เศรษฐกิจภาคใต้เดือนมิถุนายนโดยรวมขยายตัว ในอัตราชะลอลงจากเดือนก่อน ทั้งการผลิตในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนและการส่งออก ส่วนการลงทุนด้านการก่อสร้างลงลง ขณะที่การท่องเที่ยวขยายตัวต่อเนื่อง สำหรับอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 6.2
ไตรมาส 2 ปี 2549 เศรษฐกิจภาคใต้โดยรวมขยายตัวต่อเนื่อง ผลผลิตพืชผลที่สำคัญเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมเร่งตัวขึ้นจากไตรมาสแรกขณะเดียวกันการท่องเที่ยวขยายตัวในเกณฑ์ดี ทางด้านการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดีขึ้น และการส่งออกเร่งตัวขึ้นจากไตรมาสแรก ส่วนการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว ตามการลดลงของการลงทุนด้านการก่อสร้าง สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 6.0
ภาคเกษตรกรรม
ในเดือนมิถุนายนนี้ ผลผลิตพืชผลสำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ตามผลผลิตปาล์มน้ำมัน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 40-50 เนื่องจากพื้นที่ให้ผลมากขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศเอื้ออำนวยทำให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันราคาพืชผลกลุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.5 ตามราคายางพาราที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.0 ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลกลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 72.5
ด้านประมงทะเลซบเซา จากปัญหาราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ต้นทุนการทำประมงปรับตัวสูงขึ้น และการทำประมงนอกน่านน้ำในประเทศเพื่อนบ้านมีความเข้มงวดมากขึ้น ขณะที่ราคาสัตว์น้ำปรับขึ้นไม่มากนัก ทำให้เรือประมงส่วนใหญ่หยุดทำการประมง ส่งผลให้ปริมาณสัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือขององค์การสะพานปลาในภาคใต้เดือนนี้มีจำนวน 27,043 เมตริกตัน มูลค่า 979.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.2 และ 16.3 ตามลำดับ
การเพาะเลี้ยงกุ้ง ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และเป็นกุ้งที่มีขนาดเล็กทำให้ราคาลดลง โดยกุ้งขาวขนาด 51-60 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 136.00 บาท ลดลงจาก เดือนก่อนร้อยละ 8.7 อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนปริมาณผลผลิตใกล้เคียงกัน แต่ราคาสูงกว่าเล็กน้อย
ไตรมาส 2 ปี 2549 รายได้ของเกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 75.9 เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสแรก โดยผลผลิตพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เป็นการเพิ่มขึ้นของผลผลิตปาล์มน้ำมันและยางพารา ขณะเดียวกันราคาพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.3 ตามราคายางพาราที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.4 ขณะที่ประมงทะเล ได้รับผลกระทบการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน และอุปกรณ์การทำประมง รวมทั้งประสบปัญหาการทำประมงนอกน่านน้ำ ประกอบกับทรัพยากรทางทะเลของไทยลดลงมาก ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือในภาคใต้ลดลงร้อยละ 7.3 ส่วนมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ส่วนผลผลิตกุ้งมีปริมาณใกล้เคียงกับไตรมาสเดี่ยวกันปีก่อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกุ้งขนาดเล็กเพราะมีการเริ่งจับจากสภาพอากาศที่มีผนตกหนัก
ภาคอุตสาหกรรม
ภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมของภาคใต้ในเดือนมิถุนายนยังคงขยายตัวดี เมื่อเทียบกับเดือนเดี่ยวกันปีก่อน ตามปริมาณวัตถุดิบและความต้องการของตลาดต่างประเทศ โดยผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบยังคงเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 34.3 ขณะเดียวกันยางพารามีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 อาหารบรรจุกระป๋อง เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.9 ผลจากส่งไปตะวันออกกลาง และ อัฟริกาใต้มาขึ้น และไม้ยางพาราและเฟอร์นิเจอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.4 ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกไม้ยางพาราแปรรูป สำหรับสัตว์น้ำแปรรูปและแช่แข็ง (ผ่านด่านศุลกากรสงบขลา) และถุงมือยาง ปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 9.0 และ 12.3 ตามลำดับ
ไตรมาส 2 ปี 2549 ภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมของภาคใต้ขยายตัวทั้งอุตสาหกรรมที่เพื่อการส่งออกและจำหน่ายในประเทศ โดยผลผลิตน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.0 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตปาล์มน้ำมัน ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมยางพารามีปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 เป็นการเพิ่มขึ้นของยางแผ่นรมควันและน้ำยาง ไม้ยางพาราและเฟอร์นิเจอร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.3 และอาหารบรรจุกระป๋อง เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 ผลจาการส่งออกไปตะวันออกกลาง มาเลเซียและแคนาดามากขึ้น ส่วนสัตว์น้ำแปรรูปและแช่แข็ง (ผ่านด่านศุลกากรสงขลา) เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.6 ขณะที่ถุงมือยางลดลงร้อยละ 7.2 อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการส่วนใหญ่ประสบปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยเฉพาะจากราคาวัตถุดิบ ขณะที่ปรับราคาขึ้นได้ไม่มากนัก
การท่องเที่ยว
ในเดือนมิถุนายนนี้ การท่องเที่ยวของภาคใต้ขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการประชาสัมพันธ์ของการท่องเทียวแห่งประเทศไทย ให้ ปี 2549 เป็นปี Thailand Grand Invitation และส่งเสริมการท่องเที่ยว Thailand Grand Sale โดยนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ มีจำนวนทั้งสิ้น 219,267 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดี่ยวกันปีก่อนร้อยละ 39.4 ตามการเพิ่มขึ้นของภาคใต้ฝั่งตะวันตก และภาคใต้ตอนล่างร้อยละ 109.9 และ 26.2 ตามลำดับ ทั้งนี้เป็นการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวในทุกตลาด โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวสิงคโปร์ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 98.8 ส่วนตลาดมาเลเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.3 เนื่องตากเป็นช่วงปิดภาคเรียนของมาเลเซีย และสิงคโปร์ นอกนี้มีการเปิดเส้นทางการบินหาดใหญ่-สิงคโปร์ของบริษัทไทยเกอร์แอร์
ไตรมาส 2 ปี 2549 ภาวะท่องเที่ยวของภาคใต้ ขยายตัว มีนักท่องเที่ยงชาวต่างประเทศเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ 634,563 คนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 48.3 เนื่องจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยวมีความเชื่อมั่นในความปลอดภัยมากขึ้น โดยจังหวัดภูเก็ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 132.7 เนื่องจากในปีที่ผ่านมาจำนวนนักท่องเที่ยวมีน้อยมากจากผลกระทบของสึนามิ และสงขลาเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.1
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาคใต้เดือนมิถุนายนขยายตัวต่อเนื่อง โดย การจดทะเบียนรถใหม่ทั่งรถยนต์ส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 และ 12.4 ตามลำดับส่วนการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.5 สำหรับปัจจัยบวกที่สำคัญ อาทิ ราคายางพาราที่ยืนอยู่ในระดับสูง ปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนภาวะการท่องเที่ยวอยู่ในเกณฑ์ดี ส่งผลให้ยังมีแรงซื้อในระบบเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ทำให้การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อน
ไตรมาส 2 ปี 2549 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวต่อเนื่อง พิจารณาจากเครื่องชี้สำคัญคือ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.4 และการจดทะเบียนรถใหม่เพิ่มขึ้น โดยรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 และรถยนต์ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 ซึ่งเป็นผลจากรายได้เกตรากรที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามราคายาง และภาวะการท่องเที่ยวที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับห้างสรรพสินค้า และโมเดิร์นเทรดต่างแข่งขันกันจัดกิจกรรมลดราคากระตุ้นยอดข่ายนอกจากนี้ค่ายรถต่างๆ มีการปรับรูปแบบให้ทันสมัย และเน้นสมรรถนะให้ประหยัดน้ำมันมากขึ้นเป็นการจูงใจ รวมถึงการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อที่สะดวกขึ้น
