6 พฤษภาคม 2548
เรียน ผู้จัดการ
ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร*
ที่ ฝกส.(11) ว. 33 /2548 เรื่อง นำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน
1. เหตุผลในการออกหนังสือเวียน
1.1 นำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ลงวันที่ 25 มีนาคม 2548
1.2 ยกเลิกข้อ 1(4) ของหนังสือที่ ธปท.สนส.(11) ว.2122/2545 ลงวันที่ 11 กันยายน 2545 เรื่องการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์
1.3 ยกเลิกหนังสือที่ ธปท.ณก.(ว)718/2536 ลงวันที่ 19 เมษายน 2536 เรื่อง การให้บริการรับคำสั่งซื้อขายหน่วยลงทุน
2. ฉบับประกาศที่ลงในราชกิจจานุเบกษา
ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 122 ตอนพิเศษ 36 ง วันที่ 30 เมษายน 2548
3. ขอบเขตการบังคับใช้
ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร ยกเว้นกิจการวิเทศธนกิจ
4. สาระสำคัญของประกาศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522 อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขาย หลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุนได้ ตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ในประกาศฉบับนี้
5. วันเริ่มต้นการใช้บังคับ
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ขอแสดงความนับถือ
(นางทองอุไร ลิ้มปิติ)
ผู้อำนวยการอาวุโส สายนโยบายสถาบันการเงิน
ผู้ว่าการ แทน
สิ่งที่ส่งมาด้วย : ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ลงวันที่ 25 มีนาคม 2548
ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน
โทร. 0-2283-6875, 0-2283-5834
หมายเหตุ [
] ธนาคารจะจัดให้มีการประชุมชี้แจงในวันที่......เวลา...........ณ.............
[X
] ไม่มีการจัดประชุมชี้แจง
ฝกสว10-กส32001--25480506ด
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
เรื่อง การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน
---------------------------------------------------
1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยลงทุนและให้ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นตัวแทนสนับสนุนการซื้อขายหน่วยลงทุนสามารถประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง และเป็นไปตามหลักเกณฑ์การอนุญาตและการกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน พ.ศ. 2547
2. อำนาจตามกฎหมาย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ตามข้อกำหนด ในประกาศนี้
3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร ยกเว้นกิจการวิเทศธนกิจ
4. เนื้อหา
4.1 หลักการ
4.1.1. ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การเป็นผู้ค้าหลักทรัพย์ และการเป็นผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด รวมถึงอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถแต่งตั้งบุคคลธรรมดาที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. เป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อหน่วยลงทุนได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายขอบเขตการประกอบ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับหน่วยลงทุน สำหรับธนาคารพาณิชย์ที่จะแต่งตั้งบุคคลธรรมดาเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนนั้น ควรพิจารณาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณสมบัติ
เหมาะสม และไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด และต้องไม่นำ ความเสื่อมเสียมาสู่ธนาคารพาณิชย์ผู้แต่งตั้ง
4.1.2. กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องมีระบบงานเพื่อรองรับธุรกรรมการเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน การค้าหน่วยลงทุน และการจัดจำหน่ายหน่วยลงทุน ตามมาตรฐานที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด เช่น ระบบการรับคำสั่งซื้อขายหน่วยลงทุน ระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ระบบการจัดทำบัญชีรายชื่อ ผู้ถือหน่วยลงทุนที่แท้จริง ระบบการแยกทรัพย์สินของลูกค้าผู้ถือหน่วยลงทุนและธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น
