การกำหนดอัตราส่วนจำนวนเงินที่ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อ ลงทุนและก่อภาระผูกพัน เพื่อบุคคลหนึ่งบุคลใดกับเงินกองทุน

ข่าวกฏหมายและประกาศ Thursday February 16, 2006 08:09 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                                                  16 กุมภาพันธ์ 2549
เรียน ผู้จัดการ
ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร
ที่ ฝนส.(21) ว. 71 /2549 เรื่อง นำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนจำนวนเงินที่ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อ ลงทุน
และก่อภาระผูกพัน เพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดกับเงินกองทุน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขอนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การ
กำหนดอัตราส่วนจำนวนเงินที่ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อ ลงทุน และก่อภาระผูกพันเพื่อบุคคลหนึ่ง
บุคคลใดกับเงินกองทุน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 และมาตรา 13 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการธนาคาร
พาณิชย์ พ.ศ.2505 และที่แก้ไขแล้ว ธปท. ออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนด
อัตราส่วนจำนวนเงินที่ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อ ลงทุน และก่อภาระผูกพันเพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด
กับเงินกองทุน ลงวันที่ 19 มกราคม 2549 ด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
และได้นำลงในราชกิจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 23 ตอนพิเศษ 20ง ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์
2549 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2549 เป็นต้นไป
สรุปสาระสำคัญของการปรับปรุงประกาศครั้งนี้
1.เพิ่มเติมนิยาม "ก่อภาระผูกพัน"ให้ครอบคลุมถึงการการค้ำประกันการเพิ่มทุนหรือ
การค้ำประกันในลักาณะอื่นใด เพื่อประโยชน์ในการกู้ยืมของบุคคลหนึ่งบุคคลใด และการทำสัญญา
อนุพันธ์ทางการเงิน
2.ปรับปรุงอัตราส่วนการกำกับลูกหนี้รายใหญ่ เฉพาะธนารพาณิชย์ ให้ครอบคลุมถึง
ธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายสินเชื่อ ได้แก่ ธุรกรรมแฟ็กเตอริ่ง ธุรกรรมการให้เช่าซื้อ ธุรกรรมการให้เช่า
แบบลีสซิ่ง เป็นต้น
3.ปรับปรุงข้อยกเว้นในการคำนวณการให้สินเชื่อ ลงทุน และก่อภาระผูกพันตาม
ข้อ(4)(จ)ของประกาศ โดยยกเว้นให้แก่หลักประกันที่เป็นเงินฝาก เฉพาะเงินฝากในธนาคารพาณิชย์
แห่งเดียวกับที่ลูกหนี้มีภาระหนี้อยู่เท่านั้น
*ไม่รวมธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยและกิจการวิเทศธนกิจของสาขาธนาคารต่างประเทศ
4.ปรับปรุงวิธีการคำนวณมูลค่าเทียบเท่าที่จะนับเป็นการก่อภาระผูกพันจากสัญญา
อนุพันธ์ทางการเงินจากเดิม 2วิธี เป็น4วิธี คือวิธี Original Exposure และ Current Exposure ทั้งแบบมี
Netting Agreement และไม่มี Netting Agreement เพื่อให้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติสากลและรองรับการ
อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทำธุรกรรมทางการเงินใหม่ๆ ทั้งนี้ หากธนาคารพาณิชย์คำนวณภาระผูกพัน
สำหรับอนุพันธ์ทางการเงินที่มีอยู่เดิมตามวิธีการที่กำหนดในประกาศฉบับนี้แล้วทำให้อัตราส่วนจำนวน
