การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียน

ข่าวกฏหมายและประกาศ Wednesday February 8, 2006 08:03 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                                                     8 กุมภาพันธ์ 2549
เรียน ผู้จัดการ
ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศทุกธนาคาร
ที่ ฝนส.(21)ว. 31/2549 เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียน
ในประเทศดำรงเงินกองทุน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขอนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดำรงเงินกองทุน ลงวันที่ 27 มกราคม 2549 ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 123 ตอนพิเศษ 20 ง ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 เป็นต้นไป
สาระสำคัญของประกาศฉบับดังกล่าว มีดังนี้
1.ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดำรงเงินกองทุน ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2548 ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 123 ตอนพิเศษ 9 ง ลงวันที่ 23 มกราคม 2549
2.เพิ่มเติมประเภทตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่ไม่สะสมดอกเบี้ยจ่ายและไม่ชำระดอกเบี้ยในปีที่ไม่มีผลกำไรให้สามารถนับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
3.เพิ่มเติมประเภทน้ำหนักความเสี่ยงเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อยและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดังนี้
3.1 น้ำหนักความเสี่ยง 0.35 สำหรับเงินให้สินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่บุคคลธรรมดาโดยวงเงินให้สินเชื่อแต่ละรายต้องไม่เกิน 3 ล้านบาท และมีสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 0.2 ของยอดรวมวงเงินให้สินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่บุคคลธรรมดาที่มีน้ำหนักความเสี่ยง 0.35 รวมกับวงเงินให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อยและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีน้ำหนักความเสี่ยง 0.75
3.2 น้ำหนักความเสี่ยง 0.75 สำหรับ
3.2.1 เงินให้สินเชื่อมีหลักประกันแก่ประชาชนรายย่อย ที่มีวงเงินไม่เกิน 3 ล้านบาท
3.2.2 เงินให้สินเชื่อไม่มีหลักประกันแก่ประชาชนรายย่อย ที่มีวงเงินไม่เกิน 1 แสนบาท
3.2.3 เงินให้สินเชื่อแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่มีวงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาท
โดยวงเงินให้สืนเชื่อแต่ละรายชื่อเมื่อรวบรวมกับวงเงินสินเชื่อแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องแล้วต้องมีสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 0.2 ของยอดรวมวงเงินให้สินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่บุคคลธรรมดาที่มีน้ำหนักความเสี่ยง 0.35 รวมกับวงเงินให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อย และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีน้ำหนักความเสี่ยง 0.75
3.3 น้ำหนักความเสี่ยง 1.0 สำหรับเงินให้สินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่บุคคลธรรมดา ตามข้อ 3.1 ที่กลายเป็นสินเชื่อด้อยคุณภาพ
3.4 น้ำหนักความเสี่ยง 1.5 สำหรับเงินให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อยและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามข้อ 3.2 ที่กลายเป็นสินเชื่อด้อยคุณภาพ
ทั้งนี้ วงเงินให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อยและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแต่ละราย ต้องรวมวงเงินสินเชื่อแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องด้วย อย่างไรก็ดี กรณีสินเชื่อรายที่ธนาคารพาณิชย์ยังไม่มีฐานข้อมูลครบถ้วน ให้ใช้ข้อมูลมากที่สุดเท่าที่สามารถหามาได้
เงินให้สินเชื่อตามข้อ 3.1 และ 3.2 รายเดิมที่มีอยู่ก่อนวันที่ 7 กุมพาพันธ์ 2549 ธนาคารพาณิชย์สามารถเลือกใช้น้ำหนักความเสี่ยง ตามหลักเกณฑ์ใหม่หรือหลักเกณฑ์เดิมได้ โดยหลักเกณฑ์เดิมเงินให้สินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่แก่บุคคลธรรมดามีน้ำหนักความเสี่ยง 0.5 ทั้งกรณีเป็นเงินสินเชื่อปกติและเป็นสินเชื่อด้อยคุณภาพ และเงินให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อยและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีน้ำหนักความเสี่ยง 1.0 ทั้งกรณีเป็นสินเชื่อปกติด้อยคุณภาพ
จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติ
ขอแสดงความนับถือ
(นางทองอุไร ลิ้มปิติ)
ผู้อำนวยการอาวุโส สายนโยบายสถาบันการเงิน
ผู้ว่าการแทน
สิ่งที่ส่งมาด้วย ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดำรงเงินกองทุน
ฝ่ายนโยบายความเสี่ยง
โทร.0-2283-6821, 0-22835805
หมายเหตุ [
] ธนาคารจะจัดให้มีการประชุมชี้แจงในวันที่.....ณ.....
