การตีราคาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขออนุมัตินับมูลค่าส่วนที่เพิ่มเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2

ข่าวกฏหมายและประกาศ Tuesday November 14, 2000 14:08 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                                                                      14 พฤศจิกายน 2543
เรียน ผู้จัดการธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศทุกธนาคาร
ที่ ธปท.(1 2) ว.3085/2543 เรื่อง การตีราคาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขออนุมัตินับมูลค่าส่วนที่เพิ่มเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2
ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กําหนดชนิด ประเภท และการคํานวณเงินสํารองจากการตีราคาที่ดินหรืออาคาร เพื่อถือเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ของธนาคารพาณิชย์ นั้น
เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติดังกล่าวให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีในปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การตีราคาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขออนุมัตินับมูลค่าส่วนที่เพิ่มเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ของธนาคารพาณิชย์ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2543 ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 117ตอนพิเศษ 113 ง ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2543
ธนาคารแห่งประเทศไทยขอนําส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว พร้อมทั้งคําชี้แจงประกอบหลักเกณฑ์การตีราคาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขออนุมัตินับมูลค่าส่วนที่เพิ่มเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 พร้อมนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยขอยกเลิกหนังสือที่ ธปท.ณว.(ว) 1236/2535ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2535 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการตีราคาสินทรัพย์เพิ่ม หนังสือที่ ธปทเรื่อง หลักเกณฑ์ในการตีราคาสินทรัพย์เพิ่ม หนังสือที่ ธปท.งพ.(ว) 2356/2537 ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2537 เรื่อง การปรับปรุงวิธีการบันทึกบัญชีค่าเสื่อมราคาอาคาร และหนังสือที่ ธปท.ง(ว)2624/2541 ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2541 เรื่อง การตีราคาอสังหาริทรัพย์เพื่อขออนุมัตินับมูลค่าส่วนที่เพิ่มเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2
จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติ
ขอแสดงความนับถือ
(นางธารษา วัฒนเกส)
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน
แทนผู้ว่าการ
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การตีราคาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขออนุมัตินับมูลค่าส่วนที่เพิ่มเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ของ
ธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2543
2. คําชี้แจงประกอบหลักเกณฑ์การตีราคาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขออนุมัตินับมูลค่าส่วนที่เพิ่มเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ของธนาคารพาณิชย์
ฝ่ายนโยบายสถาบันการเงินโทร.283-5303
หมายเหตุ [X
] ธนาคารจะจัดให้มีการประชุมชี้แจงในวันพุธที่ 29 พฤศจิกายน 2543เวลา 10.00 — 12.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 7 อาคาร 3 ธนาคารแห่งประเทศไทย[
] ไม่มีการจัดประชุมชี้แจง
สนสว11 -22 04-2543 4
คําชี้แจงประกอบหลักเกณฑ์การตีราคาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขออนุมัติ
นับมูลค่าส่วนที่เพิ่มเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ของธนาคารพาณิชย์
1. เหตุผลที่ทำการปรับปรุงหลักเกณฑ์
