การยกเลิกระเบียบว่าด้วยการซื้อขายหลักทรัพย์กับสถาบันการเงินคู่ค้า พ.ศ.2542

ข่าวกฏหมายและประกาศ Friday February 17, 2006 15:18 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                                                       17 กุมภาพันธ์  2549
เรียน ผู้จัดการ
สถาบันคู่ค้าสำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายตราสารหนี้ประเภท Outright
ที่ ฝตง.(1ก)ว. 5 /2549 เรื่อง การยกเลิกระเบียบว่าด้วยการซื้อขายหลักทรัพย์กับสถาบันการเงินคู่ค้า พ.ศ.2542 และใช้ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการด้านตลาดการเงินเกี่ยวกับการซื้อขายตราสารหนี้กับไพรมารี ดีลเลอร์ (Primary Dealer)
ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Outright) พ.ศ.2549 แทน
ด้วย ธปท. ได้พัฒนาระบบ e-Outright เพื่อให้การทำธุรกรรมทางการเงินระหว่าง ธปท.และไพรมารี ดีลเลอร์ เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบกับมีการรวมศูนย์รับฝาก
หลักทรัพย์ (Central Securities Depository) และการส่งมอบและชำระราคาตราสารหนี้ (Clearing & Settlement System) ภาครัฐและเอกชนไว้ที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ตามแผนพัฒนาตราสารหนี้ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2548-2557) ของกระทรวงการคลัง จึงเห็นควรดำเนินการ ดังนี้
1. ยกเลิกระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายหลักทรัพย์กับสถาบันการเงิน คู่ค้า พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ
2. ให้ใช้ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการด้านตลาดการเงินเกี่ยวกับการซื้อขายตราสารหนี้กับไพรมารี ดีลเลอร์(Primary Dealer)ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์(e-Outright)พ.ศ.2549 แทน
โดยสาระสำคัญของระเบียบใหม่ที่ต่างไปจากระเบียบเดิม สรุปได้ดังต่อไปนี้
ประเด็นที่มีการเปลี่ยนแปลง วิธีการตามระเบียบเดิม วิธีการตามระเบียบใหม่
1.สื่อที่ใช้ติดต่อทำธุรกรรม Reuters Dealing e-Outright
2.สื่อที่ใช้ยืนยันการทำธุรกรรม หนังสือยืนยัน ผ่าน MT298 บน Bahtnet 2
3.การโอนตราสารหนี้และการ - ชำระราคาทางระบบบาทเนต โอนกรรมสิทธิ์ตราสารหนี้
ชำระราคา - โอนกรรมสิทธิ์พันธบัตรผ่านทาง และชำระราคาด้วย MT 541
สฝต. และ MT543 ผ่านระบบ และวิธี
การของศูนย์รรับฝากหลักทรัพย์
4.การเสนอซื้อหรือขาย เสนอซื้อหรือขายตราสารหนี้ทุกรุ่น เสนอซื้อหรือขายตราสาร
ตราสารหนี้ ที่ ธปท. แจ้งความประสงค์จะ หนี้อย่างน้อย 1 รุ่นที่ ธปท.
ซื้อหรือขาย ซื้อหรือขาย
5.เวลาในการเสนอซื้อหรือ ภายในเวลา 10.30 น. ภายในเวลา 11.00 น.
เสนอขายตราสารหนี้
6. ค่าเบี้ยปรับ
6.1 กรณีไม่สามารถชำระ 6.1 อัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ตกลง กำหนดให้ทั้งกรณี 6.1 และ 6.2
ราคาภายในเวลา ซื้อขายในตลาดซื้อคืนในแต่ ต้องเสียค่าปรับกรณีล่าช้าดังนี้
14.00 น. ละวันตามจำนวนวันที่ผิด ค่าปรับกรณีล่าช้า
นัดชำระ =อัตราดอกเบี้ยนโยบาย x 1 วัน
6.2 กรณีไม่ส่งมอบตราสาร 6.2 ระเบียบไม่ได้กำหนดให้ปรับ x ยอดเงินที่ซื้อหรือขายตราสารหนี้
หนี้ภายในเวลา ที่ผิดนัด
14.00 น. โดยต้องชำระภายใน 16.30 น.