[x
] ไม่มีการจัดประชุมชี้แจง
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ
ดำรงเงินกองทุน
_______________________
1.เหตุผลในการออกประกาศ
เงินกองทุนย่อมแสดงถึงความสามารถของสถาบันการเงินในการรองรับหรือชดเชยผลขาดทุน
ที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า (Unexpected Losses) สถาบันการเงินที่ดำรงเงินกองทุนไว้ในอัตราส่วนที่สูงพอเพียง
ต่อความเสี่ยงของแต่ละสถาบันการเงินจะสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ฝากและเจ้าหนี้ว่าสถาบันการเงินที่มีความ
สามารถที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทไว้ได้ และส่งผลให้เกิดความมั่นคงและเสถียรภาพแก่ระบบสถาบันการเงิน ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้กำหนดให้สถาบันการเงินดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกพันธ์
การปรับปรุงแระกาศว่าด้วยการกำหนดห็ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดำรงเงินกองทุนในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์
1.เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางในการระดมเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ตาหลักเกณฑ์มาตรฐานสากลโดยอนุญาตให้มีเงินกองทุนชั้น 1 ในรูปของตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่ไม่สะสมดอกเบี้ยจ่าย และไม่ชำระดอกเบี้ยในปีที่ไม่มีผลกำไร ( Hybrid Tier 1) ได้ ทั้งนี้ จะต้องมีคุณสมบัติสำคัญอยู่หลายประการ และการหนึ่งก็คือต้องรองรับผลขาดทุนของธนาคารพาณิชย์ได้ในระหว่างการดำเนินการทำนองใกล้เคียงกับหุ้นสามัญ (Absorb losses on a going — concern basis)
2.เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อยและรัฐวิสาหกิจขนานกลางและขนานย่อมได้อย่างทั้วถึง
2.อำนาจตามกฏหมาย
อาศัยอำนาจความในมาตรา 4 และมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์(ฉบับที่ 3 ) พ.ศ. 2535 ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกำหนดว่าด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประทศดำรงเงินกองทุนตามที่กำหนดในประกาศนี้
3. ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร
4. การยกเลิกประกาศเดิม
ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียน
ในประเทศดำรงกองทุน ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2548
5.หลังเกณฑ์การดำรงเงินกองทุน
5.1 องค์ประกอบของเงินกองทุน
เงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศ ได้แก่
(1)ทุนชำระแล้ว ซึ่งรวมทั้งส่วนล้ำมูลค่าหุ้นที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับ และเงินที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับจากการออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของธนาคารพาณิชย์นั้น
(2)ทุนสำรองตามกฎหมาย
(3)เงินสำรองที่ได้จัดสรรจากกำไรสุทธิเมื่อสิ้นงวดการบัญชีตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น หรือตามข้อบังคับของธนาคารพาณิชย์ แต่ไม่รวมถึงเงินสำรองสำหรับการลดค่าของสินทรัพย์และเงินสำรอง
เพื่อการชิระหนี้
(4)กำไรสุทธิคงเหลือหลังจากการจัดสรร
(5)เงินสำรองจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากการตีราคาที่ดินและอาคารตามหลีงเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(6)เงินสำรองสำหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติ ซึ่งได้กันไว้ตามนัยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ และสินทรัพย์ที่สงสัยว่า จะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์จะนับเงินสำรองสำหรับสินทรัพย์จัดชั้นปกติเข้าเป็นเงินกองทุนได้ไม่เกินร้อยละ 1.25 ของยอดสินทรัพย์เสี่ยง
(7)เงินสำรองจากการตีราคาตราสารทุนประเภทเผื่อขายตามมาตรฐานการบัญชีเรื่อง การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนและที่จะได้แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติดังนี้
(ก) ในกรณีที่มูลค่าสุทธิจากการตีราคาเป็นส่วนเกินทุน ให้ธนาคารพาณิชย์นับส่วนเกินทุนดังกล่าวเป็นเงินกองทุนของงวดการบัญชีรอบระยะเวลาหกเดือนของธนาคารพาณิชย์นั้นได้ไม่เกินร้อยละ 45 ของยอดมูลค่าสุทธิส่วนเกนทุนดังกล่าว
(ข) ในกรณีที่มูลค่าสุทธิจาการตีราคาเป็นส่วนขาดทุน ให้ธนาคารพาณิชย์หักส่วนที่ขาดทุนดังกล่าวออกจากเงินกองทุนทั้งสิ้นของงวดการบัญชีรอบระยะเวลาหกเดือนของธนาคารพาณิชย์นั้น
