แนวนโยบายการบริหารความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญา

ข่าวกฏหมายและประกาศ Tuesday February 7, 2006 07:37 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                                                  23 กุมภาพันธ์ 2549
เรียน ผู้จักการ
ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศทุกธนาคาร
สาขาธนาคารต่างประเทศทุกธนาคาร
ที่ ธปท. ฝนส. (21) ว.240/2549 เรื่อง แนวนโยบายการบริหารความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญา
1.เหตุผลในการออกหนังสือเวียน
1.1เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ใช้เป็นแนวในการบริหารความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญาเพื่อส่งเสริมระบบการบริหารความเสื่ยงด่านเครดิตที่ดี
1.2เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีระบบในการป้องกันความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญาและความเสี่ยงจากการโอนเงินของคู่สัญญา รวมทั้ง ให้มีการกันเงินสำรองอย่างเพียงพอและเหมาะสมเพื่อริงรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจารการทำธุรกรรมกับคู่สัญญาที่มีภูมิลำเนาในต่างประเทศ
2.ขอบเขตแนวนโยบาย
แนวนโยบายการบริหารความเสี่ยงของประเทศสัญญา ครอบคลุมถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการทำธุรกรรมให้สินเชื่อ ลงทุน และก่อภาระผูกพันแก่คู่สัญญาที่มีภูมิลำเนาในต่างประเทศซึ่งได้กำหนดแนวนโยบายที่สำคัญใน 3 เรื่อง ดังนี้
2.1 บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์และผู้บริหารระดับสูง
2.2 นโยบายการบริหารความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญา
2.3 การบริหารความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญา ซึ่งประกอบด้วย การประเมินความเสี่ยงการควบคุมความเสี่ยง และระบบการติดตามความเสี่ยง
3.ขอบเขตการถือปฏิบัติ
ธนาคารพาณิชย์ที่ควรถือปฏิบัติตามแนวนโยบายการบริหารความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญา มีดังนี้
3.1 ธนาคารพาณิชย์ตามกฏหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคารที่มีสาขาในต่างประเทศ หรือ
3.2 ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคารที่มีอัตราส่วนการให้สินเชื่อ ลงทุน หรือก่อภาระผูกพันกับคู่สัญญาที่มีภูมิสำเนาในต่างประเทศรวมทั้งสิ้นต่อเงินกองทุนตั้งแต่ร้องละ 50 ของเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของธนาคารพาณิชย์นั้นในกรณีของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย และตั้งแต่ร้อยละ 50 ของสินทรัพย์ที่ต้องดำรงตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ที่แก้ไขแล้วในกรณีของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์
4.วันเริ่มต้นการถือปฏิบัติ
ให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติตามแนวนโยบายบริหารความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญาตั้งแต่วันที่ 1กรกฎาคม 2549
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และถือปฏิบัติ
ขอแสดงความนับถือ
(ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล)
ผู้ว่าการ
สิ่งที่ส่งมาด้วย : แนวนโยบายการบริหารความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญา
ฝ่ายโยบายความเสี่ยง
โทร.0-2283-5304,0-2283-5886
หมายเหตุ [
]ธนาคารจะจัดให้มีการประชุมชี้แจงในวันที่.....................ณ...................
