25 กันยายน 2544
เรียน ผู้จัดการ
ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร
บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ทุกบริษัท
ธนาคารและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ที่ สกง.(13)ว.23/2544 เรื่อง การซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน
ด้วยธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นสมควรปรับปรุงการให้ความอนุเคราะห์แก่สถาบันการเงินให้มีความคล่องตัวในการปรับฐานะสภาพคล่องช่วงสิ้นวันและลดความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงิน อันจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการดำเนินนโยบายการเงิน จึงเห็นควรดำเนินการดังนี้
1. ยกเลิกระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินโดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ. 2539 และที่แก้ไข (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542
2. ยกเลิกหนังสือธนาคารแห่งประเทศไทยที่ ธปท.นล.(ว) 910/2524 ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2524 และที่ ธปท.นล.(ว)1759/2528 ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2528 เรื่อง การขายพันธบัตรโดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืนเพื่อชดเชยการขาดดุลการหักบัญชี
3. ยกเลิกหนังสือธนาคารแห่งประเทศไทยที่ ธปท.นว. (ว) 2313/ 2539 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2539 เรื่อง การซื้อขายตั๋วเงินโดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน
4. ให้ใช้ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ. 2544 แทน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป
หากสถาบันการเงินประสงค์จะได้รับความอนุเคราะห์ตามระเบียบตามข้อ 4 ข้างต้นโปรดจัดทำหนังสือแสดงความตกลง หนังสือมอบอำนาจและหนังสือแสดงความยินยอมให้นำเงินเข้าและหักเงินจากบัญชีตามแบบฟอร์มแนบท้ายระเบียบและจัดส่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต่อไป
ขอแสดงความนับถือ
(นางทัศนา รัชตโพธิ์)
ผู้อำนวยการอาวุโส สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
สิ่งที่ส่งมาด้วย : ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ. 2544
: ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง สถาบันการเงินอื่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะรับซื้อพันธบัตรเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน
: ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง ยกเลิกอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน
: ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง อัตราค่าตอบแทนในการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน
: ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง ราคาพันธบัตรที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะรับซื้อในการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน
: ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดเวลาการดำเนินการของสถาบันการเงินในการซื้อขายพันธบัตรเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน
: ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การคำนวณมูลค่าพันธบัตรหลักประกันกรณีสถาบันการเงินไม่ซื้อคืนพันธบัตร
: ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การเรียกค่าปรับกรณีสถาบันการเงินไม่ซื้อคืนพันธบัตร
ส่วนธุรกิจตลาดการเงิน
ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง
โทร 0-2283-5425, 0-2283-5408
หมายเหตุ ไม่มีการจัดประชุมชี้แจง
สกงว90-กส64103-25440926
-ยก-ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ. 2544--------------------------------------
ด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะที่เป็นแหล่งให้กู้ยืมเงินแหล่งสุดท้ายของสถาบันการเงินที่ขาดสภาพคล่องระยะสั้น (Last Resort) ได้จัดให้มีหน้าต่างการให้สภาพคล่องแก่สถาบันการเงินมาตลอด แต่เนื่องจากหน้าต่างการให้สภาพคล่องที่ผ่านมามีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ หน้าต่างรับซื้อพันธบัตรโดยมีข้อสัญญาว่าจะขายคืน (Loan Window) ประการหนึ่ง หน้าต่างรับซื้อพันธบัตรโดยมีข้อสัญญาว่าจะขายคืนเพื่อประโยชน์ในการชำระดุลการหักบัญชี (ตลาดซื้อคืนนอกเวลา) เป็นประการที่สอง และหน้าต่างรับซื้อตั๋วเงินโดยมีข้อสัญญาว่าจะขายคืนเพื่อประโยชน์ในการชำระดุลการหักบัญชีเป็นประการที่สาม โดยเหตุที่หน้าต่างดังกล่าวและอัตราค่าตอบแทน (อัตราดอกเบี้ย)ในหน้าต่างดังกล่าว ไม่สัมพันธ์และไม่สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งส่งผลให้การส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงในนโยบายการเงินไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร จึงสมควรยกเลิกหน้าต่างดังกล่าว และจัดตั้งให้เหลือเพียงหน้าต่างเดียว เรียกว่า "หน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวัน"
การจัดตั้งหน้าต่างสภาพคล่องนี้ อยู่ในขอบเขตของภารกิจ ธปท. ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 มาตรา 5 มาตรา 28 และมาตรา 40 และพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 มาตรา 12(10) (10 ทวิ) และ(10 ตรี) ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
1. ให้ยกเลิก
(1) ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินโดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ. 2539 และที่แก้ไข (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542
(2) หนังสือธนาคารแห่งประเทศไทยที่ ธปท.นล.(ว.) 910/2524 ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2524 และ ที่ ธปท.นล.(ว ) 1759/2528 ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2528 เรื่อง การขายพันธบัตรโดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืนเพื่อชดเชยการขาดดุลการหักบัญชี
(3) หนังสือธนาคารแห่งประเทศไทยที่ ธปท.นว.(ว.) 2313/2539 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2539 เรื่อง การซื้อขายตั๋วเงินโดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน
2. ในระเบียบนี้
" ธปท." หมายความว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย
สกงร90-กส64104-25440926
" สถาบันการเงิน" หมายความว่า
(1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(2) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และ
(3) สถาบันการเงินอื่นตามที่ธปท.กำหนด
"พันธบัตร" หมายความว่า ตั๋วเงินคลัง ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธปท.และพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกโดยองค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะที่ ธปท. เป็นนายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงิน ทั้งนี้ตามที่ ธปท. กำหนด
"บัญชีเงินฝากสถาบันการเงิน" หมายความว่า บัญชีเงินฝากกระแสรายวันซึ่งสถาบันการเงินได้เปิดไว้กับ ธปท.