เงินที่ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อ ลงทุน และก่อภาระผูกพันเพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด เกินกว่าอัตราส่วน
25% ของเงินกองทุนชั้นที่ 1 นั้น ธปท.ผ่อนผันเป็นการทั่วไปหากอัตราส่วนที่กล่าวไม่เกิน 60% ของ
เงินกองทุนชั้นที่ 1 และเมื่อรวมการให้สินเชื่อ ลงทุน และก่อภาระผูกพันแก่ลูกค้าที่เกินอัตราส่วน 25%
ทั้งหมดเข้าด้วยกันจะต้องไม่เกิน 3.5 เท่าของเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของธนาคารพาณิชย์นั้น
5.กำหนดค่า Credit Conversion Factors สำหรับการคำนวณมูลค่าเทียบเท่าที่จะนับเป็น
การก่อภาระผูกพันจากสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินด้านตราสารทุนและอนุพันธ์ด้าน Commodity เพิ่มเติม
6.กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ให้ผลรวมของ Notional Amount ที่ธนาคารพาณิชย์จะ
ได้รับในสถานการณ์ที่เป็นประโยชน์กับธนาคารพาณิชย์มากที่สุดที่อาจจะเกิดขึ้น (Effective Notional
Amount) ในการคำนวณมูลค่าเทียบเท่าที่จะนับเป็นการก่อภาระผูกพันจากสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินที่มี
การพัฒนาจากอนุพันธ์ทางการเงินพื้นฐานย่อยๆ หรือมีการ Leverage จำนวนเงินตามสัญญาหรือมีการ
แลกเปลี่ยนจำนวนเงินตามสัญญาหลายครั้ง
7.ตัดถ้อยคำที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลธุรกรรม Credit Derivatives ออกโดยให้ถือ
ปฏิบัติตามประกาศเรื่อง การอนุญาตและการกำกับดูแลธุรกรรม Credit Derivatives โดยในระหว่างที่
ประกาศที่กล่าวยังไม่ออกใช้นั้น ให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การกำกับลูกหนี้รายใหญ่ใน
หนังสือทั้ง 3 ฉบับดังนี้
7.1 หนังสือที่ สนส.(21)ว. 143/2546 เรื่อง นำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกรรม Credit Default Swaps ลงวันที่24 ตุลาคม 2546
7.2 หนังสือที่ สนส.(21)ว. 140/2546 เรื่อง นำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกรรม Credit Linked Notes หรือ Credit Linked Deposits ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2546
7.3 หนังสือที่ สนส.(21)ว. 54/2547 เรื่อง นำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
เรื่อง การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทำธุรกรรม Credit Derivatives ที่อ้างอิงกลุ่มของสินทรัพย์ ลงวันที่
26 เมษายน 2547
จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติ
ขอแสดงความนับถือ
(นางทองอะไร ลิ้มปิติ)
ผู้อำนวยการอาวุโส สายนโยบายสถาบันการเงิน
ผู้ว่าการ(แทน)
สิ่งที่ส่งมาด้วย ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนจำนวนเงินที่ธนาคาร
พาณิชย์ให้สินเชื่อ ลงทุน และก่อภาระผูกพันเพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดกับเงินกองทุน
ฝ่ายนโยบายความเสี่ยง
สอบถามข้อ 1-3 โทร.0-2283-5304, 0-2283-5303
สอบถามข้อ 4-7 โทร.0-2283-5307, 0-2283-6820
หมายเหตุ [X
] ธนาคารจะจัดให้มีการประชุมชี้แจงเฉพาะในเรื่องการคำนวณมูลค่าเทียบเท่าที่จะนับเป็นการก่อภาระผูกพันจากสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินในวันที่ 15 มีนาคม 2549 เวลา 10.00-12.00 น. ณ ห้องประชุมอาคาร 3 ชั้น 7 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธนาคารพาณิชย์โปรดแจ้งรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม ตำแหน่ง และเบอร์ติดต่อ ธนาคารละ 3 ท่าน มาที่ศูนย์บริหารข้อมูล สายนโยบายสถาบันการเงิน ทางโทรสารหมายเลข
