การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดนก

ข่าวกฏหมายและประกาศ Thursday January 12, 2006 07:24 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                                        12 มกราคม 2549
เรียน ผู้จัดการ
ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร
ที่ ธปท.ฝกช.(22)ว.40/2549 เรื่อง การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่
ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดนก
ด้วยธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นสมควรให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการ
ที่ได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดนก โดยรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยผู้ประกอบกิจการผ่านธนาคาร
พาณิชย์เป็นกรณีพิเศษในรูปเงินทุนหมุนเวียนต่อไปอีก จึงได้ปรับปรุงการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน
ให้เหมาะสมกับภาวะการณ์ในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น เพื่อผ่อนคลายภาระทางการเงินสำหรับยอดคงค้าง
สินเชื่อที่มีอยู่ในปัจจุบัน และเพื่อให้มีเงินทุนหมุนเวียนในการฟื้นฟูกิจการให้ดำเนินการต่อไปได้รวมถึง
เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการนำเงินไปปรับปรุงระบบและยกระดับฟาร์มเลี้ยงของตนให้ได้มาตรฐานธนาคาร
แห่งประเทศไทยจึงเห็นสมควรดำเนินการดังต่อไปนี้
ข้อ 1.ให้ยกเลิก
(1)หนังสือธนาคารแห่งประเทศไทยที่ ธปท.สกง.(04)ว.9/2548 เรื่อง การให้
ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดนก ลงวันที่ 6 มกราคม
2548
(2)หนังสือธนาคารแห่งประเทศไทยที่ ธปท.สกง(04)ว.1101/2548 เรื่อง การ
ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับผลกระทบจาก
โรคไข้หวัดนก ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2548
ข้อ 2.ในหนังสือนี้
"ผู้ประกอบกิจการ" หมายความว่า ผู้ประกอบกิจการที่เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย
หรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย ซึ่งมีจำนวนหุ้นที่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยถืออยู่เกินกว่ากึ่งหนึ่งของทุนจด
ทะเบียนของบริษัทจำกัด หรือทุนชำระแล้วของบริษัทมหาชนจำกัด แล้วแต่กรณี ที่ประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีก
โรงชำแหละสัตว์ปีก โรงงานแปรรูปสัตว์ปีก การค้าสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก รวมทั้งการส่งออกสัตว์ปีก
และผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก โดยให้รวมถึงผู้ประกอบกิจการ
รายเดิมด้วย
"ผู้ประกอบกิจการรายเดิม" หมายความว่า ผู้ประกอบการที่มีรายชื่ออยู่กับธนาคารแห่ง
ประเทศไทยให้ได้รับความเห็นชอบในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเนื่องจากได้รับผลกระทบจากโรค
ไข้หวัดนก ณ วันที่หนังสือฉบับนี้มีผลบังคับใช้
ข้อ 3.ธนาคารแห่งประเทศไทยจะรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยผู้ประกอบกิจการตามหนังสือ
นี้จากธนาคารพาณิชย์โดยตั๋วสัญญาใช้เงินต้องเป็นไปตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้
(1) เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินตามแบบที่แนบ
(2) เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการประกอบกิจการอันสุจริต
(3) เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยผู้ประกอบกิจการที่ธนาคารพาณิชย์อนุมัติให้เป็นผู้ที่
พึงเชื่อถือได้ และธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นสมควรให้ความอนุเคราะห์
(4) เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกเป็นเงินบาท แต่ละฉบับมีจำนวนเงินไม่ต่ำกว่า 10,000
บาท (หนึ่งหมื่นบาท) และต้องไม่มีเศษของหลักพัน
(5) เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่ถึงกำหนดใช้เงินไม่เกินกำหนดเวลานับแต่วันที่ออกตั๋วสัญญาใช้
