การประกาศรายการและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์

ข่าวกฏหมายและประกาศ Tuesday September 26, 2000 14:19 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                                                    26 กันยายน 2543
เรียน ผู้จัดการ
บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ทุกบริษัท
ที่ สนส.(02) ว.994/2543 เรื่อง นำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การประกาศรายการและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยว
กับบริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขอนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การประกาศรายการและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยว
กับบริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ออกตามความในมาตรา 23 วรรคสอง และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติ
การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 และได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป
เล่ม 117 ตอนพิเศษ 97 ง ลงวันที่ 25 กันยายน 2543 สาระสำคัญของประกาศฉบับนี้คือ
1. ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การประกาศรายการและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุน
หลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2543
2. ให้แยกแสดงเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกันออกจากเงินให้กู้ยืมแก่กิจการหรือบุคคงที่เกี่ยวข้องกัน ในรายการ
ส่วนท้ายตามแบบที่กำหนด
เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณชน ธปท.จึงใคร่ขอความร่วมมือจากบริษัทท่านให้ประกาศรายการย่อแสดง
หนี้สินและสินทรัพย์ซึ่งต้องเปิดเผย ณ สำนักงานทุกแห่งภายในวันที่ 21 ของเดือนถัดจากเดือนที่ต้องรายงานนั้นไว้ใน Homepage ของบริษัท
ท่านด้วย และให้จัดส่งรายการย่อแสดงหนี้สินและสินทรัพย์ตามรูปแบบแฟ้มข้อมูล Excel ในแผ่น Diskette ที่ ธปท. กำหนดโดยให้จัดส่ง
พร้อมแบบรายงานที่ส่วนข้อมูลสถาบันการเงิน ฝ่ายประสานงานและจัดเก็บข้อมูล สายฐานข้อมูลธปท. ภายในวันที่ 21 ของเดือนถัดจากเดือน
ที่ต้องรายงานเช่นเดียวกัน
จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติ
ขอแสดงความนับถือ
(นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค)
ผู้อำนวยการ สายนโยบายสถาบันการเงิน
ผู้ว่าการ แทน
สิ่งที่ส่งมาด้วย ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การประกาศรายการและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุน
หลักทรัพย์ และ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
ฝ่ายโครงการพิเศษและการวิเคราะห์โทร.283-6939,283-5894 และ 283-5855
หมายเหตุ [
] ธนาคารจะจัดให้มีการประชุมชี้แจง................ณ.................
[x
] ไม่มีการจัดประชุมชี้แจง
สนสว30-กส25115-25430926ด
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
เรื่อง การประกาศรายการและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเงินทุน
บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
_________________________________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 23 วรรคสอง และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์
และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกำหนดดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทสไทย เรื่อง การประกาศรายการและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทเงินทุน บริษัท
เงินทุนหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2543
ข้อ 2. ในประกาศนี้ คำว่า "บริษัท" หมายความว่า บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
ข้อ 3. ให้บริษัทปิดประกาศรายการต่อไปนี้ไว้ในที่เปิดเผยในสำนักงานทุกแห่งของบริษัทที่ใช้ติดต่อกับประชาชน
