และขนาดย่อมที่เป็นลูกค้าเดิม จัดตั้งบริษัทใหม่เพื่อทำธุรกรรมต่อเนื่องกับธุรกรรม ธย.
ได้หรือไม่........................................................ 7
2.2 ข้อยกเว้นในการนับคำนวณวงเงินสินเชื่อของ ธย. ตามข้อ 4.2.1 ก.(หน้า 3)
ในประกาศขอบเขตฯ ฉบับนี้หมายความว่า ธย. ไม่ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ Single
Lending Limitใช่หรือไม่........................................... 7
2.3 "หลักประกัน" หมายความรวมถึง การเช่าช่วงสิทธิการเช่าด้วยหรือไม่............ 7
3.ขอบเขตการประกอบของ ธย.เพื่อการให้บริการแก่ลูกค้า.......................... 8
3.1 ธย.สามารถประกอบธุรกิจอะไรบ้างเพื่อให้บริการแก่ลูกค้า โดยมีหลักการ
เกี่ยวกับการจำกัดคู่สัญญา หรือจำกัดวงเงินอย่างไร.......................... 8
3.2 ขอบเขตที่ ธย. สามารถประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยการชำระเงินต่าง
ประเทศและข้อจำกัดในการให้บริการ.................................... 8
3.2.1 ในกรณีที่ ธย.มีธนบัตรต่างประเทศและเช็คเดินทางด้านซื้อมากกว่าด้านขาย ธย.
จะสามารถขายปัจจัยชำระเงินต่างประเทศที่มีอยู่ให้สถาบันการเงินคู่ค้าหรือ ธปท.
ได้หรือไม่.................................................. 8
3.2.2 ธย.สามารถให้บริการด้านโอนเงินและชำระเงินเป็นเงินตราต่างประเทศแก่ลูกค้า
รายย่อยและ SMEs ได้หรือไม่................................... 8
3.2.3 ลูกค้าของ ธย.สามารถใช้บัตร ATM เบิกเงินสดที่ต่างประเทศผ่านเครือข่าย
ATM Pool ระหว่างประเทศได้หรือไม่ ............................ 9
3.2.4 ลูกค้าของ ธย.สามารถใช้บัตรเครดิตของ ธย.ที่ติดตรา VISA และ MASTER
ในต่างประเทศได้หรือไม่....................................... 9
3.2.5 ธย.สามารถให้บริการด้านเงินฝากแก่ non-resident โดย non-resident
จะต้องโอนเงินฝากที่เป็นเงินตราต่างประเทศจากบัญชีที่เปิดไว้กลับไปยังประเทศ
ของตนหรือไม่............................................... 10
3.3 เหตุผลในการจำกัดขอบเขตการประกอบธุรกิจตามมาตรา 9 ทวิ ของ ธย.......... 10
3.4 ขอบเขตการประกอบธุรกิจตามมาตรา 9 ทวิ ของ ธย.เป็นไปตามประกาศ/
หนังสือเวียนใด.....................................................11
3.5 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการซื้อ-ขายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน...................... 11
3.6 ความแตกต่างระหว่างธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและที่ปรึกษาทางการเงิน.......11
3.7 คำอธิบายการจำกัดคู่สัญญาในธุรกิจการจัดจำหน่ายตราสารหนี้................... 12
3.8 คำอธิบายการจำกัดคู่สัญญาในธุรกิจซื้อคืนภาคเอกชน.......................... 12
4.ขอบเขตการทำธุรกรรมเพื่อการบริหารสินทรัพย์/หนี้สินและเพื่อการ
ป้องกันความเสี่ยงของ ธย.เอง............................................ 13
4.1 คำจำกัดความของ "ธุรกรรมเพื่อการบริหารสินทรัพย์/หนี้สินของ
ธย." และ การจำกัดคู่สัญญา.......................................... 13
4.2 การทำธุรกรรมในสกุลเงินบาท/เงินตราต่างประเทศเพื่อป้องกัน
ความเสี่ยงของตนเอง............................................... 13
4.2.1 ธย.ทำธุรกรรมในสกุลเงินบาท/เงินตราต่างประเทศ
เพื่อป้องกันความเสี่ยงของตนเองได้หรือไม่............................ 13
4.2.2 ในหัวข้อที่ 4.2.2(1) ก.2 การทำธุรกรรมในสกุลเงินตราต่างประเทศเพื่อการบริหาร
สินทรัพย์/หนี้สินและเพื่อการป้องกันความเสี่ยงของ ธย.เอง (หน้า 5 ของประกาศขอบ