เงินในแต่ละกรณีดังนี้
ก.กรณีกิจการเลี้ยงสัตว์ปีก กิจการโรงชำแหละสัตว์ปีก กิจการโรงงานแปรรูปสัตว์
ปีก ไม่เกิน 360 วัน
ข.กรณีกิจการค้าสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก การส่งออกสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์สัตว์ปีก
ไม่เกิน 180 วัน
(6) เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่
ก.ออกเพื่อผ่อนคลายภาระทางการเงินสำหรับยอดคงค้างสินเชื่ออันเนื่องมาจาก
การประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ปีกที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดนก หรือ
ข.ออกเพื่อให้มีเงินทุนหมุนเวียนในการฟื้นฟูกิจการ โดยต้องเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน
ที่ออกภายใน 4 เดือนนับแต่วันที่ผู้ประกอบกิจการได้จ่ายเงินไปในการดำเนินกิจการ
(7) จำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อ
แก่ผู้ประกอบกิจการเพื่อการประกอบกิจการ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ผู้ประกอบกิจการจ่ายจริงเพื่อการ
ดังกล่าว
(8) เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อและชำระเงินแล้วเต็มตามจำนวนเงิน
ในตั๋วสัญญาใช้เงิน
(9) เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดในประกาศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่องอัตราดอกเบี้ยและเบี้ยปรับในการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินนที่เกิดจากการประกอบ
กิจการที่ได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดนกที่มีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงิน
(10) เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารพาณิชย์ได้สลักหลังเฉพาะโอนให้ธนาคารแห่งประเทศ
ไทย
ข้อ 4.ธนาคารแห่งประเทศไทยจะรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินขามข้อ 3.ตามอัตราร้อยละในการรับซื้อ
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่กำหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง อัตราร้อยละในการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงิน
ที่เกิดจากการประกอบกิจการที่ได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดนกที่มีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ธนาคารแห่งประเทศ
ไทยรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงิน
ในวันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินหรือวันที่มีการขอชำระหนี้หรือวันที่ธนาคารแห่ง
ประเทศไทยเรียกให้ชำระหนี้ก่อนกำหนด ธนาคารแห่งประเทศไทยจะหักเงินจากบัญชี เงินฝากของธนาคาร
พาณิชย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ตามจำนวนหนี้ที่ถึงกำหนดใช้เงินหรือจำนวนหนี้ที่ขอชำระหรือจำนวนหนี้
ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเรียกให้ชำระก่อนกำหนด แล้วแต่กรณีรวมดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ (ถ้ามี)
ตามอัตราที่กำหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องอัตราดอกเบี้ยและเบี้ยปรับในการรับซื้อ
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการประกอบกิจการที่ได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดนก ที่มีผลใช้บังคับอยู่ใน
วันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงิน
ในกรณีที่วันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินตรงกับวันหยุดทำการ ธนาคารแห่ง
ประเทศไทยจะหักชำระหนี้ในวันทำการถัดไป โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะเรียกเก็บดอกเบี้ยและ
เบี้ยปรับ (ถ้ามี) สำหรับวันหยุดดังกล่าวด้วย
ข้อ 5.ธนาคารแห่งประเทศไทยจะรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยผู้ประกอบกิจการแต่ละราย
ตามหนังสือนี้ เป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 ปีนับจากวันที่ได้รับความเห็นชอบให้ไดรับความช่วยเหลือทางการ
เงินจากธนาคารแห่งประเทสไทย โดยตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับสุดท้ายต้องถึงกำหนดใช้เงินไม่เกินวันที่ 30
มิถุนายน 2551 ภายในวงเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นสมควร
สำหรับผู้ประกอบกิจการรายเดิม ให้นับวันที่ 11 มีนาคม 2549 เป็นวันได้รับความ
เห็นชอบให้ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทยตามหนังสือฉบับนี้ โดยตั๋วสัญญา
ใช้เงินฉบับสุดท้ายต้องถึงกำหนดใช้เงินไม่เกินวันที่ 10 มีนาคม 2551 และไม่เกินวงเงินที่ผู้ประกอบ
กิจการรายเดิมนั้นได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อ 6.ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการไม่มาดำเนินการขายตั๋วสัญญาใช้เงินให้กับธนาคารแห่ง
ประเทศไทยภายในระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบให้ได้รับความช่วยเหลือทาง
การเงิน หรือไม่มียอดคงค้างกับธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นระยะเวลา 6 เดือน ธนาคารแห่ง
ประเทศไทยมีสิทธิยกเลิกการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบกิจการรายนั้นทันที
ข้อ 7.ธนาคารพาณิชย์ที่จะขายตั๋วสัญญาใช้เงินต้องปฏิบัติและยินยอมรับพันธะหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) เรียกเก็บดอกเบี้ยสำหรับจำนวนเงินในตั๋วสัญญาใช้เงินไม่เกินอัตราที่กำหนดใน
ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเรียกเก็บในวันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินหรือวันที่มีการชำระหนี้ โดยไม่มี
การเรียกหรือรับผลประโยชน์อื่นใดเพิ่ม
(2) ทำหนังสือแสดงความยินยอมตามแบบที่แนบให้ธนาคารแห่งประเทศไทย หักเงิน
จากบัญชีเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อชำระหนี้อันเกิดขึ้นเนื่องจากการที่
ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความช่วยเหลือตามหนังสือนี้ และในกรณีที่เงินในบัญชีเงินฝากของ ธนาคาร
พาณิชย์ไม่มีหรือมีไม่พอหักชำระหนี้ดังกล่าว ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจำหน่ายทรัพย์สิน อย่างอื่นของ
ธนาคารพาณิชย์ที่อยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย และดำเนินการอื่นใดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็น
สมควรเพื่อให้ได้เงินมาชำระหนี้ ตลอดจนยินยอมให้เจ้าหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าไปตรวจสอบ
เอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขายตั๋วสัญญาใช้เงินตามหนังสือนี้ ณ สำนักงานของธนาคาร
พาณิชย์ รวมทั้งดำเนินการให้ผู้ประกอบกิจการยินยอมให้เจ้าหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าไป
ตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขายตั๋วสัญญาใช้เงินตามหนังสือนี้ ณ สำนักงานของ
ผู้ประกอบกิจการได้ด้วย
(3) ดำรงเงินฝากไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยให้มีจำนวนเพียงพอที่ธนาคารแห่ง
ประเทศไทยจะหักชำระหนี้ได้
(4) ยื่นหนังสือขอความเห็นชอบให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการ
ที่พึงเชื่อถือได้ตามแบบที่แนบ โดยไม่ต้องจัดส่งหลักฐานหรือเอกสารการจ่ายเงิน ประกอบตั๋วสัญญาใช้เงิน
ที่นำมาขาย
(5) ตรวจสอบและรับรองว่า
ก.ตั๋วสัญญาใช้เงินที่นำมาขายนั้นเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่ถูกต้องตรงตาม
ข้อ 3.ทุกประการ
ข.จำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารพาณิชย์นำมาขายเมื่อรวมกับ
จำนวนเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยผู้ประกอบกิจการรายเดียวกัน ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย
ได้รับซื้อไว้จากธนาคารพาณิชย์ และยังไม่ถึงกำหนดใช้เงินไม่เกินวงเงินในแต่ละกรณี ตามที่กำหนด
ในข้อ 5. หรือวงเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งให้ธนาคารพาณิชย์ทราบตามข้อ 11.
