เรื่อง แนวทางการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้ความช่วยเหลือและทำข้อตกลงปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (เพิ่มเติม) สำหรับลูกหนี้ประเภทนิติบุคคล
เลขที่ ธปท.ฝนส2.ว. 300/2565 วันที่ออกหนังสือเวียน 18 เมษายน 2565 วันที่มีผลบังคับใช้ - วันที่สิ้นสุดผลบังคับใช้ - สถาบันผู้เกี่ยวข้อง 1.ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ 2.ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในต่างประเทศ 3.บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 4.บริษัทเงินทุน 5.ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต 6.สถาบันการเงินเฉพาะกิจ 7.สำนักงานผู้แทนธนาคารต่างประเทศ วัตถุประสงค์/หลักการ/เหตุผล - สาระสำคัญ ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหนังสือเวียนแนวทางการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการให้ความช่วยเหลือและการทำข้อตกลงการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้นิติบุคคล ซึ่งเป็นแนวทางเพิ่มเติมจากแนวทางสำหรับลูกหนี้รายย่อยและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ประเภทบุคคลธรรมดา โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ 1. วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นทางเลือกเพิ่มเติมให้ผู้ประกอบธุรกิจ ในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้และการทำข้อตกลงปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ให้สามารถลดการเดินทาง การพบหน้า โดยยังคงมีกระบวนการที่ปลอดภัย ยอมรับได้ ซึ่งช่องทางดิจิทัลที่พัฒนาขึ้นมาแล้วนี้จะเป็นการวางโครงสร้างพื้นฐานในอนาคตสำหรับการทำธุรกรรมทางการเงิน ที่สอดรับกับการปรับเปลี่ยนเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ทั้งนี้ แนวทางในหนังสือเวียนเป็นตัวอย่างให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถนำไปใช้อำนวยความสะดวกให้แก่ลูกหนี้ตามความเหมาะสม โดยพิจารณาควบคู่กับความเสี่ยงของธุรกรรม ความพร้อมของผู้ประกอบธุรกิจ และความพร้อมของลูกหนี้ 2. ขั้นตอนการดำเนินงานที่สำคัญ 2.1 การยืนยันตัวตนลูกหนี้นิติบุคคลและผู้มีอำนาจของนิติบุคคล โดยสามารถดำเนินการผ่านกระบวนการต่าง ๆ เช่น การเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่มีฐานข้อมูล และการใช้ mobile application ร่วมกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล 2.2 การทำข้อตกลงปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถเสนอความช่วยเหลือหรือเงื่อนไขการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ และจัดทำช่องทางให้ลูกหนี้ตอบรับโดยมีหลักฐานให้ลูกหนี้สามารถใช้อ้างอิงได้ภายหลัง ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถนำแนวทางดังกล่าวมาใช้กับผู้ที่เกี่ยวข้องได้ เช่น ผู้กู้ร่วม ผู้ค้ำประกัน 3. ทางเลือกในการนำดิจิทัลมาใช้สำหรับผู้ประกอบธุรกิจ โดยสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีดิจิทัลทั้งกระบวนการหรือบางขั้นตอน และสามารถเลือกใช้ระบบที่พัฒนาเองหรือใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกที่น่าเชื่อถือภายใต้หลักการของการบริหารความเสี่ยงด้าน IT รวมทั้งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ถาม-ตอบ - เอกสารแนบ -
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย