7 ธันวาคม 2548
เรียน ผู้จัดการ
ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศทุกธนาคาร
ที่ ฝนส.(21)ว.22/2548 เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดำรงเงินกองทุน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ขอนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดำรงเงินกองทุน ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 122 ตอนพิเศษ 136 ง ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2548 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25พฤศจิกายน 2548 เป็นต้นไป
สาระสำคัญของประกาศฉบับดังกล่าว มีดังนี้
1.ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อ การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดำรงเงินกองทุน ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2547
2.เพิ่มเติมประเภทน้ำหนักความเสี่ยงของเงินลงทุนในหน่วยลงทุน โดยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถเลือกวิธีคำนวณน้ำหนักความเสี่ยงระหว่าง 2 วิธี คือ
วิธีที่ 1 คำนวณน้ำหนักความเสี่ยงตามประเภท สัดส่วนและจำนวนของทรัพย์สินที่กองทุนของหน่วยลงทุนนั้นลงทุนจริง (Look-through)โดยธนาคารพาณิชย์ต้องสามารถคำนวณมูลค่าสุทธิของสินทรัพย์ดังกล่าวในแต่ละวันได้ หรือ
วิธีที่ 2 ใช้น้ำหนักความเสี่ยงเท่ากับ 1.0
ทั้งนี้ ในการรายงานข้อมูลชุด Risk Weighted Asset Items ของรายการเงินทุนในหน่วยลงทุน ให้ธนาคารพาณิชย์ที่คำนวณน้ำหนักความเสี่ยงตามวิธีที่ 1 รายงานมูลค่าตามประเภทสัดส่วน และ code ของสินทรัพย์ที่กองทุนนั้นถืออยู่ สำหรับธนาคารพาณิชย์ที่ใช้วิธีที่ 2 ให้รายงานใน code 900092 ข้อ 4.29 เงินลงทุนในหลักทรัพย์ภาคเอกชน
จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติ
ขอแสดงความนับถือ
(นางทองอุไร ลิ้มปิติ)
ผู้อำนวยการอาวุโส สายนโยบายสถาบันการเงิน
ผู้ว่าการแทน
(สิ่งที่ส่งมาด้วย ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดำรงเงินกองทุน)ฝ่ายนโยบายความเสี่ยง
โทร.0-2283-6821,0-2283-5805
หมายเหตุ [/
] ธนาคารจะจัดให้มีการประชุมชี้แจงในวันที่.....ณ.....
[X
] ไม่มีการจัดประชุมชี้แจง
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ
ดำรงเงินกองทุน
-------------------------
1.เหตุผลในการออกประกาศ
เงินกองทุนย่อมแสดงถึงความสามารถของสถาบันการเงินในการรองรับหรือชดเชยผลขาดทุนที่ไม่คาดไว้
ล่วงหน้า (Unexpected Losses) สถาบันการเงินที่ดำรงเงินกองทุนในอัตราส่วนที่สูงเพียงพอต่อความเสี่ยงของแต่ละสถาบันการเงินจะสร้างความมั่นใจแก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ว่าสถาบันการเงินมีความสามารถที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำไว้ได้ และส่งผลให้เกิดความมั่นคงและเสถียรภาพแก่ระบบสถาบันการเงิน ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกำหนดให้สถาบันการเงินดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกผัน
การปรับปรุงประกาศว่าด้วยว่าด้วยการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดำรงเงินกองทุน
เพื่อกำหนดน้ำหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์เสี่ยงประเภทเงินลงทุนในหน่วยลงทุน
2.อำนาจตามกฎหมาย
ธนาคารแห่งประเทศไทยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 10 แห่ง พระราชบัญญัติการ
ธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์(ฉบับที่3)พ.ศ.2535 ออกข้อกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ธนาคารพาณิชย์ที่จะจดทะเบียนในประเทศดำรงเงินกองทุนตามที่กำหนดในประกาศนี้
3.ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศตามกฏหมายว่าด้วยธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร
4.หลักเกณฑ์การดำรงเงินกองทุน
4.1ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนใน
ประเทศดำรงเงินกองทุน ลงวันที่21 กรกฎาคม 2547
4.2 เงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ ได้แก่
(1) ทุนชำระแล้ว ซึ่งรวมทั้งส่วนล้ำมูลค่าหุ้นที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับเงินที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับ
จากการออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของธนาคารพาณิชย์นั้น
(2) ทุนสำรองตามกฎหมาย
(3) เงินสำรองที่ได้จ้ดสรรกำไรสุทธิเมื่อสิ้นงวดบัญชีตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น หรือตามข้อ
บังคับของธนาคารพาณิชย์ แต่ไม่รวมเงินสำรองสำหรับการลดค่าของสินทรัพย์ และเงินสำรองเพื่อการชำระหนี้
(4) กำไรสุทธิคงเหลือหลังจากการจัดสรร
(5) เงินสำรองจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาที่ดินและอาคารตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(6) เงินสำรองสำหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติ ซึ่งได้กันไว้ตามนัยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ ทั้งนี้ ธนาคาร
พาณิชย์จะนับเงินสำรองสินทรัพย์จัดชั้นปกติเข้าเป็นเงินทุนได้ไม่เกินร้อยละ 1.25 ของยอดสินทรัพย์เสี่ยง
(7) เงินสำรองจากการตีราคาตราสารทุนประเภทเผื่อขายตามมาตรฐานการบัญชีเรื่อง การ
บัญชีสำหรับเงินลงทุนในในตราสารหนี้และตราสารทุนและที่จะได้แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติดังนี้
(ก) ในกรณีที่มูลค่าสุทธิจาการตีราคาเป็นส่วนเกินทุน ให้ธนาคารพาณิชย์นับส่วนเกินทุน
ดังกล่าวเป็นเงินกองทุนของงวดการบัญชีรอบระยะเวลาหกเดือนของธนาคารพาณิชย์นั้นได้ไม่เกินร้อยละ 45 ของ
ยอดมูลค่าสุทธิส่วนเกินทุนดังกล่าว
(ข) ในกรณีที่มูลค่าสุทธิจากการตีราคาเป็นส่วนขาดทุน ให้ธนาคารพาณิชย์หักส่วนที่ขาด
ทุนดังกล่าวออกจากเงินกองทุนทั้งสิ้นของงวดการบัญชีรอบระยะเวลาหกเดือนของธนาคารพาณิชย์นั้น
(8) เงินที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับจากการออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้ระยะยาวเกินห้าปีที่มีสิทธิ
ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญตามประเภท จำนวนเงิน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
เงินกองทุนส่วนที่ระบุใน (1) (2) (3) และ(4) ให้หักผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในทุกงวดการบัญชีออกก่อน และให้หักค่าแห่งกู๊ดวิลล์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด และให้หักมูลค่าของหุ้นที่ธนาคารพาณิชย์ได้ซื้อคืนตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด ออกจากเงินกองทุนใน (1) และ (4) ด้วยวิธีราคาตามมูลค่าตามแนวปฏิบัติทางการบัญชีเกี่ยวกับหุ้นซื้อคืนของกิจการและที่จะแก้ไขเพิ่มเติม หรือตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
