การปฏิบัติเกี่ยวกับการับและจ่ายเงิน การตรวจสอบและควบคุมภายในของบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์

ข่าวกฏหมายและประกาศ Monday October 2, 2000 12:54 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                                                                                2 ตุลาคม 2543
เรียน ผู้จัดการ
บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ทุกบริษัท
ที่ สนส.(02) ว.995/2543 เรื่อง การนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับการับและจ่ายเงิน การตรวจสอบและควบคุมภายในของบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีประกาศเรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงิน การตรวจสอบและควบคุมภายในของบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ลงวันที่ 14 กันยายน 2537 และประกาศเรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงิน การตรวจสอบและควบคุมภายใจของบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ทราบและถือปฏิบัติ นั้น
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงปรับปรุงแก้ไขประกาศข้างต้น โดยขอความร่วมมือจากสมาคมบริษัทเงินทุนและสมาคมการค้าผู้ประกอบกิจการ เครดิตฟองซิเอร์ สำรวจความคิดเห็นจากสมาชิกมาประกอบการพิจารณา เพื่อให้การปรับปรุงแก้ไขเป็นประโยชน์ทั้งในด้านการควบคุมและบริหารความเสี่ยง และมีความคล่องตัวในทางปฏิบัติ จึงได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง จากปฏิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงิน การตรวจสอบและควบคุมภายในของบริษัททุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2543 ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 117 ตอนพิเศษ 96 ง วันที่ 20 กันยายน 2543 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2543 โดยส่วนที่ได้แก้ไขหรือเพิ่มเติมได้แสดงด้วยอักษรตัวเอน
อนึ่ง ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือ ที่ ธปท. งฟ. (ว) 849/2539 เรื่องการกำหนดให้ผู้สอบบัญชีจัดทำรายงานให้ธนาคารเป็นกรณีพิเศษ ลงวันที่ 29 มีนาคม 2539 ถึง บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ทุกบริษัท กำหนดให้บริษัทดำเนินการให้ผู้สอบบัญชีของบริษัทปฏิบัติงานเพิ่มเติม โดยให้ตรวจสอบการปฏิบัติประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงิน การตรวจสอบและควบคุมภายในของบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ลงวันที่ 14 กันยายน 2537 และให้รายงานพร้อมกับงบการเงินทุกงวดครึ่งปี และประจำปีบัญชี ในประเด็นต่อไปนี้
1) ระบบการควบคุมภายในตามระเบียบพิธีปฏิบัติดังกล่าวแต่ละเรื่องมีความเหมาะสมหรือไม่ ควรมีการแก้ไขปรับปรุงอย่างไร
2) บริษัทมีการดำเนินการตามระเบียบพิธีปฏิบัติดังกล่าวทุกเรื่องหรือไม่ มีการละเว้นอย่างไร
ธนาคารแห่งประเทศไทย ยังคงให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ดำเนินการให้ผู้สอบบัญชีของบริษัทปฏิบัติงานเพิ่มเติมดังกล่าวตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยฉบับที่ออกในครั้งนี้แทน
จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติ
ขอแสดงความนับถือ
(นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค)
ผู้อำนวยการ สายนโยบายสถาบันการเงิน
แทน
ผู้ว่าการ
สิ่งที่ส่งมาด้วย ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการปฏิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินการตรวจสอบและควบคุมภายใจของบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2543
ฝ่ายโครงการพิเศษและการวิเคราะห์โทร. 283-6829
หมายเหตุ* [
] ธนาคารแห่งประเทศไทยจะจัดให้มีการประชุมชี้แจงในวันที่.......ณ......