4.1.3. ธนาคารพาณิชย์ที่จะประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การเป็นผู้ค้าหลักทรัพย์ และการเป็นผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุนต้องมีระบบบริหารความเสี่ยงที่สามารถประเมินติดตามและควบคุมความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสมโดยคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ต้องกำหนดกลยุทธ์ อนุมัตินโยบาย แผนงาน ระเบียบและหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจดังกล่าว และมีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์ต้องจัดให้มีแนวทางในการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมกับขนาด ขอบเขต ความซับซ้อนของโครงสร้างและการลงทุนของธนาคารพาณิชย์ นอกจากนี้คณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์และผู้บริหารของธนาคารพาณิชย์ควรดูแลและบริหารจัดการธุรกิจดังกล่าวตามประกาศฉบับนี้ ไม่ให้เป็นช่องทางเพื่อสร้างประโยชน์เชิงธุรกิจโดยขาดธรรมาภิบาลหรือหลีกเลี่ยงเกณฑ์การกำกับของทางการ เช่น ธนาคารพาณิชย์ต้องไม่ถือหน่วยลงทุนเป็นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดของกองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งทั้งทางตรงและทางอ้อม และลงทุน ก่อภาระผูกพันหรือให้ สินเชื่อแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งผ่านกองทุนรวมนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงเกณฑ์อัตราส่วนการซื้อหรือมีหุ้น กับเงินกองทุน และเกณฑ์อัตราส่วนการให้สินเชื่อ ลงทุน และก่อภาระผูกพันเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับเงินกองทุน (Single Lending Limit) ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
4.2 หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจ
4.2.1 ในประกาศฉบับนี้
"หน่วยลงทุน" หมายความว่า หน่วยลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์
"การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์" หมายความว่า การเป็นนายหน้าซื้อขาย หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
"การค้าหลักทรัพย์" หมายความว่า การค้าหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
"การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์" หมายความว่า การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4.2.2. ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่ เป็นหน่วยลงทุน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในข้อ 4.2.3 ถึง ข้อ 4.2.10 โดยต้องมีคุณสมบัติและปฏิบัติตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้
1) มีฐานะการเงินและฐานะการดำเนินงานอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถกันเงินสำรอง
ได้ครบถ้วน สามารถดำรงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์และภาระผูกพันที่ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ตลอดจนสามารถดำรงอัตราส่วนทางการเงินอื่นใดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งการเป็นกรณีพิเศษ
2) มีแผนงานและวิธีปฏิบัติรองรับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุนที่เป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานและเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ แผนงานดังกล่าวต้องมีสาระสำคัญอย่างน้อย ดังนี้
(1) นโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติในการประกอบธุรกิจ โดยการเพิ่มเติม
หรือเปลี่ยนแปลงนโยบาย แผนงาน และระเบียบวิธีปฏิบัติจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ด้วย
(2) รายละเอียดของระบบงานในการประกอบธุรกิจ โดยครอบคลุมถึง
ระบบงานตามประเภทของการประกอบธุรกิจประเภทที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับใบอนุญาตจาก สำนักงาน ก.ล.ต. เช่น
(2.1) ระบบการวิเคราะห์และบริหารความเสี่ยงของหน่วยลงทุน
การกำหนดเพดานสำหรับธุรกรรมเพื่อค้า โดยสะท้อนถึงความเสี่ยงที่มูลค่าหน่วยลงทุนจะ เปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ย
(2.2) ระบบการกำหนดเพดานความเสี่ยงเพื่อป้องกันการขาดทุน
การติดตาม และการทบทวนเพดานความเสี่ยง การตรวจสอบและรายงานผลเพื่อให้ทราบการปฏิบัติ ที่แตกต่างไปจากวงเงินและเพดานที่กำหนดไว้ รวมถึงการอนุมัติให้เกินเพดานความเสี่ยงที่กำหนดไว้เป็นการชั่วคราว ระบบการจัดเก็บข้อมูลและการจัดทำรายงานที่มีรายละเอียดอันเป็นประโยชน์ในการติดตาม วิเคราะห์ และประเมินผลการประกอบธุรกิจ เพื่อรายงานต่อธนาคารแห่งประเทศไทย
(2.3) ระบบการติดตามการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าหน่วยลงทุน และ
มีการบันทึกบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี รวมทั้งจัดทำรายงานรายได้หรือกำไรขาดทุนที่เกิดจากการ ทำธุรกรรมการค้าหน่วยลงทุน
(2.4) ระบบการรับคำสั่งซื้อขายหน่วยลงทุน ระบบการยืนยันและ
กระทบยอดรายการ ระบบการจัดการทางกฎหมาย ระบบควบคุมการปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ระบบการชำระราคาค่าซื้อขายหน่วยลงทุนระหว่างลูกค้าและธนาคารพาณิชย์ ระบบการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหน่วยลงทุนที่แท้จริง ระบบการแยกทรัพย์สินของลูกค้าผู้ถือหน่วยลงทุนและธนาคารพาณิชย์
