(ต่อ1) ขอความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการป้องปราม การเก็งกำไรค่าเงินบาท

ข่าวกฏหมายและประกาศ Friday November 3, 2006 12:03 —ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย

                    2) การทำธุรกรรมซื้อเงินตราต่างประเทศแลกเงินบาท Value Same Day หรือ Value Tomorrow เพื่อบรรเทาผลกระทบแก่ NR ที่ขาดสภาพคล่องเงินบาทตามข้อ 7
3) การทำธุรกรรมซื้อเงินตราต่างประเทศแลกเงินบาท Value Same Day หรือ Value Tomorrow ระหว่างธนาคารพาณิชย์ไทยกับสาขาของตนเองที่ตั้งอยู่ในประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามตามข้อ 9.4
4. มาตรการดูแลเงินทุนนำเข้าระยะสั้น
4.1 หลักทั่วไป
การกู้ยืมเงินบาท หรือทำธุรกรรมที่มีผลเสมือนการกู้ยืมเงินบาทจาก NR เช่น การกู้ยืมเงินบาทโดยตรง การออกตราสารหนี้เงินบาทระยะสั้นขายให้ NR ธุรกรรมซื้อ FX/THB Outright Forward ธุรกรรม Sell-Buy FX/THB Swap ธุรกรรม FX Option ธุรกรรมขายเงินตราต่างประเทศแลกเงินบาท Value Same Day หรือ Value Tomorrow ธุรกรรม Repurchase Agreement เป็นต้น ที่มีอายุสัญญาไม่เกิน 3 เดือน ให้สถาบันการเงินทำได้โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
(1) กรณีไม่มี Underlying รองรับ ให้ทำได้รวมวงเงินคงค้างในทุกธุรกรรมของสถาบันการเงินทุกแห่งไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อกลุ่ม NR
(2) กรณีที่มี Underlying รองรับ ให้ทำได้ไม่เกินมูลค่า Underlying
การกู้ยืมเงินบาทหรือทำธุรกรรมที่มีผลเสมือนการกู้ยืมเงินบาทจาก NR ที่มีอายุสัญญาเกิน 3 เดือน ให้ทำได้โดยไม่ต้องมี Underlying รองรับ
ทั้งนี้ การทำธุรกรรมการกู้ยืมเงินบาทหรือทำธุรกรรมที่มีผลเสมือนการกู้ยืมเงินบาทจาก NR ให้สถาบันการเงินถือปฏิวัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 4.2
4.2 หลักเกณฑ์เฉพาะธุรกรรม
4.2.1 การออกตั๋วแลกเงินเพื่อกู้ยืมเงินบาทจาก NR
ธปท.ไม่มีนโยบายให้สถาบันการเงินออกตั๋วแลกเงินเพื่อกู้ยืมเงินบาทจาก NR ทุกอายุสัญญา
4.2.2 การทำธุรกรรมอนุพันธ์อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยน และดัชนีอัตราแลกเปลี่ยน
(1) อนุญาตให้สถาบันการเงินทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินอ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยน และดัชนีอัตราแลกเปลี่ยนที่มีผลเป็นการกู้เงินบาท หรือเสมือนการกู้เงินบาทจาก NR ที่มีอายุไม่เกิน 3 เดือน ดังต่อไปนี้
