รายงานดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศประจำ เดือนพฤศจิกายน 2553

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday December 7, 2010 10:38 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

กระทรวงพาณิชย์ รายงานความเคลื่อนไหว ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนพฤศจิกายน 2553 โดยสรุป

จากการสำรวจและประมวลผลราคาสินค้าที่เกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้ผลิตจำหน่ายทั่วประเทศ จำนวน 506 รายการ ครอบคลุม 3 หมวด

คือ หมวดผลผลิตเกษตรกรรม หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยคำนวณเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงราคาในรูปของดัชนี

เพื่อใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้าที่ผู้ผลิตได้รับ สรุปผลดังนี้

1. ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนพฤศจิกายน 2553

ในปี 2553 ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศ เท่ากับ 100 สำหรับเดือนพฤศจิกายน 2553 ดัชนีราคาเท่ากับ 168.8 และเดือนตุลาคม 2553

ดัชนีราคาเท่ากับ 167.7

2. การเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนพฤศจิกายน 2553 เมื่อเทียบกับ

2.1 เดือนตุลาคม 2553 สูงขึ้นร้อยละ 0.7

2.2 เดือนพฤศจิกายน 2552 สูงขึ้นร้อยละ 5.9

2.3 เฉลี่ย (มกราคม - พฤศจิกายน) 2553 เทียบกับช่วงเดียวกัน ของปี 2552 สูงขึ้น ร้อยละ 9.6

3. ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนพฤศจิกายน 2553 เทียบกับเดือนตุลาคม 2553 โดยเฉลี่ยสูงขึ้นร้อยละ 0.7 จากการสูงขึ้นของดัชนีราคา

หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.6 และ 1.3 ตามลำดับ ขณะที่หมวดผลผลิตเกษตรกรรมดัชนีราคา

ลดลง ร้อยละ 1.6

3.1 หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.6 (เดือนตุลาคม 2553 สูงขึ้น ร้อยละ 1.7) สาเหตุสำคัญจากการสูงขึ้นของราคา

น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติเหลว แร่ตะกั่ว แร่สังกะสี และแร่ดีบุก เป็นสำคัญ

3.2 หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 1.3 (เดือนตุลาคม 2553 สูงขึ้นร้อยละ 0.8) สาเหตุสำคัญจากการสูงขึ้นของราคา

ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันเตา และน้ำมันก๊าด ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันตลาดโลก ผลิตภัณฑ์ยาง

และพลาสติก ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน และยางแท่ง เนื่องจากความต้องการจากตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีนและญี่ปุ่นซื้อยางเก็บไว้เพื่อการ

เก็งกำไร อีกทั้งสภาพอากาศที่แปรปรวนในประเทศผู้ผลิตหลัก เช่นไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ซึ่งผลิตยางรวมกันประมาณร้อยละ 70 ของโลก

ทำให้ผลผลิตยางออกสู่ตลาดลดลง ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ ได้แก่ น้ำมันปาล์มดิบ ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง เนื่องจากเกิดภาวะน้ำท่วมใน

แหล่งผลิตสำคัญทางภาคใต้ และส่งผลให้น้ำมันพืชบริสุทธิ์ปรับราคาสูงตามด้วย น้ำตาลทราย ราคาสูงขึ้นเนื่องจากวัตถุดิบอ้อยขาดแคลนและมีราคาสูง

ประกอบกับราคาน้ำตาลในตลาดโลกมีราคาสูงอย่างต่อเนื่อง สิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ได้แก่เส้นใยสังเคราะห์ และด้ายฝ้าย เนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้ใน

การผลิตมีราคาสูงขึ้น เป็นผลให้ ผ้าฝ้าย และสิ่งทอสำเร็จรูป มีราคาสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิต สินค้าอุตสาหกรรมอื่นฯ ได้แก่ เครื่องประดับและทองรูป

พรรณ สูงขึ้นตามราคาตลาดโลก

3.3 หมวดผลผลิตเกษตรกรรม ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 1.6 (เดือนตุลาคม 2553 สูงขึ้น ร้อยละ 0.7) โดยดัชนีราคาผลผลิตการเกษตรลดลง

ร้อยละ 1.8 สินค้าเกษตรกรรมสำคัญที่มีราคาลดลง ได้แก่ พืชผัก โดยเฉพาะมะนาว เป็นช่วงฤดูการผลิต ผักคะน้า ผักกาดขาว กะหล่ำปลี ต้นหอม