3. ธปท. จะพิจารณารับซื้อพันธบัตรจากสถาบันการเงินโดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้(1) ธปท. จะรับซื้อพันธบัตรในราคารับซื้อตามที่ ธปท. ประกาศกำหนด (2) ธปท. จะคิดค่าตอบแทนในการซื้อขายพันธบัตรจากราคาที่ ธปท. รับซื้อในอัตราที่ ธปท. ประกาศกำหนด (3) ธปท. จะรับซื้อพันธบัตรในแต่ละคราวในราคารับซื้อไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท และไม่มีเศษของล้านบาท
4. ธปท. สงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับซื้อพันธบัตรจากสถาบันการเงินในกรณีที่มีเหตุอันควร
5. สถาบันการเงินที่ประสงค์จะใช้ประโยชน์แห่งระเบียบนี้ ต้องปฏิบัติดังนี้
(1) ทำหนังสือแสดงความตกลงตามแบบที่ธปท.กำหนด
(2) ทำหนังสือ มอบอำนาจให้บุคคลกระทำแทนสถาบันการเงินในการติดต่อกับ ธปท. ทางโทรศัพท์ และลงนามในหนังสือยืนยันการเสนอขายพันธบัตรตามแบบหนังสือมอบอำนาจที่ ธปท. กำหนด
(3) ฝากพันธบัตรที่สถาบันการเงินมีกรรมสิทธิ์และปราศจากภาระผูกพันไว้กับธนาคารตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลโดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืนหรือขายคืน พ.ศ.2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(4) ยินยอมให้ ธปท. นำเงินเข้าบัญชีและหักเงินจากบัญชีเงินฝากสถาบันการเงิน ตามแบบหนังสือที่ ธปท. กำหนด
สกงร90-กส64104-25440926
6. การแสดงเจตนาขายพันธบัตรแต่ละคราว ให้สถาบันการเงินปฏิบัติดังนี้
(1) แจ้งความประสงค์และเหตุผลความจำเป็นทางโทรศัพท์ในวันที่เสนอขาย
(2) ส่งหนังสือยืนยันการเสนอขายพันธบัตรตามแบบที่ ธปท. กำหนดในวันทำการถัดไป
(3) เสนอขายพันธบัตรตามเงื่อนไขที่กำหนดในข้อ 3
(4) ยินยอมให้ ธปท. เป็นผู้จัดสรรพันธบัตรที่สถาบันการเงินฝากไว้
(5) ซื้อคืนพันธบัตรในราคาซื้อคืนซึ่งเท่ากับผลรวมของราคาที่ ธปท. รับซื้อไว้กับค่าตอบแทนตามอัตราที่ ธปท. ประกาศกำหนดตามข้อ 3(2)
(6) ซื้อคืนพันธบัตรในวันทำการถัดไป การดำเนินการดังกล่าวข้างต้นให้เป็นไปตามตารางเวลาที่ ธปท. ประกาศกำหนด โดย ธปท. จะหักเงินจากบัญชีเงินฝาก ของสถาบันการเงินผู้ซื้อคืนทันทีเมื่อมีการแสดงเจตนา
7. ธปท. จะรับโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรและนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากสถาบันการเงินในวันที่รับซื้อ และโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรที่รับซื้อไว้คืนพร้อมทั้งหักเงินจากบัญชีเงินฝากสถาบันการเงินในวันที่กำหนดให้ชำระราคาซื้อคืน
8. สถาบันการเงินที่ซื้อคืนพันธบัตรภายในกำหนด ให้มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยพันธบัตรสำหรับระยะเวลาที่ขายพันธบัตรนั้น
9. ในกรณีที่เงินในบัญชีเงินฝากสถาบันการเงินมีไม่พอให้หักเพื่อชำระราคาซื้อคืนภายในเวลาที่กำหนดให้ถือว่าไม่มีการซื้อคืน
10. กรณีที่สถาบันการเงินไม่ซื้อคืนพันธบัตรภายในกำหนดตามข้อ 6(6) และ ข้อ 9 ธปท.จะยึดพันธบัตรหลักประกันและดำเนินการ ดังนี้
(1) คำนวณมูลค่าพันธบัตรหลักประกันตามเกณฑ์ที่ ธปท. ประกาศกำหนด
(2) นำเงินเข้าหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากสถาบันการเงิน ในกรณีที่มีส่วนต่างระหว่างมูลค่าซื้อคืนและมูลค่าพันธบัตรหลักประกันที่คำนวณได้ตามข้อ 10(1)
11 ในการดำเนินการตามข้อ 10 ธปท. อาจเรียกค่าปรับจากสถาบันการเงินด้วยในกรณีที่เห็นสมควร ทั้งนี้ ค่าปรับดังกล่าว ธปท. จะเรียกได้ไม่เกินจำนวนที่ ธปท. ประกาศกำหนด
12. ธปท. อาจพิจารณาไม่รับซื้อพันธบัตรตามระเบียบนี้จากสถาบันการเงิน เป็นการชั่วคราวหรือถาวร ในกรณีที่สถาบันการเงินไม่ปฎิบัติตามระเบียบนี้หรือระเบียบอื่นใดของ ธปท.