โดยที่หลักเกณฑ์เดิมได้ออกและใช้ปฏิบัติครั้งแรกสำหรับธนาคารพาณิชย์ ตั้งแต่ปี 2535 ซึ่ง ณ ขณะนั้นยังไม่มีวิธีปฏิบัติด้านการบัญชีที่มีความละเอียดชัดเจน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้กำหนดวิธีปฏิบัติเพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับสถาบันการเงิน เช่น การกำหนดวิธีการตีราคา และวิธีการบันทึกบัญชีที่ดิน อาคาร และห้องชุดในอาคารชุดที่มีการตีราคาเพิ่ม เป็นต้น อีกทั้งได้กำหนดแนวทางโดยให้ความสำคัญกับการตีราคาในครั้งแรก ซึ่งขาดรายละเอียดวิธีปฏิบัติในการตีราคาในครั้งต่อไป ดังนั้น เมื่อมาตรนฐานการบัญชีฉบับที่ 32 เรื่อง ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ได้ออกใช้ซึ่งมีรายละเอียดวิธีปฏิบัติเป็นมาตรฐานชัดเจน ประกอบกับรอบการนับมูลค่าจากการตีราคาเพิ่มเป็นเงินกองทุนของสถาบันการเงินส่วนใหญ่ถึงเกณฑ์ให้นับครั้งใหม่ ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ทำการปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี และเพื่อรองรับการขออนุญาตนับเงินกองทุนรอบใหม่ของสถาบันการเงิน
2. ประเด็นสำคัญที่มีการปรับปรุงใหม่หรือเพิ่มเติม
2.1 วิธีการตีราคาและการบันทึกบัญชี : ยกเลิกข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีการตีราคาและการบันทึกบัญชี โดยให้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีปัจจุบัน
2.2 รอบระยะเวลาการยื่นคำขอ : ปรับปรุงจากเดิมซึ่งกำหนดรอบระยะเวลาการยื่นคำขอไม่น้อยกว่า 5 ปี เป็นไม่น้อยกว่า 3 ปี สำหรับที่ดิน และอาคาร เพื่อให้สอดคล้องกับรอบการตีราคาตามมาตรฐานการบัญชี ส่วนการยื่นคำขอสำหรับห้องชุดในอาคารชุดให้ทำากรตีราคาและยื่นคำขอทุกปี เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่ามุลค่าของห้องชุดในอาคารชุด ควรเป็นราคาตลาดปัจจุบันสุทธิ ซึ่งราคาดังกล่าวได้สะท้อนการหักค่าเสื่อมราคาไว้แล้ว
2.3 ผู้ประเมินราคาที่ดิน อาคาร และห้องชุดในอาคารชุด : กำหนดให้เป็นผู้ประเมินราคาเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะที่ไดรับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ หรือบริษัทที่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทยและต้องไม่มีความสัมพันธ์หรือผลประโยชน์ใดๆ เกี่ยวกับสถาบันการเงินผู้ยื่นคำขอ
2.4 คุณสมบัติของที่ดิน อาคาร หรือห้องชุดในอาคารชุด : กำหนดเพิ่มเติมให้เป็นที่ดิน อาคาร หรือห้องชุดในอาคารชุด ซึ่งมีการตีราคาไว้ไม่เกิน 6 เดือน เว้นแต่การยื่นคำขอสำหรับงวดปี 2543 สถาบันการเงินอาจใช้ราคาที่ตีไว้เกินกว่า 6 เดือนก็ได้ หากได้ทำการตีราคาไปแล้วตามมาตรฐานบัญชีฉบับที่ 32 เรื่อง ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
2.5 การหักมูลค่าส่วนที่ลดลงออกจากเงินกองทุน : เพิ่มเติมแนวทงปฏิบัติในการหักส่วนที่ลดลงของราคาตามบัญชีของที่ดิน อาคาร และห้องชุดในอาคารชุด ที่เคยมีการตีราคาเพิ่ม และนับเป็นเงินกองทุนไปแล้ว หากมูลค่าลดลงอันเกิดจากการด้อยค่า หรือการเกิดค่าเสื่อมราคา เป็นต้น
2.6 แบบการคำนวณการนับมูลค่าจากการตีราคาเพิ่มเป็นเงินกองทนชั้นที่ 2 : ปรับปรุงให้รองรับการคำนวณจำนวนที่นับเข้าเป็นเงินกองทุนในรอบคำขอใหม่ แต่แนวทางในากรคำนวณยังคล้ายกับหลักการเดิม
3. หลักการสำคัญที่ยังคงเดิม
3.1 คุณสมบัติของที่ดิน อาคาร และห้องชุดในอาคารชุด : ต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกิบธุรกิจหรือสำหรับเป็นที่พัก หรือเพื่อสวัสดิ์สงเคราะห์ของพนักงานและลูกจ้างตามที่ได้รับอนุญาติ และเป็นสินทรัพย์ที่สถาบันการเงินมีกรรมสิทธิแต่เพียงผู้เดียวและปราศจากภาระผูกพันใดๆ สำหรับอาคาร และห้งอชุดในอาคารชุดต้องมีการทำประกันอัคคีภัยไว้เต็มมูลค่าแล้ว
3.2 เอกสารหลักฐานในการยื่นคำขอ : เป็นไปตามแนวทางเดิมที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเคยมีการชี้แจงด้วยหนังสือเวียนไปแล้ว
3.3 อัตตราส่วนในการนับมูลค่าส่วนที่ตีเพิ่มเข้าเป็นเงินกองทุน : ร้อยละ 70 สำหรับที่ดิน และร้อยละ 50 สำหรับอาคารและห้องชุดในอาคารชุด ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจทำการทบทวนข้อกำหนดอัตราส่วนการนับดังกล่าวภายหลังงวดการบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2546 ก็ได้
3.4 การคำนวณกรณีตัดสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ออกจากบัญชีหรือกันเงินสำรองสำหรับสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ยังไม่ครบจำนวน : ให้สถาบันการเงินนำส่วนที่ยังตัดบัญชีหรือกันสำรองไม่ครบดังกล่าว หักออกจากมูลค่าส่วนที่คำนวณได้ตามอัตราส่วนที่กำหนดเสียก่อนจึงนับจำนวนที่คงเหลือเป็นเงินกองทุนได้
3.5 การแปลงค่าเงินตราต่างประเทศ : เป็นไปในทำนองเดิม แต่ปรับปรุงให้สอดคล้องกับการประกาศอัตราอ้างอิงของธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน
4. แนวทงปฏิบัติอื่นๆ
สำหรับสถาบันการเงินที่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ (IAS NO.12, "Incom Taxes")ซึ่งจะต้องบันทึกหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีสำหรับส่วนเกินทุนจากการตีราคาที่ดินเพิ่มขึ้น ในอัตราร้อยละ 30 นั่น จะไม่มีผลกระทบหากมีการตีราคาที่ดินเพิ่มขึ้นตามประกาศฉบับนี้ เนื่องจากสถาบันการเงินสามารถนับส่วนที่ตีราคาเพิ่มเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้ร้อยละ 70 ของจำนวนที่ตีเพิ่มทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น
4.1 กรณีสถาบันการเงินที่ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้
ที่ดินมีราคาตามบัญชีเดิม 100 บาท มีการตีราคาเพิ่มเป็น 150 บาท
มูลค่าส่วนที่ตีเพิ่ม = 50 บาท
การบันทึกบัญชี
จำนวนที่คำนวณเป็นหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี 50 x 30% = 15 บาท
ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ 50 x 70% = 35 บาท
การคำนวณเงินกองทุน
จำนวนที่ให้นับเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 50 x 70% = 35 บาท
4.2 กรณีสถาบันการเงินที่ไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศฉบับที่ 12 เรื่องภาษีเงินได้
ที่ดินมีราคาตามบัญชีเดิม 100 บาท มีการตีราคาเพิ่มเป็น 150 บาท
มูลค่าส่วนที่ตีเพิ่ม = 50 บาท
การบันทึกบัญชี
ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ 50 บาท
การคำนวณเงินกองทุน
จำนวณที่ให้นับเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 50 x 70% = 35 บาท
ประกาศธนาคารแห่งปรเทศไทย
เรื่อง การตีราคาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขออนุมัตินับมูลค่าส่วนทีเพิ่ม
เข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ของธนาคารพาณิชย์
_____________________
อาศัยอำนาจตามความนมาตรา 4 แห่งพระราชยัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2535 ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดชนิด ประเภท และการคำนวณเงินสำรองจากการตีราคาสินทรัพย์เพื่อถือเป็นเงินกองทุน ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกหนังสือธนาคารแห่งประเทศไทยที่ ธปท.ณว.(ว) 1236/2535 ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2535 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการตีราคาสินทรัพย์เพิ่ม หนังสือธนาคารแห่งประเทศไทยที่ ธปท.งพ.(ว) 2536/2537 เรื่องการปรับปรุงวิธีการบันทึกบัญชีค่าเสื่อมราคาอาคาร ลงวันที่ 16ธันวาคม 2537 และหนังสือธนาคารแห่งประเทศไทยที่ ธปท.ง(ว)2624/2541 ลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2541 เรื่อง การตีราคาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขออนุมัติมูลค่าส่วนที่เพิ่มเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2
ข้อ 2 ในประกาศนี้
"ธนาคารพาณิชย์" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนเป็นบริษัทในประเทศ
"เงินกองทุนชั้ที่ 2" หมายความว่า
(1) เงินสำรองจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาที่ดิน อาคาร และห้องในอาคารชุด ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดเงินสำรองสำหรับสินทรพัย์จัดชั้นปกติ ซึ่งได้กันไว้ตามนัยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง สินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ ลงวันที่ 17 มีนาคม 2543 หรือที่จะแก้ไขเพิ่มเติมภายหลัง ทั้งนี้ ะนาคารพาณิชย์จะนับเงินสำรองสำหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติเข้าเป็นเงินกองทุนได้ไม่เกินร้อยละ 1.25 ของยอดสินทรัพย์เสี่ยง
