ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจไตรมาสที่ 4/2553 (ตุลาคม - ธันวาคม 2553) จากการสอบถามนักธุรกิจ จำนวน 1,870 ราย คาดว่าดีขึ้นร้อยละ 45.2 ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 44.9 และไม่ดีร้อยละ 9.9 คิดเป็นค่าดัชนีเท่ากับ 67.6 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเส้น 50 แสดงถึงความเชื่อมั่นของนักธุรกิจต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเมืองและค่าเงินบาทที่แข็งเกินไป ส่งผลกระทบต่อการส่งออก
สำหรับการคาดการณ์ของนักธุรกิจในปี 2554 ดัชนี มีค่า 75.2 ส่วนใหญ่มองว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้นร้อยละ 58.6 ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 33.4 และไม่ดีร้อยละ 8.0
การสำรวจ ดัชนี ไตรมาสที่ 4/53 ปี 2554 1. ผลประกอบการของกิจการ 64.37 0.7 2. ต้นทุนหลักต่อหน่วยสินค้าและบริการ 73.27 6.4 3. การจ้างงานในธุรกิจ 54.65 9.7 4. การขยายกิจการของธุรกิจ 54.05 8.9
ภาค จำนวน ดัชนี (ราย) ไตรมาสที่ 4/53 ปี 2554 1. กรุงเทพฯ และปริมณฑล 230 73.2 80.0 2. ภาคกลาง 288 59.5 69.5 3. ภาคเหนือ 455 71.6 77.7 4. ภาคตะวันออก 117 70.5 75.7 5. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 440 63.6 71.6 6. ภาคใต้ 340 69.7 78.2
สาขา จำนวน ดัชนี (ราย) ไตรมาสที่ 4/53 ปี 2554 1. เกษตรกรรม 167 68.4 76.4 2. อุตสาหกรรม 462 65.5 71.4 3. พาณิชยกรรม 776 64.1 69.8 4. ก่อสร้าง 63 61.1 69.4 5. การเงินและประกันภัย 98 76.5 83.0 6. บริการ 304 67.2 72.7
1. ภาวะธุรกิจทั่วไป
ภาพรวมภาวะธุรกิจดีขึ้น แต่ผู้ประกอบการยังไม่แน่ใจในสถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจของปี 2553 ที่ฟื้นตัว เป็นการฟื้นตัวในบางภาคส่วน เช่น ธุรกิจส่งออก อุตสาหกรรมเกษตร ฯลฯ และการแข็งค่าของเงินบาท ส่งผลกระทบต่อการแข่งขันในตลาดโลก
2. ภาวะธุรกิจในสาขาต่าง ๆ
เกษตรกรรม เกิดภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ทำให้ผลผลผลิตเสียหาย แต่ราคาอยู่ในเกณฑ์ดี อุตสาหกรรม ค่าเงินบาทแข็งเกินไป ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกพาณิชยกรรม การแข่งขันทางการค้าสูงมาก ภาวะการค้าทั่วไปซบเซา กำลังซื้อลดลง จากความไม่เชื่อมั่นและการประหยัดการใช้จ่ายของประชาชนก่อสร้าง การก่อสร้างน้อย เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝนและปลายงบประมาณการเงิน สถาบันการเงินมีการขยายสาขาบริการมากขึ้น แนวโน้มธุรกิจไปได้ด้วยดีบริการ การท่องเที่ยวซบเซา รวมทั้งลูกค้าผู้ใช้บริการมีความระมัดระวังในการใช้จ่าย
3. ผลประกอบการของธุรกิจ
ผลกำไรลดลง จากสภาพการแข่งขันในธุรกิจที่สูง
4. ต้นทุนต่อหน่วยสินค้าและบริการ
ธุรกิจประสบปัญหาต้นทุนสูงขึ้นในทุกด้านจากราคาวัตถุดิบ ค่าแรงงาน และการบริหารจัดการ
5. การจ้างงานในธุรกิจ
ขาดแคลนแรงงานฝีมือ และแรงงานปฏิบัติการอย่างรุนแรง
6. การขยายกิจการของธุรกิจ
มีการขยายกิจการเพิ่มมากขึ้น จากผู้ประกอบการในประเทศรวมถึงนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนเพิ่ม
1. ขอให้ภาครัฐดูแลค่าเงินให้เหมาะสมและมีเสถียรภาพ
2. รัฐบาลควรแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อให้ภาษีที่จัดเก็บสามารถสร้างประโยชน์สูงสุด
3. อยากให้ภาครัฐเปิดโอกาสให้มีการลงทะเบียนแรงงานต่างด้าวให้ถูกกฎหมาย
4. กระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ทั้งโฆษณาประชาสัมพันธ์และดูแลแหล่งท่องเที่ยว
5. รัฐควรแก้ไขด้านภาระค่าครองชีพของประชาชน โดยควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น
6. ส่งเสริมระบบ Logistics ระบบราง เป็นการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพด้านการแข่งขัน
7. รัฐควรมีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องการแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตร ให้ความรู้ด้านการผลิต วิธีการเก็บเกี่ยวและดูแลเรื่องสินค้าไม่มี คุณภาพ
8. ขอให้กระทรวงพาณิชย์ มีส่วนร่วมในการจัดการฝึกอบรมด้านต่าง ๆ แก่ผู้ประกอบการ เช่น การตลาดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การมองตลาดภายในและระหว่างประเทศ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เข้ากับธุรกิจ
9. ใช้นโยบายการคลังโดยเร่งใช้จ่ายงบประมาณ กระจายลงสู่รากหญ้าและภูมิภาคให้มากขึ้น
10. กระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้นโยบายการเงินปล่อยเงินสู่ระบบเศรษฐกิจ ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือร้อยละ 20-25
ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โทร.0-2507-5811-3 โทรสาร.0-2507-5806 www.price.moc.go.th