เขตฯ)กล่าวว่า "ธย.สามารถทำธุรกรรมในสกุลเงินตราต่างประเทศเพื่อการบริหาร
สินทรัพย์/หนี้สินของ ธย.เอง ได้เฉพาะการกู้ยืมเงินเป็นเงินตราต่างประเทศ และการซื้อ
ขาย แลกเปลี่ยน หรือโอนเงินตราต่างประเทศทันทีเท่านั้น" ธย. จะสามารถทำธุรกรรม
การซื้อขายเงินตราล่วงหน้าด้วยได้หรือไม่..............................14
4.2.3 ในการบริหารสินทรัพย์/หนี้สินของ ธย.หาก ธย.มีการกู้ยืมเงินเป็นเงินตราสกุลเงินตรา
ต่างประเทศ จะสามารถนำเงินตราต่างประเทศนั้นไปพักในบัญชีเงินฝากสกุลเงินตราต่าง
ประเทศก่อนได้หรือไม่............................................15
4.3 ธย.สามารถรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงินจากใครได้บ้าง
และต้องเป็นตั๋วเงินที่ออกโดยใคร....................................... 15
4.4 ธย.บริหารสินทรัพย์และหนี้สินของตนเองโดยประกอบธุรกรรมการ
ลงทุนในตราสารหนี้/ตราสารทุนได้หรือไม่ มีข้อจำกัดอย่างไร................... 15
5.ข้อผ่อนผันในทางการดำเนินงานสำหรับ ธย.....................................16
5.1 ในช่วงการเปลี่ยนสถานะจาก บง./บค.ไม่เป็น ธย.มีผลให้สินทรัพย์และหนี้สินของธย.ที่
จัดตั้งขึ้นใหม่ไม่สอดคล้องกับประกาศขอบเขตฯ ฉบับนี้แล้ว ธย.จะได้รับการผ่อนผันเรื่อง
ดังกล่าวหรือไม่และมีรายละเอียดอย่างไร..................................16
5.2 หากลูกค้าของ ธย.เป็น SMEs ตามคำนิยามที่ ธปท.กำหนด ต่อมาภายหลังมีความสามารถ
ขยายกิจการจนมีขนาดใหญ่เกินกว่านิยามของ SMEs ที่กำหนด ธย.ต้องดำเนินการอย่าง
ไร..............................................................16
6. ตารางประเภทธุรกิจตามมาตรา 9 ทวิ ที่อนุญาตให้ ธย.ทำ........................18
คำย่อ
ธพ. ธนาคารพาณิชย์
ธย. ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
ธปท. ธนาคารแห่งประเทศไทย
บค. บริษัทเงินทุน
SMEs วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
ประกาศขอบเขตฯ ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง ขอบเขต
การประกอบธุรกิจและขอบเขตการทำธุรกรรมของ
ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ลงวันที่ 26 ต.ค.2548
1.คำจำกัดความ
1.1 การให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ที่เป็น "ประชาชนรายย่อย" หมายถึง การให้สินเชื่อ
แก่บุคคลธรรมดาทั่วไปที่ใช้บริการกับ ธย.ไม่ว่าจะมีระดับรายได้เท่าไร่ ที่มีวัตถุประสงค์ในการขอสิน
เชื่อเพื่อประกอบอาชีพ/ธุรกิจ หรือเพื่อการอุปโภคบริโภค หรือใช้จ่ายส่วนบุคคล
1.2 "สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น" ภายใต้นิยามของ "สถาบันการเงิน"
ในประกาศขอบเขตฯ หมายถึงอะไร รวมถึงสหกรณ์หรือไม่
ตอบ สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หมายถึง สถาบันการเงินที่มี
พระราชบัญญัติ หรือ พระราชกำหนดเฉพาะตราขึ้นเพื่อจัดตั้งสถาบันการเงินแห่งนั้นเป็นการเฉพาะ
เช่น พระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นต้น "สถาบัน
การเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น" ดังกล่าว จึงไม่รวมถึง ธพ.บง.บล.ซึ่งจัดตั้งขึ้นในรูปบริษัท
มหาชนจำกัดหรือบริษัทจำกัด และสหกรณ์ ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยคณะบุคคลและจดทะเบียนกับนายทะเบียน
เท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากสหกรณ์ใดอยู่ภายใต้คำจำกัดความ "วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม"
ตามประกาศ ธปท.เรื่อง คำจำกัดความ "วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม" ลงวันที่ 30 เม.ย.
