26 พฤษภาคม 2548
เรียน ผู้จัดการ
ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร*
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ธนาคารออมสิน
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
บรรษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ทุกบริษัท
ที่ ธปท.ฝกก. (03) ว. 986 / 2548 เรื่อง การออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุลเงินบาท
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทโดยขอความร่วมมือจากสถาบันการเงินจำกัดการปล่อยสภาพคล่องเงินบาทแก่ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Nonresident: NR) โดยไม่มีธุรกิจการค้าหรือการลงทุนในประเทศรองรับ (Underlying) ให้อยู่ภายในวงเงินคงค้างสูงสุดไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อราย โดยรวมถึงการลงทุนในตราสารหนี้เงินบาทที่ออกโดยผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศและมาตรการอื่นๆ ตามความละเอียดแจ้งแล้ว นั้น
เพื่อเป็นการพัฒนาการออกตราสารหนี้ในประเทศให้มีความหลากหลายและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของตลาดตราสารหนี้ในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นสมควรยกเลิกหนังสือเวียนที่ ธปท.สกง.(03) ว.1109/2547 ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2547 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นควรผ่อนผันมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทในกรณีที่สถาบันการเงินระหว่างประเทศ และรัฐบาลหรือสถาบันการเงินของรัฐบาลต่างประเทศที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลังให้สามารถออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุลเงินบาทในประเทศไทยได้ในเรื่อง ดังต่อไปนี้
1. สถาบันการเงินในประเทศสามารถลงทุนในพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุลเงินบาทของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ และรัฐบาลหรือสถาบันการเงินของรัฐบาลต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ออกจำหน่ายในประเทศไทย
2. ผู้ออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุลเงินบาทจะต้องนำเงินบาทที่ได้ฝากเข้าบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ (Special Nonresident Baht Account: SNA) โดยสถาบันการเงินที่รับเปิดบัญชีต้องดำเนินการดังนี้
2.1 ให้เปิดบัญชี SNA ได้เพียง 1 บัญชี โดยก่อนเปิดบัญชี สถาบันการเงินต้องขอให้ผู้ขอเปิดบัญชียืนยันว่าไม่มีบัญชี SNA ที่สถาบันการเงินอื่น และเรียกให้ผู้ขอเปิดบัญชีแสดงหนังสือธนาคารแห่งประเทศไทยที่อนุญาตให้เปิดบัญชีดังกล่าวได้
2.2 เงินบาทที่นำเข้าบัญชี SNA ต้องเป็นเงินบาทดังต่อไปนี้
ก. เงินบาทที่ได้จากการออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้ตามที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง
ข. เงินบาทที่ได้รับชำระคืนจากธุรกรรมที่ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนผันให้สถาบันการเงินระหว่างประเทศ และรัฐบาลหรือสถาบันการเงินของ รัฐบาลต่างประเทศเจ้าของบัญชี SNA ทำได้ เช่น เงินบาทที่ได้จากการชำระคืนเงินให้กู้ยืมระยะสั้นและดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมดังกล่าว เป็นต้น
2.3 ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนผันให้ยอดคงค้าง ณ สิ้นวันของบัญชี SNA มี
จำนวนเกินกว่า 300 ล้านบาทได้
2.4 หากสถาบันการเงินผู้รักษาบัญชี SNA ประสงค์จะจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากในบัญชี
ดังกล่าวให้ทำได้เช่นเดียวกับบัญชีเงินฝากทั่วไป
3. เงินบาทในบัญชี SNA สามารถถอน เพื่อธุรกรรมดังต่อไปนี้
3.1 ลงทุนหรือให้กู้ยืมในราชอาณาจักรไทย หรือในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งได้แก่ สหภาพพม่า สาธารณรัฐกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
3.2 การให้กู้ยืมระยะสั้นแก่สถาบันการเงินในประเทศ เช่น FX swap ปล่อยกู้
โดยตรง การลงทุนในตราสารหนี้ และการลงทุนในธุรกรรม Private Repo เป็นต้น
3.3 ฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ในรูปบัตรเงินฝาก(Certificates of deposits), เงินฝากประจำอายุต่ำกว่า 6 เดือน หรือตั๋วแลกเงิน (Bills of exchange)
3.4 การทำธุรกรรมอนุพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย เช่น Interest rate swap กับสถาบันการเงินในประเทศ เป็นต้น
3.5 แปลงเป็นเงินตราต่างประเทศผ่านธุรกรรม Swap กับสถาบันการเงินในประเทศ หรือสถาบันการเงินต่างประเทศ แต่ต้องมา back-to-back กับสถาบันการเงินใน
4. ให้สถาบันการเงินกู้ยืมระยะสั้นและทำธุรกรรมอนุพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับดอกเบี้ยกับสถาบันการเงินระหว่างประเทศ และรัฐบาลหรือสถาบันการเงินของรัฐบาลต่างประเทศได้ แต่ก่อนทำธุรกรรมต้องให้สถาบันดังกล่าวยืนยันว่าเงินบาทดังกล่าวเป็นเงินบาทที่ได้จากบัญชี SNA ตามที่กำหนดในเงื่อนไขการอนุญาตให้ออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้จากกระทรวงการคลัง
5. ให้สถาบันการเงินผู้รักษาบัญชี SNA ต้องดูแลให้การฝากถอนเงินบาทจากบัญชีเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดและจัดทำรายงานตามแบบที่แนบ และส่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่ต้องรายงาน
จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติ
ขอแสดงความนับถือ
(นางสาวนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
ทีมป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท
ฝ่ายกลยุทธ์และกำกับการแลกเปลี่ยนเงิน สายตลาดการเงิน
โทร. 0-2283-5326-7, 0-2356-7639
หมายเหตุ [ x
] ไม่มีการจัดประชุมชี้แจง
*ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจ
สกงว90-กส17001-25480526
รายงานการเคลื่อนไหวของบัญชี SNA ของ.................
ชื่อตัวแทนรับอนุญาต ..........................
วันที่รายงาน: DD/MM/YYYY
ประจำเดือน......................
หน่วย : บาท
วันที่นำฝาก ยอดคงค้างยกมา ฝากระหว่างวัน ผู้นำฝาก วัตถุประสงค์การนำฝาก วันที่ถอน ถอนระหว่างวัน วัตถุประสงค์การถอน ยอดคงค้างยกไป