ดัชนีภาวะธุรกิจส่งออก (Export Business Index) ประจำเดือนกันยายน 2553 (September 2010)

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday November 3, 2010 17:14 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ไตรมาส 4/2553 การส่งออกยังคงมีแนวโน้มดี

ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ส่งออก จำนวน 213 ราย คาดการณ์ว่าในไตรมาสที่ 4/2553 (ตุลาคม — ธันวาคม) ภาวะการส่งออกและความสามารถในการแข่งขันมีแนวโน้มที่ดี โดย ดัชนี มีค่า 59.1 และ 56.0 ตามลำดับ

ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออก

ผู้ประกอบการส่งออก คาดว่าภาวะการส่งออกในไตรมาสที่ 4/2553 (ตุลาคม - ธันวาคม) จะดีขึ้น ร้อยละ 40.9 ไม่เปลี่ยนแปลง ร้อยละ 36.5 และไม่ดี ร้อยละ 22.6 ทำให้ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจส่งออก มีค่าเท่ากับ 59.1 แสดงว่าการส่งออกมีทิศทางที่ดี

สินค้าที่คาดว่าจะมีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ยานพาหนะ/อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก/เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูปอัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนไตรมาส % ดีขึ้น % เท่าเดิม % ลดลง ผลต่าง ดัชนีผักผลไม้สด/แช่เย็น/แช่แข็ง/กระป๋องและแปรรูป ข้าว ยางพารา เชื้อเพลิงและพลังงาน และ อาหารสำเร็จรูป สินค้าที่คาดว่าจะมีการส่งออกลดลง ได้แก่ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติกเคมีภัณฑ์ และ อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง

ดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขัน

ในไตรมาสที่ 4/2553 นักธรกิจคาดการณ์ว่าความสามารถในการแข่งขันจะดีขึ้น ร้อยละ 31.8 ไม่เปลี่ยนแปลง ร้อยละ 48.3 และลดลง ร้อยละ 19.9 เป็นผลให้ดัชนีคาดการณ์ความสามารถในการแข่งขัน มีค่า 56.0 แสดงว่าผู้ส่งออกเห็นว่าความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศมีแนวโน้มที่ดีขึ้น

สินค้าที่คาดว่าความสามารถในการแข่งขันจะเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ยานพาหนะ/อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก/เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยาง เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผักผลไม้สด/แช่เย็น/แช่แข็ง/กระป๋องและแปรรูป ข้าว ยางพารา เชื้อเพลิงและพลังงาน และ อาหารสำเร็จรป สินค้าที่คาดว่าความสามารถในการแข่งขัน ลดลงได้แก่ เคมีภัณฑ์และ อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง

ดัชนีมูลค่าส่งออก

ดัชนีมูลค่าส่งออกเดือนกันยายน 2553 มีค่า 50.7 สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ยานพาหนะ/อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติกเหล็ก/ เหล็กกล้าแล ผลิตภัณฑ์ อัญมณีแล เครื่องปร ดับ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ข้าว ยางพารา เชื้อเพลิงและพลังงาน ส่วนสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออก ลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วน สิ่งทอ ผักผลไม้สด/แช่เย็น/แช่แข็ง/กระป๋องและแปรรูป อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง และ อาหารสำเร็จรูป

ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่

ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่มีค่า 50.7 สินค้าที่มีมูลค่าคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ยานพาหนะ/อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก/ เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผักผลไม้สด/แช่เย็น/แช่แข็ง/กระป๋องและแปรรูป ข้าว และ ยางพารา ส่วนสินค้าที่มูลค่าคำสั่งซื้อใหม่ลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป สิ่งทอ อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง เชื้อเพลิงและพลังงาน และ อาหารสำเร็จรูป

ดัชนีสินค้าคงคลัง

ดัชนีสินค้าคงคลังเดือนกันยายน 2553 มีค่า 44.6 มูลค่าสินค้าคงคลังที่ลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์และส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอปกรณ์ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ยานพาหนะ/อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก/เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยาง เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผักผลไม้สด/แช่เย็น/แช่แข็ง/กระป๋องและแปรรูป ยางพารา อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง เชื้อเพลิงและพลังงาน และ อาหารสำเร็จรูป มูลค่าสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และ ข้าว