2547 ธย.ก็สามารถให้บริการด้านสินเชื่อแก่สหกรณ์ดังกล่าวได้
1.3 "สินทรัพย์ถาวรสุทธิ" ที่กำหนดในนิยามวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
หมายถึงอะไร
ตอบ นิยามของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามประกาศฉบับนี้กำหนดให้
สอดคล้องกับคำจำกัดความของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่กำหนดโดยกระทรวงอุตสาหกรรม
ตามกฎกระทรวง เรื่อง กำหนดจำนวนการจ้างงานและสินทรัพย์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
พ.ศ.2545 ซึ่งพิจารณาความเป็น SMEs จากจำนวนการจ้างงานหรือมูลค้าสินทรัพย์ถาวรสุทธิซึ่ง
ไม่รวมที่ดิน โดยถือตามจำนวนที่น้อยกว่าเกณฑ์
ทั้งนี้ กฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณามูลค่าสินทรัพย์ถาวระสุทธิซึ่ง
ไม่รวมที่ดิน โดยให้พิจารณามูลค่า (ก) ตามที่ปรากฎในงบการเงินล่าสุดของกิจการที่จัดทำขึ้นโดยผู้
ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี หรืองบการเงินล่าสุดของกิจการที่ได้รับการตรวจสอบและแสดงความ
เห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแล้ว ตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หรือ (ข) ตามที่ได้รับการประเมิน
จากสถาบันการเงินหรือบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ ในกรณีมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวร
สุทธิตาม (ก) และ (ข) ต่างกัน ให้ถือจำนวนที่น้อยกว่าเป็นมูลค่าสินทรัพย์ถาวรสุทธิ
สำหรับนิยามของสินทรัพย์ถาวรสุทธินั้น มิได้มีการกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรโดยหน่วย
งานของทางการหรือโดยมาตรฐานการบัญชีของไทย ดังนั้น ในทางปฏิบัติ สถาบันการเงินจึงอาจ
พิจารณาได้จากแนวทางของหน่วยทางการต่างๆ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในด้าน SMEs รวมทั้งพิจารณา
Generally Accepted Accounting Principles (GAAP) โดยสรุป คือ สินทรัพย์ถาวร
สามารถพิจารณาได้จากความคงทนและความสามารถจับต้องได้มีอายุการใช้งานมากกว่า 1 รอบบัญชี
และสามารถหักค่าเสื่อมราคา (การปันส่วนมูลค่าเสื่อมสภาพของสินทรัพย์อย่างมีระบบตลอดอายุการ
ใช้งานที่ได้ประมาณไว้) รวมทั้งเป็นสินทรัพย์ที่มีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิต เพื่อใช้ในการ
จำหน่ายสินค้าหรือบริการ เพื่อให้เช่า หรือเพื่อใช้ในการบริหารงาน โดยอาจพิจารณาจากสินทรัพย์
หมวด ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ซึ่งประกอบด้วย เครื่องจักร เครื่องบิน ยานพาหนะ เครื่องตกแต่ง
และติดตั้งอุปกรณ์สำนักงาน โดยไม่รวมมูลค่าที่ดิน
1.4 นิยาม "การจ้างงาน" รวมถึงการจ้างพนักงาน Outsorce หรือไม่
ตอบ ธย.อาจพิจารณาความเป็น SMEs จากปัจจัยอื่นนอกจากมูลค่าสินทรัพย์
ถาวรสุทธิที่ไม่รวมที่ดิน คือ จำนวนการจ้างงาน ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติของส่วนงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ
เกี่ยวข้องกัน SMEs เป็นส่วนใหญ่ โดยการพิจารณาจำนวนการจ้างงานนั้น อาจพิจารณาได้จาก
แรกงงานที่ทำประกันสังคม หรือพิจารณาจากจำนวนการจ้างงานที่ได้จัดทำขึ้นตามกฎกระทรวงเรื่อง
กำหนดจำนวนการจ้างงานและมูลค่าสินทรัพย์ถาวรของสวิสาหกิจขนาดกลรางและขนาดย่อม พ.ศ.2545