(ก) ธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินขั้นพื้นฐาน (Plain Vanilla Derivatives) ได้แก่ การซื้อ FX/THB Forward, Sell-Buy FX/THB Swap, Sell-Buy FX/THB Cross Currency Swap, การขาย FX/THB Put Option และซื้อ FX/THB Call Option
(ข) ธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินที่มีความซับซ้อน (Structured Derivatives) ได้แก่ ประเภทธุรกรรมตามขอบเขตประกาศ ธปท. ที่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินที่มีความซับซ้อน ซึ่งเป็นการกู้เงินบาท หรือเสมือนการกู้เงินบาทจาก NR
(2) ก่อนสถาบันการเงินทำธุรกรรมกับ NR สถาบันการเงินต้องตรวจสอบหลักฐาน Underlying ว่าสอดคล้องกับธุรกรรมที่สถาบันการเงินจะทำกับ NR หรือไม่ เช่น จำนวนเงิน ระยะเวลา วันส่งมอบเงิน เป็นต้น
(3) ภายหลังจากที่สถาบันการเงินได้ทำธุรกรรมกับ NR แล้ว สถาบันการเงินจะต้องตรวจสอบหลักฐาน Underlying ให้ถูกต้องครบถ้วน และติดตามอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยทุก 2 สัปดาห์เพื่อให้แน่ใจว่ามูลค่า Underlying ไม่ต่ำกว่าวงเงินของธุรกรรมตลอดอายุของสัญญา หากมูลค่า Underlying ลดลงต่ำกว่าวงเงินของธุรกรรม สถาบันการเงินต้องปิดธุรกรรมกับ NR ให้เหลือวงเงินไม่เกินกว่ามูลค่าของ Underlying โดยพลัน
(4) ธุรกรรมที่นอกเหนือไปจากธุรกรรมตาม (1) ให้ขออนุญาต ธปท.รายกรณีตามขั้นตอนในข้อ 10 สำหรับธุรกรรมที่สะถาบันการเงินไม่แน่ใจว่าขัดมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทหรือไม่ ให้สถาบันการเงินหรือฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ ก่อนดำเนินการ
4.2.3 การาทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินด้านตราสารหนี้
ไม่ให้สถาบันการเงินทำธุรกรรม Bond Forward หรือ Bond Option ที่เกี่ยวข้องกับเงินบาทกับ NR
4.2.4 การทำธุรกรรมขายเงินตราต่างประเทศแลกเงินบาทที่มีกำหนดส่งมอบในวันเดียวกัน (Value Same Day) หรือที่มีกำหนดส่งมอบในวันรุ่งขึ้น (Value Tomorrow)
สถาบันการเงินสามารถทำธุรกรรมขายเงินตราต่างประเทศแลกเงินบาท Value Same Day หรือ Value Tomorrow กับ NR ได้โดยมีเงื่อนไขดังนี้
(1) กรณีที่ไม่มี Underlying รองรับ ให้ทำได้รวมวงเงินคงค้างในทุกธุรกรรมของสถาบันการเงินทุกแห่งไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อกลุ่ม NR
(2) กรณีที่มี Underlying รองรับให้ทำได้ไม่เกินมูลค่า Underlying โดยไม่ต้องขออนุญาต ธปท.เป็นรายกรณี
4.2.5 การผ่อนผันสำหรับ NR ที่เป็นสถาบันการเงินที่กระทรวงการคลังอนุญาตให้ออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุลเงินบาท
ธปท.ผ่อนผันให้สถาบันการเงินสามารถกู้เงินบาท หรือทำธุรกรรมเสมือนกู้ยืมเงินบาทที่มีอายุสัญญาไม่เกิน 3 เดือนโดยไม่มี Underlying รองรับได้ในกรณีที่เป็นการกู้ยืมจาก NR ที่เป็นสถาบันสการเงินที่ได้รับอนุญาตให้ออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุลเงินบาทจากกระทรวงสการคลังแต่ก่อนทำธุรกรรมต้องให้ NR ดังกล่าวยืนยันว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินบาทที่ได้จากบัญชี Special Non-resident Baht Account(SNA)
5.มาตรการดูแล Non-resident Baht Account (NRBA)
5.1 หลักทั่วไป
5.1.1 ในการเปิดบัญชี NRBA เพื่อวัตถุประสงค์ในการ settlement ของ NR ให้เปิดเป็นบัญชีประเภทเงินฝากกระแสรายวันหรือเงินฝากออมทรัพย์เท่านั้น สำหรับการเปิดบัญชีเพื่อการอื่น ให้เปิดเป็นบัญชีเงินฝากประจำอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป
5.1.2 ให้สถาบันการเงินงดการจ่ายดอกเบี้ยบัญชี NRBA ประเภทเงินฝากกระแสรายวันและเงินฝากออมทรัพย์ เว้นแต่กรณีที่เจ้าของบัญชีเป็นธนาคารกลางของประเทศอื่นหรือได้รับอนุญาตจาก ธปท.เป็นรายกรณี
5.1.3 ให้สถาบันการเงินคุมบัญชี NRBA ให้มียอดคงค้าง ณ สิ้นวันไม่เกิน 300 ล้านบาทต่อราย โดยให้นับรวมบัญชี NRBA ทุกประเภทของ NR รายนั้นที่มีอยู่กับสถาบันการเงินในประเทศทุกแห่ง เว้นแต่กรณีที่ได้รับอนุญาตจาก ธปท.เป็นรายกรณี
5.1.4 ให้สถาบันการเงินจัดเตรียมข้อมูลไว้ให้ ธปท.สามารถจะเข้าตรวจสอบได้ตลอดเวลา และขอให้สถาบันการเงินกำกับดูแลให้การใช้บัญชี NRBA เป็นไปตามวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ธุรกรรมการค้าและการลงทุนในประเทศไทยเท่านั้น
5.2 การดำเนินการกรณีที่ NR มียอดคงค้างในบัญชี NRBA ณ สิ้นวันเกินกว่าวงเงินที่กำหนด
ในระหว่างวัน ยอดคงค้างในบัญชี NRBA สามารถมียอดเกินกว่าวงเงินที่ ธปท. กำหนดได้ แต่ยอดคงค้างของบัญชีดังกล่าว ณ สิ้นวัน ต้องลดลงให้อยู่ภายในวงเงินที่ ธปท.กำหนด โดยสถาบันการเงินควรจัดการชำระเงินตามรายการของ NR ผ่านบัญชี NRBA โดยเฉพาะรายการที่มีเงินจำนวนสูงมากให้เสร็จสิ้นก่อนเวลา 15.30 น. เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถบริหารยอดคงค้างของบัญชี NRBA ณ สิ้นวันให้อยู่ในวงเงินที่ ธปท.กำหนดได้สะดวกขึ้น
ภายในเวลา 15.30 น. หาก สถาบันการเงินใดมีบัญชี NRBA ที่มียอดคงค้างเกินกว่าวงเงินที่ ธปท.กำหนด ให้สถาบันการเงินติดต่อ NR เจ้าของบัญชีให้ลดยอดเงินในบัญชี NRBA ดังกล่าว โดยให้ดำเนินการในแต่ละกรณีดังนี้
5.2.1 กรณีสถาบันการเงินสามารถติดต่อ NR เจ้าของบัญชีได แต่ NR รายนั้นไม่สามารถลดยอดคงค้างในบัญชี NRBA ได้ภายในเวลา 16.00 น.
