(ต่อ1) การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียน

ข่าวกฏหมายและประกาศ Wednesday February 8, 2006 08:03 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

             (2) เงินให้สินเชื่อไม่มีหลักประกันแก่ประชาชนรายย่อยรวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ที่มีวงเงินไม่เกิน 1 แสนบาท
(3) เงินให้สินเชื่อแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับที่มีวงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาท
ทั้งนี้ วงเงินให้สินเชื่อแต่ละราย จักต้อง
(ก) นับรวมวงเงินสินเชื่อแก่บุคคลตามมาตรา 12 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว
(ข) เมื่อนับรวม (ก) แล้ว ต้องมีสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 0.2 ของยอดรวมวงเงินให้สินเชื่อเพื่ออากรจัดหาที่อยู่อาศัยแก่บุคคลธรรมดาตาม ค. รวมกับวงเงินให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อย และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตาม (1) (2) และ (3)
ฉ. น้ำหนักความเสี่ยง 1.0
(1) เงินให้สินเชื่อแก่ภาคเอกชนและดอกเบี้ยค้างรับ
(2) เงินฝาก เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนนอกกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวรับรอง รับอาวัล หรือค้ำประกัน รวมทั้งเงินให้สินเชื่อที่มีตราสารซึ่งออกโดยธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวเป็นประกัน รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ทั้งนี้ ต้องมีระยะเวลาคงเหลือเกิน 1 ปี
(3) เงินให้สินเชื่อ หรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาล หรือธนาคารกลางนอกกลุ่มประเทศ OECD หรือเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่รัฐบาล หรือธนาคารกลางดังกล่าวค้ำประกันโดยปราศจากเงื่อนไข รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับซึ่งมิใช่เงินสกถุลของประเทศนั้น หรือมีจำนวนเกินกว่าหนี้สินที่ธนาคารพาณิชย์มีอยู่ในเงินสกุลนั้น
(4) เงินให้สินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่บุคคลธรรมดา รวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ซึ่งมีน้ำหนักความเสี่ยง 0.35 ตาม ค.ที่กลายเป็นเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(5) เงินลงทุนในหน่วยลงทุน
ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์สามารถคำนวณมูลค่าสิทิของหน่วยลงทุนใดตามมูลค่าสุทธิของสินทรัพย์ที่กองทุนผู้ออกหน่วยลงทุนนั้นถืออยู่ในแต่ละวันได้ ให้ธนาคารพาณิชย์สามารถเลือกใช้น้ำหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์ดังกล่าวตามสัดส่วน ประเภทและจำนวนที่กองทุนนั้นลงทุนจริงตามแต่กรณีตามประกาศนี้ แทนน้ำหนักความเสี่ยงใน ฉ.ได้
(6) ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ สินทรัพย์ประจำอื่นๆ และทรัพย์สินรอการขาย
(7) สินทรัพย์อื่นๆ ที่มิได้ระบุน้ำหนักความเสี่ยงๆว้ใน 5.5 นี้
ทั้งนี้ เงินฝาก หรือเงินให้สินเชื่อ ในแต่ละรายการข้างต้น ให้หมายความรวมถึงลูกหนี้อื่นๆ (สิทธิเรียกร้องในทางกฏหมาย) ที่เกิดจากธุรกรรมการซื้อหรือขายตราสาร โดยมีสัญญาว่าจะขายหรือจะซื้อคืน (Repo) และ ธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ (Securities Borrowing and Lending) เช่น ลูกหนี้ ตามสัญญาซื้อคืน ลูกหนี้ตามสัญญาให้ยืมหลักทรัพย์ ลูกหนี้มาร์จิ้นที่โอน และลูกหนี้วางเงินสดเป็นประกัน เป็นต้น
ช.น้ำหนักความเสี่ยง 1.5
เงินให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อยและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมทั้งดอกเบี้ยค้างรับ ซึ่งมีน้ำหนักความเสี่ยง 0.75 ตาม จ.ที่กลายเป็นเงินให้สินเชื่อด้วยคุณภาพ (NPL) ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
5.6 ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) ของภาวะผูกพันแต่ละประเภท
ก.ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) 1.0
(1)การรับอาวัลตั๋วเงิน รับรองตั๋วเงิน ค้ำประกันการกู้ยืมเงิน และค้ำประกันการขาย ขายลด หรือขายช่วงลดตั๋วเงิน
(2)การสลักหลังตั๋วเงินแบบผู้รับสลักหลังมีสิทธิไล่เบี้ย (With Recourse)
(3)สัญญาการซื้อสินทรัพย์ ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต้องปฏิบัติตามโดยปราศจากเงื่อนไข
(4)การค้ำประกัน การรับประกัน หรือการก่อภาระผูกพันในรูปแบบใดๆ ของธนาคารพาณิชย์อันเนื่องมาจากการขายสินทรัพย์
(5)ภาระผูกพันตามสัญญาขายตราสารโดยมีเงื่อนไขจะซื้อคืนตามวิธีการคำนวณที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(6)ภาระผูกพันตามสัญญายืมและให้ยืมหลักทรัพย์(Securities Borrowing and Lending) ตามวิธีการคำนวณที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(7)ภาระผูกพันตามสัญญาหรือข้อตกลงการรับประกันความเสี่ยงซึ่งได้แก่ สัญญาที่ธนาคารพาณิบย์รับโอนความเสี่ยงด้านเครดิตหรือตกลงรับประกันความเสี่ยง ด้านเครดิตจากคู่สัญญา โดยตกลงจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่ง หรือรับความเสียหายเนื่องจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้รับคืนเงินให้สินเชื่อหรือเงินลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ หรือมีเหตุการณ์เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญา (Credit Event) เกิดขึ้น