ซึ่งในทางปฏิบัติ หากมีกฎหมายใดที่เอื้อประโยชน์ให้แก่ SMEs ก็ให้อิงตามกฎหมายนั้นได้
ในกรณีที่สถาบันการเงินยังมีข้อสงสัยว่ากิจการใดเข้าข่ายเป็น SMEs หรือไม่นอก
เหนือจากการใช้เกณฑ์สินทรัพย์ถาวรสุทธิซึ่งไม่รวมที่ดินหรือจำนวนการจ้างงานแล้วสถาบันการเงิน
สามารถตรวจสอบข้อมูลของกิจการดังกล่าวผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด
ย่อม (สสว.) http://www.sme.go.th/smecheck/default.asp หรือ อาจขอให้ผู้ประกอบ
การรายดังกล่าวขอคำยืนยันจากผู้ทำบัญชี หรือ ผู้สอบบัญชีของกิจการว่ามีขนาดสินทรัพย์ถาวรเข้าข่าย
เป็นกิจการวิสาหกิจขนาดกลางหรือขนาดย่อมได้
2. การให้สินเชื่อ ลงทุน และก่อภาระผูกพัน เพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด
2.1 ธย.สามารถร่วมลงทุน (Joint Venture) กับคู่สัญญารายย่อยหรือวิสาหกิจ
ขนาดกลางและขนาดย่อมที่เป็นลูกค้าเดิม จัดตั้งบริษัทใหม่เพื่อทำธุรกรรมต่อเนื่องกับธุรกรรม ธย.
ได้หรือไม่
ตอบ ธย.สามารถร่วมลงทุน (Joint Venture) กับคู่สัญญารายย่อยหรือ
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยผ่านการลงทุนในหุ้นหรือตราสารทุนของกิจการนั้นได้อย่างไม่
มีข้อจำกัดด้านระยะเวลา อย่างไรก็ตาม ธย.ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนใน
กิจการใดกิจการหนึ่งเช่นเดียวกับ ธพ.เช่น หลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตให้ ธพ.ซื้อหรือมีหุ้น
ในบริษัทจำกัดใดได้เกินร้อยละ 10 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทจำกัดนั้นตาม
รายละเอียดในหนังสือ ธปท.งก.(ว)950/2537 เรื่อง ประกาศ ธปท.เกี่ยวกับการซื้อหรือมีหู้น
มีมูลค่ารวมทั้งสิ้นรวมทั้งสิ้นไม่เกินร้อยละ 20 ของเงินกองทุน ตามประกาศ ธปท.เรื่องการกำหนด
ให้ ธพ.ถือปฏิบัติในเรื่องการซื้อหรือมีหุ้นมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นเป็นอัตราส่วนกับเงินกองทุน ลงวันที่
25 เม.ย.2546
สำหรับการลงทุนในหุ้นหรือตราสารทุนของบริษัทขนาดใหญ่นั้น ธย.สามารถทำได้เฉพาะ
กรณีที่มีจุดประสงค์เพื่อบริการสินทรัพย์/หนี้สินของ ธย.เอง และต้องไม่เกินระยะเวลา 1 ปี
(มีวัตถุประสงค์เพื่อค้าหรือเผื่อขายที่มีกำหนดระยะเวลาถือครองไม่เกิน 1 ปี) และต้องปฏิบัติตาม
เกณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเช่นเดียวกับ ธพ.ดังกล่าวแล้วข้างต้นด้วย
2.2 ข้อยกเว้นในการนับคำนวณวงเงินสินเชื่อของ ธย.ตามข้อ 4.2.1 ก.(หน้า 3)
ในประกาศฉบับนี้หมายความว่า ธย.ไม่ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ Single Lending Limit ใช่หรือไม่
ตอบ การกำหนดข้อยกเว้นในการคำนวณวงเงินสินเชื่อตามประกาศฉบับนี้กำหนด
ให้ ธย.ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์การจำกัดวงเงิน/จำนวนเงินการให้สินเชื่อ ลงทุน และการก่อภาระผูกพัน
(Single Lending Limit) โดยให้มีข้อยกเว้นในการนับคำนวณสินเชื่อ ลงทุน และก่อภาระผูกพัน
ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศฉบับนี้และประกาศเรื่อง การกำหนดอัตราส่วน จำนวนเงินที่
ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยให้สินเชื่อ ลงทุน และก่อภาระผูกพัน เพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดกับเงินกองทุน
2.3 "หลักประกัน" หมายความรวมถึง การเช่าช่วงสิทธิการเช่าด้วยหรือไม่
ตอบ "หลักประกัน" จะรวมถึง สิทธิการเช่าเฉพาะในกรณีที่ผู้ให้เช่ายินยอมให้
มีการสวมสิทธิแทนเมื่อผู้เช่าเดิมซึ่งเป็นลูกหนี้ของ ธย.ไม่ชำระหนี้ แต่ไม่รวมถึง การเช่าช่วงสิทธิ
การเช่า
3. ขอบเขตการประกอบธุรกิจของ ธย.เพื่อการให้บริการแก่ลูกค้า
3.1 ธย.สามารถประกอบธุรกิจอะไรบ้างเพื่อให้บริการแก่ลูกค้า โดยมีหลักการเกี่ยว
กับการจำกัดคู่สัญญา และจำกัดวงเงินอย่างไร
ตอบ การประกอบธุรกิจ ธย.สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
-ธุรกิจที่ ธย.ถูกจำกัดคู่สัญญา (ให้บริการได้เฉพาะแก่ประชาชนรายย่อย
และ SMEs) คือ ธุรกิจการให้สินเชื่อ ธุรกิจที่มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ
เช่น แฟ็กเตอริง การให้เช่าซื้อการให้เช่าแบบลิสซิ่ง เป็นต้น รวมทั้ง
ธุรกิจการจัดจำหน่ายตราสารแห่งหนี้
-ธุรกิจที่ ธย.ถูกจำกัดวงเงิน คือ ธุรกิจการให้สินเชื่อ รวมทั้งธุรกิจตาม
ม.9 ทวิบางประเภทที่เป็นการให้สินเชื่อหรือมีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ
ได้แก่ ธุรกิจการให้เช่าซื้อ การให้เช่าแบบลีสซิ่ง การให้สินเชื่อภายใต้
การให้บริการทางการเงินตามหลักชาริอะฮ์ การประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริง
แบบมีสิทธิไล่เบี้ย (With recourse) การรับซื้อหรือรับโอนลูกหนี้เงิน
ให้กู้ยืมแบบมีสิทธิไล่เบี้ย ทั้งนี้ ธุรกิจที่เป็นการให้สินเชื่อประเภทการรับซื้อ
ซื้อลด รับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน แบบมีสิทธิไล่เบี้ย With recourse) จะถูก
จำกัดวงเงินทั้งผู้ออกและผู้นำตั๋วเงินมาขาย
3.2 ขอบเขตที่ ธย.สามารถประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยการชำระเงินต่างประเทศ
และข้อจำกัดในการให้บริการ
3.2.1 ในกรณีที่ ธย.มีธนบัตรต่างประเทศและเช็คเดินทางด้านซื้อมากกว่าด้านขาย
ธย.จะสามารถขายปัจจัยชำระเงินต่างประเทศที่มีอยู่ให้สถาบันการเงินคูค้าหรือ ธปท.ได้หรือไม่
ตอบ ธย.สามารถประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศได้
ตามที่ "บุคคลรับอนุญาต" กระทำได้ ซึ่งขณะนี้ประกาศกระทรวงการคลังและประกาศเจ้าพนักงาน
ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจเป็นบุคคลรับอนุญาตกำหนดให้สามารถประกอบ
ธุรกิจได้เฉพาะการซื้อธนบัตรต่างประเทศหรือเช็คสำหรับเดินทางที่พึงจ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศ
โดยไม่จำกัดจำนวน และขายพันธบัตรต่างประเทศแก่ ผู้จะเดินทางออกไปนอกประเทศเป็นมูลค่าคน
ละไม่เกิน 5,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่าต่อการเดินทางหนึ่งครั้ง ทั้งนี้ มีหลักเกณฑ์
ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) ในการให้บริการซื้อและขายธนบัตรต่างประเทศแก่ลูกค้า ธย.ต้องขายพันธบัตร
ต่างประเทศที่รับซื้อไว้แก่ตัวแทนรับอนุญาตรายอื่น ที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ไม่น้อยกว่า
ร้อยละ 80 ของยอดส่วนต่างระหว่างธนบัตรต่างประเทศที่รับซื้อไว้กับธนบัตรต่างประเทศที่ขายไป
ทุกสกุลรวมกันในแต่ละเดือน
(2) ในการให้บริการซื้อเช็คเดินทางที่พึงจ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศจากลูกค้า ธย.