ค.ผู้ประกอบกิจการได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดนกอย่างแท้จริง
(6) เมื่อธนาคารพาณิชย์ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนวันที่ตั๋วสัญญา
ใช้เงินถึงกำหนดใช้เงิน ธนาคารพาณิชย์ต้องชำระหนี้ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยตามที่ได้รับชำระ
โดยต้องทำหนังสือขอชำระหนี้ตามแบบที่แนบยื่นต่อธนาคารแห่งประเทศไทยภายใน 3 วันทำการ
นับแต่วันที่ธนาคารพาณิชย์ได้รับชำระหนี้ดังกล่าว
(7) ดูแลให้ผู้ประกอบกิจการนำเงินช่วยเหลือของธนาคารแห่งประเทศไทยไปใช้
ในการดำเนินธุรกิจให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการให้ความช่วยเหลือทางการเงินนี้
ข้อ 8. เมื่อธนาคารพาณิชย์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อใดข้อหนึ่งแห่งหนังสือนี้ ธนาคารแห่ง
ประเทศไทยจะเรียกเก็บเบี้ยปรับจากธนาคารพาณิชย์ในอัตราเบี้ยปรับที่กำหนดในประกาศธนาคารแห่ง
ประเทศไทยเรื่องอัตราดอกเบี้ยและเบี้ยปรับในการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการประกอบกิจการที่
ได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดนกที่มีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงิน
ตามจำนวนเงินและระยะเวลาที่เกี่ยวข้อง
ถ้าสาเหตุที่ธนาคารพาณิชย์ต้องเสียเบี้ยปรับเกิดขึ้นเพราะความผิดของผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน
ธนาคารพาณิชย์จะไล่เบี้ยจากผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินได้ไม่เกินจำนวนเงินเบี้ยปรับที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
เรียกเก็บจากธนาคารพาณิชย์ และถ้าธนาคารแห่งประเทศไทยคืนเบี้ยปรับให้แก่ธนาคารพาณิชย์เป็นจำนวน
เงินเท่าใด ธนาคารพาณิชย์ต้องคืนเบี้ยปรับตามจำนวนเงินดังกล่าว ให้แก่ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน
ข้อ 9. ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณางด ลด หรือคืนเบี้ยปรับสำหรับการฝ่าฝืนหรือไม่
ปฏิบัติตามหนังสือนี้ ตามที่เห็นสมควรก็ได้
ข้อ 10. เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับชำระหนี้จากธนาคารพาณิชย์แล้ว หากปรากฏ
ในภายหลังว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติข้อใดข้อหนึ่งแห่งหนังสือนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยสงวนสิทธิที่จะ
เรียกเก็บเบี้ยปรับสำหรับการฝ่าฝืน่หรือไม่ปฏิบัติดังกล่าว
ข้อ 11. ธนาคารแห่งประเทศไทยสงวนสิทธิที่จะไม่รับซื้อ หรือลดวงเงินที่จะรับซื้อตั๋วสัญญา
ใช้เงิน ยกเลิกวงเงินหรือกำหนดวงเงินที่จะให้ความอนุเคราะห์แก่ผู้ประกอบกิจการแต่ละรายใหม่
ลดอัตราของจำนวนเงินที่จะออกตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือเรียกให้ความอนุเคราะห์แก่ผู้ประกอบกิจการแต่
ละรายใหม่ ลดอัตราของจำนวนเงินที่จะออกตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือเรียกให้ชำระหนี้ก่อนวันถึงกำหนด
ใช้เงินในตั๋วสัญญาใช้เงิน เมื่อมีกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่าธนาคารพาณิชย์ที่ขายตั๋วสัญญาใช้เงิน
ปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
(2) เมื่อมีการจำหน่ายทรัพย์สินของธนาคารพาณิชย์ตามข้อ 7.(2)