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนโดยรวมในเดือนมิถุนายนนี้เริ่มชะลอลง จากแรงกดดันด้านราคาน้ำมันที่อัตราดอกเบี้ยในช่วงขาขึ้นและความไม่แน่นอนทางการเมือง โดยเฉพาะการก่อสร้าง จะเห็นได้จากพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างลดลงร้อยละ 20.8 หลังจากที่ขยายตัวมาตั้งแต่ต้นปี และส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงการจ้างงานในภาคใต้ที่ชะลอลงเช่นกัน ขณะเดียวกันการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลในภาคใต้ขยายตัวในอัตราที่ลดลงร้อยละ 23.3 ส่วนกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนขยายตัวทั้งจำนวนรายและเงินลงทุน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการฟื้นฟูกิจการโรงแรมในจังหวัดพังงาน
ไตรมาส 2 ปี 2549 การลงทุนใหม่มีน้อย ส่วนใหญ่เป็นการฟื้นฟูกิจการที่ได้รับความเสียหายจากคลื่นสึนามิในภาคใต้ตอนบน และการขยายกิจการเดิม เป็นสำคัญ ขณะที่การก่อสร้างโดยรวมลดลงร้อยละ 3.6 จากการลดลงของพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในภาคใต้ตอนล่าง ส่วนภาคใต้ตอนบนยังขยายตัวดี
การจ้างงาน
ในเดือนมิถุนายนนี้มีผู้ประกอบการแจ้งความต้องการแรงงานผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคใต้ทั้งสิ้น 4,843 อัตรา ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.6 โดยอุตสาหกรรมการขายส่ง ขายปลีก และอุตสาหกรรมการผลิต มีความต้องการแรงงานมากที่สุด ส่วนผู้สมัครงานลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 56.1 และมีการบรรจุงานลดลงร้อยละ 14.0 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการบรรจุงานใน อุตสาหกรรมการขายปลีก ขายส่ง ฯลฯ
ไตรมาส 2 ปี 2549 ผู้ประกอบการแจ้งความต้องการแรงงานผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคใต้ทั้งสิ้น 14,173 อัตรา ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 23.1 จังหวัดภูเก็ตมีตำแหน่งงานว่างสูงสุด รองลงมาได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดสงขลา ขณะที่ผู้สมัครงานมีทั้งสิ้น 14,109 คน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 37.6 ส่วนใหญ่เป็นผู้สมัครงานในจังหวัดสงขลารองลงมา ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ภูเก็ต และนราธิวาส
ระดับราคา
ในเดือนมิถุนายน 2549 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของภาคใต้อยู่ที่ร้อยละ 6.2 ชะลอลงจากร้อยละ 6.3 ในเดือนก่อนเล็กน้อย ทั้งนี้ เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 6.8 และหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 5.8 ทางด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของภาคใต้อยู่ที่ร้อยละ 2.8 ทรงตัวเท่ากับเดือนก่อน
ไตรมาส 2 ปี 2549 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของภาคใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ทั้งนี้ เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 6.7 และ 5.6 ตามลำดับ โดยสินค้าในหมวดสำคัญที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ สินค้าหมวดผักและผลไม้ร้อยละ 18.6 หมวดปลาและสัตว์น้ำร้อยละ 11.4 หมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 14.9 ในขณะที่หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม ลดลงร้อยละ 1.9 สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของ ไตรมาสที่ 2/2549 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.7
การค้าต่างประเทศ
ในเดือนมิถุนายนนี้การส่งออกขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีมูลค่า 809.9 ล้านดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 47.8 เป็นการเพิ่มขึ้นของการส่งออกยางพาราอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีมูลค่าการส่งออก 381.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 92.6 ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 314.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.2 แต่เป็นอัตราที่ลดลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 16.3 ในเดือนก่อน จากการชะลอการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ก่อสร้าง