เงินกองทุนที่ระบุใน (1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) และ (8) ให้หักเงินตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(ก)ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ใดถือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ระยะยาวเกินห้าปีที่มีสิทธิด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญตาม (8) ของบริษัทเงินทุนหรือธนาคารพาณิชย์อื่น ให้ธนาคารพาณิชย์นั้นหักเงินตามตราสารดังกล่าวตามมูลค่าที่บริษัทเงินทุนหรือธนาคารพาณิชย์ผู้ออกตราสารนั้นได้รับอนุญาตให้นับเป็นเงินกองทุนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยตราสารที่ให้นับเข้าเป็นเงินกองทุนสำหรับบริษัทเงินทุน หรือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยตราสารที่ให้นับเข้าเป็นเงินกองทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์แล้วแต่กรณี
(ข)ในกรณีธนาคารพาณิชย์ใดเป็นผู้ลงทุนในตราสารประเภท Credit Linked Notes ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นตราสารแสดงสิทธิในหนี้ระยะยาวเกินห้าปีที่มีสิทธิด้วยกว่าเจ้าหนี้สามัญตาม (8) ของบริษัทเงินทุนและธนาคารพาณิชย์อื่น ให้ธนาคารพาณิชย์นั้นหักเงินตามตราสารที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงดังกล่าวตามมูลค่าที่บริษัทเงินทุนหรือธนาคารพาณิชย์ผู้ออกตราสารนั้นได้รับอนุญาตให้นับเป็นเงินกองทุนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยตราสารที่ให้นับเข้าเป็นเงินกองทุนสำหรับบริษัทเงินทุน หรือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยตราสารที่ให้นับเข้าเป็นเงินกอง
ทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์แล้วแต่กรณี
(ค)ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ใดถือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ระยะยาวเกินห้าปีที่สิทธิด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญตาม (8) ของบริษัทเงินทุนหรือธนาคารพาณิชย์อื่น และธนาคารพาณิชย์นั้นได้ออกและขายตราสารประเภท Credit Linked Notes ให้กับบริษัทเงินทุนและธนาคารพาณิชย์อื่นโดยมีตราสารดังกล่าวเป็นสินทรัพย์อ้างอิง ธนาคารพาณิชย์นั้นไม่ต้องหักเงินตามตราสารที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงดังกล่าวตราบเท่าอายุของตราสารประเภท Credit Linked Notes นั้น
เงินกองทุนที่ระบุใน (1) ถึง (4) ยกเว้นเงินที่ไดรับจากการออกหุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสมเงินปันผล ให้
รวมเรียกว่า เงินกองทุนชั้นที่ 1 ส่วนเงินกองทุนที่ระบุใน (5) ถึง (8) และเงินที่ได้รับจากการออกหุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสมเงินปันผล ให้รวมเรียกว่า เงินกองทุนชั้นที่ 2 ทั้งนี้ เงินกองทุนชั้นที่ 2 ต้องมีจำนวนสูงสุดไม่เกินเงินกองทุนชั้นที่ 1 และการออกหุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสมเงินปันผลจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
4.3 ให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดำรงเงินกองทุนเมื่อสิ้นวันหนึ่งๆ เป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกพันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8.5 โดยมีเงื่อนไขว่าเงินกองทุนชั้นที่ 1 ต้องเป็นอัตราส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.25 ของสินทรัพย์และภาระผู้พันดังกล่าว
ทั้งนี้ การดำรงเงินกองทุนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อ 4.4 ถึง 4.6
4.4 ในการดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกพันตาม 4.3 ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
(1) นำรายการในงบการเงินทางด้านสินทรัพย์ทุกรายการ และภาระผูกพันทุกรายการ ทั้งนี้ ให้
รวมทุกสำนักงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยใช้มูลค่าตามบัญชี ณ วันที่รายงานมาคำนวณกับน้ำหนักความเสี่ยง ส่วนสินทรัพย์และภาระผูกพันที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้แปลงค่าเป็นเงินบาทก่อน โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิง ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะประกาศทุกเช้าวันทำการถัดไปของวันจัดทำรายงาน ทั้งนี้ให้ใช้อัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อถัวเฉลี่ยขั้นต่ำสุดและอัตราขายถัวเฉลี่ย สำหรับสกุลเงินซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยมิได้ประกาศอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงไว้ ให้ใช้วิธีคำนวณจากอัตราไขว้ (Cross Rate)
(2) คูณสิทรัพย์แต่ละรายการด้วยน้ำหนักความเสี่ยงตามที่กำหนดไว้ใน 4.5
(3) คูณภาระผูกพันแต่ละรายการด้วยค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) ตามที่กำหนดไว้ใน 4.6 แล้วนำค่าที่ได้คูณกับน้ำหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์แต่ละประเภทตามที่กำหนดไว้ใน 4.5 อีกครั้งหนึ่ง
(4) รวมผลคูณของสินทรัพย์ตาม (2) และภาระผูกพันตาม (3) ทุกรายการและนำเงินกองทุนมาคำนวณอัตราส่วนกับผลลัพธ์ที่ได้ โดยเงินกองทุนต้องเป็นอัตราส่วนกับผลลัพธ์ดังกล่าวไม่ต่ำกว่าที่กำหนดใน 4.3
(5) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อ หรือลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ โดยมีสัญญารับความเสี่ยงกำหนดให้การชำระหนี้คืนดังกล่าวอิงกับเหตุการณ์ที่กำหนดขึ้นเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้ (Credit Event) ของสินทรัพย์อ้างอิง (Reference Asset) และธนาคารพาณิชย์ตกลงรับความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) ของสินทรัพย์อ้างอิงนั้น ให้ธนาคารพาณิชย์นำผลคูณน้ำหนักความเสี่ยงของเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในตราสารดังกล่าวเปรียบเทียบผลคูณน้ำหนักความเสี่ยง และใช้เฉพาะผลคูณที่สูงกว่าในการคำนวณผลลัพธ์ตาม (4)
4.5 น้ำหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์แต่ละประเภท
ก. น้ำหนักความเสี่ยง 0
(1) เงินสดที่เป็นเงินบาทและเงินตราต่างประเทศ
(2) เงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
(3) เงินลงทุนในตลาดซื้อขายพันธบัตร โดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืน หรือขายคืนซึ่งดำเนิน การโดยธนาคารแห่งประเทศไทย รวมดอกเบี้ยค้างรับ
(4) เงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาลไทย หรือหลักทรัพย์ ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้น เงินและดอกเบี้ย หรือหลักทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือเงินให้สินเชื่อที่มีหลักทรัพย์ข้างต้นเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(5) เงินให้สินเชื่อที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย หรือเงินให้สินเชื่อใด ที่คณะรัฐมนตรีมามติให้จัดสรรเงินงบประมาณเพื่อชำระหนี้ให้