(1) สถาบันการเงินผู้รักษาบัญชีจะต้องแจ้งแก่ NR รายนั้นให้ขายเงินบาท Value Same Day ในส่วนที่เกินกว่าวงเงินที่ ธปท.กำหนดให้แก่สถาบันการเงิน โดยสถาบันการเงินนั้นจะต้องขายเงินบาทดังกล่าวเต็มจำนวนกับ ธปท.ในลักษณะ back-to-back ด้วย ทั้งนี้ ธปท.จะเป็นผู้พิจาณากำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้ในการรับซื้อตามความเหมาะสม
(2) หาก NR ไม่ดำเนินการตาม (1) เพื่อลดยอดคงค้างบัญชี NBRA ให้สถาบันการเงินติดต่อ ธปท.โดยเร็ว และ ธปท.อาจสั่งให้ สถาบันการเงินทำธุรกรรมขายเงินบาท Value Same Day กับ ธปท.เป็นจำนวนเงินเท่ากับส่วนที่เกินวงเงินที่ ธปท.กำหนด โดย ธปท.จะเป็นผู้พิจารณากำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้ในการรับซื้อตามความเหมาะสม และให้สถาบันการเงินไปไล่เบี้ยเก็บค่าใช้จ่ายกับ NR เจ้าของบัญชีเอง ในกรณีที่ ธปท. พิจารณาแล้วเห็นสมควรดำเนินการดังกล่าว
ทั้งนี้ ในการติดต่อกับ ธปท.เพื่อทำธุรกรรมขายเงินบาท Value Same Day ให้สถาบันการเงินติดต่อ ธปท.ภายในเวลา 16.30 น. เพื่อดำเนินการต่อไป
5.2.2 กรณีที่สถาบันการเงินสามารถติดต่อ NR เจ้าของบัญชีได้ และประสงค์จะขอผ่อนผันให้ NR เป็นกรณีพิเศษเฉพราะราย
(1) สถาบันการเงินจะต้องแจ้งให้ ธปท. ทราบทางโทรศัพท์เพื่อพิจารณาอนุญาตก่อนเวลา 16.00 น. ของวันนั้น พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลความจำเป็น และส่งข้อมูลพร้อมทั้งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น เรื่อง NR เจ้าของบัญชีที่ต้องการขออนุญาต ยอดคงค้าง NRBA โดยได้ส่ง Statement ของบัญชีดังกล่าวมาด้วย และเอกสารหลักฐานแสดง Underlying ซึ่งระบุวันที่จ่ายเงินเป็นวันรุ่งขึ้นมาทางโทรสาร
(2) ธปท.จะอนุญาตเฉพาะกรณีที่ NR เจ้าของบัญชี มีภาระต้องเตรียมเงินบาทเพื่อใช้ชำระธุรกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการค้าการลงทุนในประเทศไทยในวันรุ่งขึ้นเท่านั้น โดย ธปท.จะแจ้งผลการพิจารณาไให้สถาบันการเงินทราบทางโทรศัพท์ภายในเวลา 16.10 น.
(ก) หาก ธปท. พิจารณาอนุญาตให้ยอดคงค้างในบัญชี NRBA ที่สถาบันการเงินขอมาเกินกว่า 300 ล้านบาทได้ สถาบันการเงินต้องจัดการให้ NR ลดยอดคงค้างบัญชีดังกล่าวให้อยู่ภายในวงเงินที่ ธปท.กำหนดภายในวันรุ่งขึ้นทันที โดยในวันรุ่งขึ้นสถาบันการเงินต้องส่งเอกสารยืนยันแก่ ธปท. ทางโทรสารว่าได้มีการใช้จ่ายเงินบาทออกไปจากบัญชี NRBA ตามที่ได้แจ้ง ธปท.ไว้ได้แก่ Statement ของบัญชี NRBA ภายหลังจากที่มีการจ่ายเงิน พร้อมทั้ง เอกสารคำสั่งจ่ายเงิน (payment instruction)
(ข) หาก ธปท.พิจารณาไม่อนุญาต สถาบันการเงินต้องแจ้งให้ NR ทราบภายในเวลา 16.20 น.และแจ้งให้ NR ลอยอดเงินใน NRBA ลงโดยดำเนินการตามข้อ 5.2.1 (1) และ (2)
5.2.3 กรณีที่สถาบันการเงินไม่สามารถติดต่อ NR ได้
ไม่ว่าในกรณีใดๆ ให้สถาบันการเงินแจ้งให้ ธปท.ทราบพร้อมทั้งจัดส่งเอกสารให้ ธปท.ตามที่ ธปท.จะกำหนด
6. มาตรการดูแลธุรกรรม Non-Deliverable Forward (NDF)
