู่ในข่ายที่มีน้ำหนักความเสี่ยงร้อยละ 20
ส่วนประมวลผลวิเคราะห์
ฝ่ายกำกับและพัฒนาสถาบันการเงิน
โทร. 2800631, 2835832
เอกสารแนบ1*
การปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมความหมายของรายการ
------------------------------------
1) แบบ บ.ง.3
1.1 ให้ยกเลิกคำอธิบายความหมายของ "สถาบันการเงินในประเทศ" ในคอธิบายประกอบการจัดทำรายงานฐานะการเงินหน้า 4วรรคแรก และหน้า 11 ข้อ 12.1 วรรคสอง และให้ใช้ความหมายต่อไปนี้แทน
"สถาบันการเงินในประเทศ หมายถึงสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน อันได้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออก และนำเข้าแห่งประเทศไทยบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทประกันชีวิต บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม สหกรณ์ออมทรัพย์ ชุนนุมสหกรณ์ออกทรัพย์ เป็นต้น"
1.2 ให้ยกเลิกคำอธิบายความหมายของข้อ 2 ในคำอธิบายประกอบการจัดทำรายงานฐานะการเงินหน้า 15 และให้ใช้ความหมายต่อไปนี้แทน
"2. การค้ำประกัน หมายถึง ภาระผูกพันจากการที่บริษัทค้ำประกัน เพื่อลูกค้าทุกประเภท
- เงินกู้ยืม หมายถึง การค้ำประกันเงินกู้ยืมทุกประเภทให้ลูกค้า เช่น เงินเบิกเกินบัญชีเงินกู้ และการค้ำประกันการขาย ขายลด หรือขายช่วงลดตั๋วเงิน ทั้งนี้รวมถึงการค้ำประกัน การรับประกันหรือการก่อภาระผูกพันในรูปแบบใด ๆ อันเนื่องมาจากการขายสินทรัพย์
- อื่น ๆ หมายถึง การค้ำประกันอื่นเพื่อลูกค้า เช่น การค้ำประกันการรับเหมาก่อสร้าง การค้ำประกันการชำระค่ากระแสไฟฟ้า การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา เป็นต้น หรือการค้ำประกันอื่น ๆ ที่ผูกพันให้บริษัทเงินทุน อาจต้องเป็นผู้จ่าย"2) แบบ บ.ง.3.1
ให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อความในคำอธิบายประกอบการจัดทำรายงานแสดงการดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกพัน ดังนี้
2.1 ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้ไว้ท้ายรายการข้อ 1.2 หน้า 2
"ทั้งนี้ ให้รายงานเงินฝากที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยไว้ในรายการนี้ด้วย"
2.2 ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้ไว้ท้ายรายการข้อ 2.1 หน้า 3
"ทั้งนี้ ให้รายงานเงินให้กู้ยืมแก่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออก และนำเข้าแห่งประเทศไทยไว้ในรายการนี้ด้วย"
2.3 ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้ไว้ท้ายรายการข้อ 4.1.2 หน้า 4
"ทั้งนี้ ให้รวมถึงนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดให้อยู่ในข่ายที่มีน้ำหนักความเสี่ยงร้อยละ 20"
2.4 ให้ยกเลิกคำอธิบายความหมายในข้อ 5.2 หน้า 5 และให้ใช้ความหมายต่อไปนี้แทน
"(1) เงินให้กู้ยืมแก่องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจอื่น (รวมนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศกำหนดให้อยู่ในข่าย ที่มีน้ำหนักความเสี่ยงร้อยละ 20) ที่มิใช่ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งให้แสดงไว้ในข้อ 2.1 แล้ว
(2) เงินให้กู้ยืมหรือลูกหนี้ที่มีธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศ บรรษัทเงินทุนอุตสาห-กรรมแห่งประเทศไทย องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจอื่น (รวมนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ให้อยู่ในข่ายที่มีน้ำหนักความเสี่ยงร้อยละ 20) รับรองรับอาวัลหรือค้ำประกัน
(3) เงินให้กู้ยืมหรือลูกหนี้ที่มีหลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้หรือเงินฝากที่ออกโดยธนาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จำนำเป็นประกัน
(4)เงินให้กู้ยืมหรือลูกหนี้ที่มีหลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยองค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจอื่น (รวมนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดให้อยู่ในข่ายที่มีน้ำหนักความเสี่ยงร้อยละ 20) จำนำเป็นประกัน
(5) เงินให้กู้ยืมที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดสรรเงินงบประมาณเพื่อการชำระหนี้ แต่สำนักงบประมาณมิได้จัดสรรเงินชำระหนี้ ให้จนล่วงพ้นระยะเวลาที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 2 ปีขึ้นไป"
2.5 ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้ท้ายข้อ 12(6) หน้า 11
"เช่น การค้ำประกัน การรับประกันหรือการก่อภาระผูกพันในรูปแบบใด ๆ ของบริษัทเงินทุนอันเนื่องมาจากการขายสินทรัพย์ เป็นต้น"
ฝ่ายกำกับและพัฒนาสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย 18 กรกฎาคม 2537
* เป็นเอกสารแนบหนังสือ ที่ ธปท.งว. (ว) 1316/2537 ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2537
เอกสารแนบ 2*
องค์การของรัฐ และรัฐวิสาหกิจซึ่งอยู่ในข่ายมีน้ำหนักความเสี่ยงร้อยละ 20
จำแนกตามส่วนราชการที่สังกัด