(2) เงินที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับการออกตราสารตามประเภท จำนวนเงินหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(3) เงินที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับจากการออกหุ้นบุริมสิทธิ์ชนิดสะสมเงินปันผล
ทั้งนี้เงินกองทุนชั้นที่ 2 ต้องมีจำนวนสูงสุดไม่เกินเงินกองทุนชั้นที่ 1 และการออกหุ้นบุริมสิทธ์ชนิดสะสมเงินปันผล จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
ข้อ 3 ธนาคารพาณิชย์อาจนับเงินสำรองจากการตีราคาที่ดิน อาคาร หรือห้องชุดในอาคารชุดเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้ตาหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศนี
ข้อ 4 ธนาคารพาณิชย์ซึ่งประสงค์จะนับเงินสำรองตามข้อ 3 เป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ต้องยื่นคำขอต่อธนาคารแห่งประเทศไทย และให้นับรวมเป็นเงินกองทุนชั้นที่2 ได้เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว
ข้อ 5 การตีราคาและการบันทึกบัญชีที่ดิน และอาคาร ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้องของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย
ข้อ 6 การนับมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาเป็นเงินกองทุนชั้นที่2 ให้ปฏิบัตตามลหักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) เป็นที่ดินที่มีไว้เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับดำเนินธุรกิจ หรือสำหรับพนักงานและลูกจ้างของธนาคารพาณิชย์นั่น ตามนิยามมาตรา 12(4)(ก) แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชาบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 พ.ศ.2528
(2) เป็นที่ดินที่ธนาคารพาณิชย์นั้นมีกรรมสิทธิหรือมีสิทธิครอบครองตามหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินแต่เพียงผู้เดียว และปราศจากภาระผูกพันเหนือที่ดินดังกล่าว
(3) เป็นที่ดินในหรือนอกประเทศซึ่งมีการตีราคาไว้ไม่เกินกว่า 6 เดือน นับจากวันที่ในรายงานที่ให้มูลค่าทรัพย์สินที่ออกโดยบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สิน เว้นแต่การยื่นคำขอสำหรับงวดปี 2543 หากธนาคารพาณิชย์ได้ตีราคา โดยถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 32 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ธนาคารพาณิชยอาจใช้ราคาที่ตีไว้เกินกว่า 6 เดือนได้ โดยให้ชี้แจงเหตุผลในรายละเอียดประกอบคำขอ
6.2 การตีราคาที่ดินเพื่อขออนุมัตินับมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ธนาคารพาณิชย์ต้องใช้บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะในการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และทั้งนี้ บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินนั้นต้องไม่มีความสัมพันธ์หรือมีผลประโยชน์ใดๆ เกี่ยวข้องกับธนาคารพาณิชย์ดังกล่าว
6.3 ในการยื่นขอต้องเป็นการยื่นขอสำหรับที่ดินทุกแปลงที่เข้าข่ายตามข้อ 6.1 ในคราวเดียวกัน โดยให้ปฏิบัติโดยยึดหลักความสม่ำเสมอ แต่จะยื่นคำขอมากกว่า 1 ครั้งในระยะ 3 ปีไม่ได้
6.4 ให้ธนาคารพาณิชย์แสดงการคำนวณราคาที่ดินและมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นของที่ดินทุกแปลงตามข้อ 6.1 อย่างชัดเจน ตามแบบตารางแนบ 1 ที่แนบท้ายประกาศนี้ และให้แสดงหลักเกณฑ์การตีราคา รวมทั้งรายละเอียดในการคำนวณประกอบด้วย ในกรณีที่ดิน ซึ่งประกอบด้วยโฉนดย่อยหลายแปลง และแต่ละโฉนดมีราคาประเมินไม่เท่ากัน ให้ธนาคารพาณิชย์แสดงจำนวนเหนือที่เป็นตารางว่าสำหรับแต่ละราคาของแต่ละโฉนด และสำหรับกรณีที่ดินซึ่งมีเนื้อที่รวมตั้งแต่ 1 ไร่ขี้นไป ให้แนบสำเนาภาพถ่ายเอกสารแสดงกรรมสิทธิหรือสิทธิครอบครองในที่ดนิด้วย ทั้งนี้ การตีราคาที่ดินทุกกรณีจะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้สอบบัญชีของธนาคารพาณิชย์ว่าเป็นไปตามแนวทางที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดและมีวิธีปฏิบัติและการบันทึกบัญชีเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี
6.5 การตีราคาที่ดินในต่างประเทศเพื่อขออนุมัตินับมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นเข้าเป็นเงนิกองทุนชั้นที่ 2 ธนาคารพาณิชย์ต้องใช้บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินหรือผู้ชำนาญการตีราคาและได้รับความเห็นชอบจากผู้สอบบัญชีของสาขาธนาคารพาณิชย์นั้น และให้แสดงการคำนวณราคาที่ดินและมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแบบตารางแนบ 1 ด้วย
6.6 ในการยื่นคำขออนุมัตินับมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาที่ดินเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ให้แนบเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ประกอบคำขอด้วย
(1) รายงานการคำนวณมูลค่าเพิ่มจากการตีราคาที่ดิน ตามแบบตารางแนบ 1
(2) รายงานการนับเงินสำรองจากการตีราคาที่ดิน อาคาร และห้องชุด ในอาคารชุด เข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตาแบบตารางแนบ 3 ที่แนบท้ายประกาศนี้
(3) ภาพถ่ายเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
(4) รายงานแสดงรายละเอียดการตีราคาที่ดินจากบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินตามข้อ 6.2
6.7 ให้ธนาคารพาณิชย์นับมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาที่ดินเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้ไม่เกินร้อยละ 70 ของมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากราคาทุนทั้งสิ้น แต่ไม่เกินจำนวนที่ได้รับอนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจทำการทบทวนข้อกำหนดอัตรส่วนการนับมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาที่ดนิเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ภายหลังงวดการบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2546 ก็ได้
6.8 เมื่อได้รับอนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว ให้ธนาคารพาณิชย์แสดงมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาที่ดินเฉพาะส่วนที่ได้รับอนุญาติให้นับเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามข้อ 6.7 ไว้ภายใต้หัวข้อมูลค่าเพิ่มจากการตีราคาที่ดินในแบบรายงาน ธ.พ.10.1 "รายละเอียดการดำรงเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ"
6.9 ในกรณีที่ราคาตามบัญชีของที่ดินแปลงที่เคยมีการตีราคาเพิ่มและได้รับอนุมัติให้นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ไปแล้ว มีมูลค่าลดลงอันเกิดจากการด้อยค่า ธนาคารพาณิชย์ต้องหักส่วนที่ลดลงดังกล่าวออกจากเงินกองทุนชั้นที่ 2 มีมูลค่าลดลงอันเกิดจากการด้อยค่า ธนาคารพาณิชย์ต้องหักส่วนที่ลดลงดังกล่าวออกจากเงินกองทุนชั้นที่ 2 ในอัตรส่วนเดียวกับจำนวนที่ด้อยค่า
6.10 เมื่อธนาคารพาณิชย์จำหน่ายที่ดินที่เคยตีราคาเพิ่มและนับเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ให้ธนาคารพาณิชย์รายงานการจำหน่ายที่ดินแปลงดังกล่าวต่อธนาคารแห่งประเทศไทยภายใน 7 วัน นับแต่วันจดทะเบียนโอนที่ดิน และให้หักมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาของที่ดินแปลงนั้นออกจากเงินกองทุนชั้นที่ 2 ในอัตราส่วนเดียวกับจำนวนที่จำหน่ายออกไป
ข้อ 7 การนับมูลค่าส่วนทีเพิ่มขึ้นจากการตีราคาอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
7.1 อาคารนับมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้ ต้องมีลักษณะดังนี้
(1) เป็นอาคารที่ตั้งอยู่บนที่ดินที่ธนาคารพาณิชย์มีกรรมสิทธิ หรือสิทธิครอบครองตามหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน และที่ดินดังกล่าวต้องปราศจากภาระผูกพัน
(2) เป็นอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดที่มีไว้เพื่อใช้เป็นสถานีสำหรับดำเนินธุรกิจ หรือสำหรับพนักงานและลูกจ้าของธนาคารพาณิชย์นั้น ตามนัยมาตรา 14(4)(ก) แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 พ.ศ.2528
(3) เป็นอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดที่ธนาคารพาณิชย์นั้นมีกรรมสิทธแต่เพียงผู้เดียวและปราศจากภาระผูกพันใดๆ
(4) เป็นอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดที่เอาประกันอัคคีภัยไว้เต็มมูลค่าและระบุให้ธนาคารพาณิชย์นั้นเป็นผู้รับประโยช์เพียงผู้เดียว