(8) เงินที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับจากการออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้ระยะยาวเกินห้าปีที่มีสิทธิด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญ 2 ประเภท ดังนี้
(ก) ตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนท่ำม่สะสมเบี้ยจ่ายและไม่ชำระดอกเบี้ยในปีที่ม่มีผลกำไร ให้นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ได้ (Hybrid Tier 1)ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(ข) ตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุน และตราสารหนี้ด้อยสิทธิระยะยาวที่สามารถสะสมเงินปันผลหรือดอกเบี้ยจ่ายได้ ให้นับเป็นในกองทุนชั้นที่ 2ได้ (Hybrid Tier 2) ตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
เงินกองทุนส่วนที่ระบุใน(1)(2)(3) และ(4)ให้หักผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในทุกงวดการบัญชีออกก่อนและให้หักค่าแห่งกู๊ดวิลล์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด และให้หักมูลค่าของหุ้นที่ธรนาคารพาณิชย์ได้ซื้อคืนตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด ออกจากเงินทุนใน(1) และ(4)ด้วยวิธีราคาตามมูลค่าตามแนวปฏิบัติทางการบัญชีเกี่ยวกับหุ้นซื้อคืนของกิจการและที่จะแก้ไขเพิ่มเติม หรือตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
เงินกองทุนที่ระบุใน(1)(2)(3)(4)(5)(6)(7) และ(8)ให้หักเงินตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ใดถือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ระยะยาวเกินห้าปีที่มีสิทธิด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญตาม(8) ของบริษัทเงินทุนหรือธนาคารพาณิชย์อื่น ให้ธนาคารพาณิชย์นั้นหักเงินตามตราสารดังกล่าวตามมูลค่าที่บริษัทเงินทุนหรือธนาคารพาณิชย์ผู้ออกตราสารนั้นได้รับอนุญาตให้นับเป็นเงินกองทุนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยตราสารที่ให้นับเป็นเงินกองทุนสำหรับบริษัทเงินทุน หรือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยตราสารที่ให้นับเป็นเงินกองทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์แล้วแต่กรณี
(ข) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ใดเป็นผู้ลงทุนในตราสารประเภท Credit Linked Notes ที่มีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นตราสารแสดงสิทธิในหนี้ระยะยาวเกินห้าปีที่มีสิทธิด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญตาม ( 8 ) ของบริษัทเงินทุนและธนาคารพาณิชย์อื่น ให้ธนาคารพาณิชย์นั้นหักเงินตาม ตราสารที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงดังกล่าวตามมูลค่าที่บริษัทเงินทุนและธนาคารพาณิชย์ผู้ออกตราสารนั้นได้รับอนุญาตให้นับเป็นเงินกองทุนตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยตราสารที่ให้นับเข้าเป็นเงินกองทุนสำหรับบริษัทเงินทุน หรือประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยตราสารที่ให้นับเข้าเป็นเงินกองทุนสำหรับธนาคารพาณิชย์แล้วแต่กรณี
(ค) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ได้ถือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ระยะยาวเกินห้าปีที่สิทธิด้อยกว่าเจ้าหนี้สามัญตาม (8) ของของบริษัทเงินทุนหรือธนาคารพาณิชย์อื่น และธนาคารพาณิชย์นั้น ได้ออกและขายตราสารประเภท Credit Linked Notes ให้กับบริษัทเงินทุนและธนาคารพาณิชย์อื่น โดยมีตราสารดังกล่าวเป็นสินทรัพย์อ้างอิง ธนาคารพาณิชย์นั้นไม่ต้องหักเงินตามตราสารที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงดังกล่าวตราบเท่าอายุของตราสารประเภท Credit Linked Notes นั้น
5.2 ประเภทของเงินกองทุน
(1) เงินกองทุนชั้นที่ 1 ให้ประกอบด้วย
(ก) เงินกองทุนที่ระบุในข้อ 5.1(1) ถึง 5.1(4) แต่ในกรณีที่มีการออกหุ้นบุริมสิทธิตามข้อ 5.1(1) หากเป็นชนิดที่สะสมเงินปันผลได้ไม่ให้นับรวมอยู่ในเงินกองทุนชั้นที่ 1
(ข) เงินกองทุนที่ระบุในข้อ 5.1(8)(ก)ตามจำนวน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(2) เงินกองทุนชั้นที่ 2 ให้ประกอบด้วย
(ก) เงินกองทุนที่ระบุในข้อ 5.1(5) ถึง 5.1(7)
(ข) เงินกองทุนที่ระบุในข้อ 5.1(8)(ก) ในส่วนที่เหลือจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาติให้นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1