(6) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาลหรือธนาคารกลางของประเทศในกลุ่มประเทศ OECD1 หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่รัฐบาลหรือธนาคารกลางดังกล่าวค้ำประกัน โดยปราศจากเงื่อนไข หรือที่มีหลักทรัพย์ รัฐบาลหรือธนาคารกลางดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(7) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาลหรือธนาคารกลางของประเทศนอกกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่รัฐบาลหรือธนาคารกลางดังกล่าวค้ำประกันโดยปราศจากเงื่อนไข รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้ ต้องเป็นสกุลเงินของประเทศนั้น และไม่เกินกว่าหนี้สินที่ธนาคารพาณิชย์มีอยู่ในเงินสกุลนั้น
(8) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือนิติบุคคลที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้นเต็มจำนวนรวมถึงเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งนิติบุคคลดังกล่าว รับรอง รับอาวัล หรือค้ำประกัน หรือเงินให้สินเชื่อที่มีตราที่ออกโดยนิติบุคคลดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(9) เงินให้สินเชื่อที่มีสิทธิ ซึ่งมีตราสารการฝากเงินซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ หรือมีเงินสดที่ธนาคารพาณิชย์นั้นยึดถือไว้ เป็นประกัน ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินมูลค่าตามตราสาร หรือจำนวนเงินตามเงินสดนั้น
(10) ยอดเหลื่อมบัญชีระหว่างสำนักงานของธนาคารพาณิชย์นั้น
(11) ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี
(12) เงินให้สินเชื่อเฉพาะส่วนซึ่งเท่ากับจำนวนที่ได้กันไว้เผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
(13) ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า
(14) เงินสดระหว่างเรียกเก็บเพื่อประโยชน์ของลูกค้า
(15) ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัททุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จำกัด )มหาชน และบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตามโครงการรับแลกเปลี่ยนตั๋ว 56 บริษัทเงินทุนที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ ในส่วนที่เป็นต้นเงินตามหน้าตั๋วและดอกเบี้ยค้างรับ
(16) เงินให้สินเชื่อในส่วนที่มีตั๋วสัญยาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จำกัด (มหาชน) หรือบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตามโครงการรับแลกเปลี่ยนตั๋ว 56 บริษัทเงินทุนที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ จำนำเป็นประกันรวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(17) เงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ โดยมีบุคคลอื่นทำสัญญากับธนาคารพาณิชย์นั้นตกลงว่า บุคคลอื่นจะรับความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) ในเงินให้สินเชื่อหรือตราสารดังกล่าว ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าจำนวนเงินที่ผู้รับความเสี่ยงวางไว้เป็นประกัน หรือจำนวนเงินที่ธนาคารพาณิชย์นั้นมีสิทธิหักลบหนี้กับผู้รับความเสี่ยง
ข. น้ำหนักความเสี่ยง 0.2
(1) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีธนาคารพาณิชย์รับรอง รับอาวัลค้ำประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์เป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(2) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือธนาคารเพื่อการส่งออกอละนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีธนาคารดังกล่าวรับรอง รับอาวัล ค้ำประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(3) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยทางบริษัทเงินทุน บริษัท
เงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือบริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสถาบันดังกล่าวรับรอง รับอาวัลค้ำประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อซึ่งมีตราสารที่ออกโดยสถาบันดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(4) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยองค์กรของรัฐหรือวิสาหกิจ หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสถาบันดังกล่าวรับรอง รับอาวัลค้ำประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อ ที่มีตราสารซึ่งออกโดยสถาบันที่กล่างเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(5) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ ที่มีธนาคารพาณิชย์ดังกล่างรับรอง รับอาวัล ค้ำประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ดังกล่าว เป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(6) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยองค์กรของรัฐในกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสถาบันดังกล่าวรับรองรับอาวัล หรือค้ำประกัน รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสาร ซึ่งออกโดยสถาบันดังกล่าวเป็นประกันรวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(7) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยองค์การระหว่างประเทศ หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีองค์การดังกล่าวรับรอง รับอาวัล หรือค้ำประกัน รวมทั้งให้สินเชื่อ ที่มีตราสารซึ่งออกโดยองค์การดังกล่าว เป็นประกันรวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(8) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนนอกกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวรับรอง อาวัล ค้ำประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตรวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ดังกล่างเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้ ต้องมีระยะเวลาคงเหลือไม่เกิน 1 ปี
(9) เงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกตามล็อตเตอร์ออฟเครดิต หรือเงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกตามเอกสารประเภทอื่น ที่ธนาคารพาณิชย์ในต่างประเทศรับผิดชอบในการชำระค่าสินค้าแทนผู้ซื้อ แต่ในกรณีผู้ออกเล็ตเตอร์ออกเครดิตหรือธนาคารพาณิชย์ที่รับผิดชอบในการชำระสินค้าเป็นธนาคารจดทะเบียนนอกกลุ่มประเทศ OECD จะต้องมีระยะเวลาคงเหลือของเล็ตเตอร์ออฟเครดิต หรือระยะเวลาที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องชำระค่าสินค้าไม่เกิน 1 ปี