0-2356-7504 หรือ โทรศัพท์หมายเลข 0-23556-7791 ภายในวันที่ 10 มีนาคม 2549)
[
] ไม่มีการจัดประชุมชี้แจง
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนจำนวนเงินที่ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อ ลงทุน
หรือก่อภาระผูกพันเพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดกับเงินกองทุน
1.เหตุผลในการออกประกาศ
เพื่อกำหนดแนวทางการกำกับให้ธนาคารพาณิชย์มีการให้สินเชื่อ ลงทุน หรือก่อภาระ
ผูกพันแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดด้วยความรัดกุม มีระบบการประเมิน บริหารและควบคุมความเสี่ยงที่เกิด
จากธุรกรรมดังกล่าวที่มีประสิทธิภาพ และปรับปรุงแนวทางการกำกับดูแลการคำนวณภาระผูกพัน
สำหรับการทำสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินให้รองรับพฒนาการในตลาดการเงิน
2.อำนาจตามกฎหมาย
ธนาคารแห่งประเทศไทยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 และมาตรา 13 ทวิ แห่ง
พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ที่แก้ไขแล้ว ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการกำหนดอัตราส่วน
จำนวนเงินที่ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อ ลงทุน หรือก่อภาระผูกพันเพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใด ด้วยความ
เห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตาที่กำหนดในประกาศฉบับนี้
3.ขอบเขตการบังคับใช้
ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
ทุกธนาคาร ยกเว้นกิจการวิเทศธนกิจของสาขาธนาคารต่างประเทศ
4.เนื้อหา
4.1 ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนจำนวนเงิน
ที่ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อ ลงทุน และก่อภาระผูกพันเพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดกับเงินกองทุน ลงวันที่
29 เมษายสน 2546
4.2 ในประกาศนี้
(1)"เงินกองทุนชั้นที่ 1"หมายความว่า เงินกองทุนตาม(1)(2)(3)และ(4)ของ
บทนิยามคำว่า "เงินกองทุน"ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ที่แก้ไขแล้ว
ทั้งนี้ ให้หักผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในทุกงวดการบัญชีออกก่อน และ ให้หักค่าแห่งกู๊ดวิลล์ตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ในกรณีของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนใน
ประเทศ และหมายความว่า สินทรัพย์ที่ต้องดำรงตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์
พ.ศ.2505 ที่แก้ไขแล้ว ในกรณีของสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการ
ธนาคารพาณิชย์
(2)"ก่อภาระผูกพัน"หมายความว่า รับรอง รับอาวัล หรือสอดเข้าแก้หน้าในตั๋วเงิน
สลักหลังตั๋วเงินที่ผู้รับสลักหลังมีสิทธิไล่เบี้ย ค้ำประกันการกู้ยืมเงิน หรือค้ำประกันการขาย ขายลด
หรือขายช่วงลดตั๋วเงิน การค้ำประกันการเพิ่มทุนหรือการคำประกันในลักษณะอื่นใด เพื่อประโยชน์ใน
การกู้ยืมเงินขอบบุคคลหนึ่งบุคคลใด การรับประกันการจำหน่ายตราสารแสดงสิทธิในหนี้แบบรับประกัน