(1) ใบอนุญาตหรือสำเนาใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุน หรือธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ แล้วแต่กรณี
(2) หนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วน บริษัทกระทรวงพาณิชย์ที่แสดงรายชื่อกรรมการผู้มีอำนาจ
ลงนามผูกพันบริษัท ทุนจดทะเบียนและที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทรวมทั้งสาขา (ถาม) ที่เป็นปัจจุบัน
(3) รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่สิบลำดับแรกเรียงตามลำดับ ทั้งนี้ ตามหลักฐานที่ปรากฏในทะเบียนผู้ถือหุ้นของ
บริษัท พร้อมทั้งแสดงอัตราร้อยละของจำนวนหุ้นทีจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดผู้ถือหุ้นแต่ละรายถืออยู่ ณ วันที่บริษัทอ้างถึง
(4) ชื่อผู้สอบบัญชีซึ่งได้รับแต่งตั้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี และได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่ง
ประเทศไทยแล้ว พร้อมทั้งชื่อและสถานที่ตั้งสำนักงานของผู้สอบบัญชี
(5) ตัวอย่างตัวสัญญาใช้เงินของบริษัทและวันที่เริ่มใช้พร้อมทั้งระบุชื่อ โรงพิมพ์ที่พิมพ์ตัวสัญญาใช้เงินดังกล่าว
(6) ตัวอย่างตราของบริษัที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจดทะเบียนไว้กับสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กระทรวงพาณิชย์
(7) รายการย่อแสดงหนี้สินและสินทรัพย์ ณ วันสิ้นเดือนของทุกเดือน ตามแบบ บ.ง.1.2 บ.ง.ล.1.2
หรือ บ.ค.1.2 ที่แนบท้ายประกาศนี้ แล้วแต่กรณี โดยให้บริษัทปิดประกาศภายในวันที่ยี่สิบเอ็ดของเดือนถัดไป และให้บริษัทประกาศรายการย่อ
แสดงหนี้สินและสินทรัพย์ ณ วันที่สิ้นเดือนสุดท้ายของไตรมาส คือ เดือนมกราคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม ในหนังสือพิมพ์รายวัน
อย่างน้อย 1 ฉบับ ภายในวันที่ยี่สิบเอ็ดของเดือนถัดไป
ข้อ 4. ให้บริษัทจัดให้มีเอกสารที่แสดงข้อมูลดังต่อไปนี้ไว้ในที่เปิดเผยตลอดเวลาทำการภายในสำนักงานทุกแห่งของบริษัทให้ประชาชน
สามารถตรวจดูได้โดยสะดวก ทั้งนี้ อาจจัดเตรียมไว้เป็นแฟ้มก็ได้
(1) งบการเงินและรายงานของผู้สอบบัญชี พร้อมหมายเหตุประกอบงบการเงินของงวดการบัญชีหลังสุด
(2) รายชื่อกรรมการและพนักงานผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัททุกคน พร้อมทั้งตัวอย่างลายมือชื่อที่ใช้อยู่เป็นปกติ
ของบุคคลดังกล่าวทุกภาาา ตลอดจนขอบเขตและอำนาจในการลงนามแทนบริษัท
ข้อ 5. รายการและข้อมูลตามข้อ 3 และข้อ 4 บริษัทจะต้องประกาศหรือเปิดเผยให้ครบถ้วนและตรงต่อความเป็นจริง
ข้อ 6. ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวำยรายการหรือข้อมูลตลอดจนรายละเอียดที่ประกาศหรือเปิดเผยไว้ตามข้อ 3 หรือข้อ 4
ดังกล่าวข้างต้นให้บริษัทแก้ไขประกาศหรือข้อมูลนั้นให้ถูกต้องครบถ้วนโดยพลัน เว้นแต่รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ตามข้อ 3(3) จะ
ปรับปรุงเฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญก็ได้
ข้อ 7. ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่รายงาน ณ วันสิ้นเดือนกันยายน 2543 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 12 กันยายน 2543
(ม.ร.ว.จตุมงคล โสณกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
บริษัทเงินทุน.......................
รายการย่อแสดงหนี้สินและสินทรัพย์
ณ วันที่................
สินทรัพย์ บาท หนี้สิน บาท
เงินสดและเงินฝาก ............ เงินกู้ยืมและเงินฝาก .........
เงินให้กู้ยืมแก่สถาบันการเงิน ............ หลักทรัพย์ขายโดยมีสัญญาจะซื้อคือน .........
หลักทรัพย์ซื้อโดยมีสัญญาจะขายคืน ............ ภาระของบริษัทจากการรับรอง .........
เงินลงทุนในหลักทรัพย์สุทธิ ............ ภาระจากการขายลูกหนี้ตัวเงิน .........
(มีภาระผูกพัน............บาท) หุ้นกู้หรือตราสารหนี้อื่น .........
เงินให้กู้ยืมและลูกหนี้ธุรกิจเงินทุน ............ หนี้สินอื่น .........
