(ต่อ1) การกำหนดอัตราส่วนจำนวนเงินที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยให้สินเชื่อ ลงทุน หรือก่อภาระผูกพัน เพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดกับเงินกองทุน

ข่าวกฏหมายและประกาศ Monday January 30, 2006 15:12 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

              (4) การให้สินเชื่อ รับอาวัลตั๋วเงิน รับรองตั๋วเงิน หรือค้ำประกันการกู้ยืมเงินหรือค้ำประกันการขาย ขายลด หรือขายช่วงลดตั๋วเงิน หรือก่อภาระผูกพันอื่นใดโดยมีหลักทรัพย์หรือสิทธิต่อไปนี้เป็นประกัน
(ก) หลักทรัพย์รัฐบาลไทย หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยกระทรวงการคลัง
(ข) หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย
(ค) หุ้น หุ้นกู้ หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
(ง) หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกโดยองค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น
(จ) เงินฝากในธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยนั้น
ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินมูลค่าที่ตราไว้ของหลักทรัพย์หรือสิทธินั้น
(5) การให้สินเชื่อ รับอาวัลตั๋วเงิน รับรองตั๋วเงิน หรือค้ำประกันการกู้ยืมเงิน หรือค้ำประกัน
การขาย ขายลด หรือขายช่วงละตั๋วเงิน หรือก่อภาวะผูกพันอื่นใดเพื่อกระทรวง ทบวง กรมหรือทบวงการเมืองที่มีฐานะเทียบเท่า หรือการให้สินเชื่อ โดยมีกระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย
(6) การให้สินเชื่อ ลงทุนโดยซื้อตราสารแสดงสิทธิในหนี้ หรือก่อภาระผูกพันโดยมีบุคคลอื่นทำข้อตกลงกับธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยนั้นว่า บุคคลอื่นนั้นจะรับความเสี่ยงด้านเครดิต (credit risk) ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยไม่ได้รับชำระเงินคือนหรือกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่กำหนดขึ้นเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้ ( Credit Event) กับผู้รับสินเชื่อ ผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้หรือคู่สัญญาตามภาระผูกพัน อ้างอิง ทั้งนี้ ไม่เกินกว่ามูลค่าความเสียหายที่ผู้รับประกันตกลงจะรับชดเชยให้ภายใต้ข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต หรือไม่เกินจำนวนเงินที่มีสิทธิหักกลบลบหนี้กับผู้รับความเสี่ยงนั้น หรือ ไม่เกินมูลค่าตลาดของหลักทรัพย์รัฐบาลไทยที่นำมาวางเป็นประกันการรับประกันความเสี่ยงของผู้รับประกัน เว้นแต่กรณีที่ข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตไม่เข้าข่ายเป็นการรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตอย่างมีประสิทธิภาพ ให้หารือ ธปท. เกี่ยวกับวิธีการคำนวณอัตราส่วนจำนวนเงินที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยให้สินเชื่อ ลงทุนและก่อภาระผูกพันเพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดกับเงินกองทุนต่อไป
(7) การให้สินเชื่อ ลงทุน โดยซื้อตราสารแสดงสิทธิในหนี้หรือก่อภาระผูกพันเพียงรายใดรายหนึ่งในกลุ่มของสินทรัพย์อ้างอิง ซึ่งมีบุคคลอื่นทำข้อตกลงกับธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยนั้นว่าบุคคลอื่นนั้นจะรับความเสี่ยงด้านเครดิตในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยไม่ได้รับชำระเงินคือหรือกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่กำหนดขึ้นเกี่ยวดับความสามารถในการชำระหนี้ (Credit Event) กับผู้รับสินเชื่อผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้ หรือคู่สัญญาตามภาระผูกพัน อ้างอิงเพียงรายใดรายหนึ่งในกลุ่มของสินทรัพย์ที่มีการโอนความเสี่ยงด้านเครดิตภายใต้ข้อตกลงเดียวกันเป็นรายแรกเพียงรายเดียว
ทั้งนี้ ไม่เกินกว่ามูลค่าความเสียหายที่ผู้รับประกันตกลงจะรับชดเชยให้ภายใต้ข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิต หรือ ไม่เกินจำนวนเงินที่มีสิทธิหักกลบลบหนี้กับผู้รับประกันความเสี่ยงนั้น หรือไม่เกินมูลค่าตลาดของหลักทรัพย์รัฐบาลไทย ที่นำมาวางเป็นประกันการรับประกันความเสี่ยงของผู้รับประกันนั้น และเมื่อธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยเลือกสินทรัพย์ใดให้ได้รับการป้องกันความเสี่ยงทางด้านเครดิต จะต้องอ้างอิงสินทรัพย์นั้นตลอดไปจนครบกำหนดข้อตกลง เว้นแต่ กรณีที่ ข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตไม่เข้าข่ายเป็นการรับประกันความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ ให้หารือ ธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับวิธีการคำนวณอัตราส่วนจำนวนเงินที่ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยให้สินเชื่อ ลงทุน และก่อภาระผูกพันเพื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดกับเงินกองทุนต่อไป
