10 พฤษภาคม 2549
เรียน ผู้จัดการ
ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
ธนาคารออมสิน
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
ที่ ฝกช.(02)ว.23/2549 เรื่อง การออกประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน(ฉบับที่ 3)
ด้วยเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินได้แก้ไขประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธิปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน เพื่อปรับปรุงระเบียบบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศให้เอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจและสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจการเงิน
จึงขอส่งประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธิปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน(ฉบับที่ 3) มาเพื่อทราบและโปรดแจ้งให้ลูกค้าของท่านได้ทราบโดยทั่วกัน
ขอแสดงความนับถือ
(นางสาวนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ)
เจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
สิ่งที่ส่งมาด้วย ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธิปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน(ฉบับที่ 3)
ฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ
สายตลาดการเงิน
โทรศัพท์ 0-2356-7345-6
โทรสาร 0-2356-7945
หมายเหตุ: ไม่มีการจัดการประชุมชี้แจง
ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน
(ฉบับที่ 3)
__________________
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 16 และข้อ 20 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 20(พ.ศ.2534) กฎกระทรวงฉบับที่ 21(พ.ศ.2539) กฎกระทรวง ฉบับที่ 22(พ.ศ.2540) กฎกระทรวง ฉบับที่ 23(พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 และข้อ 14 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง คำสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่ตัวแทนรับอนุญาต ลงวันที่ 31 มีนาคม 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"ข้อ 23 บุคคลใดขอฝากเงินตราต่างประเทศกับนิตบุคคลรับอนุญาต ให้นิติบุคคลรับอนุญาตเรียกให้บุคคลนั้นยื่นแบบตามที่กำหนดในข้อ 44 และปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และวงเงิน ดังต่อไปนี้
(1) เงินตราต่างประเทศที่ฝากต้องเป็นเงินอันเกิดจากแหล่งเงินได้ในต่างประเทศ
(2) ผู้ฝากเงินตราต่างประเทศต้องยื่นเอกสารแสดงภาระผูกพันที่จะต้องชำระเงินตราต่างประเทศให้แก่บุคคลในต่างประเทศหรือนิติบุคคลรับอนุญาตภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่ฝากเงินตราต่างประเทศนั้น ทั้งนี้ เจ้าพนักงานยกเว้นให้ผู้ฝากเงินตราต่างประเทศยื่นเอกสารแสดงภาระผูกพันที่จะต้องชำระเงินตราต่างประเทศให้แก่บุคคลในต่างประเทศ หรือนิติบุคคลรับอนุญาตเกิน 3 เดือนแต่ไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ฝากเงินตราต่างประเทศนั้น และให้ฝากได้ไม่เกินจำนวนตามภาระผูกพันที่ต้องชำระเป็นเงินตราต่างประเทศภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โดยภาระผูกพันที่กล่าวให้หมายถึงภาระผูกพันของตนและของธุรกิจในเครือ และยื่นหลักฐานการเป็นธุรกิจในเครือด้วยในกรณีที่เป็นภาระผูกพันของธุรกิจในเครือ
(3) เงินฝากเงินตราต่างประเทศรวมทุกสกุลและทุกบัญชี ต้องมียอดคงเหลือไม่เกิน 500,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา หรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด สำหรับบุคคลธรรมดา หรือ 5 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา หรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด สำหรับนิติบุคคล ทั้งนี้ เจ้าพนักงานยกเว้นให้นิติบุคคลมียอดคงเหลือในบัญชีรวมทุกสกุลและทุกบัญชีเกิน 5 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา หรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด แต่ไม่เกิน 50 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา หรือเทียบเท่าตามอัตราตลาดได้
(4) ให้ผู้ฝากแต่ละรายฝากเงินสดได้ไม่เกินวันละ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา หรือเทียบเท่าตามอัตราตลาด เว้นแต่ผู้ฝากนั้นจะได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศ
ทั้งนี้ให้องค์การของรัฐ องค์การของรัฐบาล และรัฐวิสาหกิจของประเทศไทย รวมทั้งข้าราชการที่ปฏิบัติงานในต่างประเทศได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใน(2) ถึง(4)"
ข้อ 2 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2549 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2549
(นางสาวนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ)
เจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน