รายงานดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจ ไตรมาสที่ 2/2554 (เมษายน - มิถุนายน 2554)

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday May 4, 2011 14:18 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

นักธุรกิจยังคาดว่าเศรษฐกิจยังมีทิศทางที่ดี แต่ยังวิตกกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมัน ต้นทุนสินค้าและภาวะการเมือง

ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจไตรมาสที่ 2/2554 (เมษายน — มิถนายน 2554) จากการสอบถามนักธุรกิจ ใน 76 จังหวัด จำนวน 1,859 ราย คาดว่าดีขึ้นร้อยละ 34.9 ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 44.7 และไม่ดี ร้อยละ 20.4 คิดเป็นค่าดัชนีเท่ากับ 57.2 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเส้น 50 นักธุรกิจส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสหน้ายังมีทิศทางที่ดีแต่ชะลอตัวลงจากความวิตกกังวลในเรื่องราคาน้ำมันและราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้นกระทบต่อต้นทุนของสินค้าและบริการ ประกอบกับภาวะการเมืองที่ยังไม่นิ่งและภัยธรรมชาติทั้งภายในและภายนอกประเทศ

ดัชนีคาดการณ์ไตรมาสที่ 2/2554
การสำรวจ                        ดีขึ้น/เพิ่มขึ้น      ไม่เปลี่ยนแปลง    ไม่ดี/ลดลง    ดัชนี
                                    (%)            (%)           (%)
1. ผลประกอบการของกิจการ             34.4           47.4          18.2     58.1
2. ต้นทุนหลักต่อหน่วยสินค้าหรือบริการ       65.1           28.9           6.0     79.5
3. การจ้างงานในธุรกิจ                 19.2           71.3           9.5     54.9
4. การขยายกิจการของธุรกิจ             13.2           77.5           9.3     52.0
ดัชนีคาดการณ์รายภาค
            ภาค              จำนวน    ดีขึ้น/เพิ่มขึ้น    ไม่เปลี่ยนแปลง     ไม่ดี     ดัชนี
                             (ราย)       (%)           (%)         (%)
1. กรุงเทพฯ และปริมณฑล          227        36.1         40.1        23.8    56.2
2. ภาคกลาง                    269        33.0         45.3        21.7    55.6
3. ภาคเหนือ                    436        32.7         50.2        17.1    57.8
4. ภาคตะวันออก                 151        34.7         49.3        16.0    59.3
5. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ         431        30.5         48.1        21.4    54.5
6. ภาคใต้                      345        43.8         33.9        22.3    60.7
ดัชนีคาดการณ์รายสาขา
        สาขา                 จำนวน    ดีขึ้น/เพิ่มขึ้น    ไม่เปลี่ยนแปลง     ไม่ดี     ดัชนี
                             (ราย)       (%)           (%)         (%)
1. เกษตรกรรม                  164        43.9         37.8        18.3    62.8
2. อตสาหกรรม                  509        37.5         47.2        15.3    61.1
3. พาณิชยกรรม                  756        32.3         48.7        19.0    56.7
4. ก่อสร้าง                      63        22.2         57.1        20.6    50.8
5. การเงินและประกันภัย            95        52.1         43.6         4.3    73.9
6. บริการ                      272        32.7         50.6        16.7    58.0
ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการธุรกิจ ไตรมาส 1/2554

1. ภาวะธุรกิจทั่วไป

ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัจจัยที่จะกระทบต่อต้นทุนการผลิต ทั้งด้านราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นราคาสินค้าวัตถุดิบ ค่าแรง รวมถึงปัญหาการเมืองภายในประเทศที่ยังไม่มีเสถียรภาพ ด้านการลงทุนจากทั้งภายในและภายนอกประเทศยังอยู่ในภาวะชะลอตัว

2. ภาวะธุรกิจในสาขาต่าง ๆ

เกษตรกรรม ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะปาล์มน้ำมันและมะพร้าว แต่บางส่วนยังได้รับความเสียหายจากสภาพอากาศที่แปรปรวนอุตสาหกรรม ดูแลราคาสินค้าวัตถุดิบ แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน สนับสนุนอุตสาหกรรมต้นน้ำพื้นฐานพาณิชยกรรม ราคาน้ำมันกระทบต่อการบริโภคของประชาชน ปัจจัยต่างๆ ไม่เอื้อต่อการขยายธุรกิจก่อสร้าง แนวโน้มค่าแรงงาน ค่าน้ำมัน และราคาวัสดุก่อสร้าง กระทบต่อต้นทุนธุรกิจการเงิน การลงทุนได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายในประเทศคือปัญหาด้านการเมืองและการลงทุนจากต่างประเทศที่อยู่ในช่วงชะลอตัวบริการ ธุรกิจได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมืองและภัยธรรมชาติเป็นหลัก

3. ผลประกอบการของธุรกิจ

ภาวะการแข่งขันสูง กำไรจากการประกอบกิจการลดลง เนื่องจากต้นทุนสูงและผู้บริโภคยังไม่มั่นใจต่อภาวะเศรษฐกิจ

4. ต้นทุนต่อหน่วยสินค้าและบริการ

ต้นทุนสูงขึ้นจากราคาวัตถุดิบ พลังงานและอัตราดอกเบี้ย รวมถึงราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

5. การจ้างงานในธุรกิจ

ขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรงในสายงานผลิต ระดับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน เช่น สิ่งทอ อาหารแปรรูป ฯลฯ

6. การขยายกิจการของธุรกิจ

ปัจจัยทั้งภายในและภายนอกไม่สนับสนุนต่อการลงทุนขยายกิจการในช่วงนี้

ข้อเสนอแนะ

1. ดูแลราคาสินค้าและน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างใกล้ชิด

2. ลดอัตราดอกเบี้ยให้เหมาะสมต่อการลงทุนและลดการจัดเก็บภาษีที่ซ้ำซ้อน

3. ดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพและมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

4. ให้ความสำคัญต่ออุตสาหกรรมต้นน้ำ พร้อมทั้งส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งในด้านการผลิตและการตลาด

5. สร้างเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศและมีระบบตรวจสอบการทำงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดปัญหาคอรัปชั่น

6. ผลิตแรงงานที่ตรงต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งแก้ปัญหากฎหมายแรงงานต่างด้าว

7. เร่งสรุปผลกระทบการเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิในประเทศญี่ปุ่นที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจไทย

8. ควบคุมการขยายตัวของโมเดิร์นเทรดซึ่งกระทบต่อการค้าของท้องถิ่น

9. รณณรงค์และสนับสนุนให้ใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศ

10. ส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อม

11. พัฒนาโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการแข่งขัน

12. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนำเข้าเครื่องจักรทดแทนแรงงานที่ประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานอยู่ในขณะนี้

ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โทร.0-2507-5811-3 โทรสาร.0-2507-5806 www.price.moc.go.th


แท็ก นักธุรกิจ  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