รายงานดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจ ไตรมาสที่ 1/2554 (มกราคม - มีนาคม 2554)

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday February 2, 2011 14:35 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ทิศทางเศรษฐกิจยังเป็นไปด้วยดี แต่มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเมือง ต้นทุน และราคาน้ำมันเชื้อเพลิง

ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจไตรมาสที่ 1/2554 (มกราคม - มีนาคม 2554) จากการสอบถามนักธุรกิจใน 76 จังหวัด จำนวน 1,882 ราย คาดว่าดีขึ้นร้อยละ 48.2 ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 39.5 และไม่ดี ร้อยละ 12.3 คิดเป็นค่าดัชนีเท่ากับ 67.9 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเส้น 50 นักธุรกิจส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสหน้ายังมีทิศทางที่ดีแต่มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเมืองต้นทุนสินค้า ค่าครองชีพ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และ เศรษฐกิจโลกที่ยังฟื้นตัวไม่ชัดเจน

ดัชนีคาดการณ์ไตรมาสที่ 1/2554
การสำรวจ                        ดีขึ้น/เพิ่มขึ้น      ไม่เปลี่ยนแปลง    ไม่ดี/ลดลง    ดัชนี
                                    (%)            (%)           (%)
1. ผลระกอบการของกจการ              43.4           42.2          14.4     64.5
2. ต้นทุนหลักต่อหน่วยสินค้าหรือบริการ       60.8           33.6           5.6     77.6
3. การจ้างงานในธุรกิจ                 22.5           70.3           7.2     57.6
4. การขยายกิจการของธุรกิจ             17.0           75.6           7.4     54.8
ดัชนีคาดการณ์รายภาค
            ภาค              จำนวน    ดีขึ้น/เพิ่มขึ้น    ไม่เปลี่ยนแปลง     ไม่ดี     ดัชนี
                             (ราย)       (%)           (%)         (%)
1. กรุงเทพฯ และปริมณฑล          214        50.5         40.2         9.3    70.6
2. ภาคกลาง                    290        44.1         44.2        11.8    66.2
3. ภาคเหนือ                    456        47.8         41.0        11.2    68.3
4. ภาคตะวันออก                 140        45.7         40.0        14.3    65.7
5. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ         453        44.1         39.7        16.2    64.0
6. ภาคใต้                      329        57.0         32.6        10.4    73.3
ดัชนีคาดการณ์รายสาขา
        สาขา                 จำนวน    ดีขึ้น/เพิ่มขึ้น    ไม่เปลี่ยนแปลง     ไม่ดี     ดัชนี
                             (ราย)       (%)           (%)         (%)
1. เกษตรกรรม                  168        57.7         32.7         9.6    74.1
2. อุตสาหกรรม                  498        42.7         43.9        13.4    64.6
3. พาณิชยกรรม                  745        44.3         43.5        12.2    66.1
4. ก่อสร้าง                      55        43.6         45.5        10.9    66.4
5. การเงินและประกันภัย            99        66.7         29.3         4.0    81.3
6. บริการ                      317        43.8         43.5        12.7    65.6
ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการธุรกิจ ไตรมาส 4/2553

1. ภาวะธุรกิจทั่วไป

ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจใน 3 เดือนข้างหน้าจะมีทิศทางที่ดี แต่มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมือง ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ค่าเงินบาทที่แข็งตัว อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังน้ำท่วม ประกอบกับเศรษฐกิจโลกที่ยังฟื้นตัวไม่ชัดเจน

2. ภาวะธุรกิจในสาขาต่าง ๆ

  • เกษตรกรรม ราคาพืชผลทางการเกษตรปรับตัวสูงขึ้น ทั้งยางพารา ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ฯลฯ
  • อุตสาหกรรม ค่าเงินบาทแข็งเกินไป ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออก
  • พาณิชยกรรม ธุรกิจมีการแข่งขันสูง จากโมเดิร์นเทรดที่กระจายตัวสู่ภูมิภาคตามภาวะการค้าเสรี
  • ก่อสร้าง เกิดภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ จะมีการซ่อมแซมบ้านเรือนเพิ่มขึ้นในอนาคต
  • การเงิน ธุรกิจการเงิน ประกันชีวิตและประกันภัยทิศทางดี ขณะที่สถาบันการเงินมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ
  • บริการ การท่องเที่ยวถูกกระทบจากการเมืองที่ไม่สงบ ภัยธรรมชาติทั้งน้ำท่วมและดินถล่ม

3. ผลประกอบการของธุรกิจ

กำไรจากการประกอบกิจการลดลง ผู้ประกอบการไม่สามารถผลักภาระต้นทุนที่สูงขึ้นได้ทั้งหมดเพราะตลาดมีการแข่งขันสูง

4. ต้นทุนต่อหน่วยสินค้าและบริการ

ต้นทุนสูงขึ้นจากการปรับค่าแรงขั้นต่ำ ราคาวัตถุดิบ และพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น

5. การจ้างงานในธุรกิจ

ขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรงในอุตสาหกรรมการผลิตหลายประเภท เช่น อาหาร สิ่งทอ-เสื้อผ้า ตลอดจนงานการก่อสร้างที่ต้อง ใช้กำลังแรงงานและความอดทนที่ค่อนข้างสูง

6. การขยายกิจการของธุรกิจ

การขยายกิจการมีในบางสาขาการผลิต ซึ่งส่วนใหญ่จะประคองตัวเองไม่กล้าที่จะเสี่ยงลงทุนในด้านต่าง ๆ

ข้อเสนอแนะ

1. สร้างความเป็นธรรมในสังคม เศรษฐกิจ การเมือง

2. ดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ

3. ให้ความสำคัญในด้านการเกษตร แก้ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดซ้ำซากทุกปีให้เป็นระบบ

4. งบประมาณที่รัฐจัดสรรควรใช้ในโครงการที่มีประโยชน์สามารถต่อยอดได้ การดำเนินงานต้องโปร่งใส ซื่อสัตย์

5. ดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน นักท่องเที่ยว ความไม่สงบและความรุนแรง

6. ผลิตแรงงานที่มีคุณภาพสู่ตลาดแรงงาน และมีการจดทะเบียนแรงงานต่างชาติรอบใหม่โดยเร่งด่วน

7. ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวและกระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง

8. ลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักร เพื่อผลิตสินค้าที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก

9. ควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นแก่การครองชีพ

10. ต้องควบคุมราคาเชื้อเพลิง และเพิ่มงบการก่อสร้างพื้นฐานให้มากขึ้น

11. เร่งสร้างรถไฟให้ติดต่อกับต่างประเทศเพราะจะช่วยการส่งออกและส่งเสริมการท่องเที่ยวมากขึ้น

12. ควรใช้นโยบายลดอัตราภาษี และการจัดเก็บภาษีที่ซ้ำซ้อน เช่น ภาษีโรงเรือน ภาษีสรรพสามิต ฯลฯ

13. เปิดตลาดการค้าใหม่ ๆ และข้อมูลสนับสนุนเกี่ยวกับตลาดต่างประเทศ และการอบรมให้ความรู้ด้านการตลาด

ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โทร.0-2507-5811-3 โทรสาร.0-2507-5806 www.price.moc.go.th


แท็ก นักธุรกิจ  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