การอนุญาตให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกอบกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้

ข่าวกฏหมายและประกาศ Wednesday August 23, 2000 10:18 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                                                  23  สิงหาคม  2543
เรียน ผู้จัดการ
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ทุกบริษัท
ที่ ธปท.สนส.(21) ว.2187/2543 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกอบกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้
ด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาเห็นชอบให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกอบกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้ได้เป็นการทั่วไป ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกอบกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้ ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2543 ซึ่งได้ลงในราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 117 ตอนพิเศษ 76 ง ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2543 แล้ว ทั้งนี้ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกอบกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้เงินกู้ ลงวันที่ 30 เมษายน 2538
ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงขอส่งประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวมาเพื่อทราบ
ขอแสดงความนับถือ
(นางธาริษา วัฒนเกส)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน
ผู้ว่าการ แทน
สิ่งที่ส่งมาด้วย ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
ประกอบกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้ ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2543
ฝ่ายโครงการพิเศษและการวิเคราะห์โทร. 2836827-8
หมายเหตุ [
] ธนาคารแห่งประเทศไทยจะจัดให้มีการประชุมชี้แจงในวันที่ ………... ณ …
[ X
] ไม่มีการจัดประชุมชี้แจง
สนสว31-กส37203-25430823ด
ครุฑ
ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกอบกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้
_______________________________________
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 54(4) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีประกาศดังนี้
ข้อ 1. ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 30 เมษายน 2538 เรื่อง การอนุญาตให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกอบกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้เงินกู้
ข้อ 2. ในประกาศนี้
"กิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้" หมายความว่า กิจการให้บริการเป็นตัวแทนเรียกเก็บและรับชำระหนี้ การจัดทำบัญชี รายงาน เก็บรักษาเอกสาร ชำระภาษี หรือเบี้ยประกันภัย ตลอดจนการดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการเรียกเก็บหนี้นั้น
ข้อ 3. อนุญาตเป็นการทั่วไปให้บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ประกอบกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้ให้แก่บุคคลใด ๆ โดยมีค่าตอบแทน ทั้งนี้ บริษัทต้องไม่เข้ารับความเสี่ยงจากกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้เช่น เข้ามีส่วนรับผิดชอบในภาระหนี้แทนลูกหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน นอกจากนี้บริษัทจะต้อง
(1) จัดให้มีระบบการบัญชีและการจัดเก็บเอกสารหลักฐานของสัญญาหนี้ในกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้แยกต่างหากจากกิจการอื่นของบริษัท
(2) จัดทำรายงานในกิจการตัวแทนเรียกเก็บหนี้แต่ละรายออกจากกันตามสัญญาระหว่างบริษัทกับผู้ว่าจ้างแต่ละรายเพื่อให้บริษัทและผู้ว่าจ้างสามารถตรวจสอบและติดตามดูแลผลการดำเนินงานได้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2543
(นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
สนสว31-กส37203-25430823ด
-ยก-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