การออกประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน

ข่าวกฏหมายและประกาศ Friday December 22, 2006 11:47 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                                                   22 ธันวาคม 2549
เรียนผู้จัดการ
ธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร*
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
ธนาคารออมสิน
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
ที่ ฝกช.(02) ว.73/2549 เรื่อง การออกประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
ด้วยเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินได้ออกประกาศ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2549 ผ่อนผันการกันเงินสำรองในกรณีต่างๆ เพิ่มเติม ซึ่งรวมถึง การลงทุนในหุ้นทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) หรือตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (MAI) การลงทุนใบแสดงสิทธิ์ในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง ไทย (NVDR) การลงทุนในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (TFEX) และตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (AFET) เงินลงทุนโดยตรง รวมทั้งเงินนำเข้ากรณีอื่นๆ ที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการเก็งกำไรค่าเงินบาท พร้อมกำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมดูแลธุรกรรมการลงทุนในหุ้นทุนที่จดทะเบียนใน SET หรือ MAI การลงทุนใน NVDR และการลงทุนใน TFEX และ AFET สรุปได้ดังนี้
1.นิติบุคคลรับอนุญาตต้องดูและให้ Non-resident ที่ขายเงินตราต่างประเทศแลกเงินบาทเพื่อลงทุนในหุ้นทุนที่จะทะเบียนใน SET หรือ MAI ใน NVDR และใน TFEX หรือ AFET นำเงินบาทเข้าบัญชีบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศเพื่อนำวัตถุประสงค์เฉพาะการลงทุนในหุ้นทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การลงทุนในใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย และการลงทุนในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (Special Non-resident Baht Account for Securities : SNS) ก่อนและให้ถอนเงินบาทจากบัญชีเพื่อชำระธุรกรรมดังกล่าวเท่านั้น
2.นิติบุคคลรับอนุญาตต้องดูแลให้เงินบาทที่ได้จากการขายหุ้นทุนที่จดทะเบียนใน SET หรือ MAI เงินบาทที่ได้จากการลงทุนใน NVDR และเงินบาทที่ได้จากการลงทุนใน TFEX หรือ AFET นำเข้าบัญชี SNS ก่อน และให้ถอนเงินบาทจากบัญชีดังกล่าวเพื่อซื้อเงินตราต่างประเทศส่งกลับหรือลงทุนต่อในหุ้นที่จดทะเบียนใน SET หรือ MAI ใน NVDR หรือลงทุนใน TFEX หรือ AFET เท่านั้น มิให้นำเงินดังกล่าวไปชำระราคาเพื่อการลงทุนในธุรกรรมอื่น หรือฝากเข้าบัญชี Non-resident Baht Accout อื่น
3.นิติบุคคลรับอนุญาตต้องดูแลให้ลุกค้าจัดการโอนเงินบาทจากบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (NRBA) ที่ประสงค์จะผ่อนผันการเงินสำรองเข้าบัญชี SNS ให้เรียบร้อยก่อนวันที่ 8 มกราคม 2550
จึงเรียนมาเพือทราบและถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด
ขอแสดงความนับถือ
(นางสาวนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ)
เจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน
(ฉบับที่ 7) ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2549
2. รายละเอียดธุรกรรมที่ได้รับการยกเวนการกันเงินสำรองและการเรียกเอกสารหลักฐาน
ฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ
สายตลาดการเงิน
โทรศัพท์ 0-2356-7345-6
โทรสาร 0-2356-7945
*ไม่รวมสำนักงานวิเทศธนกิจ
ประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน
(ฉบับที่ 7)
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง คำสั่งรัฐมนตรีให้ไว้แก่ตัวแทนรับอนุญาต ลงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2547 เจ้าพนักงานออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในประกาศนี้ "เงินลงทุนโดยตรง" หมายความถึง เงินที่นำมาจัดตั้งกิจการในประเทศไทยหรือเข้าร่วมลงทุนกับบุคคลหรือนิติบุคคลในประเทศไทย โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นหรือมีส่วนเป็นเจ้าของไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของทุนทั้งหมดของกิจการนั้นและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในกิจการดังกล่าว ทั้งนี้ สัดส่วนการถืดหุ้นให้นับต่อหนึ่งราย