สกงร90-กส64104-25440926และ/หรือดำเนินการใดๆในทิศทางที่ไม่สอดคล้องและ/หรือส่งผลในทางลบต่อแนวทางของทางการในการดำเนินนโยบายการเงิน นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน และ/หรือการสร้างเสถียรภาพในระบบการเงิน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไปประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน 2544
(ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
สกงร90-กส64104-25440926
หนังสือแสดงความตกลง
...............................................
วันที่.......................................
ข้าพเจ้า...................................................ได้ทราบและเข้าใจข้อความตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวัน โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ.2544 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2544 โดยละเอียดตลอดแล้ว
ข้าพเจ้ามีความประสงค์จะรับประโยชน์จากระเบียบฉบับดังกล่าว จึงตกลงผูกพันตนและยินยอมรับปฏิบัติตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ.2544 ทั้งที่มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนี้และที่จะแก้ไขเพิ่มเติมต่อไปในภายหน้าทุกฉบับ และผูกพันตนแล้วดังกล่าวข้างต้นทุกประการ
ข้าพเจ้าขอให้คำมั่นสัญญาต่อธนาคารแห่งประเทศไทยว่าจะไม่เพิกถอนความตกลงตามหนังสือนี้ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นหนังสือ
(...................................................)
ผู้มีอำนาจลงนาม
เพื่อ.....................................
สกงร90-กส64104-2544026
อากรแสตมป์
หนังสือมอบอำนาจ
.....................................................
วันที่.............................................
ตามหนังสือแสดงความตกลงของ.................................................ลงวันที่.....................................ซึ่งได้ตกลงผูกพันตนและยินยอมรับปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ.2544 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2544 ทั้งที่มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนี้และที่จะแก้ไขเพิ่มเติมต่อไปในภายหน้าทุกฉบับ นั้น
ในการขายพันธบัตรกับธนาคารแห่งประเทศไทยตามนัยที่กล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าขอมอบอำนาจให้บุคคลตามรายชื่อและลายมือชื่อท้ายหนังสือนี้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ (1) ติดต่อกับธนาคารแห่งประเทศไทยทางโทรศัพท์ในนามของข้าพเจ้า เพื่อการเสนอขายและเพื่อรับแจ้งจากธนาคารแห่งประเทศไทย และ (2) เป็นผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือยืนยันการขายพันธบัตรในนามของข้าพเจ้าตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะได้แจ้งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นล่วงหน้า
(...................................................)ผู้มีอำนาจลงนาม
เพื่อ............................................
รายชื่อผู้รับมอบอำนาจ ลายมือชื่อ1................................... .................................2................................... .................................3.................................. .................................
สกงร90-กส64104-25440926
หนังสือยืนยันการขายพันธบัตรโดยมีข้อสัญญาว่าจะซื้อคืน
..................................................
วันที่..........................................เรียน ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารความเสี่ยงและธุรการบริหารเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ / เรื่อง การยืนยันการซื้อขายพันธบัตร
ตามที่ข้าพเจ้า................................................โดย................................................ได้โทรศัพท์เมื่อวันที่..................................เสนอขายพันธบัตรตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ.2544 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นราคาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรับซื้อไว้เป็นจำนวนเงิน......................บาท (.............................................................) และเสนอซื้อคืนพันธบัตรดังกล่าวในราคาที่เท่ากับผลรวมของราคาที่เสนอขายกับจำนวนค่าตอบแทนที่เท่ากับร้อยละ.......... ต่อปี ของราคาที่เสนอขายโดยจะขอซื้อคืนในกำหนดประเภท 1 วัน และข้าพเจ้าได้รับแจ้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว นั้น
ข้าพเจ้าขอยืนยันการซื้อขายดังกล่าวข้างต้น และขอรับรองว่าจะปฏิบัติตามระเบียบฉบับดังกล่าวทุกประการ
ขอแสดงความนับถือ
(..................................................)
ผู้รับมอบอำนาจ
เพื่อ…………………………..
สกงร90-กส64104-25440926
หนังสือแสดงความยินยอมให้นำเงินเข้าและหักเงินจากบัญชี
......................................................
วันที่.............................................เรื่อง ยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำเงินเข้าบัญชีและหักเงินจากบัญชีเงินฝากเรียน ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารความเสี่ยงและธุรการบริหารเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
เพื่อประโยชน์แห่งการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงิน ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ. 2544 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2544 ข้าพเจ้า...............................ขอแสดงความยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยกระทำการดังต่อไปนี้
1. นำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของข้าพเจ้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อรับชำระราคาพันธบัตรที่ขาย
2. หักเงินจากบัญชีเงินฝากของข้าพเจ้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อชำระราคาพันธบัตรที่ซื้อคืน
3. หักเงินหรือนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของข้าพเจ้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อชำระหรือรับชำระส่วนต่างระหว่างมูลค่าพันธบัตรที่ยึดกับราคาซื้อคืนในกรณีที่สถาบันการเงินผิดสัญญาไม่ซื้อคืน
ข้าพเจ้า............................................ขอให้คำมั่นสัญญาต่อธนาคารแห่งประเทศไทยว่าจะไม่เพิกถอนความยินยอมตามหนังสือนี้ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นลายลักษณ์อักษร
ขอแสดงความนับถือ
(..................................................)
ผู้มีอำนาจลงนาม
เพื่อ………………………………..