1. สำนักนายกรัฐมนตรี :
1. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
2. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
3. องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
4. การกีฬาแห่งประเทศไทย
5. องค์การสวนสัตว์
6. องค์การรถไฟฟ้ามหานคร
7. องค์การสวนพฤกษศาสตร์
2. กระทรวงกลาโหม :
1. องค์การทอผ้า
2. องค์การฟอกหนัง
3. องค์การแก้ว
4. องค์การแบตเตอรี่
5. บริษัทอู่กรุงเทพ จำกัด
6. องค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป
3. กระทรวงการคลัง :
1. ธนาคารกรุงไทย จำกัด
2. ธนาคารออมสิน
3. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
4. ธนาคารอาคารสงเคราะห์
5. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
6. องค์การสุรา กรมสรรพสามิต
7. สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
8. โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง
9. โรงงานไพ่ กรมสรรพสามิต
10. บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด
11. บริษัทสหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด
4. กระทรวงคมนาคม :
1. การรถไฟแห่งประเทศไทย
2. การท่าเรือแห่งประเทศไทย
3. การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย
4. การสื่อสารแห่งประเทศไทย
5. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
6. องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์
7. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
8. บริษัท การบินไทย จำกัด
9. บริษัท ขนส่ง จำกัด
10. บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด
11. บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
12. สถาบันการบินพลเรือน
5. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ :
1. องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
2. องค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น
3. องค์การสะพานปลา
4. องค์การสวนยาง
5. องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
6. องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร
7. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
8. บริษัท ไม้อัดไทย จำกัด
6. กระทรวงพาณิชย์ :
1. องค์การคลังสินค้า
2. บริษัท ลำพูนจังหวัดพาณิชย์ จำกัด
3. บริษัท จังหวัดสุรินทร์ จำกัด
4. บริษัท ปราจีนบุรีจังหวัดพาณิชย์ จำกัด
7. กระทรวงมหาดไทย :
1. การไฟฟ้านครหลวง
2. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
3. การประปานครหลวง
4. การประปาส่วนภูมิภาค
5. การเคหะแห่งชาติ
6. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
7. องค์การตลาด
8. สำนักงานธนานุเคราะห์ กรมประชาสงเคราะห์
9. โรงพิมพ์ตำรวจ
8. กระทรวงอุตสาหกรรม :
1. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
2. การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
3. องค์การเหมืองแร่ในทะเล
4. โรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม
5. บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด
6. บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด
9. กระทรวงสาธารณสุข :
1. องค์การเภสัชกรรม
10. กระทรวงศึกษาธิการ :
1. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่
11. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งพลังงาน
1.สถาบันวิจัยและเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
12. นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น และมีตัวแทนจากภาครัฐทำหน้าที่ผู้บริหารระดับสูง
1. สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
2. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
3. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
4. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ฝ่ายกำกับและพัฒนาสถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
18 กรกฎาคม 2537
* เป็นเอกสารแนบหนังสือที่ ธปท.งว. (ว) 1316/2537 ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2537
18 กรกฎาคม 2537
เรียน ผู้จัดการ
บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ทุกบริษัท
ที่ ธปท.งว. (ว) 1316/2537 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมความหมายในคำอธิบายประกอบการจัดทำรายงานยื่นต่อธนาคารแห่งประเทศไทย
ตามที่ธนาคารได้กำหนดให้บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ยื่นรายงานลับต่อธนาคารตามนัยแห่งหนังสือที่ ธปท.งว.(ว) 608/2537 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2537 นั้น
เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ งพ.(ว) 1854/2537 เรื่องการดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์ และภาระผูกพันของบริษัทเงินทุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2537 ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2537 ธนาคารขอปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมความหมายของรายการที่กำหนดไว้ตามเอกสารแนบ 1 พร้อมนี้ธนาคารขอส่งรายชื่อองค์การของรัฐและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งอยู่ในข่ายที่มีน้ำหนักความเสี่ยงร้อยละ 20 มาเพื่อประโยชน์ในการจัดทำรายงาน แสดงการดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์ และภาระผูกพัน (แบบ บ.ง.3.1) ตามเอกสารแนบ 2
จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฎิบัติต่อไป
ขอแสดงความนับถือ
จรุง หนูขวัญ
แทน
ผู้ว่าการ
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. การปรับปรุงแก้ไขความหมายของรายการ
2. รายชื่อองค์การของรัฐและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งอยู่ในข่ายที่มีน้ำหนักความเสี่ยงร้อยละ 20
ส่วนประมวลผลวิเคราะห์
ฝ่ายกำกับและพัฒนาสถาบันการเงิน
โทร. 2800631, 2835832
เอกสารแนบ1*
การปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมความหมายของรายการ
------------------------------------
1) แบบ บ.ง.3
1.1 ให้ยกเลิกคำอธิบายความหมายของ "สถาบันการเงินในประเทศ" ในคอธิบายประกอบการจัดทำรายงานฐานะการเงินหน้า 4วรรคแรก และหน้า 11 ข้อ 12.1 วรรคสอง และให้ใช้ความหมายต่อไปนี้แทน
"สถาบันการเงินในประเทศ หมายถึงสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน อันได้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออก และนำเข้าแห่งประเทศไทยบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทประกันชีวิต บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม สหกรณ์ออมทรัพย์ ชุนนุมสหกรณ์ออกทรัพย์ เป็นต้น"
1.2 ให้ยกเลิกคำอธิบายความหมายของข้อ 2 ในคำอธิบายประกอบการจัดทำรายงานฐานะการเงินหน้า 15 และให้ใช้ความหมายต่อไปนี้แทน
"2. การค้ำประกัน หมายถึง ภาระผูกพันจากการที่บริษัทค้ำประกัน เพื่อลูกค้าทุกประเภท
- เงินกู้ยืม หมายถึง การค้ำประกันเงินกู้ยืมทุกประเภทให้ลูกค้า เช่น เงินเบิกเกินบัญชีเงินกู้ และการค้ำประกันการขาย ขายลด หรือขายช่วงลดตั๋วเงิน ทั้งนี้รวมถึงการค้ำประกัน การรับประกันหรือการก่อภาระผูกพันในรูปแบบใด ๆ อันเนื่องมาจากการขายสินทรัพย์
- อื่น ๆ หมายถึง การค้ำประกันอื่นเพื่อลูกค้า เช่น การค้ำประกันการรับเหมาก่อสร้าง การค้ำประกันการชำระค่ากระแสไฟฟ้า การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา เป็นต้น หรือการค้ำประกันอื่น ๆ ที่ผูกพันให้บริษัทเงินทุน อาจต้องเป็นผู้จ่าย"2) แบบ บ.ง.3.1
ให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อความในคำอธิบายประกอบการจัดทำรายงานแสดงการดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกพัน ดังนี้
2.1 ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้ไว้ท้ายรายการข้อ 1.2 หน้า 2
"ทั้งนี้ ให้รายงานเงินฝากที่ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยไว้ในรายการนี้ด้วย"
2.2 ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้ไว้ท้ายรายการข้อ 2.1 หน้า 3
"ทั้งนี้ ให้รายงานเงินให้กู้ยืมแก่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออก และนำเข้าแห่งประเทศไทยไว้ในรายการนี้ด้วย"
2.3 ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้ไว้ท้ายรายการข้อ 4.1.2 หน้า 4
"ทั้งนี้ ให้รวมถึงนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดให้อยู่ในข่ายที่มีน้ำหนักความเสี่ยงร้อยละ 20"
2.4 ให้ยกเลิกคำอธิบายความหมายในข้อ 5.2 หน้า 5 และให้ใช้ความหมายต่อไปนี้แทน
"(1) เงินให้กู้ยืมแก่องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจอื่น (รวมนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศกำหนดให้อยู่ในข่าย ที่มีน้ำหนักความเสี่ยงร้อยละ 20) ที่มิใช่ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งให้แสดงไว้ในข้อ 2.1 แล้ว
(2) เงินให้กู้ยืมหรือลูกหนี้ที่มีธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศ บรรษัทเงินทุนอุตสาห-กรรมแห่งประเทศไทย องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจอื่น (รวมนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด ให้อยู่ในข่ายที่มีน้ำหนักความเสี่ยงร้อยละ 20) รับรองรับอาวัลหรือค้ำประกัน
(3) เงินให้กู้ยืมหรือลูกหนี้ที่มีหลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้หรือเงินฝากที่ออกโดยธนาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จำนำเป็นประกัน
(4)เงินให้กู้ยืมหรือลูกหนี้ที่มีหลักทรัพย์หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยองค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจอื่น (รวมนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดให้อยู่ในข่ายที่มีน้ำหนักความเสี่ยงร้อยละ 20) จำนำเป็นประกัน