ทรัพย์สินรอการขาย ............ รวมหนี้สิน .........
ภาระของลูกค้าจากการรับรอง ............
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์สุทธิ ............ ส่วนของผู้ถือหุ้นสินทรัพย์อื่น
สินทรัพย์อื่น ............
ทุนชำระแล้ว
(ทุนจดทะเบียน...........บาท) ........
สำรองและกำไรสุทธิคงเหลือหลังจากการจัดสรร ........
สำรองอื่นและบัญชีกำไรขาดทุน ........
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น ........
รวมสินทรัพย์ ........... รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น ........
บาท
Non-Performing Loans ................
(ร้อยละ........ของเงินให้กู้ยือและลูกหนี้ร่วมก่อนหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ)
เงินให้กู้ยืมแก่บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ................
เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกัน ................
เงินกองทุนตามกฎหมาย ................
หนี้สินและสินทรัพย์ที่เปลี่ยแปลงในเดือนนี้ ซึ่งเป็นผลจากมีค่าปรับ
การกระทำผิด พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และ
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา............ ................
ภาระผูกพันทั้งสิ้น
การรับอาสาตัวเงินและการค้ำประกันการกู้ยืมเงิน ................
ภาระผูกพันอื่น ................
.................... ......................
(..................) (....................)
.................... ......................
คำอธิบายการจัดทำรายการย่อแสดงหนี้สินและสินทรัพย์
(บ.ง. 1.2)
ก.ข้อความทั่วไป
1. ให้บริษัทเงินทุนจัดทำรายการย่อแสดงหนี้สินและสินทรัพย์ ณ วันสิ้นเดือนตามแบบ บ.ง.1.2 โดยรวมหนี้สินและสินทรัพย์ของทุก
สำนักงานในประเทศ
2. ให้มีผู้ลงนามในรายงานนี้ 2 คน คือ ผู้จัดการบริษัท และสมุห์บัญชี หรือผู้ที่มีตำแหน่งในทำนองเดียวกัน โดยให้มีชื่อและชื่อสกุล
ในเครื่องหมายวงเล็บหร้อมด้วยตำแหน่งใต้ลายมือชื่อ ในกรณีที่ให้ผู้อื่นลงนามแทน ให้ระบุคำว่า "แทน" หน้าตำแหน่งนั้น ๆ ด้วย
3. ให้ยืนรายงานมีจำนวน 2 ชุด ต่อฝ่ายประสานงานและจัดเก็บข้อมูล สายฐานข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในวันที่ 21
ของเดือนถัดไป พร้อมทั้งปิดไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานทุกแห่ง และเฉพาะรายงานทุกสินไตรมาสให้ลงประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันอย่าง
น้อย 1 ฉบับ ภายในวันที่ 21 ของเดือนถัดไปด้วย
4. หากมีข้อสงสัยประการใดเกี่ยวกับรายงานนี้ โปรดติดต่อสอบถามที่ฝ่ายโครงการพิเศษและการวิเคราะห์ สายนโยบายสถาบัน
การเงิน ธนาคารแห่งประเทสไทย โทร.283-6938 และ 283-6939
ข.ความหมายของรายการ
1. รายการหนี้สินและสินทรัพย์ ในรายงานนี้ ให้ใช้ยอดรวมของรายการประเภทเดียวกันตามความหมายของรายการสินทรัพย์และ
หนี้สินในรายงานฐานะการเงิน (บ.ง.3) เว้นแต่
- เงินลงทุนในหลักทรัพย์สุทธิ หมายถึง รายการที่ 4
- ทุนชำระแล้ว หมายถึง รายการที่ 20.1.1 รายการที่ 20.1.3 และรายการที่ 20.1.5
- สำรองและกำไรสุทธิคงเหลือหลังจากการจัดสรร หมายถึง รายการที่ 20.1.2 รายการที่ 20.1.4 รายการที่ 20.1.6
รายการที่ 20.2 รายการที่ 20.4 รายการที่ 20.5 รายการที่ 20.6 รายการ 20.9 รายการที่ 20.10 และรายการที่ 20.11