(2.5) ระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการลูกค้าและดูแลผลประโยชน์ของลูกค้าผู้ถือหน่วยลงทุน เช่น การรับลูกค้า การรับส่งข้อมูล เอกสารหลักฐานหรือ รายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวม การรับเรื่องร้องเรียนและการให้คำแนะนำการเก็บรักษาข้อมูลของลูกค้า ระบบการจัดการเกี่ยวกับสิทธิและผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน ระบบการจัดสรรหน่วยลงทุนให้ชัดเจนและเป็นธรรม และระบบการเปิดเผยและจัดการเกี่ยวกับ ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น
(2.6) ระบบงานอื่นใดตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด เพื่อ
รองรับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน
(3) มีความพร้อมด้านบุคลากร เพื่อรับผิดชอบงานด้านการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน โดยให้มีบุคลากรเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าวโดยเฉพาะ รวมทั้งมีการแบ่งสถานที่ดำเนินการแยกต่างหากจากบริการรับฝากเงินหรือบริการอื่นๆ ของธนาคารพาณิชย์อย่างชัดเจน
4.2.3. ธนาคารพาณิชย์ต้องตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี กฎหมาย หรือกฎเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด และต้องจัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่ เหมาะสม เพื่อประเมินและสอบทานว่าเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติตามนโยบายและขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ รวมทั้งกระบวนการที่กำหนดไว้สามารถปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลได้จริง
4.2.4. ในการคำนวณน้ำหนักความเสี่ยงของหน่วยลงทุนหรือภาระผูกพันตามสัญญารับประกันการจำหน่ายหน่วยลงทุน เพื่อดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกพัน ให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการดำรงเงินกองทุนและหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดให้ดำรงเงินกองทุนสำหรับภาระผูกพันตามสัญญารับประกันการจำหน่ายหน่วยลงทุน นับแต่วันที่ธนาคารพาณิชย์ทำสัญญารับประกันการจำหน่ายถึงวันปิดการเสนอขาย โดยภาระผูกพันดังกล่าวมีค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) เทียบเท่ากับภาระผูกพัน ตามสัญญารับประกันการจำหน่ายตราสารหรือหลักทรัพย์ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
4.2.5. ธนาคารพาณิชย์ต้องกันเงินสำรองสำหรับผลต่างของราคาตามบัญชีที่สูงกว่ามูลค่ายุติธรรมหรือมูลค่าตามบัญชีที่ได้จากการประเมินค่าสินทรัพย์สุทธิ (Net Assets Value) ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ของธนาคารพาณิชย์
4.2.6. ธนาคารพาณิชย์ที่จะประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุนต้องได้รับ ใบอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยธนาคารพาณิชย์สามารถประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ดังกล่าวได้เฉพาะประเภทธุรกิจที่ตนได้รับอนุญาตเท่านั้น
4.2.7. ธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็น นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน สามารถแต่งตั้งบุคคลธรรมดาที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. เป็นตัวแทนในการ ทำหน้าที่ขายหรือรับซื้อหน่วยลงทุนได้
4.2.8. ธนาคารพาณิชย์ที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ต้องปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการลงทุนในหน่วยลงทุนตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
4.2.9. ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจยับยั้งหรือสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้
ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการ จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุนได้ ในกรณีต่อไปนี้
1) ธนาคารพาณิชย์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
2) กรณีอื่นๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่ากระทบกับความปลอดภัยหรือ
ความผาสุกของประชาชน
4.2.10. ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็น นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุนได้ตามที่เห็นสมควร
5. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 25 มีนาคม 2548
(ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ฝกสป10-กส32001-25480328ด
เรียน ผู้จัดการ
ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร*
ที่ ฝกส.(11) ว. 33 /2548 เรื่อง นำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน
1. เหตุผลในการออกหนังสือเวียน
1.1 นำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ลงวันที่ 25 มีนาคม 2548
1.2 ยกเลิกข้อ 1(4) ของหนังสือที่ ธปท.สนส.(11) ว.2122/2545 ลงวันที่ 11 กันยายน 2545 เรื่องการอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์
1.3 ยกเลิกหนังสือที่ ธปท.ณก.(ว)718/2536 ลงวันที่ 19 เมษายน 2536 เรื่อง การให้บริการรับคำสั่งซื้อขายหน่วยลงทุน
2. ฉบับประกาศที่ลงในราชกิจจานุเบกษา
ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 122 ตอนพิเศษ 36 ง วันที่ 30 เมษายน 2548
3. ขอบเขตการบังคับใช้
ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร ยกเว้นกิจการวิเทศธนกิจ
4. สาระสำคัญของประกาศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2522 อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขาย หลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุนได้ ตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ในประกาศฉบับนี้
5. วันเริ่มต้นการใช้บังคับ
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ขอแสดงความนับถือ
(นางทองอุไร ลิ้มปิติ)
ผู้อำนวยการอาวุโส สายนโยบายสถาบันการเงิน
ผู้ว่าการ แทน
สิ่งที่ส่งมาด้วย : ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ลงวันที่ 25 มีนาคม 2548
ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน
โทร. 0-2283-6875, 0-2283-5834
หมายเหตุ [
] ธนาคารจะจัดให้มีการประชุมชี้แจงในวันที่......เวลา...........ณ.............
[X
] ไม่มีการจัดประชุมชี้แจง
ฝกสว10-กส32001--25480506ด
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
เรื่อง การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน
---------------------------------------------------
1. เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยลงทุนและให้ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นตัวแทนสนับสนุนการซื้อขายหน่วยลงทุนสามารถประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง และเป็นไปตามหลักเกณฑ์การอนุญาตและการกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน พ.ศ. 2547
2. อำนาจตามกฎหมาย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ตามข้อกำหนด ในประกาศนี้
3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร ยกเว้นกิจการวิเทศธนกิจ
4. เนื้อหา
4.1 หลักการ
4.1.1. ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การเป็นผู้ค้าหลักทรัพย์ และการเป็นผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด รวมถึงอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถแต่งตั้งบุคคลธรรมดาที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. เป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อหน่วยลงทุนได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายขอบเขตการประกอบ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับหน่วยลงทุน สำหรับธนาคารพาณิชย์ที่จะแต่งตั้งบุคคลธรรมดาเป็นตัวแทนในการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนนั้น ควรพิจารณาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณสมบัติ
เหมาะสม และไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด และต้องไม่นำ ความเสื่อมเสียมาสู่ธนาคารพาณิชย์ผู้แต่งตั้ง
4.1.2. กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องมีระบบงานเพื่อรองรับธุรกรรมการเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน การค้าหน่วยลงทุน และการจัดจำหน่ายหน่วยลงทุน ตามมาตรฐานที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด เช่น ระบบการรับคำสั่งซื้อขายหน่วยลงทุน ระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ระบบการจัดทำบัญชีรายชื่อ ผู้ถือหน่วยลงทุนที่แท้จริง ระบบการแยกทรัพย์สินของลูกค้าผู้ถือหน่วยลงทุนและธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น