(8) การให้กู้ยืมเงินประเภทชำระคืนเมื่อทวงถาม(Call loan) หรือให้กู้ยืมเงินประเภทมีกำหนดชำระคืนไม่เกินหนึ่งวัน (Overnight loan) แก่ธนาคารพาณิชย์ หรือธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยอื่น
(9) การให้กู้ยืมเงินประเภทมีระยะเวลา(Term loan) ไม่เกิน 12 เดือน เฉพาะสกุลเงินบาทแก่ธนาคารพาณิชย์ หรือธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยอื่น
คุณลักษณะของ่ข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตที่เข้าข่ายการประกันความเสี่ยงด้านเครดิต อย่างมีประสิทธิภาพ
(1) เป็นข้อตกลงที่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย และต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายอื่น หรือไม่เป็นการละเมิดสิทธิตามสัญญาของสินทรัพย์อ้างอิง รวมทั้งคู่สัญญาทุกฝ่ายสามารถทำธุรกรรมซื้อขายข้อตกลงกับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตได้ โดยไม่ขัดกับกฎหมายใด
(2) ผู้ขายข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงต้องไม่มีสิทธิไล่เบี้ยกับผู้ซื้อข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้น
(3) การทำธุรกรรมในรูปแบบที่ผู้ขายข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงนำเงินสดมาวางเป็นหลักประกันการประกันความเสี่ยงให้แก่ผู้ซื้อข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงชำระคืนเงินก่อนกำหนด และต้องมีข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงและผู้ขายข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงว่าผู้ซึ้อข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงจะไม่ถูกเรียกให้จ่ายคืนเงินที่นำมาวางเป็นประกัน อันมีสาเหตุมาจากผู้ขายประกันขากทุนหรือเกิดความเสียหาย
(4) ค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) ระหว่างคุณภาพของสินทรัพย์ที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงและผู้ขายข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงต้องไม่สูงเกินไป
(5) เป็นการโอนความเสี่ยงที่อาจจะเกิดความเสียหายทั้งจำนวน เช่น ไม่มีการกำหนดจำนวนเงินคงที่ที่ผู้ขายข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงจะรับชดเชยเมื่อเกิด Credit Event ไว้เป็นจำนวนเงินที่แน่นอนในข้อตกลง หรือไม่มีการกำหนดความเสียหายขึ้นต่ำก่อนที่ผู้ขายข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงจะรับชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง (Materiality Threshold) เป็นต้น
(6) สินทรัพย์อ้างอิง (Reference Asset) และสินทรัพย์ที่ต้องการป้องกันความเสี่ยง (Underlying Asset) เป็นสินทรัพย์ตัวเดียวกัน เว้นแต่กรณีที่สินทรัพย์ที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงและสินทรัพย์อ้างอิงในธุรกรรม Credit Derivatives มีคุณลักษณะที่เข้าเงื่อนไขต่อไปนี้ทุกประการ ก็อาจอนุโลมให้ถือเป็นการประกันความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพได้
- สินทรัพย์ที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงและสินทรัพย์อ้างอิงในธุรกรรม Credit Derivatives ต้องมีผู้ออกเป็นบุคคลเดียวกัน
- สินทรัพย์อ้างอิงต้องมีลำดับในการเรียกให้รับชำระคืนหนี้เท่าเทียมกับหรือต่ำกว่าสินทรัพย์ที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงและ
- ต้องมีข้อความที่ระบุว่าหากสินทรัพย์รายใดรายหนี่งไม่สามารถชำระคืนหนี้ได้สินทรัพย์อีกรายหนึ่งก็จะต้องไม่สามารถชำระคืนหนี้ได้เช่นเดียวกัน กล่าวคือ สินทรัพย์ทั้งสองจะต้องไม่สามารถชำระคืนหนี้ได้พร้อมกัน
(7) อายุคงเหลือของข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงเท่ากับอายุคงเหลือของสินทรัพย์ที่ต้องการป้องกันความเสี่ยง เว้นแต่กรณีที่ข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงด้านเครดิตที่กล่าวเป็นสัญญามาตรฐาน และมีอายุคงเหลือมากกว่าอายุคงเหลือของสินทรัพย์อ้างอิงอย่างไม่มีสาระสำคัญ
(8) สกุลเงินของข้อตกลงรับประกันความเสี่ยงและสินทรัพย์ที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงเป็นสกุลเงินเดียวกัน
(9) ต้องไม่เป็นการทำธุรกรรมในลักษณะที่มีการซื้อขายสิทธิที่จะซื้อขาย Credit Spread ซึ่งมีการตกลงอัตรากันไว้ล่วงหน้า (Credit Spread Products) หรือธุรกรรมอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน
(10) Credit Event ตามข้อตกลงจะต้องครอบคลุมความเสี่ยงด้านเครดิตทุกกรณี

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