รายงานดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจ ไตรมาสที่ 3/2554 (กรกฎาคม - กันยายน 2554)

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday August 2, 2011 14:58 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ผู้ประกอบการคาดการณ์เศรษฐกิจยังมีทิศทางที่ดี แต่มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลใหม่และความผันผวนของราคาน้ำมัน

ดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจไตรมาสที่ 3/2554 (กรกฎาคม - กันยายน 2554) จากการสอบถามนักธุรกิจใน 76 จังหวัด จำนวน 1,935 ราย คาดว่าดีขึ้นร้อยละ 38.9 ไม่เปลี่ยนแปลงร้อยละ 45.3 และไม่ดี ร้อยละ 15.8 คิดเป็นค่าดัชนีเท่ากับ 61.6 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเส้น 50 แสดงให้เห็นถึงการคาดการณ์ของผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าเศรษฐกิจในไตรมาสหน้ายังมีทิศทางที่ดี แต่ผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่และราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังมีความผันผวน

ดัชนีคาดการณ์ไตรมาสที่ 3/2554
การสำรวจ                        ดีขึ้น/เพิ่มขึ้น      ไม่เปลี่ยนแปลง    ไม่ดี/ลดลง    ดัชนี
                                    (%)            (%)           (%)
1. ผลประกอบการของกิจการ             37.2           45.6          17.2     60.0
2. ต้นทุนหลักต่อหน่วยสินค้าหรือบริการ       57.6           37.4           5.0     76.3
3. การจ้างงานในธุรกิจ                 23.3           69.3           7.4     57.9
4. การขยายกิจการของธุรกิจ             17.5           75.1           7.4     55.0
ดัชนีคาดการณ์รายภาค
            ภาค              จำนวน    ดีขึ้น/เพิ่มขึ้น    ไม่เปลี่ยนแปลง     ไม่ดี     ดัชนี
                             (ราย)       (%)           (%)         (%)
1. กรุงเทพฯ และปริมณฑล          247        44.3         38.2        17.5    63.4
2. ภาคกลาง                    279        33.2         50.9        15.9    58.7
3. ภาคเหนือ                    447        40.1         44.6        15.3    62.4
4. ภาคตะวันออก                 149        40.5         44.6        14.9    62.8
5. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ         461        38.0         46.0        16.0    61.0
6. ภาคใต้                      352        38.6         46.0        15.4    61.6
ดัชนีคาดการณ์รายสาขา
        สาขา                 จำนวน    ดีขึ้น/เพิ่มขึ้น    ไม่เปลี่ยนแปลง     ไม่ดี     ดัชนี
                             (ราย)       (%)           (%)         (%)
1. เกษตรกรรม                  175        43.1         42.0        14.9    64.1
2. อุตสาหกรรม                  515        38.1         45.9        16.0    61.1
3. พาณิชยกรรม                  775        33.7         48.1        18.2    57.7
4. ก่อสร้าง                      54        35.2         53.7        11.1    62.0
5. การเงินและประกันภัย           101        63.4         34.7         1.9    80.7
6. บริการ                      315        36.1         51.1        12.8    61.7
ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการธุรกิจ ไตรมาส 2/2554

1. ภาวะธุรกิจทั่วไป

ผู้ประกอบการมีความคาดหวังต่อภาวะเศรษฐกิจในทิศทางที่ดี แต่ยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเมือง ต้นทุนค่าครองชีพ ราคาน้ำมันและการปรับค่าแรงตามนโยบายประชานิยมที่ได้ประกาศไว้ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง

2. ภาวะธุรกิจในสาขาต่าง ๆ

เกษตรกรรม ราคาพืชผลทางการเกษตรดี ผลผลิตถูกกระทบบ้างจากภาวะน้ำท่วมและโรคแมลงระบาด ในขณะที่ต้นทุนปัจจัยการผลิตสูงทั้งจากราคาน้ำมันและปุ๋ยเคมี

อุตสาหกรรม ได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นและแรงงานขาดแคลนอย่างหนัก

พาณิชยกรรม ประชาชนประหยัดการใช้จ่าย การแข่งขันในระบบการค้าสูงมาก

ก่อสร้าง ประสบปัญหาต้นทุนสูง แรงงานหายาก และการแข่งขันสูง การเงิน ธุรกิจการเงิน ประกันชีวิตประกันภัยมีทิศทางที่ดี

บริการ ธุรกิจขนส่งประสบปัญหาต้นทุนด้านพลังงานที่สูงขึ้น

3. ผลประกอบการของธุรกิจ

เนื่องจากการแข่งขันในธุรกิจที่สูง กระทบต่อผลประกอบการ ทำให้กำไรลดลง

4. ต้นทุนต่อหน่วยสินค้าและบริการ

ต้นทุนในการประกอบการสูงขึ้น ทั้งจากราคาวัตถุดิบ ค่าแรง ดอกเบี้ย ค่ากระแสไฟฟ้า ตลอดถึงค่าครองชีพและการบริหารจัดการทั่วไป

5. การจ้างงานในธุรกิจ

เกิดการขาดแคลนแรงงานระดับปฏิบัติการอย่างหนัก แต่สำหรับผู้จบการศึกษาใหม่กลับหางานทำค่อนข้างยาก

6. การขยายกิจการของธุรกิจ

การลงทุนขยายกิจการโน้มต่ำลง จากความขัดแย้งทางการเมือง และเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

ข้อเสนอแนะ

1. พัฒนาระบบการศึกษาให้เอื้อและสนองตอบต่อความต้องการของตลาดแรงงาน

2. พัฒนาฝีมือแรงงานที่มีคุณภาพออกสู่ตลาดแรงงาน โดยให้มีการลงทะเบียนแรงงาน

3. ส่งเสริมด้านการเกษตรทั้งระบบ ตั้งแต่ปัจจัยการผลิต คุณภาพ สิ่งแวดล้อม และหาตลาดมารองรับ

4. ลดภาษีรายได้ และภาษีนำเข้าวัตถุดิบ ขณะเดียวกันก็ขยายฐานภาษี ให้เกิดความเป็นธรรม

5. ควบคุมดูแลเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนและราคาน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนที่สำคัญ

6. ปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สร้างความโปร่งใส โดยใช้ระบบการบริหารจัดการที่ดี

7. ดูแลด้านต้นทุน ให้สอดคล้องและเป็นธรรม ตลอดทั้งให้ความสำคัญต่อการดูแลปากท้องของประชาชนเกี่ยวกับราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ

8. ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดเล็ก ธุรกิจต้นน้ำ ในด้านสภาพคล่อง อัตราดอกเบี้ย และการตลาด

9. ประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว และจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

10. ภาครัฐควรส่งเสริมการจ้างงานให้มากขึ้น และกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น

11. ส่งเสริมด้านโลจิสติกส์ระบบราง

12. รักษาความสงบในสามจังหวัดภาคใต้ ปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจัง ดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและนักท่องเที่ยว

ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โทร.0-2507-5811-3 โทรสาร.0-2507-5806 www.price.moc.go.th


แท็ก นักธุรกิจ  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