(3) เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นว่าธนาคารพาณิชย์หรือผู้ประกอบกิจการ
ที่ขายตั๋วสัญญาใช้เงินฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามหนังสือนี้ หรือมีพฤติการณ์ในทำนองไม่เป็นไปตาม
เจตนารมณ์ของหนังสือนี้
(4) มีเหตุไม่สมควรประการนี้
ข้อ 12. ให้หนังสือเวียนตามข้อ 1.ยังคงมีผลบังคับต่อไป จนกว่าหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน
ที่ขายไว้ตามหนังสือเวียนดังกล่าวจะถึงกำหนดชำระเงินโดยสิ้นเชิง
ข้อ 13. ธนาคารพาณิชย์ต้องส่งหนังสือขอความเห็นชอบการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่
ผู้ประกอบกิจการที่พึงเชื่อถือได้ตามหนังสือนี้ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2549
กรณีผู้ประกอบกิจการรายเดิม เพื่อให้ผู้ประกอบการนั้นเป็นผู้ได้รับความเห็นชอบให้ได้รับ
ความช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารแห่งประเทศไทยต่อไปตามหนังสือฉบับนี้ ธนาคารพาณิชย์ต้องส่ง
หนังสือยืนยันการเป็นผู้ประกอบกิจการที่ได้รับความเห็นชอบให้ได้รับความช่วยเหลือทางการเงิน ให้แก่
ธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในวันที่ 15 กุมภาพพันธ์ 2549
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม 2549 เป็นต้นไป
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ขอแสดงความนับถือ
(ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล)
ผู้ว่าการ
สิ่งที่ส่งมาด้วย: 1.แบบหนังสือแสดงความยินยอม
2.แบบหนังสือขอความเห็นชอบ
3.แบบตั๋วสัญญาใช้เงิน
4.แบบหนังสือนำส่งตั๋วสัญญาใช้เงิน
5.แบบหนังสือขอชำระหนี้
6.แบบหนังสือรับรองการเป็นผู้ประกอบกิจการที่พึงเชื่อถือได้(รายเดิม)
7.ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่องอัตราร้อยละในการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่
เกิดจากการประกอบกิจการที่ได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดนก ลงวันที่ 12 มกราคม 2549
8.ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่องอัตราดอกเบี้ยและเบี้ยปรับในการรับซื้อตั๋วสัญญา
ใช้เงินที่เกิดจากการประกอบกิจการที่ได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดนก ลงวันที่ 12 มกราคม
2549
ส่วนสินเชื่อ
ฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ
สายตลาดการเงิน
โทร.0 2283 5414-6, 0 2283 5148
หมายเหตุ: จัดประชุมชี้แจงในวันที่ 13 มกราคม เวลา 14.00 น. ณ อาคาร 2 ชั้น 3 ธนาคารแห่ง
ประเทศไทย สำนักงานใหญ่
หนังสือแสดงความยินยอม
ทำที่...................
วันที่............................
ที่............................
เรื่อง ความยินยอมเพื่อประโยชน์ในการขายตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยผู้ประกอบกิจการ
ที่ได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดนก
เรียน ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
เพื่อประโยชน์ในการขายตั๋วสัญญาใช้เงินแก่ธนาคารแห่งประเทศไทยตามหนังสือธนาคารแห่ง
ประเทศไทย ที่ ธปท.ฝกช.(22)ว...../2549 เรื่อง การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบ
กิจการที่ได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดนก ลงวันที่.......................ข้าพเจ้า.........