ทั้งจำนวน(Firm Underwrite) และการทำสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินประเภทต่างๆ ได้แก่ อนุพันธ์ด้าน
อัตราแลกเปลี่ยน อนุพันธ์ด้านอัตราดอกเบี้ย อนุพันธ์ด้านตราสารทุน และอนุพันธ์ด้าน Commodity
ตามรายละเอียดในเอกสารแนบท้ายประกาศฉบับนี้ (เอกสารแนบ1)
(3)"ตั๋วเงินที่มีคุณภาพ" หมายความว่า
(1) ตั๋วเงินที่ธนาคารพาณิชย์อื่นหรือบริษัทเงินทุนรับรอง หรือรับอาวัล
(2) ตั๋วแลกเงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุนเพื่อระดมทุนจากประชาชน
(3) ตั๋วเงินที่ออกโดยบริษัทซึ่งได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ในระดับ AA
หรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือตั๋วเงินที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับ AA หรือเทียบเท่าขึ้นไป
โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(4)"ธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายสินเชื่อ"หมายความว่า การประกอบธุรกิจของ
ธนาคารพาณิชย์ ที่มีลักษณะการทำธุรกรรมคล้ายการให้สินเชื่อ เช่น ธุรกรรมแฟ็กเตอริ่ง ธุรกรรมการให้
เช่าซื้อ ธุรกรรมการให้เช่าแบบลีสซิ่ง เป็นต้น
4.3 อัตราส่วนการให้สินเชื่อ ลงทุน หรือก่อภาระผูกพันต่อเงินกองทุน
จำนวนเงินที่ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อหรือลงทุนในกิจการหรือก่อภาระผูกพันเพื่อ
บุคคลหนึ่งบุคคลใด อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน เมื่อสิ้นวันหนึ่งๆ ต้องไม่เกินร้อยละ 25
ของเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของธนาคารพาณิชย์หักด้วยจำนวนเงินที่ธนาคารพาณิชย์ทำธุรกรรมที่มีลักษณะ
คล้ายสินเชื่อและจำนวนเงินตามสัญญาการทำธุรกรรม Credit Derivative ที่ธนาคารพาณิชย์ซื้อประกัน
ความเสี่ยงด้านเครดิตของสินทรัพย์อ้างอิงจากบุคคลนั้นโดยไม่มีเงินสดรับมาเป็นประกันการรับประกันดังกล่าว
การคำนวณอัตราส่วนจำนวนเงินที่ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อ ลงทุนและก่อภาระ
ผูกพันเพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดกับเงินกองทุนในส่วที่เกี่ยวข้องกับ Credit Derivatives ให้ธนาคารพาณิชย์
ถือปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการอนุญาตและการกำกับดูแลธุรกรรม
Credit Derivatives
ให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการคำนวณภาระผูกพันสำหรับการทำสัญญา
อนุพันธ์ทางการเงิน ตามเอกสารแนบท้ายประกาศฉบับนี้ (เอกสารแนบ 2)
4.4 การนับลูกหนี้ตั๋วเงิน
การให้สินเชื่อโดยวิธีการรับซื้อ ซื้อลด หรือรับช่วงซื้อลดตั๋วเงินให้ถือเป็นการให้
สินเชื่อแก่บุคคลดังกล่าวต่อไปนี้ ซึ่งเมื่อรวมกับการให้สินเชื่อ ลงทุน หรือก่อภาระผูกพันกรณีอื่นๆ แล้ว
ต้องไม่เกินอัตราส่วนตามที่กำหนดไว้ใน 4.3 ด้วย
(1) กรณีที่เป็นตั๋วเงินที่มีคุณภาพที่มีธนาคารพาณิชย์อื่นหรือบริษัทเงินทุนรับรอง
หรือรับอาวัล ให้นับธนาคารพาณิชย์อื่นและบริษัทเงินทุนทุกรายที่รับรองและรับอาวัลตั๋วเงินที่มีคุณภาพเป็นลูกหนี้
(2) กรณีเป็นตั๋วเงินที่มีคุณภาพที่ไม่มีธนาคารพาณิชย์อื่นหรือบริษัทเงินทุนรับรอง
หรือรับอาวับให้นับผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋วเงินที่มีคุณภาพเป็นลูกหนี้
(3) กรณีตั๋วเงินนั้นไม่ใช่ตั๋วเงินที่มีคุณภาพให้นับผู้ทรงซึ่งขายตั๋วเงินและบุคคลซึ่ง
ต้องรับผิดตามตั๋วเงินเป็นลูกหนี้