- สำรองอื่นและบัญชีกำไรขาดทุน หมายถึง รายการที่ 20.3 รายการที่ 20.7 รายการที่ 20.8 และรายการที่ 20.12
2. Non-Performing Loans หมายถึง ยอดคงค้างเงินให้กู้ยืมและลูกหนี้ค้างชำระเกินกว่า 3 เดือนขึ้นไป ตามความหมายใน
รายงานเงินให้กู้ยืมและลูกหนี้ค้างชำระและเงินให้กู้ยืมและลูกหนี้จัดชั้น แยกตามประเภทธุรกิจ (ตาราง บ.ง.3/1.1)
3. เงินให้กู้ยืมแก่บุคคลหรือกิจการทีเกี่ยวข้องกัน หมายถึง ยอดคงค้างเงินให้กู้ยืมแก่บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ตามความ
หมายที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 47 ซึ่งไม่รวมเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกัน
4. เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกัน หมายถึง ยอดคงค้างเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกันตาม
ความหมายที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 47
5. เงินกองทุนตามกฎหมาย หมายถึง เงินกองทุนตามกฎหมาย ตามความหมายในรายงานเงินกองทุนตามกฎหมาย (ตาราง
บ.ง.3/6) รายการที่ 4 (C)
6. หนี้สินและสินทรัพย์ที่เปลี่ยแปลงในเดือนนี้ ซึ่งเป็นผลจากมีค่าปรับการกระทำผิด พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจ
หลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 หมายถึงจำนวนค่าปรับทั้งสิ้นที่เกิดขึ้นในเดือนนี้ จากการกระทำผิด พ.ร.บ.การประกอบ
ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ทั้งนี้ ให้ระบุมาตราที่กระทำความผิดด้วย
7. การรับอาวัลตัวเงินและการค้ำประกันการกู้ยืมเงิน
7.1 การรับอาวัลตัวเงิน หมายถึง ภาระผูกพันของบริษัทเงินทุนอื่นเกิดจากการรับอาวัลตัวเงินเพื่อลูกค้า
7.2 การค้ำประกันการกู้ยืมเงิน หมายถึง ภาระผูกพันของบริษัทเงินทุนอื่นเกิดจากการค้ำประกันการกู้ยืมเงินเพื่อลูกค้า
8. ภาระผูกพันอื่น หมายถึง การขาย ขายลด หรือขายช่วงลดตัวสัญญาใช้เงินหรือตัวแลกเงินที่บริษัทรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วง
ซื้อลดไว้ แบบผู้ซื้อมีสิทธิไล่เบีย ซึ่งมีธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนรับรองหรือรับอาวัล หรือภาระผูกพันอื่นของบริษัทเงินทุน
บริษัทเงินทุน.......................
รายการย่อแสดงหนี้สินและสินทรัพย์
ณ วันที่................
สินทรัพย์ บาท หนี้สิน บาท
เงินสดและเงินฝาก ............ เงินกู้ยืมและเงินฝาก .........
เงินให้กู้ยืมแก่สถาบันการเงิน ............ หลักทรัพย์ขายโดยมีสัญญาจะซื้อคือน .........
หลักทรัพย์ซื้อโดยมีสัญญาจะขายคืน ............ บัญชีระหว่างบริษัทหลักทรัพย์ .........
เงินลงทุนในหลักทรัพย์สุทธิ ............ เจ้าหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์ .........
(มีภาระผูกพัน...............บาท) ภาระของบริษัทจากการรับรอง .........
บัญชีระหว่างบริษัทหลักทรัพย์ ............ ภาระจากการขายลูกหนี้ตัวเงิน .........
เงินให้กู้ยืมและลูกหนี้ธุรกิจเงินทุน ............ หุ้นกู้หรือตราสารหนี้อื่น .........
ลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์ ............ หนี้สินอื่น .........
ทรัพย์สินรอการขาย ............ รวมหนี้สินภาระของลูกค้าจาการรับรอง .........