(10) เงินให้สินเชื่อใดที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดสรรงบประมาณเพื่อชำระหนี้แต่สำนักงบประมาณมิได้จัดสรรเงินชำระหนี้ให้จนล่วงพ้นระยะเวลาที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 2 ปีขึ้นไป
(11) เงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกที่มีธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยรับประกัน ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่ได้มีการโอนสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ ให้ธนาคารพาณิชย์แล้ว
(12) เงินลงทุนในหลักทรัพย์ หรือหน่วยลงทุน รวมทั้งผลตอบแทนค้างรับ ทั้งนี้ เฉพาะจำนวนเงินที่กระทรวงการคลังทำสัญญาให้ความคุ้มครองหรือตกลงเป็นผู้รับความเสี่ยง
ค.น้ำหนักความเสี่ยง 0.5
(1) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยเทศบาล หรือเงินให้สินเชื่อหรือ
เงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีเทศบาลรับรอง หรือค้ำประกัน รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยเทศบาทเป็นประกัน
(2) เงินให้สินเชื่อเพื่อการจัดหารที่อยู่อาศัยแก่บุคคลธรรมดา โดยธนาคารพาณิชย์รับจำนอง
ที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นลำดับหนึ่งเป็นประกัน ทั้งนี้ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่ายอดเงินให้สินเชื่อคงค้าง รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(3) ภาระผูกพันที่เป็นสัญญาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน หรืออัตราดอกเบี้ยซึ่งได้คูณด้วยค่าแปลง
สภาพ (Credit Conversion Factor) ตามที่กำหนดไว้ใน 4.6 แล้ว เว้นแต่คู่สัญญาจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่มีน้ำหนักความเสี่ยงต่ำกว่า 0.5
ง.น้ำหนักความเสี่ยง 1.0
(1) เงินให้สินเชื่อแก่ภาคเอกชนและดอกเบี้ยค้างรับ
(2) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ที่จด
ทะเบียนนอกกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวรับรอง รับอาวัล หรือค้ำประกัน รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้ ต้องมีระยะเวลาคงเหลือเกิน 1 ปี
(3) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาล หรือธนาคารกลางนอกกลุ่มประเทศ
OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่รัฐบาล หรือธนาคารกลางดังกล่าวค้ำประกันโดยปราศจากเงื่อนไข รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับซึ่งมิใช่เงินสกุลของประเทศนั้น หรือมีจำนวนเกินกว่าหนี้สินที่ธนาคารพาณิชย์มีอยู่ในเงินสกุลนั้น
(4) เงินลงทุนในหน่วยลงทุน
ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์สามารถคำนวณมูลค่าสุทธิของหน่วยลงทุนใดตามมูลค่าสุทธิของ
สินทรัพย์ที่กองทุนผู้ออกหน่วยลงทุนผู้ออกหน่วยลงทุนนั้นถืออยู่ในแต่ละวันได้ ให้ธนาคารพาณิชย์สามารถเลือกใช้น้ำหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์ดังกล่าวตามสัดส่วน ประเภทและจำนวนที่กองทุนนั้นลงทุนจริงตามแต่กรณีตามประกาศนี้ แทนน้ำหนักความเสี่ยงใน ง. ได้
(5) ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ สินทรัพย์ประจำอื่นๆ และทรัพย์สินรอการขาย
(6) สินทรัพย์อื่นๆ ที่มิได้ระบุน้ำหนักความเสี่ยงไว้ใน 4.5 นี้
ทั้งนี้ เงินฝาก หรือเงินให้สินเชื่อ ในแต่ละรายการข้างต้น ให้หมายความรวมถึงลูกหนี้อื่นๆ(สิทธิเรียกร้องในทางกฏหมาย) ที่เกิดจากธุรกรรมการซื้อหรือขายตราสาร โดยมีสัญญาว่าจะขายหรือซื้อคืน (Repo) และธุรกรรมการยืมหลักทรัพย์ (Securities Borrowing and Leading)เช่น ลูกหนี้ตามสัญญาซื้อคืน ลูกหนี้ตามสัญญาให้ยืมหลักทรัพย์ ลูกหนี้มาร์จิ้นที่โอน และลูกหนี้วางเงินสดเป็นประกัน เป็นต้น
4.6 ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) ของภาระผูกพันแต่ละประเภท
ก. ค่าแปลงสภาพ(Credit Conversion Factor)1.0
(1)การรับอาวัลตั๋วเงิน รับรองตั๋วเงิน ค้ำประกันการกู้ยืมเงิน และค้ำประกันการขาย ขายลด หรือขายช่วงลดตั๋วเงิน
(2)การสลักหลังตั๋วเงินแบบผู้รับสมัครสลักหลังมีสิทธิไล่เบี้ย (With Recourse)
(3)สัญญาการซื้อสินทรัพย์ ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามโดยปราศจากเงื่อนไข
(4)การค้ำประกัน การรับประกัน หรือการก่อภาระผูกพันในรูปแบบใดๆ ของธนาคารพาณิชย์ อัน
เนื่องมาจากการขายสินทรัพย์
(5)ภาระผูกพันตามสัญญาขายตราสาร โดยมีเงื่อนไขจะซื้อคืนตามวิธีการคำนวณที่ธนาคารแห่ง
ประเทศไทยกำหนด
(6)ภาระผูกพันตามสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (Securities Borrowing and Leading) ตามวิธีคำนวณที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(7)ภาระผูกพันตามสัญญาหรือข้อตกลงการรับประกันความเสี่ยง ซึ่งได้แก่ สัญญาที่ธนาคารพาณิชย์
รับโอนความเสี่ยงด้านเครดิตจากคู่สัญญา โดยการตกลงจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่ง หรือรับความเสียหายเนื่องจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้รับคืนเงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ หรือมีเหตุการณ์เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญา (Credit Event) เกิดขึ้น
ข. ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) 0.5
(1)ภาระผูกพันซึ่งขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของลูกค้า เช่นค้ำประกัน การรับเหมาก่อสร้าง ค้ำ
ประกันการยื่นซองประกวดราคา เป็นต้น
(2)การประกันการจำหน่ายตราสารหรือหลักทรัพย์
ค. ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) 0.2
ภาระผูกพันเพื่อการนำสินค้าเข้าตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตทั้งที่มีเอกสารประกอบแล้ว และยัง
ไม่มีเอกสารประกอบ
ง. ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor)0
(1) ตั๋วเงินเพื่อเรียกเก็บ
(2) วงเงินที่ลูกค้ายังมิได้ใช้
(3) ค้ำประกันการออกของ (Shipping Guarantee)
(4) ภาระผูกพันที่ธนาคารพาณิชย์สามารถบอกยกเลิกเมื่อใดก็ได้
(5) ภาระผูกพันอื่น ๆ ที่มีได้ระบุค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor)ไว้ใน 4.6 นี้
จ. ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) สำหรับสัญญาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย
อายุสัญญาที่เหลือ สัญญาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน สัญญาเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย
ไม่เกิน 14 วัน 0 0
ไม่เกิน 1 ปี 0.02 0.005
ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป 0.05 0.01
สัญญาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนได้แก่สัญญาดังต่อไปนี้
Cross currency interest rate swaps
Forward foreign exchange contracts
Currency futures
Currency option purchase
สัญญาอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน
(ยังมีต่อ)
