(ต่อ1) การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินที่มีความซับซ้อน

ข่าวกฏหมายและประกาศ Wednesday October 19, 2005 13:58 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                   Bank Ex. Digital Call     Exporter ขาย USD      1 M$
- จำนวน Underlying ที่ลูกค้าต้องมีในกรณีนี้อย่างน้อย 2 M$
II. การกำกับดูแล Single Lending Limit (Original Approach)
ในการคำนวณ Single Lending Limit สำหรับธุรกรรมดังกล่าว ให้คำนวณมูลค่าเทียบ
เท่าที่จะนับเป็นภาระผูกพันจากการทำธุรกรรมอนุพันธ์ฯ ดังกล่าวตามองค์ประกอบย่อยของธุรกรรม โดยในกรณีนี้ได้แก่
ลำดับ Derivatives National Amt. CCF ภาระผูกพัน
1 ซื้อ USD Call @ 41 1,000,000 X 40= 40,000,000 0.02 800,000
2 ซื้อ USD Call @ 43 12,000,000 X 40= 480,000,000 0.02 9,600,000
รวมภาระผูกพันจากการทำธุรกรรมนี้ทั้งสิ้น 10,400,000
III. เงินกองทุนสำหรับ Counterparty Risk
ในการคำนวณเงินกองทุนสำหรับ Counterparty Risk สำหรับธุรกรรมดังกล่าว
ให้นับภาระผูกพันจากการทำธุรกรรมอนุพันธ์ฯ ดังกล่าวตามองค์ประกอบย่อยของธุรกรรม โดยในกรณีนี้ได้แก่
ลำดับ Derivatives National Amt. CCF RWA Required เงินกองทุน
Ratio
1 ซื้อ USD Call @ 41 1,000,000 X 40 0.02 100% 8.5% 68,000
=40,000,000
2 ซื้อ USD Call @ 43 12,000,000 X 40 0.02 100% 8.5% 816,000
=480,000,000
รวมเงินกองทุนเพื่อรองรับ Counterparty Risk 884,000
IV. เงินกองทุนเพื่อรองรับ Market Risk
ธพ.จะต้องดำรงเงินกองทุนเพื่อรองรับ Market Risk ตามองค์ประกอบย่อย ซึ่งในกรณี
ได้แก่ Derivatives 3 ตัว คือ
i. USD Put/THB Call @ 41
ii. USD Call/THB Put @ 41
iii. Digital Call @ 43
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินที่มึความซับซ้อน
1.เหตุผลในการออกประกาศ
โดยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนที่ ธปท.ฝสว.(21)ว.1300/2548 ลงวันที่ 20 กรกฎาคม
2548 กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินขั้นพื้นฐาน (Plain Vanilla Derivatives)ได้ แต่สำหรับ
ธุรกรรมที่นอกเหนือจากธุรกรรมทางการเงินขั้นพื้นฐาน ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยถือเป็นอนุพันธ์ทางการเงินที่มีความซับซ้อน
(Structured Derivatives) ต้องขออนุญาตก่อนเป็นรายธุรกรรมไป นั้น บัดนี้สมควรออกเกณฑ์ทั่วไปที่จะเปิดให้ธนาคาร
พาณิชย์ทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินที่มีความซับซ้อนได้ในระดับหนึ่งเพื่อเป็นการสนับสนุนพัฒนาการของอนุพันธ์ทางการเงิน
อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยเพิ่มทางเลือกในการบริหารความเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเพื่อให้เกิดความชัดเจนและความ
เข้าใจในแนวนโยบายเกี่ยวกับการทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินที่มีความซับซ้อน และเกิดความเป็นธรรมในการประกอบ
ธุรกิจในระบบสถาบันการเงินธนาคารแห่งประเทศไทยจึงออกประกาศกำหนดประเภทและขอบเขตในการทำธุรกรรมอนุพันธ์
ทางการเงินที่มีความซับซ้อนที่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์กระทำได้เป็นการทั่วไป
2.อำนาจตามกฎหมาย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 และที่แก้ไขเพิ่ม
เติม ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินที่มีความซับซ้อนตามประเภทและขอบ
เขตของธุรกรรม ตามข้อกำหนดในประกาศนี้
3.ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคารยกเว้นกิจการ
วิเทศธนกิจและธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
4.เนื้อหา
4.1 หลักการ
ธนาคารพาณิชย์สามารถทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินที่มีความซับซ้อน (Structured Derivatives)
ได้ตามประเภทธุรกรรมที่กำหนดในข้อ 4.2 โดยจะต้องไม่ขัดกับหลักการทั้ง 5 ประการ ดังนี้
(1) ธนาคารพาณิชย์จะต้องสามารถบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกรรมดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(2) ธนาคารพาณิชย์จะต้องไม่เสนอธุรกรรมดังกล่าวให้กับลูกค้าในลักษณะที่เป็นการสนับสนุนให้บุคคลดังกล่าว
เก็งกำไรในอัตราแลกเปลี่ยนหรืออัตราดอกเบี้ยต่างประเทศหรือดัชนีทางการเงินต่างประเทศ ซึ่งไม่ได้สร้างผลผลิตอัน
เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ และยังอาจเป็นผลเสียหายแก่เสถียรภาพระบบการเงินและระบบสถาบันการเงินในประเทศได้
(3) ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีการจัดทำเอกสารหลักฐานประกอบการทำธุรกรรมเพียงพอที่จะสามารถตรวจ
สอบได้ พร้อมทั้งจะต้องรายงานข้อมูลการทำธุรกรรมตามแบบรายงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(4) ธนาคารพาณิชย์จะต้องชี้แจงให้ลูกค้าเข้าใจลักษณะธุรกรรมและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจนพร้อม
ทั้งมีหลักฐานแสดงว่าธนาคารพาณิชย์ได้ทำตามขั้นตอนการพิจารณาความเหมาะสมของลูกค้า
(5) ในกรณีเป็นการทำธุรกรรมของสาขาธนาคารพาณิชย์ไทยที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ ธนาคารพาณิชย์จะต้อง
ปฏิบัติตามกรอบการทำธุรกรรม หลักเกณฑ์การกำกับดูแลของประเทศที่สาขานั้นตั้งอยู่ และจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่
ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ในข้อ 4.3 4.5 4.6 และ 4.8 ด้วย
4.2 ลักษณะธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินที่ได้รับอนุญาต
ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินที่มีความซับซ้อนซึ่งมีตัวแปร
อ้างอิงเป็น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน หรือดัชนีทางการเงิน ที่คำนวณจากอัตราดอกเบี้ยหรืออัตราแลกเปลี่ยน ดังนี้
(1) ธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินตามประเภทธุรกรรมตามที่ ธปท.กำหนดทั้งนี้ รายละเอียดปรากฎตามธุรกรรม
อนุพันธ์ทางการเงินที่มีความซับซ้อนที่ได้รับอนุญาต(เอกสารแนบ 1) ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็น
ธุรกรรมที่ควรอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์กระทำได้เป็นการทั่วไป ซึ่งสามารถจัดเป็นประเภทได้ ดังนี้
(ก) เป็นธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินที่เกิดจากการรวมกันของธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินขั้นพื้นฐาน
(Packaged Vanilla Derivatives) เช่น Collar
(ข) เป็นธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินที่มีการกำหนดราคาใดราคาหนึ่งหรือช่วงของราคาใดราคาหนึ่งเพื่อ
ระบุการมีผลหรือไม่มีผลของสัญญา Barrier Derivatives) เช่น Knock-In Forward, Knock-Out Forward
(ค) เป็นธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินที่เกิดจากการรวมกันของ Plain Vanilla Derivatives
และ/หรือ Barrier
Derivatives และ/หรือ Digital Options และการรวมกันของ Barrier Derivatives เช่น Range Bonus
Forward