สกงร90-กส64104-25440926
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
เรื่อง สถาบันการเงินอื่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะรับซื้อพันธบัตร
เพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน---------------------------------------------------เพื่ออนุวัติตามข้อ 2(3) แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ.2544 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะรับซื้อพันธบัตรจากสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะดังนี้
(1) ธนาคารออมสิน
(2) ธนาคารอาคารสงเคราะห์(3) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(4) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
(5) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(6) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
(7) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
(8) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไปประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน 2544
(ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล)
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
สกงป90-กส64101-25440926
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง ราคาพันธบัตรที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะรับซื้อในการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน----------------------------------------
เพื่ออนุวัติตามข้อ 3(1) แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ. 2544 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะรับซื้อพันธบัตรในราคาร้อยละ 90 ของราคาตรา ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไปประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน 2544
(ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
สกงป90-กส64102-25440926
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง ยกเลิกอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน---------------------------------------------เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งสัญญาณของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และเพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะการทำธุรกรรมการให้ความอนุเคราะห์ทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ. 2544 ธนาคารแห่งประเทศไทยขอยกเลิกการกำหนด "อัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน" และเปลี่ยนมาใช้ "อัตราค่าตอบแทน" ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดตามระเบียบดังกล่าวแทนทั้งนี้ หากระเบียบ ประกาศ หนังสือเวียน สัญญา ข้อตกลง หรือข้อกำหนด หรือ เงื่อนไขอื่นใด ของหน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐและเอกชน ได้อ้างอิงถึงอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานให้ถือว่าอัตราค่าตอบแทนในการซื้อขายพันธบัตรตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ.2544 มีค่าเทียบเท่า และสามารถอ้างอิงทดแทนอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานได้โดยสมบูรณ์ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไปประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน 2544
(ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล)
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
สกงป90-กส64103-25440926
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง อัตราค่าตอบแทนในการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงิน
เพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน---------------------------------------------เพื่ออนุวัติตามข้อ 3(2) แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ. 2544 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะคิดค่าตอบแทนในการซื้อขายพันธบัตรตามระเบียบดังกล่าวในอัตราดอกเบี้ยนโยบาย บวกร้อยละ 1.5 ต่อปีโดยที่ในปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยนโยบายเท่ากับร้อยละ 2.5 ต่อปี ค่าตอบแทนในการซื้อขายพันธบัตรจึงเท่ากับร้อยละ 4.0 ต่อปีทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน 2544
(ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล)
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
สกงป90-กส64104-25440926
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง กำหนดเวลาการดำเนินการของสถาบันการเงินในการซื้อขายพันธบัตรเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน--------------------------------------------เพื่ออนุวัติตามข้อ 6. แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวัน โดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ. 2544 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดเวลาการปฏิบัติงานในการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินตามระเบียบดังกล่าว ดังต่อไปนี้
การดำเนินการของสถาบันการเงิน เวลาแจ้งความประสงค์ขอขายพันธบัตร ระหว่างเวลา17.00-17.30 น. ของวันที่เสนอขาย เว้นแต่ ธปท.เห็นว่ามีเหตุอันควรที่จะต้องเลื่อนเวลาดังกล่าวออกไปส่งหนังสือยืนยันการเสนอขายพันธบัตร ภายในเวลา 10.30 น.ของวันทำการถัดจากวันที่ขายพันธบัตรซื้อคืนพันธบัตร ภายในเวลา 12.00 น.ของวันทำการถัดจากวันที่ขายพันธบัตร
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน 2544
(ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
สกงป90-กส64105-25440926
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง การคำนวณมูลค่าพันธบัตรหลักประกันกรณีสถาบันการเงินไม่ซื้อคืนพันธบัตร------------------------------------------------------------เพื่ออนุวัติตามข้อ 10(1) แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ. 2544 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะคำนวณมูลค่าหลักประกันกรณีสถาบันการเงินไม่ซื้อคืนพันธบัตรตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ประเภทหลักทรัพย์ มูลค่าหลักประกันตามราคาตลาด1/ณ สิ้นวันที่ธปท.รับซื้อพันธบัตรโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน1. พันธบัตรรัฐบาลและพันธบัตรธปท. ร้อยละ 98.5 ของราคาตลาด2. พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 97.0 ของราคาตลาด3. ตั๋วเงินคลังและตั๋วสัญญาใช้เงิน เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ร้อยละ 99.5 ของราคาตลาด1/ ราคาตลาดที่เผยแพร่โดย TBDC คำนวณตามสูตรการคำนวณราคาพันธบัตรที่ประกาศโดยธปทโดยใช้อัตราผลตอบแทน ณ สิ้นวันที่ธปท.รับซื้อฯสำหรับการส่งมอบในวันที่ ธปท. ดำเนินการยึดหลักประกัน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไปประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน 2544
(ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
สกงป90-กส64106-25440926
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง การเรียกค่าปรับกรณีสถาบันการเงินไม่ซื้อคืนพันธบัตร-------------------------------------เพื่ออนุวัติตามข้อ 11. แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ. 2544 ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเรียกค่าปรับจากสถาบันการเงินที่ไม่ซื้อคืนพันธบัตรในจำนวนเงินไม่เกิน 50,000.00 บาททั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไปประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน 2544
(ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
สกงป90-กส64107-25440926
เรียน ผู้จัดการ
ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร
บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ทุกบริษัท
ธนาคารและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ที่ สกง.(13)ว.23/2544 เรื่อง การซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน
ด้วยธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นสมควรปรับปรุงการให้ความอนุเคราะห์แก่สถาบันการเงินให้มีความคล่องตัวในการปรับฐานะสภาพคล่องช่วงสิ้นวันและลดความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงิน อันจะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการดำเนินนโยบายการเงิน จึงเห็นควรดำเนินการดังนี้
1. ยกเลิกระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินโดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ. 2539 และที่แก้ไข (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542
2. ยกเลิกหนังสือธนาคารแห่งประเทศไทยที่ ธปท.นล.(ว) 910/2524 ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2524 และที่ ธปท.นล.(ว)1759/2528 ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2528 เรื่อง การขายพันธบัตรโดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืนเพื่อชดเชยการขาดดุลการหักบัญชี
3. ยกเลิกหนังสือธนาคารแห่งประเทศไทยที่ ธปท.นว. (ว) 2313/ 2539 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2539 เรื่อง การซื้อขายตั๋วเงินโดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน
4. ให้ใช้ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ. 2544 แทน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป
หากสถาบันการเงินประสงค์จะได้รับความอนุเคราะห์ตามระเบียบตามข้อ 4 ข้างต้นโปรดจัดทำหนังสือแสดงความตกลง หนังสือมอบอำนาจและหนังสือแสดงความยินยอมให้นำเงินเข้าและหักเงินจากบัญชีตามแบบฟอร์มแนบท้ายระเบียบและจัดส่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต่อไป
ขอแสดงความนับถือ
(นางทัศนา รัชตโพธิ์)
ผู้อำนวยการอาวุโส สายตลาดการเงิน
ผู้ว่าการแทน
สิ่งที่ส่งมาด้วย : ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ. 2544
: ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง สถาบันการเงินอื่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะรับซื้อพันธบัตรเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน
: ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง ยกเลิกอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน
: ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง อัตราค่าตอบแทนในการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน
: ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง ราคาพันธบัตรที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะรับซื้อในการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน
: ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดเวลาการดำเนินการของสถาบันการเงินในการซื้อขายพันธบัตรเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน
: ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การคำนวณมูลค่าพันธบัตรหลักประกันกรณีสถาบันการเงินไม่ซื้อคืนพันธบัตร
: ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การเรียกค่าปรับกรณีสถาบันการเงินไม่ซื้อคืนพันธบัตร
ส่วนธุรกิจตลาดการเงิน
ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง
โทร 0-2283-5425, 0-2283-5408
หมายเหตุ ไม่มีการจัดประชุมชี้แจง
สกงว90-กส64103-25440926
-ยก-ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ. 2544--------------------------------------
ด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะที่เป็นแหล่งให้กู้ยืมเงินแหล่งสุดท้ายของสถาบันการเงินที่ขาดสภาพคล่องระยะสั้น (Last Resort) ได้จัดให้มีหน้าต่างการให้สภาพคล่องแก่สถาบันการเงินมาตลอด แต่เนื่องจากหน้าต่างการให้สภาพคล่องที่ผ่านมามีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ หน้าต่างรับซื้อพันธบัตรโดยมีข้อสัญญาว่าจะขายคืน (Loan Window) ประการหนึ่ง หน้าต่างรับซื้อพันธบัตรโดยมีข้อสัญญาว่าจะขายคืนเพื่อประโยชน์ในการชำระดุลการหักบัญชี (ตลาดซื้อคืนนอกเวลา) เป็นประการที่สอง และหน้าต่างรับซื้อตั๋วเงินโดยมีข้อสัญญาว่าจะขายคืนเพื่อประโยชน์ในการชำระดุลการหักบัญชีเป็นประการที่สาม โดยเหตุที่หน้าต่างดังกล่าวและอัตราค่าตอบแทน (อัตราดอกเบี้ย)ในหน้าต่างดังกล่าว ไม่สัมพันธ์และไม่สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งส่งผลให้การส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงในนโยบายการเงินไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร จึงสมควรยกเลิกหน้าต่างดังกล่าว และจัดตั้งให้เหลือเพียงหน้าต่างเดียว เรียกว่า "หน้าต่างสภาพคล่องสิ้นวัน"
การจัดตั้งหน้าต่างสภาพคล่องนี้ อยู่ในขอบเขตของภารกิจ ธปท. ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 มาตรา 5 มาตรา 28 และมาตรา 40 และพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 มาตรา 12(10) (10 ทวิ) และ(10 ตรี) ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
1. ให้ยกเลิก
(1) ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินโดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ. 2539 และที่แก้ไข (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542
(2) หนังสือธนาคารแห่งประเทศไทยที่ ธปท.นล.(ว.) 910/2524 ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2524 และ ที่ ธปท.นล.(ว ) 1759/2528 ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2528 เรื่อง การขายพันธบัตรโดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืนเพื่อชดเชยการขาดดุลการหักบัญชี
(3) หนังสือธนาคารแห่งประเทศไทยที่ ธปท.นว.(ว.) 2313/2539 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2539 เรื่อง การซื้อขายตั๋วเงินโดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน
2. ในระเบียบนี้
" ธปท." หมายความว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย
สกงร90-กส64104-25440926
" สถาบันการเงิน" หมายความว่า
(1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(2) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และ
(3) สถาบันการเงินอื่นตามที่ธปท.กำหนด
"พันธบัตร" หมายความว่า ตั๋วเงินคลัง ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธปท.และพันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่ออกโดยองค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจหรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะที่ ธปท. เป็นนายทะเบียนและตัวแทนการจ่ายเงิน ทั้งนี้ตามที่ ธปท. กำหนด
"บัญชีเงินฝากสถาบันการเงิน" หมายความว่า บัญชีเงินฝากกระแสรายวันซึ่งสถาบันการเงินได้เปิดไว้กับ ธปท.