[x
] ไม่มีการจัดประชุมชี้แจง
แนวนโยบายการบริหารความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญา
1.เหตุผลในการออกนโยบาย
เนื่องจากปัจจุบันธนาคารพาณิชย์มีการให้สินเชื่อ ลงทุน หรือก่อภาระผูกพันแก่บุคคลที่มีภูมิลำเนาในต่างประเทศในปริมาณเพิ่มชิ้น โดยธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทยมีสาขาในต่างประเทศรวมทั้งสิ้น 40 สาขา และมีการทำธุรกรรมกับคู่สัญญาในต่างประเทศเกือบ 50 ประเทศ ซึ่งมีการให้สินเชื่อ ลงทุน และก่อภาระผูกพันเมื่อสิ้นเดือนมิถุนายน 2548 เป็นอัตราส่วนกับเงินกองทุนชั้นที่ 1 เฉลี่ยประมาณร้อยละ 58 แม้ว่าในปัจจุบันธนาคารพาณิชย์หลายแห่งมีระบบการบริหารความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญาอยู่แล้วก็ตาม ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นควรกำหนดแนวนโยบายการบริหารความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญา (Country Risk) เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีระบบในการป้องกันความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญาและความเสี่ยงจากการโอนเงินของคู่สัญญา รวมทั้งมีการกันเงินสำรองอย่างเพียงพอและเหมาะสม เพื่อรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการทำธุรกรรมดังกล่าว
2.สถาบันการเงินที่ควรถือปฏิบัติ
2.1 ธนาคารพาณิชย์ตามกฏหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคารที่มีสาขาในต่างประเทศ หรือ
2.2 ธนาคารพาณิชย์ตามกฏหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคารที่มีอัตราส่วนการให้สินเชื่อ ลงทุน หรือก่อภาระผูกพันในต่างประเทศรวมทั้งสิ้นต่อเงินกองทุนตั้งแต่ร้อยละ 50 ของเงินกองทุนชั้นที่ 1 ของธนาคารพาณิชย์นั้นในกรณีของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทยและตั้งแต่ร้อยละ 50 ของสินทรัพย์ที่ต้องดำรงตาม มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์พ.ศ.2505 ที่แก้ไขแล้วในกรณีของสาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการธนาคารพาณิชย์ ควรมีการพิจารณาความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญาในการทำธุรกรรมและควรกำหนดแนวนโยบายการบริหารความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญาของธนาคารพาณิชย์ให้สอดคล้องกับแนวนโยบายนี้
3.เนื้อหา
3.1 คำนิยาม
ความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญา (Country Risk) หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดจากความไม่แน่นอนของภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง หรือปัจจัยภายนอกอื่น ๆ เช่น ภัยธรรมชาติความไม่สงบทางสังคมหรือการเมือง ของประเทศที่ธนาคารพาณิชย์มีการให้สินเชื่อ ลงทุน หรือ ก่อภาระผูกพันแก่ผู้มีภูมิลำเนาในประเทศนั้น จนส่งผลกระทบต่อระดับความเสี่ยงหรือความ น่าเชื่อถือในการดำเนินธุรกิจในประเทศคู่สัญญา อาจทำให้ลูกหนี้หรือคู่สัญญาของธนาคารพาณิชย์ ที่มีภูมิลำเนาในประเทศนั้นๆ ไม่สามารถชำระหนี้หรือไม่ปฏิบัติตามสัญญา และอาจส่งผลกระทบ ต่อฐานะและการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์
ตัวอย่างของประเภทความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญาที่สำคัญมี 4 ประเภท ดังนี้
(1)ความเสี่ยงของภารรัฐบาล (Sovereign Risk) หมายถึง ความเสี่ยงที่รัฐบาลเป็น ผู้กู้ยืมเงิน หรือเป็นคู่สัญญาของธนาคารพาณิชย์ ไม่สามารถหรือไม่ชำระหนี้ตามเงื่อนไขของ สัญญา หรือปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามสัญญาหรือพันธะที่ได้กำหนดไว้ ไม่ว่าทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น นโยบายการพักชำระหนี้