6.3 กรณีไม่ชำระราคาหรือ 6.3 หารเกิน 5 วันทำการ และ 6.3 คิดค่าเบี้ยปรับได้ทันที
ส่งมอบตราสารหนี้ ธปท. เกิดความเสียหายให้ ค่าปรับกรณีไม่ชำระราคาหรือ
ภายในวันที่กำหนด เรียกเงินชดเชยเท่ากับส่วน ส่งมอบ= ร้อยละ 1.0 ของ
ส่วนต่างระหว่างราคาที่ตกลง ยอดเงินที่ซื้อหรือขายตราสารหนี้
ซื้อขายกับราคาตลาดของตรา ที่ผิดนัดโดยชำระภายในเวลา
สารหนี้ ณ วันสิ้นที่ 5 นับจาก 9.30 น. ของวันทำการถัดไป
วันที่ 5 นับจากวันที่ กำหนด
ให้ชำระราคา
7. การยกเลิกสถานะไพรมารี ยกเลิกเมื่อไม่ชำระราคาหรือส่งมอบ ยกเลิกได้ทันที่หารไม่ชำระราคา
ดีลเลอร์ ตราสารหนี้เกิน 5 วันทำการ หรือส่งมอบตราสารหนี้ภายในวัน
ที่ กำหนดทั้งนี้ ธปท. มีเกณฑ์
ภายในอื่นๆ ประกอบ การ
พิจารณายกเลิกสถานะดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้ ไห้ถือปฎิบัติตามระเบียบ ใหม่ดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม เป็นต้นไป โดยขอให้ ไพรมารี คีลเลอร์จัดส่งเอกสารตามแบบฟอร์มที่แนบมาพร้อมกับระเบียบใหม่ให้กับ ธปท. ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549
ขอแสดงความนับถือ
(นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ)
ผู้อำนวยการอาวุโส
ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง
ผู้ว่าการแทน
สิ่งที่ส่งมาด้วย: 1.ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยบริการด้านตลาดการเงินเกี่ยวกับการซื้อขายตราสาร
หนี้กับไพรมารี ดีลเลอร์(Primary Dealer) ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์(e-Outright) พ.ศ.2549
2.ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง เงื่อนไข กำหนดเวลา และระบบสื่อสาร ในการ
ซื้อขายตราสารหนี้กับ ไพรมารี ดีลเลอร์(Primary Dealer)
3.ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง เบี้ยปรับ ในการซื้อขายตราสารหนี้กับ ไพรมารี
ดีลเลอร์(Primary Dealer)
ส่วนธุรกิจตลาดการเงิน
สำนักตลาดการเงิน
ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง
โทร.0-2283-5425, 0-2283-5408
หมายเหตุ ไม่มีการจัดประชุมชี้แจง
ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยบริการด้านตลาดการเงินเกี่ยวกับการซื้อขายตราสารหนี้กับไพรมารี ดีลเลอร์
(primary Dealer) ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Outright) พ.ศ.2549
1.หลักเกณฑ์อ้างอิง
อาศัยอำนาจตามมาตรา 5 มาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485
และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับมาตรา 12 (10) และ (10ทวิ) และ (10ตรี) แห่งพระราชกฤษฏีกา
กำหนดกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2.ยกเลิก/แก้ไข
ให้ยกเลิกระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินคู่ค้า
พ.ศ.2542
3.เหตุผลและความจำเป็น
เนื่องจากการทำธุรกรรมในตลาดตราสารหนี้ได้มีการพัฒนามากขึ้นเป็นลำดับ และด้วยธนาคารแห่ง
ประเทศไทยได้พัฒนาระบบการชำระเงินและสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้การทำธุรกรรมทางการเงิน
ระหว่างสถาบันการเงินเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในการนี้จำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีปฏิบัติและหลักเกณฑ์บางประการเพื่อรองรับการทำธุรกรรมดังกล่าวกับไพรมารี ดีลเลอร์ ประกอบกับมีการดำเนินการรวม
ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (Central Securities Depository) และการส่งมอบและชำระราคาตราสารหนี้ (Clearing & Settlement System) ภาครัฐและเอกชนไว้ที่บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ตามแผนพัฒนาตราสารหนี้ฉบับที่ 2(พ.ศ.2548-2557) ของกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย
จึงควรยกเลิกระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการซื้อขายพันธบัตรกับสถาบันการเงินคู่ค้า พ.ศ. 2542
และใช้ระเบียบนี้แทน
4. นิยาม
4.1 “ธปท.” หมายความว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย
4.2 “ไพรมารี ดีลเลอร์”หมายควมว่าสถาบันการเงิน ที่ ธปท. แต่งตั้งให้เป็นคู่ค้าของ ธปท.ในการซื้อขายตราสารหนี้ เพื่อการดำเนินนโยบายการเงิน โดยใช้บริการด้านการเงินด้วยวิธีเล็กทรอนิกส์(e-Outright)
4.3 “ตราสารหนี้” หมายความว่า ตั๋วเงินคลัง ตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ พันธบัตรรัฐบาลพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย และตราสารหนี้หรือหุ้นกู้ที่ออกโดยองค์การของรัฐหรือ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะที่ ธปท. เป็นนายทะเบียนและ ตัวแทนจ่ายเงิน ทั้งนี้ ตามที่ ธปท.กำหนด
4.4 “ศูนย์รับฝาก”หมายความว่า บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ หน่วยงาน
อื่นใดที่ตลาดหลักทรัพย์จัดตั้งขั้น หรือได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ เพื่อประกอบการศูนย์กลางการให้บริการรับฝากและถอนหลักทรัพย์
5.เนื้อหา
ข้อ 1 ไพรมารี ดีลเลอร์ต้องปฏิบัติดังนี้
1.1 ทำหนังสือแสดงความตกลงตามแบบที่ ธปท.กำหนด
1.2 ทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจกระทำการแทนไพมารี ดีลเลอร์ในการติดต่อกับ ธปท.เพื่อเสนอซื้อหรือเสนอขายตราสารหนี้กับ ธปท. ในลักษณะซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ตามแบบที่ ธปท. กำหนด
1.3 ก่อนวันที่ไพรมารี ดีลเลอร์จะเริ่มทำธุรกรรมครั้งแรกกับ ธปท. ตามระเบียบนี้ นอกจาก
ไพรมารี ดีลเลอร์จะต้องแต่งตั้งผู้รับรอง(Certifier) เพื่อแต่งตั้งผู้ปฏิบัติงาน(Officer)ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Financial Services) พ.ศ. 2544 แล้ว ไพมารี ดีลเลอร์มีหน้าที่ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
1.3.1 ทำหนังสือมอบอำนาจให้บุลคลทำหน้าที่แต่งตั้งผู้จัดการสิทธิการใช้บริการ e-Outright ตามแบบที่ ธปท.กำหนด
1.3.2 ให้บุลคลผู้รับมอบอำจาจตามข้อ1.3.1 ทำหนังสือแต่งตั้งผู้จัดการสิทธิการใช้บริการe-Outright ตามแบบที่ ธปท.กำหนด
1.3.3 ให้ผู้จัดการสิทธิตามข้อ1.3.2ทำหนังสือกำหนดสิทธิในการทำธุรกรรม e-Outright ตามแบบที่ ธปท.กำหนด แต่จะกำหนดสิทธิให้ตนเองไม่ได้
ข้อ 2 การแสดงเจตนา การบอกกล่าวกล่าวและการสื่อสารใดๆ ระหว่าง ธปท. กับไพรมารี
ดีลเลอร์ ให้เป็นไปตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้บริการด้านการเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Financial Services) พ.ศ.2544 เว้นแต่ ธปท. ประกาศกำหนด เป็นอย่างอื่น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