(ธนาคารพาณิชย์).....ได้อ่านหนังสือดังกล่าวเข้าใจข้อความโดยตลอดแล้วตกลงยินยอมรับที่จะปฏิบัติ
ดังกล่าวทุกประการ รวมทั้ง
1.ดำรงเงินฝากใว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีจำนวนเพียงพอที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
จะหักชำระหนี้ได้
2.ยินยอมให้ธนาคารแห่งประเทศไทย
(1) นำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของข้าพเจ้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยตามจำนวนเงินที่
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงิน
(2) หักเงินจากบัญชีเงินฝากของข้าพเจ้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อชำระหนี้ ทั้ง
ปวงรวมทั้งเบี้ยปรับอันเกิดจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินตามหนังสือ ดังกล่าว
ทั้งนี้ ให้หักเงินจากบัญชีเงินฝากของข้าพเจ้าที่มีอยู่ ณ สำนักของธนาคารแห่งประเทศไทย
แห่งที่ได้รับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นไว้ก่อน ถ้าเงินในบัญชีเงินฝากของข้าพเจ้าที่สำนักงานนั้นไม่มีหรือมีไม่
พอหัก และสำนักงานแห่งนั้นมิใช้สำนักงานใหญ่ของธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ให้หักเงินจากบัญชีเงิน
ฝากของข้าพเจ้าที่สำนักงานใหญ่ของธนาคารแห่งประเทศไทยได้ต่อไป
(3) จำหน่ายสินทรัพย์สินอย่างอื่นของข้าพเจ้าซึ่งมีอยู่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
รวมทั้งดำเนินการอื่นใดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นสมควร เพื่อให้ได้เงินมาชำระหนี้ทั้งปวง
และเบี้ยปรับตามหนังสือดังกล่าว ในกรณีเงินในบัญชีเงินฝากของข้าพเจ้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
จะหักตาม (2) ไม่มีหรือมีไม่พอหัก
3.ยินยอมให้เจ้าหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าไปตรวจสอบเอกสารหลักฐาน
ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขายตั๋วสัญญาใช้เงินตามหนังสือดังกล่าว ณ สำนักงานของข้าพเจ้า
4.ดำเนินการให้ผู้ประกอบกิจการยินยอมให้เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าไป
ตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขายตั๋วสัญญาใช้เงินของผู้ประกอบกิจการตาม
หนังสือดังกล่าว ณ สำนักงานของผู้ประกอบกิจการได้
5.ดำเนินการให้ผู้ประกอบกิจการลงนามให้คำยินยอมแก่ข้าพเจ้าในการมอบอำนาจให้
ข้าพเจ้าเป็นผู้ดำเนินการขอความเห็นชอบในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการ
จากธนาคารแห่งประเทศไทย
อนึ่ง ข้าพเจ้าขอให้คำมั่นต่อธนาคารแห่งประเทศไทยว่าข้าพเจ้าจะไม่เพิกถอนความยินยอม
ตามหนังสือนี้จนกว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบเป็นลายลักษณ์อักษรว่าไม่ขัดข้องในการ
ที่ข้าพเจ้าจะเพิกถอนความยินยอมดังกล่าว
ขอแสดงความนับถือ
ลงลายมือชื่อ...................
(.....................)
ผู้มีอำนาจลงนาม
เพื่อ......................
แบบหนังสือขอความเห็นชอบการให้ความช่วยเหลือทางการเงินให้แก่ผู้ประกอบกิจการที่พึงเชื่อถือได้
ทำที่..............
วันที่.....................
เรียน ผู้อำนวยการ ฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ1/ ธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ เรื่อง ขอความเห็นชอบการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน
แก่ผู้ประกอบกิจการที่พึงเชื่อถือได้
ด้วย.......(ธนาคารพาณิชย์).........ได้พิจารณาอนุมัติให้ผู้ประกอบกิจการ
จำนวน.....ราย เป็นผู้ประกอบกิจการที่พึงเชื่อถือได้และสมควรให้ความช่วยเหลือทางการเงิน
ตามหนังสือธนาคารแห่งประเทศไทยที่ ธปท.ฝกช.(22)ว......./2549 เรื่อง การให้ความ
ช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดนก ลงวันที่..........
ตามรายชื่อและวงเงินแนบ
จึงเรียนมาเพื่อขอความเห็นชอบการให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามหนังสือดังกล่าว
แก่ผู้ประกอบกิจการข้างต้น
ขอแสดงความนับถือ
ลงลายมือชื่อ..................
(...................)
ผู้มีอำนาจลงนาม
เพื่อ....................
1/ กรณีขายตั๋วสัญญาใช้เงินผ่านสำนักงานภาคของธนาคารแห่งประเทศไทยให้เขียนถึงผู้อำนวยการอาวุโส
สำนักงานภาคนั้นๆ โดยตรง
รายชื่อประกอบกิจการที่พึงเชื่อถือได้ แนบหนังสือที่.......ลงวันที่...........