ผักกาดหอม ราคาลดลง เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต ทำให้ผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น สัตว์มีชีวิตและผลิตภัณฑ์ ลดลงร้อยละ

1.1 ได้แก่ สุกรมีชีวิต และไก่มีชีวิต เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ยังไม่คลี่คลาย ส่งผลให้การบริโภคไม่คล่องตัว ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยน้อย

ลง ทำให้ความต้องการบริโภคลดลง สำหรับสินค้าเกษตรอื่น ฯ ที่มีราคาสูงขึ้น ได้แก่ หัวมันสำปะหลังสด น้ำยางข้น ยางแผ่นดิบ ผลปาล์มสด ปลาและ

สัตว์น้ำ (ปลาตะเพียน ปลานิล ปลาโอ และปลาสำลี)

4. ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเดือนพฤศจิกายน 2553 เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2552 สูงขึ้นร้อยละ 5.9 สาเหตุจากการสูงขึ้นของดัชนี

ราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรม ร้อยละ 12.9 ตามการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดผลผลิตการเกษตร ร้อยละ 15.0 สัตว์มีชีวิตและผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 2.2

ผลิตภัณฑ์จากป่า ร้อยละ 4.8 หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ร้อยละ 4.2 จากการสูงขึ้นของราคาหมวดผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ ร้อยละ 5.2

ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ร้อยละ 2.3 ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ร้อยละ 26.0 สิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ร้อยละ 3.0 เยื่อกระดาษ ผลิตภัณฑ์กระดาษและ

สิ่งพิมพ์ ร้อยละ 3.8 โลหะขั้นมูลฐานและผลิตภัณฑ์โลหะ ร้อยละ 2.4 ยานพาหนะและอุปกรณ์ ร้อยละ 1.8 และสินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆ ร้อยละ 6.2

ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ดัชนีราคาลดลง ร้อยละ 0.2 ตามการลดลงของราคาปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ ร้อยละ 5.0

5. ดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศเฉลี่ยเดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2553 เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2552 ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 9.6

โดยดัชนีราคาหมวดผลผลิตเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 22.8 ตามการสูงขึ้นของราคาผลผลิตการเกษตร ร้อยละ 26.6 สัตว์มีชีวิตและผลิตภัณฑ์ ร้อยละ

7.8 ปลาและ สัตว์น้ำ ร้อยละ 2.6 หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 3.2 ตามการสูงขึ้นของราคา แร่โลหะและแร่อื่นๆ ร้อยละ

10.0 หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ดัชนีราคาสูงขึ้น ร้อยละ 6.7 ตามการสูงขึ้นของราคา ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ร้อยละ 15.6 ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก

ร้อยละ 35.5 ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ ร้อยละ 5.9 หมวดเคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เคมี ร้อยละ 6.0 และสินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆ ร้อยละ

10.9 เป็นต้น

ตารางดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศและอัตราเปลี่ยนแปลง

แบ่งตามกิจกรรมการผลิต (CPA)