ดัชนีการจ้างงาน
            เดือน           %ดีขึ้น      %เท่าเดิม       %ลดลง     ผลต่าง       ดัชนี
          กันยายน 53        13.5         71.0        15.5      -2.0      49.0
          สิงหาคม 53        24.4         61.1        14.5       9.9      54.9
          กรกฎาคม 53       25.3         61.8        12.9      12.4      56.2

ดัชนีการจ้างงานในเดือนกันยายน 2553 มีค่าเท่ากับ 49.0 แสดงว่าการจ้างงานภาคการส่งออกอยู่ในภาวะชะลอตัว

ปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ

ปัญหา

  • อัตราแลกเปลี่ยนไม่คงที่ และค่าเงินบาทแข็งค่ามากเกินไป
  • วัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น และขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต เช่น ปาล์มที่ใช้ในการผลิตกรดไขมัน
  • ขาดแคลนแรงงานทั้งมีฝีมือ และไร้ฝีมือ อีกทั้งแรงงานบางส่วนหันกลับไปใช้สารเสพติดเพิ่มขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
  • กำลังการผลิตขยายตัวไมท่ทันกับความตอ้องการของลูกค้า
  • ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกยังล้าหลัง ไม่พัฒนาเหมือนกับประเทศอาเซียนด้วยกัน
ข้อเสนอแนะ

ภาครัฐควรดำเนินการ ดังนี้

  • ดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ
  • ลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบ เช่น ทองแดงและอลูมิเนียม ให้เหลือ 0% เนื่องจากในประเทศไทยไม่มี และไม่สามารถผลิตได้
  • ควรเปิดรับแรงงานต่างด้าวเพิ่มขึ้นให้เพียงพอต่อความต้องการ
  • พัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศให้มีความสามารถในการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น รถไฟรางคู่
  • ปรับเพิ่มอัตราชดเชยภาษีส่งออก เพราะประเทศเพื่อนบ้านปรับเพิ่มสูงขึ้นหลายเดือนแล้ว

หมายเหตุ : การจัดทำดัชนีภาวะธุรกิจส่งออกจะมีการปรับปรุงข้อมูลดัชนีย้อนหลัง 1 เดือน

ภาคผนวก

1. กลุ่มสินค้าเป้าหมายที่ทำการสำรวจ มีจำนวน 86 กลุ่มสินค้า

2. การคำนวณดัชนี เป็นดัชนีการกระจาย (Diffusion Index) ซึ่งเป็นดัชนีที่มีคุณสมบัติเด่นในการเป็นตัวชี้นำ (leading indicator) และแสดงทิศทางการเติบโต (growth) ของภาวะธุรกิจ จากการ แปลงข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitative) ให้เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ (quantitative) โดยกำหนดค่าคำตอบที่ได้รับจากผู้ตอบแบบสอบถาม คือ เพิ่มขึ้นให้คะแนน เท่ากับ 1 เท่าเดิมให้คะแนน เท่ากับ 0.5 และ ลดลงให้คะแนนเท่ากับ 0 จากนั้นนำคะแนนทั้งหมดมารวมกัน หารด้วยจำนวนผู้ตอบแบบทั้งหมด แล้วคูณด้วย 100 จะได้ดัชนีของแต่ละคาบเวลา ดัชนีจะมีค่าสูงสุดเท่ากับ 100 และค่าต่ำสุดเท่ากับ 0

3. การนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อแสดงทิศทางเศรษฐกิจภาคการส่งออก ใช้เส้นค่า 50 (break even point) เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ถ้าผลการคำนวณดัชนีอยู่เหนือเสน้น50 แสดงว่านักธุรกิจมองว่าธุรกิจดีขึ้น ถ้าดัชนีอยู่ใกล้แนวเสน้น 50แสดงว่านักธุรกิจมองว่าธุรกิจไม่เปลี่ยนแปลง และถ้าดัชนีอยู่ใต้เส้น 50แสดงว่านักธุรกิจมองว่าธุรกิจแย่ลง

ทั้งนี้ ในช่วงเศรษฐกิจขยายตัว หากดัชนีตัดแนวเส้น 50 ลงมา หมายถึง ภาวะธุรกิจแย่ลงหรือชะลอตัว สำหรับในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ถ้าดัชนีตัดแนวเส้น 50 ขึ้นไป แสดงว่าภาวะธุรกิจดีขึ้นหรือขยายตัว

ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โทร.0 2507 5811-13, โทรสาร 0 2507 5806,0 2507 5825

www.price.moc.go.thEmail: neworders@moc.go.th


แท็ก การส่งออก  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