4.1.3. ธนาคารพาณิชย์ที่จะประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การเป็นผู้ค้าหลักทรัพย์ และการเป็นผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุนต้องมีระบบบริหารความเสี่ยงที่สามารถประเมินติดตามและควบคุมความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสมโดยคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ต้องกำหนดกลยุทธ์ อนุมัตินโยบาย แผนงาน ระเบียบและหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจดังกล่าว และมีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์ต้องจัดให้มีแนวทางในการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมกับขนาด ขอบเขต ความซับซ้อนของโครงสร้างและการลงทุนของธนาคารพาณิชย์ นอกจากนี้คณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์และผู้บริหารของธนาคารพาณิชย์ควรดูแลและบริหารจัดการธุรกิจดังกล่าวตามประกาศฉบับนี้ ไม่ให้เป็นช่องทางเพื่อสร้างประโยชน์เชิงธุรกิจโดยขาดธรรมาภิบาลหรือหลีกเลี่ยงเกณฑ์การกำกับของทางการ เช่น ธนาคารพาณิชย์ต้องไม่ถือหน่วยลงทุนเป็นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดของกองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งทั้งทางตรงและทางอ้อม และลงทุน ก่อภาระผูกพันหรือให้ สินเชื่อแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งผ่านกองทุนรวมนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงเกณฑ์อัตราส่วนการซื้อหรือมีหุ้น กับเงินกองทุน และเกณฑ์อัตราส่วนการให้สินเชื่อ ลงทุน และก่อภาระผูกพันเพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับเงินกองทุน (Single Lending Limit) ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
4.2 หลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจ
4.2.1 ในประกาศฉบับนี้
"หน่วยลงทุน" หมายความว่า หน่วยลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์
"การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์" หมายความว่า การเป็นนายหน้าซื้อขาย หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
"การค้าหลักทรัพย์" หมายความว่า การค้าหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
"การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์" หมายความว่า การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
4.2.2. ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่ เป็นหน่วยลงทุน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในข้อ 4.2.3 ถึง ข้อ 4.2.10 โดยต้องมีคุณสมบัติและปฏิบัติตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้
1) มีฐานะการเงินและฐานะการดำเนินงานอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถกันเงินสำรอง
ได้ครบถ้วน สามารถดำรงอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์และภาระผูกพันที่ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ตลอดจนสามารถดำรงอัตราส่วนทางการเงินอื่นใดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งการเป็นกรณีพิเศษ
2) มีแผนงานและวิธีปฏิบัติรองรับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุนที่เป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานและเพื่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ แผนงานดังกล่าวต้องมีสาระสำคัญอย่างน้อย ดังนี้
(1) นโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติในการประกอบธุรกิจ โดยการเพิ่มเติม
หรือเปลี่ยนแปลงนโยบาย แผนงาน และระเบียบวิธีปฏิบัติจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ด้วย
(2) รายละเอียดของระบบงานในการประกอบธุรกิจ โดยครอบคลุมถึง
ระบบงานตามประเภทของการประกอบธุรกิจประเภทที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับใบอนุญาตจาก สำนักงาน ก.ล.ต. เช่น
(2.1) ระบบการวิเคราะห์และบริหารความเสี่ยงของหน่วยลงทุน
การกำหนดเพดานสำหรับธุรกรรมเพื่อค้า โดยสะท้อนถึงความเสี่ยงที่มูลค่าหน่วยลงทุนจะ เปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ย
(2.2) ระบบการกำหนดเพดานความเสี่ยงเพื่อป้องกันการขาดทุน
การติดตาม และการทบทวนเพดานความเสี่ยง การตรวจสอบและรายงานผลเพื่อให้ทราบการปฏิบัติ ที่แตกต่างไปจากวงเงินและเพดานที่กำหนดไว้ รวมถึงการอนุมัติให้เกินเพดานความเสี่ยงที่กำหนดไว้เป็นการชั่วคราว ระบบการจัดเก็บข้อมูลและการจัดทำรายงานที่มีรายละเอียดอันเป็นประโยชน์ในการติดตาม วิเคราะห์ และประเมินผลการประกอบธุรกิจ เพื่อรายงานต่อธนาคารแห่งประเทศไทย
(2.3) ระบบการติดตามการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าหน่วยลงทุน และ
มีการบันทึกบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี รวมทั้งจัดทำรายงานรายได้หรือกำไรขาดทุนที่เกิดจากการ ทำธุรกรรมการค้าหน่วยลงทุน
(2.4) ระบบการรับคำสั่งซื้อขายหน่วยลงทุน ระบบการยืนยันและ
กระทบยอดรายการ ระบบการจัดการทางกฎหมาย ระบบควบคุมการปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน ระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ระบบการชำระราคาค่าซื้อขายหน่วยลงทุนระหว่างลูกค้าและธนาคารพาณิชย์ ระบบการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหน่วยลงทุนที่แท้จริง ระบบการแยกทรัพย์สินของลูกค้าผู้ถือหน่วยลงทุนและธนาคารพาณิชย์