เรียน ผู้จัดการ
ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศทุกธนาคาร
ที่ ฝนส.(21)ว.22/2548 เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดำรงเงินกองทุน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ขอนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดำรงเงินกองทุน ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 122 ตอนพิเศษ 136 ง ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2548 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25พฤศจิกายน 2548 เป็นต้นไป
สาระสำคัญของประกาศฉบับดังกล่าว มีดังนี้
1.ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อ การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดำรงเงินกองทุน ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2547
2.เพิ่มเติมประเภทน้ำหนักความเสี่ยงของเงินลงทุนในหน่วยลงทุน โดยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถเลือกวิธีคำนวณน้ำหนักความเสี่ยงระหว่าง 2 วิธี คือ
วิธีที่ 1 คำนวณน้ำหนักความเสี่ยงตามประเภท สัดส่วนและจำนวนของทรัพย์สินที่กองทุนของหน่วยลงทุนนั้นลงทุนจริง (Look-through)โดยธนาคารพาณิชย์ต้องสามารถคำนวณมูลค่าสุทธิของสินทรัพย์ดังกล่าวในแต่ละวันได้ หรือ
วิธีที่ 2 ใช้น้ำหนักความเสี่ยงเท่ากับ 1.0
ทั้งนี้ ในการรายงานข้อมูลชุด Risk Weighted Asset Items ของรายการเงินทุนในหน่วยลงทุน ให้ธนาคารพาณิชย์ที่คำนวณน้ำหนักความเสี่ยงตามวิธีที่ 1 รายงานมูลค่าตามประเภทสัดส่วน และ code ของสินทรัพย์ที่กองทุนนั้นถืออยู่ สำหรับธนาคารพาณิชย์ที่ใช้วิธีที่ 2 ให้รายงานใน code 900092 ข้อ 4.29 เงินลงทุนในหลักทรัพย์ภาคเอกชน
จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติ
ขอแสดงความนับถือ
(นางทองอุไร ลิ้มปิติ)
ผู้อำนวยการอาวุโส สายนโยบายสถาบันการเงิน
ผู้ว่าการแทน
(สิ่งที่ส่งมาด้วย ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดำรงเงินกองทุน)ฝ่ายนโยบายความเสี่ยง
โทร.0-2283-6821,0-2283-5805
หมายเหตุ [/
] ธนาคารจะจัดให้มีการประชุมชี้แจงในวันที่.....ณ.....
[X
] ไม่มีการจัดประชุมชี้แจง
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ
ดำรงเงินกองทุน
-------------------------
1.เหตุผลในการออกประกาศ
เงินกองทุนย่อมแสดงถึงความสามารถของสถาบันการเงินในการรองรับหรือชดเชยผลขาดทุนที่ไม่คาดไว้
ล่วงหน้า (Unexpected Losses) สถาบันการเงินที่ดำรงเงินกองทุนในอัตราส่วนที่สูงเพียงพอต่อความเสี่ยงของแต่ละสถาบันการเงินจะสร้างความมั่นใจแก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ว่าสถาบันการเงินมีความสามารถที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำไว้ได้ และส่งผลให้เกิดความมั่นคงและเสถียรภาพแก่ระบบสถาบันการเงิน ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกำหนดให้สถาบันการเงินดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกผัน
การปรับปรุงประกาศว่าด้วยว่าด้วยการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดำรงเงินกองทุน
เพื่อกำหนดน้ำหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์เสี่ยงประเภทเงินลงทุนในหน่วยลงทุน
2.อำนาจตามกฎหมาย
ธนาคารแห่งประเทศไทยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 และมาตรา 10 แห่ง พระราชบัญญัติการ
ธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์(ฉบับที่3)พ.ศ.2535 ออกข้อกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ธนาคารพาณิชย์ที่จะจดทะเบียนในประเทศดำรงเงินกองทุนตามที่กำหนดในประกาศนี้
3.ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศตามกฏหมายว่าด้วยธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร
4.หลักเกณฑ์การดำรงเงินกองทุน
4.1ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนใน
ประเทศดำรงเงินกองทุน ลงวันที่21 กรกฎาคม 2547
4.2 เงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ ได้แก่
(1) ทุนชำระแล้ว ซึ่งรวมทั้งส่วนล้ำมูลค่าหุ้นที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับเงินที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับ
จากการออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของธนาคารพาณิชย์นั้น
(2) ทุนสำรองตามกฎหมาย
(3) เงินสำรองที่ได้จ้ดสรรกำไรสุทธิเมื่อสิ้นงวดบัญชีตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น หรือตามข้อ
บังคับของธนาคารพาณิชย์ แต่ไม่รวมเงินสำรองสำหรับการลดค่าของสินทรัพย์ และเงินสำรองเพื่อการชำระหนี้
(4) กำไรสุทธิคงเหลือหลังจากการจัดสรร
(5) เงินสำรองจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาที่ดินและอาคารตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(6) เงินสำรองสำหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติ ซึ่งได้กันไว้ตามนัยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ ทั้งนี้ ธนาคาร
พาณิชย์จะนับเงินสำรองสินทรัพย์จัดชั้นปกติเข้าเป็นเงินทุนได้ไม่เกินร้อยละ 1.25 ของยอดสินทรัพย์เสี่ยง
(7) เงินสำรองจากการตีราคาตราสารทุนประเภทเผื่อขายตามมาตรฐานการบัญชีเรื่อง การ
บัญชีสำหรับเงินลงทุนในในตราสารหนี้และตราสารทุนและที่จะได้แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติดังนี้
(ก) ในกรณีที่มูลค่าสุทธิจาการตีราคาเป็นส่วนเกินทุน ให้ธนาคารพาณิชย์นับส่วนเกินทุน
ดังกล่าวเป็นเงินกองทุนของงวดการบัญชีรอบระยะเวลาหกเดือนของธนาคารพาณิชย์นั้นได้ไม่เกินร้อยละ 45 ของ
ยอดมูลค่าสุทธิส่วนเกินทุนดังกล่าว
(ข) ในกรณีที่มูลค่าสุทธิจากการตีราคาเป็นส่วนขาดทุน ให้ธนาคารพาณิชย์หักส่วนที่ขาด
ทุนดังกล่าวออกจากเงินกองทุนทั้งสิ้นของงวดการบัญชีรอบระยะเวลาหกเดือนของธนาคารพาณิชย์นั้น
(8) เงินที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับจากการออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้ระยะยาวเกินห้าปีที่มีสิทธิ
ด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญตามประเภท จำนวนเงิน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
เงินกองทุนส่วนที่ระบุใน (1) (2) (3) และ(4) ให้หักผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในทุกงวดการบัญชีออกก่อน และให้หักค่าแห่งกู๊ดวิลล์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด และให้หักมูลค่าของหุ้นที่ธนาคารพาณิชย์ได้ซื้อคืนตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด ออกจากเงินกองทุนใน (1) และ (4) ด้วยวิธีราคาตามมูลค่าตามแนวปฏิบัติทางการบัญชีเกี่ยวกับหุ้นซื้อคืนของกิจการและที่จะแก้ไขเพิ่มเติม หรือตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