(2) ความเสี่ยงด้านการโอนเงินของคู่สัญญา (Transfer Risk) หมายถึง ความเสี่ยงที่คู่สัญญา ที่มีภูมิลำเนาในต่างประเทศไม่สามารถหาเงินตามต่างประเทศมาชำระหนี้ให้แก่ธนาคารพาณิชย์ตาม สัญญาได้ เนื่องจากข้อจำกัดต่างๆ เช่น รัฐบาลของประเทศนั้น (Host Country) กำหนดข้อบังคับ เกี่ยวกับการจำกัดการเข้าออกของเงินทุน หรือมีมาตรการควบคุมปริวรรตเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Control)
(3) ความเสี่ยงจากผลกระทบต่อเนื่อง (Contagion Risk) หมายถึง ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยใดๆ ในประเทศหนึ่ง แล้วส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นในภูมิภาค ซึ่งมีบุคคลในประเทศนั้นเป็นคู่สัญญากับธนาคารพาณิชย์ เช่น การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ ของประเทศหนึ่ง ส่งผลทำให้การชำระหนี้ หรือการพิจารณาทำธุรกรรมกับคู่สัญญาที่ตั้งอยู่ใน ประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันได้รับผลกระทบไปด้วย เป็นต้น
(4) ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomic Risk) หมายถึงความเสี่ยงจาก การที่คู่สัญญาของธนาคารพาณิชย์ที่มีภูมิลำเนาในต่างประเทศไม่สามารถหรือไม่ชำระหนึ้ตาม สัญญาหรือปฏิบัติตามพันธะได้ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายทาง เศรษฐกิจของประเทศนั้น เช่น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อนปกป้องค่าเงิน การเปลี่ยนแปลงนโยบาย ด้านภาษี เป็นต้น
3.2 บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ และผู้บริหารระดับสูง คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์ควรควบคุมดูแลความเสี่ยงของ ประเทศคู่สัญญาโดยอย่างน้อยควรมีบทบาทหน้าที่ ดังนี้
3.2.1 กาควบคุมดูแลโดยคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์
(1)ดูแลให้มีการกำหนดกลยุทธ์ และอนุมัตินโยบาย แผนงาน และระเบียบปฏิบัติต่างๆ ในการทำธุรกรรมในต่างประเทศ
(2)ควรให้มีการทบทวน ประเมินกลยุทธ์และนโยบายในการทำธุรกรรมในต่างประเทศอย่างสม่ำเสมอ ตามขนาดและความซับซ้อนของธุรกรรม หรือทุกครั้งที่มีเหตุอันควรซึ่งผู้บริหารระดับสูงเห็นว่าควรหยิบยกขึ้นพิจารณา เพื่อให้มั่นใจว่านโยบาย แผนงาน และระเบียบปฏิบัติต่างๆ เป็นไปในทิศทางเดียวกับแผนกลยุทธ์ ระดับความเสียงที่ยอมรับได้ และผลตอบแทนที่ธนาคารพาณิชย์ได้ประมาณการไว้ รวมทั้งสามารถสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
(3)อนุมัติและทบทวนวงเงินหรือเพดานสูงสุดในการทำธุรกรรมในแต่ละประเทศ
(4)ดูแลให้ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์กำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในสำหรับการทำธุรกรรมในต่างประเทศที่เพียงพอและเหมาะสม
3.2.2 การควบคุมดูแลโดยผู้บริหารระดับสูง
(1) ควรกำหนดนโยบาย ขั้นตอนบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายในสำหรับการทำธุรกรรมในต่างประเทศ รวมทั้งวงเงินหรือเพดานสูงสุดในการทำธุรกรรมในแต่ละประเทศให้มีความเหมาะสมกับฐานะและการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ เพื่อเสนอคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์พิจารณาอนุมัติ และนำมาถือปฏิบัติ