4.5 ข้อยกเว้นในการคำนวณการให้สินเชื่อ ลงทุน หรือก่อภาระผูกพัน
การคำนวณการให้สินเชื่อ การลงทุน หรือภาระผูกพันตามความใน 4.3 ไม่ให้นับ
รวมถึงรายการที่กำหนดในเอกสารแนบท้ายประกาศฉบับนี้(เอกสารแนบ3)
4.6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2549 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 19 มกราคม 2549
(ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
เอกสารแนบ1
สัญญาอนุพันธ์ทางการเงินประเภทต่างๆ
อนุพันธ์ด้านอัตราแลกเปลี่ยน ได้แก่ สัญญาดังต่อไปนี้
(1) Foreign Exchange Forward Contracts
(2) Foreign Exchange Futures
(3) Currency Options Purchase
(4) Cross Currency Interest Rate Swaps
(5) อนุพันธ์ทางการเงินอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน
อนุพันธ์ด้านอัตราดอกเบี้ย ได้แก่ สัญญาดังต่อไปนี้
(1) Forward Rate Agreements
(2) Interest Rate Futures
(3) Interest Rate Options Purchase
(4) Interest Rate Swaps
(5) อนุพันธ์ทางการเงินอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน
อนุพันธ์ด้านตราสารทุน ได้แก่ สัญญาดังต่อไปนี้
(1) Equity Index Futures
(2) Equity Index Options Purchase
(3) Equity Index Linked Swaps
(4) อนุพันธ์ทางการเงินอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน
อนุพันธ์ด่าน Commodity ได้แก่ สัญญาดังต่อไปนี้
(1) Commodity Forwards
(2) Commodity Futures
(3) Commodity Options Purchase
(4) Commodity Swaps
(5) อนุพันธ์ทางการเงินอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน
เอกสารแนบ2
การคำนวณภาระผูกพันสำหรับการทำสัญญาอนุพันธ์ทางการเงิน
ก. ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้วิธีการคำนวณแบบ Current Exposure ในการคำนวณภาระผูกพันสำหรับ
การทำสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินกับคู่สัญญาทุกราย ยกเว้นคู่สัญญาที่ทำเฉพาะสัญญาอนุพันธ์ด้านอัตราแลกเปลี่ยน
หรืออนุพันธ์ด้านอัตราดอกเบี้ย ธนาคารพาณิชย์อาจเลือกใช้วิธีการคำนวณภาระผูกพันดังกล่าวแบบ
Original Exposure ก็ได้
ข. ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ได้มีการลงนามในสัญญาที่ยินยอมให้หักกลบหนี้ระหว่างกัน (Netting
Agreement) ที่มีเงื่อนไขครบถ้วน สามารถเลือกใช้วิธีการคำนวณภาระผูกพันสำหรับการทำสัญญาอนุพันธ์ทารการเงินแบบมี Netting ได้ ทั้งนี้ สัญญาที่ยินยอมให้หักกลบลบหนี้ระหว่างกัน (Netting Agreement) ที่มีเงื่อนไขครบถ้วน
ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(1) ป็นสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษร มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย และเป็นสัญญา Master
Agreement ที่ครอบคลุมถึงสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินทุกสัญญาที่ธนาคารพาณิชย์ทำกับคู่ค้ารายนั้น ๆ
(2) ในกรณีที่มีคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดนัดชำระหนี้ (Default) ล้มละลาย เลิกกิจการ หรือ
เหตุอื่นในทำนองเดียวกัน สัญญาหักกลบลบหนี้จะต้องกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ต้องชำระหนี้ให้กับคู่ค้า หรือรับชำระหนี้จากคู่ค้าเป็นยอดรวมสุทธิเพียงยอดเดียว (Single Legal Obligation) โดยยอดรวมสุทธิดังกล่าวจะต้องเป็นผลรวมสุทธิของยอดกำไรและขาดทุนที่ได้จากการวัดมูลค่ายุติธรรม (Mark to market) ของสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินที่ธนาคารพาณิชย์ทำกับคู่ค้าทุกสัญญา