พฤศจิกายน 2553

2543 = 100

 หมวด                               สัดส่วน                   ดัชนี                            อัตราเปลี่ยนแปลง
                                    น้ำหนัก   พ.ย.53    ต.ค.53   พ.ย.52   ม.ค.-    พ.ย.53/   พ.ย.53/   ม.ค.-พ.ย.53/
                                                                        พ.ย.53   ต.ค.53    พ.ย.52    ม.ค.-พ.ย.52/
ดัชนีรวม                                100   168.8     167.7    159.4    164.9      0.7      5.9         9.6
ผลผลิตเกษตรกรรม                       22.1   394.1     400.5    349.1    375.5     -1.6     12.9        22.8
 ผลผลิตการเกษตร                       18.9     569     579.6    494.8      536     -1.8       15        26.6
 สัตว์มีชีวิตและผลิตภัณฑ์                     1.8   183.7     185.7    179.8    188.5     -1.1      2.2         7.8
 ผลิตภัณฑ์จากป่า                           .1   119.3     119.3    113.8    117.8      0.0      4.8         3.4
 ปลาและสัตว์น้ำ                          1.4   103.6     102.9    102.4    104.3      0.7      1.2         2.6
ผลิตภัณฑ์จากเหมือง                        2.2   145.4     144.6    145.7    145.1      0.6     -0.2         3.2
 ลิกไนต์ ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ          1.4   136.7     137.4    143.9    140.3     -0.5       -5        -0.1
 แร่โลหะและแร่อื่น ๆ                       .8   186.4       182    170.3    176.6      2.4      9.5          10
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม                      75.7   144.3     142.4    138.5      142      1.3      4.2         6.7
 ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ          15.8   174.5     172.1    165.8    171.6      1.4      5.2         5.9
 สิ่งทอและผลิตภัณฑ์สิ่งทอ                    7.0   110.7       109    107.5    108.8      1.6      3.0         3.4
 หนังฟอก ผลิตภัณฑ์หนังและรองเท้า            1.5     103     103.1    103.4    102.6     -0.1     -0.4        -0.6
 ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้                      .6   148.2     146.9      144    147.3      0.9      2.9         2.2
 เยื่อกระดาษ ผลิตภัณฑ์กระดาษและสิ่งพิมพ์       1.5   108.4     108.6    104.4    108.6     -0.2      3.8         5.5
 ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม                       9.5   211.1     203.9    206.4      208      3.5      2.3        15.6
 เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เคมี                     3.7   129.5     128.8    123.4    128.6      0.5      4.9         6.0
 ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก                   4.6   179.2     169.3    142.2    166.5      5.8       26        35.5
 ผลิตภัณฑ์อโลหะ                          1.9   126.6     127.3    126.9    126.9     -0.5     -0.2         1.1
 โลหะขั้นมูลฐานและผลิตภัณฑ์โลหะ             3.7   168.7     168.8    164.8    169.1     -0.1      2.4         2.2
 เครื่องจักร ส่วนประกอบและอุปกรณ์           2.6   112.1     111.9    112.4    112.3      0.2     -0.3        -1.7
 เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์   10.3   101.2       101    100.9    101.1      0.2      0.3         0.2
 ยานพาหนะและอุปกรณ์                     5.2   111.1     111.1    109.1      110      0.0      1.8         1.5
 สินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆ                    7.8   234.2     231.4    220.6    224.8      1.2      6.2        10.9

ตารางดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศและอัตราเปลี่ยนแปลง

แบ่งตามขั้นตอนการผลิต (SOP)

พฤศจิกายน 2553

2543 = 100

 หมวด                               สัดส่วน                  ดัชนี                              อัตราเปลี่ยนแปลง
                                    น้ำหนัก   พ.ย.53    ต.ค.53   พ.ย.52   ม.ค.-    พ.ย.53/   พ.ย.53/   ม.ค.-พ.ย.53/
                                                                        พ.ย.53   ต.ค.53    พ.ย.52    ม.ค.-พ.ย.52/
สินค้าสำเร็จรูป                          100    167.5     168.6    162.9    164.6     -0.7       2.8         7.4
 สินค้าอุปโภคบริโภค                     86.4    178.4     179.8      173    174.9     -0.8       3.1         8.5
  สินค้าบริโภค                         38.5    276.3     283.7    262.9    268.1     -2.6       5.1        12.8
  สินค้าอุปโภค                         47.9    139.1       138    136.9    137.5      0.8       1.6         5.4
 สินค้าทุน                             13.6      120       120    119.1    119.5      0.0       0.8         0.6
สินค้ากึ่งสำเร็จรูป (แปรรูป)                100    156.2     152.6    143.7    152.1      2.4       8.7        11.5
 สินค้ากึ่งสำเร็จรูปสำหรับอุตสาหกรรม        80.8    156.6     152.1    141.8    151.4      3.0      10.4        13.8
  สินค้าอาหารและอาหารสัตว์              13.2    213.1     210.3      185    204.6      1.3      15.2        13.5
  สินค้ากึ่งสำเร็จรูปที่ไม่ใช่อาหาร           67.6    148.5     143.8    135.6    143.8      3.3       9.5        13.9
 สินค้ากึ่งสำเร็จรูปก่อสร้าง                19.2    150.8       151    147.9    151.1     -0.1       2.0         2.9
สินค้าวัตถุดิบ                            100    226.4     218.6    194.5    217.3      3.6      16.4        18.1
 วัตถุดิบสำหรับอาหาร                    57.0    222.3     217.4    197.7    215.8      2.3      12.4         9.8
 วัตถุดิบที่ไม่ใช่อาหาร                    43.0    241.7     229.1    197.7    228.4      5.5      22.3        31.8

ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0 2507 5808 โทรสาร. 0 2507 5825


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