การซักซ้อมความเช้าใจในรายละเอียดหลักเกณฑ์การปรับเพิ่มอัตราผลตอบแทน(Step up)ของตราสารHybrid Tier1

ข่าวกฏหมายและประกาศ Tuesday March 14, 2006 14:52 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                                            14 มีนาคม 2549
เรียนผู้จัดการ
ธนาคารไทยพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศทุกธนาคาร
ที่ธปท. ฝนส.(21) ว. 347/2549 เรื่อง การซักซ้อมความเช้าใจในรายละเอียดหลักเกณฑ์การปรับเพิ่มอัตราผลตอบแทน(Step up) ของตราสาร Hybrid Tier 1
1. เหตุผลในการออกหนังสือเวียน
เพื่อซักซ้อมความเข้าใจในรายละเอียดหลักเกณฑ์การปรับเพิ่มอัตราผลตอบแทน(STEP UP) ของตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่ไม่สะสมดอกเบี้ยจ่ายและไม่ชำระดอกเบี้ยในปีที่ไม่มีผลกำไร ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Hybrid Tier 1)
2. อำนาจตามกฎหมาย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 และข้อ 5.1 ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารไทยพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศดำรงเงินกองทุน และอ้างอิงถึงหนังสือเวียนที่ธปท.ฝนส.(21)ว. 161/2549 เรื่องหลักเกณฑ์การนับตราสารหนี้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนที่มี่สะสมดอกเบี้ยจ่าย และไม่ชำระดอกเบี้ยในปีที่ไม่มีผลกำไร เป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Hybrid Tier 1) ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 ในข้อ 4.4
3. ขอบเขตการบังคับใช้
ให้ใช้บังคับกับธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคาร
4. เนื้อหา
ธนาคารแห่งประเทศไทยขอซักซ้อมความเข้าใจในรายละเอียดหลักเกณฑ์การปรับเพิ่มอัตราผลตอบแทน (Step up) ของตราสาร Hybrid Tier 1 ตามข้อ 4.4 ของหนังสือเวียนที่ ธปท.ฝนส. (21)ว. 161/2549 ที่ว่าตราสาร Hybrid Tier 1 อาจมีเงื่อนไขปรับเพิ่มอัตราผลตอบแทนให้สูงขึ้น (Step up) ได้เพียงครั้งเดียวภายหลังปีที่ 10 โดยอัตราที่ปรับเพิ่มสุทธิจากอัตราผลตอบแทนเดิม ต้องไม่เกิน 100 basis points ในทุกกรณีนั้น หมายถึง การปรับเพิ่มอัตราผลตอบแทนดังกล่าวต้องไม่เกิน 100 basis points จากอัตราเดิม (กรณีอัตราคงที่) หรือจาก Spread เดิมในวันที่ออกตราสาร (กรณีอัตราลอยตัว) ทั้งนี้ได้แนบตัวอย่างวิธีคิดคำนวณการปรับเพิ่มอัตราผลตอบแทนมาท้ายบันทึกนี้ด้วยแล้ว
จึงเรียนมาเพื่อโปรกทราบและถือปฏิบัติ
ขอแสดงความนับถือ
(ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล)
ผู้ว่าการ
สิ่งที่ส่งมาด้วย ตัวอย่างการปรับเพิ่มอัตราผลตอบแทน (Step up) สำหรับตราสาร Hybrid Tier 1
ฝ่ายนโยบายความเสี่ยง
โทร. 0-2283-6821,0-2356-7688 และ 0-22835804
หมายเหตุ [
] ธนาคารจะจัดให้มีการประชุมชี้แจงในวันที่.......เวลา.........ณ.............
[X
] ไม่มีการจัดประชุมชี้แจง
ตัวอย่างวิธีการคิดคำนวณการปรับเพิ่มอัตราผลตอบแทน
สมมติว่าประสงค์จะปรับเพิ่มอัตราผลตอบแทนหลังปีที่ 10 สำหรับตราสาร Hybird Tier 1 จะแบ่งวิธีคิดคำนวณได้ 3 กรณี ดังต่อไปนี้
1. กรณีปรับเพิ่มจากอัตราผลตอบแทนแบบคงที่
แนวทาง ให้ปรับเพิ่มไม่เกิน 1% จากอัตราที่กำหนดไว้เดิมในปีที่ 1-10 เช่น
อัตราเดิม(ปีที่ 1-10) อัตราคงที่ 7%
อัตราใหม่(ปีที่ 11 เป็นต้นไป) อัตราคงที่ 8%
2. กรณีปรับเพิ่มจากอัตราผลตอบแทนแบบลอยตัว
แบ่ง เป็น 2 กรณี ดังนี้
2.1 กรณีไม่เปลี่ยนประเภทอัตราผลตอบแทนอ้างอิง
แนวทาง ให้ปรับเพิ่มไม่เกิน 1% จาก Spread เดิมในวันที่ออกตราสาร เช่น
อัตราเดิม (ปีที่ 1-10) 10-yr US Treasury+Spread 1.5%(Spread ในวันที่ออกตราสาร)
อัตราใหม่ (ปีที่ 11 เป็นต้นไป) 10-yr US Treasury+Spread 2.5%(Spread เดิม 1.5%)
2.2 กรณีเปลี่ยนประเภทอัตราผลตอบแทนอ้างอิง
แนวทาง ให้ปรับเพิ่มไม่เกิน 1% จาก Spread เดิม(ในวันที่ออกตราสาร) ของอัตราผลตอบแทน
อ้างอิงใหม่เมื่อเปรียบเทียบกับผลตอบแทนในวีนที่ออกตราสารตัวอย่างเช่น เปลี่ยนประเภท
อัตราอ้างอิงจาก 10-yr US Treasury ไปเป็น LIBOR
อัตราเดิม(ปี่ที่ 1-10 )สมมติว่า 10-yr US Treasury อยู่ที่ 5% ในวันที่ออกตราสาร+Spread 2% = 7%
ขณะเดียวกันที่ออกตราสารนั้น Libor เท่ากับ 5.5% ดังนั้น ในอัตรา 7% นี้เทียบเท่ากับมี
Spread on Libor 7%-5.5% = 1.5%
อัตราใหม่(ปีที่ 10 เป็นต้นไป)LIBOR+Spread 2.5% (Spread เดิม 1.5%+1% )
3. กรณีปรับเพิ่มอัตราผลตอบแทนคงที่ไปเป็นแบบลอยตัว ดังนี้
แนวทาง ให้ปรับเพิ่มไม่เกิน 1% จาก Spread เดิม (ในวันที่ออกตราสาร) ของอัตราผลตอบแทนแบบลอยตัวที่
จะใช้หลังปีที่ 10 เมื่อทียบกับอัตราผลตอบแทนในวันที่ออกตราสาร ตัวอย่างเช่น เปลี่ยนอัตราคงที่ไป
เป็นอัตราแบบลอยตัว LIBOR+Spread
อัตราเดิม (ปีที่ 1-10)อัตราคงที่ 7% (สมมติว่าในวันที่ออกตราสาร LIBOR เท่ากับ 5.5%) ดังนั้น อัตรา7%
เทียบเท่ากับมี Spread on LIBOR อยู่ในอัตรา 1.5%)
อัตราใหม่ (ปีที่ 11 เป็นต้นไป) LIBOR+Spread 2.5% (spread เดิม 1.5%+1%) (อัตราลอยตัว)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