ไตรมาส 2 ปี 2549 การส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ มีมูลค่า 2,396.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 40.1 เป็นผลจากการส่งออกสินค้าสำคัญโดยเฉพาะยางพาราที่เพิ่มขึ้นมากอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 893.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.1 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเครื่องจักรและอุปกรณ์ และ สัตว์แช่น้ำแข็ง
ภาคการคลัง
ในเดือนมิถุนายนภาครัฐจัดเก็บภาษีได้จำนวน 1,893.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 19.3 ตามการเพิ่มขึ้นของการจัดเก็บภาษีสรรพากร สรรพสามิต และศุลกากร ร้อยละ 21.8 1.9 และ 5.7 ตามลำดับ ส่วนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่างๆ ในภาคใต้ มีจำนวน 8,755.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 30.9 ตามการเพิ่มขึ้นของการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 โดยขอให้เร่งก่อหนี้ผูกพันให้แล้วเสร็จภายในเดือน มิถุนายน 2549
ไตรมาส 2 ปี 2549 การจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้น จำนวน 6,929.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.1 ตามการจัดเก็บภาษีสรรพกร และภาษีศุลกากร ร้อยละ 21.5 และ 5.4 ตามลำดับ ส่วนภาษีสรรพสามิตจัดเก็บลดลงร้อยละ 25.6 เนื่องจากบริษัทน้ำมันได้จ่ายภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันที่หน้าโรงกลั่น แทนที่จะมาจ่ายที่คลังน้ำมันที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ และการเพิ่มอัตราภาษีสุรา ส่วนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ของส่วนราชการต่างๆ ในภาคใต้มีการเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ตามการเบิกจ่ายของจังหวัดนครศรีธรรมราช
ภาคการเงิน
ณ สิ้นเดือนมิถุนายน เงินฝากคงค้างของสาขาธนาคารพาณิชย์ คาดว่ามีจำนวนรวม 353,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.1 ส่วนสินเชื่อคงค้างมีจำนวน 275,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 25.4 อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจ และความไม่ชัดเจนทางการเมืองในประเทศทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคใต้--
ไตรมาส 2 ปี 2549 เศรษฐกิจภาคใต้โดยรวมขยายตัวต่อเนื่อง ผลผลิตพืชผลที่สำคัญเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมเร่งตัวขึ้นจากไตรมาสแรกขณะเดียวกันการท่องเที่ยวขยายตัวในเกณฑ์ดี ทางด้านการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดีขึ้น และการส่งออกเร่งตัวขึ้นจากไตรมาสแรก ส่วนการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว ตามการลดลงของการลงทุนด้านการก่อสร้าง สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 6.0
ภาคเกษตรกรรม
ในเดือนมิถุนายนนี้ ผลผลิตพืชผลสำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ตามผลผลิตปาล์มน้ำมัน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 40-50 เนื่องจากพื้นที่ให้ผลมากขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศเอื้ออำนวยทำให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันราคาพืชผลกลุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.5 ตามราคายางพาราที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.0 ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลกลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 72.5
ด้านประมงทะเลซบเซา จากปัญหาราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ต้นทุนการทำประมงปรับตัวสูงขึ้น และการทำประมงนอกน่านน้ำในประเทศเพื่อนบ้านมีความเข้มงวดมากขึ้น ขณะที่ราคาสัตว์น้ำปรับขึ้นไม่มากนัก ทำให้เรือประมงส่วนใหญ่หยุดทำการประมง ส่งผลให้ปริมาณสัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือขององค์การสะพานปลาในภาคใต้เดือนนี้มีจำนวน 27,043 เมตริกตัน มูลค่า 979.0 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.2 และ 16.3 ตามลำดับ
การเพาะเลี้ยงกุ้ง ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และเป็นกุ้งที่มีขนาดเล็กทำให้ราคาลดลง โดยกุ้งขาวขนาด 51-60 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 136.00 บาท ลดลงจาก เดือนก่อนร้อยละ 8.7 อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนปริมาณผลผลิตใกล้เคียงกัน แต่ราคาสูงกว่าเล็กน้อย