(3) ที่ปรึกษากฎหมายอิสระได้ให้ความเห็นชอบอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรว่าการหักกลบลบหนี้ตาม (2) สามารถกระทำได้ โดยไม่ขัดกับ
(3.1) กฎหมายของประเทศที่สำนักงานใหญ่ของนิติบุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญานั้นตั้งอยู่นอกจากนี้
หากคู่สัญญาเป็นสาขาของนิติบุคคลต่างประเทศ การหักกลบลบหนี้จะต้องไม่ขัดกับกฎหมายที่สาขาของนิติบุคคล
นั้นตั้งอยู่ด้วย
(3.2) กฎหมายที่ใช้บังคับกับการทำธุรกรรมนั้น ๆ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการหักกลบลบหนี้
(4) ไม่มีเงื่อนไขที่มีผลบังคับให้คู่สัญญาฝ่ายที่มิได้ผิดสัญญาจะต้องชำระหนี้ในวงเงินจำกัด หรือไม่ต้องชำระหนี้ให้กับคู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญา หากคู่สัญญาฝ่ายที่ผิดสัญญามีฐานะเป็นเจ้าหนี้สุทธิหลังการหักกลบลบหนี้ (Walkaway Clause)
ค.วิธีการคำนวณภาระผูกพันที่กำหนด สามารถสรุปได้ตามตารางดังนี้
กรณีไม่มี Netting Agreement กรณีมี Netting Agreement
หรือเงื่อนไขไม่ครบถ้วน ที่มีเงื่อนไขครบถ้วน
Current Exposure CEA = CCE +PFCE gross CEA = NCCE + PFCE Net
Original Exposure CEA = Notional Amount*CCFตาราง2 CEA= Notional Amount*CCFตาราง2
โดยที่
(1) CEA (Credit Equivalent Amount) คือ มูลค่าเทียบเท่าที่จะนับเป็นการ "ก่อภาระผูกพัน"
จากสัญญาอนุพันธ์ทางการเงิน
(2) Notional Amount คือ จำนวนเงินตามสัญญาอนุพันธ์ทางการเงิน ทั้งนี้ สำหรับสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินซึ่งมีการพัฒนาจากอนุพันธ์ทางการเงินพื้นฐานย่อยๆ หรือมีการ Leverage จำนวนเงินตามสัญญาหรือมีการแลกเปลี่ยนจำนวนเงินตามสัญญาหลายครั้ง (Structured Product) ให้ธนาคารพาณิชย์ใช้ผลรวมของ
Notional Amount) แทนจำนวนเงินตามสัญญาอนุพันธ์ทางการเงิน (Notional Amount)
(3) CCF (Credit Conversion Factor) คือ ค่าแปลงสภาพตามที่กำหนดไว้ในตารางที่1 และตารางที่ 2 โดยการเลือกใช้ค่า CCF ตามรารางใดให้ดูตามคำอธิบายที่กำหนดในแต่ละวิธี
(4) CCE (Current Credit Exposure) คือ ผลรวมด้านกำไรที่ได้จากการวัดมูลค่ายุติธรรม
ในปัจจุบัน ของการทำอนุพันธ์ทางการเงินทุกสัญญาที่ธนาคารพาณิชย์ทำกับคู่ค้ารายเดียวกัน
(5) PFCE gross (Potential Future Credit Exposure:PFCEgross) คือ ผลรวมของการวัดมูลค่าความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเท่ากับผลรวมของการนำ Notional Amount ของทุกสัญญาที่ทำกับคู่ค้ารายเดียวกันไปคูณด้วยค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) ที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดไว้ในตารางที่1
(6) NCCE (Net Current Credit Exposure) คือ ยอดรวมสุทธิของกำไรและขาดทุนที่ได้จากการวัดมูลค่ายุติธรรมของสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินทุกสัญญาที่ธนาคารพาณิชย์ทำกับคู่ค้ารายเดียวกัน ทั้งนี้ หากยอดรวมสุทธิดังกล่าวออกมามีค่าเป็นลบหรือศูนย์ Net Current Credit Exposure จะมีมูลค่าเป็นศูนย์
(7) PFCE Net(Potential Future Credit Exposure for Netted Transaction:PFCE Net) คือ ผลรวมของการวัดมูลค่าความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตสำหรับกรณีที่มี Netting Agreement ซึ่งกำหนดให้ PFCE Net มีค่าดังนี้
