การกำหนดให้สาขาของธนาคารต่างประเทศดำรงเงินกองทุน

ข่าวกฏหมายและประกาศ Wednesday February 8, 2006 07:41 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                                                         8 กุมภาพันธ์  2549
เรียน ผู้จัดการ
สาขาของธนาคารต่างประเทศทุกธนาคาร*
ที่ ฝนส.(21)ว. 32/2549 เรื่อง การกำหนดให้สาขาของธนาคารต่างประเทศดำรงเงินกองทุน
ธนาคารแห่งประเทศไทย ( ธปท. )ขอนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้สาขาของธนาคารต่างประเทศดำรงเงินกองทุน ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2548 ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 123 ตอนพิเศษ 9 ง
ลงวันที่ 23 มกราคม 2549 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 เป็นต้นไป
สาระสำคัญของประกาศฉบับดังกล่าว มีดังนี้
1.ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้สาขาของธนาคารต่างประเทศดำรงเงินกองทุน ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2548
2.เพิ่มเติมประเภทน้ำหนักความเสี่ยงเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อยและวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม ดังนี้
2.1 น้ำหนักความเสี่ยง 0.35 สำหรับเงินให้สินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่ บุคคลธรรมดาโดยวงเงินให้สินเชื่อแต่ละรายต้องไม่เกิน 3 ล้านบาท และมีสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 0.2 ของยอดรวมวงเงินให้สินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่บุคคลธรรมดาที่มีน้ำหนักความเสี่ยง 0.35 รวมกับวงเงินให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อยและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีน้ำหนัก ความเสี่ยง
2.2 น้ำหนักความเสี่ยง0.75 สำหรับ
2.2.1 เงินให้สินเชื่อมีหลักประกันแก่ประชาชนรายย่อย ที่มีวงเงินไม่เกิน 3 ล้านบาท
2.2.2 เงินให้สินเชื่อไม่มีหลักประกันแก่ประชาชนรายย่อย ที่มีวงเงินไม่เกิน 1 แสนบาท และ
2.2.3 เงินให้สินเชื่อแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่มีวงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาท
โดยวงเงินให้สินเชื่อแต่ละรายเมื่อรวมกับวงเงินสินเชื่อแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องแล้ว ต้องมีสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 0.2 ของยอดรวมวงเงินให้สินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่บุคคล ธรรมดาที่มีน้ำหนักความเสี่ยง 0.35 รวมกับวงเงินให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อย และวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมที่มีน้ำหนักความเสี่ยง 0.75
2.3 น้ำหนักความเสี่ยง 1.0 สำหรับเงินให้สินเชื่อเพื่อการจัดการที่อยู่อาศัยแก่บุคคลธรรมดา ตามข้อ 2.1 ที่กลายเป็นสินเชื่อด้อยคุณภาพ
2.4 น้ำหนักความเสี่ยง 1.5 สำหรับเงินให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อยและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามข้อ 2.2 ที่กลายเป็นสินเชื่อด้อยคุณภาพ
ทั้งนี้ วงเงิน ให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อยและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแต่ละราย ต้องรวมวงเงินสินเชื่อแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องด้วยอย่างไรก็ดี กรณี สินเชื่อรายที่สาขาของธนาคารต่างประเทศยังไม่มีฐานข้อมูลครบถ้วน ให้ใช้ข้อมูลมากที่สุดเท่าที่สามารถจัดหามาได้
3.เงินให้สินเชื่อตามข้อ 2.1 และ 2.2 รายเดิมที่มีอยู่ก่อนวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549
สาขาของธนาคารต่างประเทศสามารถเลือกให้น้ำหนักความเสี่ยงตามหลักเกณฑ์เดิมได้ โดยหลักเกณฑ์เดิม เงินให้สินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่บุคคลธรรมดามีน้ำหนักความเสี่ยง 0.5 ทั้งกรณีเป็นสินเชื่อปกติและเป็นสินเชื่อด้อยคุณภาพ และเงินให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อยและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีน้ำหนักความเสี่ยง 1.0 ทั้งกรณีเป็นสินเชื่อปกติและเป็นสินเชื่อด้อยคุณภาพ
จึงเรียนมาเพื่อทราบและถือปฏิบัติ
ขอแสดงความนับถือ
(นางทองอุไร ลิ้มปิติ)
ผู้อำนวยการอาวุโส สายนโยบายสถาบันการเงิน
ผู้ว่าการแทน
สิ่งที่ส่งมาด้วย ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้สาขาของธนาคารต่างประเทศดำรงเงินกองทุน
ฝ่ายนโยบายความเสี่ยง
โทร. 0-2283-6821,0-2283-5805
หมายเหตุ [
] ธนาคารจะจัดให้มีการประชุมจี้แจงในวันที่...ณ
[x
] ไม่มีการจัดประชุมชี้แจง
ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
เรื่อง การกำหนดให้สาขาของธนาคารต่างประเทศดำรงเงินกองทุน
1. เหตุผลในการออกประกาศ
เงินกองทุนย่อมแสดงถึงความสามารถของสถาบันการเงินในการรองรับหรือชดเชยผลขาดทุนที่ไม่คาดไว้ล่วงหน้า (Unexpected Losses) สถาบันการเงินที่ดำรงเงินกองทุนในอัตราส่วนที่สูงเพียงพอต่อความเสี่ยงของแต่ละสถาบันการเงินจะสร้างความมั่นใจแก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ว่าสถาบันการเงินมีความสามารถที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำไว้ได้ และส่งผลให้เกิดความมั่นคงและเสถียรภาพแก่ระบบสถาบันการเงิน ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกำหนดให้สถาบันการเงินดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกพัน
การปรับปรุงประกาศว่าด้วยการกำหนดให้สาขาของธนาคารต่างประเทศดำรงเงินกองทุน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อยและวิชาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้อย่างทั่วถึง
2. อำนาจตามกฎหมาย
ธนาคารแห่งประเทศไทยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ ( ฉบับที่ 3 ) พ.ศ.2535 ออกข้อกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้สาขาธนาคารต่างประเทศดำรงเงินกองทุนตามที่กำหนดในประกาศนี้
3. ขอบเขตการบังคับให้
ประกาศฉบบันี้ให้ใช้บังคับกบสาขาของธนาคารต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร
4. หลักเกณฑ์การดำรงเงินกองทุน
4.1 ให้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้สาขาธนาคารต่างประเทศดำรงเงินกองทุน ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2548
4.2 เงินกองทุนของสาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์หมายความถึงสินทรัพย์ที่ต้องดำรงตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522
4.3 ให้สาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ ดำรงกองทุนเมื่อสิ้นวันหนึ่งๆ เป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกพันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 7.5
ทั้งนี้ การดำรงกองทุนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ใน 4.4 ถึง 4.6
สินทรัพย์และภาระผูกพันตามวรรคหนึ่ง มิให้รวมถึงสินทรัพย์และภาระผูกพันของกิจการวิเทศธนกิจตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 16 กันยายน 2535 หรือที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป และสินทรัพย์และภาระผูกพันของกิจการวิเทศธนกิจสาขาต่างจังหวัดตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประกอบกิจการวิเทศ ธนกิจสาขาต่างจังหวัดของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2537 หรือที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป
4.4 ในการดำรงเงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์และภาระผูกพันตาม 4.3 ให้สาขาของธนาคารต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้
(1) นำรายการใบงบการเงินทางด้านสินทรัพย์ทุกรายการ และภาระผูกพันทุกรายการโดยใช้มูลค่าตามบัญชี ณ วันที่รายงานมาคำนวณกับน้ำหนักความเสี่ยง ส่วนสินทรัพย์และภาระผูกพันที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้แปลงค่าเป็นเงินบาทก่อน โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิง ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ซึ่งจะประกาศทุกเช้าของวันทำการถัดไปของวันจัดทำรายงาน ทั้งนี้ให้ใช้อัตราเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อถัวเฉลี่ยขั้นต่ำสุดและอัตราขายถัวเฉลี่ย สำหรับสกุลเงินซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยมิได้ประกาศอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงไว้ให้ใช้วิธีคำนวณจากอัตราไขว้ (Cross Rate)
(2) คูณสินทรัพย์แต่ละรายการด้วยน้ำหนักความเสี่ยงตามที่กำหนดใน 4.5
(3) คูณภาระผูกพันแต่ละรายการด้วยค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) ตามที่กำหนดใน 4.6 แล้วนำค่าที่ได้คูณกับน้ำหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์แต่ละประเภทตามที่กำหนดใน 4.5 อีกครั้งหนึ่ง
(4) รวมผลคูณของสินทรัพย์ตาม (2) และภาระผูกพันตาม (3) ทุกรายการ และนำเงินกองทุนมาคำนวณอัตราส่วนกับผลลัพธ์ที่ได้ โดยเงินกองทุนต้องเป็นอัตราส่วนกับผลลัพธ์ดังกล่าวไม่ต่ำกว่าที่กำหนดใน 4.3
(5) ในกรณีที่สาขาของธนาคารต่างประเทศให้สินเชื่อหรือลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ โดยมีสัญญารับความเสี่ยงกำหนดให้การชำระหนี้คืนดังกล่าวอิงกับเหตุการณ์ที่กำหนดขึ้นเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้ (Credit Event) ของสินทรัพย์อ้างอิง (Reference Asset) และสาขาของธนาคารต่างประเทศตกลงรับความเสี่ยงด้านเครดิต (Credit Risk) ของสินทรัพย์อ้างอิงนั้นให้สาขาของธนาคารต่างประเทศนำผลคูณน้ำหนักความเสี่ยงของเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในตราสารดังกล่าวเปรียบเทียบผลคูณน้ำหนักความเสี่ยงของสัญญารับความเสี่ยง และใช้เฉพาะผลคูณที่สูงกว่าในการคำนวณผลลัพธ์ตาม (4)