ไตรมาส 2 ปี 2549 รายได้ของเกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 75.9 เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสแรก โดยผลผลิตพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เป็นการเพิ่มขึ้นของผลผลิตปาล์มน้ำมันและยางพารา ขณะเดียวกันราคาพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.3 ตามราคายางพาราที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.4 ขณะที่ประมงทะเล ได้รับผลกระทบการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน และอุปกรณ์การทำประมง รวมทั้งประสบปัญหาการทำประมงนอกน่านน้ำ ประกอบกับทรัพยากรทางทะเลของไทยลดลงมาก ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นที่ท่าเทียบเรือในภาคใต้ลดลงร้อยละ 7.3 ส่วนมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ส่วนผลผลิตกุ้งมีปริมาณใกล้เคียงกับไตรมาสเดี่ยวกันปีก่อน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกุ้งขนาดเล็กเพราะมีการเริ่งจับจากสภาพอากาศที่มีผนตกหนัก
ภาคอุตสาหกรรม
ภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมของภาคใต้ในเดือนมิถุนายนยังคงขยายตัวดี เมื่อเทียบกับเดือนเดี่ยวกันปีก่อน ตามปริมาณวัตถุดิบและความต้องการของตลาดต่างประเทศ โดยผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบยังคงเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 34.3 ขณะเดียวกันยางพารามีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 อาหารบรรจุกระป๋อง เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.9 ผลจากส่งไปตะวันออกกลาง และ อัฟริกาใต้มาขึ้น และไม้ยางพาราและเฟอร์นิเจอร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.4 ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกไม้ยางพาราแปรรูป สำหรับสัตว์น้ำแปรรูปและแช่แข็ง (ผ่านด่านศุลกากรสงบขลา) และถุงมือยาง ปริมาณส่งออกลดลงร้อยละ 9.0 และ 12.3 ตามลำดับ
ไตรมาส 2 ปี 2549 ภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมของภาคใต้ขยายตัวทั้งอุตสาหกรรมที่เพื่อการส่งออกและจำหน่ายในประเทศ โดยผลผลิตน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.0 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตปาล์มน้ำมัน ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมยางพารามีปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 เป็นการเพิ่มขึ้นของยางแผ่นรมควันและน้ำยาง ไม้ยางพาราและเฟอร์นิเจอร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.3 และอาหารบรรจุกระป๋อง เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.1 ผลจาการส่งออกไปตะวันออกกลาง มาเลเซียและแคนาดามากขึ้น ส่วนสัตว์น้ำแปรรูปและแช่แข็ง (ผ่านด่านศุลกากรสงขลา) เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.6 ขณะที่ถุงมือยางลดลงร้อยละ 7.2 อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการส่วนใหญ่ประสบปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยเฉพาะจากราคาวัตถุดิบ ขณะที่ปรับราคาขึ้นได้ไม่มากนัก
การท่องเที่ยว
ในเดือนมิถุนายนนี้ การท่องเที่ยวของภาคใต้ขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการประชาสัมพันธ์ของการท่องเทียวแห่งประเทศไทย ให้ ปี 2549 เป็นปี Thailand Grand Invitation และส่งเสริมการท่องเที่ยว Thailand Grand Sale โดยนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ มีจำนวนทั้งสิ้น 219,267 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดี่ยวกันปีก่อนร้อยละ 39.4 ตามการเพิ่มขึ้นของภาคใต้ฝั่งตะวันตก และภาคใต้ตอนล่างร้อยละ 109.9 และ 26.2 ตามลำดับ ทั้งนี้เป็นการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวในทุกตลาด โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวสิงคโปร์ขยายตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 98.8 ส่วนตลาดมาเลเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.3 เนื่องตากเป็นช่วงปิดภาคเรียนของมาเลเซีย และสิงคโปร์ นอกนี้มีการเปิดเส้นทางการบินหาดใหญ่-สิงคโปร์ของบริษัทไทยเกอร์แอร์