(5) เงินให้กู้ยืมที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดสรรเงินงบประมาณเพื่อการชำระหนี้ แต่สำนักงบประมาณมิได้จัดสรรเงินชำระหนี้ ให้จนล่วงพ้นระยะเวลาที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 2 ปีขึ้นไป"
2.5 ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้ท้ายข้อ 12(6) หน้า 11
"เช่น การค้ำประกัน การรับประกันหรือการก่อภาระผูกพันในรูปแบบใด ๆ ของบริษัทเงินทุนอันเนื่องมาจากการขายสินทรัพย์ เป็นต้น"
ฝ่ายกำกับและพัฒนาสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย 18 กรกฎาคม 2537
* เป็นเอกสารแนบหนังสือ ที่ ธปท.งว. (ว) 1316/2537 ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2537
เอกสารแนบ 2*
องค์การของรัฐ และรัฐวิสาหกิจซึ่งอยู่ในข่ายมีน้ำหนักความเสี่ยงร้อยละ 20
จำแนกตามส่วนราชการที่สังกัด
1. สำนักนายกรัฐมนตรี :
1. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
2. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
3. องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
4. การกีฬาแห่งประเทศไทย
5. องค์การสวนสัตว์
6. องค์การรถไฟฟ้ามหานคร
7. องค์การสวนพฤกษศาสตร์
2. กระทรวงกลาโหม :
1. องค์การทอผ้า
2. องค์การฟอกหนัง
3. องค์การแก้ว
4. องค์การแบตเตอรี่
5. บริษัทอู่กรุงเทพ จำกัด
6. องค์การผลิตอาหารสำเร็จรูป
3. กระทรวงการคลัง :
1. ธนาคารกรุงไทย จำกัด
2. ธนาคารออมสิน
3. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
4. ธนาคารอาคารสงเคราะห์
5. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
6. องค์การสุรา กรมสรรพสามิต
7. สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
8. โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง
9. โรงงานไพ่ กรมสรรพสามิต
10. บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด
11. บริษัทสหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด
4. กระทรวงคมนาคม :
1. การรถไฟแห่งประเทศไทย
2. การท่าเรือแห่งประเทศไทย
3. การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย
4. การสื่อสารแห่งประเทศไทย
5. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
6. องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์
7. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
8. บริษัท การบินไทย จำกัด
9. บริษัท ขนส่ง จำกัด
10. บริษัท ไทยเดินเรือทะเล จำกัด
11. บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
12. สถาบันการบินพลเรือน
5. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ :
1. องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
2. องค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น
3. องค์การสะพานปลา
4. องค์การสวนยาง
5. องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
6. องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร
7. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
8. บริษัท ไม้อัดไทย จำกัด
6. กระทรวงพาณิชย์ :
1. องค์การคลังสินค้า
2. บริษัท ลำพูนจังหวัดพาณิชย์ จำกัด
3. บริษัท จังหวัดสุรินทร์ จำกัด
4. บริษัท ปราจีนบุรีจังหวัดพาณิชย์ จำกัด
7. กระทรวงมหาดไทย :
1. การไฟฟ้านครหลวง
2. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
3. การประปานครหลวง
4. การประปาส่วนภูมิภาค
5. การเคหะแห่งชาติ
6. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
7. องค์การตลาด
8. สำนักงานธนานุเคราะห์ กรมประชาสงเคราะห์
9. โรงพิมพ์ตำรวจ
8. กระทรวงอุตสาหกรรม :
1. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
2. การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
3. องค์การเหมืองแร่ในทะเล
4. โรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม
5. บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด
6. บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด
9. กระทรวงสาธารณสุข :
1. องค์การเภสัชกรรม
10. กระทรวงศึกษาธิการ :
1. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่
11. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งพลังงาน
1.สถาบันวิจัยและเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
12. นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น และมีตัวแทนจากภาครัฐทำหน้าที่ผู้บริหารระดับสูง
1. สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
2. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
3. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
4. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ฝ่ายกำกับและพัฒนาสถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
18 กรกฎาคม 2537
* เป็นเอกสารแนบหนังสือที่ ธปท.งว. (ว) 1316/2537 ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2537