(ค) เงินกองทุนที่ระบุในข้อ 5.1(8)(ข) ตามจำนวน หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(ง) หุ้นบุริมสิทธิชนิดสะสมเงินปันผลตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
5.3 อัตราส่วนการดำรงเงินกองทุน
ให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดำรงเงินกองทุนเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ เป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกพันไม่ต่ำกว่าร้อยฃะ 8.5 โดยมีเงื่อนไขว่าเงินกองทุนชั้นที่ 1 ต้องเป็นอัตราส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.25 ของสินทรัพย์และภาระผูกพันดังกล่าว ทั้งนี้เงินกองทุนชั้นที่ 2 ต้องมีจำนวนสูงสุดไม่เกินเงินกองทุนชั้นที่ 1
การดำรงเงินกองทุนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อ 5.4 ถึง 5.6
5.4 วิธีการคำนวณเงินกองทุน
ในการดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกพันตาม 5.3 ให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
(1) นำรายการในงบการเงินทางด้านสินทรัพย์ทุกรายการ และภาระผูกพันทุกรายการ ทั้งนี้ให้รวมทุกสำนักงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยใช้มูลค่าตามบัญชี ณ วันที่รายงานมาคำนวณกับน้ำหนักความเสี่ยง ส่วนสินทรัพย์และภาระผูกพันที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้แปลงค่าเป็นเงินบาทก่อน โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิง ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะประกาศทุกเช้าวันทำการถัดไปของวันจัดทำรายงาน ทั้งนี้ให้ใช้อัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อถัวเฉลี่ยขั้นต่ำสุดและอัตราขายถัวเฉลี่ยสำหรับสกุลเงินซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยมิได้ประกาศอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงไว้ ให้ใช้วิธีคำนวณจากอัตราไขว้ (Cross Rate)
(2) คูณสินทรัพย์แต่ละรายการด้วยน้ำหนักความเสี่ยงตามที่กำหนดไว้ใน 5.5
(3) คูณภาระผูกดันแต่ละรายการด้วยค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) ตามที่กำหนดไว้ใน 5.6 แล้วนำค่าที่ได้คูณกับน้ำหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์แต่ละประเภทตามที่กำหนดไว้ใน 5.5 อีกครั้งหนึ่ง
(4) รวมผลคูณของสินทรัพย์ตาม (2) และภาระผูกพันตาม (3) ทุกรายการและนำเงินกองทุนมาคำนวณอัตราส่วนกับผลลัพธ์ที่ได้ โดยเงินกองทุนต้องเป็นอัตราส่วนกับผลลัพธ์ดังกล่าวไม่ต่ำกว่าที่กำหนดใน 5.3
(5) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อ หรือลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ โดยมีสัญญารับความเสี่ยงกำหนดให้การชำระหนี้คืนดังกล่าวอิงกับเหตุการณ์ที่กำหนดขึ้น เกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้ (Credit Event) ของสินทรัพย์อ้างอิง (Referencer Asset) และธนาคารพาณิชย์ตกลงรับความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) ของสินทรัพย์อ้างอิงนั้น ให้ธนาคารพาณิชย์นำผลคูณน้ำหนักความเสี่ยงของเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในตราสารดังกล่าวเปรียบเทียบผลคูณน้ำหนักความเสี่ยงของสัญญารับความเสี่ยง และใช้เฉพาะผลคูณที่สูงกว่าในการคำนวณผลลัพธ์ตาม (4)
5.5 น้ำหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์แต่ละประเภท
ก. น้ำหนักความเสี่ยง 0
(1) เงินสดที่เป็นเงินบาทและเงินตราต่างประเทศ
(2) เงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
(3) เงินลงทุนในตลาดซื้อขายพันธบัตร โดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืน หรือขายคืนซึ่งดำเนินการโดยธนาคารแห่งประเทศไทย รวมดอกเบี้ยค้างรับ
(4) เงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาลไทย หรือหลักทรัพย์ ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย หรือหลักทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือเงินให้สินเชื่อที่มีหลักทรัพย์ข้างต้นเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(5) เงินให้สินเชื่อที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย หรือเงินให้สินเชื่อใด ที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดสรรเงินงบประมาณเพื่อชำระหนี้ให้