(ง) เป็นธุรกรรมซื้อหรือขายสิทธิที่จะซื้อหรือสิทธิที่จะขายสินทรัพย์ล่วงหน้าที่กำหนดให้ใช้ค่าเฉลี่ยของราคา
สินทรัพย์ในช่วงเวลาที่กำหนดเปรียบเทียบกับ Strike rate ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าในการคำนวณผลกำไรหรือขาดทุนของ
การทำสัญญา (Average Rate Options) เช่น Average Put Option หรือการกำหนดราคาสินทรัพย์ล่วงหน้าเท่ากับค่าเฉลี่ยของราคา
สินทรัพย์ ภายในช่วงเวลาที่กำหนด (Average Strike Options)เช่น Average Strike Call
(2) ธุรกรรมในข้อ 4.2(1)ที่ได้เพิ่มสิทธิในการให้ลูกค้าหรือธนาคารพาณิชย์ยกเลิกก่อนกำหนด หรือขยาย
ระยะเวลาในการทำธุรกรรมนั้นๆเข้าด้วย (Cancelable or Extendable Option)
(3) ธุรกรรม Plain Dervatives ที่ได้เพิ่มสิทธิในการให้ลูกค้าหรือธนาคารพาณิชย์ยกเลิกก่อนกำหนด
หรือขยายระยะเวลาในการทำธุรกรรมนั้นๆเข้าด้วย (Cancelable or Extendable Option)
(4)เงินกู้ยืมทีเสนอพร้อมธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินตามกล่าวในข้อ 4.2(1)-(3)
ทั้งนี้ สำหรับธนาคารพาณิชย์ที่ประสงค์จะทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินประเภทอื่นนอกเหนือจากที่กำหนด
หรืออนุพันธ์ทางการเงินตามกล่าวในข้อ 4.2(1)-(4) ที่มีอายุของสัญญาเกินกว่า 10 ปี หรือธุรกรรมที่มีการ Leverage
หลายๆเท่าตามที่ ธปท.กำหนด ให้ขออนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆในธุรกรรมดังกล่าวภายใน
15 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับหนังสือขออนุญาตพร้อมเอกสารประกอบที่ถูกต้องและครบถ้วนจากธนาคารไทยพาณิชย์ให้ถือ
ว่าธนาคารพาณิชย์หยุดทำธุรกรรมดังกล่าวได้ อย่างไรก็ดี ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจสั่งการให้ธนาคารพาณิชย์หยุดทำ
ธุรกรรมดังกล่าวได้หากปรากฎภายหลังว่าธุรกรรมดังกล่าวไม่สอดคล้องตามหลักการและกรอบการทำธุรกรรมที่ธนาคาร
แห่งประเทศไทยกำหนด
อนึ่ง ธนาคารพาณิชย์ใดมีข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจว่าธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินที่ประสงค์จะทำนั้นอยู่ในขอบ
เขตที่ ธปท.อนุญาตหรือไม่ให้ธนาคารพาณิชย์นั้นหารือ ธปท.ก่อนทำธุรกรรมดังกลาว
4.3 ข้อกำหนดเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง
ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีระบบการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมสอดคล้องกับลักษณะ ปริมาณ
และความซับซ้อนของการทำธุรกรรม ดังนี้
(1) คณะกรรมการธนาคาร หรือคณะผู้บริหารที่มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องในกรณีของสาขา
ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ จะต้องเข้าใจลักษณะธุรกรรมและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง โดยคณะกรรมการย่อยและผู้บริหาร
ระดับสูงที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลในการประกอบธุรกรรมดังกล่าวจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในธุรกรรมที่กล่าวและความ
เสี่ยงที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดีและจะต้องเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำธุรกรรมดังกล่าวตามนโยบายที่ได้รับความเห็นชอบอย่าง
ใกล้ชิดและให้ความสำคัญในการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการทำธุรกรรมดังกล่าว
(2) ธนาคารพาณิชย์จะต้องกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ ขั้นตอนการปฏิบัติในการประกอบธุรกรรม การบริหาร
ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง และการควบคุมภายในไว้อย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร
(3) นโยบายการประกอบธุรกรรม และการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องดังกล่าวจะต้องได้รับความเห็นชอบ
จากคณะกรรมการธนาคาร หรือคณะผู้บริหารที่มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องในกรณีสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงนโยบายจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการธนาคารหรือคณะผู้บริหารที่กล่าวก่อนทุกครั้ง
และกลยุทธ์ ขั้นตอนการปฏิบัติในการประกอบธุรกรรม การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายในจะต้องได้รับความ
เห็นชอบจากคณะกรรมการย่อยที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลในการประกอบธุรกรรมดังกล่าว
(4) ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีหน่วยงานบริหารความเสี่ยงที่เป็นอิสระ(Risk management unit)เพื่อทำ
หน้าที่ประเมิน ติดตาม ควบคุม ตรวจสอบดูแลการบริหารความเสี่ยงโดยรวมของธนาคารพาณิชย์นั้น และมีรายงานโดย
ตรงต่อคณะกรรมการธนาคารผ่านทางคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ สำหรับกรณีของธนาคารพาณิชย์
ต่างประเทศหน่วยงานบริหารความเสี่ยงดังกล่าวอาจตั้งอยู่ในสำนักงานภูมิภาคก็ได้ โดยจะต้องมีรายงานต่อหน่วยงานที่
ได้รับมอบหมายจากสำนักงานใหญ่อย่างสม่ำเสมอ
(5) ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีบุคลากรเพียงพอที่จะรองรับการประกอบธุรกรรมอย่างมีประสิทธิภาพและครบ
วงจร โดยบุคลากรดังกล่าวจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถ และประสบการณ์เพียงพอ
(6) ธนาคารพาณิชย์จะต้องมั่นใจว่ามีมาตรการและระบบในการควบคุมและบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องที่
มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ มาตรการและระบบในการควบคุมและบริหารความเสี่ยงดังกล่าวจะต้อง
(ก) สามารถสะท้อนและรองรับความเสี่ยงทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกรรม โดยให้เน้นประสิทธิภาพ
ของระบบบริหารความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย (Interest rate risk) ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
(Foreign exchange risk)ความเสี่ยงทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกรรม Options เช่น Delta Vega Gamma
Theta และ Rho ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง(Liquidity risk) และความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit risk)ซึ่งรวม
ถึง Pre-settlement Risk และ Settlement Risk โดยธนาคารพาณิชย์จะต้องมีระบบที่ใช้ในการประเมินความเสี่ยง
ที่สามารถสะท้อนความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องและความเสี่ยงแต่ละประเภทที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน ถูกต้อง และแม่นยำ
(ข) สามารถนำไปใช้ในการควบคุมความเสี่ยงในทางปฏิบัติ โดยมีการเลือกใช้วิธีป้องกันความเสี่ยงที่เหมาะ
สมกับความเสี่ยงที่ธนาคารพาณิชย์มี เช่น Delta/Gamma/Vega Hedging, Dynamic/Static Replication
Portfolio เป็นต้น รวมทั้งมีการกำหนดระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Limits) ให้มีความเหมาะสมกับระบบการบริหาร
ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ลักษณะการดำเนินงานและฐานะเงินกองทุน รวมทั้งกลยุทธ์ของธนาคารพาณิชย์นั้น