4.5 น้ำหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์แต่ละประเภท
ก.น้ำหนักความเสี่ยง 0
(1) เงินสดที่เป็นเงินบาทและเงินตราต่างประเทศ
(2) เงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
(3) เงินลงทุนในตลาดซื้อขายพันธบัตร โดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืน หรือขายคืนซึ่งดำเนินการโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
(4) เงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาลไทย หรือหลักทรัพย์ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย หรือหลักทรัพย์ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือเงินให้สินเชื่อที่มีหลักทรัพย์ข้างต้นเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(5) เงินให้สินเชื่อที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ยหรือเงินให้สินเชื่อใดที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดสรรเงินงบประมาณเพื่อชำระหนี้ให้
(6) เงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาลหรือธนาคารกลางของประเทศในกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่รัฐบาลหรือ ธนาคารกลางดังกล่าวค้ำประกันโดยปราศจากเงื่อนไข หรือในส่วนที่มีหลักทรัพย์รัฐบาล หรือธนาคารกลางดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้ง ดอกเบี้ยค้างรับ
(7) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาลหรือธนาคารกลางของประเทศOECD หรือเงินให้เชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่รัฐบาลหรือธนาคารดังกล่าวค้ำประกันโดยปราศจากเงื่อนไข รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้ ต้องเป็นสกุลเงินของประเทศนั้น และไม่เกินกว่าหนี้สินที่ธนาคารพาณิชย์มีอยู่ในสกุลนั้น
(8) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือนิติบุคคลที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้นเต็มจำนวน รวมถึงเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งนิติบุคคลดังกล่าว รับรอง รับอาวัล หรือค้ำประกัน หรือเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารที่ออกโดยนิติบุคคลดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(9) เงินให้สินเชื่อที่มีสุทธิ ซึ่งมีตราสารการฝากเงินซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ หรือมีเงินสดที่ธนาคารพาณิชย์นั้นยึดถือไว้เป็นประกัน ทั้งนี้เฉพาะส่วนที่ไม่เกินมูลค่าตามตราสารหรือจำนวนเงินตามเงินสดนั้น
(10) ยอดเหลื่อมบัญชีระหว่างสำนักงานของธนาคารพาณิชย์นั้น
(11) ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี
(12) เงินให้สินเชื่อเฉพาะส่วนซึ่งเท่ากับจำนวนที่ได้ประกันไว้เผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
(13) ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า
(14) เงินสดระหว่างเรียกเก็บเพื่อประโยชน์ของลูกค้า
(15) ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จำกัด(มหาชน) และบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ตามโครงการรับแลกเปลี่ยนตั๋ว 56 บริษัทเงินทุนที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ ในส่วนที่เป็นต้นเงินตามหน้าตั๋วและดอกเบี้ยค้างรับ
(16) เงินให้สินเชื่อในส่วนที่มีตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จำกัด (มหาชน) หรือบัตรเงินฝากที่ออกโดยธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ตามโครงการรับแลกเปลี่ยน 56 บริษัทเงินทุนที่ถูกระงับการดำเนินกิจการ จำนำเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(17) เงินให้สิ้นเชื่อหรือเงินลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้โดยมีบุคคลอื่นทำสัญญากับสาขาของธนาคารต่างประเทศนั้นตกลงว่า บุคคลอื่นจะรับความเสี่ยงด้านเครดิต(credit Risk) ในเงินให้สินเชื่อหรือตราสารดังกล่าว ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าจำนวนเงินที่ผู้รับความเสี่ยงวางไว้เป็นประกัน หรือจำนวนเงินที่สาขาของธนาคารต่างประเทศนั้นมีสิทธิหักกลบ ลบหนี้กับผู้รับความเสี่ยง
ข. น้ำหนักความเสี่ยง 0.2