ให้สถาบันการเงินระงับการทำธุรกรรม NDF อ้างอิงเงินบาทกับ NR ยกเว้นกรณี rollover สัญญาเดิม หรือกรณีที่จำเป็นต้องยกเลิกสัญญาที่ทำไว้ (Unwind) เนื่องจากเกิดจากความผิดพลาดของลูกค้าคู่สัญญาที่ไม่สามารถนำเงินมาชำระเต็มมูลค่าสัญญาได้
7. การบรรเทาผลกระทบแก่ NR ที่ขาดสภาพคล่องเงินบาท
กรณี NR ขาดสภาพคล่องเงินบาทในบัญชี NRBA ณ สิ้นวันเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดตามมาตรการจำกัดการปล่อยสภาพคล่องเงินบาท โดยไม่มี Underlying หรือไม่สามารถตรวจสอบ Underlying ได้อย่างชัดเจน สถาบันการเงินสามารถทำธุรกรรมรับซื้อเงินตราต่างประเทศแลกเงินบาท Value Same Day กับ NR โดยมีหลักเกณฑ์และขั้นตอนปฏิบัติ ดังนี้
7.1 การขาดสภาพคล่องเงินบาทในบัญชีเงินบาทของ NR ณ สิ้นวัน ต้องเกินจาก NR บริหารเงินไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และไม่มีเจตนาที่จะกู้ยืมเงินบาทที่ขัดกับมาตรการป้องปราบการเก็งกำไรค่าเงินบาท
7.2 สถาบันการเงินกู้รักษาบัญชีเงินบาทของ NR แก่เจ้าหน้าที่ ธปท.และส่งรายละเอียดขอ้มูล อาทิ จำนวนรายการ จำนวนเงินค้างรับ ค้างจ่าย ชื่อบัญชีเงินบาทของผู้จ่ายหรือผู้รอรับเงิน ชื่อสถาบันการเงินผู้จ่ายเงินและผู้รับเงินทางโทรสาร โดยให้ดำเนินการก่อนเวลา 16.00 น. ของวันนั้น
7.3 ให้สถาบันการเงินผู้รักษาบัญชีเงินบาทของ NR แจ้งให้ NR ทราบว่า ธปท.ผ่อนผันให้ NR ที่มีปัญหาขาดสภาพคล่องเงินบาทตามข้อ 7.1 สามารถขายเงินตราต่างประเทศแลกเงินบาท Value Same Day กับสถาบันการเงินในประเทศได้ เพื่อนำเงินบาทที่ได้ไปแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่องเงินบาทของตน
7.4 สถาบันการเงินในประเทศผู้รับซื้อเงินตราต่างประเทศจาก NR รายดังกล่าวจะต้องนำเงินตราต่างประเทศที่ได้รับซื้อมาขายต่อให้ ธปท.ทั้งจำนวน (back-to-back) ทั้งนี้ ธปท.จะเป็นผู้พิจารณากำหนดอัตราแลกเปลี่ยนสที่ใช้ในการรับซื้อตามความเหมาะสม โดยให้ดำเนินการก่อนเวลา 16.30 น. ของวันนั้น
7.5 ให้สถาบันการเงินที่รอรับเงินจาก NR ผู้ขาดสภาพคล่องรายดังกล่าว ติดต่อ ธปท.ก่อนดำเนินการใดๆ เพื่อแก้ไขปัญหาโดยให้ดำเนินการก่อนเวลา 16.15 น.ของวันนั้น
8. การดูแลบัญชี Special Non-resident Baht Account (SNA)
8.1 ให้สถาบันการเงินบัญชี SNA สำหรับ NR ได้ ดังต่อไปนี้
8.1.1 บัญชี SNA เพื่อการปล่อยกู้เงินบาท โดยตรงแก่ NR ในประเทศเพื่อนบ้าน ตามข้อ 3.2.1 (2) ได้หนึ่งบัญชี
8.1.2 บัญชี SNA เพื่อ NR ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ออกจำหน่ายพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุลเงินบาทในประเทศได้หนึ่งบัญชี โดยก่อนเปิดบัญชี โดยก่อนเปิดบัญชี สถาบันการเงินต้องเรียกให้ผู้ขอเปิดบัญชีแสดงหนังสือ ธปท. ที่อนุญาตให้เปิดบัญชีดังกล่าวได้ และให้ผู้ขอเปิดบัญชียืนยันว่าไม่มีบัญชี SNA ที่สถาบันการเงินอื่น
8.2 ให้สถาบันการเงินผู้รักษาบัญชีดังกล่าวแจ้งชื่อ และเลขที่บัญชีของ SNA ดังกล่าวให้ ธปท.ทราบภายหลังการเปิดบัญชี และต้องแจ้งให้ ธปท. ทราบทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงชื่อหรือเลขที่บัญชีหรือมีการปิดบัญชีนั้น
8.3 การนำเงินบาทเข้าหรือถอนเงินบาทจากบัญชี SNA ตามข้อ 8.1.1 ให้ปฏิบัติ ดังนี้
8.3.1 เงินบาทที่นำเข้าบัญชี SNA ต้องเป็นเงินบาทที่ NR ได้จากการกู้ยืมโดยตรงจากสถาบันการเงินในประเทศไทย ตามที่ได้รับอนุญาตจาก ธปท.ตามข้อ 3.2.1(2)
8.3.2 เงินบาทที่ถอนจากบัญชี SNA ต้องเป็นไปเพื่อธุรกรรมดังต่อไปนี้
(1) การซื้อสินค้าและบริการในประเทศไทย หรือชำระภาระผูกพันให้แก่บุคคลไทยเท่านั้น
(2) แปลงเป็นเงินตราต่างประเทศได้เฉพาะกรณีที่ NR ต้องการซื้อเงินตราต่างประเทศโดยได้แจ้งเหตุผลและความจำเป็นที่ชัดเจนไว้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ยื่นคำของอนุมัติโครงการกู้หรือลงทุนดังกล่าว
8.4 การนำเงินบาทเข้าหรือถอนเงินบาทจากบัญชี SNA ตามข้อ 8.1.2 ให้ปฏิบัติดังนี้
8.4.1 เงินบาทเข้าหรือถอนเงินบาทจากบัญชี SNA ตามข้อ 8.1.2 ให้ปฏิบัติดังนี้
(1) เงินบาทที่ NR ได้จากการออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุลเงินบาทตามที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง โดยการนำเงินบาทเข้าในบัญชี SNAในกรณีดังกล่าวจะต้องได้รับอนุญาจากเจ้าพนักงานควบคุมแลกเปลี่ยนเงินก่อน
(2) เงินบาทที่ได้รับชำระคืนจากธุรกรรมที่ ธปท.ผ่อนผัน ให้ NR เจ้าของบัญชีSNA ทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินในประเทศได้ 4.2.5
8.4.2 เงินบาทที่ถอนจากบัญชี SNA ต้องเป็นไปเพื่อธุรกรรมดังต่อไปนี้
(1) การค้า การบริการ การลงทุน หรือการให้กู้ยืมในประเทศไทย หรือในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งได้แก่ สหภาพพม่า สาธารณรัฐกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
(2) แปลงเป็นเงินตราต่างประเทศผ่านธุรกรรม Swap กับสถาบันการเงินในประเทศ
(3) บริหารสภาพคล่องเงินบาท โดยให้กู้ยืมระยะสั้นกับสถาบันการเงินในประเทศ เช่น ธุรกรรม Swap การลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น การทำธุรกรรม Private Repo เป็นต้น ตลอดจนฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยรูปบัตรเงินฝาก (Certificantes of deposits) หรือเงินฝากประจำที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือนได้ เฉพาะ NR ที่เป็นสถาบันการเงิน และได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังให้ออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุลเงินบาท
8.5 ธปท.ผ่อนผันให้ยอดคงค้าง ณ สิ้นวันของบัญชี DNS ตามระเบียบนี้มีจำนวนเกินกว่า 300 ล้านบาทได้
8.6 หากสถาบันการเงินผู้รักษาบัญชี SNA ประสงค์จะจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากในบัญชีดังกล่าวให้ทำได้เช่นกับบัญชีเงินฝากทั่วไป