3. ธปท. จะพิจารณารับซื้อพันธบัตรจากสถาบันการเงินโดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้(1) ธปท. จะรับซื้อพันธบัตรในราคารับซื้อตามที่ ธปท. ประกาศกำหนด (2) ธปท. จะคิดค่าตอบแทนในการซื้อขายพันธบัตรจากราคาที่ ธปท. รับซื้อในอัตราที่ ธปท. ประกาศกำหนด (3) ธปท. จะรับซื้อพันธบัตรในแต่ละคราวในราคารับซื้อไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท และไม่มีเศษของล้านบาท
4. ธปท. สงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับซื้อพันธบัตรจากสถาบันการเงินในกรณีที่มีเหตุอันควร
5. สถาบันการเงินที่ประสงค์จะใช้ประโยชน์แห่งระเบียบนี้ ต้องปฏิบัติดังนี้
(1) ทำหนังสือแสดงความตกลงตามแบบที่ธปท.กำหนด
(2) ทำหนังสือ มอบอำนาจให้บุคคลกระทำแทนสถาบันการเงินในการติดต่อกับ ธปท. ทางโทรศัพท์ และลงนามในหนังสือยืนยันการเสนอขายพันธบัตรตามแบบหนังสือมอบอำนาจที่ ธปท. กำหนด
(3) ฝากพันธบัตรที่สถาบันการเงินมีกรรมสิทธิ์และปราศจากภาระผูกพันไว้กับธนาคารตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรรัฐบาลโดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืนหรือขายคืน พ.ศ.2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(4) ยินยอมให้ ธปท. นำเงินเข้าบัญชีและหักเงินจากบัญชีเงินฝากสถาบันการเงิน ตามแบบหนังสือที่ ธปท. กำหนด
สกงร90-กส64104-25440926
6. การแสดงเจตนาขายพันธบัตรแต่ละคราว ให้สถาบันการเงินปฏิบัติดังนี้
(1) แจ้งความประสงค์และเหตุผลความจำเป็นทางโทรศัพท์ในวันที่เสนอขาย
(2) ส่งหนังสือยืนยันการเสนอขายพันธบัตรตามแบบที่ ธปท. กำหนดในวันทำการถัดไป
(3) เสนอขายพันธบัตรตามเงื่อนไขที่กำหนดในข้อ 3
(4) ยินยอมให้ ธปท. เป็นผู้จัดสรรพันธบัตรที่สถาบันการเงินฝากไว้
(5) ซื้อคืนพันธบัตรในราคาซื้อคืนซึ่งเท่ากับผลรวมของราคาที่ ธปท. รับซื้อไว้กับค่าตอบแทนตามอัตราที่ ธปท. ประกาศกำหนดตามข้อ 3(2)
(6) ซื้อคืนพันธบัตรในวันทำการถัดไป การดำเนินการดังกล่าวข้างต้นให้เป็นไปตามตารางเวลาที่ ธปท. ประกาศกำหนด โดย ธปท. จะหักเงินจากบัญชีเงินฝาก ของสถาบันการเงินผู้ซื้อคืนทันทีเมื่อมีการแสดงเจตนา
7. ธปท. จะรับโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรและนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากสถาบันการเงินในวันที่รับซื้อ และโอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรที่รับซื้อไว้คืนพร้อมทั้งหักเงินจากบัญชีเงินฝากสถาบันการเงินในวันที่กำหนดให้ชำระราคาซื้อคืน
8. สถาบันการเงินที่ซื้อคืนพันธบัตรภายในกำหนด ให้มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยพันธบัตรสำหรับระยะเวลาที่ขายพันธบัตรนั้น
9. ในกรณีที่เงินในบัญชีเงินฝากสถาบันการเงินมีไม่พอให้หักเพื่อชำระราคาซื้อคืนภายในเวลาที่กำหนดให้ถือว่าไม่มีการซื้อคืน
10. กรณีที่สถาบันการเงินไม่ซื้อคืนพันธบัตรภายในกำหนดตามข้อ 6(6) และ ข้อ 9 ธปท.จะยึดพันธบัตรหลักประกันและดำเนินการ ดังนี้
(1) คำนวณมูลค่าพันธบัตรหลักประกันตามเกณฑ์ที่ ธปท. ประกาศกำหนด
(2) นำเงินเข้าหรือหักเงินจากบัญชีเงินฝากสถาบันการเงิน ในกรณีที่มีส่วนต่างระหว่างมูลค่าซื้อคืนและมูลค่าพันธบัตรหลักประกันที่คำนวณได้ตามข้อ 10(1)
11 ในการดำเนินการตามข้อ 10 ธปท. อาจเรียกค่าปรับจากสถาบันการเงินด้วยในกรณีที่เห็นสมควร ทั้งนี้ ค่าปรับดังกล่าว ธปท. จะเรียกได้ไม่เกินจำนวนที่ ธปท. ประกาศกำหนด
12. ธปท. อาจพิจารณาไม่รับซื้อพันธบัตรตามระเบียบนี้จากสถาบันการเงิน เป็นการชั่วคราวหรือถาวร ในกรณีที่สถาบันการเงินไม่ปฎิบัติตามระเบียบนี้หรือระเบียบอื่นใดของ ธปท.