(6) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาลหรือธนาคารกลางของประเทศในกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่รัฐบาลหรือธนาคารกลางดังกล่าวค้ำประกัน โดยปราศจากเงื่อนไข หรือที่มีหลักทรัพย์รัฐบาลหรือธนาคารกลาง ดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(7) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาลหรือธนาคารกลางของประเทศนอกกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่รัฐบาลหรือธนาคารกลางดังกล่าวค้ำประกันโดยปราศจากเงื่อนไข รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้ ต้องเป็นสกุลเงินของประเทศนั้น และไม่เกินกว่าหนี้สินที่ธนาคารพาณิชย์มีอยู่ในสกุลเงินนั้น
(8) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้นเต็มจำนวน รวมถึงเงินให้สินเชื่อหรือเงินกองทุนในหลักทรัพย์ซึ่งนิติบุคคลดังกล่าว รับรอง รับอาวัล หรือคำประกัน หรือเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารหรือที่ออกโดยนิติบุคคลดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(9) เงินให้สินเชื่อที่มีสิทธิ์ ซึ่งมีตราสารการฝากเงินซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์นั้น หรือมีเงินสดที่ธนาคารพาณิชย์นั้นยึดถือไว้ เป็นประกัน ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินมูลค่าตามตราสาร หรือจำนวนเงินตามเงินสด นั้น
(10) ยอดเหลื่อมบัญชีระหว่างสำนักงานของธนาคารพาณิชย์นั้น
(11) ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี
(12) เงินให้สินเชื่อเฉพาะส่วนซึ่งเท่ากับจำนวนที่ได้กันไว้เผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
(13) ค่าใช่จ่ายล่วงหน้า
(14) เงินสดระหว่างเรียกเก็บเพื่อประโยชน์ของลูกค้า
(15) ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จำกัด (มหาชน) และ
บัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคารกรุงไทย จำกัก (มหาชน) ตามโครงการรับแลกเปลี่ยนตั๋ว 56 บริษัทเงินทุนที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ ในส่วนที่เป็นต้นเงินตามหน้าตั๋วและดอกเบี้ยค้างรับ
(16) เงินให้สินเชื่อในส่วนที่มีตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จำกัด (มหาชน) หรือบัตรเงินฝากที่ออกให้โดยธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตามโครงการรับและเปลี่ยนตั๋ว 56 บริษัทเงินทุนที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ จำนำเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(17) เงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ โดยมีบุคคลอื่น ทำสัญญากับธนาคารพาณิชย์นั้นตกลงว่า บุคคลอื่นจะรับความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) ในเงินให้สินเชื่อหรือตราสารดังกล่าว ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินว่าจำนวนเงินที่ผู้รับความเสี่ยงวางไว้เป็นประกัน หรือจำนวนเงินที่ธนาคารพานิชย์นั้นมีสิทธิหักกลบลบหนี้กับผู้รับความเสี่ยง
ข. น้ำหนักความเสี่ยง 0.2
(1) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยธนาคาร พาณิชย์ หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินทุนในหลักทรัพย์ที่มีธนาคารพาณิชย์รับรอง รับอาวัล ค้ำประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์เป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(2) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีธนาคารดังกล่าวรับรอง รับอาวัล ค้ำประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(3) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยบริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสถาบันดังกล่าวรับรอง รับอาวัลค้ำประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อซึ่งมีตราสารที่ออกโดย
สถาบันดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(4) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยองค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสถาบันดังกล่าวรับรอง รับอาวัล ค้ำประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อ ที่มีตราสารซึ่งออกโดยสถาบันที่กล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(5) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียน
ในกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ ที่มีธนาคารพาณิชย์ดังกล่าว รับรอง รับอาวัล ค้ำประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตรวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ดังกล่าว เป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(6) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยองค์การของรัฐในกลุ่มในประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสถาบันดังกล่าวรับรองรับอาวัล หรือค้ำประกัน รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสาร ซึ่งออกโดยสถาบันดังกล่าวเป็นประกันรวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(7) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยองค์การระหว่างประเทศ หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลัหทรัพย์ที่มีองค์การดังกล่าวรับรอง รับอาวัล หรือค้ำประกันรวมทั้งเงินให้สินเชื่อ ที่มีตราสารซึ่งออกโดยองค์การดังกล่าว เป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(8) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนนอกกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวรับรอง รับอาวัล ค้ำประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้ต้องมีระยะเวลาคงเหลือไม่เกิน 1 ปี
(9) เงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิต หรือเงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกตามเอกสาประเภทอื่น ที่ธนาคารพาณิชย์ในต่างประเทศรับผิดชอบในการชำระค่าสินค้าแทนผู้ซื้อ แต่ในกรณีผู้ออกเล็ตเตอร์ออฟเครติตหรือธนาคารพาณิชย์ที่รับผิดชอบในการชำระค่าสินค้าเป็นธนาคารจดทะเบียนนอกกลุ่มประเทศ OECD จะต้องมีระยะเวลาคงเหลือของเล็ตเตอร์ออฟเครดิต หรือระยะเวลาที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องชำระค่าสินค้าไม่เกิน 1 ปี
(10) เงินให้สินเชื่อใดที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดสรรเงินงบประมาณเพื่อชำระหนี้แต่สำนักงบประมาณมิได้จัดสรรเงินชำระหนี้ให้จนล่วงพ้นระยะเวลาที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 2 ปีขึ้นไป
(11) เงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกที่มีธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยรับประกัน ทั้งนี้เฉพาะในส่วนที่ได้มีการโอนสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ให้ธนาคารพาณิชย์แล้ว
(12) เงินลงทุนในหลักทรัพย์หรือหน่วยลงทุนรวมทั้งผลตอบแทนค้างรับทั้งนี้เฉพาะจำนวนเงินที่กระทรวงการคลังทำสัญญาให้ความคุ้มครองหรือตกลงเป็นผู้รับความเสี่ยง
ค.น้ำหนักความเสี่ยง 0.35
เงินให้สินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่บุคคลธรรมดา โดยธนาคารพาณิชย์รับจำนองที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นลำดับหนึ่งเป็นประกัน ทั้งนี้ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่ายอดเงินให้สินเชื่อคงค้าง รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้วงเงินให้สินเชื่อแต่ละราย จักต้อง
(ก) ไม่เกิน 3 ล้านบาท และ
(ข) มีสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 0.2 ของยอดรวมวงเงินให้สินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่บุคคลธรรมดาตาม (ก) รวมกับวงเงินให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อย และ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตาม จ.
ง. น้ำหนักความเสี่ยง 0.5
(1) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยเทศบาล หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีเทศบาลรับรอง รับอาวัล หรือค้ำประกัน รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยเทศบาลเป็นประกัน
(2) เงินให้สินื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่บุคคลธรรมดา โดยธนาคารพาณิชย์รับจำนองที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นลำดับหนึ่งเป็นประกัน ทั้งนี้ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่ายอดเงินให้สินเชื่อคงค้าง รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ที่นอกเหนือจาก ค.
(3) ภาระผูกพันที่เป็นสัญญาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน หรืออัตราดอกเบี้ยซึ่งได้คูณด้วยค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) ตามที่กำหนดไว้ใน 5.6 แล้ว เว้นแต่คู่สัญญาจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่มีน้ำหนักความเสี่ยงต่ำกว่า 0.5
จ.น้ำหนักความเสี่ยง 0.75
(1) เงินให้สินเชื่อมีหลักประกันแก่ประชาชนรายย่อยรวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับที่มีวงเงินไม่เกิน 3 ล้านบาท
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