8.7 ไม่อนุญาตให้มีการทำธุรกรรมโอนเงินระหว่างบัญชี SNA,NRBA และบัญชีเงินบาทพิเศษ (Special Nornresident Baht Account: บัญชี SNRBA) หรือการโอนเงินระหว่างบัญชี SNA ด้วยกันเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก ธปท. เป็นรายกรณี
8.8 ให้สถาบันการเงินผู้รักษาบัญชี SNA ต้องดูแลให้การฝากถอนเงินบาทจากบัญชีดังกล่าวเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดและจัดรายงานตามแบบที่ ธปท. กำหนด ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องพร้อมที่จะให้ข้อมูลและเอกสารหลักฐานแก่ ธปท. เกี่ยวกับการทำธุรกรรมตามที่ร้องขอ
9. การทำธุรกรรมระหว่างธนาคารพาณิชย์ไทย และสาขาของตนที่ตั้งอยู่ในประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
9.1 การทำธุรกรรมระหว่างธนาคารพาณิชย์ไทยและสาขาของตนเองที่ตั้งอยู่ในประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ไม่ถือเป็นาการทำธุรกรรมกับ NR ตามมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท
9.2 กรณีที่ธนาคารพาณิชย์ไทยให้กู้ยืมเงินบาทแก่สาขาของตนเองในประเทศดังกล่าว ให้ธนาคารพาณิชย์ไทยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
9.2.1 กรณีผู้กู้นำเงินบาทที่ได้จากการกู้ยืมดังกล่าว ไปให้กู้ยืมแก่ NR โดยไม่มีธุรกรรมการค้าการลงทุนในประเทศไทยหรือประเทศที่มีพรมแดนติดประเทศไทยและสาธารรัฐสังคมนิยมเวียดนามรองรับ ให้ทำได้ภายในาวงเงินคงค้างไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อกลุ่ม NR
9.2.2 กรณีผู้กู้นำเงินบาทที่ได้จากการกู้ยืมดังกล่าวไปให้ผู้กู้ยืมเกินกว่าวงเงินคงค้าง 50 ล้านบาทต่อกลุ่ม NR ต้องปฏิบัติดังนี้
(1) เงินกู้ดังกล่าวต้องนำไปให้กู้ยืมแก่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศที่มีพรมแดนติดประเทศไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยมีวัตถุประสงค์การกู้เพื่อการค้าและการลงทุนในประเทศดังกล่าวเท่านั้น
(2) ในกรณีให้กู้ยืมแก่ NR นอกจากที่กล่าวในข้อ (1) ให้กู้ยืมได้เฉพาะกรณีนำมาใช้เพื่อการค้าและการลงทุนในประเทศไทยหรือประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเท่านั้น
9.3 กรณีที่ธนาคารพาณิชย์ไทยกู้ยืมเงินบาทที่มีอายุสัญญาไม่เกิน 3 เดือนจากสาขาของตนเองที่ตั้งอยู่ในประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทยและสาธารณรัฐรัฐสังคมนิยมเวียดนามให้ซักซ้อมความเข้าใจให้ชัดเจนก่อนกู้ยืมเงินบาทดังกล่าวว่า เงินบาทที่ได้จากการกู้ยืมเงินบาทที่ได้จากลูกค้าของสาขาธนาคารพาณิชย์ไทยนั้นๆ ซึ่งเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศมีพรมแดนติดกับประเทศไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม หรือที่ได้มาจากธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยเท่านั้น
9.4 อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ไทยสามารถรับซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศแลกเงินบาท Value Same Day หรือ Value Tomorrow กับสาขาของตนเองที่ตั้งอยู่ในประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
9.5 ธนาคารพาณิชย์ไทยที่ให้กู้ยืมและกู้ยืมตามข้อ 9.2 และ 9.3 ต้องกำกับดูแลการให้กู้ยืมหรือการกู้ยืมเงินบาทดังกล่าวให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดและจัดทำรายงานตามแบบที่ ธปท.กำหนด ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ไทยดังกล่าวต้องพร้อมที่จะให้ข้อมูลและเอกสารหลักฐานแก่ ธปท.เกี่ยวกับการทำธุรกรรมตามที่ร้องขอ
10. การหารือและขั้นตอนการขออนุญาตทำธุรกรรม
กรณีสถาบันการเงินไม่แน่ใจว่าธุรกรรมใด เข้าข่ายต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท ให้หารือ ธปท.ก่อนดำเนินการ
สำหรับธุรกรรมที่ต้องขออนุญาต ธปท. ก่อนดำเนินการ ให้สถาบันการเงินดำเนินการดังนี้
10.1 สถาบันการเงินซื้อขออนุญาต ธปท.ก่อนดำเนินการ ให้สถาบันการเงินดำเนินการดังนี้
10.2 สถาบันการเงินประเมินความเสี่ยงกรณีที่สถาบันการเงินจะปล่อยสภาพคล่องเงินงาทหรือกู้ยืมเงินบาทจาก NR
11. การจัดการเอกสารหลักฐาน
ให้สถาบันการเงินตรวจสอบหลักฐานแสดงการค้าการลงทุนในประเทศไทยให้ถูกต้องครบถ้วนพร้อมทั้งลงนามและวันที่ที่ตรวจสอบลงในเอกสารที่เกี่ยวข้องทุกรายการ แล้วจัดเก็บหลักฐานไว้ให้ ธปท.ตรวจสอบได้ไม่น้อยกว่า 3 ปี นับแต่วันที่สถาบันการเงินทำธุรกรรมกับ NR
12. การรายงาน
ให้สถาบันการเงินจัดทำรายงานตามแบบและวิธีการที่ ธปท.กำหนด
13. มาตรการในกรณีที่สถาบันการเงินไม่ปฏิบัติตามมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท
ในกรณีที่สถาบันการเงินจำดำเนินการไม่สอดคล้องกับมาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาทหรือไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนด ธปท.อาจสั่งให้สถาบันการเงินหยุดหรือยกเลิกการทำธุรกรรมดังกล่าว ตลอดจนมีสิทธิระงับการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนกัน ธปท. และธุรกรรมอื่นๆ ที่ธปท.เห็นสมควร รวมทั้งอาจถูกระงับสิทธิอื่นๆ ในอนาคตด้วย
14. บทเฉพาะกาล
สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตให้ทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินอยู่ก่อนวันที่มาตรการป้องปรามฯฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรการป้องปรามฯ ฉบับนี้
ทั้งนี้ สำหรับธุรกรรมที่ได้รับอนุญาตไปแล้วก่อนหน้านี้ หากไม่อยู่ในกรอบการทำธุรกรรมตามมาตรการป้องปรามฯ ฉบับนี้ สถาบันการเงินจะทำธุรกรรมดังกล่าวไม่ได้อีก ส่วนธุรกรรมที่ทำไปแล้วอนุญาตให้คงธุรกรรมดังกล่าวไว้ได้จนครบกำหนดอายุตามสัญญา โดยไม่อนุญาตให้มีการต่ออายุสัญญาเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก ธปท.
ฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ
สายตลาดการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทย
วันที่ 3 พฤศจิกายน 2549

แท็ก เงินบาท  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