[x
] ไม่มีการจัดประชุมชี้แจง
สนสว30-กส21503-25431002ด
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงิน การตรวจสอบและควบคุมภายใน
ของบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
______________________________________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 ตร และมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติมธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงิน การตรวจสอบและควบคุมภายใน เพื่อให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ถือปฏิบัติดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงิน การตรวจสอบและควบคุมภายในของบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ลงวันที่ 14 กันยายน 2537 และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงิน การตรวจสอบและควบคุมภายใจของบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2538 ลงวันที่ 14 กันยายน 2538
ข้อ 2 ในประกาศนี
"การให้กู้ยืมเงิน" หมายความรวมถึง รับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงิน ตราสารเปลี่ยนมืออื่น หรือตราสารการเครดิต
"บริษัท" หมายถึง บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
ข้อ 3 ให้บริษัทมีข้อกำหนดการปฏิบัติในเรื่อง การรับเงินและการจ่ายเงิน อย่างน้อยดังนี้
3.1 การรับเงินเป็นเช็ค หรือจ่ายเงินเป็นเช็ค ให้จัดทำทะเบียนบันทึกการรับจ่ายให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ โดยแสดงรายละเอียด เลขที่เช็ค ชื่อลูกค้าของบริษัทหรือผู้สั่งจ่ายหรือผู้รับเงิน วันออกเช็ค ธนาคาร สาขา และจำนวนเงิน ทั้งนี้ ในการรับเงินเป็นเช็คอาจใช้สำเนาใบเสร็จรับเช็ค หรือใบส่งเช็คเข้าฝากธนาคารพาณิชย์แทนทะเบียนก็ได้ และกรณีลูกค้านำเช็คฝากเข้าบัญชีเงินฝากของบริษัท อาจใช้สำเนาใบนำฝากเป็นทะเบียนก็ได้
3.2 การจ่ายเงินในการให้กู้ยืมเงิน และการลงทุนในหลักทรัพย์ ให้จ่ายแก่ผู้กู้ยืม หรือผู้ที่มีธุรกรรมดังกล่าวข้างต้นกับบริษัทเท่านั้น และจ่ายเป็นเช็คขีดคร่อมเข้าบัญชีผู้รับเงิน (Account Payee Only) หรือโอนเงินเข้าบัญชีผู้รับเงินโดยผ่านบริการบาทเน็ตของธนาคารแห่งประเทศไทย เว้นแต่กรณีบริษัทและผู้กู้ยืมเงินหรือผู้ที่มีธุรกรรมดังกล่าวข้างต้นกับบริษัทมีสัญญา ตกลงร่วมกันในการจ่ายเงินเป็นเช็ค และการโอนเงินเข้าบัญชีผู้รับเงินเป็นอย่างอื่น ก็สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นได้
3.3 การจ่ายเงินในกรณีอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวใน 3.2 ในจำนวจเกินกว่าที่บริษัทกำหนดต้องจ่ายเป็นเช็คขีดคร่อม หรือโอนเงินเข้าบัญชีผู้รับเงิน โดยผ่านบริการบาทเน็ตของธนาคารแห่งประเทศไทย เว้นแต่กรณีมีสัญญาตกลงร่วมกันในการจ่ายเงินเป็นเช็ค และการโอนเงินเข้าบัญชีผู้รับเงินเป็นอย่างอื่น ก็สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นได้
3.4 การจ่ายเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือบัตรเงินฝาก หรือตราสารอื่นของบริษัทให้ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ การจ่ายเงินดังกล่าวข้างต้นต้องได้รับการอนุมัติจากผู้มีอำนาจตามที่กำหนดในระเบียนของบริษัทในแต่ละกรณีก่อน
ข้อ 4 ให้บริษัทกำหนดเกี่ยวกับ นโยบาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ ในการให้กู้ยืมเงินการก่อภาระผูกพัน การลงทุนในหลักทรัพย์ และการขายสินทรัพย์ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของบริษัทเอง ข้อกำหนดดังกล่าวควรประกองด้วย การมอบหมายอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบให้ชัดเจน และกระบวนการบริหารความเสี่ยง อย่างน้อยดังนี้
4.1 การให้กู้ยืมเงิน และการก่อภาระผูกพัน