(5) เป็นอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดในหรือนอกประเทศซึ่งมีการตีราคาไว้ไม่เกินกว่า 6 เดือน นับจากวันที่ในรายงานที่ให้มูลค่าทรัพย์สินที่ออกโดยบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินเว้นแต่การยื่นคำขอสำหรับงวดปี 2543 หากธนาคารพาณิชย์ได้ตีราคา โดยถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 32 เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ธนาคารพาณิชย์อาจใช้ราคาที่ตีไว้เกินกว่า 6 เดือน ได้โดยให้ชี้แจงเหตุผลในรายละเอียดประกอบคำขอ
7.2 การตีราคาอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดเพื่อขอนุมัตินับมูลค่าส่วนทีเพิ่มเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ธนาคารพาณิชย์ต้องใช้บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อวัตถุประสงค์สาธารณะในการเปิดเผยข้อมูลต่อประชาชนที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินนั้นต้องไม่มีความสัมพันธ์หรือมีผลประโยชน์ใดๆ เกี่ยวข้องกับธนาคารพาณิชย์ดังกล่าว
7.3 ในการยื่นคำขอสำหรับอาคาร ต้องเป็นการยื่นคำขอสำหรับอาคารทุกหลังที่เขาขายตามข้อ 7.1 ในคราวเดียวกัน โดยให้ปฏิบัติโดยยึดหลักความสม่ำเสมอ แต่จะยื่นคำขอมากกว่า 1 ครั้งในระยะ 3 ปีไม่ได้
7.4 ในการยื่นคำขอสำหรับห้องชุดในอาคารชุด ต้องเป็นการยื่นคำขอสำหรับห้องชุดในอาคารชุดทุกห้องที่เข้าข่ายตามข้อ 7.1 ในคราวเดียวกัน โดยให้ปฏิบัติโดยยึดหลักความสม่ำเสมอ โดยให้ทำการตีราคาแลเยื่นคำขอเป็นประจำทุกปี
7.5 ให้ธนาคารพาณิชย์แสดงรายการผลการคำนวณราคาอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด และมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นของอาคารหรือห้องชุดทุกหลังตามข้อ 7.1 ตามแบบตารางแนบ 2.1 และแบบตารางแนบ 2.2 ที่แนบท้ายประกาศนี้ และให้แสดงหลักเกณฑ์การตีราคา รวมทั้งรายละเอียดในการคำนวณประกอบด้วย ทั้งนี้ การตีราคาอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดทุกกรณีจะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้สอนบัญชีของธนาคารพาณิชย์ ว่เป็นไปตามแนวทางที่ธนาคารแห่งประเทสไทยกำหนดและมีวิธีการปฏิบัติและการบันทึกบัญชีเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี
7.6 การตีราคาอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดในต่างประเทศเพื่อขออนุมัตินับมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ธนาคารพาณิชย์ต้องใช้บริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินหรือผู้ชำนาญการตีราคา และได้รับความเห็นชอบจากผู้สอบบัญชีของสาขาธนาคารพาณิชย์นั้น และให้แสดงการคำนวณราคาอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด และมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแบบตารางแนบ 2.1 และแบบตารางแนบ 2.2 ด้วย
7.7ในการยื่นคำขออนุมัตินับมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ให้แนบเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ประกอบคำขอด้วย
(1) รายงานการคำนวณมูลค่าเพิ่มจากการตีราคาอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด ตามแบบตารางแนบ 2.1 และแบบตารางแนบ 2.2
(2) รายงานการนับเงินสำรองจากการตีราคาที่ดิน อาคารและห้องชุดในอาคารชุดเข้าเป็นเงนกองทุนชั้นที่ 2 ตามแบบตารางแนบ 3
(3) ภาพถ่ายเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด
(4) ภาพถ่ายเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ตั้งของอาคาร
(5) ภาพถ่ายกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย
(6) รายงานแสดงรายละเอียดการตีราคาอาคาร หรือห้องชุดในอาคารชุดจากบริษัทประเมินมูลค่าทรัพย์สินตามข้อ 7.2
7.8 ให้ธนาคารพาณิชย์นับมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นทั้งสิ้นแต่ไม่เกินจำนวนที่ได้รับอนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจทำการทบทวนข้อกำหนดอัตรส่วนการนับมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ภายหลังงวดการบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2546 ก็ได้