ลำดับ ชื่อย่อ รหัสสาขา คำนำ ชื่อ สถาน รหัส รหัสธุรกิจ1/ กิจกรรมทาง แรงงาน ขนาดสินทรัพย์ วงเงิน(บาท) เหตุผลในการ
ที่ ธพ. ธพ. หน้าชื่อ ประกอบการ จังหวัด หลัก หมวด หมู่ย่อย เศรษฐกิจ (คน) (บาท) หนี้เดิม เงินทุนหมุนเวียน รวม ตามตั๋วฯ ธปท. ขอรับความช่วยเหลือ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ขอรับรองว่าถูกต้องตามความเป็นจริง
ลงลายมือชื่อ..........................
(..........................)
ผู้มีอำนาจลงนาม
เพื่อ.......................
1/ อนุโลมให้ใช้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง ประเภทวิสาหกิจที่กำหนดให้ความอนุเคราะห์
ตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการให้กู้ยืมเงินที่เกิดจากการประกอบวิสาหกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อมเป็นประกัน พ.ศ.2546
แบบตั๋วสัญญาใช้เงิน
อากรแสตมป์
ตั๋วสัญญาใช้เงิน
เลขที่..................... ......................
(สถานที่ออกตั๋วฯ)
วันที่.......................
ในวันที่........................ข้าพเจ้า...........................
สัญญาจะจ่ายเงิน.........................บาท (..............................)
และดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ..............ต่อปี แก่...........(ธนาคารพาณิชย์).......
ที่.................................
(ลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว).....................
(..........................)
ผู้มีอำนาจลงนาม
เพื่อ...........................
หนังสือนำส่งตั๋วสัญญาใช้เงิน
ทำที่..................
วันที่......................
เรียน ผู้อำนวยการ ฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ1/ ธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ เรื่อง นำส่งตั๋วสัญญาใช้เงิน
ด้วยข้าพเจ้า.......(ธนาคารพาณิชย์).........มีความประสงค์จะขายตั๋วสัญญาใช้เงิน
ของผู้ประกอบกิจการที่ได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดนก ตามหนังสือธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่ ธปท.ฝกช(22)ว. ...../2549 เรื่อง การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการ
ที่ได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดนก ลงวันที่..............จำนวน.................ฉบับ
จำนวนเงิน........บาท (..............) ตามรายละเอียดแนบ (จำนวน.......หน้า)
ในการนี้ ข้าพเจ้าขอมอบอำนาจให้..................................
เป็นผู้ส่งมอบตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวข้างต้นให้ธนาคารแห่งประเทศไทย
หากธนาคารแห่งประเทศไทย ตกลงรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่นำส่งแล้ว โปรดนำเงิน
เข้าบัญชีเงินฝากของข้าพเจ้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
ขอแสดงความนับถือ
ลงลายมือชื่อ...................
(...................)
ผู้มีอำนาจลงนาม
เพื่อ....................
ผู้ส่งตั๋วสัญญาใช้เงิน
ลงลายมือชื่อ.......................
(....................)
วันที่.........................
เอกสารแนบหนังสือนำส่งตั๋วสัญญาใช้เงิน
ธนาคาร.......................ประจำวันที่..............
ลำดับที่ เลขที่ รหัส ชื่อผู้ออก วันที่ วันถึงกำหนด จำนวนเงิน(บาท) อัตราดอกเบี้ย
ตั๋วฯ ผู้ออกตั๋ว ตั๋ว ออกตั๋วฯ ใช้เงิน1/ ตามตั๋วฯ เงินของ ธปท. (% ต่อปี)
- - - - - - - - -
รวม........................
ขอรับรองว่าถูกต้องตามความเป็นจริง
ลงลายมือชื่อ........................
(........................)
ผู้มีอำนาจลงนาม
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