(1) ต้องมีนโยบายการให้กู้ยืม และก่อภาระผูกพัน ซึ่งอย่างน้อยควรกำหนดในเรื่อง ประเภท และสัดส่วนวงเงินการให้กู้ยืมโดยรวม และการก่อภาระผูกพัน โดยรวม แก่ภาคเศรษฐกิจต่างๆ หรือประเภทธุรกิจที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจนั้นๆ โดยพิจารณาความเพียงพอของเงินกองทุน วิธีการบริหารความเสี่ยง และผู้ที่รับผิดชอบ เพื่อแสดงถึงความพร้อมของบริษัท รวมทั้งไม่ให้เกิดการกระจุกตัวของการให้กู้ยืมเงิน และการก่อภาระผูกพัน
(2) ให้กำหนดผู้รับผิดชอบงานความเสี่ยงทางเครดิตแยกจากบุคคลอื่น โดยรับผิดชอบการพิจารณาการให้กู้ยืมเงิน และการก่อภาระผูกพัน ก่อนนำเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติหลัเกณฑ์การพิจารณา อย่างน้อยจะต้องมีข้อกำหนดในเรื่องความเสี่ยงในการชำระหนี้คืนตามกำหนดเวลา ตามลักษณะหรือประเภทการให้กู้ยืมเงิน หลักประกันหรือผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี) เงื่อนไขและหลักเกณฑ์การคิดดอกเบี้ย
(3) ให้กำหนดผู้มีอำนาจอนุมัติการให้กู้ยืมเงิน และการก่อภาระผูกพัน ในแต่ละระดับให้เหมาะสม โดยอาจแยกอำนาจการอนุมัติตามตำแหน่งและอำนาจอนุมัติชของคณะกรรมการสินเชื่อ ผู้มีอำนาจตามข้อนี้จะต้องมิใช้บุคคล หรือคณะบุคคลตาม (2) ยกเว้นกรณีลูกค้ารายย่อยหรือวงเงินต่ำ
(4) ให้กำหนดผู้รับผิดชอบหรือผู้ตรวจสอบความถูกต้องปฏิบัติภายหลังการอนุมัติการให้กู้ยืมเงิน และการก่อภาระผูกพัน เช่น ตรวนสอบการอนุมัติจากผู้มีอำนาจตาม (3) ตรวจสอบการปฏิบัติตามเงื่อนไขในการอนุมัติสินเชื่อ การก่อภาระผูกพัน ตรวจสอบการทำสัญญา การจำนำ จำนอง การค้ำประกัน รวมทั้งผู้รับผิดชอบความถูกต้องสมบูรณ์ ในการจ่ายเงิน หรือก่อภาระผูกพัน ผู้รับผิดชอบหรือผู้ตรวจอบตามข้อนี้จะต้องมิใช่บุคคล หรือคณะบุคคลตาม (2) และ (3)
(5) ให้กำหนดผู้รับผิดชอบในการรายงานข้อมูลการให้กู้ยืมเงิน และการก่อภาระผูกพัน ต่อคณะกรรมกมาบริษัทเป็นประจำ ซึ่งอาจรายงานข้อมูลโดยรวมเป็นอย่างน้อย
(6) ให้กำหนดผู้รับผิดชอบตรวจสอบการให้กู้ยืมเงิน และการก่อภาระผูกพัน ตาม (1) (2) และ (3) เป็นประจำ หน่วยงานหรือผู้ตรวจสอบดังกล่าวจะต้องมิใช่บุคคล หรือคณะบุคคลตาม (2) (3) และ (4) และการรายงานผลการตรวจสอบให้กระทำโดยตรงต่อคณะกรรมการบริษัท
4.2 การลงทุนในหลักทรัพย์
กำหนดนโยบาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ การซื้อและขาย หรือลงทุนในหลักทรัพย์ โดยอย่างน้อยให้มีข้อกำหนดในเรื่องผู้รับผิดชอบและขั้นตอนต่างๆ จนถึงขั้นตอนการจ่ายเงิน และรับเงิน การรายงานการซื้อและขายหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุมัติแล้ว เช่นเดียวกับการให้กู้ยืมเงิน และการก่อภาระผูกพัน โดยปรับปรุงให้เหมาะสมกับธุรกรรมนั้นๆ
4.3 การขายสินทรัพย์
กำหนดนโยบาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ การขายสินทรัพย์ทั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ โดยอย่างน้อยให้มีข้อกำหนดในเรื่อง หลักเกณฑ์ผู้มีอำนาจอนุมัติ ผู้รับผิดชอบ ขั้นตอน หรือวิธีการขายสินทรัพย์ การรายงานเมื่อขายสินทรัพย์แล้ว
ข้อ 5 นโยบาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ดังกล่าวในข้อ 3 และ ข้อ 4 จะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัท และต้องจัดเก็บไว้ที่บริษัทเพื่อที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลาตามที่กฎหมายกำหนด
บริษัทจะต้องควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าวโดยเคร่งครัด โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบภายใจ และมีมาตรการในการลงโทษแก่ผู้ที่มีเจตนาไม่ปฏิบัติตามระเบียบนั้น
ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับ เมื่อพ้นกำหนด หกสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 16 สิงหาคม 2543
(ม.ร.ว. จตุมงคล โสณกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
-ยก-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