ข้อ 2 ในการรับซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศเป็นเงินบาทในกรณีดังต่อไปนี้เจ้าพนักงานยกเว้นให้นิติบุคคลรับอนุญาตไม่ต้องกันเงินสำรองตามที่กำหนดในประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกะเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2549
(1) เงินตราต่างประเทศที่เป็นเงินลงทุนโดยตรง เงินกู้ของหน่วยงานราชการ และเงินเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์
(2) เงินตราต่างประเทศที่เป็นเงินกู้ที่ได้ทำสัญญาเงินกู้ก่อนวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ.2549
(3) เงินตราต่างประเทศที่บุคคลดังต่อไปนี้นำมาขายหรือแลกเปลี่ยน
(ก) สถานทูตไทย สถานกงสุลไท่ย หรือหน่วยงานรัฐบาลไทยที่ตั้งอยู่นอกประเทศไทย
(ข) สถานทูตต่างประเทศ สถานกงสุล ทบวงการชำนัญพิเศษแห่งองค์กรสหประชาชาติ
องค์การหรือสถาบันระหว่างประเทศ ที่ประจำการในประเทศไทย
(4) การต่ออายุสัญญาป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน โดยการทำธุรกรรม Swap กับนิติบุคคลรับอนุญาตเดิม
(5) เช็คเดินทางและธนบัติเงินตราต่างประเทศ
ในกรณีตาม (1) ถึง (4) ให้นิติบุคคลรับอนุญาตเรียกให้ผุ้ขายหรือผู้แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศแสดงเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง และเมื่อนิติบุคคลรับอนุญาตตรวจสอบจนเป็นที่พอใจว่าเอกสารหลักฐานนั้นแท้จริงและถูกต้อง และเงินตราต่างประเทศดังกล่าวเป็นเงินตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดจริง นิติบุคคลรับอนุญาตจึงจะรับซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้โดยไม่ต้องกันเงินสำรอง
ข้อ 3 ในการรับซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่เป็นเงินลงทุนในหุ้นทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เงินลงทุนในใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (Non-Voting Depository Receipt : NVDR) และเงินลงทุนในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า ให้นิติบุคคลรับอนุญาตปฏิบัติดังนี้
(1) เรียกให้ผู้ขายหรือผู้แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศแสดงเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง และเมื่อนิติบุคคลรับอนุญาตตรวสอบจนเป็นที่พอใจว่าเอกสารหลักฐานนั้นแท้จริงและถูกต้อง และเงินตราต่างประเทศดังกล่าวเป็นเงินเพื่อการลงทุนดังกล่าวจริง ให้นิติบุคคลรับอนุญาตรับซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศดังกล่าวได้โดยไม่ต้องกันเงินสำรองตามที่กำหนดในประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 6)
(2) จัดให้ผู้ขายหรือผู้แลกเปลี่ยเงินตราต่างประเทศทำสัญญากับนิติบุคคลรับอนุญาตเพื่อมีบัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยุ่นอกประเทศเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะการลงทุนในหุ้นทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การลงทุนในใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ทีเกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย และการลงทุนในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (Special Non-resident Baht Account for Securities : SNS) โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(ก) ผู้ขายหรือผู้แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศต้องมีบัญชี SNS เพียง 1 บัญชี เพื่อใช้รับจ่ายเงินจากการลงทุนในหุ้นทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การลงทุนในในแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย หรือการลงทุนในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า
(ข) เงินบาทที่นำเข้าบัญชี่ SNS ต้องเป็นเงินบาทที่ได้จากการขายเงินตราต่างประเทศเพื่อการลงทุนในหุ้นทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การลงทุนในใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย การลงทุนในศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า หรือเงินบาทที่ได้จากการลงทุนดังกล่าว