ข.ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) 0.5
(1) ภาระผูกพันซึ่งขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของลูกค้า เช่น ค้ำประกันการรับเหมาก่อสร้างค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา เป็นต้น
(2) การประกันการจำหน่ายตราสารหรือหลักทรัพย์
ค.ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) 0.2
ภาระผูกพันเพื่อการนำสินค้าเข้าตามเล็ตเตอร์ออฟเครดิตทั้งที่มีเอกสารประกอบแล้ว และยังไม่มีเอกสารประกอบ
ง.ค่าแปลงสภาพ (Credit Conversion Factor) 0
(1) ตั๋วเงินเพื่อเรียกเก็บ
(2) วงเงินที่ลูกค้ายังมิได้ใช้
(3) ค้ำประกันการออกของ (Shipping Guarantee)
(4) ภาระผูกพันที่ธนาคารพาณิชย์สามารถบอกยกเลิกเมื่อใดก็ได้
(5) ภาระผูกพันอื่นๆ ที่มิได้ระบุค่าแปลงสภาพ ( Credit Conversion Factor ) ไว้ใน5.6นี้
จ.ค่าแปลงสภาพ ( Credit Conversion Factor ) สำหรับสัญญาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน
และดอกเบี้ย
อายุสัญญาที่เหลือ สัญญาเกี่ยวกับอัตราการแลกเปลี่ยน สัญญาเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย
ไม่เกิน 14 วัน 0 0
ไม่เกิน 1 ปี 0.02 0.005
ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป 0.05 0.01
สัญญาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนได้แก่สัญญาดังต่อไปนี้
Cross currency interest rate swaps
Forward foreing exchange contracts
Currency futures
Currency option purchase
สัญญาอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน
สัญญาเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยได้แก่
Single currency interest swaps
Basis swaps
Forward rate agreements
Interest rate futures
Interest rate option purchase
สัญญาอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน
ในกรณีที่ลูกค้ารายเดียวกันทำสัญญาเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนหรือสัญญาเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ทั้งทางด้านซื้อและด้านขาย ให้คูณจำนวนเงินด้านซื้อและด้านขายด้วยค่าแปลงสภาพ(Credit Conversion Factor) ก่อน และนำค่าที่ได้มาหักลบกลบกัน แล้วจึงนำจำนวนสุทธิไปคูณกับน้ำหนักความเสี่ยงของสินทรัพย์แต่ละประเภทตามที่กำหนดใน 5.5
6. บทเฉพาะกาล
6.1 เงินให้สินเชื่อเพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยแก่บุคคลธรรมดาตาม 5.5 ค. ที่มีอยู่ก่อนวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 ธนาคารพาณิชย์ สามารถเลือกใช้น้ำหนักความเสี่ยง 0.5 ตาม 5.5 ง. ในการคำนวณเพื่อดำรงเงินกองทุนได้ เมื่อธนาคารพาณิชย์เลือกที่จะใช้น้ำหนักความเสี่ยงดังกล่าว แล้วเปลี่ยนแปลงอีกไม่ได้
6.2 เงินให้สินเชื่อแก่ประชาชนรายย่อยและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตาม 5.5 จ.ที่มีอยู่ก่อนวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 ธนาคารพาณิชย์ สามารถเลือกใช้น้ำหนักความเสี่ยง 1.0 ตาม 5.5 ฉ. ในการคำนวณเพื่อดำรงเงินกองทุนได้ เมื่อธนาคารพาณิชย์เลือกที่จะใช้น้ำหนักความเสี่ยงดังกล่าวแล้วจะเปลี่ยนแปลงอีกไม่ได้
7. วันเริ่มต้นบังคับใช้
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 27 มกราคม 2549
(ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล)
ผู้ว่าการ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
1 กลุ่มประเทศ OECD ในประกาศฉบับนี้ หมายถึง ประเทศสมาชิกของ Organization for Economic Co-operation and Development และประเทศที่มีฐานะการเงินเทียบเท่า ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย เบลเยี่ยม แคนาดา สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก ฟินแลนด์ เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ลักเซมเบิร์ก เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ โปแลนด์ โปรตุเกส สาธารณรัฐสโลวัก สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ซาอุดีอาระเบีย
2 องค์การระหว่างประเทศ หมายถึง Europcan Investment Bank(EIB) European Bank for Reconstruction and Development(EBRD) International Bank for Reconstruction and Development (IBRD) including International Finance Corporation(IFC) Inter-American Development Bank (IADB) African Development Bank(AfDB)Asia Development Bank(AsDB)Caribbean Development Bank(CDB) และ Nordic Investment Bank(NIB)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