เงินกองทุนที่ระบุใน (1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) และ (8) ให้หักเงินตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(ก)ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ใดถือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ระยะยาวเกินห้าปีที่มีสิทธิด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญตาม (8) ของบริษัทเงินทุนหรือธนาคารพาณิชย์อื่น ให้ธนาคารพาณิชย์นั้นหักเงินตามตราสารดังกล่าวตามมูลค่าที่บริษัทเงินทุนหรือธนาคารพาณิชย์ผู้ออกตราสารนั้นได้รับอนุญาตให้นับเป็นเงินกองทุนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยตราสารที่ให้นับเข้าเป็นเงินกองทุนสำหรับบริษัทเงินทุน หรือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยตราสารที่ให้นับเข้าเป็นเงินกองทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์แล้วแต่กรณี
(ข)ในกรณีธนาคารพาณิชย์ใดเป็นผู้ลงทุนในตราสารประเภท Credit Linked Notes ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นตราสารแสดงสิทธิในหนี้ระยะยาวเกินห้าปีที่มีสิทธิด้วยกว่าเจ้าหนี้สามัญตาม (8) ของบริษัทเงินทุนและธนาคารพาณิชย์อื่น ให้ธนาคารพาณิชย์นั้นหักเงินตามตราสารที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงดังกล่าวตามมูลค่าที่บริษัทเงินทุนหรือธนาคารพาณิชย์ผู้ออกตราสารนั้นได้รับอนุญาตให้นับเป็นเงินกองทุนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยตราสารที่ให้นับเข้าเป็นเงินกองทุนสำหรับบริษัทเงินทุน หรือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยตราสารที่ให้นับเข้าเป็นเงินกอง
ทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์แล้วแต่กรณี
(ค)ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ใดถือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ระยะยาวเกินห้าปีที่สิทธิด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญตาม (8) ของบริษัทเงินทุนหรือธนาคารพาณิชย์อื่น และธนาคารพาณิชย์นั้นได้ออกและขายตราสารประเภท Credit Linked Notes ให้กับบริษัทเงินทุนและธนาคารพาณิชย์อื่นโดยมีตราสารดังกล่าวเป็นสินทรัพย์อ้างอิง ธนาคารพาณิชย์นั้นไม่ต้องหักเงินตามตราสารที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงดังกล่าวตราบเท่าอายุของตราสารประเภท Credit Linked Notes นั้น
เงินกองทุนที่ระบุใน (1) ถึง (4) ยกเว้นเงินที่ไดรับจากการออกหุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสมเงินปันผล ให้
รวมเรียกว่า เงินกองทุนชั้นที่ 1 ส่วนเงินกองทุนที่ระบุใน (5) ถึง (8) และเงินที่ได้รับจากการออกหุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสมเงินปันผล ให้รวมเรียกว่า เงินกองทุนชั้นที่ 2 ทั้งนี้ เงินกองทุนชั้นที่ 2 ต้องมีจำนวนสูงสุดไม่เกินเงินกองทุนชั้นที่ 1 และการออกหุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสมเงินปันผลจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
4.3 ให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดำรงเงินกองทุนเมื่อสิ้นวันหนึ่งๆ เป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกพันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8.5 โดยมีเงื่อนไขว่าเงินกองทุนชั้นที่ 1 ต้องเป็นอัตราส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.25 ของสินทรัพย์และภาระผู้พันดังกล่าว
ทั้งนี้ การดำรงเงินกองทุนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อ 4.4 ถึง 4.6
4.4 ในการดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกพันตาม 4.3 ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
(1) นำรายการในงบการเงินทางด้านสินทรัพย์ทุกรายการ และภาระผูกพันทุกรายการ ทั้งนี้ ให้
รวมทุกสำนักงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยใช้มูลค่าตามบัญชี ณ วันที่รายงานมาคำนวณกับน้ำหนักความเสี่ยง ส่วนสินทรัพย์และภาระผูกพันที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้แปลงค่าเป็นเงินบาทก่อน โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิง ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะประกาศทุกเช้าวันทำการถัดไปของวันจัดทำรายงาน ทั้งนี้ให้ใช้อัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อถัวเฉลี่ยขั้นต่ำสุดและอัตราขายถัวเฉลี่ย สำหรับสกุลเงินซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยมิได้ประกาศอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงไว้ ให้ใช้วิธีคำนวณจากอัตราไขว้ (Cross Rate)
(2) คูณสิทรัพย์แต่ละรายการด้วยน้ำหนักความเสี่ยงตามที่กำหนดไว้ใน 4.5
(3) คูณภาระผูกพันแต่ละรายการด้วยค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) ตามที่กำหนดไว้ใน 4.6 แล้วนำค่าที่ได้คูณกับน้ำหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์แต่ละประเภทตามที่กำหนดไว้ใน 4.5 อีกครั้งหนึ่ง
(4) รวมผลคูณของสินทรัพย์ตาม (2) และภาระผูกพันตาม (3) ทุกรายการและนำเงินกองทุนมาคำนวณอัตราส่วนกับผลลัพธ์ที่ได้ โดยเงินกองทุนต้องเป็นอัตราส่วนกับผลลัพธ์ดังกล่าวไม่ต่ำกว่าที่กำหนดใน 4.3
(5) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อ หรือลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ โดยมีสัญญารับความเสี่ยงกำหนดให้การชำระหนี้คืนดังกล่าวอิงกับเหตุการณ์ที่กำหนดขึ้นเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้ (Credit Event) ของสินทรัพย์อ้างอิง (Reference Asset) และธนาคารพาณิชย์ตกลงรับความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) ของสินทรัพย์อ้างอิงนั้น ให้ธนาคารพาณิชย์นำผลคูณน้ำหนักความเสี่ยงของเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในตราสารดังกล่าวเปรียบเทียบผลคูณน้ำหนักความเสี่ยง และใช้เฉพาะผลคูณที่สูงกว่าในการคำนวณผลลัพธ์ตาม (4)
4.5 น้ำหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์แต่ละประเภท
ก. น้ำหนักความเสี่ยง 0
(1) เงินสดที่เป็นเงินบาทและเงินตราต่างประเทศ
(2) เงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
(3) เงินลงทุนในตลาดซื้อขายพันธบัตร โดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืน หรือขายคืนซึ่งดำเนิน การโดยธนาคารแห่งประเทศไทย รวมดอกเบี้ยค้างรับ
(4) เงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาลไทย หรือหลักทรัพย์ ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้น เงินและดอกเบี้ย หรือหลักทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือเงินให้สินเชื่อที่มีหลักทรัพย์ข้างต้นเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(5) เงินให้สินเชื่อที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย หรือเงินให้สินเชื่อใด ที่คณะรัฐมนตรีมามติให้จัดสรรเงินงบประมาณเพื่อชำระหนี้ให้