(ค) มีการนำเสนอหลักเกณฑ์วิธีการที่ใช้ในการประเมินมูลค่ายุติธรรม (Mark to Market) ที่เหมาะสม
ชัดเจน และสะท้อนมูลค่าตลาดที่แท้จริง โดยจะต้องประเมินมูลค่ายุติธรรมของยอดคงค้าง ณ ทุกสิ้นวันทำการ
(ง) มีการทดสอบประสิทธิภาพ ความถูกต้องแม่นยำของระบบบริหารความเสี่ยงภายในระยะเวลาที่เหมาะสม
เช่น มีการทดสอบ Back Test และมีการทดสอบ Stress Test ของแบบจำลอง Value at Risk อย่างสม่ำเสมอ
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนผันข้อกำหนดเรื่องมาตรการและระบบในการควบคุมและบริหารความ
เสี่ยงตามข้อ 6(ก) (ข) และ(ง) หากธนาคารพาณิชย์บริหารความเสี่ยงแบบ Back to Back โดยการผ่อนผันดังกล่าว
จะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และผ่อนผันการ Mark to Market อนุพันธ์ทางการเงินที่มีความซับซ้อนตามข้อ 6(ค)
หากธนาคารพาณิชย์บริหารความเสี่ยงแบบ Back to Back ซึ่งจะผ่อนผันให้ธนาคารพาณิชย์ต้อง Mark to Market อย่าง
ต่ำในงบการเงินสำหรับงวดที่มีการเปิดเผยข้อมูลให้บุคคลภายนอก โดยการผ่อนผันดังกล่าวจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม
2550 ทั้งนี้ ในระยะเวลาดังกล่าวธนาคารพาณิชย์ควรที่จะดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมในการทำตามข้อกำหนดดังกล่าวด้วย
(7) ในการทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินที่เป็น Barrier Derivatives หรือ ธุรกรรมอนุพันธ์ทางการ
เงินที่มี Barrier Derivatives และ/หรือ Digital Options เป็นส่วนประกอบธนาคารพาณิชย์จะต้องบริหารความ
เสี่ยงในส่วนของ Barrier Derivatives และ/หรือ Digital Options ในลักษณะ Back to Back เท่านั้น เว้น
แต่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
(8) ธนาคารพาณิชย์จะต้องมั่นใจว่าระบบควบคุมภายในที่สามารถรองรับการทำธุรกรรมดังกล่าวได้อย่างมี
ประสิทฺภาพ เพียงพอ เหมาะสม มีระเบียบ และปฏิบัติในการควบคุมภายในที่ชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษร มีการกำหนด
โครงสร้างการควบคุมและมีการแบ่งแยกหน้าที่อย่างเหมาะสม มีการตรวจสอบระบบควบคุมภายใน และการปฏิบัติตาม
มาตรการการควบคุมภายในอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการจัดทำระบบข้อมูลเพื่อรายงานความเสี่ยงและการจัดทำรายงาน
เสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบ หรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากสำนักงานใหญ่ (ในกรณีของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่าง
ประเทศ) โดยหน่วยงานดังกล่าวอาจตั้งอยู่ในสำนักงานภูมิภาคก็ได้
4.4 ข้อกำหนดเกี่ยวกับการป้องกันการเก็งกำไร
(1) ให้ธนาคารพาณิชย์ทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินที่มีความวับซ้อน โดยมีขอบเขตเกี่ยวกับคู่สัญญา
และตัวแปรอ้างอิง ตามที่กำหนดในตาราง ดังนี้
คู่สัญญา
Fx licensed4 ผู้ลงทุนสถาบัน5 บุคคลทั่วไป Non-resident6
อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในประเทศ (ก) (ก) (ก) (จ)
อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงใน (ก) (ข) หรือ (ค) (ข) หรือ (ง) (จ)
ต่างประเทศ (ง)
ดัชนีที่คำนวณจากอัตราดอกเบี้ย (ก) (ข) หรือ (ค) (ข) (จ)
อ้างอิงในต่างประเทศ
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (ก) (ข) (ข) (จ)
ต่างประเทศ
ดัชนีที่คำนวณจากอัตรา (ก) (x) (x) (จ)
แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
โดยที่
(ก) หมายถึง ธนาคารพาณิชย์สามารถทำธุรกรรมที่อ้างอิงตัวแปรดังกล่าวกับคู่สัญญาดังกล่าวได้โดยไม่