(2) ควรจัดสรรทรัพยากรและบุคลากรเพื่อสนับสนุนระบบการบริหารความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญาอย่างเพียงพอ รวมทั้งกำหนดผู้รับผิดชอบและผู้ที่มีอำนาจอนุมัติในการทำธุรกรรมในต่างประเทศ โดยผู้ที่มีหน้าที่อนุมัติการทำธุรกรรมในต่างประเทศควรมีความเป็นอิสระจากผู้ที่มีหน้าที่ในการกำหนดวงเงินและติดตามกำกับดูแลการทำธุรกรรมในแต่ละประเทศ
(3) ควรสื่อสารและเผยแพร่กลยุทธ์ นโยบาย แผนงาน ระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ ในการทำธุรกรรมในต่างประเทศให้กับพนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคนรับทราบและถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดและจัดให้มีการฝึกอบรมให้ความรู้แก่พนักงานที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ
(4) ควรทบทวนนโยบายที่เกี่ยวข้องอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และควรมีการทบทวนทุกครั้งที่มี
การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์และสภาพแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
3.3 นโยบายการบริหารความเสียงของประเทศคู่สัญญา
(1) ธนาคารพาณิชย์ควรมีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน เป็นลายลักษณ์อักษร และผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งนโยบายดังกล่าวอาจเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการบริหารความเสียงด้านเครดิต เช่น การกำกับลูกหนี้รายใหญ่ และการจัดชั้นและการกันเงินสำรอง เป็นต้น
(2) ธนาคารพาณิชย์มีภาระผูกพันที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาในอนาคต เช่น การทำธุรกรรมมาตราสารอนุพันธ์ เป็นต้น ควบคู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจของประเทศคู่สัญญา เช่น อัตราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย การก่อหนี้สาธารณะของรัฐบาล ภาระหนี้สินระยะสั้นของประเทศนั้นๆ อัตราการขยายตัวของผลรวมมวลในประเทศ (GDP) อัตราการว่างงาน ปัจจัยด้านสภาพคล่องในแต่ละประเทศ ความสามารถในการหารายได้ของรัฐบาลแต่ละประเทศ และตัวเลขสถิติที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เป็นต้น
(3) ปัจจัยเชิงคุณภาพที่ธนาคารพาณิชย์นำมาพิจารณาควรคลอบคลุมถึงความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองในแต่ละประเทศ นโยบายการเงิน มาตรการการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน ความโปร่งใสของข้อมูล และโครงสร้างทางการเงินและการตลาด เช่น นโยบายการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศนั้นๆ ระบบกฎหมาย และมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดให้ถือปฏิบัติ
(4) ธนาคารพาณิชย์ควรติดตามการเปลี่ยนแปลงนโยบายและกลยุทธ์ของรัฐบาลในแต่ละประเทศที่ธนาคารพาณิชย์ทีการทำธุรกรรมด้วย เพื่อนำมาพิจารณาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาลดังกล่าว เช่น อาจทำให้ลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์ในธุรกิจบางประเภทมีความสามารถในการชำระหนี้ลดลง และธนาคารพาณิชย์ควรปรับปรุงนโยบายการทำธุรกรรมใยต่างประเทศกับประเทศนั้นๆให้เหมาะสม ทันเหตุการณ์ และควรทีการกำหนดแผนฉุกเฉินที่เหมาะสม เพื่อรองรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศ เช่น เพิ่มความถี่ในการติดตามและวิเคราะห์ และขยายขอบเขตการวิเคราะห์ที่เหมาะสม