(2.5) ระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการลูกค้าและดูแลผลประโยชน์ของลูกค้าผู้ถือหน่วยลงทุน เช่น การรับลูกค้า การรับส่งข้อมูล เอกสารหลักฐานหรือ รายงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกองทุนรวม การรับเรื่องร้องเรียนและการให้คำแนะนำการเก็บรักษาข้อมูลของลูกค้า ระบบการจัดการเกี่ยวกับสิทธิและผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน ระบบการจัดสรรหน่วยลงทุนให้ชัดเจนและเป็นธรรม และระบบการเปิดเผยและจัดการเกี่ยวกับ ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น
(2.6) ระบบงานอื่นใดตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศกำหนด เพื่อ
รองรับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน
(3) มีความพร้อมด้านบุคลากร เพื่อรับผิดชอบงานด้านการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน โดยให้มีบุคลากรเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าวโดยเฉพาะ รวมทั้งมีการแบ่งสถานที่ดำเนินการแยกต่างหากจากบริการรับฝากเงินหรือบริการอื่นๆ ของธนาคารพาณิชย์อย่างชัดเจน
4.2.3. ธนาคารพาณิชย์ต้องตรวจสอบดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี กฎหมาย หรือกฎเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด และต้องจัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่ เหมาะสม เพื่อประเมินและสอบทานว่าเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติตามนโยบายและขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ รวมทั้งกระบวนการที่กำหนดไว้สามารถปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลได้จริง
4.2.4. ในการคำนวณน้ำหนักความเสี่ยงของหน่วยลงทุนหรือภาระผูกพันตามสัญญารับประกันการจำหน่ายหน่วยลงทุน เพื่อดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกพัน ให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการดำรงเงินกองทุนและหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดให้ดำรงเงินกองทุนสำหรับภาระผูกพันตามสัญญารับประกันการจำหน่ายหน่วยลงทุน นับแต่วันที่ธนาคารพาณิชย์ทำสัญญารับประกันการจำหน่ายถึงวันปิดการเสนอขาย โดยภาระผูกพันดังกล่าวมีค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) เทียบเท่ากับภาระผูกพัน ตามสัญญารับประกันการจำหน่ายตราสารหรือหลักทรัพย์ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
4.2.5. ธนาคารพาณิชย์ต้องกันเงินสำรองสำหรับผลต่างของราคาตามบัญชีที่สูงกว่ามูลค่ายุติธรรมหรือมูลค่าตามบัญชีที่ได้จากการประเมินค่าสินทรัพย์สุทธิ (Net Assets Value) ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ของธนาคารพาณิชย์
4.2.6. ธนาคารพาณิชย์ที่จะประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุนต้องได้รับ ใบอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยธนาคารพาณิชย์สามารถประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ดังกล่าวได้เฉพาะประเภทธุรกิจที่ตนได้รับอนุญาตเท่านั้น
4.2.7. ธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็น นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน สามารถแต่งตั้งบุคคลธรรมดาที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. เป็นตัวแทนในการ ทำหน้าที่ขายหรือรับซื้อหน่วยลงทุนได้
4.2.8. ธนาคารพาณิชย์ที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุน ต้องปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการลงทุนในหน่วยลงทุนตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
4.2.9. ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจยับยั้งหรือสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้
ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการ จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุนได้ ในกรณีต่อไปนี้
1) ธนาคารพาณิชย์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
2) กรณีอื่นๆ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่ากระทบกับความปลอดภัยหรือ
ความผาสุกของประชาชน
4.2.10. ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็น นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นหน่วยลงทุนได้ตามที่เห็นสมควร
5. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 25 มีนาคม 2548
(ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ฝกสป10-กส32001-25480328ด