ต้องมีการตรวจสอบ Underlying ยกเว้นในกรณีที่คู่สัญญาเป็นบุคคลธรรมดาจะต้องเป็นการทำเพื่อป้องกันความเสี่ยง
ให้แก่ลูกค้าที่มี Underlying รองรับเท่านั้น
(ข) หมายถึง ธนาคารพาณิชย์สามารถทำธุรกรรมที่อ้างอิงตัวแปรดังกล่าวกับคู่สัญญาดังกล่าวได้ โดย
คู่สัญญาดังกล่าวจะต้องมี Underlying เป็นภาระที่ต้องรับมอบหรือส่งมอบเงินตราต่างประเทศสกุลเดียวกันและสอดคล้อง
กันกับที่กำหนดในสัญญาอนุพันธ์ทางการเงิน หรือ ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินเป็นรายกรณีเท่านั้น
อนึ่ง การทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินที่อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ จะต้องกำหนด
ให้มีการส่งมอบหรือรับมอบเงินตราต่างประเทศสกุลที่กำหนดในสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินจริงเท่านั้น (Physical Delivery)
(ค) หมายถึง ธนาคารพาณิชย์สามารถทำธุรกรรมที่อ้างอิงตัวแปรดังกล่าวกับคู่ค้าดังกล่าวเฉพาะธุรกรรม
Swap ที่ไม่มีการแลกต้นเงินและมีการตกลงชำระราคาเป็นเงินบาทได้โดยต้องตรวจสอบว่าคู่สัญญามีเงินลงทุนในตราสารหนี้
ซึ่งจะต้องคงอยู่ตลอดอายุของสัญญา Swap ดังกล่าว
(ง) หมายถึง ธนาคารพาณิชย์สามารถทำธุรกรรม Quanto Interest Rate Swap กับคู่สัญญาดังกล่าว
ได้ โดยคู่สัญญาดังกล่าวจะต้องมี Underlying เป็นเงินกู้ยืมสกุลเงินบาท
(จ) หมายถึง ธนาคารพาณิชย์สามารถทำธุรกรรมที่อ้างอิงตัวแปรดังกล่าวกับคู่ค้าดังกล่าวได้ โดยต้องไม่
ขัดกฎหมายและระเบียบว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน และมาตรการป้องปราบปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทของ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
(x) หมายถึง ธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถทำธุรกรรมที่อ้างอิงตัวแปรดังกล่าวกับคู่ค้าดังกล่าว
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจสั่งการให้ธนาคารพาณิชย์ระงับการทำธุรกรรมบางประเภท หรืออาจ
ออกข้อกำหนดเพิ่มเติม หากพิจารณาเห็นว่าการทำธุรกรรมดังกล่าวของธนาคารพาณิชย์ไม่สอดคล้องกับหลักการในการใน
การอนุญาต
(2) ให้ธนาคารพาณิชย์ที่ทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินถือปฏิบัติเกี่ยวกับสกุลเงินในการทำธุรกรรมดังนี้
(ก) กรณีธุรกรรมที่ทำกับบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศให้ชำระราคา (Settlement) เป็นสกุลเงินบาท
เท่านั้น ยกเว้นการทำธุรกรรมกับนิติบุคคลรับอนุญาติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ให้ชำระราคาเป็น
สกุลเงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศก็ได้
(ข) กรณีธุรกรรมที่ทำกับบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-resident) ให้ทำเป็นสกุลเงินตราต่าง
ประเทศเท่านั้น แต่จะทำเป็นสกุลเงินบาทได้ต่อเมื่อเป็นการทำธุรกรรมที่ไม่ขัดกับมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงิน
บาทของธนาคารแห่งประเทศไทย
(3) ในการทำธุรกรรมในข้อ 4.2 ที่เกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยน หรือการทำธุรกรรมที่มีการชำระราค
เป็นเงินตราต่างประเทศตามข้อกำหนดใน 4.4(1) ธนาคารพาณิชย์สามารถทำธุรกรรมได้เฉพาะเพื่อป้องกันความเสี่ยง
ให้กับลูกค้าเท่านั้น ทั้งนี้ มีหลักการในการพิจารณา Underlying ดังต่อไปนี้
(ก) ผลจากการทำธุรกรรมในทุก ๆ Scenarios จะต้องเป็นไปในด้านที่เป็นการป้องกันความเสี่ยง
ของลูกค้า