PFCE Net=0.4*PFCE Gross+0.6*NGR*PFCE Gross
โดย NGR (Net to gross ratio) คือ อัตราส่วนระหว่าง NCCE ซึ่งคำนวณตาม(6)หารด้วย
CCE ซึ่งคำนวณตาม (4) โดยธนาคารพาณิชย์สามารถเลือกคำนวณ NGR ได้ 2 วิธี ดังนี้
(7.1) การคำนวณค่า NGR สำหรับคู่สัญญาแต่ละราย (Counterparty by counterparty Approach) โดยใช้ค่า NCCE individual และ CCE individualที่คำนวณจากสัญญาอนุพันธ์ทางการเงินทุกสัญญาที่มีการลงนามในสัญญาที่ยินยอมให้หักกลบลบหนี้ระหว่างกัน (Netting Agreement)ที่มีเงื่อนไขครบถ้วน
ที่ธนาคารพาณิชย์ทำกับคู่ค้ารายนั้นๆ
(7.2) การคำนวณหาค่า NGR สำหรับคู่สัญญาทุกราย (Aggregate Approach) โดยใช้ค่า
NCCE Aggregate และ CCE Aggregate ที่คำนวณจากผลรวมของ NCCE Individual และ CCE Individualของคู่สัญญาทุกรายที่ธนาคารพาณิชย์มีการลงนามในสัญญาที่ยินยอมให้หักกลบลบหนี้ระหว่างกัน (Netting Agreement) ที่มีเงื่อนไขครบถ้วนโดยธนาคารพาณิชย์จะต้องใช้ค่า NGR ที่หาจากวิธีนี้ในการคำนวณ PFCE Net สำหรับคู่สัญญาทุกราย
(8) สำหรับกรณีที่คู่ค้ารายเดียวกันทำสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Foreign Exchange Forward Contracts) หรือสัญญาอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ซึ่งมีจำนวนเงินตามสัญญาเท่ากับกระแสเงินสดที่ต้องรับและจ่ายกันจริง ทั้งด้านซื้อและด้านขาย ธนาคารพาณิชย์สามารถนำสัญญาที่เป็นรายการตรงกันข้ามกัน มีวันครบกำหนดวันเดียวกัน (Same Maturity Date) และสกุลเงินเดียวกัน (Same Currency Pair) มาหักกลบลบกันได้ หากคู่สัญญาได้ทำสัญญาที่ระบุว่าให้สามารถหักกลบลบหนี้ได้ตามกฎหมาย ดังนี้
(8.1) สำหรับธนาคารพาณิชย์ที่ใช้วิธีการคำนวณแบบ Current Exposure:ให้คูณ Notional Amount ทั้งด้านซื้อและด้านขายที่ครบกำหนดวันเดียวกันด้วยค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) ในตารางที่ 1 แล้วจึงนำผลคูณทีได้มาหักกลบกัน โดยส่วนต่างที่ได้รับนั้นก็คือ ค่า PFCE Gross หรือ ญโฉฎ Net สำหรับสัญญาที่กล่าว
(8.2) สำหรับธนาคารพาณิชย์ที่ใช้วิธีการคำนวณแบบ Original Exposure: ให้คูณ Notional Amount ทั้งด้านซื้อและด้านขายที่ครบกำหนดวันเดียวกันดัวยค่าแปลงสภาพของกรณีไม่มี Netting Agreement ในตารางที่ 2 แล้วจึงนำผลคูณที่ได้มาหักกลบกัน โดยส่วนต่างที่ได้รับนั้นก็คือ CEA (Credit Equivalent Amount) สำหรับสัญญาที่กล่าว
ตารางที่1 Credit Conversion Factor สำหรับการทำอนุพันธ์ทางการเงิน
กรณีที่ธนาคารพาณิชย์ใช้วิธีการคำนวณแบบ Current Exposure
อายุที่เหลือของ อนุพันธ์ด้าน อนุพันธ์ด้าน อนุพันธ์ด้าน อนุพันธ์ด้าน อนุพันธ์ด้าน
สัญญา 1 อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย ตราสารทุน Commodity Commodity
(โลหะมีค่า 2) อื่นๆ 2
ไม่เกิน14วัน 0 0 0.06 0.07 0.10
ไม่เกิน1ปี 0.01 0 0.06 0.07 0.10
เกิน1ปี-5ปี 0.05 0.005 0.08 0.07 0.12
เกิน5ปีขึ้นไป 0.075 0.015 0.10 0.08 0.15
1/สำหรับสัญญาที่มีการรับหรือจ่ายชำระเงินกัน ณ วันที่ที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า โดยมีการปรับอัตราอ้างอิงซึ่งมีผลให้
สัญญากลับไปมีมูลค่าตลาดเท่ากัลศูนย์ อายุที่เหลือของสัญญาในกรณีนี้หมายถึงระยะเวลาคงเหลือก่อนการปรับอตรา
อ้างอิงครั้งต่อไป
2/ ไม่รวมทอง
ตารางที่ 2 Credit Conversion Factor สำหรับสัญญาอัตราแลกเปลี่ยนและสัญญาอัตราดอกเบี้ย
กรณีที่อนุพันธ์ด้านเลือกใช้วิธีการคำนวณแบบ Original Exposure
กรณีไม่มี Netting Agreement กรณีมี Netting Agreement
หรือเงื่อนไขไม่ครบถ้วน ที่มีเงื่อนไขครบถ้ว
อายุสัญญา สัญญาอัตรา สัญญาอัตรา สัญาอัตรา สัญญาอัตราดอกเบี้ย
แลกเปลี่ยน ดอกเบี้ย แลกเปลี่ยน
ไม่เกิน14วัน 0 0 0 0
ไม่เกิน1ปี 0.02 0.005 0.015 0.0035
เกิน1ปีถึง2ปี 0.05 0.01 0.0375 0.0075
สำหรับทุกๆ1ปีที่เพิ่มขึ้น 0.03 0.01 0.0225 0.0075
เอกสารแนบ3
ข้อยกเว้นในการคำนวณการให้สินเชื่อ ลงทุน หรือก่อภาระผูกพัน
(1) ภาระผูกพันตามสัญญารับประกันการจำหน่ายตราสารแสดงสิทธิในหนี้แบบรับประกันทั้งจำนวน
(Firm Underwrite) ตามตราสารต่อไปนี้
(ก) หุ้นกู้ หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกเพื่อระดมทุนจากประชาชนหรือบุคคลใดๆ ที่ได้รับการจัดอันดับ AA หรือเทียบเท่าขึ้นไป โดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ข) หุ้นกู้ หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยอนุพันธ์ด้านหรือบริษัทเงินทุน
ทั้งนี้ ภาระผูกพันตามสัญญารับประกันการจำหน่ายตราสารแสดงสิทธิในหนี้ตาม (1) เมื่อนับรวมกับจำนวนเงินที่อนุพันธ์ด้านให้สินเชื่อ หรือลงทุนหรือก่อภาระผูกพันตาม 4.3 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดอัตราส่วนจำนวนเงินที่ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อลงทุน หรือก่อภาระผูกพันเพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดกับเงินกองทุน ต้องมีมูลค่าไม่เกินร้อยละ 50 ของเงินกองทุนชั้นที่ 1 นับแต่วันที่ธนาคารพาณิชย์ทำสัญญารับประกันการจำหน่ายจนถึงวันปิดการเสนอขาย
(2) การลงทุนหรือให้กู้ยืม โดยซื้อตราสารตาม (1) เป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน นับแต่วันปิดการเสนอขายตราสารนั้น
(3) การลงทุนหรือให้กู้ยืม โดยซื้อตรสารต่อไปนี้
(ก)หลักทรัพย์รัฐบาลไทยหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง
(ข)หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย
(ค)หุ้น หุ้นกู้ หรือตารสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยอธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรร์การเกษตร หรือบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
(ง)หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยองค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(4) การให้สินเชื่อ รับอาวัลตั๋วเงิน รับรองตั๋วเงิน หรือค้ำประกันการกู้ยืมเงินหรือค้ำประกันการขาย ขายลดหรือขายช่วงลดตั๋วเงิน หรือก่อภาระผูกพันอื่นใด โดยมีหลักทรัพย์หรือสิทธิต่อไปนี้เป็นประกัน
(ก)หลักทรัพย์รัฐบาลไทย หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง
(ข)หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กระทรวงการคล้งค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย
(ค)หุ้น หุ้นกู้ หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
(ง)หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยองค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(จ)เงินฝากในธนาคารพาณิชย์นั้น
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