สกงร90-กส64104-25440926และ/หรือดำเนินการใดๆในทิศทางที่ไม่สอดคล้องและ/หรือส่งผลในทางลบต่อแนวทางของทางการในการดำเนินนโยบายการเงิน นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน และ/หรือการสร้างเสถียรภาพในระบบการเงิน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไปประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน 2544
(ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
สกงร90-กส64104-25440926
หนังสือแสดงความตกลง
...............................................
วันที่.......................................
ข้าพเจ้า...................................................ได้ทราบและเข้าใจข้อความตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวัน โดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ.2544 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2544 โดยละเอียดตลอดแล้ว
ข้าพเจ้ามีความประสงค์จะรับประโยชน์จากระเบียบฉบับดังกล่าว จึงตกลงผูกพันตนและยินยอมรับปฏิบัติตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ.2544 ทั้งที่มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนี้และที่จะแก้ไขเพิ่มเติมต่อไปในภายหน้าทุกฉบับ และผูกพันตนแล้วดังกล่าวข้างต้นทุกประการ
ข้าพเจ้าขอให้คำมั่นสัญญาต่อธนาคารแห่งประเทศไทยว่าจะไม่เพิกถอนความตกลงตามหนังสือนี้ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นหนังสือ
(...................................................)
ผู้มีอำนาจลงนาม
เพื่อ.....................................
สกงร90-กส64104-2544026
อากรแสตมป์
หนังสือมอบอำนาจ
.....................................................
วันที่.............................................
ตามหนังสือแสดงความตกลงของ.................................................ลงวันที่.....................................ซึ่งได้ตกลงผูกพันตนและยินยอมรับปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ.2544 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2544 ทั้งที่มีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนี้และที่จะแก้ไขเพิ่มเติมต่อไปในภายหน้าทุกฉบับ นั้น
ในการขายพันธบัตรกับธนาคารแห่งประเทศไทยตามนัยที่กล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าขอมอบอำนาจให้บุคคลตามรายชื่อและลายมือชื่อท้ายหนังสือนี้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ (1) ติดต่อกับธนาคารแห่งประเทศไทยทางโทรศัพท์ในนามของข้าพเจ้า เพื่อการเสนอขายและเพื่อรับแจ้งจากธนาคารแห่งประเทศไทย และ (2) เป็นผู้ลงลายมือชื่อในหนังสือยืนยันการขายพันธบัตรในนามของข้าพเจ้าตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจะได้แจ้งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นล่วงหน้า
(...................................................)ผู้มีอำนาจลงนาม
เพื่อ............................................
รายชื่อผู้รับมอบอำนาจ ลายมือชื่อ1................................... .................................2................................... .................................3.................................. .................................
สกงร90-กส64104-25440926
หนังสือยืนยันการขายพันธบัตรโดยมีข้อสัญญาว่าจะซื้อคืน
..................................................
วันที่..........................................เรียน ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารความเสี่ยงและธุรการบริหารเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ / เรื่อง การยืนยันการซื้อขายพันธบัตร
ตามที่ข้าพเจ้า................................................โดย................................................ได้โทรศัพท์เมื่อวันที่..................................เสนอขายพันธบัตรตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ.2544 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นราคาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรับซื้อไว้เป็นจำนวนเงิน......................บาท (.............................................................) และเสนอซื้อคืนพันธบัตรดังกล่าวในราคาที่เท่ากับผลรวมของราคาที่เสนอขายกับจำนวนค่าตอบแทนที่เท่ากับร้อยละ.......... ต่อปี ของราคาที่เสนอขายโดยจะขอซื้อคืนในกำหนดประเภท 1 วัน และข้าพเจ้าได้รับแจ้งจากธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว นั้น
ข้าพเจ้าขอยืนยันการซื้อขายดังกล่าวข้างต้น และขอรับรองว่าจะปฏิบัติตามระเบียบฉบับดังกล่าวทุกประการ
ขอแสดงความนับถือ
(..................................................)
ผู้รับมอบอำนาจ
เพื่อ…………………………..
สกงร90-กส64104-25440926
หนังสือแสดงความยินยอมให้นำเงินเข้าและหักเงินจากบัญชี
......................................................
วันที่.............................................เรื่อง ยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยนำเงินเข้าบัญชีและหักเงินจากบัญชีเงินฝากเรียน ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารความเสี่ยงและธุรการบริหารเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
เพื่อประโยชน์แห่งการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงิน ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ. 2544 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2544 ข้าพเจ้า...............................ขอแสดงความยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทยกระทำการดังต่อไปนี้
1. นำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของข้าพเจ้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อรับชำระราคาพันธบัตรที่ขาย
2. หักเงินจากบัญชีเงินฝากของข้าพเจ้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อชำระราคาพันธบัตรที่ซื้อคืน
3. หักเงินหรือนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของข้าพเจ้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อชำระหรือรับชำระส่วนต่างระหว่างมูลค่าพันธบัตรที่ยึดกับราคาซื้อคืนในกรณีที่สถาบันการเงินผิดสัญญาไม่ซื้อคืน
ข้าพเจ้า............................................ขอให้คำมั่นสัญญาต่อธนาคารแห่งประเทศไทยว่าจะไม่เพิกถอนความยินยอมตามหนังสือนี้ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นลายลักษณ์อักษร
ขอแสดงความนับถือ
(..................................................)
ผู้มีอำนาจลงนาม
เพื่อ………………………………..