(1) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่งออกโดย ธนาคารพาณิชย์หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ ที่มีธนาคารพาณิชย์รับรอง รับ อาวัล ค้ำประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์เป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(2) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่งออกโดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธนาคารเพื่อการส่งออกและน้ำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ เงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีธนาคารดังกล่าวรับรองรับอาวัล ค้ำประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(3) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือ เงินลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่งออกโดยบริษัท เงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ ที่มีสถาบันดังกล่าวรับรอง รับอาวัล ค้ำประกัน หรือตกลงรับประกันความเสียงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อซึ่งมีตราสารที่ออกโดยสถาบันดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(4) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่งออกโดยองค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่งออกโดยองค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ ที่มีสถาบันดังกล่าวรับรองอาวัล ค้ำประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยสถาบันที่กล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(5) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ ที่มีธนาคารพาณิชย์ ดังกล่าวรับรอง รับอาวัล ค้ำประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวเป็นประกันรวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(6) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่งออกโดยองค์การของรัฐในกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ ที่มีองค์การดังกล่าวรับรองรับอาวัล หรือ ค้ำประกัน รวมทั้งเงินให้สินเชื่อตราสารซึ่งออกโดยองค์การดังกล่าวเป็นประกันรวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(7) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่งออกโดยองค์การระหว่างประเทศ หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ ที่มีองค์กรดังกล่าวรับรองรับอาวัล หรือค้ำประกัน รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยองค์การดังกล่าวเป็นประกันรวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
(8) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ที่ขดทะเบียนนอกกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวรับรอง รับอาวัล หรือค้ำประกัน หรือตกลงรับประกันความเสี่ยยงด้านเครดิต รวมทั้งเงินให้สินเชื่อ ที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวเป็นประกันรวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้ ต้องมีระยะเวลาคงเหลือไม่เกิน 1 ปี
(9) เงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิต หรือเงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออก ตามเอกสารประเภทอื่น ที่ธนาคารพาณิชย์ในต่างประเทศรับผิดชอบในการชำระค่าสินค้าแทนผู้ซื้อ แต่ในกรณีผู้ออกเล็ตเตอร์ออฟเครดิตหรือธนาคารพาณิชย์ที่รับผิดชอบในการชำระสินค้า เป็นธนาคารจดทะเบียนนอกกลุ่มประเทศ OCED จะต้องมีระยะเวลาคงเหลือของเล็ตเตอร์ออฟเครดิต หรือระยะเวลาที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องชำระค่าสินค้าไม่เกิน 1 ปี
(10) เงินให้สินเชื่อใดที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดสรรเงินงบประมาณเพื่อชำระหนี้แต่สำนักงบประมาณมิได้จัดสรรเงินชำระหนี้ให้จนล่วงพ้น
(11) เงินให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกที่มีธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยรับประกัน ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนที่ได้มีการโอนสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ให้สาขาของธนาคารต่างประเทศแล้ว
(12) เงินลงทุนในหลักทรัพย์ หรือหน่วยลงทุน รวมทั้งผลตอบแทนค้างรับ ทั้งนี้ เฉพาะจำนวนเงินที่กระทรวงการคลังทำสัญญาให้ความคุ้มครองหรือตกลงเป็นผู้รับความเสี่ยง
ค.น้ำหนักความเสี่ยง 0.35
เงินให้สินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่บุคคลธรรมดา โดยสาขาของธนาคารต่างประเทศรับจำนองที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นลำดับหนึ่งเป็นประกัน ทั้งนี้ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว ต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่ายอดเงินให้สินเชื่อคงค้าง รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ
ทั้งนี้ วงเงินให้สินเชื่อแต่ละราย จักต้อง
(1) ไม่เกิน 3 ล้านบาท และ
(2) มีสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 0.2 ของยอดรวมวงเงินให้สินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่บุคคลธรรมดาตาม
(1) รวมกับวงเงินให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อย และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตาม จ.