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์สุทธิ ส่วนของผู้ถือหุ้น
สินทรัพย์อื่น ............ ทุนชำระแล้ว
(ทุนจดทะเบียน.........บาท) .........
สำรองและกำไรสุทธิคงเหลือหลังจากการจัดสรร .......
สำรองอื่นและบัญชีกำไรขาดทุน .........
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น .........
รวมสินทรัพย์ ........... รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น ........
บาท
Non-Performing Loans ................
(ร้อยละ........ของเงินให้กู้ยือและลูกหนี้ร่วมก่อนหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ)
เงินให้กู้ยืมแก่บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ................
เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกัน ................
เงินกองทุนตามกฎหมาย ................
หนี้สินและสินทรัพย์ที่เปลี่ยแปลงในเดือนนี้ ซึ่งเป็นผลจากมีค่าปรับ
การกระทำผิด พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และ
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา............ ................
ภาระผูกพันทั้งสิ้น
การรับอาสาตัวเงินและการค้ำประกันการกู้ยืมเงิน ................
ภาระผูกพันอื่น ................
.................... ......................
(..................) (....................)
.................... ......................
คำอธิบายการจัดทำรายการย่อแสดงหนี้สินและสินทรัพย์
(บ.ง.ล.1.2)
ก.ข้อความทั่วไป
1. ให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จัดทำรายการย่อแสดงหนี้สินและสินทรัยพ์ ณ วันสิ้นเดือนตามแบบ บ.ง.ล.1.2 โดยรวมหนี้สินและ
สินทรัพย์ของทุกสำนักงานในประเทศ
2. ให้มีผู้ลงนามในรายงานมี 2 คน คือ ผู้จัดการบริษัท และสมุห์บัญชี หรือผู้ที่มีตำแหน่งในทำนองเดียวกัน โดยให้มีชื่อและชื่อสกุล
ในเครื่องหมายวงเล็บ พร้อมด้วยตำแหน่งใต้ลายมือชื่อ ในกรณีที่ให้ผู้อื่นลงนามแทน ให้ระบุคำว่า "แทน" หน้าตำแหน่งนั้น ๆ ด้วย
3. ให้ยืนรายงานนี้จำนวน 2 ชุด ต่อฝ่ายประสานงานและจัดเก็บข้อมูล สายฐานข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในวันที่ 21
ของเดือนถัดไป พร้อมทั้งปิดไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานทุกแห่ง และเฉพาะรายงานทุกสินไตรมาสให้ลงประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันอย่าง
น้อย 1 ฉบับภายในวันที่ 21 ของเดือนถัดไปด้วย
4.หากมีข้อสงสัยประการใดเกี่ยวกับรายงานนี้ โปรดติดต่อสอบถามที่ฝ่ายโครงการพิเศษและการวิเคราะห์ สายนโยบายสถาบัน
การเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย โทร. 283-6938 และ 283-6939
ข. ความหมายของรายการ
1. รายการหนี้สินและสินทรัพย์ ในรายงานนี้ให้ใช้ยอดรวมของรายการประเภทเดียวกัน ตามหมายหมายของรายการสินทรัพย์และ
หนี้สินในรายงานฐานะการเงิน (บ.ง.3) เว้นแต่
- เงินลงทุนในหลักทรัพย์สุทธิ หมายถึงรายการที่ 4
- ทุนชำระแล้ว หมายถึง รายการที่ 20.1.1 รายการที่ 20.1.3 และรายการที่ 20.1.5
- สำรองและกำไรสุทธิคงเหลือหลังจากการจัดสรร หมายถึง รายกที่ที่ 20.1.2 รายการที่ 20.1.4
รายการที่ 20.1.6 รายการที่ 20.2 รายการที่ 20.4 รายการที่ 20.5 รายการที่ 20.6 รายการที่ 20.9 รายการที่ 20.10 รายการที่
20.11
- สำรองอื่นและบัญชีกำไรขาดทุน หมายถึง รายการที่ 20.3 รายการ ที่ 20.7 รายการที่ 20.8 และ
รายการที่ 20.12
2. Non-Performing Loans หมายถึงยอดคงค้างเงินให้กู้ยืมและลูกหนี้ค้างชำระเงินกว่า 3 เดือนขึ้นไป ตามความหายใน
รายงานเงินให้กู้ยืมและลูกหนี้ค้างชำระและเงินให้กู้ยืมและลูกหนี้จัดชั้น แยกตามประเภทธุรกิจ (ตาราง บ.ง.3/1.1)
