การนับมูลค่าหลักทรัพย์ที่ใช้ในการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์

ข่าวกฏหมายและประกาศ Friday November 9, 2001 09:29 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                                         9  พฤศจิกายน 2544
เรียน ผู้จัดการ
ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร
สำนักงานวิเทศธนกิจทุกธนาคาร
ที่ ธปท.สนส. (12) ว.2513/2544 เรื่อง การนับมูลค่าหลักทรัพย์ที่ใช้ในการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์
ด้วยปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์และกิจการวิเทศธนกิจนับหลักทรัพย์ตามที่กำหนดเข้าเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องตามกฎหมายได้ ความละเอียดแจ้งแล้ว นั้น
เพื่อให้วิธีการนับมูลค่าหลักทรัพย์เป็นสินทรัพย์สภาพคล่องของสถาบันการเงินมีความชัดเจนและสะท้อนมูลค่าปัจจุบันของหลักทรัพย์ดังกล่าว รวมทั้งให้สอดคล้องกับวิธีการบันทึกบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี เรื่อง การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงออกข้อกำหนดในการนับมูลค่าหลักทรัพย์เข้าเป็นสินทรัพย์สภาพคล่อง ดังนี้
1. ให้ยกเลิกหนังสือที่ ธปท.สนส.(12) ว 2163/2544 เรื่อง การนับมูลค่าหลักทรัพย์ที่ใช้ในการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง ลงวันที่ 27 กันยายน 2544
2. ให้นับมูลค่าหลักทรัพย์เข้าเป็นสินทรัพย์สภาพคล่อง โดยใช้ราคาตามบัญชี ตามวิธีการที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี เรื่อง การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ดังนี้
2.1 กรณีหลักทรัพย์ไม่มีการเคลื่อนไหว : ให้ใช้ราคาตามบัญชี ณ วันสิ้นเดือนก่อนเป็นมูลค่าของหลักทรัพย์สภาพคล่องที่จะใช้ดำรงในเดือนถัดไป
2.2 กรณีหลักทรัพย์มีการเคลื่อนไหว
2.2.1 กรณีการซื้อเพิ่มเข้ามาระหว่างเดือน : ให้ใช้ราคาซื้อในการนับหลักทรัพย์ดังกล่าวเป็นสินทรัพย์สภาพคล่อง จนกว่าจะมีการคำนวณราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักใหม่ หรือมีการตีราคาสิ้นเดือน
2.2.2 กรณีขายสินทรัพย์ออกไประหว่างเดือน : ให้หักสินทรัพย์ที่ขายออกไปด้วยมูลค่าตามที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชี
2.2.3 กรณีทำ Repo กับธนาคารแห่งประเทศไทย. : ให้นับมูลค่าสินทรัพย์สภาพคล่องด้วยวิธีการดังนี้
ผู้กู้ ผู้ให้กู้
ณ วันทำ Repo หักหลักทรัพย์ดังกล่าวออกด้วย - ในการนับสินทรัพย์ที่ได้จาก Repo
(Settlement date) ราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักล่าสุด เป็นสินทรัพย์สภาพคล่อง ให้ใช้
(ทั้งนี้ สถาบันการเงินยังคงต้อง ราคาที่ต่ำกว่าระหว่าง (1) หรือ (2)
นำหลักทรัพย์ดังกล่าวไปคำนวณ ซึ่งคือ
ราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักต่อไป) (1) 90% ของราคาที่ตราไว้
(ซึ่งคือจำนวน เงินที่ให้
จำนวนเงินที่ให้กู้ยืม) หรือตามหลัก
เกณฑ์ที่สายตลาดการเงิน ธนาคาร
ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศ
กำหนด
(2) ราคา mark to market
ของหลักทรัพย์ในทุกวันสิ้นเดือน
(โดยถือเสมือนหนึ่งว่าหลักทรัพย์
ดังกล่าวรวมอยู่ในบัญชีเงินลงทุน
ของสถาบันการเงินตามวิธีการที่
กำหนดตามมาตราฐานบัญชี) ทั้งนี้ หากสัญญา Repo สิ้นสุด
ก่อนถึงวันสิ้นเดือน ก็ให้ใช้ราคาตาม (1) ในการนับสินทรัพย์สภาพคล่อง
ตลอดไป
ณ วันครบกำหนด รับคืนด้วยราคาถัวเฉลี่ย ตัดออกด้วยราคาที่ใช้ในการนับมูล
สัญญา Repo ถ่วงน้ำหนักล่าสุด ค่า ณ วัน ก่อนหน้า
2.2.4 กรณี Private Repo : ให้นับมูลค่าสินทรัพย์สภาพคล่องด้วยวิธีการดังนี้
ผู้กู้ ผู้ให้กู้
ณ วันทำ Private Repo หักหลักทรัพย์ดังกล่าวออกด้วย - ในการนับสินทรัพย์ที่ได้จากการทำ Private Repo
(Settlement Date) ราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักล่าสุด เป็นสินทรัพย์สภาพคล่อง ให้ใช้ราคาที่ต่ำกว่าระหว่าง
(ทั้งนี้ สถาบันการเงินจะยังคง (1) หรือ (2) ซึ่งคือ
นำหลักทรัพย์ดังกล่าวไปคำนวน (1) ราคาตลาดหลังปรับอัตราส่วนลด (Hair cut)
ราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ณ วันทำธุรกรรม (ซึ่งคือจำนวนเงินที่ให้กู้ยืมไป)
ต่อไป) (2) ราคาตลาดทุกสิ้นวัน
ณ วันจ่ายคืน รับคืนด้วยราคาถัวเฉลี่ยถ่วง ตัดออกด้วยราคาที่ใช้ในการนับมูลค่า ณ วันก่อนหน้า
Private Repo น้ำหนักล่าสุด
3. ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จำกัด (มหาชน) และบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตามโครงการรับแลกเปลี่ยนตั๋ว 56 บริษัทเงินทุนที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ ให้ใช้จำนวนเงินที่ตราไว้ในตราสารที่กล่าวเป็นมูลค่าของสินทรัพย์สภาพคล่องตามเดิม
อนึ่ง สำหรับตั๋วสัญญาใช้เงินของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้นับเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องได้นั้น สถาบันการเงินสามารถเริ่มนับเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องได้ตั้งแต่วันที่สถาบันการเงินได้รับตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงิน สถาบันการเงินจะต้องปรับมูลค่าที่นำมาใช้ดำรงเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องให้สอดคล้องกันด้วย
ทั้งนี้ เกณฑ์การนับมูลค่าหลักทรัพย์ที่ใช้ในการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องข้างต้นให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2544 เป็นต้นไป
ขอแสดงความนับถือ
(นางธัญญา ศิริเวทิน)
รองผู้ว่าการ (เสถียรภาพสถาบันการเงิน)
ฝ่ายนโยบายสถาบันการเงิน
โทร. 0-2283-5843, 0-2283-5307
หมายเหตุ [
] ธนาคารจะจัดให้มีการประชุมชี้แจงในวันที่ ………………… ณ …………………
[X
] ไม่มีการจัดประชุมชี้แจง
สนสว10-กส23008-25441112ด
-ยก-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