(ข) ธนาคารพาณิชย์ต้องทำธรกรรมไม่เกิน Underlying ที่ลูกค้ามี โดยพิจารณาทุกๆ Scenarios
ที่อาจจะเกิดขึ้น
(ค) ในการพิจารณาตาม (ก) และ (ข) สามารถนำอนุพันธ์ทางการเงินใน Scenario เดียวกัน
มากหักลบกลบกันได้
(ง) ระยะเวลาของสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินจะต้องสอดคล้องกับ Underlying ที่ลูกค้ามี
อนึ่ง ในกรณีที่เป็นการทำธุรกรรมกับคู่สัญญาที่มีภาระการรับมอบหรือส่งมอบเงินตราต่างประเทศ ธนาคาร
พาณิชย์ต้องเรียกเอกสารหลักฐานแสดงภาระการรับมอบหรือส่งมอบเงินตราต่างประเทศในอนาคต โดยจำนวนเงินตรา
ต่างประเทศ และวันครบกำหนดของสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินดังกล่าวต้องไม่เกินจำนวนเงินและกำหนดการรับมอบหรือ
ส่งมอบเงินตราต่างประเทศตามเอกสารหลักฐาน
(4) การทำธุรกรรมตามข้อ 4.2 รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกรรมในข้อ 4.2
จะต้องไม่ขัดกับกฎหมายและระเบียบว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน และมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงิน
บาทของธนาคารแห่งประเทศไทย
4.5 การเก็บข้อมูลและการรายงาน
(1) ธนาคารพาณิชย์ที่ทำธุรกรรมตามข้อ 4.2 ต้องจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการทำธุรกรรม ได้แก่
เลขอ้างอิง วันที่ทำธุรกรรม วันครบกำหนด ประเภทธุรกรรม คู่สัญญา ตัวแปรอ้างอิง ส่วนประกอบย่อยของอนุพันธ์ทาง
การเงิน และฐานะของส่วนประกอบย่อย นั้น ๆ สกุลเงินของธุรกรรม จำนวนเงินตามสัญญา จำนวนเงินเป็นสกุลเงิน
บาทเทียบเท่า Delta Equivalent หรือ มูลค่ายุติธรรมของธุรกรรม ในรูปแบบของสื่อคอมพิวเตอร์ ตามแบบรายงาน
ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด (เอกสารแนบ 3) และจัดส่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประจำทุกเดือนภายใน
สิ้นเดือนของเดือนถัดไป ตามช่องทางที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้กำหนดต่อไป ตลอดจนจัดเก็บหลักฐานในการทำ
ธุรกรรมดังกล่าวไว้ที่ธนาคารพาณิชย์เอง เพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตรวจสอบ หรือจัดส่งสำเนาให้แก่ธนาคาร
แห่งประเทศไทยเมื่อมีการร้องขอ
(2) ในการทำธุรกรรมตามข้อ 4.2 เป็นครั้งแรกหรือเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของธุรกรรม
ธนาคารพาณิชย์จะต้องส่งรายระเอียดการทำธุรกรรมดังกล่าวให้กับ ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายใน 15 วันทำการ
นับจากวันทำธุรกรรม โดยต้องรายงานลักษณะของธุรกรรม ซึ่งรวมถึงการแสดงส่วนประกอบของอนุพันธ์ทางการเงิน
พื้นฐาน Term Sheet และวิธีการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง โดยธนาคารแห่งประเทศอาจสั่งการให้ธนาคารพาณิชย์
หยุดทำธุรกรรมในลักษณะดังกล่าวได้หากในการพิจารณาเห็นว่าธุรกรรมดังกล่าวไม่สอดคล้องตามหลักการและกรอบการ
ทำธุรกรรมที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
4.6 การให้ข้อมูลลูกค้า
(1) การทำธุรกรรมตามข้อ 4.2 กับคู่สัญญาที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์จะต้องมีการ
วิเคราะห์พร้อมทั้งมีหลักฐานแสดงว่าธนาคารพาณิชย์ได้ทำตามขั้นตอนการพิจารณาจะต้องมีการวิเคราะห์พร้อมทั้งมีหลัก
ฐานแสดงว่าธนาคารพาณิชย์ได้ทำการตามขั้นตอนการพิจารณาความเหมาะสมของลูกค้าก่อนทำธุรกรรม (Client
Suitability Analysis) ทั้งนี้ จะต้องพิจารณาประเด็นต่างๆ ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้กำหนดต่อไป