3. เงินให้กู้ยืมแก่บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน หมายถึงยอดคงค้างเงินให้กู้ยืมแก่บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ตามความหมาย
ที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 47 ซึ่งไม่รวมเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกัน
4. เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกัน หมายถึง ยอดคงค้างเงินให้ กู้ยืมแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกัน
ตามความหมายที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 47
5. เงินกองทุนตามกฎหมาย หมายถึง เงินกองทุนตามกฎหมาย ตามความหมายในรายงานเงินกองทุนตามกฎหมาย (ตาราง
บ.ง.3/6) รายการที่ 4 (C)
6. หนี้สินและสินทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงในเดือนนี้ ซี่งเป็นผลมาจากมีค่าปรับการกระทำผิด พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจ
หลักทรัพย์ และ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 หมายถึงจำนวนค่าปรับทั้งสิ้นที่เกิดขึ้นในเดือนนี้ จากการกระทำผิด พ.ร.บ. การประกอบ
ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ทั้งนี้ ให้ระบุมาตรที่กระทำความผิดด้วย
7. การรับอาวัลตั๋วเงินและการค้ำประกันการกู้ยืมเงิน
7.1 การรับอาวัลตั๋วเงิน หมายถึง ภาระผูกพันของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์อันเกิดจากาการับอาวัลตั๋วเงินเพื่อลูกค้า
7.2 การค้ำประกันการกู้ยืมเงิน หมายถึง ภาระผูกพันของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์อันเกิดจากการค้ำประกันการกู้ยืม
เพื่อลูกค้า
8. ภาระผูกพัน หมายถึง การขาย ขายลด หรือขายช่วงลดตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตั๋วแลกเงินที่บริษัทรับซื้อ ซื้อลด หรือรบช่วงซื้อ
ลดไว้ แบบผู้ซื้อมีสิทธิ์ไล่เบี้ยซึ่งมีธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนรับรองหรือรับอาวัล หรือภาระผูกพันอื่นของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์...........
รายการย่อแสดงหนี้สินและสินทรัพย์
ณ วันที่.................
สินทรัพย์ บาท หนี้สิน บาท
เงินสดและเงินฝากธนาคาร .... เงินกู้ยืม ....
หลักทรัพย์ซื้อโดยมีสัญญาจะขายคืน .... หลักทรัพย์ขายโดยมีสัญญาจะซื้อคืน ....
เงินลงทุนในหลักทรัพย์สุทธิ .... หุ้นกู้ ....
(มีภาระผูกพัน.......บาท) หนี้สินอื่น ....
เงินให้กู้ยืมและลูกหนี้ .... รวมหนี้สิน ....
ทรัพย์สินรอการขาย .... ส่วนของผู้ถือหุ้นที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์สุทธิ ....
ทุนชำระแล้วสินทรัพย์อื่น .... (ทุนจดทะเบียน..........บาท) ....
สำรอง และ กำไรสุทธิคงเหลือหลังจากการจัดสรร ....
สำรองอื่นและบัญชีกำไรขาดทุน ....
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น ....
รวมสินทรัพย์ .... รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น ....
บาท
Non-performing Loans
(ร้อยละ...ของเงินให้กู้ยืมและลูกหนี้รวมก่อนหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ)
เงินให้กู้ยืมแก่บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ....
เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกัน ....
เงินกองทุนตามกฎหมาย ....
หนี้สินและสินทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงในเดือนนี้ ซึ่งเป็นผลจากมีค่าปรับ
การกระทำผิด พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และ
บริษัท เครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา..... ....
............... ...............
(...............) (...............)
............... ...............