ง.น้ำหนักความเสี่ยง 0.5
(1) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลง ทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยเทศบาล หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีเทศบาลรับรอง รับอาวัล หรือค้ำประกัน รวมทั้งเงินให้สินเชื่อทีมีตราสารที่ออกโดยเทศบาลเป็นประกัน
(2) เงินให้สินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่บุคคลธรรมดา โดยธนาคารพาณิชย์รับจำนองที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้างนั้นลำดับหนึ่งเป็นประกัน ทั้งนี้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่ายอดเงินให้สินเชื่อคงค้าง รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ที่นอกเหนือจาก ค.
(3)ภาระผูกพันที่เป็นสัญญาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนหรืออัตราดอกเบี้ยซึ่งได้คุณด้วยค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) ตามที่กำหนดไว้ใน 4.6 แล้ว เว้นแต่คู่สัญญาจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่มีน้ำหนักความเสี่ยงต่ำกว่า 0.5
จ. น้ำหนักความเสี่ยง 0.75
(1) เงินให้สินเชื่อมีหลักประกันแก่ประชาชนรายย่อย รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ที่มีวงเงินไม่เกิน 3 ล้านบาท
(2) เงินให้สินเชื่อไม่มีหลักประกันแก่ประชาชนรายย่อย รวมทั้งดอกเบี้ย ค้างรับ ที่มีวงเงินไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) เงินให้สินเชื่อแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ที่มีวงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาท
ทั้งนี้ วงเงินให้สินเชื่อแต่ละราย จักต้อง
(ก) นับรวมวงเงินสินเชื่อแก่บุคคลตามมาตรา 12 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว
(ข)เมื่อนับรวม (ก) แล้ว ต้องมีสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 0.2 ของยอดรวมวงเงินให้สินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่บุคคลธรรมดาตาม ค. รวมกับวงเงินให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อย และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตาม (1) (2) และ (3)
ฉ. น้ำหนักความเสี่ยง 1.0
(1) เงินให้สินเชื่อแก่ภาคเอกชน และดอกเบี้ยค้างรับ
(2) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ ซึ่งออกโดย ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนนอกกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนใน หลักทรัพย์ที่มีธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวรับรอง รับอาวัล หรือค้ำประกัน รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้ ต้องมีระยะเวลาคงเหลือเกิน 1 ปี
(3) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาลหรือธนาคารกลางนอกกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่รัฐบาลหรือธนาคารกลางดังกล่าวค้ำประกันโดยปราศจากเงื่อนไข รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับซึ่งมิใช่เงินสกุลของประเทศนั้นหรือมีจำนวนเกินกว่าหนี้สินที่ธนาคารพาณิชย์มีอยู่ในเงินสกุลนั้น
(4) เงินให้สินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่บุคคลธรรมดา รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ซึ่งมีน้ำหนักความเสี่ยง 0.35 ตาม ค. ที่กลายเป็นเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL)ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(5) เงินลงทุนในหน่วยลงทุนในกรณีที่สาขาของธนาคารต่างประเทศสามารถคำนวณมูลค่าสุทธิของหน่วยลงทุนใดตามมูลค่าสุทธิของสินทรัพย์ที่กองทุนผู้ออกหน่วยลงทุนนั้นถืออยู่ในแต่ละวันได้ ให้สาขาของธนาคารต่างประเทศสามารถเลือกใช้น้ำหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์ดังกล่าวตามสัดส่วน ประเภทและจำนวนที่กองทุนนั้นลงทุนจริงตามแต่กรณีตามประกาศนี้ แทนน้ำหนักความเสี่ยงใน ฉ. ได้
(6) ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ สินทรัพย์ประจำอื่น ๆ และทรัพย์สินรอการขาย
(7) สินทรัพย์อื่น ๆ ที่มิได้ระบุน้ำหนักความเสี่ยงไว้ใน 4.5 นี้