สกงร90-กส64104-25440926
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
เรื่อง สถาบันการเงินอื่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะรับซื้อพันธบัตร
เพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน---------------------------------------------------เพื่ออนุวัติตามข้อ 2(3) แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ.2544 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะรับซื้อพันธบัตรจากสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะดังนี้
(1) ธนาคารออมสิน
(2) ธนาคารอาคารสงเคราะห์(3) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(4) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
(5) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(6) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
(7) บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
(8) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไปประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน 2544
(ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล)
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
สกงป90-กส64101-25440926
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง ราคาพันธบัตรที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะรับซื้อในการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน----------------------------------------
เพื่ออนุวัติตามข้อ 3(1) แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ. 2544 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะรับซื้อพันธบัตรในราคาร้อยละ 90 ของราคาตรา ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไปประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน 2544
(ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
สกงป90-กส64102-25440926
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง ยกเลิกอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน---------------------------------------------เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งสัญญาณของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และเพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะการทำธุรกรรมการให้ความอนุเคราะห์ทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ. 2544 ธนาคารแห่งประเทศไทยขอยกเลิกการกำหนด "อัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน" และเปลี่ยนมาใช้ "อัตราค่าตอบแทน" ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดตามระเบียบดังกล่าวแทนทั้งนี้ หากระเบียบ ประกาศ หนังสือเวียน สัญญา ข้อตกลง หรือข้อกำหนด หรือ เงื่อนไขอื่นใด ของหน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐและเอกชน ได้อ้างอิงถึงอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานให้ถือว่าอัตราค่าตอบแทนในการซื้อขายพันธบัตรตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ.2544 มีค่าเทียบเท่า และสามารถอ้างอิงทดแทนอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานได้โดยสมบูรณ์ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไปประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน 2544
(ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล)
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
สกงป90-กส64103-25440926
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง อัตราค่าตอบแทนในการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงิน
เพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน---------------------------------------------เพื่ออนุวัติตามข้อ 3(2) แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ. 2544 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะคิดค่าตอบแทนในการซื้อขายพันธบัตรตามระเบียบดังกล่าวในอัตราดอกเบี้ยนโยบาย บวกร้อยละ 1.5 ต่อปีโดยที่ในปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยนโยบายเท่ากับร้อยละ 2.5 ต่อปี ค่าตอบแทนในการซื้อขายพันธบัตรจึงเท่ากับร้อยละ 4.0 ต่อปีทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน 2544
(ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล)
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
สกงป90-กส64104-25440926
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง กำหนดเวลาการดำเนินการของสถาบันการเงินในการซื้อขายพันธบัตรเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน--------------------------------------------เพื่ออนุวัติตามข้อ 6. แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวัน โดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ. 2544 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดเวลาการปฏิบัติงานในการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินตามระเบียบดังกล่าว ดังต่อไปนี้
การดำเนินการของสถาบันการเงิน เวลาแจ้งความประสงค์ขอขายพันธบัตร ระหว่างเวลา17.00-17.30 น. ของวันที่เสนอขาย เว้นแต่ ธปท.เห็นว่ามีเหตุอันควรที่จะต้องเลื่อนเวลาดังกล่าวออกไปส่งหนังสือยืนยันการเสนอขายพันธบัตร ภายในเวลา 10.30 น.ของวันทำการถัดจากวันที่ขายพันธบัตรซื้อคืนพันธบัตร ภายในเวลา 12.00 น.ของวันทำการถัดจากวันที่ขายพันธบัตร
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน 2544
(ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
สกงป90-กส64105-25440926
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง การคำนวณมูลค่าพันธบัตรหลักประกันกรณีสถาบันการเงินไม่ซื้อคืนพันธบัตร------------------------------------------------------------เพื่ออนุวัติตามข้อ 10(1) แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ. 2544 ธนาคารแห่งประเทศไทยจะคำนวณมูลค่าหลักประกันกรณีสถาบันการเงินไม่ซื้อคืนพันธบัตรตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ประเภทหลักทรัพย์ มูลค่าหลักประกันตามราคาตลาด1/ณ สิ้นวันที่ธปท.รับซื้อพันธบัตรโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน1. พันธบัตรรัฐบาลและพันธบัตรธปท. ร้อยละ 98.5 ของราคาตลาด2. พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 97.0 ของราคาตลาด3. ตั๋วเงินคลังและตั๋วสัญญาใช้เงิน เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ร้อยละ 99.5 ของราคาตลาด1/ ราคาตลาดที่เผยแพร่โดย TBDC คำนวณตามสูตรการคำนวณราคาพันธบัตรที่ประกาศโดยธปทโดยใช้อัตราผลตอบแทน ณ สิ้นวันที่ธปท.รับซื้อฯสำหรับการส่งมอบในวันที่ ธปท. ดำเนินการยึดหลักประกัน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไปประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน 2544
(ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
สกงป90-กส64106-25440926
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง การเรียกค่าปรับกรณีสถาบันการเงินไม่ซื้อคืนพันธบัตร-------------------------------------เพื่ออนุวัติตามข้อ 11. แห่งระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินเพื่อปรับสภาพคล่องสิ้นวันโดยมีข้อสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืน พ.ศ. 2544 ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเรียกค่าปรับจากสถาบันการเงินที่ไม่ซื้อคืนพันธบัตรในจำนวนเงินไม่เกิน 50,000.00 บาททั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไปประกาศ ณ วันที่ 25 กันยายน 2544
(ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
สกงป90-กส64107-25440926