จะต้องขาย
เช็คสำหรับเดินทางที่พึงจ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศที่รับซื้อไว้ให้แก่ตัวแทนรับอนุญาตรายอื่นที่ไม่ใช่
ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยภายใน 15 นับแต่วันที่ได้รับซื้อไว้
ทั้งนี้ "ตัวแทนรับอนุญาต" หมายความถึง "ธนาคารรับอนุญาต" ซึ่งได้แก่ ธนาคารพาณิชย์
ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศและ "บริษัทรับอนุญาต" ซึ่งได้แก่
บริษัทจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศ ซึ่งมิใช่ธนาคาร
นอกจากนี้ ธย.ต้องดำรงฐานะเงินตราต่างประเทศรวมทุกสกุลเงิน(Aggregate
position) เมื่อสิ้นวันหนึ่งๆ ตามหลักเกณฑ์การดำรงฐานะเงินตราต่างประเทศตามที่ธปท.ประกาศ
กำหนดด้วย
3.2.2 ธย.สามารถให้บริการด้านโอนเงินและชำระเงินเป็นเงินตราต่างประเทศแก่
ลูกค้ารายย่อยและ SMEs ได้หรือไม่
ตอบ ธย.ไม่สามารถให้บริการด้านโอนเงินและชำระเงินเป็นเงินตราต่าง
ประเทศแก่ลูกค้าได้ เนื่องจากเกินขอบเขตที่ "บุคคลรับอนุญาต" กระทำได้
3.2.3 ลูกค้าของ ธย.สามารถใช้บัตร ATM เบิกเงินสดที่ต่างประเทศผ่านเครือข่าย
ATM Pool ระหว่างประเทศได้หรือไม่
ตอบ ธย.ไม่สามารถให้บริการบัตร ATM เบิกเงินสดที่ต่างประเทศสำหรับ
ลูกค้าของธย. ได้ เนื่องจากเกินขอบเขตที่ "บุคคลรับอนุญาต" กระทำได้
3.2.4 ลูกค้าของ ธย. สามารถใช้บัตรเครดิตของ ธย.ที่ติดตรา VISA และ
MASTER ในต่างประเทศได้หรือไม่
ตอบ ได้ เนื่องจากตามประกาศขอบเขตฯ ธย.สามารถมีบัญชีเงินฝากเงิน
ตราต่างประเทศที่ต่างประเทศและส่งเงินตราต่างประเทศออกไปสำรองไว้ในบัญชีเงินฝากเงินตรา
ต่างประเทศที่ต่างประเทศนั้นเพื่อปฏิบัติตามข้อตกลงและเงื่อนไขในการเข้าเป็นสมาชิกเพื่อการ
ดำเนินธุรกิจด้านบัตรเครดิตได้ ธย. จึงสามารถออกบัตรเครดิตของธย. ซึ่งติดตรา VISA และ
MASTER ได้
ทั้งนี้ การส่งเงินตราต่างประเทศออกไปยังบัญชีเงินฝากเงินตราต่าง
ประเทศที่ต่างประเทศดังกล่าว ธย.สามารถกระทำได้โดยผ่านตัวแทนรับอนุญาตรายอื่นที่ไม่ใช่
ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยและหาก ธย. เป็นผู้ได้รับชำระเงินตราต่างประเทศเนื่องจากผู้ถือ
บัตรเครดิตที่ออกในต่างประเทศนำบัตรเครดิตมาใช้ในประเทศไทย ธย.จะต้องนำเงินตราต่าง
ประเทศกลับเข้ามาในประเทศไทยทันทีที่ได้รับ พร้อมทั้งขายหรือฝากเงินตราต่างประเทศนั้นกับ
ตัวแทนรับอนุญาตรายอื่น ที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ในประเทศไทยภายใน 7 วันนับ
แต่วันที่ได้มาหรือนำเข้า
3.2.5 ธย. สามารถให้บริการด้านเงินฝากแก่ non-resident โดย
non-resident จะต้องมีการโอนเงินฝากที่เป็นเงินตราต่างประเทศจากบัญชีที่เปิดไว้กลับไปยัง
ประเทศของตนหรือไม่
ตอบ ธย. ไม่สามารถให้บริการด้านบัญชีเงินฝากที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
แก่ Non-resident รวมทั้งไม่สามารถให้บริการ Non-resident Baht account แก่ลูกค้าได้
เนื่องจากเกินขอบเขตที่ "บุคคลรับอนุญาต" กระทำได้
3.3 เหตุผลในการจำกัดขอบเขตการประกอบธุรกิจตามมาตรา 9 ทวิ ของ ธย.