(5) ธนาคารพาณิชย์ควรมีการจัดทำเอกสารและผลสรุปของการวิเคราะห์ความเสี่ยงในและประเทศ เพื่อเสนอข้อมูลให้ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์นำมาใช้ป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ และปรับปรุงนโยบายการทำธุรกรรมในต่างประเทศและกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม
(6) ธนาคารพาณิชย์ควรจะดสรรบุคลากรปละทรัพยากรที่ใช้ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญาให้เหมาะสมกับขนาดและความซับซ้อนของการทำธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์
(7) ธนาคารพาณิชย์ควรมีการตรวจสอบระบบการวิเคราะห์ เพื่อดูผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญา และเปรียบเทียบกับผลการวิเคราะห์กับข้อมูลจากแหล่งอื่น รวมถึงข้อมูลจากการวิจัยการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือภายนอก
3.4.2 การวัดความเสี่ยง
(1) ธนาคารพาณิชย์ควรจัดให้มีระบบที่สามารถวัดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการทำธุรกรรมในต่างประเทศ โดยพิจารณาปริมาณความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับธนาคารพาณิชย์ และสาขาของธนาคารพาณิชย์ จึงต้องคำนึงถึงขนาดและความซับซ้อนของการทำธุรกรรมของ ธนาคารพาณิชย์
(2) ธนาคารพาณิชย์ควรจัดความเสี่ยงตามประเทศที่เป็นภูมิลำเนาของลูกหนี้หรือคู่สัญญา
(3) ธนาคารพาณิชย์ควรมีระบบที่สามารถวัดภาระหนี้ของคู้สัญญาตามประเภทต่าง ๆ เช่น สัญญาอัตราแลกเปลี่ยน และสัญญาอัตราดอกเบี้ย และมีรายละเอียดเพียงพอสำหรับการวัด และวิเคราะห์ความเสี่ยงของการทำธุรกรรมในแต่ละประเทศ เช่น ประเภทของผู้กู้ ภาระหนี้ หลักประกัน อายุที่เหลือของสัญญา เป็นต้น
3.4.3 การจัดอันดับความเสี่ยง
(1) การจัดอันดับความเสี่ยงในการทำธุรกรรมในแต่ละประเทศมี 2 วิธี คือ
( ก ) การจัดอันดับความเสี่ยงโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือภายนอก เช่น Standard & Poor ‘s (S&P) Moody’s หรือ Fitch เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะของตราสาร ทางการเงิน เช่น ระยะสั่น และระยะยาว หรือตามลักษณะของคู่สัญญา เช่น ประเทศ (Sovereign) และนิติบุคคล
( ข ) การจัดอันดับความเสี่ยงโดยธนาคารพาณิชย์เอง ซึ่งเป็นการสรุปผลที่ได้จาก การวิเคราะห์และการประเมินปัจจัยต่างๆ ที่แบ่งแยกตามภูมิภาค ประเทศของคู่สัญญา ประเภทของ ธุรกรรม และสกุลเงิน ทั้งนี้ การจัดอันดับความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์ที่ดี ควรสามารถแยกระดับ ความเสี่ยงได้อย่างชัดเจน และสามารถเทียบเคียงกับการจัดอันดับความเสี่ยงโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือภายนอกได้
(2) ธนาคารพาณิชย์ควรใช้การจัดอันดับความเสี่ยงโดยธนาคารพาณิชย์เองควบคู่กับการจัดอันดับความเสี่ยงโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือภายนอก
(3) ธนาคารพาณิชย์ควรกำหนดวิธีการและปัจจัยในการจัดอันดับความเสี่ยงของประเทศ คู่สัญญาอย่างชัดเจน และควรมีบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญ และมีความเป็นอิสระในการจัด อันดับความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญาต่างหากจากผู้ที่ทำหน้าที่อนุมัติการทำธุรกรรมในต่างประเทศ
(4) ธนาคารพาณิชย์ควรมีการจัดอันดับความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และควรมีการทบทวนทุกครั้งเมื่อสภาวะเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศนั้นๆ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ
(5) ธนาคารพาณิชย์ควรใช้การจัดอันดับความเสี่ยงในการพิจารณากำหนดวงเงินหรือ เพดานสูงสุดในการทำธุรกรรมในแต่ประเทศที่เหมาะสม รวมถึงพิจารณาการจัดชั้นและการกัน เงินสำรองสำหรับการทำธุรกรรมในแต่ละประเทศให้สอดคล้องกันด้วย เช่น ถ้าธนาคารพาณิชย์ จัดอันดับความเสี่ยงของประเทศใดในอันดับที่มีความเสี่ยงสูง ธนาคารพาณิชย์นั้นควรพิจารณา จัดชั้นและกันเงินสำรองสำหรับลูกหนี้ หรือคู่สัญญาที่มีภูมิลำเนาในประเทศนั้นในอัตราที่เข้มงวด
กว่ากรณีปกติ
3.5 การควบคุมความเสี่ยง
3.5.1 การกำหนดวงเงินหรือเพดานสูงสุดในการทำธุรกรรม
(1) ธนาคารพาณิชย์ควรมีระบบการกำหนดวงเงินหรือเพดานสูงสุดในการทำธุรกรรมในแต่ละประเทศ ซึ่งวงเงินในการทำธุรกรรมในแต่ละประเทศควรได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ และมีการทบทวนวงเงินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือมากกว่านั้นตามขนาดและความซับซ้อนของธุรกรรมหรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงภาวะเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศนั้น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ
(2) ธนาคารพาณิชย์ควรกำหนดวงเงินในการทำธุรกรรมในแต่ละประเทศให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และนโยบายโดยรวมในการทำธุรกรรมของธนาคารพาณิชย์ ความเพียงพอของเงินกองทุนและเงินสำรองที่จะรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น การจัดอันดับความเสี่ยงในแต่ละประเทศระดับความเสี่ยงที่ธนาคารพาณิชย์ยอมรับได้ และโอกาสการทำธุรกิจในแต่ละประเทศ
(3) ธนาคารพาณิชย์ควรกำหนดวงเงินในการทำธุรกรรมในแต่ละประเทศในหลายๆ ระดับ
นอกเหนือจากในระดับรวม เช่น กำหนดวงเงินตามภูมิภาคที่ตั้งของคู่สัญญา ประเภทของธุรกิจประเภทของคู่สัญญา ประเภทของสกุลเงิน ประเภทของธุรกรรม และประเภทของหลักประกัน
(4) ธนาคารพาณิชย์ควรกำหนดผู้รับผิดชอบในการกำหนดวงเงินในการทำธุรกรรมในแต่ละประเทศซึ่งควรมีความอิสระจากผู้ที่มีอำนาจอนุมัติในการทำธุรกรรมในต่างประเทศ
(5) ธนาคารพาณิชย์ควรมีการชี้แจงวงเงินในการทำธุรกรรมในแต่ละประเทศให้กับพนักงานที่เกี่ยวข้องรับทราบและถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด ซึ่งวงเงินในการทำธุรกรรมอาจแบ่งแยกย่อยตามระดับการบริหารงานของธนาคารพาณิชย์ได้ เช่น วงเงินที่ผู้จัดการสาขาในต่างประเทศ
สามารถทำธุรกรรมได้
3.5.2 การจัดชั้นและการกันเงินสำรอง
(1) ธนาคารพาณิชย์ควรกำหนดนโยบายการจัดชั้นและกันเงินสำรองที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์ นโยบายการจัดชั้นและกันเงินสำรองควรครอบคลุมการทำธุรกรรมทั้งในและต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ โดยสามารถสะท้อนถึงความเสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญาและความเสี่ยงพื้นฐานของแต่ละประเทศโดยรวม
(2) ธนาคารพาณิชย์ควรกำหนดนโยบายการกันเงินสำรองสำหรับการทำธุรกรรมในแต่ละประเทศที่มีความเสี่ยงที่แตกต่างกันตามภาวะเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง โดยควรวิเคราะห์ปัญหาของแต่ละประเทศ ระดับความรุนแรงของปัญหา และควรมีการประมาณความเสียหายจากการทำธุรกรรมในประเทศนั้น และกันเงินสำรองเพิ่มเพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
(3) ธนาคารพาณิชย์ควรกำหนดผู้ที่มีอำนาจ หน้าที่และรับผิดชอบในการพิจารณาระดับ การกันเงินสำรองสำหรับประเทศคู่สัญญาในแต่ละประเทศที่เหมาะสม