(ค) ในการถอนเงินบาทจากบัญชี SNS จะถอนเฉพาะเพื่อธุรกรรมการลงทุนในหุ้นทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การลงทุนในใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพยือ้างอิงไทย และการลงทุนในศูนยืซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและตลาดสินค้าเกษตร ล่วงหน้า หรือถอนเพื่อซื้อเงินตราต่างประเทศส่งออกนอกประเทศ
(ง) หากเจ้าของบัญชี SNS ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏับัติตามเงื่อนไขการฝากถอนเงินตาม (ก) หรือ (ค) เจ้าของบัญชีตกลงยินยอมให้นิติบุคคลรับอนุญาตปิดบัญชีดังกล่าวได้โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้าและเจ้าของบัญชีตกลงนำเงินบาทที่คงเหลืออยู่ในบัญชีซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อส่งออกนอกประเทศทันที
(3) นิติบุคคลรับอนุญาตต้องดูแลบัญชี SNS ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ตกลงระหว่างกันตาม (2)
ข้อ 4 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2549 เป็นต้นไป ทั้งนี้ เจ้าพนักงานผ่อนผันดังนี้
(1) ให้การรับซื้อหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามข้อ 2 ก่อนวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2549 ได้รับยกเว้นไม่ต้องกันเงินสำรองตามที่กำหนดในประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2549
(2) ให้นิติบุคคลรับอนุญาตไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 3 (2) ก่อนวันที่ 8 มกราคม พ.ศ.2550 โดยให้นิติบุคคลรับอนุญาตดูแลให้ผู้ขายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามข้อ 3 นำเงินบาทที่แลกเปลี่ยนได้ไปลงทุนตามที่กำหนด และหากขายหลักทรัพย์แล้ว ให้นิติบุคคลรับอนุญาตดูแลให้ผู้ขายหรือแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศใช้เงินบาทที่ได้รับเฉพาะเพื่อการลงทุนตามที่กำหนดหรือแลกเปลี่ยนเป็นเงินตราต่างประเทศเพื่อส่งออกนอกประเทศเท่านั้น
ประกาศ ณ วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ.2549
(นางสาวนิตยา พิบูลย์รัตนกิจ)
เจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
รายละเอียดธุรกรรมที่ได้รับการยกเว้นการกันเงินสำรอง และการเรียกเอกสารหลักฐาน
ธุรกรรมที่ได้รับการยกเว้นการกันเงินสำรอง เอกสารหลักฐาน
1.เงินลงทุนโดยตรง - หลักฐานที่แสดงสัดส่วนการถือหุ้น หรือ
การมีส่วนเป็นเจ้าของกิจการที่ลงทุน เช่น บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
- หลักฐานแสดงการเรียชำระค่าหุ้นหรือเงินลงทุน
-หลักฐานที่แสดงการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในกิจการดังกล่าว
2.เงินกู้ยืมของหน่วยราชการ สัญญาเงินกู้เงินตราต่างประเทศหน่วยราชการ
ไม่รวมรัฐวิสาหกิจ องค์การของรัฐ
องค์การของรัฐบาล
3.เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ สัญญาซื้อขาย
ไม่รวมกองทุนรวมที่ลงทุนใน
อสังหาริมทรัพย์
4.เงินกู้เงินตราต่างประเทศที่ได้ทำสัญญา - สัญญาเงินกู้
กู้ก่อนวันที่ 19 ธันวาคม 2549 - หลักฐานการเบิกเงินกูหรือหลักฐานแสดงการติดต่อขอ
กู้เงินก่อนวันที่ 19 ธันวาคม 2549
5.ธุรกรรม Swap เพื่อต่ออายุ (roll over) เอกสารที่พิสูจน์ได้ว่าธุรกรรม Swap ดังกล่าวเป็นการ roll over
สัญญา ป้องกันความเสี่ยงกับนิติบุคคล ธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เช่น สัญญา forward
รับอนุญาตเดิม หรือ Swap เดิม โดยมีธุรกรรมการค้าการลงทุนคงอยู่
6.เงินลงทุนในหุ้นทุนที่จดทะเบียนใน หลักฐานแสดงการซื้อขายหุ้นทุนในตลาดหลักทรัพย์ หรือนอกตลาด(OTC)
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เช่น สัญญาซื้อขายผ่านBroker ใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
หมายรวมถึง หุ้นสามัญและให้บุริมสิทธิ์ ตลาดหลักทรัพย์ เอ็มเอไอ
ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (SET)
และตลาดหลักทรัพยื เอ็ม เอ ไอ (MAI)
ไม่รวม หน่วยลงทุน และใบสำคัญแสดง
สิทธิการซื้อหุ้น (Warrant)
-เงินลงทุนในศูนย์สัญญาซื้อขายล่วงหน้า - หลักฐานเรียกเก็บเงิน Margin หรือแสดงการลงทุนใน
(TFEX)และตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า สัญญาซื้อขายล่วงหน้าใน TFEXหรือ AFET
(AFET)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