ตอบ ธย.สามารถประกอบธุรกิจอื่นที่เกี่ยวกับหรือเนื่องจากการธนาคารพาณิชย์
หรือธุรกิจอันเป็นประเพณี
ที่ ธพ.พึงกระทำ ยกเว้นธุรกิจบางประเภทตามรายละเอียดในประกาศขอบ
เขตฯ ข้อ 4.2.1 ค 1)-6) ได้แก่
1) การให้สาขาในต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ไทยเป็นผู้จัดการ
กองทุน เพื่อการลงทุนหรือการพัฒนาระหว่างประเทศ หรือรับ
บริหารสินทรัพย์ให้แก่บุคคลในต่างประเทศ
2) ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์และการ
ขายชอร์ต
3) ธุรกิจการค้าตราสารแห่งหนี้
4) ธุรกิจการค้าหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน
5) ธุรกิจการรับประกันการจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน
6) ธุรกิจที่เกี่ยวกับอนุพันธ์ทางการเงิน
ทั้งนี้ เหตุผลในการจำกัดขอบเขตดังกล่าวข้างต้น เนื่องจาก
(1) การทำธุรกรรมดดังกล่าวข้างต้นอาจไม่สามารถระบุได้ว่าลูกค้าที่ได้รับบริการดัง
กล่วเป็นประชาชนรายย่อย หรือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(2) เกินขอบเขตการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงินต่างประเทศตามที่บุคคล
รับอนุญาตกระทำได้ หรือเกินขอบเขตประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และ
เงื่อนไขในการขออนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์
(3) ธุรกิจดังกล่าวข้างต้นไม่ใช่ธุรกิจพื้นฐานและอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อ ธย.
โดยทั่วไปมากเกินไปเมื่อเทียบกับเงินกองทุนที่กำหนดไว้ไม่ต่ำกว่า 250 ล้านบาท ขณะที่กำหนดให้
ธพ.ต้องมีไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี แม้ว่า ธย.จะไม่สามารถประกอบธุรกิจดังกล่าวได้ ธย.ยังคงสามารถ
ทำธุรกรรมยืมและให้ยืมหลักทรัพย์และการขายชอร์ต ซื้อขายตราสารหนี้และซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็น
หน่วยลงทุนเพื่อบริหารสินทรัพย์/หนี้สิน หรือเพื่อป้องกันความเสี่ยงของตนเองได้
3.4 ขอบเขตการประกอบธุรกิจตามมาตรา 9 ทวิ ของธย. เป็นไปตามประกาศ/
หนังสือเวียนใด
ตอบ รายละเอียดการประกอบธุรกิจตามมาตรา 9 ทวิ ที่อนุญาตให้ ธย. ทำ
เป็นไปตามประกาศขอบเขตฯ และตารางประเภทธุรกิจตามมาตรา 9 ทวิ ที่อนุญาตให้ ธย.ทำ
(หน้า 18-20 ของประเด็นคำถามฉบับนี้)
3.5 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการซื้อ-ขายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน
ตอบ ธย.ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการค้าและธุรกิจการจัดจำหน่ายแบบ
รับประกันหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ธย. จึงสามารถให้บริการเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน
ได้เฉพาะการเป็นนายหน้าซื้อขาย และการจัดจำหน่ายแบบไม่รับประกัน (Best Effort)
ในกรณีการซื้อขายหน่วยลงทุนเพื่อการบริหารสินทรัพย์/หนี้สินของ ธย.เอง
สามารถทำได้ดังนี้
(1) กรณีการซื้อขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมที่มีจุดประสงค์เฉพาะเพื่อการลง
ทุนใน SMEs เท่านั้น(ถือเป็นตราสารที่ออกโดย SMEs) ไม่มีข้อจำกัดด้านระยะเวลาการถือครอง
(2) กรณีการซื้อขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมประเภทอื่น (ถือเป็นตราสารที่
ออกโดยบริษัทขนาดใหญ่) ต้องถือครองไม่เกินระยะเวลา 1 ปี กล่าวคือจุดประสงค์เพื่อค้าหรือมี
จุดประสงค์เผื่อขายที่มีระยะเวลาการถือครองไม่เกิน 1 ปี
อย่างไรก็ดี หากในทางปฏิบัติไม่สามารถแยกได้ว่าหน่วยลงทุนใดมีจุดประสงค์
เฉพาะเพื่อการลงทุนใน SMEs ให้นับหน่วยลงทุนนั้นเทียบเท่าตราสารหนี้/ตราสารทุนที่ออกโดย
บริษัทขนาดใหญ่ ซึ่ง ธย.สามารถถือครองได้ไม่เกินระยะเวลา 1 ปี (จุดประสงค์เพื่อค้าหรือจุด
ประสงค์เผื่อขายที่ถือครองไม่เกิน 1 ปี)
3.6 ความแตกต่างระหว่างธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนและที่ปรึกษาทางการเงิน
ตอบ ความแตกต่างมีดังนี้
ธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน หมายถึง การให้คำแนะนำแก่ประชาชน
ไม่ว่าโดย ทางตรงหรือทางอ้อมเกี่ยวกับคุณค่าของหลักทรัพย์หรือความเหมาะสมในการลงทุนเกี่ยวกับ
หลักทรัพย์นั้น หรือที่เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ใดๆ เป็นทางค้าปกติ ตามรายละเอียดที่สำนักงาน
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)กำหนด
ธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน หมายถึง การให้คำปรึกษาทางด้านการเงินในด้าน
ต่างๆ เช่น การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินของโครงการลงทุน การจัดโครงสร้างเงินทุนของ
กิจการ และการวางแผนทางการเงิน รวมถึง การเป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการออกและเสนอ
ขายหลักทรัพย์ และที่ปรึกษาทางการเงินในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการตามที่สำนักงาน
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศกำหนด
ทั้งนี้ ธย. สามารถประกอบธุรกิจการเป็นที่ปรึกษาการลงทุน และธุรกิจการเป็นที่ปรึกษา
ทางการเงินโดยไม่จำกัดคู่สัญญา
3.7 คำอธิบายการจำกัดคู่สัญญาในธุรกิจการจัดจำหน่ายตราสารหนี้
ตอบ การจำกัดคู่สัญญาในธุรกิจการจัดจำหน่ายตราสารหนี้แบบรับประกัน (Firm
Underwrite) และไม่รับประกัน (Best Effort) หมายถึง การจำกัดประเภทของผู้ออกตราสาร
หนี้ที่ ธย. ให้บริการจัดจำหน่าย โดยอนุญาตให้ ธย. สามารถให้บริการได้เฉพาะตราสารหนี้ที่
SMEs เป็นผู้ออก โดยไม่จำกัดผู้ซื้อ ซึ่งเหตุผลของการจำกัดคู่สัญญาในการประกอบธุรกิจนี้เนื่องจาก
มีลักษณะใกล้เคียงกับการให้สินเชื่อแก่ผู้ออกตราสารหนี้
3.8 คำอธิบายการจำกัดคู่สัญญาในธุรกิจซื้อคืนภาคเอกชน
ตอบ เนื่องจากธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนของ ธย.ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อ
การบริหารสภาพคล่องของ ธย.เอง และเป็นธุรกรรมที่มีระยะเวลาสั้น จึงจัดว่าธุรกรรมซื้อคืน
ภาคเอกชนของ ธย. มีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารสินทรัพย์/หนี้สินของธย. เอง
กรณีที่ ธย. เป็นผู้ให้กู้ยืม: คู่สัญญาต้องเป็นประชาชนรายย่อย SMEs สถาบัน
การเงินบริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด องค์การของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ
รัฐบาลโดยไม่ถูกจำกัดด้านวงเงิน
กรณีที่ธย. เป็นผู้กู้ยืม: ธย.กู้ยืมจากนิติบุคคลทุกประเภท และในกรณีที่หลัก
ทรัพย์มีมูลค่าเกินกว่าเงินที่ได้รับ จะไม่ถือหลักทรัพย์ส่วนเกินเป็นสินเชื่อประเภทหนึ่งที่ถูกจำกัดด้าน
วงเงิน
ทั้งนี้ ธย.จะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์การกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง เช่น เกณฑ์การประกอบ
ธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน เกณฑ์ด้านอัตราส่วนการให้สินเชื่อ ลงทุน หรือก่อภาระผูกพันต่อเงินกอง
ทุน เป็นต้น
4.ขอบเขตการทำธุรกรรมเพื่อการบริหารสินทรัพย์/หนี้สินและเพื่อการป้องกันความ
เสี่ยงของ ธย.เอง
(ยังมีต่อ)