(4) ธนาคารพาณิชย์อาจเลือกกันเงินสำรองเพื่อรองรับความเสี่ยงจากการทำธุรกรรมใน ต่างประเทศเป็นรายประเทศ หรือ เป็นรายลูกหนี้ตามความเหมาะสมก็ได้
(5) ธนาคารพาณิชย์อาจไม่จำเป็นต้องกันเงินสำรองสำหรับความเสี่ยงจากการทำธุรกรรมในต่างประเทศเป็นกรณีเฉพาะ หากระดับการกันเงินสำรองในปัจจุบันอยู่ในระดับที่เพียงพอที่จะรองรับทั้งความเสี่ยงด้านเครดิตและความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญาแล้ว
(6) ธนาคารพาณิชย์ควรจัดทำเอกสารหลักฐาน พร้อมเหตุผลสนับสนุนในการพิจารณากันเงินสำรองสำหรับความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญาที่เหมาะสม หากเป็นกรณีที่มีนัยสำคัญธนาคารพาณิชย์ควรหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ตรวจสอบงบการเงินของธนาคารพาณิชย์
3.6 ระบบการติดตาม
3.6.1 การติดตามสถานการณ์
(1) ธนาคารพาณิชย์ควรมีระบบการติดตามภาวะเศรษฐกิจ สังคม การเมืองของประเทศคู่สัญญาแต่ละประเทศอย่างต่อเนื่อง
(2) ธนาคารพาณิชย์ควรจัดให้มีระบบการติดตามการปฏิบัติตามนโยบายการบริหารความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญาของพนักงานที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องวงเงินในการให้สินเชื่อ ลงทุน และก่อภาระผูกพันแก่คู่สัญญาในต่างประเทศไว้โดยเฉพาะ โดยสามารถติดตามการทำธุรกรรมให้อยู่ภายในวงเงินที่ธนาคารพาณิชย์กำหนดในแต่ละเดือน แต่หากธนาคารพาณิชย์มา
(3) ธนาคารพาณิชย์ควรมีการรวบรวมข้อมูลจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือภายนอกรวมทั้งทบทวนและติดตามภาระหนี้ของประเทศคู่สัญญาเป็นระยะๆ
(4) ธนาคารพาณิชย์ควรมีการติดต่อระหว่างผู้บริหารระดับสูงและผู้จัดการสาขาในต่างประเทศเป็นประจำ และควรมีแผนสำรองฉุกเฉินเพื่อรองรับกรณีที่ประเทศคู่สัญญาประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
(5) ธนาคารพาณิชย์ควรติดตามดูแลโครงสร้างและคุณภาพของพอร์ตสินเชื่อ และการทำธุรกรรมอื่นในประเทศคู่สัญญา เพื่อพิจารณาการกระจุกตัวในการทำธุรกรรมแต่ละประเภท เช่นการให้สินเชื่อในภาคอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งโดยเฉพาะ
3.6.2 การรายงานข้อมูล
(1) ธนาคารพาณิชย์ควรมีระบบการเก็บรวบรวมปริมาณความเสี่ยงและจัดประเภทความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญาที่เชื่อถือได้ระดับที่สามารถลงทุนได้
(2) ธนาคารพาณิชย์ควรมีระบบรายงานข้อมูลที่มีรายละเอียดที่เพียงพอ สามารถครอบคลุม การทำธุรกรรมในต่างประเทศของธนาคารพาณิชย์ในทุกด้าน และมีความถูกต้องเชื่อถือได้ ซึ่งจะทำ ให้ผู้บริการระดับสูงของธนาคารพาณิชย์ทราบฐานะความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญาที่แท้จริง และ สามารถทบทวนนโนบายการทำธุรกรรมในแต่ละประเทศคู่สัญญารวมทั้งระบุข้อยกเว้นในการทำธุรกรรได้ทันเวลา
(3) ธนาคารพาณิชย์ควรมีการรายงานข้อมูลการทำธุรกรรมในต่างประเทศให้คณะ กรรมการของธนาคารพาณิชย์ทราบอย่างสม่ำเสมอ หารระดับความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญาอยู่ใน ระดับที่มีนัยสำคัญ ธนาคารพาณิชย์ควรจะต้องมีรายงานให้คณกรรมการของธนาคารพาณิชย์ ทราบอย่างน้อยทุกไตรมาส และควรมีการเสนอรายงานที่มีความความถี่ขึ้นหากการทำธุรการในประเทศคู่สัยยานั้นมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อฐานะและการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์
3.6.3 การตรวจสอบและควบคุมภายใน