(6) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาลหรือธนาคารกลางของประเทศในกลุ่มประเทศ OECD1 หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่รัฐบาลหรือธนาคารกลางดังกล่าวค้ำประกัน โดยปราศจากเงื่อนไข หรือที่มีหลักทรัพย์ รัฐบาลหรือธนาคารกลางดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(7) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาลหรือธนาคารกลางของประเทศนอกกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่รัฐบาลหรือธนาคารกลางดังกล่าวค้ำประกันโดยปราศจากเงื่อนไข รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้ ต้องเป็นสกุลเงินของประเทศนั้น และไม่เกินกว่าหนี้สินที่ธนาคารพาณิชย์มีอยู่ในเงินสกุลนั้น
(8) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือนิติบุคคลที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้นเต็มจำนวนรวมถึงเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งนิติบุคคลดังกล่าว รับรอง รับอาวัล หรือค้ำประกัน หรือเงินให้สินเชื่อที่มีตราที่ออกโดยนิติบุคคลดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(9) เงินให้สินเชื่อที่มีสิทธิ ซึ่งมีตราสารการฝากเงินซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ หรือมีเงินสดที่ธนาคารพาณิชย์นั้นยึดถือไว้ เป็นประกัน ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินมูลค่าตามตราสาร หรือจำนวนเงินตามเงินสดนั้น
(10) ยอดเหลื่อมบัญชีระหว่างสำนักงานของธนาคารพาณิชย์นั้น
(11) ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี
(12) เงินให้สินเชื่อเฉพาะส่วนซึ่งเท่ากับจำนวนที่ได้กันไว้เผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
(13) ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า
(14) เงินสดระหว่างเรียกเก็บเพื่อประโยชน์ของลูกค้า
(15) ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัททุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จำกัด )มหาชน และบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตามโครงการรับแลกเปลี่ยนตั๋ว 56 บริษัทเงินทุนที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ ในส่วนที่เป็นต้นเงินตามหน้าตั๋วและดอกเบี้ยค้างรับ
(16) เงินให้สินเชื่อในส่วนที่มีตั๋วสัญยาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จำกัด (มหาชน) หรือบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตามโครงการรับแลกเปลี่ยนตั๋ว 56 บริษัทเงินทุนที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ จำนำเป็นประกันรวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(17) เงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ โดยมีบุคคลอื่นทำสัญญากับธนาคารพาณิชย์นั้นตกลงว่า บุคคลอื่นจะรับความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) ในเงินให้สินเชื่อหรือตราสารดังกล่าว ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าจำนวนเงินที่ผู้รับความเสี่ยงวางไว้เป็นประกัน หรือจำนวนเงินที่ธนาคารพาณิชย์นั้นมีสิทธิหักลบหนี้กับผู้รับความเสี่ยง
ข. น้ำหนักความเสี่ยง 0.2
(1) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีธนาคารพาณิชย์รับรอง รับอาวัลค้ำประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์เป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(2) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือธนาคารเพื่อการส่งออกอละนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีธนาคารดังกล่าวรับรอง รับอาวัล ค้ำประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(3) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยทางบริษัทเงินทุน บริษัท
เงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือบริษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสถาบันดังกล่าวรับรอง รับอาวัลค้ำประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อซึ่งมีตราสารที่ออกโดยสถาบันดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(4) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยองค์กรของรัฐหรือวิสาหกิจ หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสถาบันดังกล่าวรับรอง รับอาวัลค้ำประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อ ที่มีตราสารซึ่งออกโดยสถาบันที่กล่างเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(5) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ ที่มีธนาคารพาณิชย์ดังกล่างรับรอง รับอาวัล ค้ำประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ดังกล่าว เป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(6) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยองค์กรของรัฐในกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสถาบันดังกล่าวรับรองรับอาวัล หรือค้ำประกัน รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสาร ซึ่งออกโดยสถาบันดังกล่าวเป็นประกันรวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(7) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยองค์การระหว่างประเทศ หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีองค์การดังกล่าวรับรอง รับอาวัล หรือค้ำประกัน รวมทั้งให้สินเชื่อ ที่มีตราสารซึ่งออกโดยองค์การดังกล่าว เป็นประกันรวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(8) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนนอกกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวรับรอง อาวัล ค้ำประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตรวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ดังกล่างเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้ ต้องมีระยะเวลาคงเหลือไม่เกิน 1 ปี
(9) เงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกตามล็อตเตอร์ออฟเครดิต หรือเงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกตามเอกสารประเภทอื่น ที่ธนาคารพาณิชย์ในต่างประเทศรับผิดชอบในการชำระค่าสินค้าแทนผู้ซื้อ แต่ในกรณีผู้ออกเล็ตเตอร์ออกเครดิตหรือธนาคารพาณิชย์ที่รับผิดชอบในการชำระสินค้าเป็นธนาคารจดทะเบียนนอกกลุ่มประเทศ OECD จะต้องมีระยะเวลาคงเหลือของเล็ตเตอร์ออฟเครดิต หรือระยะเวลาที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องชำระค่าสินค้าไม่เกิน 1 ปี