(2) ธนาคารพาณิชย์ที่ทำธุรกรรมตามข้อ 4.2 ต้องชี้แจงให้คู่สัญญาเข้าใจลักษณะธุรกรรมและ
ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน รวมทั้งเปิดเผยข้อมูลแก่ลูกค้าตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้กำหนดต่อไป
4.7 การทำธุรกรรมสำหรับธนาคารพาณิชย์ไทยในต่างประเทศ ให้อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การกำกับดูแล
ของประเทศที่สาขานั้นตั้งอยู่ และธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ 4.3 4.5
4.6 และ 4.8 ด้วย
4.8 ข้อกำหนดอื่นๆ
(1) ธนาคารพาณิชย์ที่ทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินดังกล่าวจะต้องดูแลให้สัญญามีผลบังคับตาม
กฎหมาย และจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกำกับดูแลธุรกรรมนี้ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(2) ธนาคารพาณิชย์ที่ทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินดังกล่าวต้องบันทึกบัญชีและเปิดเผยข้อมูลให้
ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี แนวปฏิบัติทางการบัญชี และวิธีปฏิบัติของสากล
4.9 การปฎิบัติในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับอนุญาตให้ทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินที่ซับซ้อนเป็นราย
กรณีไปแล้วก่อนหน้านี้
ธนาคารพาณิชย์ได้รับอนุญาตให้ธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินที่ซับซ้อนเป็นรายกรณีก่อนหน้าวันที่ประกาศ
ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ให้ถือปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ ทั้งนี้สำหรับธุรกรรมที่ได้รับอนุญาตเป็นรายกรณีไปแล้วก่อนหน้านี้ หากไม่
อยู่ในกรอบการทำธุรกรรมที่ได้รับอนุญาตตามประกาศฉบับนี้ ธนาคารพาณิชย์จำทำธุรกรรมดังกล่าวอีกไม่ได้ ส่วนธุรกรรม
ที่ทำไปแล้วอนุญาตให้คงธุรกรรมดังกล่าวไว้ได้จนครบกำหนดอายุตามสัญญา โดยไม่อนุญาตให้มีการต่ออายุสัญญา เว้นแต่
ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นรายกรณี
4.10 การเปลี่ยนแปลงกรอบการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินที่มีความซับซ้อน
ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจมีความจำเป็นต้องพิจารณาเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์
ในการทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินที่มีความซับซ้อนในอนาคตตามความเหมาะสมภายใต้กรอบของหลักการในข้อ 4.1
5.วันเริ่มต้นการปฏิบัติ
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2548
(ม.ร.ว.ปรียาธร เทวกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินที่มีความซับซ้อนที่ได้รับอนุญาต
Collar
เป็นธุรกรรมที่เกิดจากการรวมกันของการซื้อสิทธิที่จะซื้อ (Call Option) กับการขาย
สิทธิที่จะขาย (Put Option) หรือการซื้อสิทธิที่จะขาย (Put Option) กับการขายสิทธิที่จะซื้อ (Call Option)
สินทรัพย์ล่วงหน้า ได้แก่ เงินตราต่างประเทศ อัตราดอกเบี้ย และดัชนีทางการเงิน โดย Strike Rate ที่กำหนด
ในสัญญา Call Option และ Put Option อาจจะไม่เท่ากัน โดยส่วนใหญ่จะทำในรูปแบบของ Zero Cost
Options ซึ่งจะมีไม่มีการคิดค่าธรรมเนียม เนื่องจากค่าธรรมเนียมที่จะต้องจ่ายจากการซื้อ Call หรือซื้อ
Put Option จะไปหักลบกับค่าธรรมเนียมที่ได้จากการขาย Put หรือขาย Call Option
Spread
เป็นธุรกรรมที่เกิดจากการรวมกันของการซื้อกับขายสิทธิที่จะซื้อ (Call Option) หรือ
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