7.9 เมื่อได้รับอนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว ให้ธนาคารพาณิชย์แสดงมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดเฉพาะส่วนที่ได้รับอนุญาตให้นับเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามข้อ 7.8 ไว้ภายใต้หัวข้อมูลค่าเพิ่มจากการตีราคาอาคารในแบบรายงาน ธ.พ. 10.1 "รายละเอียดการดำรงเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ"
ให้ธนาคารพาณิชย์หักค่าเสื่อมราคาของอาคารหลังที่ได้มีการตีราคาเพิ่มและได้รับอนุมัติให้นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ไปแล้ว ออกจากเงินกองทุนชั้นที่ 2 ในอัตรส่วนเดียวกับค่าเสื่อมราคมที่ได้หักออกไปในลักษณะเดียวกับการหักจากบัญชีส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์
7.10 ในกรณีที่ราคาตามยัญชีของอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดหลังที่เคยมีการตีราคาเพิ่มและได้รับอนุมัติให้นับเปินเงนิกองทุนชั้นที่ 2 ไปแล้ว มีมูลค่าลดลงอันเกิดจากการด้อยค่า ธนาคารพาณิชย์ต้องหักส่วนที่ลดลงดังกล่าวออกจากเงินกองทุนชั้นที่ 2 ในอัตรส่วนเดียวกับจำนวนที่ด้อยค่า
7.11 เมื่อธนาคารพาณิชย์จำหน่ายอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดที่เคยตีราคาเพิ่ม และนับเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ให้ธนาคารพาณิชย์รายงานการจำหน่ายดังกล่าวต่อธนาคารแห่งประเทศไทยภายใน 7 วัน นับแต่วันที่จดทะเบียนโดนอาคารหรือห้องชุดในอาคารและให้หักมูลค่าที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาหรือห้องชุดนั้นออกจากเงินกองทุนชั้นที่ 2 ในอัตราส่วนเดียวกับจำนวนที่ได้จำหน่ายออกไป
ข้อ 8 ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ตัดสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ออกจากบัญชีหรือกันเงินสำรองสำหรับสอนทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ยังไม่ครบจำนวนตามมาตรา 15 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมกระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 พ.ศ.2528 ให้ธนาคารพาณิชย์นำสินทรัพย์ในส่วนที่ยังไม่ได้ตัดออกจากบัญชีหรือในส่วนที่ยังไม่ได้กันเงินสำรองหักออกจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาที่ดินตามข้อ 6.7 และมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตามข้อ 7.8 เสียก่อน แล้วจึงนับจำนวนคงเหลือของมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2
ให้ธนาคารพาณิชย์แสดงรายละเอียดการนับเงินสำรองจากการตีราคาสินทรัยพ์เข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามแบบตารางแนบ 3 ในกรณีที่สินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ไดในส่วนที่ยังไม่ได้ตัดออกจากบัญชีหรือสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ในส่วนที่ยังไม่ได้กันเงินสำรองมีจำนวนลดลง หากธนาคารพาณิชย์ประสงค์จะนับมูลค่าจากการตีราคาสินทรัพย์เข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 เพิ่มขึ้น ให้ธนาคารพาณิชย์แจ้งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบโดยแสดงรายละเอียดในแบบตารางแนบดังกล่าว
ข้อ 9 การตีราคาที่ดิน อาคาร และห้องชุดในอาคารชุดที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศให้คำนวณมูลค่าส่วนทีเพิ่มขึ้นเป็นเงินตราต่างประเทศ แล้วจึงแปลงเป็นเงินบาท โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยนของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะประกาศทุกเช้าวันทำการถัดไปของวันจัดทำรายงาน ทั้งนี้ ให้ใช้อัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อถึวเฉลี่ยขั้นต่ำสุดและอัตราขายถัวเฉลี่ย สำหรับสกุลเงินซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยมิได้ประกาศอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงไว้ให้ใช้วิธีคำนวณจากอัตราไขว้ (Cross Rate)
ข้อ 10 ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2543
(ม.ร.ว.จตุมงคล โสณกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
-ยก-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