กระทรวงพาณิชย์ ได้ปรับปรุงดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง โดยปรับน้ำหนักและปีฐานจากปี 2543 เป็นปี 2548 จำนวนสินค้าวัสดุก่อสร้างที่ใช้ คำนวณเพิ่มขึ้นจาก 88 รายการ เป็น 131 รายการ เริ่มคำนวณดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนมกราคม 2554 ตามโครงสร้างและปีฐานใหม่ โดย เผยแพร่ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2554 เป็นต้นไป และขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือน สิงหาคม 2554 โดยสรุปดังนี้
จากการสำรวจราคาสินค้าวัสดุก่อสร้าง ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 131 รายการ ครอบคลุมหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก กระเบื้อง วัสดุฉาบผิว สุขภัณฑ์ อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา และวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ เพื่อนำมาคำนวณ ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ได้ผลดังนี้
1. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนสิงหาคม 2554
ในปี 2548 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเท่ากับ 100 และเดือนสิงหาคม 2554 เท่ากับ 120.9 สำหรับเดือนกรกฎาคม 2554 คือ 120.8
2. การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนสิงหาคม 2554 เมื่อเทียบกับ
2.1 เดือนกรกฎาคม 2554 สูงขึ้นร้อยละ 0.1
2.2 เดือนสิงหาคม 2553 สูงขึ้นร้อยละ 6.3
2.3 เฉลี่ยเดือนมกราคม - สิงหาคม 2554 กับช่วงเดียวกันปี 2553 สูงขึ้นร้อยละ 5.9
3. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนสิงหาคม 2554 เทียบกับเดือนกรกฎาคม 2554 สูงขึ้น ร้อยละ 0.1 (กรกฎาคม สูงขึ้นร้อยละ 0.6) สาเหตุจากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ร้อยละ 0.3 (เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต เหล็กฉาก ท่อเหล็ก ท่อแสตนเลส) หมวดซีเมนต์ ร้อยละ 0.2 (ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม) และหมวดวัสดุฉาบผิว ร้อยละ 1.6 (สีเคลือบน้ำมัน น้ำมันเคลือบแข็งทาภายใน-ภายนอก สีทาถนน) ราคาวัสดุก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย เป็นผลจากต้นทุนวัตถุดิบในการผลิตที่นำเข้ายังคงปรับตัวสูงขึ้น แต่ราคาวัสดุก่อสร้างไม่ สามารถปรับสูงขึ้นตามต้นทุน ที่แท้จริงได้ เนื่องจากในช่วงนี้มีฝนตก ทำให้การก่อสร้างต้องหยุดชะงัก และภาคอสังหาริมทรัพย์ ยังรอดูนโยบายที่ ชัดเจนของรัฐบาล
4. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเดือนสิงหาคม 2554 เทียบกับเดือนสิงหาคม 2553 สูงขึ้น ร้อยละ 6.3 (กรกฎาคม สูงขึ้นร้อยละ 7.3) สาเหตุจากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ร้อยละ 11.8 (เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต ท่อเหล็กดำ ท่อเหล็กเคลือบสังกะสี เหล็กแผ่น เรียบดำ) หมวดซีเมนต์ ร้อยละ 12.3 (ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม ปูนฉาบสำเร็จรูป) หมวดวัสดุฉาบผิว ร้อยละ 5.8 (สีเคลือบน้ำมัน สีน้ำอะครีลิคทาภายใน-ภายนอก น้ำมันเคลือบแข็ง สีรองพื้นปูน) และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ร้อยละ 5.3 (ยางมะตอย อิฐมอญ อลูมิเนียมแผ่นเรียบ วงกบอลูมิเนียม) เนื่องจากต้นทุนราคาวัตถุดิบในการผลิตมีการปรับตัวสูงขึ้นและการก่อสร้างที่อยู่อาศัยในปี 2554 ขยายตัวมากกว่าปีที่แล้ว
5. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างเฉลี่ยเดือนมกราคม-สิงหาคม 2554 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 สูงขึ้นร้อยละ 5.9 สาเหตุจากการ สูงขึ้นของดัชนีหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ร้อยละ 11.2 (เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต ท่อเหล็กดำ เหล็กรางน้ำ ท่อเหล็กเคลือบสังกะสี) หมวดซีเมนต์ ร้อยละ 12.6 (ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ปูนซีเมนต์ผสม ปูนฉาบสำเร็จรูป) และหมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ร้อยละ 4.8 (ยางมะตอย อลูมิเนียมเส้น-แผ่น เรียบ อิฐมอญ อิฐกลวง) เนื่องจากต้นทุนราคาวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้นจากปีที่แล้ว
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง
เดือน สิงหาคม ปี 2554
(2548 = 100)
หมวด สัดส่วน ดัชนี อัตราเปลี่ยนแปลง น้ำหนักปีฐาน ส.ค.54 ก.ค.54 ส.ค.53 เฉลี่ย ส.ค.54/ ส.ค.54/ ม.ค.- ส.ค.54/ ก.ค.54 ส.ค.53 ม.ค.- ส.ค.53/ ดัชนีรวม 100.00 120.9 120.8 113.7 119.5 0.1 6.3 5.9 ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 6.87 139.9 140.1 138.2 139.7 -0.1 1.2 3.9 ซิเมนต์ 11.79 115.2 115 102.6 114.7 0.2 12.3 12.6 ผลิตภัณฑ์คอนกรีต 12.36 105.6 105.6 102.2 104.8 0.0 3.3 2.4 เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก 27.54 125.4 125 112.2 123.2 0.3 11.8 11.2 กระเบื้อง 6.71 111.1 111.1 110.8 108.6 0.0 0.3 -1.9 วัสดุฉาบผิว 2.82 119.8 117.9 113.2 115.3 1.6 5.8 1.2 สุขภัณฑ์ 2.25 150.1 152.8 143.6 150 -1.8 4.5 4.0 อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา 13.52 113.8 113.9 109.6 113.4 -0.1 3.8 3.1 วัสดุก่อสร้างอื่น ๆ 16.14 129.5 129.5 123 128.1 0.0 5.3 4.8
ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ โทร. 0 2507 5860 โทรสาร. 0 2507 5851