ทั้งนี้ เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ ในแต่ละรายการข้างต้นให้หมายความรวมถึงลูกหนี้อื่น ๆ(สิทธิเรียกร้องในทางกฎหมาย) ที่เกิดจากธุรกรรมการซื้อหรือการขายตราสาร โดยมีสัญญาว่าจะขายหรือจะซื้อคืน (Repo) และธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (Securities Borrowing and Lending) เช่น ลูกหนี้ตามสัญญาซื้อคืน ลูกหนี้ตามสัญญาให้ยืมหลักทรัพย์ ลูกหนี้มาร์จิ้นที่โอน และลูกหนี้วางเงินสดเป็นประกัน เป็นต้น
ช.น้ำหนักความเสี่ยง 1.5
เงินให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อยและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ซึ่งมีน้ำหนักความเสี่ยง 0.75 ตาม จ.ที่กลายเป็นเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL)ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
4.6 ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) ของภาระผูกพันแต่ละประเภท
ก. ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) 1.0
(1) การรับอาวัลตั๋วเงิน รับรองตั๋วเงิน ค้ำประกันการกู้ยืมเงิน และค้ำประกันการขาย ขายลด หรือขายช่วงลดตั๋วเงิน
(2) การสลักหลังตั๋วเงินแบบผู้รับสลักหลังมีสิทธิไล่เบี้ย (With Recourse)
(3) สัญญาการซื้อสินทรัพย์ ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามโดยปราศจากเงื่อนไข
(4) การค้ำประกัน การรับประกัน หรือการก่อภาระผูกพันในรูปแบบใด ๆ ของธนาคารพาณิชย์ อันเนื่องมาจากการขายสินทรัพย์
(5) ภาระผูกพันตามสัญญาขายตราสารโดยมีสัญญาจะซื้อคืนตามวิธีการคำนวณที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(6) ภาระผูกพันตามสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์(Securities Borrowing and Lending) ตามวิธีการคำนวณที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(7) ภาระผูกพันตามสัญญาหรือข้อตกลงการรับประกันความเสี่ยงซึ่งได้แก่ สัญญาที่สาขาธนาคารต่างประเทศรับโอนความเสี่ยงด้านเครดิตหรือตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตจากคู่สัญญา โดยตกลงจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่ง หรือรับความเสียหายเนื่องจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้รับคืนเงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ หรือมีเหตุการณ์เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญา (Credit Event) ที่เกิดขึ้น
ข. ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) 0.5
(1)ภาระผูกพันซึ่งขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของลูกค้า เช่น ค้ำประกัน การรับเหมาก่อสร้าง ค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา เป็นต้น
(2) การประกันการจำหน่ายตราสารหรือหลักทรัพย์
ค.ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) 0.2
ภาระผูกพันเพื่อการนำเข้าตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตทั้งที่มีเอกสารประกอบแล้ว และยังไม่มีเอกสารประกอบ
ง. ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor)0
(1) ตั๋วเงินเพื่อเรียกเก็บ
(2) วงเงินที่ลูกค้ายังมิได้ใช้
(3) ค้ำประกันการออกของ (Shipping Guarantee)
(4) ภาระผูกพันที่ธนาคารพาณิชย์สามารถบอกยกเลิกเมื่อใดก็ได้
(5) ภาระผูกพันอื่น ๆ ที่มิได้ระบุค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) ไว้ใน4.6 นี้
จ. ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversino Factor) สำหรับสัญญาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย
อายุสัญญาที่เหลือ สัญญาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน สัญญาเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย
ไม่เกิน 14 วัน 0 0
ไม่เกิน 1 ปี 0.02 0.005
ตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป 0.05 0.01
สัญญาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน ได้แก่ สัญญาดังต่อไปนี้
Cross currency interest irate swaps
Forward foreign exchange contracts
Currency futures
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