คำอธิบายการจัดทำรายการย่อแสดงหนี้สินและสินทรัพย์
(บ.ค.1.2)ก.ข้อความทั่วไป
1. ให้บริษัท เครดิตฟองซิเอร์จัดทำรายการย่อแสดงหนี้สินและสินทรัพย์ ณ วันสิ้นเดือน ตามแบบ บ.ค. 1.2 โดยรวมหนี้สินและ
สินทรัพย์ของทุกสำนักงานในประเทศ
2. ให้มีผู้ลงนามในรายการนี้ 2 คน คือ ผู้จัดการบริษัท และสมุห์บัญชี หรือผู้ที่มีตำแหน่งในทำนองเดียวกัน โดยให้มีชื่อและชื่อสกุล
ในเครื่องหมายวงเล็บ พร้อมด้วยตำแหน่งใต้ลายมือชื่อ ในกรณีที่ให้ผู้อื่นลงนามแทน ให้ระบุคำว่า "แทน" หน้าตำแหน่งนั้น ๆ ด้วย
3. ให้ยื่นรายงานนี้จำนวน 2 ชุดต่อฝ่ายประสานงานและจัดเก็บข้อมูล สายฐานข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในวันที่ 21
ของเดือนถัดไป พร้อมทั้งเปิดเผย ณ สำนักงานทุกแห่งและเฉพาะรายงานทุกสินไตรมาสให้ลงประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อย 1 ฉบับ
ภายในวันที่ 21 ของเดือนถัดไปด้วย
4. หากมีข้อสงสัยประการใดเกี่ยวกับรายงานนี้ โปรดติดต่อสอบถามที่ฝ่ายโครงการพิเศษและการวิเคราะห์ สายนโยบายสถาบัน
การเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย โทร. 283-6938 และ 283-6939
ข. ความหมายของรายการ
1. รายการหนี้สินและสินทรัพย์ ในรายงานนี ให้ใช้ยอดรวมของรายการประเภทเดียวกัน ตามความหมายของรายการสินทรัพย์
และหนี้สินในรายงานฐานะการเงิน (บ.ค.3) เว้นแต่
- เงินลงทุนในหลักทรัพย์สุทธิ หมายถึง รายการที่ 3
- ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์สุทธิ หมายถึง รายการที่ 6
- ทุนชำระแล้ว หมายถึง รายการที่ 12.1.1 และรายการที่ 12.1.2
- สำรองและกำไรสุทธิคงเหลือหลังจากการจัดสรร หมายถึงรายการที่ 12.1.3 รายการที่ 12.1.4 รายการที่ 12.1.6
- สำรองอื่นและบัญชีกำไรขาดทุน หมายถึง รายการที่ 12.2
2. Non-Performing Loans หมายถึง ยอดคงค้างเงินให้กู้ยืมและลูกหนี้ค้างชำระเกินกว่า 3 เดือนขึ้นไป ตามความหมายใน
รายงานเงินให้กู้ยืมและลูกหนี้ค้างชำระและเงินให้กู้ยืมและลูกหนี้จัดชั้น แยกตามประเภทธุรกิจ (ตาราง บ.ค. 3/1.1)
3. เงินให้กู้ยืมแก่บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน หมายถึง ยอดคงค้างเงินให้กู้ยืมแก่บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ตามความ
หมายที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 47 ซึ่งไม่รวมเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกัน
4. เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกัน หมายถึง ยอดคงค้างเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกัน
ตามความหมายที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 47
5. เงินกองทุนตามกฎหมาย หมายถึง เงินกองทุน ตามความหมายในรายงานแสดงการดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับ
สินทรัพย์เสียง (บ.ค. 3.1 )รายการที่ 5
6. หนี้สินและสินทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงในเดือนนี้ ซึ่งเป็นผลจากมีค่าปรับการกระทำผิด พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจ
หลักทรัพย์ และ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 หมายถึงจำนวนค่าปรับทั้งสินที่เกิดขึ้นในเดือนนี้ จากการกระทำผิด พ.ร.บ. การประกอบ
ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ทั้งนี้ ให้ระบุมาตรที่กระทำผิดด้วย
-นช-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