ไตรมาส 2 ปี 2549 ภาวะท่องเที่ยวของภาคใต้ ขยายตัว มีนักท่องเที่ยงชาวต่างประเทศเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ 634,563 คนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 48.3 เนื่องจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยวมีความเชื่อมั่นในความปลอดภัยมากขึ้น โดยจังหวัดภูเก็ตเพิ่มขึ้นร้อยละ 132.7 เนื่องจากในปีที่ผ่านมาจำนวนนักท่องเที่ยวมีน้อยมากจากผลกระทบของสึนามิ และสงขลาเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.1
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาคใต้เดือนมิถุนายนขยายตัวต่อเนื่อง โดย การจดทะเบียนรถใหม่ทั่งรถยนต์ส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 และ 12.4 ตามลำดับส่วนการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.5 สำหรับปัจจัยบวกที่สำคัญ อาทิ ราคายางพาราที่ยืนอยู่ในระดับสูง ปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนภาวะการท่องเที่ยวอยู่ในเกณฑ์ดี ส่งผลให้ยังมีแรงซื้อในระบบเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ทำให้การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อน
ไตรมาส 2 ปี 2549 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวต่อเนื่อง พิจารณาจากเครื่องชี้สำคัญคือ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.4 และการจดทะเบียนรถใหม่เพิ่มขึ้น โดยรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 และรถยนต์ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 ซึ่งเป็นผลจากรายได้เกตรากรที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามราคายาง และภาวะการท่องเที่ยวที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับห้างสรรพสินค้า และโมเดิร์นเทรดต่างแข่งขันกันจัดกิจกรรมลดราคากระตุ้นยอดข่ายนอกจากนี้ค่ายรถต่างๆ มีการปรับรูปแบบให้ทันสมัย และเน้นสมรรถนะให้ประหยัดน้ำมันมากขึ้นเป็นการจูงใจ รวมถึงการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อที่สะดวกขึ้น
การลงทุนภาคเอกชน
การลงทุนโดยรวมในเดือนมิถุนายนนี้เริ่มชะลอลง จากแรงกดดันด้านราคาน้ำมันที่อัตราดอกเบี้ยในช่วงขาขึ้นและความไม่แน่นอนทางการเมือง โดยเฉพาะการก่อสร้าง จะเห็นได้จากพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างลดลงร้อยละ 20.8 หลังจากที่ขยายตัวมาตั้งแต่ต้นปี และส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงการจ้างงานในภาคใต้ที่ชะลอลงเช่นกัน ขณะเดียวกันการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลในภาคใต้ขยายตัวในอัตราที่ลดลงร้อยละ 23.3 ส่วนกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนขยายตัวทั้งจำนวนรายและเงินลงทุน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการฟื้นฟูกิจการโรงแรมในจังหวัดพังงาน
ไตรมาส 2 ปี 2549 การลงทุนใหม่มีน้อย ส่วนใหญ่เป็นการฟื้นฟูกิจการที่ได้รับความเสียหายจากคลื่นสึนามิในภาคใต้ตอนบน และการขยายกิจการเดิม เป็นสำคัญ ขณะที่การก่อสร้างโดยรวมลดลงร้อยละ 3.6 จากการลดลงของพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในภาคใต้ตอนล่าง ส่วนภาคใต้ตอนบนยังขยายตัวดี
การจ้างงาน
ในเดือนมิถุนายนนี้มีผู้ประกอบการแจ้งความต้องการแรงงานผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคใต้ทั้งสิ้น 4,843 อัตรา ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.6 โดยอุตสาหกรรมการขายส่ง ขายปลีก และอุตสาหกรรมการผลิต มีความต้องการแรงงานมากที่สุด ส่วนผู้สมัครงานลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 56.1 และมีการบรรจุงานลดลงร้อยละ 14.0 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการบรรจุงานใน อุตสาหกรรมการขายปลีก ขายส่ง ฯลฯ
ไตรมาส 2 ปี 2549 ผู้ประกอบการแจ้งความต้องการแรงงานผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคใต้ทั้งสิ้น 14,173 อัตรา ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 23.1 จังหวัดภูเก็ตมีตำแหน่งงานว่างสูงสุด รองลงมาได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดสงขลา ขณะที่ผู้สมัครงานมีทั้งสิ้น 14,109 คน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 37.6 ส่วนใหญ่เป็นผู้สมัครงานในจังหวัดสงขลารองลงมา ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ภูเก็ต และนราธิวาส