(10) เงินให้สินเชื่อใดที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดสรรงบประมาณเพื่อชำระหนี้แต่สำนักงบประมาณมิได้จัดสรรเงินชำระหนี้ให้จนล่วงพ้นระยะเวลาที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 2 ปีขึ้นไป
(11) เงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกที่มีธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยรับประกัน ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่ได้มีการโอนสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ ให้ธนาคารพาณิชย์แล้ว
(12) เงินลงทุนในหลักทรัพย์ หรือหน่วยลงทุน รวมทั้งผลตอบแทนค้างรับ ทั้งนี้ เฉพาะจำนวนเงินที่กระทรวงการคลังทำสัญญาให้ความคุ้มครองหรือตกลงเป็นผู้รับความเสี่ยง
ค.น้ำหนักความเสี่ยง 0.5
(1) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยเทศบาล หรือเงินให้สินเชื่อหรือ
เงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีเทศบาลรับรอง หรือค้ำประกัน รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยเทศบาทเป็นประกัน
(2) เงินให้สินเชื่อเพื่อการจัดหารที่อยู่อาศัยแก่บุคคลธรรมดา โดยธนาคารพาณิชย์รับจำนอง
ที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นลำดับหนึ่งเป็นประกัน ทั้งนี้ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่ายอดเงินให้สินเชื่อคงค้าง รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(3) ภาระผูกพันที่เป็นสัญญาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน หรืออัตราดอกเบี้ยซึ่งได้คูณด้วยค่าแปลง
สภาพ (Credit Conversion Factor) ตามที่กำหนดไว้ใน 4.6 แล้ว เว้นแต่คู่สัญญาจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่มีน้ำหนักความเสี่ยงต่ำกว่า 0.5
ง.น้ำหนักความเสี่ยง 1.0
(1) เงินให้สินเชื่อแก่ภาคเอกชนและดอกเบี้ยค้างรับ
(2) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ที่จด
ทะเบียนนอกกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวรับรอง รับอาวัล หรือค้ำประกัน รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้ ต้องมีระยะเวลาคงเหลือเกิน 1 ปี
(3) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาล หรือธนาคารกลางนอกกลุ่มประเทศ
OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่รัฐบาล หรือธนาคารกลางดังกล่าวค้ำประกันโดยปราศจากเงื่อนไข รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับซึ่งมิใช่เงินสกุลของประเทศนั้น หรือมีจำนวนเกินกว่าหนี้สินที่ธนาคารพาณิชย์มีอยู่ในเงินสกุลนั้น
(4) เงินลงทุนในหน่วยลงทุน
ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์สามารถคำนวณมูลค่าสุทธิของหน่วยลงทุนใดตามมูลค่าสุทธิของ
สินทรัพย์ที่กองทุนผู้ออกหน่วยลงทุนผู้ออกหน่วยลงทุนนั้นถืออยู่ในแต่ละวันได้ ให้ธนาคารพาณิชย์สามารถเลือกใช้น้ำหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์ดังกล่าวตามสัดส่วน ประเภทและจำนวนที่กองทุนนั้นลงทุนจริงตามแต่กรณีตามประกาศนี้ แทนน้ำหนักความเสี่ยงใน ง. ได้
(5) ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ สินทรัพย์ประจำอื่นๆ และทรัพย์สินรอการขาย
(6) สินทรัพย์อื่นๆ ที่มิได้ระบุน้ำหนักความเสี่ยงไว้ใน 4.5 นี้
ทั้งนี้ เงินฝาก หรือเงินให้สินเชื่อ ในแต่ละรายการข้างต้น ให้หมายความรวมถึงลูกหนี้อื่นๆ(สิทธิเรียกร้องในทางกฏหมาย) ที่เกิดจากธุรกรรมการซื้อหรือขายตราสาร โดยมีสัญญาว่าจะขายหรือซื้อคืน (Repo) และธุรกรรมการยืมหลักทรัพย์ (Securities Borrowing and Leading)เช่น ลูกหนี้ตามสัญญาซื้อคืน ลูกหนี้ตามสัญญาให้ยืมหลักทรัพย์ ลูกหนี้มาร์จิ้นที่โอน และลูกหนี้วางเงินสดเป็นประกัน เป็นต้น
4.6 ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) ของภาระผูกพันแต่ละประเภท
ก. ค่าแปลงสภาพ(Credit Conversion Factor)1.0
(1)การรับอาวัลตั๋วเงิน รับรองตั๋วเงิน ค้ำประกันการกู้ยืมเงิน และค้ำประกันการขาย ขายลด หรือขายช่วงลดตั๋วเงิน
(2)การสลักหลังตั๋วเงินแบบผู้รับสมัครสลักหลังมีสิทธิไล่เบี้ย (With Recourse)
(3)สัญญาการซื้อสินทรัพย์ ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามโดยปราศจากเงื่อนไข
(4)การค้ำประกัน การรับประกัน หรือการก่อภาระผูกพันในรูปแบบใดๆ ของธนาคารพาณิชย์ อัน
เนื่องมาจากการขายสินทรัพย์
(5)ภาระผูกพันตามสัญญาขายตราสาร โดยมีเงื่อนไขจะซื้อคืนตามวิธีการคำนวณที่ธนาคารแห่ง
ประเทศไทยกำหนด
(6)ภาระผูกพันตามสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (Securities Borrowing and Leading) ตามวิธีคำนวณที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(7)ภาระผูกพันตามสัญญาหรือข้อตกลงการรับประกันความเสี่ยง ซึ่งได้แก่ สัญญาที่ธนาคารพาณิชย์
รับโอนความเสี่ยงด้านเครดิตจากคู่สัญญา โดยการตกลงจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่ง หรือรับความเสียหายเนื่องจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้รับคืนเงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ หรือมีเหตุการณ์เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญา (Credit Event) เกิดขึ้น
ข. ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) 0.5
(1)ภาระผูกพันซึ่งขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของลูกค้า เช่นค้ำประกัน การรับเหมาก่อสร้าง ค้ำ
ประกันการยื่นซองประกวดราคา เป็นต้น
(2)การประกันการจำหน่ายตราสารหรือหลักทรัพย์
ค. ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) 0.2
ภาระผูกพันเพื่อการนำสินค้าเข้าตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตทั้งที่มีเอกสารประกอบแล้ว และยัง
ไม่มีเอกสารประกอบ
ง. ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor)0
(1) ตั๋วเงินเพื่อเรียกเก็บ
(2) วงเงินที่ลูกค้ายังมิได้ใช้
(3) ค้ำประกันการออกของ (Shipping Guarantee)
(4) ภาระผูกพันที่ธนาคารพาณิชย์สามารถบอกยกเลิกเมื่อใดก็ได้
(5) ภาระผูกพันอื่น ๆ ที่มีได้ระบุค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor)ไว้ใน 4.6 นี้
จ. ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) สำหรับสัญญาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย
อายุสัญญาที่เหลือ สัญญาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน สัญญาเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย
ไม่เกิน 14 วัน 0 0
ไม่เกิน 1 ปี 0.02 0.005
ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป 0.05 0.01
สัญญาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนได้แก่สัญญาดังต่อไปนี้
Cross currency interest rate swaps
Forward foreign exchange contracts
Currency futures
Currency option purchase
สัญญาอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน
(ยังมีต่อ)