(1) ธนาคารพาณชย์ควรมีระบบการควบคุมภายในเกี่ยวกับกระบวนการบริหารความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญาที่เหมาะสม และควรมีเครื่องมือหรือวธีการในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอย่างเพียงพอ รวมทั้งการทจัดสรรบุคลากร และหน่วยงานที่รับผิดชอบที่มีความสามารถในการทำธุรกรรมในต่างประเทศ
(2)ธนาคารพาณิชย์ควรมีระบบการควบคุมภายในที่ดี เช่น ควรมีการแบ่งแยกหน้าที่ของผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการทำธุรกรรมในต่างประเทศ และผู้ที่มีหน้าที่วิเคราะห์ความเสี่ยงของประเทศคู้สัญญาออกจากกัน และแบ่งแยกหน้าที่ของผู้ทำหน้าที่จัดอันดับความเสี่ยงและผู้อนุมัติวงเงินในการทำธุรกรรมในแต่ละประเทศออกจากกัน
(3)ก่อนที่ธนาคารพาณิชย์จะพิจารณารับสินทรัพย์ใดมาเป็นหลักในการทำธุรกรรมในต่างประเทศ ธนาคารพาณิชย์ควรทีการตรวจสอบให้แน่ใจว่าหลักประกันนั้นเป็นไปตามกฏหมายประเทศนั้น ๆ ได้
ในกรณีธนาคารพาณิชย์มีหลักประกันที่ป็นสินทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดินและอาคาร ธนาคารพาณิชย์ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าธนาคารพาณิชย์สามารถจดจำนอง และมีทรัพย์สิทธิที่สมบูรณ์ ในหลักประกันนั้น ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ควรมีหรือจ้างนักกฏหมายที่มีความเชี่ยงชาญด้านกฏหมาย ระเบียบ และการปฏิบัติในประเทศนั้น ๆ เพื่อตรวจสอบความถูถต้องตามกฏหมายและความสามารถในการบังคับใช้สัญญากู้ยืม การค้ำประกัน และเอกสารอื่นๆ
(4) ธนาคารพาณิชย์ควรลงทุนในหลักทัพย์ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ใน
(Investment Grade) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือภายนอก เช่น Standard & Poor’s(S&P) Moody’s หรือ Fitch เป็นต้น หรือที่มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) หรือที่มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศที่เป็นสมาชิกของ World Federation of Exchanges (WFE)
3.6.4 การทดสอบภาวะวิกฤติ (Stress Test)
(1) ธนาคารพาณิชย์ควรทำการทดสอบภาวะวิกฤติ สำหรับความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญาตามความเหมาะสมของปริมาณธุรกรรม หรือขนาดของความเสี่ยงของแต่ละประเทศ เพื่อประมาณการความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับคู่สัญญาในแต่ละประเทศ แล้วนำผลลัพธ์มาพิจารณาความเพียงพอของเงินกองทุนและการกันเงินสำรอง
(2) ธนาคารพาณิชย์ไม่จำเป็นต้องใช้แบบจำลองทางการเงินที่ยุ่งยากซับซ้อนสำหรับการทดสอบภาวะวิกฤติของความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญา แต่ธนาคารพาณิชย์ควรสามารถประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับความเสี่ยงของประเทศคู่สัญญาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้
(3) ในการทดสอบภาวะวิกฤติ ธนาคารพาณิชย์ควรมีการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กัน(Co- Variance) เพื่อตรวจสอบความเสี่ยงจากผลกระทบต่อเนื่อง (Contagion Risk) โดยเฉพาะประเทศที่อยู่ภูมิภาคเดียวกัน
(4) ธนาคารพาณิชย์ควรมีการทบทวนผลลัพธ์ของการทดสอบภายใต้ภาวะวิกฤติเป็นประจำ และมีการกำหนดขั้นตอนการดำเนินการที่เหมาะสมหากผลลัพธ์ที่ได้เกินกว่าระดับที่ธนาคารพาณิชย์จะยอมรับได้ เพื่อนำไปพิจารณากำหนดนโยบายและวงเงินในการทำธุรกรรมในแต่ละประเทศอย่างเหมาะสมต่อไป
(5) ธนาคารพาณิชย์ควรจัดทำรายงานผลการทดสอบภาวะวิกฤติ เสนอคณะกรรมการของธนาคารพาณิชย์และผู้บริหารระดับสูง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