ระดับราคา
ในเดือนมิถุนายน 2549 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของภาคใต้อยู่ที่ร้อยละ 6.2 ชะลอลงจากร้อยละ 6.3 ในเดือนก่อนเล็กน้อย ทั้งนี้ เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 6.8 และหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 5.8 ทางด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของภาคใต้อยู่ที่ร้อยละ 2.8 ทรงตัวเท่ากับเดือนก่อน
ไตรมาส 2 ปี 2549 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของภาคใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ทั้งนี้ เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม และหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 6.7 และ 5.6 ตามลำดับ โดยสินค้าในหมวดสำคัญที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ สินค้าหมวดผักและผลไม้ร้อยละ 18.6 หมวดปลาและสัตว์น้ำร้อยละ 11.4 หมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิงร้อยละ 14.9 ในขณะที่หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม ลดลงร้อยละ 1.9 สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของ ไตรมาสที่ 2/2549 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.7
การค้าต่างประเทศ
ในเดือนมิถุนายนนี้การส่งออกขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีมูลค่า 809.9 ล้านดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 47.8 เป็นการเพิ่มขึ้นของการส่งออกยางพาราอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีมูลค่าการส่งออก 381.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 92.6 ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 314.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 6.2 แต่เป็นอัตราที่ลดลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 16.3 ในเดือนก่อน จากการชะลอการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ก่อสร้าง
ไตรมาส 2 ปี 2549 การส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้ มีมูลค่า 2,396.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 40.1 เป็นผลจากการส่งออกสินค้าสำคัญโดยเฉพาะยางพาราที่เพิ่มขึ้นมากอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 893.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.1 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเครื่องจักรและอุปกรณ์ และ สัตว์แช่น้ำแข็ง
ภาคการคลัง
ในเดือนมิถุนายนภาครัฐจัดเก็บภาษีได้จำนวน 1,893.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 19.3 ตามการเพิ่มขึ้นของการจัดเก็บภาษีสรรพากร สรรพสามิต และศุลกากร ร้อยละ 21.8 1.9 และ 5.7 ตามลำดับ ส่วนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่างๆ ในภาคใต้ มีจำนวน 8,755.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 30.9 ตามการเพิ่มขึ้นของการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2549 โดยขอให้เร่งก่อหนี้ผูกพันให้แล้วเสร็จภายในเดือน มิถุนายน 2549
ไตรมาส 2 ปี 2549 การจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้น จำนวน 6,929.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.1 ตามการจัดเก็บภาษีสรรพกร และภาษีศุลกากร ร้อยละ 21.5 และ 5.4 ตามลำดับ ส่วนภาษีสรรพสามิตจัดเก็บลดลงร้อยละ 25.6 เนื่องจากบริษัทน้ำมันได้จ่ายภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันที่หน้าโรงกลั่น แทนที่จะมาจ่ายที่คลังน้ำมันที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ และการเพิ่มอัตราภาษีสุรา ส่วนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ของส่วนราชการต่างๆ ในภาคใต้มีการเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ตามการเบิกจ่ายของจังหวัดนครศรีธรรมราช
ภาคการเงิน
ณ สิ้นเดือนมิถุนายน เงินฝากคงค้างของสาขาธนาคารพาณิชย์ คาดว่ามีจำนวนรวม 353,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.1 ส่วนสินเชื่อคงค้างมีจำนวน 275,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 25.4 อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านความผันผวนของภาวะเศรษฐกิจ และความไม่ชัดเจนทางการเมืองในประเทศทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคใต้--